เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 7349 ถามคุณตั้งเรื่องหิน
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 06 ส.ค. 22, 19:15

ปฎิมากรรมแกะสลักหินอ่อนที่ อ.เทาชมพู นำรูปมาโชว์นั้น สวยจริงๆครับ เป็นสุดยอดของฝีมือเป็นอย่างยิ่งในการแกะและการขัดผิวให้ดูนุ่มเนียนและพริ้ว  ผมมีความเห็นว่า ปฏิมากรผู้นั้นต้องใช้เวลานานในการเลือกหินเพื่อให้สามารถผสมผสานเข้ากันได้กับลักษณะงานทางศิลปะที่แสดงออกถึงความนุ่มนวลต่างๆ  เดาว่าหินที่ทำเป็นปฏิมากรรมนั้น อาจจะเป็นหิน Travertine ที่คัดมาเป็นพิเศษ  หรือไม่ก็เป็นหินอ่อนที่คัดเลือกมาใช้เป็นพิเศษเช่นกัน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 07 ส.ค. 22, 08:25

ตื่นขึ้มากลางดึก นอนคิดอะไรเรื่อยเปื่อย บังเอิญไปนึกถึงคำว่า ปฏิมากรรม ปฏิมากร ประติมากรรม และ ประติมากร  เลยรู้ตัวว่าเขียนผิด เป็นที่น่าอาย  อายจัง   ต้องขอภัยครับ   

กำลังจะไปกล่าวถึงพระที่แกะสลักจากหิน  ไม่ทราบว่าองค์พระควรจะต้องใช้คำว่า ปฏิมากรรม หรือ ปฏิมากร ตามความหมายในภาษาบาลี หรือใช้คำว่า ประติมากรรม ตามพจนานุกรม    สำหรับผู้ทำที่มีทั้งความสามารถและความรู้ลึกทางศิลปะนั้น ควรจะต้องใช้คำว่าอะไรดี  คงไม่น่าที่จะใช้ภาษาไทยตามปกติ คำว่า ช่างแกะสลัก หรือ ภาษาเหนือตามปกติ คำว่า สล่า 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 07 ส.ค. 22, 10:35

คำนิยาม จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔

ปฏิมา, ปฏิมากร  = รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, เรียกย่อมาจาก พุทธปฏิมา หรือ พุทธปฏิมากร (บาลี)

ประติมากร     = ช่างปั้น, ช่างแกะสลัก

ประติมากรรม  = ศิลปะสาขาหนึ่งในจำพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ (สันสกฤต ปฺรติมา + กรฺม; บาลี ปฏิมา + กมฺม)

ปฏิมากรรม (บาลี ปฏิมา + สันสกฤต กรฺม) ไม่มีบัญญัติไว้ในพจนานุกรม แต่เมื่อเทียบกับคำว่า "ปฏิมา" และ "ปฏิมากร" อาจหมายถึง งานปั้นหรือแกะสลักพระพุทธรูป อาจแยกกับคำว่า "ประติมากรรม" โดยหมายถึงงานปั้น หรือแกะสลักนอกเหนือจากพระพุทธรูป หรือเป็นรูปปั้นธรรมดาทั่วไป โดยอนุโลม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 07 ส.ค. 22, 18:57

ขอบคุณครับ 

ก็ยังมีคำที่ผมอาจจะใช้สลับสับสน  คำว่า แกะสลัก กับคำว่า สกัด    แกะสลัก ดูเหมาะที่จะใช้กับงานบนของที่ทำให้เป็นรูปทรงหรือลวดลายได้ง่าย และที่ต้องการแสดงออกในเชิงศิลปะ (ประติมากรรม)    ส่วนคำว่า สกัด ดูจะจำกัดอยู่ในเรื่องของงานที่ต้องใช้วิธีการกระเทาะเพื่อให้ได้รูปทรง  แต่ก็ใช้ได้ถึงงานทางศิลปกรรม    ในมุมนี้ ประติมากรรมหินอ่อนจึงควรใช้คำว่า สกัด  ส่วนประติมากรรมหิน Travertine ก็ดูเหมาะกว่าที่จะใช้คำว่า แกะสลัก     หินอ่อนและหิน Travertine มีความต่างกันในด้านของความแข็งและความเหนียวแน่นของเนื้อหิน  แม้จะต่างกันเพียงไม่มาก แต่ก็มีผลในด้านการนำมาใช้งาน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 07 ส.ค. 22, 20:32

พระพุทธรูปที่ทำด้วยหินอ่อนของพม่า มีแหล่งผลิตอยู่ในพื้นที่บ้าน Sagyin ห่างจากเมืองมัณฑาเลย์ไทางตะวันออก ประมาณ 20+ กม.  หินอ่อนที่นั่นมีเนื้อละเอียด สีขาว (ออกไปทาง Pale Bluish)  ผมเคยได้มีโอกาสเดินทางไปดูแหล่งหินอ่อนที่นั่นอยู่ครั้งหนึ่ง น่าจะประมาณเกือบ 30 ปีมาแล้ว  พระพุทธรูปที่ทำกันดูจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือแบบลอยตัว มีแผงที่เศียร นัยว่าเป็นทรงพระพุทธรูปแบบเก่า กับแบบลอยตัวทั้งตัวซึ่งนิยมกันในปัจจุบัน    พระพุทธรูปพระประธานในอุโบสถของวัดวังก์วิเวการามที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ก็ใช้หินจาก Sagyin แต่จะสกัดแต่งเป็นพระพุทธรูปที่ใดไม่ทราบ แต่ใช้เส้นทางขนย้ายด้วยรถยนต์ผ่านเจดีย์สามองค์ไปสู่วัดเดิมก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดในปัจจุบัน   

ก็มีเรื่องเล่ากันในหมู่ผู้คนที่ช่วยกันขนย้ายองค์พระว่า เมื่อใกล้จะถึงเจดีย์สามองค์ รถที่ใช้ขนได้บีบแตรด้วยความยินดี ทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการขนนั้นถึงกับตกใจ ต้องรีบกันช่วยกันอย่าง panic เพราะเกรงว่าฝ่ายพม่าจะได้ยิน  ก็คงพอจะแสดงว่าการดำเนินการทั้งหมดเป็นความลับ ผู้กระทำการทั้งหมดตั้งแต่การสร้างพระพุทธรูปไปจนถึงกระบวนการขนย้าย ล้วนแต่ศรัทธาหลวงพ่ออุตตมะเป็นอย่างยิ่ง   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 08 ส.ค. 22, 09:04

พระพุทธรูป พระประธานในอุโบสถของวัดวังก์วิเวการาม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 08 ส.ค. 22, 11:35

พระพุทธรูปที่ทำด้วยหินอ่อนของพม่า มีแหล่งผลิตอยู่ในพื้นที่บ้าน Sagyin ห่างจากเมืองมัณฑาเลย์ไทางตะวันออก ประมาณ 20+ กม.  หินอ่อนที่นั่นมีเนื้อละเอียด สีขาว (ออกไปทาง Pale Bluish) 

ที่วัดเจ้าดอยี เมืองย่างกุ้ง มีพระพุทธรูปหินอ่อนที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อว่า พระโลกจันทราอภัยลาภมุนี (Lawka Chantha Abhaya Labha Muni) ประดิษฐานอยู่ในครอบแก้วทั้งองค์ นัยว่าเพื่อป้องกันความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ  



มีภาพวาดแสดงขั้นตอนการสร้างพระพุทธรูป ภาพล่างเป็นขั้นตอนนำหินอ่อนมาจากมัณฑะเลย์ซึ่งแกะสลักเป็นโครงพระพุทธรูปแล้ว ล่องมาตามแม่น้ำอิรวดี  ภาพบน เมื่อมาถึงย่างกุ้งจึงชักลากขึ้นมา และแกะสลักโดยช่างฝีมือชาวมัณฑะเลย์ 



จากกระทู้ พม้า พม่า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 08 ส.ค. 22, 18:20

หลวงพ่ออุตตมะเป็นพระเถระที่น่าเคารพนับถือยิ่งท่านหนึ่ง ผมได้มีโอกาสพบท่านสองสามครั้งในช่วงที่ยังทำงานสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:250,000 ระวางทะวาย (Tavoy) และระวางเย (Ye)  ได้พบและสนทนากับท่านบ้างทั้งในช่วงที่วัดยังอยู่ที่เดิม และในช่วงแรกๆของการย้ายวัดไปอยู่สถานที่ปัจจุบัน เคยเห็นจริยาวัตรทั้งวันของท่าน เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการหยั่งรู้ของท่านและก็เคยประสบเรื่องนั้นๆด้วยตนเอง (โดยเฉพาะในเรื่องหยั่งรู้) 

เครื่องรางของขลังต่างๆ (สร้อยประคำ เหรียญ)  ก็ล้วนแต่มีคนทำมาให้ท่านปลุกเสก (มิได้คิดจะสร้างเอง) ที่เห็นด้วยตนเองก็มีทำใส่กล่องกระดาษบ้าง ใส่เข่งบ้าง นำไปให้ท่านปลุกเสก เห็นวางเป็นกองอยู่หน้าพระประธาน การปลุกเสกของท่านก็ไม่มีพิธีอะไร เห็นแต่เพียงท่านสวดมนต์โดยมีพระอีก 2 รูปนั่งเยื้องอยู่ด้านซ้ายและขวา  ทราบจากพระที่นั่งอยู่ทั้ง 2 รูปนั้นว่า พลังของหลวงพ่อนั้นแรงมาก พระ 2 รูปนั้นต้องนั่งคู่เพื่อสะท้อนพลังนั้นกลับไป เวลาสำหรับการปลุกเสกของท่านก็ไม่จำกัด บางวันก็หลังเพล (ที่เคยเห็น) บางวันก็เช้า บางวันก็เย็น  เพียงแต่จะต้องครบ 3 ครั้งเท่านั้น 

หลวงพ่ออุตตมะฉันเพลเพียงมื้อเดียว ฉันด้วยมือในบาตร  ดูท่านจะเลือกฉันแต่น้ำพริก ผักแนมก็เป็นใบอ่อนของต้นไม้/ยอดไม้สดๆ ฉันพริกเผากับนำพริกก็มี             
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 08 ส.ค. 22, 19:09

หินอีกอย่างหนึ่งที่เอามาแกะสลักเป็นเครื่องใช้ต่างๆเรียกว่า Alabaster ซึ่งก็คือ แร่ Gypsum ที่เกิดในรูปแบบหนึ่ง  มีเนื้อละเอียด มีทั้งสีนวลทึบแสงและโปร่งแสง   

กล่าวถึงแต่หินอ่อนและ Travertine ที่ใช้นำมาใช้ในงานประติมากรรมต่างๆ    ลืมไปเลยครับ (เฒ่าจัด  เศร้า  ยิงฟันยิ้ม) ว่าประติมากรรมที่เราได้เห็นตั้งวางแสดงอยู่เหล่านั้น ก็มีอยู่ไม่น้อยเลยที่ทำจากหินที่เรียกว่า Alabaster    งานที่มีรายละเอียดมากๆ ที่ให้ความพริ้วและนุ่มนวลมากๆ ทั้งหลายน่าจะใช้หินขนิดนี้เหมือนกัน       

'ดูแต่ตา มืออย่าต้อง ก็ต้องเดา'   ยิงฟันยิ้ม   ก็เดาไปบนฐานของ Hardness   เพราะ Calcite มีความแข็งมากกว่าเล็บมือ ส่วน Gypsum นั้นจะมีความแข็งประมาณเล็บมือ    ความแข็งของหินปูนนั้นเมื่อถูกกระทบ ลักษณะของการถูกกระทบ จะออกไปทาง บิ่น หรือ กระเทาะ   ในขณะที่ความแข็งของ Alabaster หากถูกกระทบจะออกไปทาง ยู่ ยุบ หรือเป็นแผลที่ไม่มีคม 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 08 ส.ค. 22, 20:05

Alabaster ถูกนำมาใช้ในเรื่องของๆใช้ เครื่องประดับ เครื่องตกแต่ง (Decorative items)  ทำเป็นโคมไฟติดผนังบ้าง  ทำเป็นผอบ  ทำเป็นถ้วยใส่เทียน ...ฯลฯ    จะใช้คำว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะออกไปในแนว Hallucinate ก็น่าจะพอได้ ??
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 09 ส.ค. 22, 09:35

ไม่รู้ว่าหิน Alabaster ภาษาไทยเรียกว่าอะไร   จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า " หินขาว" ค่ะ  ใครทราบช่วยบอกด้วย

ตัวอย่างหินขาวที่เอามาทำข้าวของต่างๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 09 ส.ค. 22, 09:36

โคมหินอลาบาสเตอร์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 09 ส.ค. 22, 09:42

ประติมากรรมชิ้นนี้น่าสนใจมาก  เลยนำมาให้คุณตั้งดู
คือหัวกับตัวทำจากหินคนละชนิด    ตัวเป็นหินอลาบาสเตอร์ ส่วนหัวน่าจะเป็นหินอ่อน
หินอลาบาสเตอร์ในรูปนี้ มันวาวราวกับพลาสติกเชียวนะคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 09 ส.ค. 22, 10:35

ไม่รู้ว่าหิน Alabaster ภาษาไทยเรียกว่าอะไร   จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า " หินขาว" ค่ะ  ใครทราบช่วยบอกด้วย

รัชกาลที่ ๖ ทรงแปล "Alabaster" ว่า "เศวตศิลา" (หินขาว)

เศวตศิลา พระราชทาน พระวันพฤกษ์พิจารณ (ทองคำ) ปลัดกรมป่าไม้ กับพระกรุงศรีบริรักษ์ (ทองย้อย) ปลัดมณฑลกรุงเก่า กระทรวงมหาดไทย เป็นบุตรนายเฮนรี อาลบาสเตอร์ (แปลนามสกุลเป็น "หินขาว")


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 09 ส.ค. 22, 10:35

หินอีกอย่างหนึ่งที่เอามาแกะสลักเป็นเครื่องใช้ต่างๆเรียกว่า Alabaster ซึ่งก็คือ แร่ Gypsum ที่เกิดในรูปแบบหนึ่ง  มีเนื้อละเอียด มีทั้งสีนวลทึบแสงและโปร่งแสง   

กล่าวถึงแต่หินอ่อนและ Travertine ที่ใช้นำมาใช้ในงานประติมากรรมต่างๆ    ลืมไปเลยครับ (เฒ่าจัด  เศร้า  ยิงฟันยิ้ม) ว่าประติมากรรมที่เราได้เห็นตั้งวางแสดงอยู่เหล่านั้น ก็มีอยู่ไม่น้อยเลยที่ทำจากหินที่เรียกว่า Alabaster    งานที่มีรายละเอียดมากๆ ที่ให้ความพริ้วและนุ่มนวลมากๆ ทั้งหลายน่าจะใช้หินขนิดนี้เหมือนกัน 
 

คำนิยามจาก อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา เล่ม ๑ และ อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา เล่ม ๒

alabaster (แอะ′เลอแบส′เต้อร)

(๑) จิ๊พเซิ้มเน้ือแน่นละเอียด และมีขนาดใหญ่มักเป็นสีขาวและโปร่งแสง แต่บางครั้งมีโทนสีอ่อนของสีเหลือง น้ำตาล แดง ส้ม หรือเทา ใช้เป็นหินตกแต่งภายใน (เช่นสำหรับแกะสลัก) และสำหรับประติมากรรม
(๒) onyx marble (ออ′หนิกสฺ มาร′เบิ้ล) มารเบิ้ลเน้ือแน่น มีแถบ โปร่งแสง (โดยทั่วไปประกอบด้วยผลึกแคลไซ้ท ไม่ใช่เออแระเกอไน้ท (aragonite)) ดูคล้ายออหนิกส โดยเฉพาะพวกแทระเวอทีนท่ีมี แถบขนาน สามารถนํามาขัด และใช้ทําเป็นวัสดุตกแตรงหรืองาน ด้านสถาปัตยกรรม มักทับถมจากสารละลายน้ําเย็น ในรูปหินงอก หินย้อยในถ้ำ

travertine (แทระ′เวอรทีน หรือ แทระ′เวอรเทิ่น)

(๑) การตกตะกอน ทางชีววิทยา และ / หรือการตกตะกอนของแคลเซี่ยมคารเบอเหนท (ส่วนใหญ่เป็นแคลไซ้ทฺ (calcite) และเอแระ′เกอไน้ทฺ (aragonite) ตกตะกอนจากน้ําบาดาล น้ําพุร้อนที่แทรกขึ้นมา และ / หรือน้ําที่อุณหภูมิปกติ ถ้าเป็นชนิดที่มีรูพรุนมาก หรือมี ช่องว่างมาก เรียกว่าา tufa (ทู′เฟ่อ), ดูเพิ่มเติม : onyx marble (ออ′หนิกสฺ มารฺ′เบิ้ล) คําพ้อง  : calcareous sinter (แคลเค′เรียส ซิน′เท่อรฺ) ; calc-sinter (แค้ลค ซิน′เท่อรฺ)
(๒) คําที่บางครั้งนําไปใช้กับการเกิดเป็นหินงอกหินย้อยในถ้ำของแคลเซี่ยมคารเบอเหนท
(๓) คําท่ีใช้อย่างไม่เหมาะสม เป็นคําพ้องของ kankar (แค้งค่าร) รากศัพท์ : ภาษาอิตาลี "travertino" มาจากภาษาภาษาละติน "lapis, tiburtinus - หินของ Tibur (Tivoli)"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 20 คำสั่ง