เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 5269 เลี้ยงสัตว์ - สัตว์เลี้ยง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 28 พ.ย. 22, 18:10

วันนี้ทั้งวันไม่เห็นกะนยาบินลงมากินอาหารทั้งวันเลย ชักเป็นห่วงครับ   แม้จะเป็นห่วง เมื่อเขากลับมาก็จะไม่ขังเขาใว้ในกรง เพราะว่าสิ่งแวดล้อมในพื้นที่พักอยู่อาศัยของผมยังคงเป็นพื้นที่ๆยังมีการทำสวนอยู่(พื้นที่บางพลัด บางกรวย) ยังมีต้นไม้/พืชพรรณมากมายหลากหลายชนิด  คือยังมีพื้นที่ส่วนที่ยังมีความเป็นธรรมชาติที่นกสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสระตามธรรมชาติของเขา   เป็นการเลี้ยงสัตว์แบบให้เขามีอิสระในการดำรงชีวิตได้อย่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในสภาพแวดล้อมหนึ่งใด   เป็นดังภาพ ดังที่ อ.เทาชมพู ได้ว่าไว้  ยิงฟันยิ้ม 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 28 พ.ย. 22, 19:11

ที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งก็คือ การสัมผัสที่สื่อได้ถึงความมีไมตรีจิตต่อกันระหว่างคนกับสัตว์นั้น ดูจะอยู่ในรูปแบบของการลูบไล้บริเวณห้ว อก ท้อง และหลัง ซึ่งดูจะเป็นจุดที่ไวต่อการรับรู้ถึงไมตรีจิตนั้นๆ   ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ทั้งหลายล้วนสื่อกับสัตว์เลี้ยงในลักษณะดังที่กล่าว ซึ่งการสนองตอบถึงการรับรู้ของสัตว์ก็มีเช่น การอยู่นิ่ง การส่ายหาง การหลับตา และอาการลิงโลด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 29 พ.ย. 22, 19:30

ตุ่น(ตัวตุ่น)และอ้น เป็นสัตวที่เอามาเลี้ยงได้ และทำให้เชื่องใด้   ในป่า ตุ่นและอ้นมักจะพบอยู่ในพื้นที่ๆเป็นตะพักลำน้ำของลำห้วย (stream terrace) ที่มีต้นไผ่ขึ้นเป็นกอๆ โดยเฉพาะที่เป็นพวกไผ่รวก ไผ่บง ...    ตุ่นและอ้นเป็นสัตว์ฟันแทะ  ขนาดตัวโตเต็มวัยของตุ่นมีขนาดประมาณขวดโซดา อ้นมีขนาดตัวประมาณแถวขมปังปอนด์  ทั้งตุ่นและอ้นเป็นสัตว์ที่ชอบกินรากอ่อนของต้นไม้และหัวของพืชที่มีหัว รวมทั้งสัตว์เล็กๆ เช่น ใส้เดือน     จากที่เคยอ่านศึกษา อ้นดูจะเป็นพวกเคร่งมังสวิรัติ ในขณะที่ตุ่นกินมั่ว   

กิจกรรมทั้งหมดของตุ่นและอ้นอยู่ใต้ผิวดิน ยกเว้นตอนออกมาหาอาหารบางอย่าง  ด้วยที่มันเป็นสัตว์ที่เอามาทำอาหารได้ แถมมีความอร่อยอีกด้วย  ก็เลยมีเรื่องอยู่สองนัย คือจับมาเพื่อลดความเสียหายต่อพืชผล และจับเอามาทำอาหาร    วิธีการจับตุ่นและอ้นคงมีหลากหลายวิธีในท้องถิ่นต่างๆ  วิธีที่ดูจะเหมือนๆกันอย่างหนึ่งก็คือการขุดไปตามรูที่มันใช้เดินหาอาหาร อาจจะมีพลิกแพลงบ้างด้วยการตักน้ำกรอกเข้าไปในรู  วิธีการขุดนี้เป็นเรื่องที่นิยมทำกันในหมู่เด็กๆ เพราะเป็นกิจกรรมที่สนุก ได้มีเวลาคุย แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ ปรัชญาและแนวคิด    ซึ่งผมเห็นว่าเรื่องสารพัดคุย สารพัดความเห็นที่ถกกันในหมู่เด็กๆนั้น เป็นพื้นฐานที่มีค่าในด้านการกระตุ้นพัฒนาการทางภูมิปัญญาของเขาเหล่านั้น

สำหรับผู้ใหญ่ ตุ่นจะนิยมจับด้วยวิธีการดักด้วยแร้ว โดยเฉพาะ 'แร้วกระบอกไม้ไผ่'    ส่วนสำหรับอ้นนั้นก็มีทั้งการใช้แร้วและอื่นๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 29 พ.ย. 22, 19:46

เคยได้ยินแต่ชื่อ แต่ไม่เคยเห็นตัวจริงค่ะ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 30 พ.ย. 22, 18:26

ถ้าเห็นตัวจริง เชื่อว่าอาจารย์จะต้องขอจับตัวมันทั้งตัวตุ่นและตัวอ้น ขนของมันจะนุ่มฟูและอ่อนนิ่มคล้ายสำลี (เมื่อยังเล็กอยู่)  ตัวอ้วนยุ้ย เนื้อนิ่ม ผิวละเอียดอ่อนมาก โดยเฉพาะที่ท้องของมัน 

ผมเคยเลี้ยงแต่ตัวตุ่น ได้มาด้วยการขอแลกกับเนื้อหมูที่ซื้อเตรียมไว้ทำอาหาร ขณะที่กำลังตั้งแคมป์เตรียมออกเดินสำรวจในวันรุ่งขึ้น  ตุ่นจะซุกนอนในช่วงเวลากลางวัน จะกระฉับกระเฉงในเวลากลางคืน  แรกๆก็คิดว่าเลี้ยงไว้ในกล่องกระดาษก็ได้ มันกัดกล่องกระดาษแหว่งทุกคืน เลยต้องเลี้ยงในปี๊บ(หีบสังกะสี)ที่ใช้ใส่เสื้อผ้า  เอาเสื้อผ้าและเครื่องใช้ไปใส่รวมไว้ในถุงทะเลแทน  เมื่อเข้าเมืองก็ได้ให้กับคนที่อยากจะเลี้ยงมันต่อไป เราเองอยู่ในระหว่างการเดินทางทำงาน การเลี้ยงดูมันลำบาก ช่วยชีวิตมันแล้วก็ดีใจแล้ว ที่ทำมาก็เห็นว่าพอสมควรแล้ว

ตัวอ้น ไม่เคยเลี้ยง แต่เคยพยายามจะช่วยชีวิตมัน   เรื่องเกิดในพื้นที่ทางตะวันตกของ จ.กำแพงเพชร พ.ศ.2513  สมัยนั้นเริ่มมีการกรุยทาง(ถนน)เข้าไปในพื้นที่ (ย่าน อ.คลองลาน ในปัจจุบัน)  ในระหว่างการเดินทำงานเลาะไปตามห้วย ได้พบแคมป์ของชุดคนขับรถแทรกเตอร์กรุยบุกเบิกทางในพื้นที่ป่าไผ่  ได้เห็นอ้นตัวหนึ่งถูกผูกขาหลังข้างหนึ่งแขวนห้อยหัวอยู่ ดิ้นและออกเสียงแฟดๆคล้ายกับเสียงของแมวเมื่อมันตบกัน ก็ขอซื้อเขา แต่เขาไม่ขาย เลยขอเขาเพียงปล่อยลงมาจับตัวมันเล่น แท้จริงก็เพื่อจะคลายเชือกที่มัดขาของมันจนขาบวม ที่ปากของมันก็ไม่เห็นมีฟันแทะ ก็เลยไม่ต้องกลัวมันกัด  ได้ลูบตัวเขาให้รู้สึกผ่อนคลายจนสงบสักพัก แล้วก็ต้องเดินทำงานต่อไป  ช่วยอ้นตัวนั้นได้เพียงเอาเขาผูกใว้กับเสาไม้ไผ่ปักบนดิน  ก็ยังเป็นเรื่องราวที่ติดอยู่ในใจตลอดมา         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 30 พ.ย. 22, 19:04

ที่เล่ามา เป็นลักษณะของการได้ตัวอ้นจากการกรุยทางเพื่อทำถนนผ่านพื้นที่ๆเป็นป่าไผ่ด้วยการโค่นกอไผ่ ซึ่งค่อนข้างจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ  วิธีที่ชาวบ้านใช้หาตัวอ้นจะต่างไปโดยสิ้นเชิง พื้นฐานแรก สัตว์พวกนี้ใช้ชีวิตอยู่ใต้ผิวดิน มีการขุดโพรงทำเป็นที่อยู่อาศัย มีการขุดอุโมงค์เป็นทางเดินไปยังแหล่งหากิน มันก็เลยต้องมีขุยดินปรากฎให้เห็นอยู่บนผิวดิน มันจะอยู่ในพื้นที่บริเวณใหนก็เลยดูได้จากความสดใหม่ของขุยดิน ขุยดินใหม่จะมีความชื้น ไม่แห้งเหมือนขุยดินเก่า   

ขุยดินใหม่หรือสดๆที่อยู่ที่โคนกอไผ่ โดยนัยก็คือบริเวณที่มันหากินอยู่  ก็เอาไม้ไผ่ตัดเป็นปล้อง บากผิวให้เป็นบั้งๆ เอาปลายด้านหนึ่งจ่อลงไปที่ขุยดินใหม่นั้น แล้วใช้ซีกไม้ไผ่ครูดบั้งที่ทำไว้ให้เกิดเสียง  เสียงที่ได้ยินใต้ผิวดินคงจะเหมือนกับการกัดแทะรากไม้ไผ้  ตุ่นก็จะเข้ามาเพื่อปกป้องแหล่งอาหาร เมื่อรู้สึกว่ามันขึ้นมาถึงแถวขุยดิน ก็ไม่ยากแล้ว เพียงใช้จอบหรือเสียมสับลงไปเพื่อปิดทางไม่ให้มันถอยกลับ หรือสับไปที่ตัวมัน หรือหากมันโผล่ออกมาก็ใช้มีดพร้าตบปากมันเแื่ให้ฟันมันหัก กัดไม่ได้ แล้วก็จับตัวมัน   ดูจะโหดสำหรับคนในเมืองเช่นพวกเรา แต่นั่นคือวิถีการดำรงชีพของชาวบ้านห่างไกลเมือง   

ฟันที่หักไปของพวกสัตว์ฟันแทะนั้น ดูจะงอกออกมาทดแทนได้  จากประสบการณ์เลี้ยงกระรอกจนแก่ตายของผมนะครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 01 ธ.ค. 22, 18:07

ผมได้ลูกกระรอกมาจากป่าปากลำห้วยขาแข้งในระหว่างตั้งแคมป์เดินสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยา มันคงกำลังพลัดหลงหรือเริ่มแยกตัวเป็นอิสระจากครอบครัว เดินไต่ต้นไผ่ที่โน้มเอียงใกล้ล้ม เพียงเขย่าต้นไผ่ก็ตกลงมา ไม่วิ่งหนีไปใหน ไม่กลัวคน จับตัวเขาได้เลย   เขาเป็นตัวเมีย แต่เรียกเขาว่า ไอ้รอก  เวลานั้นเป็นช่วงปลายปี อากาศเย็นและหนาวมาก  ในขณะเดินทำงาน เขาก็จะนอนคุดคู้อยู่ในกระเป๋าเสื้อหนาว (เสื้อ Jacket field ของทหาร)  ตอนค่ำเข้านอน เขาก็จะซุกอยู่ปลายเท้าในถุงนอน  เช้าขึ้นมาก็จะไต่ตัวขึ้นมาแถวหน้าอกและคอของเรา คล้ายกับมาปลุกเราให้ตื่น  เมื่อกลับเข้ากรุงเทพฯก็หากรงให้เขาอยู่ แต่ก็เอาตัวเขาออกมาให้ไต่อยู่บนไหล่ เขาก็จะสำรวจและฉี่รดหนึ่งที  ผมชอบกางแขนขาของเขาแล้วใช้จมูกไชร้บริเวณท้องของเขา แล้วเม้มปากย้ำแรงที่ใบหูของเขาจนร้องอิ๊ดแล้วก็พอ ทำเป็นกิจวัตรจนเขาเสียชีวิต  ก็ยังคิดถึงเขาอยู่ในทุกวันนี้

ที่แปลกก็ตรงที่เขามีความเป็นมิตรและเชื่องกับเรามากตั้งแต่เริ่มพบและอยู่ด้วยกัน คล้ายกับมีบุญมีกรรมระหว่างกันมาแต่ปางก่อน  เขาเชื่องกับคุณแม่ของผมและคนอื่นๆบางคน แต่ไม่เลยกับภรรยาของผม เพียงเห็นมาอยู่ใกล้ๆก็หางฟู ทำท่าและออกเสียงไล่   อยู่กันมาสิบกว่าปี แก่เฒ่าจนฟันหัก แล้วก็เป็นมะเร็งที่ท้อง มีก้อนเนื้อค่อยๆปูดออกมา จากก้อนหนึ่งก็เป็นสองก้อนขนาดประมาณหนึ่งองคุลี แล้วก็เสียชีวิตไปในที่สุด   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 01 ธ.ค. 22, 18:49

ในช่วงเวลานั้น มีความรู้แต่เพียงว่ากระรอกในป่ามีเพียงอย่างที่เราได้มาเลี้ยง กับกระรอกใหญ่ที่เรียกว่า พญากระรอก ซึ่งมีพวกที่มีสีขนดำและพวกที่มีสีน้ำตาลอมเขียว  พญากระรอกนั้นไม่ค่อยจะได้พบเห็นตัวมันในป่า จะเห็นก็เมื่อมันไต่สู่ปลายกิ่งไม้และกระโจนข้ามต้นไม้   มามีความรู้เอาในภายหลังว่ากระรอกก็มีหลากหลายพันธุ์เลยทีเดียว   

ภาพกระรอกที่เราเห็นและรู้สึกว่ามันน่ารักและน่าเอ็นดูนั้น ดูจะเป็นภาพที่มันกำลังนั่งจับเม็ดถั่วกินในลักษณะยกหางแนบไปตามหลังของตัวมัน  ผมไม่เคยเห็นกระรอกในไทยกระทำเช่นนั้น เคยเห็นแต่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ๆอุดมไปด้วยต้นโอ๊คและต้นสน   ก็คิดเอาเองจากการสังเกตอาหารที่มันกำลังแทะกินว่า มันดูจะกำลังมีความสุขกับการแทะถั่วลิสงซึ่งแทะง่ายกว่าลูกของต้นโอ๊คและต้นสน ก็เลยนั่งนิ่งให้ถ่ายภาพได้ง่ายๆ  อีกประการหนึ่ง กระรอกฝรั่งที่พบในสวนสาธารณะต่างๆ จะค่อนข้างจะมีความเชื่องมากในช่วงเวลาที่มันกำลังสะสมไขมันไว้ต่อสู้กับความหนาวในฤดูหนาว           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 01 ธ.ค. 22, 19:06

กระรอกกินได้ใหม กินได้ครับ แต่ชาวบ้านไม่นิยมจะล่าเอามันมาเป็นอาหาร   เหตุผลแรกก็คือตัวมันเล็ก เนื้อน้อย กระดูกเยอะ  ปริมาณที่จะใช้ให้พอมื้ออาหารหนึ่งก็ต้องสองสามตัว แต่ว่า กว่าจะตามหาให้ได้สองสามตัวนั้นไม่ง่ายเลย  จะยิงมันด้วยปืนก็ต้องใช้ปืนยาวที่ใช้ลูกกระสุนขนาดเล็ก (ปืนลูกกรด) ซึ่งชาวบ้านเขาไม่ใช้กัน เขาจะใช้ปืนยาวลูกซองเป็นหลักในการป้องกันทรัพย์สิน   กระรอกที่ชาวบ้านได้มากัน ส่วนมากจึงมาจากฝีมือของเด็กที่ยิงด้วยหนังสะติ๊กเพื่อทดสอบความแม่นในการใช้หนังสะติ๊กระหว่างกันในหมู่เพื่อน  ซึ่งในปัจจุบันนี้คงจะไม่มีสภาพดังกล่าวให้เห็นอีกแล้ว 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 01 ธ.ค. 22, 20:38

  สมัยลูกเรียนอยู่ที่อเมริกา  ใกล้ๆอพาร์ตเม้นต์มีต้นไม่ใหญ่ขึ้นอยู่หลายต้น   มีกระรอกอาศัยอยู่  ตัวมันโตประมาณแมว คือโตกว่ากระรอกไทยมาก   ค่อนข้างเชื่อง วิ่งลงมาโคนต้นเวลาคนเดินผ่าน แสดงว่าไม่กลัว
  เลยไปซื้อลูกนัทจากร้านสะดวกซื้อใกล้ๆกัน เอามาวางไว้บนขอบระเบียงหน้าห้อง  กระรอกก็จะค่อยๆไต่กระดุบกระดิบเข้ามาใกล้ จนแน่ใจว่าไม่มีคนอยู่ ก็มาฉวยเอาไปกินทีละลูก
  กลายเป็นความเคยชินว่าจะต้องหามาให้ทุกวัน   แต่ลูกเตือนว่าไม่ควร  เพราะถ้าวันไหนไม่เห็นอาหาร บางทีตะกุยตะกายหน้าต่างเข้ามาในห้องเลย  ตัวโตแรงมากด้วย 
  ถึงรู้ก็อดไม่ได้อยู่ดีละค่ะ   ให้กันอยู่อย่างนี้จนถึงเวลาต้องเดินทางกลับบ้าน  ยังคิดถึงอยู่เลย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 02 ธ.ค. 22, 18:16

ภาพดังที่อาจารย์เล่ามา ดูจะเป็นเรื่องที่ผู้คนนิยมทำกัน  บ้างก็ใช้วิธีเอาด้ายผูกถั่วลิสงทั้งฝักหรือลูกนัทอื่นๆ โดยเฉพาะวอลนัทที่แกะแล้ว(มันฮ่อ) วางล่อไว้แล้วค่อยๆลากเข้ามาที่หน้าต่าง ซึ่งวิธีนี้จะนิยมทำกับตัวชิบมังค์ (Chipmunk)   

ชิบมังค์ เป็นพวกสัตว์ฟันแทะ ตัวเล็ก มีลายที่ข้างตัวเป็นแถบเด่นเห็นได้ชัด  มีความเชื่องมากกว่าพวกกระรอกในระดับที่มันกล้าพอที่จะเข้ามาเอาของในมือเรา  ก็เป็นภาพเช่นเดียวกันกับภาพที่อาจารย์เล่ามา คือชอบมาเยี่ยมเยียนเมื่อมันรู้ว่าเราชอบที่จะเอาอาหารมาวางไว้ให้มัน จะเป็นที่ขอบหน้าต่างบ้านหรือแถวโคนต้นไม้ที่เราชอบไปนั่งอยู่เป็นประจำก็ตาม 

ก็มีสองช่วงเวลาที่เราจะเห็นสัตว์ทีั้งสองชนิดนี้ออกมาเพ่นพ่านอยู่ในสวนสาธารณะมากเป็นพิเศษ คือช่วงใบไม้เปลี่ยนสีก่อนเข้าสู่สภาพอากาศหนาวจัด ซึ่งเป็นช่วงก่อนนอนจำศีลของพวกมัน พวกมันจะกินๆๆๆจนอ้วนพี น่ารักดี   และช่วงต้นฤดูเมื่อไบไม้เริ่มผลิ เป็นช่วงเวลาของการออกจากการจำศีล สภาพน่าจะหิวโซเลย

เดินเล่นในสวนและเลี้ยงดูพวกมันก็เป็นการเลี้ยงสัตว์ในสิ่งแวดล้อมแบบธรรมชาติ มีอิสระทั้งคนเลี้ยงและสัตว์ที่เลี้ยง ก็เป็นความสุขทางใจที่ดีอย่างหนึ่ง ซึ่งผมชอบแต่ก็เลือกที่จะไม่ทำอยู่ในเรื่องของการเลี้ยงสัตว์บางชนิด   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 02 ธ.ค. 22, 19:00

อาจารย์กล่าวถึงกระรอกตัวใหญ๋  เลยนึกถึงสัตว์ฟันแทะรูปทรงประเภทเดียวกัน 2 ชนิด ตัวหนึ่งเรียกว่า Prairie Dog และอีกตัวหนึ่งเรียกว่า Groundhog 

Prairie dog ผมไม่เคยเห็นตัวมัน รู้จากทางสารคดีว่า ตัวมันน่าจะโตขนาดประมาณพญากระรอก ใช้ชีวิตในโพรงใต้ผิวดิน  น่าจะพบมากในทุ่งหญ้าแพรรีทางตอนเหนือของสหรัฐฯ เลยได้ชื่อนั้น 

Groundhog เคยเห็นตัวมันในระยะไกล ตัวโตมากเลยทีเดียว นัยว่ามีน้ำหนักตัวได้ถึง 5 กก. ใช้ชีวิตเช่นเดียวกันกับ Prairie dog  ดูจะพบมากในพื้นที่ราบที่ใช้ทำการเกษตรในเขตภาคกลางของประเทศแคนนาดา

Prairie dog ดูจะมีความโชคดีกว่า Groundhog  ด้วยที่เกษตรกรยังเห็นว่ามันมีความน่ารักอยู่ ด้วยที่พวกมันไม่ทำลายพืชผลมากจนเกินไป  ต่างกับ Groundhog ที่เกษตรกรเห็นว่า มันเป็นพวกที่สร้างปัญหาและทำลายผืชผลทางการเกษตรมากเกินไปจนต้องกำจัด รวมทั้งการเอามันมาทำเป็นอาหาร   ก็เลยไม่แปลกนักที่จะเห็นสารคดีที่ว่าด้วยวิถีชีวิตของ Prairie dog ในมุมของความน่ารักน่าเอ็นดูของมัน แต่เกือบจะไม่มีเรื่งราวที่เกี่ยวกับ Groundhog เลย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 03 ธ.ค. 22, 18:17

ผมมีข้อสังเกตอยู่เรื่องหนึ่งเกี่ยวก้บการเอาสัตว์มาเลี้ยงในพื้นที่อยู่อาศัยของคน    เท่าที่เคยเดินทางไปปฏิบัติภารกิจในหลายประเทศ มีโอกาสได้สัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน รวมทั้งได้พูดคุยสอบถามกันในเรื่องต่างๆ  พบว่านอกจากสุนัขและแมวแล้วก็เกือบจะไม่มีการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นใดๆ   ต่างกับคนไทยที่ดูจะมีความคิดลึกๆอยู่ในใจเสมอในการหาสัตว์มาเลี้ยง ซึ่งก็มีทั้งด้วยเพราะความเหงา ต้องการเพื่อน  ด้วยเพราะรักและเอ็นดูในความน่ารักของมัน  ด้วยเพราะต้องการแสดงว่าก็มีความสามารถที่จะทำได้เช่นกัน  ด้วยเพราะต้องการให้ความเพลิดเพลืนแก่ลูกเด็กเล็กแดงตัวน้อยๆของเรา .... ฯลฯ   ชนิดของสัตว์ที่นิยมเลือกสำหรับเด็กก็ดูจะเป็นลูกสุนัขตัวน้อย นก และพวกสัตว์ฟันแทะที่เลี้ยงดูในกรง สำหรับผู้ใหญ่ก็ดูจะนิยมสุนัข แมว และพวกสัตว์ที่ไม่ต้องคลุกคลีกับมันมากนัก           
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 03 ธ.ค. 22, 18:47

   เดือนตุลาคม ใบไม้เปลี่ยนสีในโคโลราโด กระรอกวิ่งจากต้นไม้ลงมาพลุกพล่านไปหมด   คงจะมาตุนอาหารเอาไว้กินตอนฤดูหนาว  แต่ละตัวอ้วนเอาการ
   ส่วนแพร์รี่ด๊อก ไม่เคยเห็นในเมืองที่อยู่   เคยไปเยี่ยมเพื่อนในอีกเมืองทางใต้  มีเจ้านี่ออกมาเพ่นพ่าน ก่อความเดือดร้อนเหมือนกัน   เพราะมันมากัดกินพืชผลเสียหาย  ใครปลูกผักไว้หลังบ้านละก็เรียบร้อย  แล้วเขาว่ามันนำเชื้อโรคมาด้วยค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 03 ธ.ค. 22, 19:51

เรื่องเชื้อโรคที่อาจารย์กล่าวถึงนั้น ที่ร้ายแรงและน่ากลัวที่สุดคือเชื้อตัวที่ทำให้เกิดโรคกลัวน้ำ(โรคพิษสุนัขบ้า)  เชื้อตัวนี้พบได้และถ่ายทอดได้ในระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด  ผมไม่มีความรู้ว่า นอกจากสามารถติดต่อกันทางของเหลว(น้ำลาย....)และจากการกัดแล้ว  ทางอื่นเช่นจากการขีดข่วนจะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด   

บังเอิญที่สัตว์ที่เราเอามาเลี้ยงส่วนมากจะเป็นพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากสุนัขและแมวแล้ว สัตว์ฟันแทะพวกกระรอก กระเแต กระถิก(เล็น) กระจ้อน(จ้อน) กระต่าย บ่าง หนูถีบจักร หนูตะเภา หนู Hamster... เหล่านี้ก็ล้วนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งนั้น   จะเอามาเลี้ยงกันก็ต้องมีการระมัดระวังกันให้มากในเรื่องของการกัดและการขีดข่วน 

สำหรับผมใช้หลักอยู่ 3 อย่าง ในการระมัดระวังเรื่องของโรคนี้  1.สัตว์ที่เคยเชื่องและซุกซน วันดีคืนดีก็สงบเงียบ ไม่กินอาหาร และไม่ค่อยจะเป็นมิตร แสดงอาการจะกัดหรือข่วน  2.สัตว์ตายในช่วงเวลา 7-15 วันหลังจากมันกัดหรือข่วนเราแล้ว รีบเอาตัวสัตว์ไปหาสัตว์แพทย์เพื่อผ่าสมอง ทำการตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า  3.หากสัตว์ตายใช่วงเวลาดังกล่าว เราควรไปหาหมอเพื่อฉีดยาโรคพิษสุนัขบ้า 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง