เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
อ่าน: 4891 ภาษากลาง / ภาษาถิ่น
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 08 พ.ค. 23, 18:50

ในความไม่เหมือนกันนั้น แท้จริงแล้วก็ดูจะมีรากที่มาเหมือนๆกันอยู่ เช่น ปลาร้า ซึ่งเชื่อว่าเราจะเห็นภาพของปลาร้าคล้ายๆกัน  แต่ที่เรียกว่าปลาร้าของภาคเหนือ โดยส่วนมากแล้วจะเป็นปลาคลุกเกลือแล้วตากหนึ่งแดดแล้วเอามาคลุกข้าวคั่วแล้วตากแดดจนแห้ง แต่ก็มีแบบที่หมักเก็บไว้ ดูจะเรียกว่า ปลาร้าหนอง ? คือ ไปจับปลาก้นหนองน้ำที่นำกำลังจะแห้งขอด แล้วเอาปลาเล็กปลาน้อยเหล่านั้นมาหมัก     ปลาร้าทางภาคใต้ก็มี  ที่มีเด่นออกมาก็คือปลาดุกร้าของพัทลุง ซึ่งจะออกรสหวานปะแล่ม เอามาทอดกินอร่อยมาก ครับ   ปลาร้าของภาคอีสาน จะเป็นประเภทหมักเก็บใว้ในใหทั้งหมด  ในภาคกลาง คำว่าปลาร้าดูจะหายไป  ที่จะมีความใกล้กันก็ดูจะเป็นที่เรียกว่ากะปิมอญ ใส่แทนกะปิเคยในน้ำพริกแกงป่า จะทำให้รสแกงที่อร่อยมาก (ใช้พริกแห้งเม็ดเล็กเพื่อความเผ็ดแบบร้อนครึ่งต่อครึ่งกับพริกแห้งเม็ดใหญ่ที่ให้รสเผ็ดอย่างเดียว หอม กระเทียมไทย ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูดมากหน่อย ดอกกระเพราแดง/กระเพราขาว กะปิมอญ ผัดน้ำพริกให้หอมฉุน ใส่เนื้อสัตว์ รวนเนื้อพอสุก เติมน้ำ พอเนื้อสุกดีก็ใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และมะเขือขื่นปริมาณมากหน่อย ปิดฝาหม้อ ราไฟ  กินกับข้าวสวยหุงแบบเทน้ำ กับไข่เจียวฟูๆ  ยิงฟันยิ้ม)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 08 พ.ค. 23, 20:09

ชวนให้คิดว่า  ล้านนา โดยเฉพาะเชียงใหม่นั้น อยู่ในอิทธิพลของมอญมานับร้อยปี ได้รับประเพณีและวัฒนธรรมจากมอญในหลายๆเรื่อง ที่ตกค้างให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ดูจะมีอยู๋ไม่มากนัก ในด้านอาหารที่เด่นออกมาก็น่าจะเป็น ข้าวซอย และแกงฮังเล   ในด้านตนตรีก็น่าจะเป็นลักษณะของเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีปี่พาทย์ล้านนา....  ที่น่าสนใจก็คือ อิทธิพลทางด้านดนตรี นี้ดูจะไม่ข้ามเส้นหรือเป็นที่ยอมรับของผู้คนในแอ่งเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ ... และก็ดูไม่ลงต่ำไปจนถึงแถว อ.สบปราบ อ.เถิน อ.ลี้ จ.ลำปาง   กระทั่งในเรื่องของอาหาร (ข้าวซอย แกงฮังเล...) ก็ดูจะไม่เป็นเมนูนิยมในพื้นที่เหล่านี้   เพลงพื้นบ้านในภาคเหนือที่ใช้ ปี่แน ก็ดูจะไม่ข้ามเส้นนี้เช่นกัน ดูจะยังนิยมเพลงที่เล่นด้วย ปี่จุ่ม กันอยู่    ลักษณะของดนตรีเช่นนี้ ดูจะไม่มีตกค้างอยู่ในพื้นที่ภาคกลางเลย   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 08 พ.ค. 23, 20:45

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 09 พ.ค. 23, 20:14

ที่ว่าชวนให้คิด นั้น  ประเด็นก็คือ ภาษานั้นอาจจะมิใช่ส่วนสำคัญของเครื่องบ่งชี้ในเรื่องของการจัดกลุ่มชาติพันธุ์   เห็นว่า หากใช้หลักยึดถือในการดำเนินชีวิตเป็นพื้นฐานแรกเริ่มในการจำแนกกลุ่มต่างๆ  ซึ่งในองค์รวมก็จะมีเช่น เรื่องของความเชื่อ (สำนึกส่วนลึกทางจิตวิทยาด้านตรรกะความคิดต่างๆ)     เรื่องของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการงานต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาบนฐานของภูมิปัญญาที่ส่งต่อถ่ายทอดกันมา (เรื่องของ action ที่ยังให้เกิดผลสัมฤทธิ์)    และเรื่องของวัฒนธรรมและและประเพณีบางอย่าง เช่น การเรียกลูก คนแรก คนที่สอง คนที่สาม...  ลักษณะรูปทรงของมีดมาตรฐานที่ใช้ในการทำครัว(มีดลาบ)และรูปทรงของมีดที่ใช้ทั่วๆไปเมื่อเข้าป่า ไร่ สวน นา และในการหาอาหาร .....     

กรณีคิดนอกวงการเช่นนี้ เราก็อาจจะจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ได้ไปในอีกแบบหนึ่ง   ก็อาจจะพิจารณาได้ว่า การพูด คำที่ใช้ และศัพท์ก็อาจเป็นเพียงเรื่องของการเอาภาษาและสำเนียงของถิ่นอื่นมาผสมผสานใช้ แล้วกลายภาษาของเป็นของกลุ่มชาติพันธุ์ (กลายเป็นภาษาถิ่นไป)     ในยุโรป คำ ละศัพท์ที่ใช้กัน มีเป็นจำนวนมากที่เป็นคำและศัพท์ที่มีความหมายเดียวกัน หากแต่ออกเสียงต่างกัน สะกดต่างกัน  ในหลายกรณีก็ดูจะมีความหมายที่มีนัยลึกๆต่างกันเช่นกัน  ซึ่งทั้งมวลก็ดูจะเป็นผลที่โยงไปไกลถึงเรื่องของการค้าขายตามแม่น้ำดานูบตั้งแต้ต้นน้ำจนลงทะเลดำที่เกิดขึ้นมายาวนานนับเป็นพันๆปี 
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 10 พ.ค. 23, 19:18

ดูจะกำลังถลำลึกเข้าไปในเรื่องของศัพท์สองคำ คือ เชื้อชาติ (race) กับ เผ่าพันธุ์ (ethnic)   เชื้อชาติจะเน้นไปในเรื่องของลักษณะทางกายภาพ  เผ่าพันธุ์จะเน้นไปในเรื่องทางด้านวิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี    แล้วก็มีคำว่า ชาติพันธุ์ ซึ่งดูจะมีความหมายตรงกับศัพท์คำว่า ethnicity  ซึ่งเน้นไปทางด้านเทือกเถาเหล่ากอ สายใยที่โยงกัน และสิ่งที่ส่งทอดสืบต่อกันมา

เมื่อพิจารณาตามนัยของความหมายของศัพท์ที่ใช้ดังที่กล่าวมา  ก็อาจจะเป็นเรื่องน่าสนใจในการลองพยายามจัดกลุ่มชาติพันธุ์บนฐานของการจัดกลุ่มข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง   

ลาวพวนที่มีถิ่นอาศัยกระจายอยู่ทั่วไปอาจจะเป็นกรณีน่าศึกษา  ดูจะเห็นความต่างกันในหลายๆเรื่อง แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะอพยพมาจากพื้นที่ต้นทางเดียวกัน    เมื่อดูจากภาพเก่า สิ่งหนึ่งที่ดูจะเห็นเด่นออกมาก็คือลักษณะของบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ที่ดูจะแตกต่างกันค่อนข้างมากที่เห็นในภูมิภาคต่างๆของเรา  กระทั่งการแต่งกายที่แม้จะมีทรงนิยมที่ไม่ต่างกันนักก็ตาม

ขอหยุดข้ามเส้นแดนวิชาการตรงนี้นะครับ  ยิงฟันยิ้ม       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 10 พ.ค. 23, 19:33

ก็มีอยู่คำหนึ่งที่น่าสนใจ คือ คำที่ใช้เพื่อแสดงถึง การพ่ายแพ้ และ การชนะ  ซึ่งเห็นว่ามันเป็นคำที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนทัศน์ลึกๆของผู้คน

ขอเริ่มด้วยวลีว่า 'คิงแป้ ฮาก้าน'
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 10 พ.ค. 23, 19:53

ลาวพวน หรือไทพวน


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 12 พ.ค. 23, 20:08

(คิง คือคนที่เราพูดด้วย ฮา คือตัวเรา เป็นคำที่ใช้พูดกันในหมู่เพื่อน)

แป้(แป่) กับ ก๊าน(ก้าน) ความหมายที่ใช้กันทั่วไป คือ แป้ = ชนะ  ก็าน = แพ้  โดยนัยแล้วดูจะตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า beat และ  กับ defeat  มิใช่ในลักษณะของ win กับ lose ตามนัยของภาษาไทยกลาง   ซึ่งในภาษาไทยกลางดูจะใช้ในความหมายของผลลัพท์สุดท้ายของการ 'ประ' กัน ไม่ว่าจะ'ประ'กันในลักษณะหรือรูปแบบใดๆ 

ที่ว่าน่าสนใจก็คือ ลักษณะของประโยคที่ใช้คำเหล่านี้ ดูจะแสดงถึงสภาพของสังคมและอุปนิสัยใจคอของผู้คน  อธิบายเช่นนี้ก็แล้วกันครับ  กรณีสองฝ่ายทะเลาะกัน แล้วฝ่ายหนึ่งยกพวกไปตีเขา หากผลลัพท์ออกมาว่าฝ่ายรุกชนะก็จะใช้คำว่า beat หากฝ่ายรับสามารถไล่พวกนั้นกลับไปได้ ก็จะใช้คำว่า defeat     แต่หากเป็นกรณีการยกพวกตีกัน จะใช้คำว่า win สำหรับฝ่ายที่ชนะ และ lose สำหรับฝ่ายที่แพ้ 

ในภาษาไทยกลาง ดูจะมีแต่วลีว่า 'มึงแพ้กู' 'กูชนะมึง'    ในภาษาถิ่น ดูจะออกไปอีกแนวหนึ่งว่า 'มึงชนะ กูแพ้'  'เอาชนะมันได้' หรือ 'เอาชนะมันได้/ไม่ได้'     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 12 พ.ค. 23, 20:13

ดูจะเป็น attitude ของผู้คนในสายพันธุ์เดียวกัน หรือ ต่างสายพันธุ์ ที่น่าจะส่งต่อกันมาทางยีนส์ ?
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 13 พ.ค. 23, 19:14

เมื่อเข้าไปอยู่ในพื้นถิ่นต่างวัฒนธรรม ต่างภาษา ต่างสำเนียง ต่างชาติพันธุ์  จะมีเรื่องหนึ่งที่ต้องอยู่ในเรื่องที่ต้องเรียนรู้ก็คือ คำด่าเมื่อโกรธ และคำสบถต่างๆ  ด้วยเห็นว่ามันก็เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงคุณสมบัติภายในจิตใจลึกๆอย่างหนึ่งของแต่ละชาติพันธุ์ รวมทั้งลักษณะทางสังคม วัฒนธรรม และความเชื่อ  ทั้งนี้ แม้ว่าคำหลายคำเหล่านั้นจะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่นๆในภายหลัง ก็ยังมีลักษณะของการนำมาใช้ด้วยการลด/เพิ่มความรุนแรงด้วยวลีที่ใช้   

เท่าที่ประสบมา คำด่าในระดับที่แรงในกลุ่มภาษาเหนือจะมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบกับสัตว์ เช่น ชาติหมา  ของภาคอีสานและภาคใต้จะออกไปทางสาบแช่งเป็นภูติผี   สำหรับคำด่าในภาษาไทยกลางดูจะเน้นไปที่พ่อแม่   คำด่าของพม่าและกะเหรี่ยงก็เน้นไปที่พ่อแม่เช่นกัน

น่าสังเกตว่า ในภาษาเหนือ อีสาน และใต้  ดูจะไม่มีคำก่นด่านำหน้าประโยคที่สนทนากันในหมู่เพื่อนสนิท จะได้ยินจนเป็นปกติก็ในภาษาไทยกลาง และโดยเฉพาะที่ใช้กันในพื้นที่เมือง ซึ่งดูจะเป็นการแสดงออกของลักษณะ/อุปนิสัยของผู้คนที่ขี้บ่น ขี้รำคาญ ใจร้อน และรู้สึกอยู่ในใจเสมอว่าอะไรก็ไม่เป็นดังที่ใจคิด ตนเองเป็นใหญ่ คิดอะไร ทำอะไรก็ต้องถูกทั้งหมด... ฯลฯ   ซึ่งก็แปลกอยู่ ที่เกือบจะไม่ได้ยินลักษณะของการใช้ภาษาลักษณะนี้ในหมู่ผู้คนที่กลับมาเยี่ยมบ้านในต่างจังหวัด  ก็อาจจะแสดงถึงซึ่งความต่างกันอย่างเกือบจะสิ้นเชิงระหว่างสังคมที่อยู่ในสภาพของความเครียดในเมืองกับสังคมที่ผ่อนคลายในต่างจังหวัด         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 14 พ.ค. 23, 19:12

นึกไปถึงประสบการณ์ที่ได้มาจากการทำงานในพื้นที่ต่างๆกันเรื่องหนึ่งว่า มันมีช่องว่างของคำ/ศัพท์ที่จะใช้ในการบอกเล่าหรืออธิบายเรื่องทางความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร หรือทางวิชาการ ที่จะใช้สื่อสารให้มีความเข้าใจหรือได้เห็นภาพที่ตรงกันระหว่างการใช้ภาษากลางกับภาษาถิ่น

ลองนึกถึงคำง่ายๆ คำว่า ผัด และคำว่า คั่ว ในความหมายของภาษาไทยกลางที่เราเข้าใจในความต่างกัน  แต่ในภาษาถิ่น(เหนือและอีสาน) คั่วกับผัดมันก็ดูจะไม่ต่างกันมากนัก   หรือเช่นวลีว่า ไปหาหมอ ซึ่งในความหมายของภาษาไทยกลาง จะหมายถึงไปหาแพทย์ แต่ในพื้นถิ่นจะไม่เน้นว่าต้องเป็นแพทย์ ก็จึงอาจเป็นเพียงนางพยาบาลหรือผู้ที่สามารถให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ (ทำแผล ให้ยาแก้ปวดหัว...)  หรือเรื่องของการตวงสิ่งของ เช่นกรณีเรื่องเกี่ยวกับข้าว ข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้จากนาข้าวหนึ่งกระสอบ ในหลายๆพื้นที่มิได้หมายถึงกระสอบข้าวมาตรฐาน 100 กก. แต่อาจจะเป็นตามจำนวนของกระสอบปุ๋ย ซึ่งก็จะมีทั้งกระสอบขนาดบรรจุปุ๋ย 30 กก. และ 50 กก.  ......

กรณีที่กล่าวถึงนี้ก็เป็นเรื่องมองคนละมุมเช่นกัน   ถามชาวบ้านว่า ปีนี้ทำนาได้ข้าวดีใหม ชาวบ้านตอบ(ดังที่กล่าวมา)   สำหรับพ่อค้าวิเคราะห์ในภาพหนึ่ง สำหรับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ในอีกภาพหนึ่ง  ในหมู่ชาวบ้านก็มองไปในอีกภาพหนึ่ง .....

การพูดคุยกันระหว่างเราคนเมือง(กรุง)กับชาวบ้านให้มีความเข้าใจตรงกันอย่างแท้จริงจึงเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลาในการสนทนา  น่าคิดว่า น่าจะต้องมีการพัฒนาภาษาสื่อสารในเรื่องเช่นนี้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 30 พ.ค. 23, 18:44

เว้นวรรคเขียนกระทู้ไปสองสัปดาห์ ด้วยเหตุสองประการ  แรกคือเรื่องของการเจ็บป่วยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกและต้นคอกำเริบขึ้นมา ทางการแพทย์หรือทางวิชาการกายภาพบำบัดดูจะเรียกกันว่าเป็นอาการ Gofer's elbow  และอีกเรื่องก็คือ หลบไปปลีกวิเวก ดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายและง่ายๆแบบชาวบ้านในพื้นที่ไกลปืนเที่ยง

อาการ Gofer's elbow เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ทำงานในลักษณะนั่งเขียนและใช้คอมพิวเตอร์ในแต่ละวันเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงต่อเนื่อง ผมเป็นคนที่ไม่เล่นกอล์ฟ เพราะเห็นว่าจะเป็นการดีกว่าที่จะเอาเวลาเพื่อประโยชน์ของตนไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับลูกและครอบครัว   อาการเจ็บป่วยที่เรียกว่า Gofer's elbow  นี้รักษาหรือบรรเทาได้ด้วยการบริหารร่างกายเพื่อการผ่อนคลายกล้ามเนื้อช่วงช้อศอก สะบักใหล่ และคอ  และก็ต้องหันไปปรับลักษณะของโต็ะ ที่นั่ง และลักษณะการนั่งของตัวเองให้เหมาะสม รวมทั้งต้องจัดให้มีช่วงเวลาของการพักและเปลี่ยนอริยาบทที่เหมาะสมของตนเอง 

สำหรับการปลีกวิเวกของผมก็คือ การปลีกตัวเองออกไปใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในสิ่งแวดล้อมของสังคมที่เรียบง่าย ในบรรยากาศที่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริงมากกว่าบนฐานที่มีการปรุงแต่งหรือหลอกลวง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 30 พ.ค. 23, 18:55

ต้อนรับกลับเรือนไทยค่ะ
อยากให้คุณตั้ง ตั้งกระทู้ใหม่  เล่าถึงชีวิตในสังคมที่เรียบง่ายว่าเขาอยู่กันอย่างไร   มีความประทับใจอย่างไรบ้าง   ถ้าไม่อยากระบุชื่อถิ่น หรือสถานที่ที่ไปอยู่ ก็เว้นชื่อเสียก็ได้ค่ะ

บ้านของดิแันตอนนี้ก็เหมือนกรุงเทพเข้าไปทุกทีแล้วค่ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 31 พ.ค. 23, 17:46

OK ครับ   นึกถีงเรื่องราวที่พึงมีในกระทู้ใหม่แล้ว ก็เห็นว่า เรื่องราวของกระทู้นี้ก็เป็นส่วนเล็กๆน้อยๆที่จะปรากฎอยู่ในกระทู้ใหม่อยู่แล้ว 

แต่ก็จะต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าว่า ด้วยที่เรื่องราวที่กล่าวถึงในกระทู้ต่างๆของผม(ที่ผ่านมาและต่อๆไป)นั้นเป็นการดั้นสด ประกอบกับความสามารถต่างๆ (การทบทวนความจำ การคิด การเขียน และการลำดับความ ... ที่ไม่ค่อยจะดีอยู่แล้ว) ได้ลดลงไปค่อนข้างมากตามวัย และยังประกอบกับการพิมพ์ผิด-พิมพ์ถูกอีกด้วย  เรื่องราวต่างๆจึงอาจจะอยู่ในลักษณะของเรื่องเดินช้าและกระโดดไป-กระโดดมา  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.114 วินาที กับ 19 คำสั่ง