เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 8946 "เพลงแปลง" ดังได้สดับมา
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 04 มี.ค. 23, 13:35

Tell Laura I Love Her เป็นเพลง ballad ที่คุ้นหูเพลงหนึ่ง เล่าถึงโศกนาฏกรรมของหนุ่มน้อยนาม Tommy ที่เข้าแข่งรถเพื่อหวังรางวัลสำหรับคนรักของเขา Laura เพลงนี้เขียนในปี ๑๙๖๐ (พ.ศ. ๒๕๐๓) โดย Jeff Barry และ Ben Raleigh ร้องโดย Ray Peterson ติดอันดับ Top 10 ในอเมริกา ติดอันดับ ๗ บน Billboard Hot 100 chart

แต่เดิมเพลงนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการแข่งขัประเภทนขี่ม้า คล้องวัว (rodeo) เพราะผู้แต่งเพลงเป็นพวกชื่นชอบวัฒนธรรมคาวบอยตัวยง แต่ค่ายเพลงขอให้เขาเขียนเพลงนี้ใหม่ ให้สากลมากขึ้นหน่อย จึงเอาเรื่องไปสวมกับการแข่งรถ

เพลงนี้ได้รับความนิยมใน ๑๔ ประเทศ จำหน่ายแผ่นเสียงได้มากกว่า ๓ ล้านแผ่น




คุณสุเทพ ชัยอาภา นำทำนองเพลงนี้มาใส่เนื้อไทย เปลี่ยนชื่อ Laura เป็นลำดวน และ Tommy เป็น ทองดี ในชื่อเพลง "ลำดวน ทองดี" เปลี่ยนเนื้อหาจากเพลงเดิม แข่งรถ เป็น แข่งควาย ครูพยงค์ มุกดาขับร้องเพลงนี้ไว้เป็นต้นฉบับ



และนำมาให้ลูกศิษย์ วิรัช เทวฤทธิ์ ร้องเล่นในแบบโพล์กซองทางรายการวิทยุ และที่ไซซีไนท์คลับ จนได้นับความนิยม จึงนำเพลงนี้มาออกอัลบัม ลำดวนทองดี ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ จนโด่งดังคุนหูไปทั่ว

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 04 มี.ค. 23, 15:35

ที่มาของเพลง ลำดวนทองดี โดย วิรัช เทวฤทธิ์

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 05 มี.ค. 23, 09:31

อ้างถึง
Tell Laura I Love Her เป็นเพลง ballad ที่คุ้นหูเพลงหนึ่ง เล่าถึงโศกนาฏกรรมของหนุ่มน้อยนาม Tommy
ที่เข้าแข่งรถเพื่อหวังรางวัลสำหรับคนรักของเขา Laura

           ตามมาด้วย เพลงตอบ(answer song) ชื่อว่า  Tell Tommy I Miss Him เวอร์ชั่นฮิทในบ้านเราคือเพลงนี้ใน
อัลบั้มชุด Here's the Answer จากเสียงร้องของ Skeeter Davis(ที่มีเพลงฮิทในบ้านเราหลายเพลง) ซึ่งรวมเพลงร้องโต้ตอบ
เพลงร้องของนักร้องชายต่างๆ ไว้ สิบกว่าเพลง ที่ได้ยินบ่อย ๆ เช่น "He'll Have to Go" - "He'll Have to Stay" และ
"I Really Don't Want to Know" - "I Really Want You to Know" เป็นต้น

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 05 มี.ค. 23, 09:35

เพลงแก้ Tell Tommy I Miss Him ร้องโดย Skeeter Davis (1961)



แปลงเป็นไทยโดย ครูพยงค์ มุกดา ในชื่อเพลง "ทองดี ลำดวน" ร้องโดย มาลินี เนื้อทอง



อีกเวอร์ชั่นหนึ่ง "คิดถึงทองดี" เนื้อร้อง สมบุญ กระจ่างศิลป์ ร้องโดย ยุพิน แพรทอง

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 05 มี.ค. 23, 13:35

เพลงที่ทำชื่อเสียงให้ Skeeter Davis มากที่สุด เห็นจะเป็นเพลง "The End of the World" แต่งโดย Arthur Kent และ Sylvia Dee ในปี ๑๙๖๒ สามารถขึ้นเป็นลำดับ ๒ บน Billboard Hot 100




ครูพยงค์ มุกดา (บางแห่งว่า ครูประดิษฐ์ อุตตะมัง) นำทำนองเพลงนี้มาใส่เนื้อไทย ให้ชื่อว่าเพลง "สิ่นรักสิ้นโลก" ให้ นิ่มนุช ละอองนวล ร้องกับวงดนตรี P.M.Pocket Music ของครูพยงค์ มุกดา



ต่อมาจึงให้ได้ให้ สวลี ผกาพันธ์ นำไปร้องกับวงดนตรี The Impossible บันทึกเสียง พ.ศ. ๒๕๑๕

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 05 มี.ค. 23, 19:51

เพลงแปลงเพลงนี้ แค่อินโทร ตอนต้นเพลง ก็รู้แล้วว่าแปลงจากเพลงอะไร 
 ชื่อภาษาอังกฤษในเพลงต้นแบบไม่มีความหมายใดๆ เกี่ยวกับเพลงแปลงภาษาไทย นอกจากสำเนียงคล้ายกัน ทำให้คุณนคร มงคลายนจับไปใส่เนื้อ ตรงกับชื่อไทย  บรรยายเรื่องราวได้อย่างแนบเนียนตลอดเพลง



โจงกระเบน โจงกระเบน    เป็นของเก่านานเน
คนโบราณ นานกาเล        โจงกระเบนทุกคน
โจงกระเบน โจงกระเบน     มองแล้วเด่นงามล้น
กาลนานมา ประชาชน       ทุกคนโจงกระเบน
.แต่บัดนี้มาแปลงใหม่        ดูไปพิลึกพิเรนทร์
หนุ่มๆชอบทรงจิ้งเหลน      ฉันเห็นแล้วไม่อยากมอง
ฝ่ายแบบหญิงก็ใช่เล่น       หนุ่มๆเห็นแล้วตาพอง
แก่ๆก็ยังอยากมอง           ขนลุกขนพองกันเทียว
.มองกระโปรง ทรงบานๆ    พาลเสียวใส้จริงเจียว
ดูกางเกง ทรงเรียวๆ          มันเพรียวลมพิกล
แปลงกันไป แปลงกันมา     ดูน่าเบื่อเต็มทน
นานๆไป คงเวียนวน          หันเข้าโจงกระเบน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 05 มี.ค. 23, 19:55

เนื้อร้องของคุณนครสะท้อนวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  จบลงได้ไม่กี่ปี
กางเกงทรงจิ้งเหลน  ไทยรับมาจากอเมริกา  นักร้องในยุค 50s  นุ่งกางเกงขาลีบรัดท่อนล่าง ยาวแค่ข้อเท้า   แบบเดียวกับกางเกงทรงเดฟในยุค 70s  เราเรียกทรงจิ้งเหลน เพราะกางเกงตัวเล็กรัดรูปร่าง จนดูตัวผอมเล็กเหมือนจิ้งเหลน



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 05 มี.ค. 23, 20:35

คุณนคร มงคลายนจับไปใส่เนื้อ ตรงกับชื่อไทย  บรรยายเรื่องราวได้อย่างแนบเนียนตลอดเพลง

บ้างก็ว่า คุณวิภาค สุนทรจามร เป็นผู้แต่งเนื้อร้อง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 05 มี.ค. 23, 20:43

ส่วนกระโปรงบานที่บรรยายไว้ในเพลง เป็นแฟชั่นกระโปรงจากฝรั่งเศส ออกแบบโดยคริสเตียน ดิออร์    เข้ามาในไทยหลังสงครามโลก 
เป็นกระโปรงยาวครึ่งน่อง  ตัวบานกว้าง ใช้ผ้าหลายเมตร   รัดเอวเล็กเพื่อจะได้รับกับกระโปรง  สาวยุคคุณทวดเอวประมาณ 20-22 นิ้วอย่างมาก     


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 06 มี.ค. 23, 11:27

ต้นแบบของโจงกระเบน คือ Jingle Bells   เพลงถือกำเนิดในอเมริกาย้อนหลังไปประมาณปี 1850  กว่าๆ เดิมชื่อว่า The One Horse Open Sleigh
ตอนที่ออกมาสู่สาธารณชนทีแรก    เพลงนี้ไม่ใช่เพลงคริสต์มาส    ถ้าอ่านเนื้อจะพบว่าไม่มีอะไรเกี่ยวกับเทศกาลนี้เลย    เป็นคำบรรยายความสนุกสนานในการนั่งรถเลื่อน ลากโดยม้าตัวเดียวลุยหิมะไปในตอนค่ำคืน
แต่กลับมาเป็นที่นิยม นำมาร้องในเทศกาลคริสต์มาสในภายหลัง
จนกลายเป็นเพลงฮิทติดอันดับในเทศกาลคริสต์มาส  มากกว่าเพลงอื่นๆที่แต่งเพื่อการนี้เสียอีก

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 06 มี.ค. 23, 12:35

เพลง  Banana Boat Song (Day O) คนร้องคือ  Harry Belafonte

Banana Boat Song เป็นเพลงพื้นเมืองของจาไมก้า ซึ่งพวกคนงานในไร่กล้วยชอบร้อง เนื้อร้องแตกต่างกันออกไป เป็นเพลงที่มีมาตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๑๙ หรือต้นศตวรรษที่ ๒๐ เมื่อการค้ากล้วยของจาไมก้าเฟื่องฟู ผู้อัดแผ่นเสียงเพลง Banana Boat Song คนแรกเป็นนักร้องชาวทรินิแดดชื่อ Eric Connor and the Caribbeans ในอัลบั้มชื่อ Songs from Jamaica และ Harry Belafonte นำมาร้องในปี ๑๙๕๒ โดยใช้เวอร์ชั่นของ Eric Connor




นอกจากเพลง โจงกระเบน ซึ่งบางแห่งกล่าวว่า คุณวิภาค สุนทรจามร แปลมาจากเพลง Jingle Bells แล้ว  เพลง ม้วยโอ ซึ่งแปลงมาจากเพลง Banana Boat Song ก็กล่าวว่าเป็นฝีมือแปลงของ คุณวิภาค สุนทรจามร เช่นกัน ร้องโดย คุณนคร มงคลายน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 07 มี.ค. 23, 15:04

เพลงข้างล่างนี้หายากเอาการ เพราะข้อมูลในเว็บหนึ่งไปใส่คู่กับเพลง Day-O เหมือนมาจากเพลงนั้น     หาอยู่พักใหญ่จึงพบว่ามาจากอีกเพลงหนึ่ง คือ Jamaica Farewell
 
เพลงนี้ คนแปลงเป็นเนื้อไทยคือสุรพล โทณะวนิก   คนร้องก็มีศักดิ์ นาครัตน์ เจ้าเก่าที่ชำนาญเพลงแปลงเหล่านี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 07 มี.ค. 23, 15:09

Harry Belafonte ร้องเพลงนี้ในปี 1956

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 07 มี.ค. 23, 15:12

41  ปีต่อมา คุณปู่ก็กลับมาร้องเพลงนี้อีกครั้ง

บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 07 มี.ค. 23, 19:47

Don't go breaking my heart มาเป็น มองอะไรตามชายหาด ถือว่าจับสำเนียงชื่อเพลงมาแปลงเป็นไทย ๆ ไปเรียบร้อย แถมออกแนวหวาดเสียวจั๊กจี้นิด ๆ



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง