เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 4080 คุยเฟื่องเรื่องละคร หมอหลวง
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 26 เม.ย. 23, 17:46

"สุนทรภู่" ในละครหมอหลวงท่าจะเป็นพระมอญ เพราะห่มแหวกบิดลูกบวบซ้าย 555

แต่จริง ๆ ถ้าท่านอยู่วัดไทย น่าจะห่มเฉียงบิดลูกบวบขวา หรือห่มดองคาดรัดอก ซึ่งตามประวัติควรเป็นแบบนั้น เพราะสุนทรภู่ไม่เคยสังกัดพระมอญ หรือสำนักธรรมยุต

พระสงฆ์ไทยโบราณจะนิยมห่มดองคาดรัดอก อย่างพระมหานิกายส่วนใหญ่ทุกวันนี้ หรือถ้าห่มเฉียงก็บิดลูกบวบทางขวา

ในกรณีออกนอกวัด ต้องห่มคลุม พระไทยโบราณจะห่มมังกร ทำลูกบวบบิดทางขวา แล้วใช้รักแร้หนีบลูกบวบไว้โดยตลอด แล้วตวัดส่วนบนขึ้นไหล่ ก็จะได้ลูกบวบพันรอบแขน ดุจมังกรพันแขน

ส่วนพระมอญ และพระในคณะธรรมยุตของพระวชิรญาณ จะห่มแหวก คือ บิดลูกบวบทางซ้าย พาดไหล่ซ้าย แขนขวาสอดแหวกออกมาจากผ้า

การห่มแหวกเช่นนี้ รัชกาลที่ 3 ไม่โปรดเลย เพราะดูเป็นมอญพม่ามิใช่ไทย ก่อนสวรรคตถึงกับทรงขอร้องพระวชิรญาณให้แก้เรื่องนี้ แต่ภายหลังพระธรรมยุตก็นิยมห่มแหวกสืบมา

ฉะนั้น สุนทรภู่ในละครหมอหลวง หากจะทำให้ถูกต้องตามจริง ควรจะห่มเฉียงบิดลูกบวบขวา หรือห่มดองคาดรัดอก

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid04hX8iVE7yaGv9gaTCsnyz3bADAXirbh8fnZz4b7cvBCwHwif19EdxRV33hVvk14il&id=1528675000&mibextid=Nif5oz


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 26 เม.ย. 23, 18:35

"สุนทรภู่" ในละครหมอหลวงท่าจะเป็นพระมอญ เพราะห่มแหวกบิดลูกบวบซ้าย 555



ฉากนี้น่าจะโชว์บทกลอนท่านสุนทรภู่เป็นหลัก

นาทีที่ ๑.๓๐

สีกาละเวงวัณฬาแปลง

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

ในวรรคที่ ๓ ยังถกกันไม่สิ้นสุดว่าเป็น ใต้ฟ้า หรือ ใต้หล้า กันแน่ ๕๕๕ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 26 เม.ย. 23, 18:45

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 26 เม.ย. 23, 19:48

ในวรรคที่ ๓ ยังถกกันไม่สิ้นสุดว่าเป็น ใต้ฟ้า หรือ ใต้หล้า กันแน่ ๕๕๕ ยิงฟันยิ้ม[/size]

ที่ถูกต้องคือ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 26 เม.ย. 23, 19:50

"ใต้หล้า" มาจากเนื้อเพลง "คำมั่นสัญญา" ที่ดัดแปลงไปจากวรรณคดีอีกทีหนึ่ง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 27 เม.ย. 23, 11:55

          ลองรับฟัง,รับชม "คำมั่นสัญญา" แบบล่าสุด จากคลิป Reflection: ดุษฎีนิพนธ์: พี่โจ้ สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา
(เพลงเริ่มประมาณนาทีที่ ๒๘.๐๐)

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 30 พ.ค. 23, 11:35

เมื่อคืน (๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖) มีฉากการระบาดของไข้ทรพิษ และการปลูกฝี





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 30 พ.ค. 23, 13:34

คำถามแรกที่เจ้าพระยาพระคลังถามหมอบรัดเลย์เมื่อพบกันก็คือ รักษาไข้ทรพิษได้ไหม เพราะสมัยนั้นคนไทยเป็นไข้ทรพิษหรือฝีดาษกันมาก  ไข้ทรพิษเป็นโรคติดต่อที่มีมาแต่โบราณ  ทางภาคใต้เรียกว่า ไข้น้ำ ภาคเหนือเรียกว่า เป็นตุ่มหรือตุ่มสุก เพราะเมื่อเป็นจะมีเม็ดเล็ก ๆ หรือตุ่มเกิดขึ้นดาษตามตัวเต็มไปหมด จึงได้เรียกว่าตุ่มและฝีดาษ  ในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ หน่อพุทธางกูร และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรด้วยไข้ทรพิษเสด็จสวรรคตทั้งสองพระองค์

ก่อนที่หมอบรัดเลย์จะมาถึงเมืองไทย ท่านและภรรยาได้เสียบุตรชายอายุเพียง ๘ ชั่วโมงไป ๑ คน  และเมื่อมาอยู่เมืองไทยแล้วต้องเสียบุตรสาวแฮเรียต (Harriet) อายุเพียง ๘ เดือนด้วยไข้ทรพิษไปอีกคนหนึ่ง ซึ่งหมอก็หมดปัญญาที่จะรักษา  ฉะนั้นการถามของเจ้าพระยาพระคลังและประสบการณ์ที่ผ่านมา จึงทำให้หมอต้องศึกษาเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น

ตามบันทึกของหมอบรัดเลย์กล่าวว่า วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๗๙ เป็นวันแรกที่ได้เริ่มปลูกฝีกันไข้ทรพิษ โดยวิธีฉีดหนองเชื้อเข้าไปในแขนของเด็ก ๆ ประมาณ ๑๕ คน  ถ้าหากว่าการปลูกฝีเป็นผลสำเร็จดีแล้ว จะเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยที่ได้รับความเดือดร้อนจากการออกฝีดาษกันทุก ๆ ปีนั้นมาก  หมอบรัดเลย์ได้ไปหาเจ้าพระยาพระคลัง หารือเรื่องปลูกฝีกันไข้ทรพิษ  เจ้าพระยาพระคลังเห็นชอบด้วย และกล่าวว่าเป็นบุญอย่างยิ่ง จะหาการบุญอย่างอื่นมาเปรียบเทียบได้โดยยาก  ถ้าหมอคิดการปลูกฝีเป็นผลสำเร็จ ท่านยินดีจะอนุญาตให้หมอบรัดเลย์เรียกเอาขวัญข้าวจากคนที่ได้ปลูกฝีขึ้นแล้วคนละ ๑ บาท
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 30 พ.ค. 23, 13:35

การปลูกฝีในระยะแรกใช้สะเก็ดจากคนเป็นฝีดาษมาปลูกในคนปกติ ส่วนที่ประเทศจีนนำเอาสะเก็ดของผู้ป่วยไข้ทรพิษมาบดเป็นผงแล้วฉีดพ่นเข้าจมูก แต่ก็เป็นวิธีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าป้องกัน จนกระทั่ง เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner) แพทย์ชาวอังกฤษ พบว่าหญิงรีดนมวัวที่ติดเชื้อฝีดาษกลับไม่ติดโรคฝีดาษจากวัว จึงสกัดหนองฝีจากวัวมาปลูกฝีกันไข้ทรพิษในคน และเมื่อวิธีการของนายแพทย์เจนเนอร์ได้รับการรับรองแล้ว วิธีการปลูกฝีแบบเดิมที่ใช้สะเก็ดหรือหนองของผู้ป่วยไข้ทรพิษมาปลูกฝีก็กลายเป็นเรื่องต้องห้ามรวมทั้งในประเทศไทย

จากบันทึกหมอบรัดเลย์ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๘๑ เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า ขณะที่ไข้ทรพิษชุกชุมอย่างมากในสยาม เหล่ามิชชันนารีก็ได้หาวิธีฉีดหนองเชื้อเข้าไปในตัววัวเพื่อรีดเอาหนองเชื้อนั้นมาปลูกฝีกันไข้ทรพิษ แต่กว่าจะสำเร็จก็ต้องใช้เวลาทดลองถึง ๕ ปี และเมื่อรัชกาลที่ ๓ ทรงทราบถึงความสำเร็จของการปลูกฝีป้องกันโรค จึงโปรดให้แพทย์ประจำราชสำนัก หรือ หมอหลวงทุกคนมาฝึกการปลูกฝี และออกไปปฏิบัติการทั้งในและนอกวัง เริ่มตั้งแต่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๘๐ โดยหมอหลวงที่ผ่านการฝึกหัดและปฏิบัติการปลูกผี ได้รับพระราชทานรางวัลจากพระเจ้าแผ่นดินคนละ ๒๐๐-๔๐๐ บาท

ในช่วงแรกของการปลูกฝีนั้นใช้หนองฝีที่มาจากเมืองไทย มีบันทึกว่าวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๓๘๓ หมอบรัดเลย์ใช้หนองฝีที่ส่งมาจากเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา มาปลูกฝีในสยามเป็นครั้งแรก และก็มีการบันทึกด้วยว่าเคยมีเหตุการณ์ที่พันธุ์หนองฝีจากสหรัฐอเมริกาหมดจนทำให้ต้องหยุดปลูกฝีกันไข้ทรพิษไปนานถึง ๔ ปี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 30 พ.ค. 23, 14:35

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๓๘๕ หมอบรัดเลย์ได้เขียน  "ตำราปลูกฝีโค ให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้" ถวายรัชกาลที่ ๓  และตีพิมพ์เผยแพร่ใน หนังสือจดหมายเหตุ บางกอกรีคอเดอ (หนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสยาม) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ ตำราปลูกฝี โดย หมอบรัดเลย์ ถูกตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มครั้งแรก จำนวน ๕๐๐ เล่ม และพิมพ์ซ้ำครั้งที่ ๒ อีก ๑,๐๐๐ เล่ม ในปีเดียวกันโดยมี โรงพิมพ์อเมริกันบอร์ด เป็นผู้จัดพิมพ์

จาก sarakadeelite.com





บันทึกการเข้า
ทิพยุทธ
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 ก.ค. 23, 17:21

เพิ่งเริ่มสนใจประวัติศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้หลังจากเหตุการณ์โควิททำให้ตกงานเลยมีเวลาเดินเล่นแถวบางกอกน้อยครับ​ อาทิตย์ที่แล้วพาคุณแม่ไปโรงบาล​ คุณแม่เล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนพ่อของคุณตา​ ทำงานเป็นหมออยู่ที่วัดอรุณอัมรินทร์​ ส่วนแม่ของคุณตาเป็นแม่ครัวของวัดระฆังสมัยสมเด็จโต​เป็นเจ้าอาวาส​ คาดว่าสมัยนั้นบริเวณศิริราชน่าจะยังไม่มีตึกที่ใช้รักษาผู้ป่วยสูงๆ​ ส่วนคำที่เรียก​ หมอหลวง​ ความคิดเห็นส่วนตัวของผมอาจไม่ได้มีความหมาย​ ว่าเป็นหมอของโรงบาลรัฐบาลเหมือนในปัจจุบันนี้​ แต่อาจหมายถึงการเรียกชื่ออาชีพแล้วตามด้วยยศในขณะนั้น​ ซึ่งอาจมาจาก​ หม่อมหลวง​ เลยเป็นคำเรียกว่าหมอหลวง​ เพราะพื้นที่บริเวณนั้นเป็นวังหลัง​ อาจมีผู้ที่เหมาะสมให้ศึกษาและรักษาผู้อื่น​ ต้องน่าจะเป็นบุคคลที่คนไข้ต้องเชื่อถือพอสมควร​ ในสมัยที่การแพทย์ยังไม่มีตำราแพร่หลายเหมือนดังปัจจุบันนี้​ ส่วนรุ่นคุณตาผมแม้จะไม่ได้ใช้คำว่าหม่อมหลวงนำหน้าชื่อแล้ว​ แต่ก็ยังคงเรียกนำหน้าว่า​ หลวง​ ก่อนตามด้วยชื่อ​ ดังจะปรากฎให้เห็นในเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองยุคหลังนั้น​ ผู้ที่ร่วมในฝ่ายหนึ่ง​ จะถูกเรียกว่า​ ขุน...  บ้าง​ หลวง...  บ้าง​ ผิดพลาดประการใดขออภัย​ครับ ไม่เคยศึกษาประวัติศาสตร์เรียนก็ไม่จบ​ แต่ชอบเรื่องราวเก่าๆสมัยพ่อแม่ปู่ย่าตายาย​ ครับ​ เวลาแม่เล่าให้ฟังเรื่องเก่าเหมือนผมได้ย้อนเวลาไปในช่วงเวลานั้นทุกที​ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 ก.ค. 23, 18:35

คำที่เรียก​ หมอหลวง​ ความคิดเห็นส่วนตัวของผมอาจไม่ได้มีความหมาย​ ว่าเป็นหมอของโรงบาลรัฐบาลเหมือนในปัจจุบันนี้​ แต่อาจหมายถึงการเรียกชื่ออาชีพแล้วตามด้วยยศในขณะนั้น​ ซึ่งอาจมาจาก​ หม่อมหลวง​ เลยเป็นคำเรียกว่าหมอหลวง​

คุณทิพยุทธเข้าใจผิด

"หมอหลวง" คือหมอที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ รับราชการสังกัดอยู่ในกรม ราชแพทย์  จึงเป็นข้าราชการที่มีศักดินาได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด เงินปี ทำหน้าที่รักษา พระมหากษัตริย์ บุคคลต่าง ๆ ในราชสำนัก  และรักษาตามพระบรมราชโองการของกษัตริย์  การศึกษาของหมอหลวง  จะเป็นระบบและน่าเชื่อถือ ให้คุ้นเคยกับการรักษาพยาบาล แล้วจะได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้ช่วยแพทย์ ติดตามหมอหลวง ไปทำการรักษา จนมีความชำนาญในการตรวจ  ผสมยา เมื่อโตขึ้น ก็มีความรู้พร้อมที่เข้ารับราชการได้ เมื่อมีตำแหน่งว่างในกรมหมอหลวง  ก็จะได้รับการบรรจุเข้าทำงานทันที  หมอหลวง จะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าหมอเชลยศักดิ์ หลายอย่าง เช่น สามารถเก็บสมุนไพรตามบ้านราษฎร หรือในที่ใด ๆ ก็ได้ โดยมีกระบองแดง  เป็นสัญลักษณ์แสดง  ถ้าสมุนไพรชนิดใดขาดแคลน และหมอหลวงไม่สามารถหาได้ในบริเวณเมืองหลวง ก็จะมีสารตราในนามเจ้าพระยาจักรี ออกไปยังหัวเมืองให้เก็บสมุนไพรต่าง ๆ มายังโรงพระโอสถ  ในด้านรายได้ของหมอหลวง  มักจะได้รับเงินเป็นจำนวนมากจากการรักษา เจ้านาย หรือข้าราชการตาม พระบรมราชโองการ  ถึงแม้ว่าโดยธรรมเนียม ประเพณีแล้ว หมอ หลวงที่พระมหากษัตริย์ พระราชทานไปรักษานั้น  จะไม่คิดค่ารักษาพยาบาล แต่คนไข้ ก็มักจะ จ่ายให้หมอเป็นการแสดงความขอบคุณเสมอ

มีหมออีกประภทหนึ่งเรียกว่า "หมอเชลยศักดิ์" คือหมอที่ไม่ได้รับราชการ ประกอบอาชีพอิสระ ฝึกฝนเล่าเรียนจากบรรพบุรุษที่เป็นหมออยู่ก่อน หรือศึกษาจากตำราแล้วทดลองฝึกหัดจนมีความชำนาญ เช่น หมอพื้นเมืองทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหมอที่มีชื่อเสียง และมีลูกศิษย์มาก ทั้งฆราวาส และพระสงฆ์  โดยทั่วไปหมอเชลยศักดิ์มักจะเป็นผู้ชาย (ยกเว้นหมอตำแย ซึ่งมัก  จะเป็นหญิงสูงอายุ) ทำหน้าที่ทั้งหมอและ เภสัชกร กล่าวคือ เมื่อตรวจไข้และวินิจฉัยโรคแล้ว หมอคนเดียวกันนี้จะทำการปรุงงยารักษาด้วย โดยหมอจะมีล่วมยา ๑ ใบ  ภายในบรรจุซองยาสมุนไพรชนิดต่าง ๆ  เมื่อตกลงจะรักษาคนไข้รายใด ก็ให้เจ้าของไข้ตั้งขวัญข้าว ซึ่งประกอบไปด้วย ข้าวสาร กล้วย หมากพลู และเงินติดเทียนหกสลึง สิ่งเหล่านี้เรียกว่า ค่าขวัญข้าว ใช้สำหรับเป็นค่าบูชาครูแพทย์ (ชีวกกุมารภัจจ์) หมออาจจะให้เจ้าของไข้ เก็บเครื่องยาสมุนไพร ส่วนเครื่องเทศ หมอเรียกร้องเงินซื้อบ้าง  ถ้าไข้ไม่สำคัญ คนไข้หายเร็ว เจ้าของไข้ก็ส่งขวัญข้าวทั้งหมดให้หมอ และให้ค่ายาอีก ๓ บาท แต่ถ้าหมอรักษาไม่หาย หมอจะไม่ได้อะไรเลย ไม่ว่าจะลงทุนไปแล้วเท่าไรก็ตาม ในรายที่คนไข้มีฐานะดี ผู้เป็นเจ้าของไข้เกรงว่า หมอจะทำการตรวจและรักษาไม่เต็มที่ ก็จะตั้งรางวัลไว้สูง หากหมอคนใดรักษาหายได้ ก็จะได้รับรางวัลที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ในกรณีที่หมอมีชื่อเสียง  บางครั้งอาจมีการเรียกเก็บเงินก่อน  ทำการรักษาพยาบาล  เรียกว่า ค่าเปิดล่วมยา  หมอเชลยศักดิ์มีรายได้จากค่าตอบแทนในการรักษาพยาบาลเท่านั้น  ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ละท้องถิ่น และไม่แน่เสมอไปว่าจะได้เงิน  ในกฎหมายสมัยก่อน บัญญัติให้หมอสามารถเรียกสิ่งอื่นเป็นค่ารักษาได้นอกจากเงิน ในกรณ๊ที่ คนไข้ไม่มีเงิน ดังนั้นรายได้ของหมอเชลย  ศักดิ์ จึงไม่แน่นอน มักจะประกอบอาชีพอื่นไปด้วย

หมอเชลยศักดิ์นี้มีโอกาสเลื่อนเป็นหมอหลวง ได้ ในกรณีที่แสดงความสามารถเป็นที่พอพระราชหฤทัยพระมหากษัตริย์ ก็จะโปรดฯ ให้เข้ารับราชการในกรมหมอหลวง หรือมีโอกาสเข้ารับราชการเป็นหมอประจำเมือง ในกรมหมอหลวงของเมืองใหญ่ ๆ เช่นเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น


ข้อมูลจากกระทู้ หนังสือพิมพ์เก่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 09 ก.ค. 23, 19:22

ส่วนรุ่นคุณตาผมแม้จะไม่ได้ใช้คำว่าหม่อมหลวงนำหน้าชื่อแล้ว​ แต่ก็ยังคงเรียกนำหน้าว่า​ หลวง​ ก่อนตามด้วยชื่อ​ ดังจะปรากฎให้เห็นในเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองยุคหลังนั้น​ ผู้ที่ร่วมในฝ่ายหนึ่ง​ จะถูกเรียกว่า​ ขุน...  บ้าง​ หลวง...  บ้าง​
อ่านแล้วไม่เข้าใจ   
ขุน หลวง พระ พระยา เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้ง  ใครที่ไม่ได้รับราชการจะเอาไปใช้ไม่ได้ 
ส่วนหม่อมหลวงคือคำเรียกบุตรของหม่อมราชวงศ์
หม่อมหลวงบางท่านอาจรับราชการได้เป็นคุณหลวง  คนทั่วไปจะเรียกท่านว่าคุณหลวง   ไม่ต้องเรียกว่าหม่อมหลวงคุณหลวงค่ะ   
บันทึกการเข้า
ทิพยุทธ
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 09 ก.ค. 23, 19:30

ขอบพระคุณครับคุณเพ็ญชมพู

ผมไม่ได้มีความรู้ทางวิชาการเลยครับ​ แต่ชอบเรื่องที่เป็นตำนานคำบอกเล่ามากกว่าครับ​ เลยลองเสนอข้อมูลแบบคนไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรอะครับ​ มิได้มีเจตนาบิดเบือนเนื้อหาที่เคยบันทึกไว้เลย​ครับ
  ผมชอบคำทำนาย​ครับและก็สิ่งศักสิทธิ์​ เลยได้ลองอ่านประวัติสมเด็จโต​ มีเรื่องเล่าว่าสมัยนั้นเกิดโรคห่าระบาด​ ท่านสมเด็จโตท่านได้สวดน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปพรม​ เพื่อขับไล่โรคระบาดครั้งนั้น​ เปรียบดังเช่นยุคนี้​ ที่มีโควิท​ แต่ก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุและวิธีรักษาได้​ ถ้าในยุคนั้นยังใช้สมุนไพรรักษา​ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการรักษาน่าจะเป็นฝ่ายสงฆ์มากกว่า​ จากตำนานพระไภษัชยคุรุ​ ก็มีเรื่องราวของพระที่เป็นความศักสิทธิ์ของเรื่องการรักษาการ​ ส่วนการแพทย์​ การเมือง​ การศึกษา​ เป็นอารยธรรมทางตะวันตกที่น่าจะนำเข้ามาเพื่อเผยแพร่อิทธิพล​ การบันทึกลงในหนังสือพิมพ์ก็เป็นไปได้ว่าในยุคต่อมาอิทธิพลต่างชาติเข้ามามีอิทธิพล​ คุณงามความดีต่างๆก็ยกให้เขาไป​ ถ้าจะมาป่วยแล้วให้พระรักษาก็คงไม่ควรเท่าไรเพราะมิใช่กิจสงฆ์​ น่าจะเป็นช่วงคาบเกี่ยวกับสมัยญี่ปุ่นมีโกโบริมาสานสัมพันธ์ไมตรีกับบ้านเราแล้วมีหมอติดตามมาด้วย​ ผมว่าหมอของญี่ปุ่นก็ไม่น่าจะใช้ยาของพวกตะวันออก​ ประวัติศาสตร์หลายอย่างจากที่ผมเคยได้ยินมาผู้ที่แพ้สงครามมักจะถูกบันทึกไว้ว่าเป็นชาติที่โหดร้าย​ แต่สมัยนั้นโกโบริก็เข้ามาผูกมิตรกับอังศุมาลิน​ กับทางเกาหลีก็เช่นกันทางญี่ปุ่นก็น่าจะผูกมิตรเช่นทำกับบ้านเรา​ แต่พอญี่ปุ่นถูกระเบิดลงและกำลังจะแพ้สงคราม​ เขาเลยต้องทำลายชาวเกาหลีเพื่อหนีความผิดการเป็นอาชญากรสงคราม​ จวบจนทุกวันนี้สองประเทศนี้ก็ยังไม่เผาผีกัน​ กลับมาที่บ้านเรา​ ผมแค่ชอบให้พ่อแม่เล่าให้ฟังเรื่องเก่า​ๆ​ พอดีแม่เขาเล่าว่า​ พ่อคุณตาก็เป็นหม่อนหลวง​ แล้วที่ทำงานก็อยู่ที่วัดอรุณอัมรินทร์​ ถ้าผมจำไม่ผิดตอนเด็กๆผมเคยเห็นรูปกับชื่อ​ น่าจะเป็นขุนพลาธิพิบัตร​ แต่คนละสกุลกับสนิทวงศ์​ เลยสงสัยขึ้นมาเฉยๆครับเพราะเห็นข้อมูลด้านบนๆ​กล่าวถึง​ต้นสกุลวังหลังไว้​ ส่วนหนังสือพิมพ์เก่าๆไม่มีอีกสกุลกล่าวถึงเพราะเหตุการณ์ต่อจากนั้นทำให้อาจบันทึกไว้ได้ไม่หมด​ แต่ผมก็ไม่ได้มีไรชัดเจนกับข้อมูลแค่ผมสนุกไปกับจินตนาการ​ ที่พยายามหาความเชื่อมโยงกันให้ได้มากที่สุด​  ถ้าผมเชื่อตามตำราหมอนอก​ วิทยาศาสตร์จะเป็นหนึ่ง​ แต่ถ้าผมไปแบบคนไม่รู้อะไรเลย​ ผมจะไปตำรายาสมุนไพรแพทย์แผนไทย​ หมอที่ไม่ได้รักษาแค่การเจ็บป่วยทางกาย​ แต่เป็นหมอที่รักษาได้แม้กระทั่งการเจ็บป่วยทางใจ​ ที่ทำให้โลกเราทุกวันนี้จิตใจคนเหมือนไร้เมตตา​ รบราฆ่าฟันกัน​ไม่จบสิ้น​ การรักษาที่ประเสริฐสุดน่าจะ​ รักษากายใจให้พ้นทุกข์พ้นภัยทั้งหมดทั้งสิ้น​ ความเจ็บไข้ความตายไม่ได้น่ากลัว​ เพราะเป็นเรื่องปกติ​ แต่ที่ไม่ปกติคือทำไมเราถึงอ่อนแอและเจ็บป่วยกับโรคใหม่ๆ​ หรือเรารักษากันมาผิดวิธี​
ขอบพระคุณที่ให้ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ
ปล.ผมยังเชื่อมั่นในวรรณะ​ ว่าคนนี้วรรณะอะไร​ และมีหน้าที่อะไรอยู่มั้งครับเลยออกนอกความจริงไปหน่อย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 10 ก.ค. 23, 08:53

อ้างถึง
พอดีแม่เขาเล่าว่า​ พ่อคุณตาก็เป็นหม่อนหลวง​ แล้วที่ทำงานก็อยู่ที่วัดอรุณอัมรินทร์​ ถ้าผมจำไม่ผิดตอนเด็กๆผมเคยเห็นรูปกับชื่อ​ น่าจะเป็นขุนพลาธิพิบัตร​ แต่คนละสกุลกับสนิทวงศ์​
ถ้าคุณพ่อคุณตาเป็นหม่อมหลวง   คุณตาก็มีคำนำหน้าว่า "นาย" ใช้ราชสกุลเดียวกับคุณตา  แต่มีคำว่า ณ อยุธยาต่อท้ายนามสกุล   คุณแม่เกิดมาก็จะใช้นามสกุลเดียวกับคุณตา  มี ณ อยุธยาต่อท้ายเช่นกัน   จนกระทั่งแต่งงานจดทะเบียนสมรสจึงจะใช้นามสกุลคุณพ่อ
ถ้าคุณทราบนามสกุลเดิมของคุณแม่   ตอนท่านเกิด ก็จะรู้ว่าคุณตามาจากราชสกุลไหน
ราชทินนามของคุณตา ถ้าท่านเป็นหมอ  เดาว่าน่าจะเป็นขุนพยาธิพิบัติ ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.107 วินาที กับ 20 คำสั่ง