เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 5027 ภาษากลาง / ภาษาถิ่น
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 31 มี.ค. 23, 18:38

ลองทบทวนความจำกับชื่อสถานที่ต่างๆที่เคยไปทำงานผ่านมา  พบว่าเรามีคำในภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับน้ำและธรรมชาติของมันอยู่มากเลยทีเดียว  และก็แปลกที่คำเหล่านี้ ซึ่งเป็นคำไทยพื้นบ้าน ไม่ว่าจะเป็นคำใดหรือจะเป็นชื่อใด ทุกผู้คนไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใดๆก็เข้าใจ และสามารถสัมผัสได้ถึงภาพในมิติต่างๆของคำที่ใช้นั้นๆ  มีน้อยคำที่ใช้เฉพาะถิ่นจริงๆที่อาจจะไม่รู้จักกัน

คู คลอง ห้วย ลำ แคว น้ำ น้ำแม่ แม่น้ำ ลำราง ธาร โกรก ตาด โตน เขื่อน แก่ง น้ำตก น้ำโจน ท่า...  น้ำซึม น้ำซับ น้ำดิบ เอ่อ ท่วม หลุก ระหัด คัน เหมือง ร่อง...  ประตู... ปาก... สบ... คุ้ง ตลิ่ง ตะพัก ฝั่ง แพ ลูกบวบ ถ่อ พาย งัด ... อีกทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการจับสัตว์น้ำหลายชนิด รวมถึงพาหนะทางน้ำหลากหลายรูปแบบ     

ดูจะพอเป็นข้อบ่งบอกว่า การมีความเข้าใจในคำเหล่านี้ น่าจะแสดงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การยอมรับซึ่งกันและกันในหมู่ชาติพันธุ์ที่ตั้งรกรากอยู่ในแผ่นดินไทยที่สื่อสารกันด้วยภาษาในตระกูลภาษาไทย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 31 มี.ค. 23, 20:08

เขียนแล้วกดผิดพลาดครับ พรุ่งนี้ค่อยว่ากันใหม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 01 เม.ย. 23, 09:34

มีแหล่งน้ำอีกแห่งชื่อว่า "พรุ"  ไปเปิดกูเกิ้ล อังกฤษเรีบกวา่  Bog , quagmire หรือ mire   ไม่ทราบว่าในป่าเมืองไทยที่คุณตั้งไปสำรวจ เจอบ้างไหมคะ  ลักษณะเหมือนของฝรั่งไหม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 01 เม.ย. 23, 18:41

พรุ เป็นพื้นที่ฉ่ำน้ำที่ผืนดินประกอบไปด้วยส่วนผสมของซากต้นไม่ใบไม้และดินโคลน พรุเป็นพื้นที่ๆเกี่ยวพันกับน้ำจืด ต่างกับป่าชายเลนที่เป็นเรื่องเกี่ยวพันกับน้ำทะเล 

พรุ เป็นศัพท์ที่ดูจะใช้กันเฉพาะในภาคกลางและภาคใต้ ในภาคเหนือดูจะตรงกับคำว่า บวก (จ๋ำ ?)  ส่วนในภาคอิสานดูจะใช้คำว่า ...ซับ (?)

พื้นที่เรียกว่า 'พรุ' นั้น หากเป็นป่าอุดมไปด้วยต้นไม้มีลำต้น ดูจะตรงกับศัพท์อังกฤษว่า swamp  แต่หากเป็นป่าค่อนข้างโปร่ง และผืนดินมีซากพืชหนาแน่นและเกิดไฟไหม้ได้ ก็ดูจะไปตรงกับคำว่า peat swamp   สำหรับพื้นที่ชื้นแฉะและเป็นหล่มโคลนตม ที่เรียกกันว่า บวก หรือ จ๋ำ ในภาคเหนือ หรือที่เรียกว่า ซับ, มาบ ในภาคกลางและภาคตะวันออกนั้น ดูจะมีลักษณะไปตรงกับคำว่า marsh 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 01 เม.ย. 23, 18:53

swamp


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 01 เม.ย. 23, 19:27

ก็มีอีกคำหนึ่งว่า 'พุ'   คำนี้มีใช้กันมากในพื้นที่ๆมีทิวเขาหินปูน  ซึ่งหมายถึงจุดหรือบริเวณที่มีน้ำผุดออกสู่ผืนดิน ก็มักจะเป็นที่บริเวณตีนเขาและก็มักจะมีแอ่งน้ำเล็กๆที่จุดน้ำไหลออกมา เรียกว่าบ่อน้ำผุด   ในหลายๆกรณี พุน้ำนี้ได้ทำให้ผืนดินรอบๆเป็นบริเวณกว้างอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชและสัตว์  ผืนดินที่ชื้นฉ่ำนี้ทำให้เกิดความเข้าใจว่ามีลักษณะเป็นพรุ ก็เลยเติมตัว ร เข้าไปให้เป็น พรุ   แต่กลับไปออกเสียงลดตัว ร ลงไปสำหรับชื่อที่ใช้เรียก พรุ ของจริง     หนักหนามากไปกว่านั้น ยังมีการเปลี่ยน พุ เป็น ภู เสียอีก    ยิ้มกว้างๆ พุเตย ณ ที่แห่งหนึ่งก็เลยกลายเป็น ภูเตย ซึ่งให้ความหมายออกไปในทางว่าเป็นภูเขาที่มีต้นเตยป่าขึ้นอยู่มาก    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 02 เม.ย. 23, 18:27

ขอแฉลบออกนอกเรื่องไปนิดนึง  ได้กล่าวถึงคำว่า 'พื้นที่ชุ่มน้ำ' ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า wetland    เมื่อใช้คำนี้ก็คงจะเห็นภาพว่าน่าจะมีลักษณะทางกายภาพเป็นเช่นใด สถานที่เป็นจำนวนมากในประเทศไทยที่เราเรียกชื่อกันต่างๆนั้น (หนอง บึง มาบ ... ฯลฯ) จึงมีลักษณะทางกายภาพเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland)

โลกในสมัยปลายสงครามเวียดนาม เริ่มให้ความสนใจกับเรื่องของการฟื้นฟูเศรษฐกิจในวงกว้าง เรื่องของสิ่งแวดล้อม และเรื่องการพัฒนาทางเทคโนโลยีใหม่ๆ   ยังให้เกิดโครงการความร่วมมือในลักษณะของแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อ....  หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของการช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของโลก เกิดเป็น Environmental Programme ขึ้นมา แล้วตั้งฝ่ายเลขาฯเป็นหน่วยแยกออกไปดำเนินการเป็นการเฉพาะ ใช้ชื่อ UNEP (UN Environmental Programme)     เมื่อปลายปี พ.ศ.2518 ได้มีการประชุมนานาชาติที่เมือง Ramsar ของอิหร่าน และตกลงวาระการช่วยกันดำรงสภาพและรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำ เนื่องจากเป็นพื้นที่ๆเป็นกลไกสำคัญของระบบนิเวศ  เรียกความเห็นพ้องกันนั้นง่ายๆว่า Ramsar Convention (อนุสัญญา  ผมเข้าใจว่าน่าจะมีความเห็นที่ต่างกันมากทั้งในเชิงกฎหมายและในทางปฏิบัติ ความตกลงนี้ก็เลยต้องเลี่ยงความให้เกี่ยวกับเรื่องของนกน้ำ (waterfowl) 

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 02 เม.ย. 23, 19:08

พื้นที่ชุ่มน้ำของไทยที่นำเข้าสู่การเป็นพื้นที่อนุรักษ์ตามอนุสัญญาแรมซาร์ฯ สอบจากคุณวิกกี้แล้วพบว่ามีอยู่ 15 พื้นที่ กระจายอยู่ทั่วประเทศ ก็มี

ภาคเหนือ  พื้นที่ทะเลสาบเชียงแสน เชียงราย   
ภาคอิสาน  พื้นที่หนองกุดทิง บึงกาฬ,  พื้นที่บึงโขงหลง บึงกาฬ, พื้นที่แม่น้ำสงครามตอนล่าง นครพนม   
ภาคกลาง  พื้นที่ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม,  พื้นที่ชุ่มน้ำเขาสามร้อยยอด ประจวบฯ
ภาคใต้  พื้นที่หมู่เกาะกระ นครศรีธรรมราช, พื้นที่อุธยานหมู่เกาะอ่างทอง สุราษฎร์ธานี, พื้นที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส, พื้นที่ปากแม่น้ำกระบุรี
  ระนอง, พื้นที่ปากแม่น้ำตรัง หาดเจ้าไหม เกาะลิบง ตรัง, พื้นที่ปากแม่น้ำกระบุรี ปากแม่น้ำกะเปอร์ กระบี่, พื้นที่อ่าวพังงา พังงา, พื้นที่
  เกาะระ -เกาะพระทอง พังงา, พื้นที่ทะเลน้อย พัทลุง สงขลาฯ นครฯ 

ผมไม่มีความรู้ลึกลงไปว่า เมื่อเป็นพื้นที่ๆอยู่ในอนุสัญญาฯแล้ว มีข้อผูกมัดเป็นเช่นใดบ้างในเชิงของกฎหมาย ?, ในเชิงของ prevention ?, protection ?, utilization ?, rehabilitation ?, restoration ? และอื่นใด         
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 03 เม.ย. 23, 11:43

ไม่มีความรู้เลยค่ะ  ได้แต่จดเลกเชอร์ของคุณตั้งอย่างเดียว
ใครทราบช่วยบอกด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 03 เม.ย. 23, 20:19

หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม น่าจะเป็นผู้ให้คำอธิบายตางๆที่ถูกต้องและดีที่สุด ครับ  ยิงฟันยิ้ม   

แต่เราก็ต้องตั้งหลักให้ดี มิฉะนั้นเราก็จะมีแต่ความสับสนและมึนงงไปกับเรื่องราวของมัน   

พื้นที่ๆจัดเป็นของรัฐนั้นน่าจะจำแนกออกได้เป็นสามลัษณะ คือ พื้นที่ๆเป็นแผ่นดิน(พื้นที่บก)  พื้นที่ๆเป็นผืนน้ำ(พื้นที่น้ำ) และพื้นที่ๆอยู่เหนือผืนดินและผืนน้ำ(พื้นที่น่านฟ้า)  ทั้งสามลักษณะพื้นที่ของรัฐนี้จะมีหน่วยงานหลักแยกกันรับผิดชอบดูแล และต่างก็มีหน่วยงานย่อยที่เป็นหน่วยอิสระแยกกันรับผิดชอบเฉพาะเรื่อง ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติในทางการบริหาร  หากแต่ในทางปฏิบัติดูจะเป็นไปในอีกลักษณะหนึ่งที่มีความซับซ้อน  อาทิ กรณีผู้รับผิดชอบในเรื่องของพื้นที่ๆเป็นหนอง บึง มาบ คลอง แคว พรุน้ำคลอดปี... ที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าเขาหรือพื้นที่เขตเมือง   พื้นที่ลักษณะเช่นนี้อยู่ในเขตหวงห้ามต่างๆไปพร้อมๆกัน มีทั้งป่าสงวนแห่งชาติ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานฯ วนอุทยานฯ ฯลฯ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 04 เม.ย. 23, 19:31

คู ในความหมายตามปกติก็คือ ลักษณะทางน้ำไหลที่ขุดทำเป็นร่องขึ้นมาเพื่อการชักน้ำหรือเพื่อระบายน้ำ   

คูน้ำ ในภาษาเหนือจะเรียกว่า เหมือง, ลำเหมือง, ฮ่อง(ร่อง)   ในภาษาภาคกลาง จะไปตรงกับคำว่า ลำประโดง, คู, คลองขุด   ในภาษาใต้ ดูจะใช้คำว่า คลอง   แต่ในภาษาอิสาน ดูจะมีนัยความหมายที่แปลกออกไป ? คือหมายถึงกองดินที่ขุดขึ้นมากองให้สูงเป็นแนวเพื่อกั้การเข้ามาหรือการกั้นน้ำ(ในนา)

ก็มีความแตกต่างกันในเชิงของการใช้ศัพท์เรียกลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน   

ในภาษาเหนือ เหมือง เป็นคำที่ใช้เรียกร่องน้ำที่ชาวบ้านช่วยกันขุด หากร่องน้ำมีความยาวและใช้หลากหลายประโยชน์ก็จะใช้คำเรียกว่า ลำเหมือง    สำหรับคำว่า ฮ่อง นั้นดูจะใช้เรียกเฉพาะร่องน้ำที่มีปากทางเชื่อมกับแม่น้ำและมีปลายทางแตกเป็นลำรางกระจายในพื้นที่ราบที่น้ำท่วมถึง(backswamp area)ในฤดูน้ำหลากล้นข้ามสันคันคลองธรรมชาติ  ซึ่งที่ปากทางเชื่อมกับแม่น้ำนั้นก็คือจุดที่สันคันคลองธรรมชาติ (natural levee)ปริ แตกแยกออกเป็นร่องคล้ายกับลักษณะเขื่อนกั้นน้ำพัง  ปลายของทางน้ำในบริเวณที่ลุ่ม backswamp นี้ จะมีลักษณะทางกายภาพที่อาจจะมีในหลายลักษณะที่เรียกในภาษาภาคต่างๆว่า บึง หนอง หล่ม มาบ ...ฯลฯ

ที่ จ.แพร่ มี ต.ร่องกาศ อยู่ใน อ.สูงเม่น   ชื่อเรียกตามสำเนียงภาษาของพื้นที่นี้น่าจะเป็น ฮ่องกาด คือเป็นจุดที่มีตลาด (กาด คือ ตลาด)  ชุมชนนี้ ตั้งอยู่กลางทุ่งนาที่อยู่ระหว่างตัว จ.แพร่ กับ อ.สูงเม่น  การเดินทางในสมัย พ.ศ.2510+ ระหว่างตัว จ.แพร่ กับสถานีรถไฟ เด่นชัย นิยมขับรถตัดข้ามทุ่งนาผ่านบ้านฮ่องกาดนี้ ก่อนที่จะมีถนน(คอนกรีต)ยันตรกิโกศล ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 05 เม.ย. 23, 18:24

ก็มาถึงคำว่า ห้วย ลำ คลอง น้ำแม่... แม่น้ำ...

ห้วย เป็นคำที่ใช้ในภาษาเหนือและอิสาน  คำว่า ลำ ใช้ในภาคกลางและอิสาน  คำว่า คลอง ใช้ในภาคกลางและภาคใต้   น้ำแม่ ใช้ในภาคเหนือ ส่วนคำว่า แม่น้ำ ใช้ในภาคกลางและภาคใต้ 

ก็พอจะจับลักษณะการใช้คำเหล่านี้ได้ว่า ลักษณะจำเพาะของคำว่า ห้วย ก็คือร่องน้ำในป่าเขาที่มีภาพตัดขวางเป็นทรงรูปตัว V  ร่องน้ำเหล่านี้แต่ละร่องจะมีชื่อเรียกที่นำหน้าด้วยคำว่า ห้วย แล้วตามด้วยคุณสมบัติจำเพาะของมัน เช่น ห้วยร่มม้า ก็เพราะมีต้นร่มม้า (ค่างป่าชอบมาหากินผลในช่วงต้นฤดูฝน) ห้วยมะเดื่อ ก็เพราะมีต้นมะเดื่อ  ห้วยหินลาด ห้วยน้ำซับ ห้วยโป่ง... เป็นต้น   และก็มีห้วยเป็นจำนวนมากที่มีชื่อรู้จักกันเฉพาะกลุ่มคนในพื้นที่ 

ห้วยที่มีความยาวและค่อนข้างจะมีความกว้าง จะมีห้วยสาขาที่สำคัญและมีจุดที่มีการสร้างที่อยู่อาศัยทำมาหากิน ก็จะการตั้งชื่อเป็นสร้อยต่อท้าย เช่นกรณีของห้วยแม่กาใน จ.พะเยา จะมี แม่กาโหวกเหวก แม่กาห้วยเคียน แม่กาห้วยต๋ำ แม่กาหัวทุ่ง แม่กาท่าข้าม แม่กาไร่เดียว ...

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 05 เม.ย. 23, 18:57

อาจมีข้อปุจฉาว่า ก็มีห้วยหลายห้วยที่ไม่มีลักษณะหน้าตัดเป็นทรงรูปตัว V เลย เช่น ห้วยขาแข้ง ห้วยแม่กลองคี่ ห้วยแม่จัน... ต้นทางส่วนหนึ่งของแควใหญ่  หรือห้วยบีคลี่ ห้วยซองกาเรีย ห้วยรันตี ... ต้นทางส่วนหนึ่งของแควน้อย (ซึ่งทั้งสองแควมารวมกันเป็นน้ำแม่กลอง)   ตำอธิบายก็น่าจะเป็นว่า คนไทยพื้นเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่แหลมทองส่วนหัวขวานนี้ ส่วนมากจะมีพื้นเดิมตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ๆมีภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างทิวเขา (intermountain basin) ชื่อแหล่งน้ำใช้ต่างๆจึงขึ้นต้นด้วยคำว่าห้วย ซึ่งเมื่อขยายพื้นที่ทำกินและอยู่อาศัยลงไปตามร่องน้ำนั้นๆไปเรื่อยๆ  สภาพน้ำในร่องน้ำก็จะเปลี่ยนจากลักษณะของร่องน้ำที่มีน้ำไหล/ขังเฉพาะฤดูกาล (intermittent stream) ไปเป็นร่องน้ำที่มีน้ำไหลตลอดปีหรือเกือบตลอดทั้งปี คำว่าห้วยจึงยังคงอยู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 05 เม.ย. 23, 19:20

คำนี้อาจจะนอกเรื่องไปหน่อย    แต่เห็นคุณตั้งพูดมาถึงเรื่องแอ่งน้ำ   ก็เลยถือโอกาสถาม
คือคำว่า spring 
อ่านหนังสือ On the Banks of Plum Creek ซึ่งเป็นเล่มที่ 4 ของหนังสือชุด Little Houses   ผู้เขียนเล่าถึงลำธาร แล้วพูดถึง Spring  ทีแรกก็นึกว่าหมายถึงน้ำพุ    แต่อ่านๆไป  spring ที่ว่านี้มันเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของลำห้วย  เลยไม่แน่ใจว่ามันหมายถึงอะไร  ตาน้ำหรือเปล่าคะ
ไปเปิดกูเกิ้ลดูความหมายของ spring  ได้รูปมาอย่างข้างล่างนี้ละค่ะ



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 05 เม.ย. 23, 19:30

สำหรับคำว่า แคว นั้น มีการใช้น้อยมาก ก็มี แควใหญ่ แควน้อย (จ.กาญจนบุรี) และ เมืองสองแคว แควน้อย (จ.พิษณุโลก)   มีแต่เพียงข้อสังเกตเล็กๆว่า ทั้งในพื้นที่กาญจนบุรีและพิษณุโลกต่างก็มีการใช้คำว่า ลำ นำหน้าลำน้ำสายเล็กๆที่มีน้ำไหลตลอดปี เช่น ลำอีซู ลำตะเพิน ใน จ.กาญจนบุรี  และลำน้ำเข็ก ใน จ.พิษณุโลก    
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง