เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 14
  พิมพ์  
อ่าน: 7358 ถามคุณตั้งเรื่องหิน
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 25 ส.ค. 22, 20:00

Quartz มีส่วนประกอบทางเคมีง่ายๆ - Silicon dioxide (SiO2)   เกิดตามธรรมชาติได้ทั้งในรูปแบบของการเป็นแร่ประกอบหิน (ส่วนประกอบของเนื้อหิน)  และในรูปของความเป็นตัวตนเอง ซึ่งในรูปของการแยกตัวเด่นออกมาเป็นตัวเองนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์นำไปใช้ประโชน์มากที่สุด เช่น เอาไปทำแก้ว (ทรายแก้ว)  เอาไปทำเป็นเครื่องประดับ (เครื่องเพชรพลอย)  เอาไปใช้ในการก่อสร้าง (ทราย)...

สารประกอบ SiO2 นี้ สามารถสร้างขึ้นมาได้ด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม โดยการเอาวัตถุดิบ(ซึ่งก็คือตัวมันเอง)ที่พบอยู่ในธรรมชาตินั้นมาสลายแล้วหลอมรวมให้เป็นอีกตัวตนหนึ่ง    ก็หมายความว่า Silicon dioxide หรือ Quartz นั้น เราสามารถสร้างมันขึ้นมาให้มันมีความบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์ หรือปรุงแต่งให้มันเป็นเช่นใดก็ได้
 
ซึ่งก็พอจะหมายความต่อไปได้ว่า สามารถที่จะสร้างรัตนชาติ(เทียม)ที่ดูเผินๆแล้วไม่ต่างไปจากรัตนชาติที่เป็นของที่เกิดตามธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนประกอบและคุณสมบัติเหมือนกัน แต่ไม่ครบ          
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 25 ส.ค. 22, 20:18

Tumbling stone  ใช่ครับ

ก้อนหินเหล่านั้นอาจจะดูไม่มีราคา แต่หากซื้อเอามาทำเป็นเครื่องประดับก็อาจจะมีราคาที่สูงได้   เช่น เลือกเอาก้อนสีแดง(ในรูป)ที่มีรูปทรงดีๆ เอาเม็ดที่ไม่มีตำหนิ เอามาล้อมด้วยเพชรเทียม ก็อาจทำให้งานชิ้นนี้มีราคาสูงมากขึ้นได้มากๆ    เพราะว่าราคาของเครื่องประดับจะสูงหรือต่ำ หรือจะถูกหรือแพง ส่วนหนึ่งมันขึ้นอยู่กับความถูกใจในชิ้นงาน ความพอใจของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และอาจรวมไปถึงข้อพิจารณาในเชิง Sentimental value ของทั้งสองฝ่าย (จากการโน้มนำก็ได้ หรือจากเรื่องอื่นใดก็ได้)   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 26 ส.ค. 22, 09:52

หินที่นำมาเป็นเครื่องประดับ เพิ่มราคาอีกหลายเท่า


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 26 ส.ค. 22, 18:39

Quartz มีความแข็งพอๆกันกับกระจก มีระดับความแข็งมากพอที่จะทนต่อการขีดข่วนจากสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆในชีวิตประจำวัน  สามารถพบตัวมันในลักษณะที่เป็นมวลใหญ่ หรือเป็นก้อนกลมที่ผ่าออกมาแล้วเห็นเนื้อเป็นวงสี หรือเป็นแท่งผลึก

มันมีสีสวยงามจากธาตุอื่นที่อยู่ในส่วนผสมของมัน (มี impurities) เช่น Amethyst สีม่วง  Citrine สีเหล้าวิสกี้   Rose quartz สีชมพู   Agate _โมรา   หรือมีของอื่นๆที่แยกออกมาเห็นได้ชัดเจนอยู่ในตัวของมัน (มี inclusions) เช่น มีเส้นเข็มสีน้ำตาลจากแร่ Rutile_(Titanium oxide_TiO2)  มีลายตะไคร่น้ำ จากเหล็กและแมงกานีส...

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 26 ส.ค. 22, 18:52

แบบนี้ใช่ไหมคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 26 ส.ค. 22, 18:54

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 26 ส.ค. 22, 19:33

ของตามกล่าวมาเหล่านั้น ก็มีทั้งของที่เกิดในธรรมชาติเอง  ของที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีไปทำกับของที่เป็นธรรมชาติเหล่านั้น   ของที่สังเคราห์ขึ้นมา  และของที่ใช้เทคโนโลยีไปทำกับของที่ได้สังเคราะห์ขึ้นมาอีกต่อหนึ่ง   ซึ่งของเหล่านั้นก็ล้วนแต่มีเนื้อและโครงสร้างภายในเหมือนกันกับของที่เกิดตามธรรมชาติ    อีกทั้งก็ยังมีของที่มีเนื้อในที่ต่างไปจากของในธรรมชาติโดยสิ้นเชิง มีแต่เพียงการแสดงออกมาในความเหมือนกันในรูปลักษณ์เท่านั้น  

น่าสนใจดีนะครับ    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 26 ส.ค. 22, 20:48

จากรูป  ดูไม่ออกจริงๆค่ะ ว่าอะไรหินแท้ อะไรทำขึ้นมา


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 26 ส.ค. 22, 20:55

Quartz มีความแข็งพอๆกันกับกระจก มีระดับความแข็งมากพอที่จะทนต่อการขีดข่วนจากสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆในชีวิตประจำวัน 


นาฬิกาควอทซ์ทำจาก Quartz นี่หรือเปล่าคะ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 27 ส.ค. 22, 19:23

นาฬิกาควอทซ์ทำจาก Quartz นี่หรือเปล่าคะ 

ใช่ครับ  เป็นผลึกควอทซ์สังเคราะห์ (เพาะในห้องปฏิบัติการให้ผลึกโตขึ้นมา)  ผลึกควอทซ์มีคุณสมบัติเกี่ยวกับการสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่คงที่ค่าความถี่หนึ่ง  คุณสมบัตินี้เรียกว่า Piezoelectric  ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นได้กับสารประกอบทั้งที่เป็นสารประกอบทางอินทรีย์เคมี (ว้ตถุในธรรมชาติ) และทางอินทรีย์เคมี (สิ่งมีชีวิต)  อธิบายอย่างง่ายๆได้ว่า เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้น(ในตัว)สารประกอบสืบเนื่องมาจากการถูกกดดัน เช่น จากแรงกด จากความร้อน.... 

การใช้ประโยชน์คุณสมบัติทาง Piezoelectric สำหรับสิ่งที่เป็นสารประกอบทางอนินทรย์เคมี ก็เช่น การใช้หิน Flint สองก้อน เอามาต่อยกันจนเกิดเป็นประกายไฟ ใช้จุดกองไฟ   Flint ก็คือหินที่มีส่วนประกอบเกือบทั้งมวลเป็นควอทซ์    ในกรณีของนาฬิกาควอทซ์นั้นผมพอจะมีความรู้ลึกเพียงว่า  ผลึกควอทซ์นั้นจะปล่อยคลื่นความถื่แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic frequency) ที่คงที่ออกมา แล้วใช้กระบวนการทาง Electronics ไปกำหนดการทำงานทาง Mechanics เพื่อไปหมุนเข็มนาฬิกา

คุณสมบัติทาง Piezoelectric ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต ก็เช่น คลื่นไฟฟ้าที่พบในการเต้นของหัวใจ  สมอง  เส้นประสาท   ที่มีอยู่ในสัตว์ตามธรรมชาติก็ เช่น ปลาไหลไฟฟ้า หิ่งห้อย

ก็ต้องถามคุณหมอว่า ถูกต้องใหมครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 27 ส.ค. 22, 20:03

กระจกหน้าป้ดนาฬิกาก็เป็นอีกเรื่องที่ใช้คำว่า Quartz, Quartz glass หรือ Quartz crystal...  จะเป็นของจริงจากธรรมชาติ หรือเป็นเพียงกระจกที่มีคุณสมบัติหนึ่ีง

พรุ่งนี้ค่อยว่ากันครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 28 ส.ค. 22, 18:13

หน้าปัดนาฬิกาที่ว่าเป็นควอทซ์นั้น  หากเป็นนาฬิกาเก่าแก่ที่มีราคาสูงแต่ก่อนนั้น ก็น่าเชื่อได้ว่ามีการใช้ผลึกแร่ควอทซ์ที่มีความใสมากๆที่หาได้ในธรรมชาติ  ส่วนพวกรุ่นหลังๆมานั้น ผมเชื่อว่าเป็นการใช้แก้วที่ทำขึ้นในลักษณะที่คุณสมบัติของความแข็งและความใสเป็นการเฉพาะ   

เรียกว่า แร่ Quartz   โดยชื่อก็บอกว่าเป็นของที่เกิดในธรรมชาติ   เมื่อเป็นการทำให้มันเกิดขึ้นมาด้วยการสังเคราะห์ โดยที่มีส่วนประกอบของเนื้อในเหมือนกับของในธรรมชาติ ก็คงจะต้องตัดคำว่าแร่ออกไป เหลือแต่คำว่า Quartz     แต่พอเอาทรายที่ประกอบไปด้วยเม็ดทรายที่เป็นแร่ Quartz เกือบ 100%  เอามาหลอมให้มันละลาย แล้วทำให้ของที่หลอมละลายนั้นเย็นตัวโดยเร็ว (Quenching)  ก็จะได้แก้ว (Glass) ที่มีรูปทรงตามภาชนะที่ใส่เพื่อให้มันเย็นตัวลง  ก็จะได้ผลผลิตที่สามารถจะเอาไปตัด เอาไปขัด เอาไปเจียรนัยให้เป็นรูปทรงอะไรก็ได้ตามต้องการ   ทั้งนี้ หากทำให้มันมีความบริสุทธิ์มากที่สุด มันก็จะเป็นแก้วใสของสารประกอบ Silicon dioxide ที่เหมือนกันกับแร่ Quartz ที่เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งชื่อเรียกว่า Quartz glass หรือ Silica glass ก็ดูน่าจะสื่อความหมายที่ถูกต้อง     

ในกระบวนการทำก็ยังสามารถใส่ส่วนผสมอื่นๆเพื่อให้มันเกิดมีสีหรือคุณสมบัติอื่นๆ หรือใช้วิธีการ Quenching ทำให้มันมีความแข็ง มีความเนียว ...  ทำให้มีชื่อเรียกตามวัตถุประสงค์ของการผลิตมันขึ้นมา เลยเหลือแต่คำว่า Glass ที่มีคำที่แสดงถึงคุณสมบ้ติของมันกำกับไว้ข้างหน้า  เช่น Tempered glass (แตกกระจุยแบบกระจกรถยนต์)  Annealed glass (พวกแก้วทนไฟ)  Float glass (พวกแก้วที่ใช้ทำกระจกหน้าต่าง)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 28 ส.ค. 22, 18:56

จะซื้อเครื่องประดับกายที่อยู่ในกลุ่มของ Quartz ตามภาพที่ อ.เทาชมพู นำมาแสดงใน คห.ที่ 155 ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องที่ทำให้ต้องเกิดความกังวลใจ   หากต้องการของที่มาจากธรรมชาติแท้ๆ ก็คงจะต้องสนทนากัน ต้องซักกันอย่างมาก    ที่ได้ขยายความมานั้นคงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องและคำที่ใช้ในการสนทนากันที่ควรจะต้องมีในระหว่างการตัดสินใจซื้อขาย ซึ่งทั้งมวลก็ควรจะต้องสื่อความหมายที่ตรงกันเพื่อการตัดสินใจของเรา

ที่ดูจะมีความเป็นจริงอยู่เรื่องหนึ่งก็คือพวก Quartz ในธรรมชาตินั้นดูจะมีความแข็งมากกว่าแก้วหรือพวกที่สังเคราะห์ขึ้นมา ก็คือ ของธรรมชาติจะขีดแก้วให้เป็นรอยได้   และก็มีที่เขาว่ากันว่าของธรรมชาตินั้น เมื่อเอามาแนบแก้มหรือริมฝีปากจะรู้สึกถึงความเย็น จะรู้สึกเย็นมากกว่าของที่สังเคราะห์ขึ้นมา 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 28 ส.ค. 22, 19:18

เห็นคำบรรยายว่าเทพธิดาสีชมพูนี้ ควอตช์ของจริง  แต่ไม่แน่ใจค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 29 ส.ค. 22, 17:47

ผมเห็นว่าเป็นของจริงครับ เพราะว่าการสังเคราะห์ผลึกแฝดให้มีขนาดใหญ่ได้ปานนั้นน่าจะยังทำได้ไม่ง่ายนัก  และอีกประการหนึ่ง การเกิดผลึกแฝดกัน (twinning) ในลักษณะนั้น เป็นเรื่องปกติของแร่ที่เกิดในธรรมชาติ   สำหรับคำว่า twin ที่ใช้ในเรื่องของแร่นั้น มิได้หมายความถึงการแฝดสองตามความหมายปกติที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน หากแต่หมายถึงการเกิดผลึกหลายผลึกพร้อมๆกันที่ต่อติดกัน รวมกันเป็นมวลแร่ก้อนเดียวกัน    ในภาษาไทยคำว่าแฝดดูจะใช้ในความหมายของความเหมือนกัน หรือใช้กับของที่เกิดมาพร้อมๆกัน  ในภาษาไทยเราก็เลยมีแฝดได้ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ก็เลยดูจะมีความหมายไปในทางเดียวกับคำว่า twinning ในความหมายทางวิชาการแร่วิทยา (Mineralogy)

ภาพผลึก Rose Quartz นี้หากจะมีข้อที่อยากจะคิด ก็คงจะมีเพียงเรื่องของการทำสีเท่านั้น   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 20 คำสั่ง