เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 7343 ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 15 ส.ค. 22, 10:35

นี่คือรูปสลักหินที่วัดสุทัศน์ค่ะ  เอามาฝากคุณตั้ง   เป็นศิลาแลงหรือหินทรายคะ


ภาพสลักหินสมัยทวารวดี ตอนบนเป็นเรื่องโปรดพุทธมารดาบนดาวดึงส์ ส่วนตอนล่างเป็นเรื่องแสดงยมกปาฏิหาริย์ มีขนาดสูง ๒.๔๐ เมตร กว้าง ๐.๙๕ เมตร  

ราว พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการปิดทองทับ ปัจจุบันได้ลอกทองออกทำให้เห็นลวดลายชัดเจน


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 15 ส.ค. 22, 18:44

นี่คือรูปสลักหินที่วัดสุทัศน์ค่ะ  เอามาฝากคุณตั้ง   เป็นศิลาแลงหรือหินทรายคะ

ขอให้ความเห็นเรื่องนี้ก่อนที่จะกลับไปขยายความต่อเรื่องของหินศิลาแลงนะครับ

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูที่ได้นำภาพขยายใหญ่ของแผ่นหินสลักชิ้นนี้ทั้งในสภาพที่มีทองปิดอยู่และในสภาพที่ล้างทองออกไปแล้ว  เลยพอจะทำให้แสดงความเห็นได้บ้าง  ก็จะเป็นการเดาอีกนะครับ   หินที่ใช้ในงานประติกรรมชิ้นนี้ มิใช่หินศิลาแลง   ลักษณะที่เด่นออกมาของเนื้อหินแสดงว่าเป็นหินเนื้อละเอียดที่มีสีออกไปทางสีดำหรือเทาดำเข้มๆ ซึ่งเป็นลักษณะประจำตัวของหินชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Shale 

ชื่อ Shale นี้ เราๆน่าจะเคยได้ยินที่พ่วงท้ายด้วยคำว่า oil ..Shale oil..    แต่มิใช่ว่าหิน Shale ทั้งหลายจะต้องมีน้ำมันอยู่ในเนื้อนะครับ มีอยู่เพียงบางแห่งในโลก (ซึ้งก็อาจจะถูกจัดไปอยู่ในประเภททรัพยากรทางด้านความมั่นคงหรือทรัพยากรทางด้านเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และสถานการณ์ต่างที่เกิดในโลก)

หิน Shale ก็เป็นหินตะกอนชนิดหนึ่งที่มีเนื้อประกอบไปด้วยตะกอนเนื้อละเอียดยิบ  ขนาดเม็ดของเนื้อหินก็คงประมาณผงฝุ่นที่เราได้จากการกวาดบ้าน 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 15 ส.ค. 22, 19:07

shale คือ หินดินดาน อ่านในเฟซบุ๊กบางท่านบอกว่าเป็น หินโคลน (mudstone)


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 15 ส.ค. 22, 19:34

ผมประเมินว่าเป็นงานสลักบนแผ่นหิน Shale ด้วยเหตุผลจากการพิจารณาความละเอียดของเนื้อหิน   แต่ก็อาจจะเป็นประติมากรรมบนแผ่นหินทรายเนื้อละเอียดก็ได้     ฐานคิดของความเห็นที่ต่างกันก็มีอยู่ 2 ประเด็น   ประเด็นแรก ว่าหากในการปิดทองแต่เดิมนั้นเป็นการกระทำโดยตรงบนเนื้อหินโดยใช้กาวธรรมชาติ..กระเทียม  กรณีนี้ ก็น่าจะเป็นหิน Shale    แต่หากเป็นการลงยางรักก่อนการปิดทอง  กรณีนี้อาจจะเป็นหินทรายเนื้อละเอียดก็ได้ เพราะยางรักอาจจะทำให้ผิวหน้าของแผ่นหินนั้นดูเรียบและเนียนดี

ที่เห็นว่าน่าจะเป็นหิน Shale (หินดินดาน ?) ในอีกเรื่องหนึ่งนั้นก็เพราะว่า (ตามที่เคยอ่านเจอ) ประติมากรรมที่ทำกับหินชนิดนี้ที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธก็มีพบอยู่ตามเส้นทางสายไหม  และสุดท้ายก็เพราะหิน Shale มีเนื้อที่ละเอียดมากพอที่จะสามารถสร้างงานที่มีความละเอียดได้ง่ายด้วยการแคะแกะด้วยกำลังของแขนของมือของตนเอง

ก็เป็นความเห็นนะครับ ลองพิจารณาดูครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 16 ส.ค. 22, 11:46

เอารูปสลัก แม่พระคงคาของอินเดีย ด้วยหิน shale มาให้คุณตั้งดูค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 16 ส.ค. 22, 11:54

ฝากคำถามใหม่มาให้คุณตั้งค่ะ

ทับทิมเป็นหินหรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 16 ส.ค. 22, 18:10

shale คือ หินดินดาน อ่านในเฟซบุ๊กบางท่านบอกว่าเป็น หินโคลน (mudstone)

หินตะกอนหรือหินช้ันเนื้อละเอียดนี้ มีการจำแนกองค์ประกอบของเนื้อแล้วก็กำหนดชื่อให้ต่างๆกันไป   แรกทีก็จะกล่าวถึงชื่อทั้ง Shale และ/หรือ Mudstone  แต่ไม่ต้องการจะขยายความต่อไปอีก ก็เลยใช้แต่ชื่อ Shale ซึ่งเป็นคำกลางๆที่นิยมใช้กัน   ความต่างกันที่สำคัญระหว่าง Shale (หินดินดาน) กับ Mudstone (หินโคลน ?) ก็คือ เมื่อกระเทาะหินดินดาน ชิ้นหินที่กระเทาะออกมาจะมีลักษณะคล้ายการหัก Cream cracker คือแตกออกเป็นชิ้นที่ยังแสดงถึงความเป็นแผ่นเป็นชั้น เรียกว่าแตกแบบ fissile    ในขณะที่หินที่กระเทาะออกมาของหินโคลนไม่แสดงลักษณะดังกล่าว   

มี Mudstone (หินโคลน ?) แล้วก็ต้องมี Claystone (ภาษาไทย ??)  ซึ่งนิยามอย่างหนึ่งก็ว่า  Mudstone เป็นหินที่มีส่วนประกอบผสมกันของเม็ดตะกอนขนาด Silt และ Clay   ส่วน Claystone นั้นมีเม็ดตะกอนขนาด Clay sized particles มากกว่าครึ่งในส่วนผลม   บางนิยามก็ว่าเป็นพวกหินปูนที่มีเม็ดตะกอนปนอยู่ในเนื้อ (Carbonate rock)     แล้วก็มีชื่ออื่นๆอีก เช่น Wacke  Wackestone  Graywacke    ชื่อต่างๆของหินในกลุ่มหินหินโคลนนี้ ส่วนมากจะใช้กันในยุโรป แล้วก็ดูค่อนข้างจะใช้จำกัดอยู่กับหินของเทือกเขา Alpine-Himalayan 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 16 ส.ค. 22, 19:23

ย้อนกลับไปเรื่องศิลาแลงนะครับ

ศิลาแลงก็คือหินที่เกิดจากการผุพังด้วยกระบวนการทางเคมี  มักพบได้เป็นปกติในพื้นที่ๆมีอากาศร้อนชื้น บริเวณที่เกิดมีความชื้นและแห้งสลับกันไปมา   

หากเคยเห็นการขุดบ่อน้ำของชาวบ้าน ก็น่าจะเคยเห็นภาพตามผนังบ่อที่ขุดลงไป คือมักจะเห็นชั้นดินอยู่ชั้นหนึ่งที่มีสีแดงเหลือง มีความแข็งมากกว่าดินชั้นบน(และล่างของมัน) ซึ่งในทางปฎพีวิทยา (Soil science) เรียกดินชั้นนี้อย่างหลวมๆกันว่า B layer   ดินชั้นนี้เมื่ออยู่ใต้ผิวดินที่มีความชื้น ในสภาพธรรมชาติ จะมีเนื้ออ่อน  แต่หากขุดออกมาวางตากแดดแห้ง มันก็จะจับตัวเป็นก้อนแข็ง  ก็เป็นลักษณะของดินที่เรียกว่า ลูกรัง ที่เป็นความต้องการใช้ในการบดอัดทำถนน     

ข้ามเรื่องศิลาแลงมาเพียงเพื่อให้เห็นสภาพของศิลาแลงในมุมของการเกิดและสภาพที่สามารถขุดออกมาใช้ได

ศิลาแลงที่มีการนำไปประโยชน์ในงานโยธา ตกแต่ง และงานทางศิลปะนั้น มาจากแหล่งหินที่เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นแหล่งที่หินมีความหนา และซึ่งเมื่อขุดลึกจากผิวลงไป หินจะยังคงมีความอ่อนพอที่จะสกัดตัดแต่งให้เป็นรูปทรงต่างๆได้

ในบ้านเราก็มีการใช้มาแต่โบราณ เช่น โบราณสถานสุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ ลำพูน(พระบาทตากผ้า)   แหล่งศิลาแลงของกำแพงเพชร ก็อยู่ไม่ไกลจากโบราณสถาน บนเส้นทางกำแพงเพชร-สุโขทัย   ของอุตรดิตถ์ก็บ้านนาอิน อ.พิชัย บนเส้นทางพิษณุโลก-อุตรดิตถ์  สำหรับของโบราณสถานของสุโขทัยก็แถว บ้านนาขุนไกร อ.ศรีสำโรง       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 16 ส.ค. 22, 19:57

พูดถึงแหล่งศิลาแลง ก็เลยนึกไปไกลถึงแหล่งผลิตศาสตราวุธของไทยแต่โบราณ  แหล่งวัตถุดิบสำหรับเหล็กคุณภาพดีก็น่าจะอยู่ในพื้นที่บริเวณหนึ่งบริเวณใดในพื้นที่ๆมีศิลาแลง หรือรอบๆแหล่งหินนั้น 

นึกถึงข้าวตอกพระร่วง ของสุโขทัย 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 17 ส.ค. 22, 08:09

ส่วนไหนในภาพที่เป็นศิลาแลงคะ?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 17 ส.ค. 22, 08:35

ว่าด้วยเรื่องศิลาแลง







บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 17 ส.ค. 22, 17:55

ส่วนไหนในภาพที่เป็นศิลาแลงคะ?

ก็คือส่วนที่เป็นหินก้อนสี่เหลี่ยมหรือทรงกลมที่วางหรือตั้งซ้อนทับกันอยู่  กำแพงแก้ว พื้นอาคาร บันได...     ผิวหน้าของหินมีความหยาบมาก มีลักษณะเป็นเบ้า เป็นรูพรุน  สีของหินประไปด้วยสีแดง ดำ เหลือง หรือส้ม   หินศิลาแลงนี้นำไปใช้ทั้งในรูปที่เป็นไปตามลักษณะตามธรรมชาติของมัน และใช้ในลักษณะที่เป็นโครงภายในของรูปทรงที่จะแต่งเติมต่อไปด้วยการโบกปูนปิดทับให้ดูสวยงาม ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 17 ส.ค. 22, 19:10

สำหรับการเกิดและการมีอยู่ของศิลาแลงนี้ คลิปจากคุณเพ็ญชมพูดูจะให้ข้อมูลครบถ้วนในระดับหนึ่ง แล้ว   

ขอเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อทราบว่า  ศิลาแลงไม่ได้เกิดและพบที่ใดๆใด้ง่ายนัก  การอธิบายการกำเนิดด้วยกระบวนการเกิดของชั้น B layer ในเรื่องของชั้นดินนั้นก็เป็นกระบวนการหนึ่ง  ในอีกระบวนการหนึ่งก็จะเป็นการเกิดมาจากระบวนการผุพังและกระบวนการทำลาย (Weathering & Erosion) ของหินที่ปกคลุมอยู่บนพื้นผิว  ซึ่งจะรู้ได้ก็ด้วยการนำหินมาวิเคราะห์ทางเคมี เพื่อหาธาตุต่างๆที่มีอยู้ในตัวหินของแหล่งหินนั้นๆ     

สรุปอย่างง่ายๆก็คือ อย่างหนึ่งเกิดจากการขยับขึ้นลงของระดับน้ำที่อยู่ใต้ผิวดิน (water table) แล้วเกิดการสะสมของสารละลายทางเคมีที่แห้งกรังของเหล็ก ซิลิก้า และอะลุมินา (B layer) ...    อีกอย่างหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารประกอบทางเคมีของแร่ประกอบหินแต่เดิม แล้วมีการถูกชะล้าง (leaching) มีการจับตัวกันใหม่  แต่ก็ด้วยกลไกของการขึ้นลงของระดับน้ำใต้ผิวดิน (water table) เช่นเดียวกันกับการเกิด B layer     ซึ่้งแบบหลังนี้มักจะมีธาตุบางอย่างสะสมอยู่ในปริมาณมากกว่าปกติ จนอาจจะกลายเป็นแหล่งแร่สำคัญก็ได้ เช่น แหล่งแร่โลหะ Aluminum หรือที่เอามาทำสารส้ม  หรือเป็นแหล่งแร่โลหะ Nickle  เป็นต้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 17 ส.ค. 22, 20:14

ก็นำพามาสู่ความน่าสนใจอยู่สองสามเรื่องในความเห็นของผม

เมืองเก่าที่สำคัญของไทยเราดูจะตั้งอยู่ในพื้นที่ๆมีแหล่งหินศิลาแลง เช่น  ลำพูน  สำปาง  อุตรดิตถ์  สุโขทัย  พิษณุโลก กำแพงเพชร ...    แหล่งหินศิลาแลงล้วนอยู่ในพื้นที่ๆไม่ไกลจากศูนย์กลางของเมือง  มีการนำมาใช้ในงานทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับศาสนา   เรื่องนี้มีความเกี่ยวพันกับอิทธิพลความเชื่อใดหรือไม่ หรือในเรื่องอื่นใด   

มีเรื่องของสุขภาพใดๆที่ปรากฎเด่นออกมาในบันทึกทางประวัติศาสตร์บ้างใหม   เพราะศิลาแลงโดยทั่วไปจะมีสารประกอบของธาตุแมงนีสในปริมาณค่อนข้างมาก แมงกานีสมีผลต่อสุขภาพไม่น้อยเลยทีเดียว

อิฐก็มีการทำและใช้ในงานต่างๆมานานมากๆ มีกระบวนการทำที่ง่ายกว่า แต่เหตุใดจึงมีการใช้ศิลาแลงเป็นส่วนประกอบของงานนั้นๆ ซึ่งต้องไปหาแหล่ง ต้องสกัดแต่ง หนัก และต้องขนส่งไกล 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 18 ส.ค. 22, 15:52

ใครจะตอบคุณตั้งได้บ้างคะ
เอารูปปราสาทนางรำมาประกอบค่ะ ชอบที่นี่มาก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง