เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 7513 ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 09 ส.ค. 22, 11:16

ตัวอย่างหินขาว
ไปเจอรูปสลักแบบนี้หลายรูปในกูเกิ้ล  ดูลักษณะเหมือนทำเพื่อประดับสุสาน เหนือที่ฝังศพ   นอกจากหินอ่อนที่รู้จักกัน  ตามสุสานอาจมีหินขาวรวมอยู่ด้วย 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 09 ส.ค. 22, 14:17

รูปข้างบนนี้ทำให้นึกถึงงานศิลปะหินประเภทหนึ่ง  แกะสลักขึ้นเพื่อวางเอาไว้ในสุสานโดยเฉพาะ  คืออยู่เหนือหลุมศพของผู้ตาย       มีทั้งรูปเทพเจ้านางฟ้า หรืออย่างอื่นที่มีความหมายสำหรับเจ้าของหลุมศพนั้น    บางครั้งก็เป็นรูปแกะสลักจำลองของผู้ตายเอง
งานศิลปะเหล่านี้มีฝีมืองดงามน่าชมมาก     ถ้าหากว่าไม่กลัวผี   เดินชมสุสานโดยเฉพาะในยุโรป  จะเพลิดเพลินกับหินสลักไม่แพ้เดินในพิพิธภัณฑ์
ภาพข้างล่างบอกเรื่องราวที่แสนเศร้า   คนที่สั่งทำหินแกะสลักบนหลุมศพชิ้นนี้ น่าจะเป็นตัวสามีของหญิงในภาพ  เขาสูญเสียทั้งภรรยาและลูกน้อยไปในการคลอด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 09 ส.ค. 22, 14:24

หินอีกแบบที่พบในสุสาน (และข้างนอกก็มี) คือหินสีเขียว ไม่ทราบชื่อ
ต้องขอรบกวนคุณตั้งอีกครั้งค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 09 ส.ค. 22, 14:34

นี่ก็หินสลักสีเขียวบนโลงศพ ของ Charles Pigeon กับภรรยา  อยู่ที่ปารีส   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 09 ส.ค. 22, 16:32

ในโบสถ์เก่าแก่ของยุโรป  คุณตั้งคงเคยไปชมมาแล้ว   คงเห็นหินสลักรูปคนนอนอยู่เหนือโลง  ร่างในโลงเป็นใคร ลูกหลานก็สลักหินรูปบรรพบุรุษคนนั้นเอาไว้บนฝาโลงให้เห็นกัน   บางทีก็เป็นพระชั้นผู้ใหญ่ของโบสถ์  บางทีก็สามีภรรยานอนคู่กัน
ยิ่งโบสถ์เก่าเท่าไร   รูปหินเหล่านี้ยิ่งวางกันเยอะ   ถ้าเดินชมวัดตอนเย็นๆใกล้ค่ำ   ควรจะหาเพื่อนมาเดินกันหลายๆคนยิ่งดี  เพราะบรรยากาศวังเวงดีนัก   ดีไม่ดีจะรู้สึกว่าหินพวกนี้ดูมีชีวิตจิตใจเหมือนจะลุกขึ้นทักได้


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 09 ส.ค. 22, 20:19

หินอีกแบบที่พบในสุสาน (และข้างนอกก็มี) คือหินสีเขียว ไม่ทราบชื่อ
ต้องขอรบกวนคุณตั้งอีกครั้งค่ะ

ให้ความเห็นไม่ได้ครับ  ยิ้มกว้างๆ

โดยพื้นฐาน  สีของหินได้มาจากปริมาณของแร่ประกอบหินที่ที่มีสีนั้นๆ(สีประจำตัวของมัน)กระจายตัวอยู่ในปริมาณค่อนข้างมาก  หรือได้มาจากแร่ประกอบหินบางชนิดที่ตามปกติมีสีหนึ่ง แต่เกิดไปตกผลึกแบบมีธาตุบางตัวอยู่ในเนื้อของตัวเองมากกว่าปกติ  หรือได้มาจากแร่ประกอบหินดั้งเดิมที่ถูกแปร(องค์ประกอบทางเคมี)ไปเป็นแร่อีกอย่างหนึ่งที่มีสีต่างออกไป จากการกระบวนการสลับสลับสับเปลี่ยนธาตุที่เป็นองค์ประกอบของแร่แต่ละตัว (หรือจากกระบวนการ Alteration) หรือเป็นเพียงสีที่ผิว ที่เกิดมาจากกระวบการผุพัง (weathering) สีอาจจะไม่ลึกลงไปในเนื้อมาก
 
หินชนิดเดียวกันอาจจะมีได้หลายสี  หินแกรนิต มีสีได้ทั้งในโทนสีขาว สีดำ สีครีม สีชมพู สีแดง สีเขียว... และก็ยังอาจมีประไปด้วยจุดวาวสะท้อนแสงด้วย   หินอ่อนและ Travertine ก็เช่นกัน    หินที่มีสีออกไปในโทนสีเขียวเป็นหลัก ไม่ค่อยมีสีอื่น ก็เช่นหิน Diorite

เมื่อเดาเอาจากความนิยมในการใช้หินในการแกะสลักสำหรับบุคคลทั่วไปในศตวรรษหลังๆ ก็จึงคิดว่าน่าจะเป็นหินแกรนิต   หากเป็นของเก่าแก่แต่ก่อนโน้น ในสมัยที่สังคมและการปกครองยังอยู่ในอิทธิพล Byzantine หินเหล่านั้น ก็เดาว่าน่าจะเป็นพวกหินอ่อนและ Travertine 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 10 ส.ค. 22, 08:35

ทั้ง ๒ รูปนี้ ไม่ใช่รูปสลักหิน แต่เป็นรูปหล่อโลหะประเภททองแดง หรือ สัมฤทธิ์ (bronze = ทองแดง + ดีบุก) ที่เห็นเป็นสีเขียวคือสนิมทองแดง (copper patina) ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 10 ส.ค. 22, 10:34

อ้าว เป็นทองแดง ไม่ใช่หินอย่างที่คิด
ขอบคุณคุณเพ็ญชมพู
แปลกใจว่า รูปคุณตาคุณยายที่นอนบนเตียง ทำไมใช้ทองแดง ตั้งตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้ง   ไม่กลัวฟ้าผ่าลงมาหรือไร
เทวดาข้างล่างนี่ก็เหมือนกัน  ถ้าเป็นทองแดงก็ตากแดดตากฝนเฝ้าหลุมศพมาเป็นสิบๆร้อยๆปี


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 10 ส.ค. 22, 10:35

สนิมเขียวเกิดขึ้นได้อย่างไร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 10 ส.ค. 22, 18:22

ในประเทศจีนมีผาหรือภูเขาหินที่มีวัด หรือวิหารน้อยๆอยู่บนยอด  ให้ชมกันหลายแห่ง  ดูภาพจากโดรนแล้วยังสงสัยว่าช่างขนหินหรืออิฐหรือปูนขึ้นไปสร้างอย่างไรจนสำเร็จ 
เอารูปมาฝากคุณตั้งค่ะ   ในนี้เรียกว่า grotto  แปลว่าถ้ำหรืออุโมงค์   อยากรู้ว่าเขาสร้างทางขึ้นไปได้ยังไง เอาอะไรตอกติดผนังหิน  ภูเขาชนิดนี้น่าจะมีหินหลายชนิดประกอบกัน   เจาะหรือตอกยากหรือง่ายขนาดไหน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 10 ส.ค. 22, 18:31

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 10 ส.ค. 22, 19:06

ทั้ง ๒ รูปนี้ ไม่ใช่รูปสลักหิน แต่เป็นรูปหล่อโลหะประเภททองแดง หรือ สัมฤทธิ์ (bronze = ทองแดง + ดีบุก) ที่เห็นเป็นสีเขียวคือสนิมทองแดง (copper patina) ยิงฟันยิ้ม

Bronze (สัมฤทธิ์) = ทองแดง+ดีบุก     Brass (ทองเหลือง) = ทองแดง+สังกะสี     Sterling silver = ทองแดง+เงิน    นาก = ทองแดง+ทอง+เงิน (เป็นส่วนผสมของเหรียญเงินตรา เลยเรียกว่า Coin Metal หรือ Coinage Metal)    Alpaca = ทองแดง+สังกะสี+นิเกิล     Pewter = ดีบุก+ทองแดง+พลวง+เงิน   และ(โลหะ)ขันลงหิน ซึ่งคือสัมฤทิธิ์อย่างหนึ่งที่โลหะอื่นๆผสมลงไป ....ฯลฯ      

ผลของการหลอมโลหะเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ดูจะไม่ใช่ในกรณีของตัวโลหะธาตุมันย้ายไปอยู่ในบ้านเดียวกันแบบสร้างบ้านใหม่ (Compound)   หากแต่จะเป็นการอยู่ร่วมกันแบบคละกัน / คลุกเคล้ากัน (Mixture)   ก็จะเห็นว่า เมื่อสัดส่วนปริมาณของโลหะที่เอามาผสมกันเปลี่ยนไป เมื่ออุณหภูมิของการหลอมรวมไม่เหมือนกัน หรือเมื่อระยะเวลาและสิ่งแวดล้อมในการเย็นตัวของชิ้นงานไม่เหมือนกัน ก็ย่อมจะได้เนื้อของโลหะผสมที่แสดงออกมาทางกายภาพไม่เเหมือนกัน โดยเฉาะในเรื่องของความเสมอต้นเสมอปลาย ความละเอียดเนียนของเนื้อและสีของโลหะผสมที่เป็นผลผลิตออกมา    ซึ่งลักษณะเหล่านั้นจะถูกนำไปพิจารณาในด้านของคุณภาพของชิ้นงานและของช่างฝีมือ        
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 10 ส.ค. 22, 19:52

สงสัยตัวเองว่าใช้คำใดถูกต้อง โลหะสำริด หรือ โลหะสัมฤทธิ์

พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ที่เรียกว่า 'พระแสนแซ่' นั้น  สำหรับตัวผมเห็นว่าเป็นสูดยอดของช่างฝีมือทั้งในด้านเทคนิคและศิลปะ คือ เป็นพระพุทธรูปที่ประกอบไปด้วยโลหะหล่อ 7 ชิ้น (อาจจะจำผิด) เอามาต่อรวมกันเป็นองค์พระพุทธรูปด้วยหมุด ซึ่งแสดงออกถึงความสามารถทางช่างในทุกๆด้าน เช่น ความถูกต้อง ความแม่นยำของชิ้นงาน (precision accuracy)  ความรู้ทางด้านการหล่อโลหะ (ส่วนผสม การทำแม่พิมพ์ ...) และอื่้นๆ  โลหะที่หล่อขึ้นมาแต่ละชิ้นนั้นค่อนข้างบางมาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 10 ส.ค. 22, 20:13

สงสัยตัวเองว่าใช้คำใดถูกต้อง โลหะสำริด หรือ โลหะสัมฤทธิ์

คำนิยาม จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔

สำริด (คำโบราณ) = สัมฤทธิ์

สัมฤทธิ์  = โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก, โบราณเขียนว่า สำริด (สันสกฤต สมฺฤทฺธิ; บาลี สมิทฺธิ)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 11 ส.ค. 22, 17:21

ขอบคุณครับ  ต่อไปผมจะได้เลือกใช้ สัมฤทธิ์  จะได้ทันสมัยหน่อย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.111 วินาที กับ 20 คำสั่ง