เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 8892 "เพลงแปลง" ดังได้สดับมา
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 23 ก.พ. 23, 20:08

ในชีวิตของใครหลายคน ต้องเคยได้ยิน "เพลงแปลง"
ทั้งที่แปลงจากเพลงฝรั่ง หรือแปลงจากเพลงไทยด้วยกันเอง
อยากถามทุกท่านในนี้ว่า เพลงแปลงที่เคยได้ยินมา
มีเพลงไหนที่ฟังติดหู ร้องติดปาก สัมผัสตรึงใจไหมครับ
ส่วนใหญ่จะเป็นแนวฮา ๆ  ยิงฟันยิ้ม ร้องกันเล่น ๆ หรือมีบันทึกเสียงจริง ๆ ก็ได้ครับ

ขอให้หมายถึงเพลงแปลงเนื้อร้องไทยนะครับ จะแปลงมาจากชาติไหนภาษาไหนก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 08:57

ยินดีตอบเลยค่ะ 
ดิฉันจำ "เพลงแปลง"ได้แม่นอยู่ 2 เพลง  คือ คอยเธอ ขับร้องโดย สุเทพ คอรัส  ต่อมา กุ้ง กิตติคุณก็นำมาร้องอีก
และน่าจะมีอีกหลายเจ้า แต่จำได้แต่เจ้าดั้งเดิมคือสุเทพคอรัส  เพราะไพเราะถูกใจที่สุด

เพลง "คอยเธอ" ขับร้องโดย สุเทพคอรัส  คำร้อง เนรัญชรา  ทำนอง เพลงสากล Green Fields บันทึกเสียงครั้งแรก ปี 2506
              ที่มาของเพลงนี้เริ่มจาก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้มอบแผ่นเสียงสปีด45 แผ่นหนึ่งให้คุณสุเทพ วงศ์กำแหง พร้อมบอกให้ลองไปทำดู เป็นแผ่นเสียงเพลงGreen Fields ที่วง The Brothers Four ร้องประสานเสียงกันไพเราะมาก
              คุณสุเทพแปลเนื้อร้องเพลงGreen Fields เป็นภาษาไทย แล้วให้ครูเนรัญชราแต่งคำร้อง ด้วยความเป็นอัจฉริยะ ครูเนรัญชราแต่งคำร้องเพลง"คอยเธอ"ด้วยภาษาที่งดงาม สัมผัสสละสลวย ที่สำคัญสามารถถอดความจากเนื้อเพลงต้นฉบับภาษาอังกฤษได้แบบวรรคต่อวรรคทีเดียว
              คุณสุเทพนำเพลง"คอยเธอ"ไปปรึกษากับคุณนริศ ทรัพย์ประภาเพื่อทำเพลงนี้ในแบบประสานเสียงตามต้นฉบับ คุณนริศ ทรัพย์ประภาจัดการเรียบเรียงเสียงประสานร้องโดยทีมสุเทพคอรัส ที่ประกอบด้วยนักร้อง 7 คน คือ สุเทพ วงศ์กำแหง, ธานินทร์ อินทรเทพ, ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา, นิทัศน์ ละอองศรี, สุวัจชัย สุทธิมา, อดิเรก จันทร์เรือง และ อดุลย์ กรีน
               สำหรับเพลง"คอยเธอ" วงสุเทพคอรัสวางตัวคุณธานินทร์ อินทรเทพเป็นผู้ขับร้องนำทีมคอรัส
.              ขอบคุณ ข้อมูลจากปกแผ่นเสียงชุด"สุเทพคอรัส"
               ขอบคุณ เสียงเพลงจาก YouTube และ Aphirakchuchai78
               ขอบคุณเพจ  พร่างเพชรในเกร็ดเพลง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 08:59

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 09:05

ส่วนเพลงแปลงที่ทำนองสนุกสนานต้องเพลงนี้   น่าจะมีก่อนสมาชิกเรือนไทยส่วนใหญ่เกิดค่ะ
ดัดแปลงเป็นเนื้อเพลงไทยด้วยฝีมือนคร มงคลายน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ก.พ. 23, 12:40 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 09:10

มาจากเพลง  Banana Boat Song (Day O) คนร้องคือ  Harry Belafonte

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 09:16

เพลงนี้ถูกนำมาใช้ในฉากเอกของหนังผีตลก Beetlejuice (1988)  เมื่อเจ้าผีบีตเติ้ลจูซ  เข้าสิงให้เจ้าของบ้านและแขกลุกขึ้นเต้นรำตามทำนองเพลง  ทั้งๆทุกคนไม่เต็มใจ  และไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนเอง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 09:58

           "เพลงแปลง" นึกถึง เพลงที่ถูกนำมาดัดแปลงแต่งเนื้อร้องเสริมใหม่ในบางส่วน,บางประโยค ส่วนใหญ่เพื่อให้ขบขัน
และ ส่วนใหญ่จะเป็นคำร้องที่ตลก "ไม่ค่อยสุภาพ" และ "เซ็กซี่" เหมาะจะคุยเล่าเล่นในวงสนทนา ไม่เหมาะกับเว็บบอร์ด
(เพลงแปลงที่ได้ยิน น่าจะมาจากคณะที่มีนิสิตนศ.เป็นผู้ชายส่วนมาก :)
         
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 10:14

          ส่วนเพลงแปลงประเภท แต่งคำร้องไทย ใส่ทำนองฝรั่ง ที่เป็นหนึ่งในตำนาน คือ คห.(คุณเพ็ญ)ที่ ๙๖

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3447.msg70286#msg70286

อ้างจาก: NAVARAT.C ที่  24 ส.ค. 10, 13:21

แมมซี้  แมมซี้  เปนเมี่ย มิด_เต่อ จอน

แมมซี้  แมมซี้  เปนเมี่ย มิด_เต่อ จอน

….ราดร่ดที นอน  มิดเตอจอนไลเตะตกเตียง
นางเซียใจไปนังรองให่อยู่ใต่ทุ่นเตียง

(จุดจุดจุด คือกิริยาที่เป็นผลจากการกินอาหารเสาะท้องเข้าไปดังท่านอาจารย์เทาชมพูใบ้ไว้)


เพลงแหม่มศรีของคุณนวรัตน ก็ไม่น่าร้องยาก ใช้ทำนองเพลง "Marching Through Georgia" ท่อนประสานเสียงที่ว่า

Hurrah! Hurrah! we bring the jubilee!
Hurrah! Hurrah! the flag that makes you free!
So we sang the chorus from Atlanta to the sea
While we were marching through Georgia.

เพลงนี้เป็นเพลงมาร์ชสมัยสงครามกลางเมืองอเมริกาของกองทัพสหรัฐอเมริกาฝ่ายเหนือ ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ โดยเฮนรี เคลย์ เวิร์ค (Henry Clay Work)

เพลง Marching Through Georgia เข้ามาในเมืองไทยเมื่อกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้เดินเรือรบชื่อเทนเนสซี (Tennessy) มาอวดธงที่สยามในสมัยรัชกาลที่ ๕
ซึ่งต่อมานักดนตรีไทยได้จำทำนองไปเล่นในวงดนตรีไทยและใส่เนื้อร้องเสียใหม่ในชื่อเพลง "คุณหลวง"

ยังจำกันได้ไหมเอ่ย

คุณหลวง...คุณหลวง       อยู่กระทรวงยุทธนาฯ
ใส่เสื้อราชปะแตน          ทำไมไม่แขวนนาฬิกา
เงินเดือนยี่สิบบาท          ดูเปิ๊ดสะก๊าดเสียเต็มประดา

http://th.wikipedia.org/wiki/Marching_Through_Georgia
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 11:29

เพลงเดิม  TOREADOR

TOREADOR WE LOOK TO YOU

FIGHT LIKE A MAN, KILL IF YOU CAN

STRIKE, GALLANTLY WHAT MATTERS IF YOU GORE

CIVIL MUST NOT BE BORED

SINCE BEAUTY WORSHIP PLUCKED

TO KNIGHT WITH LUCK

YOU HAVE A FAIR REWARD


นาทีที่ 1.47
 
เพลงไทย  เอ้า สถาปัตย์ เรามา พร้อมกัน    
มั่นสามัคคี เราร่วมรักมี
ใจ กล้าหาญพลีเพื่อนามจุฬาลงกรณ์
อย่าช้าจงเร่งเอาชัย
ให้สถาปัตย์ขจร
เพื่อเกียรติถาวร
จุฬาลงกรณ์ของเรา...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 12:35

โชคิจิ คินะ (喜納昌吉) เป็นศิลปินแนวเพลงโฟล์กร็อก ที่ผสมกันกับดนตรีพื้นบ้านแบบ "Ryukyu" เกิดที่เมือง Koza (コザ) จังหวัดโอกินาวะ (沖縄) ผลเพลงดังที่สร้างชื่อให้คนรู้จักมากที่สุดคือเพลง ฮานะ (花-ดอกไม้) หรือ ซูเบเตะ โนะ โคโคโระ นิ ฮานะ โอะ (すべての人の心に花を-ดอกไม้ในใจของทุกคน)  จากอัลบั้ม "Blood Lines" ที่ออกขายใน พ.ศ. ๒๕๒๓) ร้องโดย โทมิโกะ คินะ (喜納友子) ภรรยาของเขาเอง



เพลงนี้ถูกแปลและร้องเป็นภาษาอื่น ๆ กว่า ๒๐ ภาษา ทั้งในเอเชีย  ยุโรป อเมริกา แอฟริกา สำหรับเวอร์ชั่นนี้ร้องโดย เติ้งลี่จวิน (鄧麗君) หรือ เทเรซา เติ้ง (Teresa Teng) ร้องเป็นภาษาญี่ปุ่น มีคำแปลเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 12:35

วงคาราวานไปเล่นดนตรีที่ญี่ปุ่น ได้แผ่นเสียงเพลงนี้มา น้าหงาฟังแล้วชอบใจ เมื่อมีโอกาสพบเจ้าของเพลงเมื่อไปเล่นดนตรีที่ฟิลิปปินส์  จึงขออนุญาตนำทำนองมาใช้และแต่งเนื้อไทยใส่เข้าไป บันทึกเสียงขายใน พ.ศ. ๒๕๒๘



ที่มาของเพลงเล่าโดยน้าหงา คาราวาน นาทีที่ ๓๐.๒๕ - ๓๗.๕๐

https://www.youtube.com/live/_3YeLBgXPmA?feature=share

เวอร์ชั่นร้องโดย พี่แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 14:35

มีเพลง ฮานะ (花) อีกเพลงหนึ่ง ที่เป็นที่มาของเพลงไทยที่เราคุ้นเคย

ชินจิ ทานิมูระ (谷村新司) เกิดที่จังหวัดโอซากะ (大阪) เป็นทั้ง นักร้อง และนักแต่งเพลง ผลงานที่รู้จักกันดี คือเพลงที่มีชื่อว่า ซูบารุ (昴-すばる)

คุณทานิมูระแต่งเพลง ฮานะ บันทึกออกจำหน่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 14:35

พ.ศ. ๒๕๓๒  สาว สาว สาว ได้รับเลือกจากประเทศญี่ปุ่นให้เป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมงานโตเกียวมิวสิคเฟสติวัลประจำปี ๑๙๘๙ ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ซึ่ง สาว สาว สาว ได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงชาวญี่ปุ่นอย่างอบอุ่น

ฮานะ เป็นเพลงฟินาเล่ที่ใช้ปิดงานโดยนักร้องทุกชาติต้องขับร้องเพลงนี้ร่วมกัน สาว สาว สาวประทับใจเพลงนี้มาก เพราะมีความไพเราะและความหมายที่ดีของเพลง จึงขออนุญาตจากผู้แต่งเพื่อนำเพลงนี้ไปใช้บันทึกเสียงในอัลบั้มชุดใหม่และเป็นชุดสุดท้ายด้วยในชื่อ เพลงดอกไม้ของน้ำใจ ออกจำหน่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓



พ.ศ. ๒๕๕๔ เกิดแผ่นไหวใหญ่และสึนามิในญี่ปุ่น เพลงนี้เป็นเหมือนกำลังใจจากชาวไทยให้ชาวญี่ปุ่นผู้ทุกข์ยาก

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 17:21

คืนนี้  ของ สวลี ผกาพันธุ์   

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 24 ก.พ. 23, 17:26

มาจาก West Side Story  หนังเพลงตุ๊กตาทอง ปี 1961   นำแสดงโดย Natalie Wood และ Richard Beymer
เสียงร้องเพลงของนางเอกพากย์โดย Marni Nixon และ ส่วน Jim Bryant ร้องแทนพระเอก
West Side Story  ก็คือ Romeo and Juliet  ในสลัมของนิวยอร์คยุคหลังสงครามโลกนั่นเอง

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 19 คำสั่ง