เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 5278 เลี้ยงสัตว์ - สัตว์เลี้ยง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 18 พ.ย. 22, 17:26

เมื่อวานนี้ได้เล่าว่าเปิดกรงให้ นก"กันยา" นกเขาชวาตัวน้อยได้บินสู่อิสระ  ดีใจแล้วก็เป็นห่วงเขา   วันนี้ได้ดีใจ หมดห่วง และมีความสุขใจอย่างมากเลยครับ   'กันยา' ได้บินกลับมากินอาหารที่เตรียมพร้อมไว้ให้เขาในกรง เขาจำผมได้ ไม่ตื่นหนี เกาะกินอย่างมีความสุข แล้วก็บินลงพื้นไปอยู่รวมกับฝูงที่ลงมากินอาหารที่ได้โปรยไว้ทุกๆประมาณบ่าย 4 โมงเย็น   ดีใจที่เขาสามารถเอาตัวรอดได้ มีที่กิน มีที่นอน และมีเพื่อนและฝูงให้เกาะกลุ่มกัน   จะยังไงก็ตาม ผมก็จะยังคงเปิดประตูกรงที่มีความพร้อมเรื่องอาหาร น้ำ และแอ่งที่นอนสำหรับเขาไปอีกระยะหนึ่ง ยาวๆ เผื่อว่าเขาอยากกลับมานอน หรืออยากมาใช้ประโยชน์อื่นใด     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 18 พ.ย. 22, 18:18

เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ขณะกำลังดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างบ้าน ก็ปรากฎว่าลูกของช่างก่อสร้างได้จับลิงตัวจิ๋วได้ เด็กก็ให้พ่อทำกรงเล็กๆขังไว้ เลี้ยงอยู่สองสามวัน กล้วว่ามันจะตายก็เลยเอามาให้ผมดูแลต่อ  แต่แรกเห็นก็รู้เลยว่าน่าจะมิใช่สัตว์ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในภูมิภาคบ้านเรา  ดูจากลักษณะตาโตคล้ายๆกับพวกลิงลม เคลื่อนไหวช้าแต่ก็ยังเร็วกว่าลิงลม ก็เดาได้ว่ามันคงเป็นพวกสัตว์หากินกลางคืน อาหารของมันก็น่าจะผสมผสานทั้งพืชและแมลง (Omnivorous) น่าจะหนักไปทางแมลง  เอามาใส่กรงนกขุนทองที่มีซี่กรงเป็นช่องห่างกันประมาณ 1.5 ซม. แล้วให้กล้วยน้ำว้าเป็นอาหารแทนไปก่อน  กลางว้นมันก็ซุกนอนอยู่ในมุมอับแสง ส่วนกลางคืนไม่รู้ว่าจะเป็นเช่นใด  คืนนั้นก็พยายามค้นหาทางเน็ตเท่าที่ความรู้จะพึงมีสำหรับการตั้งคำเพื่อสรรหาคำตอบ แต่จำกัดด้วยความรู้ก็เลยไม่รอด ไม่รู้อยู่ดี   รุ่งขึ้นก็เอาไปที่เขาดิน (สวนสัตว์ดุสิต) ก็เลยพอได้ความรู้ว่าน่าจะเป็นตัวอะไร ก็พร้อมมอบให้สวนสัตว์เอาไปเลี้ยง แต่ไม่สำเร็จด้วยข้อจำกัด(จำไม่ได้ว่าอะไรบ้าง)   ที่สุด เราก็ต้องเอากลับมาเลี้ยงเอง   

คืนนั้นมันก็แหกกรงขัง  ไปรู้ว่ามันอยู่ที่ใหนก็ตอนที่เห็นมันโดนงูงับห้อยร่องแร่งอยู่ที่กิ่งต้นมะม่วง  ดีที่ไม่สูงนักและบังเอิญมีไม้ไผ่ยาวสำหรับผูกกับตะกร้าสอยมะม่วงอยู่  ก็เลยทำการฟาดฟันโรมรันพันตูกับงูและแย่งเจ้าลิงตั๋วนี้มาได้สำร็จ งูคายลิง ปล่อยให้มันตกลงมา ลิงมันก็คงเจ็บจากการตกลงมา แต่อาจจะไม่มากนักเพราะตัวมันเบา แต่การบาดเจ็บจากพิษของงูนี่สิ ไม่รู้ว่าจะต้องแก้ไขเช่นใด  ก็ยังดูมันแข็งแรง คล้ายกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น  แล้วก็เศร้า หดหู่ใจ เช้ามาก็พบว่าตันตายเสียแล้ว 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 18 พ.ย. 22, 18:23

ลิงน้อยตัวนั้นครับ



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 19 พ.ย. 22, 18:01

ยังคาใจอยู่ว่าเป็นลิงอะไร เมื่อคืนก็เลยนึกคำค้นหาออกอีกคำหนึ่ง คือ small nocturnal monkey  จึงได้รู้ชื่อเรียกขานทั่วไปของลิงตัวเล็กต่างๆว่า พวก Tarsier  แต่หน้าตาของมันไม่เหมือนที่เรามีอยู่เลย เลยค้นต่อในยูทูปด้วยคำว่า Tarsier monkey around the world  ได้ผลครับ ตัวที่มีลักษณะคล้ายกับตัวที่อยู่กับผมนั้น ถิ่นของมันดูจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ จะถูกหรือผิดอย่างไร ไม่มีความรู้มากพอที่จะยืนยันครับ 

เกิดความอยากรู้ขึ้นมาว่า ลิงที่มีหางยาว ตาโต หากินในเวลากลางคืนในไทย มีบ้างใหม ??    เคยเห็นแต่ลิงลม(นางอาย)ซึ่งไม่มีหาง ที่เป็นธรรมชาติในป่าจริงๆ เมื่อยื่นมือไปหาตัวเขา เขาจะแยกปาก คล้ายกับจะร้องแต่ไม่มีเสียง เมื่อบวกกับความเชื่องช้าทั้งการขยับตัว ขยับตา เลยเป็นภาพที่คล้ายกับ ET ในหนัง แต่ให้ภาพที่ออกไปทางสยิวมากกว่าทางน่ารัก     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 19 พ.ย. 22, 18:23

เมื่อเช้านี้มีความสุขใจเพิ่มมากขึ้นอีกครับ ตื่นนอนลงมาจากบ้านก็ได้เห็นนกน้อย "กันยา" กำลังกินอาหารอยู่ในกรง อิ่มแล้วก็ขึ้นคอนไซร้ขนอย่างมีความสุข สักพักก็บินออกไป หลังเที่ยงก็บินลงมากินอาหารที่โปรยไว้รวมกับนกตัวอื่นๆ  แต่เมื่อกินเสร็จแล้วกลับไม่บินตามฝูงไป แยกตัวไปเดินคุ้ยแคะอะไรๆอยู่ในสนามหญ้า หลังจากนั้นจนขณะนี้ยังไม่เห็นอีกเลย เลยเริ่มจะรู้สึกกังวล  แต่ก็สบายใจอยู่ว่า เขาใช้ชีวิตแบบอิสระรอดมา 24 ชม.แล้ว ก็น่าจะโอเค   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 19 พ.ย. 22, 19:02

พูดถึงลิงตัวน้อยมาว่ามันก็มีพื้นเพถิ่นฐาน  ทำให้นึกถึงคำที่ใช้เรียกสุนัขพันธุ์หนึ่งว่า 'หมาไทย'   

หน้าตา รูปร่าง ลักษณะ อุปนิสัยใจคอของสุนัขที่เรียกว่า 'หมาไทย' นั้นเป็นเช่นใด ?   ดูเราทั้งหลายจะมีความสามารถจำแนกสุนัขและใช้คำว่า 'หมาไทย' กันได้ทุกคนในทันทีที่พบเห็น ก็เลยเป็นที่น่าสนใจ      ไทยเราดูจะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ที่ยืนยันว่าเป็นสายพันธุ์ของพื้นถิ่นไทย คือ หลังอาน ซึ่งถิ่นเดิมคือ จ.ตราด ??  และ บางแก้ว ซึ่งถิ่นเดิม คือ จ.พิษณุโลก ??    แล้วที่เรียกว่า หมาไทย ที่ไม่มีลักษณะของทั้งสองสายพันธุ์นั้นล่ะ ??    คำว่า 'พันธุ์ทาง' ก็มีใช้กันอยู่ แต่เราก็ดูจะมีการจำแนกการเรียกพันธุ์สุนัขระหว่างสองคำนี้อยู่   

อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ  แต่ก็เขื่อว่าน่าจะมีเอกสารการศึกษาวิจัยในวงวิชาการทาง Vet.  ก็น่าจะมีข้อมูลอะไรๆที่น่าสนใจอยู่บ้าง
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 19 พ.ย. 22, 20:46

สมัยเด็กน้าชายผมเคยเลี้ยงชะนีชื่อนังยุ่ง เชื่องพอสมควรแต่กับเฉพาะคนคุ้นหน้า ปรกติไม่ค่อยสุงสิงกับใครนอกจากเวลากินอาหาร กลางวันใช้สองมือโหนสายไฟไปบ้านโน้นบ้านนี้ที่เป็นญาติกัน ตกกลางคืนก็กลับมานอนในที่พักตัวเอง แต่ถ้าคืนไหนจันทร์เต็มดวงนังยุ่งจะขึ้นมาชมจันทร์บนหลังคา แล้วร้องโหยหวนประมาณว่าหาเพื่อนหรือหาตัวผู้ บางคืนก็ปีนเสาโทรทัศน์เล่นเป็นที่น่าหวาดเสียว แต่ไม่เคยพลัดหล่นลงมาจากสายไฟหรือต้นไม้แม้แต่ครั้งเดียว เป็นสีสันของชีวิตในวัยเด็กที่หาไม่ได้อีกแล้ว

ผมจำไม่ได้เหมือนกันว่านังยุ่งจากไปตอนไหน ตอนนั้นน้าชายได้ลูกหมาป่ามาเลี้ยงหนึ่งตัวด้วย เข้าใจว่าจากเมืองจันทร์เพราะแกกับแฟนวิ่งรถสายนี้ ลูกหมาป่าอยู่ที่บ้านไม่นานไม่แน่ใจว่าตายหรือให้คนอื่นไป


คงพอคาดเดากันได้นะครับว่า วัยเยาว์ของผมน่าจะประมาณยุคป่าแตก  ยิงฟันยิ้ม


ปล.ที่บอกว่าลิงแพ้กะปิใช้กับชะนีไม่ได้นะครับ ไม่ได้อย่างเด็ดขาดผมขอนั่งยันนอนยัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 20 พ.ย. 22, 09:35

ตัวที่มีลักษณะคล้ายกับตัวที่อยู่กับผมนั้น ถิ่นของมันดูจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ จะถูกหรือผิดอย่างไร ไม่มีความรู้มากพอที่จะยืนยันครับ

ว่าด้วยเรื่องทาร์เซีย



ในนิวซีแลนด์คงไม่พบทาร๋เซียในธรรมชาติ เราจะพบทาร์เซียกระจายอยู่ตามเกาะต่างในอินโดนีเซีย เช่น สุมาตรา, บอร์เนียว, ซูลาเวซี และเกาะทางใต้ของฟิลิปปินส์ เช่น มินดาเนา, โบโฮล, เลย์เต, ซามาร์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 20 พ.ย. 22, 11:35

แล้วที่เรียกว่า หมาไทย ที่ไม่มีลักษณะของทั้งสองสายพันธุ์นั้นล่ะ ??    คำว่า 'พันธุ์ทาง' ก็มีใช้กันอยู่ แต่เราก็ดูจะมีการจำแนกการเรียกพันธุ์สุนัขระหว่างสองคำนี้อยู่

ราชบัณฑิตท่านให้ใช้คำว่า 'สุนัขพันทาง'

พันทาง : เรียกไก่ที่พ่อเป็นอู แม่เป็นแจ้ ว่า ไก่พันทาง, ภายหลังเรียกเลยไปถึง สัตว์ที่พ่อแม่ต่างพันธุ์กัน (ยกเว้นปลากัด) จนถึงสิ่งต่างชนิดบางอย่างที่แกมกันหรือไม่เข้าชุดกัน เช่น สุนัขพันทาง เครื่องลายครามพันทาง

คุณทองแดง สุนัขทางเลี้ยง ตามประวัติก็เป็นสุนัขพันทาง ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เคยมีรับสั่งว่าเป็น 'พันธุ์ธาวซันด์ เวย์' (thousand way - พันทาง) บ้าง 'พันธุ์มิดโรด' (midroad - กลางถนน) บ้าง
ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 20 พ.ย. 22, 14:01

เคยเลี้ยงพันธุ์ธาวซันด์ เวย์มาหลายตัว  พบว่ามีนิสัยแตกต่างกันไปจนหาคำจำกัดความไม่ได้   บางตัวดุและรักเจ้าของ บางตัวชอบเที่ยว ไม่เคยอยู่บ้าน
แต่เหมือนกันคืออดทนต่อหนาวร้อนดีมาก   ไม่เจ็บป่วยง่าย นอนตากยุงไม่ต้องทำกรงบุมุ้งลวดให้ ก็ไม่เป็นอะไร    ปัจจุบันไม่ได้เลี้ยงแล้วค่ะ  เพราะตัวไม่ใหญ่  โจรไม่กลัว 
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 20 พ.ย. 22, 17:53

สุนัขผมโรงพยาบาลสัตว์เกษตรลงทะเบียนว่าเป็นพันธ์ุ crossbreed ครับ ตอนเด็กขนสั้นเหมือนลาบาดอร์ โตขึ้นมาขนหนาเหมือนโกเด้น ยิ่งโตขนยิ่งยาวจนจำเป็นต้องซอยออกบ้างโดยเฉพาะแถวก้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 20 พ.ย. 22, 17:58

ที่ผมว่า Tarsier พันธุ์ที่อยู่บนมือผมที่แสดงในรูป ว่ามีถิ่นอยู่ในนิวซีแลนด์นั้น ก็ได้มาจากยูทูป แต่ก็มีความกังขาอยู่มากว่าจะเป็นไปได้อย่างไร  เพราะออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นแผ่นดินที่ดูจะไม่มี Primates พวกนี้เลย  

ตัวมันเล็กน่ารักดีนะครับ ยิงฟันยิ้ม  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 20 พ.ย. 22, 19:38

สุนัขไทยที่เราเลี้ยงกันดูจะมีหลากหลายขื่อเรียกสายพันธุ์ของมัน  นอกจากที่ว่ามาแล้วก็ยังมีที่เรียกกันว่า หมาพื้นบ้าน หมาดอย หมาไล่เนื้อ หมาตลาด หมาวัด...   สุนัขตามชื่อเรียกเหล่านี้ ดูคล้ายกับจะเป็นการเรียกตามสถานที่อยู่ที่เราพบเห็นมันหรือสถานที่ๆได้ไปเอามันมาเลี้ยงดู   

คำว่า 'หมาไทยจากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสทั้งจากการเลี้ยงเอง และจากการได้คลุกคลีกับสุนัขของชาวบ้านในท้องถิ่นชนบทต่างๆ ผมเห็นว่ามันมีข้อพิจารณาอยู่ไม่น้อยในการเลือกใช้ชื่อเพื่อบ่งบอกว่าสุนัขนั้นๆเป็นพันธุ์ใดหรือประเภทใด  เป็นการประมวลจากรูปลักษณ์ อุปนิสัยใจคอ การกระทำในเชิงการรุกและในเชิงการรับ พื้นเพกำเนิด สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ...
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 20 พ.ย. 22, 19:45

หมาไทย ก็เลยดูมีความหมายที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องของสายพันธุ์ แต่มันก็มีเอกลักษณ์ที่มีลักษณะจำเพาะของความมีสายพันธุ์
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 21 พ.ย. 22, 19:00

เมื่อหลายสิบปีก่อนนั้น ในหมู่บ้านเล็กๆขนาด 10-20 หลังคาเรือนที่อยู่ห่างไกลจากเมือง โดยเฉพาะในแถบพื้นที่ๆเป็นป่าละเมาะและพื้นที่รอยต่อระหว่างพื้นที่ราบกับพื้นที่ที่เป็นป่าไม้ จะพบเห็นสุนัขหางด้วนค่อนข้างมากอยู่ตามบ้านของชาวบ้าน  เกือบทั้งหมดเป็นพวกจมูกยาว ขนเกรียน สีขนออกไปทางสีเทา-สีน้ำตาล หรือน้ำตาลแดง สีของตาออกไปทางสีน้ำตาลแดง พวกที่มีหางยาวก็จะเป็นแบบหางเรียวแหลม ส่วนพวกที่มีหางกุดก็จะมีทั้งกุดแบบสั้นๆ(ประมาณ 3+/- นิ้ว และแบบยาวประมาณเกือบคืบฝ่ามือ    จำได้ว่าไม่เคยเห็นแบบที่มีขนยาวและที่มีสีดำ พวกสีด่างก็ไม่ค่อยจะมี หากจะด่างก็จะมีวงด่างเป็นปื้นสีน้ำตาลแดง   

ลักษณะที่กล่าวถึงนี้ ไม่รู้จะพอจัดให้เป็นลักษณะของสายพันธุ์สุนัขพื้นบ้านได้หรือไม่ ?  สุนัขพวกนี้นอกจากจะมีการผสมพันธุ์กันเองในหมู่ แล้วก็ยังก็มีการผสมข้ามหมู่กันด้วย เนื่องจากมีการแจกจ่ายกระจายกันไปเลี้ยงข้ามไปข้ามมาในระหว่างหมู่บ้านต่างๆ  การคัดสายพันธุ์กันก็มี ซึ่งเกิดขึ้นจากการเลือกเอาลูกสุนัขจากพ่อหรือแม่ที่มีอุปนิสัยสอดคล้องตามที่ต้องการเอาไปเลี้ยงและขยายพันธุ์ในพื้นที่ต่างถิ่นต่างหมู่บ้าน

สำหรับพวกหางด้วนหรือหางกุดนั้น สาเหตุมาจากเรื่องของความขี้เกียจและความไม่กระตือรือล้นของสุนัขตัวนั้นๆ  เหตุเกิดเมื่อชาวบ้านลงบันใดบ้านมาพร้อมอาวุธ(เครื่องมือทำมาหากิน) สุนัขเหล่านั้นจะต้องรู้ว่าถึงเวลาออกไปเที่ยวทุ่งเที่ยวป่าพร้อกับนายแล้ว ต้องกระตือรือล้น หากยังคงนอนคุดคู้อยู่และทำเป็นกิจวัตร ก็อาจถูกพิจารณาตัดหางด้วยการสับด้วยมีดอีโต้ ซึ่งจะยังผลให้มันเกิดความระแวง และจะต้อง active เมื่อถึงเวลาทำงาน   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง