เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 3447 รบกวนขออนุญาตอาจารย์คุณหญิงวินิตา ช่วยกรุณาแบ่งปันประสบการณ์ด้านการเขียนค่ะ
JibbyJ
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


 เมื่อ 26 ต.ค. 22, 19:45

สืบเนื่องจากตัวเองกำลังเขียนนิยายพีเรียดย้อนยุคเรื่องแรกในชีวิต เป็นงานที่ยากที่สุดตั้งแต่เคยทำมาก็ว่าได้ค่ะ
เพราะต้องหาข้อมูลประกอบเพื่อใช้อ้างอิงในการเขียนมากมายมหาศาล

ไหนจะต้องระวังเรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาตร์ และสิ่งที่ยากที่สุดคือเรื่องภาษา
เอาง่ายๆ แค่คำว่า อิฉัน ดิฉัน กระไร อะไร... แค่นี้ก็มึนตึ๊บแล้วค่ะ แหะๆ
เพราะไม่รู้ว่าภาษาในยุคสมัย ร.6 นั้นเค้าใช้คำไหนกันแน่

เลยอยากจะรบกวนขอความกรุณาอาจารย์ช่วยชี้แนะเป็นแนวทาง บอกเล่าประสบการณ์ในการทำงานเขียนนวนิยายให้ฟังค่ะ

ขออนุญาตเตรียมสมุดจด จองที่นั่งหน้าชั้นเรียนคนแรกค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ต.ค. 22, 20:03

ต่อจากกระทู้นี้ค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7327.msg182569;topicseen#msg182569

คุณ Anna  หายไปไหนคะ
รายนี้ไม่เคยขาดเรียนค่ะ

ก่อนอื่น  อยากถามคุณ JibbyJ ว่าทำไมถึงอยากเขียนนิยายย้อนยุคไปสมัยรัชกาลที่ 6 คะ

นักเขียนนิยายมือใหม่หลายคน เริ่มงานชิ้นแรกด้วยการเขียนถึงสิ่งที่ตัวเองรู้จักดี   เช่นเอาประวัติตัวเองมาดัดแปลง  เอาเรื่องประทับใจของคนใกล้ตัวเช่นชีวิตพ่อแม่  เพื่อนรัก  รักแรก  หรือเรื่องของท้องถิ่นที่ตัวเองอยู่ตอนเด็กๆ  ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ข้อได้เปรียบคืองานเขาจะลื่น  เพราะไม่ว่าจะเขียนถึงอะไร หลับตาก็เห็นภาพชัดเจน  มือก็จะคล่องตามไปด้วย  เขียนบทแล้วบทเล่าได้ลื่นไหล จนจบ
ดิฉันไม่ได้หมายความว่าคุณจะเขียนนิยายย้อนยุคไม่ได้นะคะ  เพราะนักเขียนทุกคนในปัจจุบันก็เกิดไม่ทันรัชกาลที่ 6 กันทั้งนั้น  คุณเขียนได้ค่ะ   แต่ประเด็นคือมันคือสาเหตุของความยากค่ะ
เพราะไม่ว่าจะลงมือเขียนสักประโยคสองประโยค    คำถามก็จะเกิดขึ้นแล้วว่า...เอ! นางเอกจะพูดดิฉัน หรืออิฉัน กับพระเอก      งานฉลองเลื่อนยศเขาทำกันที่ไหน  ที่บ้านหรือมีโรงแรมให้จัดงานอย่างเดี่ยวนี้ไหม    
พอติดสิ่งเล็กๆน้อยๆพวกนี้  สมองก็เหมือนถูกกระตุกให้หยุดเป็นระยะๆ   ไม่ลื่นไหล   คุณก็จะเหนื่อยในการรวบรวมข้อมูล และรวบรวมพลังมาเขียนไปทีละบท
แต่ถ้าคุณฝ่าพันไปได้ ไม่ย่อท้อต่อความเหนื่อยยากเหล่านี้   คุณก็จะเขียนจบ   แล้วภูมิใจในตัวเองได้มากค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 ต.ค. 22, 20:13

   ยุคของดิฉันได้เปรียบคนยุคนี้อยู่อย่างหนึ่ง คือสมัยนั้นการเรียนและการสอบในโรงเรียนไม่มีแบบปรนัย มีแต่อัตนัย   เด็กประถม 3  อย่างดิฉันเขียนต้องเรียงความเป็นเรื่องเป็นราว 1 หน้ากระดาษสมุดเรียน ส่งครู   เราต้องเขียนการบ้าน เขียนข้อสอบยาวๆ  ตั้งแต่ประถม  ก็เลยรู้จักการเขียนประโยค เขียนทั้งย่อหน้า ทั้งเรื่อง   ไม่ได้ทำแต่ติ๊กคำตอบ
   เพราะฉะนั้น  พวกเราพอขึ้น ม. 1  (สมัยนี้คือประถม 5)  เลยแต่งเรื่องอ่านกันได้  พี่ๆม. 2 ม. 3 เขาแต่งเก่งกว่าพวกเราอีก   เพื่อนหลายคนก็แต่งนิยายเรื่องสั้นได้ตั้งแต่อายุ 10 กว่าขวบ   เสียแต่ว่าพอโตขึ้นไปเอาดีทางอื่นกันหมด ก็เลยเหลือดิฉันอยู่คนเดียว
   ถ้าคุณจะเจริญรอยตามคนรุ่นก่อน อย่างแรกคืออ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า มันจะนำไปสู่การเขียนทุกอย่างที่ขวางหน้าเช่นกัน    ยุคนี้ยิ่งสบายมาก มีกูเกิ้ลให้ค้นได้  ไม่ต้องขึ้นรถเมล์ไปหอสมุดอย่างเมื่อก่อน แถมยังต้องไต่บันไดขึ้นไปชั้นสองชั้นสามอีก   กว่าจะเจอหนังสือที่ต้องการ   บางทีคนอื่นยืมไปแล้วเราก็อด 
   ถ้าทำได้ ขอให้คุณค้นกูเกิ้ลให้มากขึ้น  คำตอบที่คุณหาได้จะฝึกทักษะคุณในการหาคำตอบค่ะ  แล้วจะทำให้จำแม่นขึ้นด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
JibbyJ
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 ต.ค. 22, 20:16

สาเหตุอาจฟังดูค่อนข้างประหลาดอยู่นิดหนึ่งค่ะอาจารย์ (แอบเขินค่ะ...แหะๆ)

คือเกิดจากการเห็นภาพวาดภาพหนึ่งแล้วหลงรักมาก จนได้แรงบันดาลใจอยากนำมาเขียนเป็นนิยายเลยค่ะ
ภาพนั้นเป็นผู้หญิงห่มผ้าแถบ มีดอกกุหลาบอยู่ด้านหลัง อยู่ๆ ก็เกิดความคิดว่าอยากจะเขียนย้อนยุคสักเรื่องหนึ่ง
โดยตัวเอกมีชื่อเป็นดอกกุหลาบค่ะ

ทีนี้เคยมีพล็อตที่วางเอาไว้นานแล้ว... ว่านางเอกเป็นช่างซ่อมหนังสือที่ย้อนเวลาไปในอดีตค่ะ
ตอนแรกกะจะให้ย้อนไปในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่พอมาศึกษาข้อมูลแล้วพบว่า ยุคทองของวรรณคดีไทยคือสมัยรัชกาลที่ 6
จึงเริ่มหาข้อมูลประกอบการเขียนมานับแต่นั้นค่ะ

เห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งสุดหัวใจเลยค่ะว่า การเขียนเรื่องอะไรที่เราไม่ถนัดและไกลตัวนั้นมันเหน็ดเหนื่อยมากจริงๆ ค่ะ
ตอนนี้เริ่มหาข้อมูลและเขียนไปได้ครึ่งทางแล้วค่ะ แต่ยังติดขัดอยู่บ้าง โดยเฉพาะเวลาที่ต้องเล่าเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุคสมัยนั้น
นอกจากซื้อหนังสือที่เกี่ยวข้องในสมัยรัชกาลที่ 6 มาอ่าน และค้นหาข้อมูลประวัติศาสตร์ในอินเทอร์เน็ตแล้ว
ก็ได้อาศัยครูพักลักจำการใช้ภาษาจากนิยายเรื่องอื่นๆ มาบ้าง แต่ก็ยังรู้สึกว่าบรรยายบทสนทนาไม่ลื่นไหลอยู่ดีค่ะ

ความรู้สึก ณ ตอนนี้ คือแบบ bittersweet ขมปนหวานเวลาที่เขียนทุกทีเลยค่ะอาจารย์ แหะๆ อายจัง
บันทึกการเข้า
JibbyJ
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 ต.ค. 22, 20:33

   ยุคของดิฉันได้เปรียบคนยุคนี้อยู่อย่างหนึ่ง คือสมัยนั้นการเรียนและการสอบในโรงเรียนไม่มีแบบปรนัย มีแต่อัตนัย   เด็กประถม 3  อย่างดิฉันเขียนต้องเรียงความเป็นเรื่องเป็นราว 1 หน้ากระดาษสมุดเรียน ส่งครู   เราต้องเขียนการบ้าน เขียนข้อสอบยาวๆ  ตั้งแต่ประถม  ก็เลยรู้จักการเขียนประโยค เขียนทั้งย่อหน้า ทั้งเรื่อง   ไม่ได้ทำแต่ติ๊กคำตอบ
   เพราะฉะนั้น  พวกเราพอขึ้น ม. 1  (สมัยนี้คือประถม 5)  เลยแต่งเรื่องอ่านกันได้  พี่ๆม. 2 ม. 3 เขาแต่งเก่งกว่าพวกเราอีก   เพื่อนหลายคนก็แต่งนิยายเรื่องสั้นได้ตั้งแต่อายุ 10 กว่าขวบ   เสียแต่ว่าพอโตขึ้นไปเอาดีทางอื่นกันหมด ก็เลยเหลือดิฉันอยู่คนเดียว
   ถ้าคุณจะเจริญรอยตามคนรุ่นก่อน อย่างแรกคืออ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า มันจะนำไปสู่การเขียนทุกอย่างที่ขวางหน้าเช่นกัน    ยุคนี้ยิ่งสบายมาก มีกูเกิ้ลให้ค้นได้  ไม่ต้องขึ้นรถเมล์ไปหอสมุดอย่างเมื่อก่อน แถมยังต้องไต่บันไดขึ้นไปชั้นสองชั้นสามอีก   กว่าจะเจอหนังสือที่ต้องการ   บางทีคนอื่นยืมไปแล้วเราก็อด 
   ถ้าทำได้ ขอให้คุณค้นกูเกิ้ลให้มากขึ้น  คำตอบที่คุณหาได้จะฝึกทักษะคุณในการหาคำตอบค่ะ  แล้วจะทำให้จำแม่นขึ้นด้วยค่ะ

ต้องขอบคุณที่ยุคนี้มีกูเกิ้ลและอินเทอร์เน็ตให้ค้นข้อมูลจริงๆ ค่ะอาจารย์ ตอนนี้เซฟไฟล์เอาไปใช้ประกอบการเขียนจนเต็มโน้ตบุ๊คแล้วค่ะ แหะๆ

แต่พอได้ข้อมูลมากๆ สำหรับตัวหนูเองแล้วประสบปัญหาอย่างหนึ่ง คือการ "ย่อย" ข้อมูลเหล่านั้นนำเอามาใช้ค่ะ เพราะบางทีก็เสียดายข้อมูลที่อุตส่าห์รวบรวมมา
เลยพยายามจะยัดใส่ลงไปในนิยาย แต่กลับทำให้ดูเยอะเกินไปจนเหมือนสารคดีไปแทน ต้องแก้รื้อใหม่หลายรอบเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 ต.ค. 22, 20:39

    ถ้าคุณมีความมานะจะเขียนเรื่องย้อนยุคให้จบ   ก็สนับสนุนให้ฝ่าฟันไปได้จนจบค่ะ
    มีข้อหนึ่งที่พอจะช่วยได้ คืออย่าให้เรื่องยาวนัก    มันจะบรรเทาความเหนื่อยลงไปถ้าคุณเขียนเป็นนวนิยายขนาดสั้น (novellette) ไม่ใช่ขนาดยาวอย่างของนักเขียนอื่นๆรวมดิฉันด้วย
    นวนิยายขนาดสั้นจะช่วยลดทอนรายละเอียด ฉาก ตัวละคร  เหตุการณ์ ลงไปได้มาก   แทนที่จะมีตัวละคร 20 ตัวก็เหลือ 5 ตัว   ฉาก 12 ฉากลดเหลือ 4  อะไรทำนองนี้
    ข้อสองคือตอนไปสอนหรือไปอบรมนักเขียนหน้าใหม่  จะย้ำว่า ให้หลีกเลี่ยง cliche  (อ่านว่าคลิเช่)  คำนี้หมายถึงความซ้ำซาก  อะไรที่เขารู้ๆกันแล้ว  ชินกันแล้ว  นักเขียนใหม่ควรแหวกออกไป   ไม่งั้นคนอ่านจะรู้สึกว่า เฮ้อ พล็อตนี้อีกแล้ว  เช่นพล็อตตบจูบ  เสน่หาซาตาน  พระเอกนางเอกแต่งงานกันหลอกๆ ฯลฯ
    ดิฉันดูหนังจีนอยู่ตอนนี้ เพราะอยากรู้ว่ากระแสนิยมของเขาเป็นยังไง   พบว่าใน10 เรื่อง   มีจอมยุทธเสีย 4   เรื่อง  อีก 3  เป็นนางเอกสาวยุคปัจจุบันกลับไปในอดีตสมัยราชวงศ์  เจอพระเอกฮ่องเต้หรือไม่ก็ท่านอ๋อง   กับอีก 3  เป็นหนุ่มสาวปัจจุบัน  
    ถ้าคุณจะให้นางเอกกลับไปในอดีต  ก็ขอให้คิดว่าทำยังไงจะแหวกไปจากทวิภพ  และบุพเพสันนิวาสได้สำเร็จ     ไม่งั้นคนอ่านเขาก็จะอ่านและจำได้แต่คุณทมยันตี และรอมแพง   นะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 ต.ค. 22, 20:40

แต่พอได้ข้อมูลมากๆ สำหรับตัวหนูเองแล้วประสบปัญหาอย่างหนึ่ง คือการ "ย่อย" ข้อมูลเหล่านั้นนำเอามาใช้ค่ะ เพราะบางทีก็เสียดายข้อมูลที่อุตส่าห์รวบรวมมา
เลยพยายามจะยัดใส่ลงไปในนิยาย แต่กลับทำให้ดูเยอะเกินไปจนเหมือนสารคดีไปแทน ต้องแก้รื้อใหม่หลายรอบเลยค่ะ

ตอบสั้นๆ อย่าไปเสียดายค่ะ 
คนอ่านเขาอยากสนุกกับนิยาย  ไม่ได้อยากอ่านข้อมูล
บันทึกการเข้า
JibbyJ
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 ต.ค. 22, 20:58

   ถ้าคุณมีความมานะจะเขียนเรื่องย้อนยุคให้จบ   ก็สนับสนุนให้ฝ่าฟันไปได้จนจบค่ะ
    มีข้อหนึ่งที่พอจะช่วยได้ คืออย่าให้เรื่องยาวนัก    มันจะบรรเทาความเหนื่อยลงไปถ้าคุณเขียนเป็นนวนิยายขนาดสั้น (novellette) ไม่ใช่ขนาดยาวอย่างของนักเขียนอื่นๆรวมดิฉันด้วย
    นวนิยายขนาดสั้นจะช่วยลดทอนรายละเอียด ฉาก ตัวละคร  เหตุการณ์ ลงไปได้มาก   แทนที่จะมีตัวละคร 20 ตัวก็เหลือ 5 ตัว   ฉาก 12 ฉากลดเหลือ 4  อะไรทำนองนี้
    ข้อสองคือตอนไปสอนหรือไปอบรมนักเขียนหน้าใหม่  จะย้ำว่า ให้หลีกเลี่ยง cliche  (อ่านว่าคลิเช่)  คำนี้หมายถึงความซ้ำซาก  อะไรที่เขารู้ๆกันแล้ว  ชินกันแล้ว  นักเขียนใหม่ควรแหวกออกไป   ไม่งั้นคนอ่านจะรู้สึกว่า เฮ้อ พล็อตนี้อีกแล้ว  เช่นพล็อตตบจูบ  เสน่หาซาตาน  พระเอกนางเอกแต่งงานกันหลอกๆ ฯลฯ
    ดิฉันดูหนังจีนอยู่ตอนนี้ เพราะอยากรู้ว่ากระแสนิยมของเขาเป็นยังไง   พบว่าใน10 เรื่อง   มีจอมยุทธเสีย 4   เรื่อง  อีก 3  เป็นนางเอกสาวยุคปัจจุบันกลับไปในอดีตสมัยราชวงศ์  เจอพระเอกฮ่องเต้หรือไม่ก็ท่านอ๋อง   กับอีก 3  เป็นหนุ่มสาวปัจจุบัน  
    ถ้าคุณจะให้นางเอกกลับไปในอดีต  ก็ขอให้คิดว่าทำยังไงจะแหวกไปจากทวิภพ  และบุพเพสันนิวาสได้สำเร็จ     ไม่งั้นคนอ่านเขาก็จะอ่านและจำได้แต่คุณทมยันตี และรอมแพง   นะคะ


ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ เรื่องนี้วางพล็อตไว้นานมากแล้วค่ะ ก่อนที่บุพเพสันนิสวาสจะเป็นกระแสค่ะ
พอนิยายและละครดัง มีนิยายแนวนี้ออกมาเพียบเลยค่ะ แอบคิดเหมือนกันว่าถ้าเราเขียนไปมันก็จะไปซ้ำกันกับคนอื่นเขา
แต่ในเมื่อลงมือเขียนไปแล้ว ก็ต้องเข็นให้เสร็จกันต่อไปค่ะ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำเรื่องจำนวนความยาวด้วยนะคะ คิดว่าจะพยายามให้สั้นลงกว่าเดิมค่ะ แต่ดันวางโครงเรื่องไว้ใหญ่มากนี่ล่ะค่ะ แหะๆ
ถ้าหากว่าเข็นจนจบเรื่องจริงๆ แล้ว จะขออนุญาตมาให้อาจารย์ช่วยชี้แนะเป็นแนวทางต่อไปนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 ต.ค. 22, 21:01

     เขียนเสร็จแล้ว  ไม่ต้องส่งให้ดิฉันอ่านค่ะ   เดินหน้าต่อ ลงเป็น e book  หรือถ้าจะรวมเล่มก็ให้บก.สำนักพิมพ์อ่านไปเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
JibbyJ
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 ต.ค. 22, 21:10

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ อาจใช้คำผิดไป
จริงๆ คือตั้งใจว่าจะส่งหนังสือให้อาจารย์ค่ะ (หากได้ตีพิมพ์ค่ะ)
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 27 ต.ค. 22, 07:41

ขอแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวครับ

ผมเป็นคนที่สนใจประวัติศาสตร์ถิ่นกำเนิดและประวัติตระกูลซึ่งเฟื่องฟูในสมัยล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕
ประทับใจกับเรื่องทวิภพของทมยันตี ต่อมามีโอกาสได้ชมและอ่านเรื่องบุพเพสันนิวาสของรอมแพง
ผมเลยฟุ้ง นั่งเขียนสิ่งที่ไม่แน่ใจว่าจะเรียกว่านิยายได้หรือเปล่า
เพราะผมเขียนเรื่องย้อนยุคทำนองเดียวกับทวิภพและบุพเพสันนิวาสคือคนในยุคอนาคตหลงกลับเข้าไปในอดีต
โดยเนื้อหาผมนำเรื่องราวจากเอกสารเก่าทั้งภาษาไทยและอังกฤษที่มีการพูดถึงถิ่นกำเนิดผม ผนวกเข้ากับประวัติตระกูลทั้งจากที่มีบันทึกและจาก oral history
ผสมปนเปเข้ากับความรู้ทางการแพทย์ของผม
แต่ผมเขียนเป็นเหมือนเรื่องเล่า ไม่เน้นคำพูดครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 27 ต.ค. 22, 08:12

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ อาจใช้คำผิดไป
จริงๆ คือตั้งใจว่าจะส่งหนังสือให้อาจารย์ค่ะ (หากได้ตีพิมพ์ค่ะ)
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 ต.ค. 22, 08:14

ขอแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวครับ

ผมเป็นคนที่สนใจประวัติศาสตร์ถิ่นกำเนิดและประวัติตระกูลซึ่งเฟื่องฟูในสมัยล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕
ประทับใจกับเรื่องทวิภพของทมยันตี ต่อมามีโอกาสได้ชมและอ่านเรื่องบุพเพสันนิวาสของรอมแพง
ผมเลยฟุ้ง นั่งเขียนสิ่งที่ไม่แน่ใจว่าจะเรียกว่านิยายได้หรือเปล่า
เพราะผมเขียนเรื่องย้อนยุคทำนองเดียวกับทวิภพและบุพเพสันนิวาสคือคนในยุคอนาคตหลงกลับเข้าไปในอดีต
โดยเนื้อหาผมนำเรื่องราวจากเอกสารเก่าทั้งภาษาไทยและอังกฤษที่มีการพูดถึงถิ่นกำเนิดผม ผนวกเข้ากับประวัติตระกูลทั้งจากที่มีบันทึกและจาก oral history
ผสมปนเปเข้ากับความรู้ทางการแพทย์ของผม
แต่ผมเขียนเป็นเหมือนเรื่องเล่า ไม่เน้นคำพูดครับ

จะรออ่านนะคะ อาจารย์หมอ CVT
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 27 ต.ค. 22, 08:34

   ประตูบานต่อไปของความสำเร็จ คือนักเขียนต้องค้นหาตัวเองให้พบ
   นักเขียนแต่ละคนมีทักษะ หรือความถนัดประจำตัวไม่เหมือนกัน   มันไม่มีแบบพิมพ์เดียวกันสำหรับนักเขียน
   ถ้าคุณจะเขียนนิยายรัก แล้วคิดว่าต้องเดินไปตามลำดับ 1 , 2, 3,4  เหมือนเห็นจากนิยายดังๆที่อ่านมาก่อน     หากทำตามนั้น คุณจะเป็นได้เพียงนักก๊อปปี้ความสำเร็จของคนอื่น เหมือนเอาเสื้อคนอื่นมาใส่   น้อยนักจะเหมาะสมกับตัวเอง
    ทักษะที่ว่าเกิดจากอะไร   มันเกิดจากนิสัยประจำตัว   ประสบการณ์ ความสนใจ  ความชอบสิ่งต่างๆ เป็นต้น  ทั้งหมดนี้เป็นพิมพ์เฉพาะตัว 
    คนที่มีทักษะมากก็จะค้นพบตัวเองเร็ว    เช่นบางคนค้นพบว่าตัวเองเป็นคนเฮฮาสนุกสนาน เข้าวงคุยทีไรเพื่อนหัวเราะกันงอหาย  ชอบอกชอบใจคารมคมคาย หรือชอบที่หาเรื่องชำมาเล่าได้   ถ้าเขารู้จักถ่ายทอดคุณสมบัตินี้ลงในเรื่องที่เขียน  เขาก็เจอทักษะของตัวเองแล้วว่า  จูงใจคนอ่านได้ด้วยมุมมองขำๆ และมุกตลกที่นำมาใช้    เรื่องของเขาก็จะไม่ซ้ำกับนักเขียนอื่น กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
   แต่ถ้าเขาไม่รู้ทักษะของตัวเอง     อยากจะเป็นนักเขียนเรื่องชีวิตหนัก อาจจะถือว่าเท่ดี หรือเข้าใจว่ามีสิทธิ์คว้ารางวัลได้มากกว่างานเขียนประเภทอื่น   ก็ตั้งหน้าตั้งตาเค้นตัวเองให้เขียนเรื่องหนักสมอง ขมขื่น เคียดแค้น ทั้งๆตัวเองในชีวิตไม่เคยทุกข์ยากลำบากอะไรขนาดนั้น     ในเมื่อมันขัดกับตัวตนและทักษะที่มีคนละแบบ   งานเขาก็จะฝืดฝืน  คนอ่านก็จะสัมผัสได้ว่ามันไม่ลำบากจริง   หรือเป็นได้ว่าเขาเขียนไปสักพักก็หมดไฟ ไม่อยากเขียนอีก
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 ต.ค. 22, 08:41


จะรออ่านนะคะ อาจารย์หมอ CVT

ส่งลิงค์มาให้อาจารย์ลองอ่านครับ
บล๊อกไม่อนุญาตให้ลงแบบยาว ๆ ผมเลยทำเป็นตอน อ่านจบแต่ละตอนอาจารย์ต้องคลิ๊กลิงค์ตอนต่อไปนะครับ
ขอบคุณมากครับ

https://panthepblog.wordpress.com/2018/04/12/ล่ามข้ามภพ-ตอนที่-๑/
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง