เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
อ่าน: 5062 ภาษากลาง / ภาษาถิ่น
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 06 เม.ย. 23, 19:20

Spring โดยทั่วๆไปหมายถึงจุดหรือบริเวณที่มีน้ำผุดหรือโผล่ออกมาในพื้นที่ตีนเขาหิน ซึ่งน่าจะเกือบทั้งหมดจะพบในพื้นที่ๆครอบคลุมไปด้วยเขาหินปูน   spring ดูจะนิยมใช้เรียกในมิติของพื้นที่ๆมีน้ำโผล่หรือไหลซึมออกมาในปริมาณมากพอที่จะเป็นต้นทางของธารน้ำหนึ่งใด   

ในบ้านเรามีพื้นที่ๆสามารถเรียกตามนัยของคำว่า spring มากน้อยเพียงใด ?  ก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ก็คือพื้นที่ๆเราเรียกว่า พุ ซึ่งพบมากในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี เช่น พุองกะ พุปลู พุตะเคียน...  และก็มีที่ไม่มีชื่อเรียกเป็นการเฉพาะ เช่น จุดน้ำโผล่ที่เป็นต้นทางของธารน้ำตกเขาพัง(น้ำตกไทรโยคน้อย) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานีน้ำตก   พื้นที่ต้นทางของธารน้ำเล็กๆที่รวมกันเป็นธารน้ำของน้ำตกไทรโยคใหญ่   และก็พื้นที่บริเวณถ้ำขุนน้ำนางนอนและถ้ำปลา ใน อ.แม่จัน จ.เชียงราย ก็น่าจะอยู่ในลักษณะที่เรียกได้

น้ำสามารถละลายและกัดเซาะหินปูนได้ไม่ยากนัก และก็ยังพาเอาสารละลายของเนื้อหินปูนไปตกตะกอนในที่อื่นๆได้ด้วย  จึงทำให้ในพื้นที่ๆครอบคลุมด้วยหินปูนเกิดมีโพรง มีถ้ำ และมีธารน้ำที่ไหลมุดลงไปใต้ดิน ณ จุดๆหนึ่ง กลายเป็นธารน้ำใต้ดิน แล้วไปโผล่ ณ อีกที่แห่งหนึ่ง  น้ำที่โผล่ออกมานี้จะมีสภาพความเป็นด่างอ่อนๆ เมื่อมาสัมผัสกับดินก็จะเกิดมีกระบวนการทางเคมีกับแร่ธาตุต่างๆในดิน รวมทั้งซากพืชซากสัตว์ต่างๆ แล้วปรับให้ดินและน้ำมีเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชพรรณต่างๆ  พื้นที่ spring จึงค่อนข้างจะมีความความอุดมสมบูรณ์กว่าปกติ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 06 เม.ย. 23, 19:30

ก็น่าจะต้องขยายความต่อกับคำว่า พุน้ำ และ น้ำพุ  (พุน้ำร้อน_hot spring) และ น้ำพุร้อน_geyser) ซึ่งในบ้านเราก็มีทั้งสองแบบ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 07 เม.ย. 23, 19:05

พุโดยส่วนมาก น้ำที่ออกมาจะเป็นน้ำเย็น  แต่ก็มีพุที่เป็นน้ำร้อนผุดออกมา ก็เลยเติมคำเพื่อแยกออกจากพุน้ำตามปกติ ภาษาไทยเราเรียกว่า
พุน้ำร้อน ฝรั่งเรียกว่า hot spring   

พุน้ำร้อนมีได้ทั้งในลักษณะเป็นจุดน้ำร้อนโผล่ไหลออกมาและในลักษณะเป็นที่เป็นแอ่งน้ำตื้นๆ  แต่หากเป็นกรณีน้ำโผล่ออกมาแบบพุ่งสูงคล้ายกับการฉีดน้ำพุ่งขึ่นไปในอากาศ ก็จะเรียกว่าน้ำพุร้อน  ฝรั่งเรียกว่า geyser ซึ่งก็มักจะต่อท้ายด้วยคำว่า spring   

คำอธิบายพื้นฐานง่ายๆของการเกิดน้ำร้อนผุดออกมาที่ผิวดิน ก็คือ เกิดมีน้ำเย็นไหลซึมลงไปตามรอยแตกแยกของดินและหิน ลึกลงไปสัมผัสกับหินอัคนีที่ยังคงมีความร้อน หรือไปสัมผัสกับจุดที่มีการสะสมความร้อนเนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆในเปลือกโลก  น้ำที่ร้อนขึ้นมาเกิดมีแรงดัน ไหลย้อนขึ้นมาสู่ผิวดิน กลายเป็นพุน้ำร้อนหรือน้ำพุร้อน 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 07 เม.ย. 23, 19:39

ขอออกนอกเรื่องภาษาไปอีกหน่อยค่ะ
งั้นออนเซ็นของญี่ปุ่นก็เกิดจากน้ำพุร้อนใช่ไหมคะ     มีมากมายหลายร้อยแห่ง ล้วนแต่ธรรมชาติทั้งนั้นหรือคะ



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 07 เม.ย. 23, 21:48

ตอบ อ.เทาชมพู ว่า มีทั้งของจริงและของปลอมครับ    ทราบมาว่าของปลอมนั้นใช้เครื่องทำน้ำร้อนแล้วใส่กลิ่นแกสไข่เน่า (Hydrogen sulfide_H2S) ผสมลงไป สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับกลิ่นนี้คงจะแยกออกได้ยากมากกว่าคนที่พอจะคุ้นกับกลิ่นนี้หรือผู้ที่เข้าออนเซ็นเป็นประจำ หรือมิฉะนั้นก็จะเป็นน้ำร้อน(ธรรมชาติ)ปลายทางที่ต้องเอามาเพิ่มความร้อนและปรับแต่งกลิ่นก่อน  เท่าที่พอจะรู้ นักท่องเที่ยวภายในประเทศของญี่ปุ่นเองก็ยังต้องมีความพิถีพิถันในการเลือกสถานที่ๆจะไปออนเซน

พุน้ำร้อนในเกาะญี่ปุ่นมีอยู่เป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ มีการแบ่งออกเป็นระดับต่างๆตามความเข้มข้นของแร่ธาตุในน้ำ ซึ่งผู้ที่จะไปออนเซ็นก็จะเลือกตามที่ร่างกายของตนจะรับได้   นัยว่า โรงแรมที่เป็นตึกและมีออนเซ็นให้บริการแบบต่อท่อมาจากแหล่งน้ำร้อนนั้น มักจะเป็นของปลอม  ของจริงดูจะพบอยู่ตามเรียวกังที่เป็นบ้านค่อนข้างเก่าและมีผู้สูงวัยเป็นเจ้าของบ้าน(ผู้ให้บริการ) ก็มีระดับของนักออนเซ็นไล่เรียงกันไปตั้งแต่รุ่นเดอะไปจนถึงรุ่นละอ่อน  เขาว่า ต้องค่อยๆสร้างความคุ้นเคยให้กับร่างกายและค่อยๆยกระดับ ก็นานพอก่อนที่จะสามารถไปออนเซ็นในน้ำร้อนที่มีปริมาณแร่ธาตุสูง   เคยถามเขาถึงความต่างระหว่างน้ำร้อนแบบเบาๆกับแบบหนักหน่วง เขาบอกว่า มือใหม่ไปอาบในน้ำแร่แบบหนักหน่วงจะทนแช่น้ำร้อนได้ในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 08 เม.ย. 23, 19:23

พุน้ำร้อนในประเทศไทยมีไหม ?   มีครับ มีในหลายๆจังหวัด เหนือจรดใต้ บางจังหวัดก็มีหลายแห่ง  แต่ไม่มีในภาคอิสาน ?? 

ก็มี เช่น จ.เชียงใหม่ _ป่าแป๋, แม่แตง,แม่ออน, แม่แจ่ม, ฝาง   จ.แม่ฮ่องสอน _แม่อุมลอง, ผาบ่อง   จ.เชียงราย _ป่าตึง, โป่งพระบาท, แม่ขะจาน, ห่้วยหมากเหลี่ยม, โป่งฟูเฟือง, ห้วยทรายขาว   จ.พะเยา _ภูซาง   จ.น่าน _โป่งกิ    จ.แพร่ _แม่จอก, สูงเม่น   จ.ลำปาง _แจ้ซ้อน       จ.เพชรบูรณ์ _พุขาม, พุเตย   จ.ตาก _แม่กาษา    จ.กำแพงเพชร _พุร้อนพระร่วง    จ.อุทัยธานี _ห้วยคต   จ.กาญจนบุรี _กุยมั่ง (หินดาด), บ.พุน้ำร้อน    จ.ราชบุรี _บ่อคลึง, โป่งกระทิง    จ.เพชรบุรี _หนองหญ้าปล้อง    จ.ชุมพร _ถ้ำเขาพลู    จ.ระนอง _หาดส้มแป้น   จ.กระบี่ _คลองท่อม   จ.พังงา _กะปง    จ.สุราษฏร์ธานี _ท่าสะท้อน    จ.ตรัง _กันตัง

ชื่อพุน้ำร้อนที่กล่าวถึงเหล่านี้เป็นชื่อเรียกทางสมุหนาม เพื่อจะให้เห็นภาพของการกระจัดกระจายของพื้นที่ๆพบพุน้ำร้อน  ในแต่ละพื้นๆอาจจะมีหลายจุดที่มีน้ำร้อนผุดออกมา ซึ่งดูจะมีการตั้งชื่อเป็นการเฉพาะสำหรับแต่ละจุดนั้นๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 09 เม.ย. 23, 18:32

ดูจะเป็นเรื่องน่าสนใจ ก็เลยขอขยายความต่อไปอีกสักหน่อย  ครับ

พุน้ำร้อนมีกระจายอยู่ทั่วไทย แล้วมีน้ำพุร้อน(geyser)บ้างใหม   มีครับ ที่โป่งเดือด ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นน้ำพุร้อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทราบว่าในปัจจุบันนี้ ความสูงที่พุ่งขึ้นไปลดลง เหลือสักเมตรสองเมตรกระมัง ?   มีแบบที่ใช้วิธีการก่อบ่อซีเมนต์รอบจุดที่น้ำร้อนผุดออกมาบนผิวดิน ซึ่งไม่แน่ใจว่าแต่ดั้งเดิม ณ จุดนั้นๆมีลักษณะเป็นน้ำพุบ้างหรือไม่ และก็มีแบบที่เกิดเป็นน้ำพุขึ้นมาด้วยเหตุจากการเจาะแล้วใส่ท่อลงไป เช่น น้ำพุร้อนแม่ขะจาน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย  และน้ำพุร้อนสันกำแพง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่   พวกน้ำพุที่เกิดจากการเจาะใส่ท่อนี้ ได้มาจากการสำรวจเพื่อประเมินศักยภาพของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพของไทยเรา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 09 เม.ย. 23, 19:18

มีน้ำพุร้อนแล้วก็ต้องมีน้ำพุที่ไม่ร้อน ไม่เรียกว่า geyser แต่เรียกว่า artesian fountain  ซึ่งทั้งหมดดูจะเกิดขึ้นมาสืบเนื่องมาจากการเจาะบ่อน้ำตื้นหรือบ่อน้ำบาดาล  ในไทยเรามีอยู่หลายแห่งเช่นกัน แต่ดูจะเปลี่ยนสภาพไปเป็นลักษณะของพุน้ำเกือบทั้งหมดแล้ว ที่ยังคงมีสภาพเป็นน้ำพุอยู่ ก็เช่นที่ ต.ห้วยกระเจา อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี     

เมื่อทำบ่อน้ำครอบบริเวณที่น้ำผุดออกมาสู่ผิวดิน ฝรั่งก็ใช้คำว่า artesian well แล้วก็ใช้ครอบคลุมถึงบ่อน้ำที่ขุดลึกลงไปแล้วมีน้ำไหลเข้าบ่อตลอดเวลา คือเป็นลักษณะของบ่อน้ำที่ไม่เคยแห้ง    สำหรับภาษาพื้นบ้านของไทยที่ใช้อธิบายลักษณะการผุดของน้ำออกมาตลอดเวลาในบ่อน้ำตื้นเหล่านี้ว่า ตาน้ำ

คำอธิบายในเรื่องที่กล่าวถึงมานี้ ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของวิชาการทางอุทกธรณีฯ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 09 เม.ย. 23, 19:22

ถึงตรงนี้ ก็คงจะทำให้นึกไปถึงเรื่องของศักยภาพทางเศรษฐกิจของ พุ ต่างๆ  ค่อยว่ากันพรุ่งนี้ ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 10 เม.ย. 23, 19:11

พุน้ำร้อนได้มาจากการที่น้ำได้ผ่านจุดที่มีความร้อนสูงใต้ผิวโลกแล้วโผล่ขึ้นมาเหนือผิวดิน  ซึ่งจุดใต้ผิวโลกที่มีความร้อนสูงเหล่านั้น ทั้งหมดจะมีความเกี่ยวข้อง_อาจจะกับหินอัคนีที่ยังเย็นตัวไม่ถึงที่สุด หรืออาจจะกับรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลัง  หรืออาจจะกับความร้อนที่เพิ่มขึ้นตามระดับความลึก   ก็หมายความว่า น้ำร้อนที่โผล่ขึ้นมาในแต่ละที่นั้นจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป   ลองถึงความแตกต่างของน้ำร้อนที่ได้มาจากการเอาน้ำดิบที่มีคุณสมบัติและคุณภาพต่างๆกัน เอาไปต้มในหม้อที่ทำด้วยวัสดุต่างๆที่มีคุณสมบัติและคุณภาพต่างกัน เราก็ย่อมจะได้น้ำร้อนที่มีคุณสมบัติและคุณคุณภาพที่ต่างกัน   ลงลึกไป(เล็กน้อย)ในกระบวนการทางเคมี-ฟิสิกส์ ก็จะเห็นภาพที่ไม่สลับซับซ้อนว่า สรรพสิ่งหลายอย่างละลายได้ในน้ำร้อน ซึ่งหากจัดให้สภาวะของการละลายนั้นๆอยู่ภายใต้สภาพที่มีแรงดัน เช่น ตุ๋นเนื้อในหม้อต้มแรงดัน ก็จะได้ผลผลิตที่มีความแตกต่างไปจากการต้มธรรมดาๆ คือมีความเข้มข้นของน้ำทั้งในเชิงของรสและปริมาณสารละลายในน้ำ  ซึ่ง ณ ระดับอุณหภูมิที่ต่างกันเมื่อเย็นตัวลง ของตุ๋นชิ้นนั้นก็จะมีคุณภาพและคุณสมบัติที่ต่างกัน  หนึ่งในนั้นก็เช่นจากเหตุของการระเหยหายไป หรือจากเหตุของการรวมตัวกันเป็นมวลที่มีความหนาแน่นมากขึ้น ....   

พุน้ำร้อนแต่ละแหล่งก็เช่นกัน ย่อมมีความไม่เหมือนกันในเชิงของปริมาณแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำ ในเชิงของอุณหภูมิ  ในเชิงของ individual values
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 10 เม.ย. 23, 19:38

ไทยเรามีน้ำพุร้อนอยู่หลายๆแหล่ง  เข้าใจว่าส่วนมากจะอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทธยานฯ  ก็รู้ว่ามีการพัฒนาใช้ประโยชน์กับแหล่งน้ำร้อนธรรมชาติหลายๆแหล่ง จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของถิ่นสำหรับผู้มาเยือนก็มี  ทำเป็นรีสอร์ท/สปาร์ก็มี  จัดเป็นเพียงจุดแวะในระหว่างทางก็มี ฯลฯ  ทั้งมวลดูจะยังค่อนข้างจะจำกัดอยู่ในบริบทของเรื่องทางกายภาพ  ยังไม่นิยมจะฉายภาพในบริบทอื่นๆ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 11 เม.ย. 23, 18:52

เดิมทีว่าจะขยายความลึกลงไปสักหน่อยถึงที่มาของความต่างของคุณภาพของน้ำร้อนของพุ  แต่ดูว่าน่าจะทำให้อ่านแล้วก็ยิ่งทำให้สับสน เพราะจะต้องก้าวล่วงเข้าไปในเรื่องของ Geochemistry ซึ่งว่าด้วยเรื่องของสารประกอบของธาตุต่างๆในสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ (อุณหภูมิ ความกดดัน สภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นด่าง หรือ กรด...) 

สรุปเอาง่ายๆว่า น้ำร้อนจากพุมีสภาพน้ำที่เป็นได้ทั้งเป็นกรด เป็นด่าง หรือเป็นกลาง และมีความร้อนที่อุณหภูมิต่างกัน  ในสภาพที่ต่างกันนี้ น้ำร้อนจึงมีแร่ธาตุ/ละลายอยู่ในตัวไม่เหมือนกัน  ซึ่งความต่างในคุณสมบัติเชิงคุณภาพของน้ำร้อนนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพของผืนดินในพื้นที่/ตามเส้นทางที่น้ำไหลไป  ทั้งในกรณีของการตกตะกอนของสารละลายที่อยู่ในน้ำร้อนนั้นๆเนื่องจากการเปลี่ยนอุณหภูมิ หรือกรณีเกิดการสลับสับเปลี่ยนธาตุในองค์ประกอบทางเคมีของแร่บางชนิด หรืออื่นใดในกระบวนการทางธรณีเคมีที่เรียกว่า alteration   ซึ่งจะยังผืนดินในพื้นที่นั้นๆมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุหลัก แร่ธาตุรอง และ trace elements ที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช 

ในเรื่องหนึ่ง กรณีกับผู้คน  ด้วยลักษณะเชิงของคุณภาพของน้ำร้อนที่แตกต่างกันนี้ ผมเชื่อว่า สำหรับแหล่งพุน้ำร้อนในไทย เมื่อศึกษาหาข้อมูลลึกลงไป ก็น่าจะเห็นความแตกต่างในเชิงของสุขภาพระหว่างผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่อิทธิพลของพุน้ำร้อนนั้นๆกับผู้คนที่อยู่นอกพื้นที่ เชื่อว่าเรื่องหนึ่งก็น่าจะเกี่ยวกับโรคผิงหนัง  และก็น่าจะมีเรื่องด้านกายภาพของผู้คน... 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 11 เม.ย. 23, 19:41

คนไทยไม่นิยมแช่น้ำร้อน แต่นิยมแช่น้ำเย็น  แต่โลกก็กำลังเปลี่ยนไป มีคนไทยเป็นจำนวนไม่น้อยที่พยายามหาโอกาสไปออนเซ็นที่ญี่ปุ่น  ดูจะมีเป็นจำนวนน้อยที่เลือกจะหาที่ออนเซ็นในประเทศไทย   พุน้ำร้อนหลายๆแหล่งของเราจัดให้มีแต่เพียงห้องเพื่อการอาบน้ำร้อน ซึ่งแม้จะมีสถานที่พำนักชั่วคราวใกล้ๆ ก็ขาดซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานตามมาตรฐานของนักท่องเที่ยวชาวกรุง ซึ่งหากเป็นในอีกระดับหนึ่งของที่พำนัก ก็มีค่าใช้จ่ายสูงมากๆกว่าที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างเส้นทางของการเดินทางท่องเที่ยวตามปกติ

แหล่งพุน้ำร้อนของไทยเราดูจะไม่มีการเน้นในด้านศักยภาพและการให้ความสำคัญในการพัฒนาไปอยู่ในบริบทด้านการใช้ประโยชน์ในเชิงคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 12 เม.ย. 23, 19:19

เรื่องของพุน้ำร้อนที่ขยายความมาอย่างสังเขปก็คงพอจะชวนให้คิดถึงศักยภาพต่างๆของกิจกรรมในทางเศรษฐกิจที่อาจจะกระทำได้มากกว่าการแวะถ่ายรูป ต้มไข่ และได้เพียงบันทึกว่าไปผ่านมาแล้ว

เกือบลืมกล่าวถึงเรื่องของน้ำแร่ในมุมของน้ำดื่ม

น้ำแร่(ที่ใช้ดื่มกิน) โดยนัยของความหมายที่ยอมรับกันทั่วไปก็คือ น้ำจากพุน้ำเย็นหรือพุน้ำร้อน ที่มีความสะอาด ไม่มีปริมาณแร่ธาตุและสารละลายอยู่ในน้ำในระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย/ชีวิต   

น้ำที่เราใช้ดื่มกินตามปกติในชีวิตประจำวัน(drinking water)นั้น มีมาตรฐานสากล(โดย WHO)กำหนดไว้ในเรื่องของคุณภาพที่เหมาะสม แต่ในความเป็นจริงที่ทำกันทั่วโลก ก็คือ ทำน้ำให้มีความสะอาดปราศจากสารละลายที่อันตรายให้ได้ใกล้เคียงมากที่สุดกับมาตรฐานสากล    ซึ่งสำหรับน้ำแร่ เท่าที่มีความรู้และได้เคยมีความสนใจในเชิงวิชาการมา ดูจะไม่มีมาตรฐานกลางกำหนด มีแต่การใช้ข้อมูล/ข้ออ้างอิงทางการแพทย์ในเชิงของ mineral supplements สำหรับความสมบูรณ์ของสุขภาพร่างกาย   มองในมุมหนึ่ง น้ำแร่จึงดูจะจัดอยู่ในเรื่องของยาธรรมชาติ มิใช่เป็นปัจจัยสำคัญของการมีชีวิต  ก็อาจจะเพราะด้วยเหตุนี้ น้ำแร่จึงมีราคาสูงกว่าน้ำดื่มทั่วๆไป   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 13 เม.ย. 23, 19:15

วันนี้เป็นวันสงกรานต์ เป็นวันกำหนดให้เป็นวันขึ้นต้นศักราชใหม่ของปีนักษัตรปีเถาะ (เถลิงศกจริงในวันที่ 16 เม.ย.)   

ขอพรและอำนาจของสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้โปรดแผ่ไปยังท่านสมาชิกและผู้ติดตามเรือนไทยทุกท่าน ให้ได้รับผลตอบสนองที่ดีในสิ่งที่ได้คิดดีทำดีต่างๆ  ไร้โรคภัยมาแผ้วพาลเบียดเบียน ครับ   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 19 คำสั่ง