เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2568 สอบถาม บทประพันธ์ รัชกาล ที่ 5
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


 เมื่อ 11 ก.ย. 22, 09:29

จากที่บอกว่า เป็นพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 5

เห็นหน้ากันเมื่อเช้า         สายตาย
สายสุขอยู่สบาย             บ่ายม้วย
บ่ายยังรื่นเริงกาย           เย็นดับ ชีพนา
เย็นอยู่หยอกลูกด้วย        ค่ำม้วยดับสูญ

วรรคที่ สอง คำที่สองและสาม ควรสลับกันมั้ยครับ
จะได้ถูกต้องตามบังคับ เอก โท
น่าจะทรงทราบถึงกฎนี้ หรือ คัดลอกกันมาผิดๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.ย. 22, 10:26

พระราชนิพนธ์ ถูกต้องแล้วค่ะ
คำตาย ใช้แทนคำที่มีวรรณยุกต์เอกได้ค่ะ  ในการแต่งโคลงสี่สุภาพและโคลงอื่นๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.ย. 22, 10:28

ดูตัวอย่างจาก นิราศนรินทร์ นะคะ
ใช้คำตาย และสระเสียงสั้น แทนคำที่ต้องใช้วรรณยุกต์เอก ค่ะ

 อยุธยายศล่มแล้ว              ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-      เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์      ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังบายเบิกฟ้า              ฝึกฟื้นใจเมือง
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ก.ย. 22, 12:14

ขอบคุณครับ
เพียงแต่จะเสนอว่า ถ้าเคร่ง ข้อบังคับจริง
การใช้วรรณยุกต์ ตรงตามตำแหน่ง จะถือว่ามีความชำนาญ
ถ้าสลับเป็น
สายอยู่สุขสบาย ก็จะถูกต้องมากขึ้น
หรือ ท่านอาจจะเล่นคำ สัมผัสอักษรจึงเป็น
สายสุขอยู่สบาย แทน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ก.ย. 22, 13:33

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระปรีชาชาญด้านแต่งโคลงสี่สุภาพ  ดูจาก "นิทราชาคริต" ได้เป็นตัวอย่าง
ท่านน่าจะทรงพิจารณาแล้วว่าควรใช้คำไหนกับตรงไหน อย่างไร   จึงจะเหมาะสม ค่ะ   
ข้อนี้เป็นสิทธิส่วนตัวของกวี   ต่อให้เป็นกวีท่านอื่นที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ ดิฉันก็ไม่ไปก้าวล่วงวิธีการใช้คำของท่าน 


ส่วน เรื่องที่คุณเห็นว่า "การใช้วรรณยุกต์ ตรงตามตำแหน่ง จะถือว่ามีความชำนาญ" นั้นก็ไม่จริง    กวีที่ชำนาญย่อมพลิกแพลงหาศัพท์มาใช้หลากหลาย  โดยไม่ผิดข้อบังคับ  และไม่จำเป็นต้องระวังตัวทุกกระดิกอยู่กับไม้เอกไม้โท    จนกระทั่งขาดความลื่นไหล 
ถ้าระวังแบบที่คุณว่ามา  ดิฉันกลับเห็นว่าเป็นความอ่อนหัดของคนที่แต่งโคลงฉันท์กาพย์กลอน ที่ "เกร็ง" กับการแต่งมากกว่าค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ก.ย. 22, 11:35

วรรคแรกของบาทที่ ๒ ของโคลงบทนี้ ที่ปรากฎในเว็บไซต์ต่าง ๆ บ้างก็ว่า "สายสุขอยู่สบาย" บ้างก็ว่า "สายอยู่สุขสบาย"

สืบค้นหาที่มาของโคลงบทนี้ ในหนังสือ ประชุมโคลงสุภาษิตพระราชนิพนธิ์ในรัชกาลที่ ๕ ไม่พบ

บางแห่งว่าโคลงบทนี้มาจากโคลงโลกนิติ  ค้นหาในหนังสือ ประชุมโคลงโลกนิติ ก็ไม่พบเช่นกัน

มีที่มาจากไหนกันแน่หนอ ⁉️
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง