เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 5014 ภาษากลาง / ภาษาถิ่น
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


 เมื่อ 05 มี.ค. 23, 18:51

เมื่อครั้งยังทำงานในสายงานที่ต้องใช้วิชาการตามที่ได้ร่ำเรียนมา ซึ่งเป็นงานที่ต้องเดินทางเข้าไปในพิ้นที่ของท้องถิ่นต่างๆค่อนข้างจะหลากหลาย มีความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารกับชาวถิ่นอย่างมีความเข้าใจที่ตรงกัน   เป็นเหตุให้พอได้เรียนรู้ภาษาถิ่น สำนวนที่มีลักษณะจำเพาะของแต่ละแหล่ง และความหมายลึกๆของคำและสำนวนเหล่านั้น    เกิดเป็นความสนใจทั้งในด้านของส่วนตัวเองและเป็นไปเพื่อการทำชีวิตให้รอดในสถานะการณ์ของการทำงานในพื้นที่สีแดงเข้มในสมันนั้น    ได้เรียนรู้ทั้งในด้านของภาษา วัฒนธรรม วิถีการใช้ชีวิตและอาหารของผู้คนพื้นถิ่นโดยเฉพาะในพื้นที่ด้านตะวันตกไปจนจรดเขตแดนของไทยเรา ซึ่งโดยพื้นฐานของชาวถิ่นเหล่านี้ ส่วนหนึ่งก็คือเหล่าผู้ที่ย้ายมาตั้งรกรากใหม่จากภูมิภาคต่างๆของไทย ก็จึงพอจะได้เรียนรู้อะไรๆที่เป็นความรู้ผสมผสานกันไป   

เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องต่างๆที่มากพอสมควร มากพอที่ใช้สนทนากันในลักษณะพอจะหยอกล้อกันเพื่อบรรยากาศที่เป็นมิตรดีๆ  ก็เลยพยายามเรียนรู้ในบริบทที่ลึกซึ้งลงไป เลยผันมาเป็นคนนิยมชอบหนังสือเก่า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 มี.ค. 23, 19:01

วันหนึ่งก็ได้ไปพบหนังสือชื่อ

 
                     "ปาถกถาทางวิทยุ
                             ของ
              ข้าราชการกะซวงการต่างประเทส
                            ชุดที่ 1


         พิมพ์ไช้ไนราชการกะซวงการต่างประเทส
                            2485"
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 มี.ค. 23, 19:34

เกิดความสนใจขึ้นมาว่า ภาษาไทย(ที่ถูกต้อง)ที่ใช้โดยหน่วยงานราชการ เมื่อครั้งกระโน้น มีการสะกดคำที่ต่างกันไปมากจากที่ใช้กันในปัจจุบันนี้

พาลไปนึกถึงเรื่องของพจนานุกรมที่ใช้อ้างอิงและตรวจสอบคำสะกดที่ถูกต้อง   ก็เลย เลยเถิดเข้าไปในเรื่องของพจนานุกรม ซึ่งได้พบข้อมูลใน silpa-mag.com ว่าเรามีพจนานุกรมแปลไทย-เป็นไทยมาแล้วหลายฉบับ ฉบับแรก เห็นว่าเป็นอยู่ในช่วง พ.ศ.2207-2236    แต่ฉบับที่วัยของพวกผมเคยใช้เรียนและอ้างอิงถึงนั้นเป็นของปี พ.ศ.2493 ซึ่งใช้กันจนถึงปี พ.ศ.2525 แล้วก็มีฉบับ พ.ศ.2542 ในปัจจุบันมีฉบับ พ.ศ.2554

เกิดความสนใจขึ้นมาว่าก็มีคำว่า พจนานุกรม ปทานุกรม อักขรานุกรม นามานุกรม สารานุกรม อภิธานศัพท์....   แล้วต่างกันอย่างไร
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 มี.ค. 23, 20:16

แล้วก็เกิดความอยากจะรู้ขึ้นมาว่า ด้วยเหตุใดจึงต้องเปลี่ยนไปใช้ไม้ม้วนแทนไม้มลาย เช่น 'พายไน' ต้องเปลี่ยนไปเป็น 'ภายใน'    'ไหย่หลวง'
ต้องเป็น 'ใหญ่หลวง'     'ชเลย' ต้องเป็น 'เชลย' .... 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 มี.ค. 23, 17:13

สวัสดีค่ะคุณตั้ง
ดีใจที่เห็นหัวข้อใหม่ค่ะ
มารอคำเฉลยจากคุณตั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 มี.ค. 23, 18:32

พอจะมีความเข้าใจตามประสาผู้มีความรู้จำกัด(มากๆ)ในเรื่องทางภาษาศาสตร์ว่า   ภาษาไทยและภาษาอื่นๆทั่วโลกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีพัฒนาการแรกเริ่มมาจากการขีดเขียนในลักษณะต่างๆเพื่อแทนลักษณะเสียงและวิธีการเปล่งเสียงลักษณะนั้นๆออกมา _ตัวอักษร  ซึ่งพัฒนาการสายหนึ่งอยู่ในลักษณะของการสื่อบนฐานของภาพรวมของเรื่องหนึ่งใดด้วยรูปเสียงฉะเพาะหนึ่งใด   ในอีกสายหนึ่งอยู่บนลักษณะของการสื่อบนฐานของการผนวกเอาลักษณะของเสียงต่างๆที่เปล่งออกมา เอามาผสมผสานกันเป็นคำที่ให้ความหมายถึงเรื่องหนึ่งใด  เมื่อการสังคมมีวงกว้างมากขึ้น การสื่อทางเสียงก็น่าจะเกิดการเพี้ยนไป ส่งผลให้แต่ละกลุ่มสังคมต้องมีการพัฒนาเครื่องหมายขีดเขียนที่ใช้แทนเสียงนั้น เกิดพัฒนาการขึ้นมาอีกสายหนึ่งที่เป็นสายที่อยู่บนฐานของการผสมผสานระหว่างลักษณะเสียง การออกเสียงและการกำหนดลักษณะตัวอักษรที่จะใช้แทนเสียงนั้นๆ รวมทั้งเกิดการยืมคำและศัพท์ต่างๆ เมื่อเอามาประมวล ผสมผสาน ทำให้สามารถอ่านเป็นเรื่องราวที่เข้าใจกันได้ภายในแต่ละกลุ่มสังคมและให้เป็นเรื่องที่เข้าใจตรงกันได้ในระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ที่สื่อสารกันในภาษาเดียวกัน ก็เลยมีระบบการเขียนกลางที่เป็นมาตรฐานที่ต้องใช้กัน (อักขรวิธี ?)

ก็ไม่ทราบว่า ที่พรรณามานี้ เป็นความเข้าใจที่อยู่ในครรลองหรือไม่
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 มี.ค. 23, 20:01

ประเด็นก็มาอยู่ที่ว่า  ภาษาไทยเป็นตระกูลภาษาสำคัญที่มีการใช้กันมานานและใช้กันแพร่หลายในภูมิภาคเอเซียตะวันออกไกล  ดูจะเป็นภาษาหนึ่งที่มีการใช้ตัวอักษรที่มีทรงและรูปร่างต่างกันไม่น้อยในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์   

ในส่วนที่เป็นภาษาไทยแบบที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นลักษณะของภาษาที่ได้มีพัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นเวลาที่ยาวนานหลายร้อยปี   ก็จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีการนำคำและศัพท์จากสังคมและภาษาอื่นๆมาใช้ร่วม   สำหรับศัพท์ที่ใช้ในเชิงภาษาที่เป็นทางการ ก็ดูจะเป็นศัพท์บัญญัติขึ้นมาโดยอ้างถึงความหมายบนพื้นฐานของภาษาบาลีและสันสกฤต  มีเป็นส่วนน้อยที่ดูจะเป็นภาษาอื่นใด    ต่างกับภาษาที่ชาวบ้านใช้กันตามปกติ  ส่วนมากจะยังคงเป็นภาษาไทยแบบพื้นๆ  ซึ่งการใช้อักษรและอักขรวิธีก็น่าจะเป็นไปในลักษณะเรียบง่าย จะใช้สระ ใ หรือ ไ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ยังอ่านออกและใช้เสียงเหมือนกัน    หากแต่ในการสอบ จะต้องสะกดให้ถูกตามกลอน 20 ม้วนจำจงดี
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 มี.ค. 23, 19:28

เมื่อใช้วิธีการเอาอักษรและอักขระต่างๆมาผสมกันให้ออกเป็นเสียงที่เปล่งออกมาตามที่พูด หากไม่มีการตกลงกันอย่างเป็นระเบียบวิธีการ (อักขรวิธี) การสื่อสารกันด้วยวิธีการใช้ลายลักษณ์อักษรก็คงจะไร้ซึ่งความเป็นระเบียบ ไปขึ้นอยู่กับว่าแล้วแต่ผู้คนกลุ่มใดจะนิยมเขียนเช่นใด ซึ่งก็อาจจะสื่อความหมายที่ต่างกันเมื่อเป็นการสื่อสารข้ามกลุ่ม เพราะมีคำที่ออกเสียงเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน หรือเมื่อไปใช้ผสมกับคำอื่นแล้วทำให้มีความหมายที่ต่างกัน  ตัวอย่างที่นึกออกสำหรับที่เป็นสำเนียงกลางๆก็เช่น คำว่า 'ปลา' กับ 'ปา'   ในภาษาเหนือและอิสานก็เช่นคำว่า 'ป๋า'(ปลา) ซึ่งออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า 'ป่า'   ในภาษาใต้ก็เช่นคำว่าก็เช่นคำว่า 'เหลียง'(ใบ) กับ 'เหรียง'(ฝัก,ลูก) ซึ่งมีการออกเสียงที่เกือบจะไม่ต่างกัน

การสร้างหรือการกำหนดให้เป็นระเบียบวิธีการทางอักขรวิธีก็จึงมีความจำเป็น ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Orthography  ผมไม่เคยเห็นเอกสารหรือหนังสือที่เป็นหลักใช้อ้างอิงในเรื่องนี้ ซึ่งก็เข้าใจว่าในทุกภาษาจะต้องมี และก็จะต้องมีการสอนอยู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาอีกด้วย หากแต่ดูจะยังขาดการย่อยให้สามารถอ่าน/ศึกษาได้ในรูปที่เข้าใจได้ไม่ยาก     การสื่อสารทางลายลักษณ์อักษรที่เราๆทั้งหลาย(ที่เขียนถูกหรือผิดในปัจจุบันนี้) ทั้งหมดดูจะได้มาจากการเรียนหนังสืออย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนถึงอายุในวัยหนึ่ง จากที่เน้น'ต้องจำ' ในช่วงวัยหนึ่ง(ที่เด็กรับได้)  ไปเป็นช่วงที่เด็กเกิดความสงสัย แต่ไม่ได้รับคำอธิบายในระดับที่พึงพอใจ    เห็นว่า ก็อาจจะพอปรับแต่งวิธีการให้เรียนรู้ได้ด้วยการปรับเลี่ยนจากระบบให้ความรู้ด้วย Theoretical approach ไปเป็นในรูปของการให้ความรู้ด้วย Empirical approach
       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 มี.ค. 23, 18:47

ก็พอจะเก็บภาพได้ว่า ในภาษาตระกูลเดียวกันที่ใช้ก้นในระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ก็ยังมีความต่างกันที่สามารถแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆได้ ทั้งในเชิงของสำเนียง (accent) หรือที่มีลักษณะเฉพาะของสำเนียง การใช้ประโยค การใช้คำและศัพท์ รวมๆกันเป็นลักษณะที่มีความจำเพาะของพื้นถิ่นหนึ่งใด (dialect)

ภาษาไทยที่เราใช้สื่อสารกันในประเทศของเราสามารถจัดแยกได้เป็นหลายกลุ่มหลักและหลายๆกลุ่มย่อยตามลักษณะต่างๆที่ได้กล่าวถึง   เรื่องเช่นนี้ ในวงวิชาการน่าจะได้มีการทำการศึกษากันอย่างลึกซึ้ง อย่างกว้างขวาง และอย่างครอบคลุมในประเด็นต่างๆอยู่แล้ว  และก็น่าต้องมีเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปที่เป็นหนังสือเชิง Textbook หรือในรูปแบบ Treasise  สำหรับแต่ละภาษาถิ่น  ซึ่งหนังสือเอกสารในรูปของเรื่องราวทางเหล่านี้ น่าจะมีเก็บอยู่ในห้องสมุด

ก็ยังไม่เคยเห็นเอกสารหรือหนังสือประมวลคำที่ใช้กันในแต่ละพื้นถิ่นพร้อมกับความหมายย่อๆในรูปของปทานุกรม (Lexicon) ซึ่งผมเชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่น่าจะต้องมีหนังสือลักษณะนี้เผยแพร่ เพราะในปัจจุบันนี้มีการสื่อสารระหว่างผู้คนต่างถิ่นต่างพื้นที่กันมากขึ้นตามพ้ฒนาการทางเทคโนโลยีและความสะดวกในการเดินทาง     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 มี.ค. 23, 20:11

ไทยเราเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำที่มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์มาตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกัน นำเอาวัฒนธรรมและประเพณีหลากหลายมาใช้ผสมผสานกันจนเกิดเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะจำเพาะ เป็นมรดกตกทอดต่อเนื่องมา  ก็จึงไม่แปลกนักที่จะมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยบนเหตุผลของ varieties of heritage (ในบริบททางวัฒนธรรมประเพณี)    คนไทยเอง แม้ว่าดูจะนิยมออกไปเที่ยวในต่างประเทศ แต่ก็ปรากฎว่ามีการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้นด้วยเหตุผลในลักษณะเดียวกัน แต่มักจะเป็นในบริบททางด้านศาสนาและวัตถุใหม่ของงานทางวิศกรรม ซึ่งแน่นอนว่าในการไปยังสถานที่ต่างๆก็ย่อมจะต้องได้พบได้สนทนากับผู้คนพื้นถิ่นบ้าง  การใช้ภาษาถิ่นบ้างเพียงเล็กน้อยในการสนทนา จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่อ่อนโยน ให้ความรู้สึกที่จริงใจต่อกัน อะลุ่มอล่วยต่อกัน   ซึ่งก็จะยังให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและแก่กันทั้งสองฝ่าย

ปทานุกรมภาษาถิ่นเล่มเล็กๆ (ไทย-ไทย, อังกฤษ-ไทย...) ช่วยในเรื่องเช่นนี้ได้มากเลยทีเดียว     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 มี.ค. 23, 18:21

สมัยก่อนนั้น นักเรียนในระดับมัธยมต้นส่วนมากน่าจะคุ้นเคยกับปทานุกรมภาษาไทยสำหรับนักเรียน  ในปัจจุบันนี้ก็ยังเห็นว่ามีหนีงสือเล่มเล็กที่ใช้ชื่อลักษณะนี้พิมพ์จำหน่ายอยู่ แต่ไม่ทราบว่าข้อมูลที่บรรจุอยู่ข้างในจะเท่าเทียมกันกับสมัยก่อนหรือไม่   ของสมัยก่อนนั้นให้ข้อมูลเกือบจะทุกเรื่องที่เกี่ยวกับคำและศัพท์ที่ใช้กับสรรพเรื่องพื้นฐานที่ผูกกับความเป็นประเทศไทย ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม อักขรวิธี อาชีพการงาน ชีวิต ความเป็นอยู่ ..... กระทั่งมาตราชั่ง ตวง วัดแบบไทย   ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในหนังสือเล่มเล็กๆหนาขนาดประมาณ 2 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม. และยาวประมาณ 15 ซม. ใช้กระดาษพิมพ์บาง ตัวหนังสือเล็ก และมีปกหน้า-หลังที่ทนทานต่อการฉีกขาด

หนังสือปทานุกรมฉบับนักเรียนที่บรรจุข้อมูลมากมายเช่นนี้ น่าจะเป็นหนังสือที่คนที่เรียกว่าตนเองว่าเป็นคนไทยควรจะต้องมีไว้ติดบ้าน เพราะดูจะให้ข้อมูลและคำตอบในลักษณะ Quick reference ในทุกเรื่องได้ดีมากเลยทีเดียว 

ผมยังคงเก็บหนังสือนี้ไว้อยู่ในตู้หนังสือ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 มี.ค. 23, 20:02

ก็มีประเด็นที่น่าสนใจ

ภาษาไทยมาตรฐานที่ใช้ในสมัยก่อนจะมีพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตสถาน พ.ศ.2493 มีอักขรวิธีอย่างหนึ่ง   หลังจากปี พ.ศ.2493 จึงมีการปรับอักขระวิธีเป็นดังเราใช้กันส่วนมากในปัจจุบัน ก็ใช้ต่อเนื่องกันมาจนกระทั่งมีพจนานุกรมฉบับใหม่การประกาศใช้ในปี พ.ศ.2525  แล้วก็มีฉบับใหม่ใน พ.ศ.2554 

ผมไม่เคยเปรียบเทียบความต่างในเชิงของอักขรวิธีระหว่างพจนานุกรมทั้ง 3 ฉบับ ก็เชื่อว่าจะต้องมีแน่นอน เพราะในระหว่างช่วงเวลาของแต่ละมาตรฐานใหม่ ก็มีย่อมพัฒนาการต่างๆและเกิดเรื่องใหม่ๆที่เกียวกับชีวิตเรามากมาย เกิดมีคำและศัพท์ต่างๆเกิดขึ้น รวมทั้งการขยายความหมายของคำเดิมหรือใช้คำที่มีอยู่เดิมไปในความหมายอื่นใดที่เพิ่มขึ้นมา  ในระหว่างช่วงเวลานั้นๆ การสะกดคำใหม่ๆ การเรียกชื่อ/ตั้งชื่อสิ่งใหม่ๆก็เกิดขึ้นมา มีทั้งในรูปของคำอธิบายและการบัญญัติคำ/คำศัพท์ขึ้นมาใหม่ อยู่ในสภาพมีความหลากหลาย ขาดมาตรฐานหรือความเป็นหนึ่งเดียวกัน  ก็จึงเป็นปกติที่จะต้องมีการสังคายนาให้เป็นหนึ่งเรื่องเดียวกัน ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ

คงนึกออกภาพนะครับว่า ผู้ที่มีชีวิตอยู่คร่อมช่วงเวลาของการเปลี่ยบนแปลงตั้งแต่ก่อน พ.ศ.2493 ถึงปัจจุบันนี้ จะพบกับอะไรบ้างในเรื่องของการเขียน/การใช้ภาษา     ที่แย่ก็คือ เมื่อสูงวัยจัดๆ ความจำมันเลอะเลือน และเป็นปกติที่มักจะย้อนกลับไปนึกออกถึงสิ่งที่ถูกโปรแกรมไว้เป็นมาตรฐานในสมองตั้งแต่ในวัยเด็ก  การเขียนผิด-ถูกของผู้สูงวัยจึงดูจะเป็นเรื่องที่ต่างไปจากคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน   ยิงฟันยิ้ม 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 มี.ค. 23, 18:28

วันนี้ไปค้นดูหนังสือเก่าที่ได้เก็บสะสมไว้ พบอยู่สามเล่มที่พิมพ์เผยแพร่ในข่วง พ.ศ.ต่างๆ ก่อนที่จะมีมีพจนานุกรมฉบับ พ.ศ.2943  เอามาอ่านคร่าวๆเพื่อจะเก็บประเด็นมาเล่าสู่กันฟัง เล่มแรกได้กล่าวถึงตั้งแต่ต้นกระทู้ ซึ่งเป็นของปี พ.ศ.2485     เล่มที่สองเป็นหนังสือ 'สามก๊ก ของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับราชบัญฑิตยสภาชำระ เล่มหนึ่ง พิมพ์จำหน่ายเมื่อปี พ.ศ.2513' แต่เป็นหนังสือที่ราชบัญฑิตสภาได้ตรวจสอบชำระเมื่อ พ.ศ.2470    และเล่มที่สาม เป็นหนังสือที่เขียนเรื่องราวเพื่อพิมพ์จำหน่ายเชิงพานิชเมื่อปี พ.ศ.2479  ชื่อ 'ตำราสำคัญของประเทศ  โดยนายเวทย์ ภวภูตานนท์ ณมหาสารคาม'

ขอพักไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ รู้สึกโงนเงน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 มี.ค. 23, 19:17

ก็มีข้อน่าสังเกตอยู่หลายเรื่อง (พิเคราะห์พื้นฐานจากหนังสือ 3 เล่มที่ได้กล่าวถึง)

ในเรื่องของสำนวนในการเล่าความ  สำนวนภาษาที่ใช้ในเรื่องสามก๊ก (2470) ที่ใช้การเล่าความต่างๆเกือบทั้งหมดนั้น เกือบจะแยกไม่ออกระหว่างที่ใช้ในครั้งกระนั้นกับที่ใช้ในกันปัจจุบัน    ส่วนสำนวนในปาฐกถาทางวิทยุ (2485) และที่ใช่ต่อๆมาจนถึงช่วงประมาณ พ.ศ.2510++ (??) มีลักษณะเป็นการให้ความรู้แก่สังคมในองค์รวม (lecture) ต่างกับในปัจจุบันที่ใช้ลักษณะของสำนวนที่แฝงไปด้วยผลประโยชน์อื่นใด 

ในเรื่องของคำศัพท์และการสะกดคำ   ในหนังสือ'ตำราสำคัญ' พ.ศ.2479   การสะกดคำต่างๆก็ดูจะไม่ต่างไปจากที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมากนัก หากแต่มีการใช้ทั้งไม้ม้วนและไม้มลายสำหรับการสะกดคำๆเดียวกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากการเรียงอักษรพิมพ์ก็ได้   ต่างไปจากในเอกสารปาฎกถา พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นหนังสือราชการที่จัดพิมพ์โดยส่วนราชการ  ซึ่งดูแต่จะมีการใช้เพียงไม้มลายเท่านั้น

การสะกดคำต่างๆที่ปรากฎพิมพ์อยู่ในหนังสือสามก็กนั้น เนื่องจากเป็นเล่มที่พิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2513 ภายหลังพจนานุกรมฯ พ.ศ. 2493  การสะกดคำต่างๆน่าจะได้มีการแก้ไขให้เป็นไปตามพจนานุกรมแล้ว ก็จึงสังเกตเห็นความแตกต่างในการสะกดคำได้น้อยมาก เช่นการสะกดคำว่า ลคร เป็น ละคอน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 มี.ค. 23, 19:22

ด้วยความอยากรู้ว่าว่าความต่างนี้มีพอจะย้อนหาได้ไปไกลเพียงใด ซึ่งหลักฐานที่น่าจะดีและมีมาตรฐานที่สุดก็คือที่ปรากฎอยู่ตามลายพระราชหัตถเลขาของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยก่อน ก็เลยไปค้นหาดู  ซึ่งพบว่า การสะกดคำ คำศัพท์ กระทั่งสำนวนแบบที่เราใช้กันคุ้นเคยในปัจจุบันนี้มีมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 4 การสะกดคำในปัจจุบันที่ไม่เหมือนกับสมัยก่อนนั้นดูจะมีน้อยมาก

เป็นความฉงนอยู่ว่า ด้วยเหตุใดเอกสารที่เป็นสิ่งพิมพ์ของทางราชการเมื่อ พ.ศ.2485 จึงมีอักขระวิธีและการสะกดคำต่างๆที่ต่างไปมากๆจากที่ถือปฏิบัติต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานจากอดีต    แล้วก็เกิดพจนานุกรมฯ ฉบับ พ.ศ.2493 ที่ใช้เป็นมาตรฐาน/พื้นฐานของลักษณะภาษาและอักขระวิธีของภาษาไทย  ตามมาด้วยปทานุกรมฉบับนักเรียน (เพื่อการปรับฐานและการปลูกฝังให้เด็กทุกคนได้ใช้อักขระวิธีที่เหมือนๆกัน)   ทั้งหมดนี้ดูจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ พ.ศ.2475 และ พ.ศ.2500
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง