เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 7561 ถามคุณตั้งเรื่องหิน
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 11 ส.ค. 22, 17:44

พระพุทธรูปสม้ยเก่าๆ เมื่อหงายพระองค์ท่านก็จะเห็นวัสดุที่ใช้เป็นปั้นเป็นรูปแบบ (mold) อยู่ภายในองค์พระ ถูกความร้อนจนใหม้สีดำและขาว คล้ายกับดินผสมฟางข้าวที่เผาในระดับความร้อนที่ไม่สูงมากนัก (sinter)   พระพุทธรูปหล่อรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เกือบจะไม่เห็นเศษของว้สดุที่ใช้ทำ mold ตกค้างอยู่เลย 

ก็เป็นสิ่งที่เคยเห็น คิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์บ้าง ก็เลยขยายความออกมา   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 11 ส.ค. 22, 18:17

ในประเทศจีนมีผาหรือภูเขาหินที่มีวัด หรือวิหารน้อยๆอยู่บนยอด  ให้ชมกันหลายแห่ง  ดูภาพจากโดรนแล้วยังสงสัยว่าช่างขนหินหรืออิฐหรือปูนขึ้นไปสร้างอย่างไรจนสำเร็จ 
เอารูปมาฝากคุณตั้งค่ะ   ในนี้เรียกว่า grotto  แปลว่าถ้ำหรืออุโมงค์   อยากรู้ว่าเขาสร้างทางขึ้นไปได้ยังไง เอาอะไรตอกติดผนังหิน  ภูเขาชนิดนี้น่าจะมีหินหลายชนิดประกอบกัน   เจาะหรือตอกยากหรือง่ายขนาดไหน

เมื่อเห็นภาพหน้าผาที่มีงานแกะสลักหรือมีการสกัดให้เป็นที่พำนัก ที่มีอายุเก่าแก่ทั้งหลาย  ก็พอจะเดาได้แต่แรกเลยว่าจะเป็นทำงานกับหน้าผาเขาหินทราย หรือไม่ก็หน้าผาของเขาหินปูน  แต่โดยส่วนมากแล้ว จะเป็นการทำกับหน้าผาของเขาหินทราย     สำหรับกรณีสิ่งก่อสร้างบนส่วนที่เป็นยอดแหลมยอดใดยอดหนึ่งในพื้นที่ป่าเขานั้น ก็พอจะเดาได้เหมือนกันว่า ตรงนั้นเป็นยอดหนึ่งในหลายๆยอดของเขาหินปูน

สำหรับคำว่า   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 11 ส.ค. 22, 18:44

ในประเทศจีนมีผาหรือภูเขาหินที่มีวัด หรือวิหารน้อยๆอยู่บนยอด  ให้ชมกันหลายแห่ง  ดูภาพจากโดรนแล้วยังสงสัยว่าช่างขนหินหรืออิฐหรือปูนขึ้นไปสร้างอย่างไรจนสำเร็จ  
เอารูปมาฝากคุณตั้งค่ะ   ในนี้เรียกว่า grotto  แปลว่าถ้ำหรืออุโมงค์   อยากรู้ว่าเขาสร้างทางขึ้นไปได้ยังไง เอาอะไรตอกติดผนังหิน  ภูเขาชนิดนี้น่าจะมีหินหลายชนิดประกอบกัน   เจาะหรือตอกยากหรือง่ายขนาดไหน

เมื่อเห็นภาพหน้าผาที่มีงานแกะสลักหรือมีการสกัดให้เป็นที่พำนัก ที่มีอายุเก่าแก่ทั้งหลาย  ก็พอจะเดาได้แต่แรกเลยว่าจะเป็นงานที่ทำกับหน้าผาเขาหินทราย หรือไม่ก็กับหน้าผาของเขาหินปูน  แต่โดยส่วนมากแล้ว จะเป็นการทำกับหน้าผาของเขาหินทราย    

สำหรับกรณีสิ่งก่อสร้างบนส่วนที่เป็นยอดแหลมยอดใดยอดหนึ่งในพื้นที่ๆมีภูมิประเทศเป็นป่าเขานั้น ก็พอจะเดาได้เหมือนกันว่า ตรงนั้นเป็นยอดหนึ่งในหลายๆยอดของเขาหินปูนในพื้นที่นั้นๆ

สำหรับคำว่า Grotto นั้น ดูจะมีข้อจำกัดในการใช้อยู่เหมือนกัน  คำนี้ ภาษาไทยหมายถึง ถ้ำหรืออุโมงค์ ดังที่อาจารย์ว่า    ผมเห็นว่าน่าจะใช้คำว่า หลืบหิน หรือโพรงหิน (ตื้นๆ) หรือชะง่อนหิน(ที่มีส่วนเว้าเข้าไปในหน้าผา)...  ที่มีการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 11 ส.ค. 22, 20:03

กรณี Maiji Grottoes  เป็นเรื่องเกี่ยวกับหินทราย

หินทรายจัดเป็นหินตะกอน เกิดจากการตกตะกอนของวัสดุขนาดเม็ดทราย ซึ่งส่วนมากจะเป็นเม็ดแร่ Quartz  เป็นหลัก มีเม็ดแร่อื่นๆในปริมาณน้อยถึงน้อยมากๆๆๆ   

หากนึกถึงสภาพของปริมาณน้ำที่ผันแปรไปในแต่ละสภาพการณ์ต่างๆ ก็จะเห็นว่า เมื่อน้ำมาก ใหลแรง ก็จะพัดพาทรายเม็ดขนาดใหญ่หน่อย+เม็ดเล็กได้มาก หากน้ำน้อยก็จะได้ทรายเม็ดเล็ก   เม็ดทรายเหล่านั้นจะตกตะกอนเป็นชั้นๆสลับกันด้วยเนื้อในที่แตกต่างกันไปตามสภาพการณ์    เมื่อผ่านกระบวนการทางธรณีฯต่างๆยกตัวขึ้นมาเป็นภูเขา แล้วถูกกระบวนการผุพังทำลาย (weathering & erosion) ชั้นทรายที่มีความคงทนต่างกันก็จะถูกทำลายหายไปต่างกันไป ให้สภาพคล้ายกับการวางเรียงกระดาษทับกันโดยที่ยังไม่ตบให้เข้าที่  ก็จะมีสภาพของหลืบ ของชะง่อน...ต่างๆ   ซึ่งหากมองจากด้านบนลงมา ก็จะเห็นภาพในบางบริเวณคล้ายลักษณะที่เรียกว่าหน้าผาแบบตั้งตรง หรือแบบมีลาดชันสูงมาก  แล้วก็จะเห็นว่ามันก็มีระนาบที่สามารถเชื่อมต่อระดับที่ต่างกันได้  ก็น่าจะพอนึกภาพออกได้ว่าเมื่อแรกเริ่มนั้นเขาสามารถจะขึ้นไปทำงานได้่อย่างไร  ก็เป็นความเห็นของผมในเบื้องแรกนะครับ

 

     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 12 ส.ค. 22, 18:23

ลงลึกไปอีกนิดนึง     ทรายที่ตกตะกอนในแอ่งนั้น จะจับตัวกันแน่นเป็นชั้นด้วยสารประกอบที่แห้งกรัง ที่ตกผลึกมาจากน้ำในแอ่งที่มันตกตะกอน หรือจากความชื้นในชั้นทรายเหล่านั้น เรียกว่า cementing materials ซึ่งส่วนมากจะเป็น Silica (แร่ Quartz) สีขาวใสระหว่างเม็ดทราย   หรือ Carbonates (ปูน) สีขาวขุ่นระหว่างเม็ดทราย  หรือ Iron Oxides สีแดง (แร่เหล็ก Hematite _ Fe3O4).....     

หากหินทรายนั้นๆยังอยู่ในสภาพของความเป็นหินตะกอน กรณีที่สารเชื่อมประสานเม็ดทรายเป็น Silica ก็นิยมเรียกว่า Quartzitic sandstone   กรณีตัวประสานเม็ดทรายเป็น Carbonates ก็นิยมเรียกว่า Calcareous sandstone   แต่หากเป็นพวกเหล็กอ๊อกไซด์ ก็อาจจะเรียกในองค์รวมว่าพวก Red beds

ตะกอนทรายในแอ่งสะสมตะกอน (Deposition basin) ที่ถูกยกตัวขึ้นมาเป็นเนินหรือสูงเป็นภูเขา จะผ่านสภาพของการแปร (metamorphose) ในสักษณะที่รุนแรงมากหรือแบบไม่รุนแรงนัก  กรณีที่มันอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ถูกแปรอย่างรุนแรง เม็ดทรายที่ประกอบกันเป็นเนื้อของมันจะหลอมเชื่อมกัน กลายเป็นหินที่เหนียวและแข็งมากๆ เรียกชื่อว่า Quartzite   ไม่สามารถจะใช้ในงานสกัดหรือแกะสลักในทางศิลปะได้   หินพวกนี้ มีการสกัดออกเป็นก้อนเอาไปใช้ในงานเชิงงานโยธา  หากมีเนื้อเนียนก็อาจจะเอาไปทำหินลับมีด    เป็นหินที่มนุษย์ยุคก่อนใช้ทำเครื่องมือหิน       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 12 ส.ค. 22, 18:40

เมื่อประมวลจากความที่ขยายมา ก็พอจะเห็นว่า Meiji Grotto นั้น น่าจะเดาว่าเป็นงานทางศิลปะวัฒนธรรมบนหน้าผาของเขาหินทรายชนิดเม็ดทรายเชื่อมกันด้วยปูน (Calcareous sandstone) ซึ่งเป็นหินที่ถูกแปรไปในระดับที่ไม่มาก (slightly metamorphosed calcareous sandstone) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 12 ส.ค. 22, 19:59

กรณีวิธีการดำเนินการ

ความเห็นของผมก็คือ (ด้วยการเดาอีก)โดยปกติแล้ว หน้าผาต่างๆตามภาพที่เราเห็นว่าสูงชันตั้งเด่นั้น มันเป็นภาพลวงตา (3D distortion) ที่เกิดขึ้นได้จากตำแหน่งที่เรามอง  จาก focal length ของเลนซ์ที่ใช้ถ่ายภาพ  จากตำแหน่ง+มุม+focal length ของก้องและเลนซ์  และจากการตั้งใจสร้างภาพนั้นๆให้เกิดขึ้น      ซึ่งจะต่างกับในพื้นที่จริงที่หน้าผาต่างๆตามเขาที่มิใช่เขาหินปูนนั้น เกือบทั้งหมดจะไม่เป็นในรูปของผนังที่ตั้งฉากกับพื้นราบส่วนล่าง  ซึ่งเมื่อเข้าใกล้หรือไปอยู่ที่ตีนผาแล้วก็จะเห็นว่า หน้าผานั้นมันมีความเอียงอยู่พอสมควร

กรณีที่ชั้นหินวางทับกันแบบราบๆ ด้านที่เป็นขอบชัน โดยนัยจะใช้คำว่า cliff ด้านผิวบนที่วางทับกันราบๆจะใช้คำว่า Plateau     หากเป็นการวางทับกันที่เอียงเทไปด้านใดด้านหนึ่ง ด้านที่เอียงเทลงไปจะใช้คำว่า dip slope ด้านที่เป็นขอบชันจะเรียกว่า escarpment slope    หากหินถูกกระบวนการผุพังทำลายไปจนเหลือลักษณะเป็นแท่ง จะเรียกว่า pinnacle       
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 12 ส.ค. 22, 20:35

ถ้ำหินแกะสลักไมจีซาน - 麦积山石窟  - Maijishan grottoes

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 13 ส.ค. 22, 18:52

หากหน้าผาไม่มีความสูงมากนัก การจะไปขึ้นไปยืนทำอะไรๆที่ผิวของหน้าผา ก็คงจะเป็นการใช้วิธีตั้งร้านด้วยไม้ไผ่ ซึ่งอาจจะทำได้ด้วยตั้งพิงกับหน้าผา มีโครงค้ำยันไม่ให้มันล้ม เช่นเดียวกับที่ช่างทาสีบ้านเขาทำกัน   หากจะต้องมีการยึดโครงสร้างกับผังของผา ก็ใช้วิธีการเจาะรูเข้าไปในผนังหินให้ลึกพอประมาณและในทิทางที่ขัดต่อการเลื่อนไหล ใช้ไม้เสียบเข้าไปแล้วเอาสิ่งที่ต้องการยึดเหนี่ยวผูกให้แน่น 

วิธีการเจาะรูแล้วเอาไม้เสียบเข้าไปนี้ หากทำในระดับเดียวกัน ในระยะที่ไม่ห่างกันนัก เมื่อเอาไม้วางพาดเชื่อม 2 จุด ก็จะกลายเป็นนั่งร้าน หากทำต่อๆกันก็จะกลายเป็นทางเดิน   ผมไม่รู้คำศัพท์(อังกฤษและไทย)ที่ช่างใช้เรียกวิธีการทำแบบนี้     

ภาพที่เห็นตามคลิปของคุณเพ็ญชมพูนั้น จะเห็นทางเดินหรือระเบียงที่เป็นคอนกรีตยื่นออกมาจากหน้าผา สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ทำขึ้นมาโดยใช้หลักการดังที่กล่าวมา  แต่โดยตัวคานที่ยื่นออกมาทำด้วยคอนกรีตที่ยึดติดกับหน้าผาตามรูที่เจาะลึกเข้าไปในผนังหิน เรียกว่า Rock bolt ??   วิธีการนี้ใช้กันอย่างมากในการเย็บรอยแตกของมวลหินที่คิดว่ามีโอกาสจะขยับตัว โดยเฉพาะในงานสร้างอุโมงค์ต่างๆ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 13 ส.ค. 22, 19:16

ชิ้นงานประเภทเลาะหน้าผานี้ ของไทยเราก็มี เช่น เส้นทางวัดภูทอก (วัดเจติราคีรีวิหาร) จ.เลย ? หรือ บึงกาฬ ?     ที่ทำเป็นรางส่งน้ำสำหรับใช้ฉีดแร่ในการทำเหมืองแร่ดีบุกก็มี ที่จำภาพได้ก็ในพื่นที่เหมืองปิล็อก อ.ทองผาภูมิ กาญจนบุรี เป็นงานทำกับหินแกรนิต
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 13 ส.ค. 22, 19:54

วัดภูทอก


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 14 ส.ค. 22, 18:59

ผมไม่มีโอกาสเดินทางไปในพื้นที่ๆอยู่ในเส้นทางสายไหม  เพียงแต่เคยดูสารคดีต่างๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสิ่งที่ตกค้างอยู่ตามเส้นทางนี้  ก็เดาเอาจากภาพที่เห็นเช่น grotto และศิลปกรรมทั้งแบบลอยตัว นูนต่ำ หรือนูนสูง  เมื่อดูจากลักษณะของความสึกหรอ ความมนของเหลี่ยมมุมต่างๆจากการใช้งาน...  เห็นว่าล้วนเป็นงานที่เกี่ยวกับหินทรายเกือบทั้งหมด

ในบ้านเรา ก็มีการใช้หินทรายในการสร้างสรรค์งานต่างๆ  ที่เด่นชัดก็คือปราสาทหินต่างๆในพื้นที่อิสาน  ซึ่งล้วนมีการเลือกใช้หินทรายที่มีเนื้อหินต่างกันสำหรับงานที่ต่างกัน เช่นสำหรับงานทางโครงสร้าง(แนวตั้ง แนวนอน) หรือสำหรับงานแกะสลักต่างๆ   แหล่งผลิตหินสำหรับงานสร้างปราสาทแหล่งหนึ่งอยู่บนเส้นทาง สระบุรี-โคราช (ระหว่าง กม.206-207)

ผมมีโอกาสน้อยมากๆในการท่องไปในพื้นที่อิสาน จึงไม่มีช่วงระยะเวลามากพอที่จะเก็บสะสมข้อมูลทั้งแบบหยาบหรือแบบละเอียด  แถมยังลืมไปตามความเฒ่าอีก  ยิ้มกว้างๆ  ก็เลยเล่าความต่อไปไม่ได้ ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 14 ส.ค. 22, 19:18

ก็ยังมีหินอีกอย่างหนึ่งที่แต่ก่อนนั้นมีการนำมาใช้ในงานทางวิศวกรรมและงานทางศิลปกรรม ก็คือ ศิลาแลง (Laterite)    ในปัจจุบันนี้ ดูจะเอามาใช้แต่เพียงในเรื่องของการจัดสวน
ปูทางเดิน และการตกแต่งกำแพง  ยังนึกไม่ทันว่ามีที่นำไปใช้ในงานทางศิลปกรรมแบบสมัยโบราณที่ใดบ้าง   

คงนึกออกนะครับว่า งานในสมัยโบราณที่ใช้ศิลาแลง ปรากฎอยู่ที่ใดบ้าง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 14 ส.ค. 22, 19:35

ในบ้านเรา ก็มีการใช้หินทรายในการสร้างสรรค์งานต่างๆ  ที่เด่นชัดก็คือปราสาทหินต่างๆในพื้นที่อิสาน  ซึ่งล้วนมีการเลือกใช้หินทรายที่มีเนื้อหินต่างกันสำหรับงานที่ต่างกัน เช่นสำหรับงานทางโครงสร้าง(แนวตั้ง แนวนอน) หรือสำหรับงานแกะสลักต่างๆ   แหล่งผลิตหินสำหรับงานสร้างปราสาทแหล่งหนึ่งอยู่บนเส้นทาง สระบุรี-โคราช (ระหว่าง กม.206-207)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 14 ส.ค. 22, 20:36

นี่คือรูปสลักหินที่วัดสุทัศน์ค่ะ  เอามาฝากคุณตั้ง   เป็นศิลาแลงหรือหินทรายคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง