เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 7577 ถามคุณตั้งเรื่องหิน
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 ก.ค. 22, 12:24

สวัสดีครับอาจารย์ _/\_

หินสบู่ หรือ 冻石 ( จีนสำเนียงแต้จิ๋วจะออกเสียงประมาณ ตั้ง เจียะ) ไม่ใช่ รูปนี้ครับ


ผมเดาจากริ้วหินว่าน่าจะเป็น หินอ่อน ที่แปรมาจากหินปูนครับ
หินอ่อนที่เกิดในธรรมชาติปกติ จะไม่ขาวอย่างที่เมื่อก่อนบ้านเราสั่งซื้อจากอิตาลี
หินอ่อนจากอิตาลีเกิดภายใต้เงื่อนไขทางธรณีวิทยาที่ต่างกัน จึงมีเนื้อหินสีขาวหรือโทนสีอ่อนครับ
ถ้าจะให้แน่ใจก็ต้องลองเอามีดเหล็กกล้าขูดทดสอบ
และ หยดทดสอบด้วยกรดครับ  หินอ่อนจะเกิดเป็นรอยด่าง....
สมัยที่ผมเรียนวิชาธรณีวิทยา การพิสูจน์ทราบเป็นเรื่องสนุกสนานมากครับ

ผมลองใช้คำว่า 冻石 ค้นหาภาพบ้าง จะได้ภาพมาเป็น


พวก 冻石 จะทน ไม่สะทกสะท้านกรดครับ

แต่เราสามารถใช้มีดเหล็กกล้าแกะแต่งได้สบายครับ

บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 27 ก.ค. 22, 12:43

ส่วนตัว ผมมีความเห็นว่า คุณสมบัติของหินสบู่จากบางแหล่งหินในเมืองจีน

ที่มีคุณสมบัติเนื้อเนียน สีสม่ำเสมอดูเป็นเนื้อเดียวและโปร่งแสง ผิดจากหินธรรมชาติที่พบในบ้านเรา
ประกอบกับสมบัติที่หินสบู่ใช้มีดเหล็กกล้า แกะสลักหินได้ง่ายอย่างชี้ผึ้งแข็งๆ

จะเป็นที่มาของความเชื่อเรื่อง ศิลาเทียม หรือ เรื่องการหล่อศิลาเทียม ในเอกสารเก่าครับ.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 ก.ค. 22, 13:38

คุณนามแปลงอธิบายเรื่องหิน ชวนให้อยากถามต่อไปเรื่อยๆ
ศิลาเทียม คืออะไรคะ

ขอถามอีกนิด คืออาจจะอธิบายกันแล้วในกระทู้นี้ แต่ดิฉันเป็นคนไม่มีหัวเรื่องหิน  ต้องฟังซ้ำหลายครั้งถึงจะเข้าใจ
ขอถามว่ายักษ์วัดโพธิ์ข้างล่างนี้ ทำด้วยหินอะไร   ใช้แกะสลักจากหินแท่งเดียวเลยหรือคะ


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 ก.ค. 22, 16:07

อาจารย์ครับ ผมขอสารภาพก่อนว่า ผมไม่ได้สนใจเรื่องตุ๊กตาหินมาแต่แรกครับ

ด้วยเห็นมีครูอาจารย์ท่านศึกษาอยู่แล้วหลายท่าน

ชาวบ้านอย่างผมรู้ไป พูดไป เค้าก็ไม่ฟัง เขียนอะไรไปรางวัลก็ไม่มี

ซ้ำยังมีประสบการณ์ที่คนสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยมาลอกไปเป็นผลงานวิชาการ
แล้วยังประกาศว่าตัวเองรู้จริงอย่างไร้ยางอาย  ทั้งที่อายุก็ไม่น้อยแล้ว....

เหตุนี้ผมจึงไม่ได้ใส่ใจครับ

( ขอโทษนะครับ ที่เสียมารยาท ปล่อยระบายไป... )

......

สมัยที่ผมพบคำว่า ศิลาเทียม ครั้งแรก ผมนึกไปถึง พลาสติก ครับ

แต่พอไปตามประวัติพลาสติก ก็พบว่า Alexander Parkes ท่านเพิ่งจะทดลองพบวิธีการสังเคราะห์พลาสติกในห้องทดลองได้เมื่อ ปี 1862 ซึ่งกว่าจะปรับวิธีการรายละเอีดจนมาผลิตทางอุตสาหกรรมก็คงอีกหลายปี และก็คงยังมาไม่ถึงบ้านเรา

ประกอบกับหากพิจารณาวิธีทางอุตสาหกรรม ที่การหลอมพลาสติกต้องมีโมลด์ หรือแม่พิมพ์
ที่จะคุ้มต่อเมื่อมีการหล่อซ้ำจำนวนมากเท่านั้น เป็นอ้นว่า
ผมตัดเรื่องพลาสติกหล่อตุ๊กตาหินเทียมเพียงตัวเดียวออกจากหัวเลยครับ

พอตัดเรื่องพลาสติกออก ก็มาเรื่องขี้ผึ้ง(แท้) ที่ไม่เสถียร จะหลอมเหลวล้มเมื่อใดก็ไม่รู้...

สุดท้ายผมจึงมาจบเรื่อง ศิลาเทียม

ที่ผมเข้าใจเองว่า น่าเป็นการทำ ตุ๊กตาหิน ที่ผลิตจากหินสบู่ดังที่เรียนข้างต้นครับ
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 27 ก.ค. 22, 16:23

ยักษ์ตัวใหญ่ ที่เป็นทวารบาลของวัดโพธิ์ เป็นหินแกรนิต ครับ

คนจีนท่านเลือกใช้แกรนิตที่เกรน หรือเนื้อหินแทรกชนิดเม็ดเล็ก และก้อนหินแลออกเหลื่อมเขียวๆ
ท่านเรียก ชิงสือ ( 青石 = หินเขียว) ครับ

ทวารบาลตัวใหญ่ที่วัดโพธิ์ จะเห็นรอยต่อ 2 - 3 รอย หรือเป็นหินมาต่อกัน 3 - 4 ชิ้นครับ

และส่วนใหญ่อาวุธประจำกาย จะเป็นหินต่างหากที่นำมาสอดใส่ช่องที่มือเอาภายหลังครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 27 ก.ค. 22, 17:55

สวัสดีครับ
 
ต้องขออภัย อ.เทาชมพู และสมาชิกทุกท่านด้วยครับ   ไม่ได้เข้ากระทู้เลยด้วยไม่มีความพร้อมทางเทคนิคเพียงพอครับ

เพิ่งกลับมาจาก ตจว.  หลบไปหาความสุขกับความเรียบง่ายของการดำเนินชีวิตในพื้นที่ไกลปืนเที่ยงมาครับ ได้กินอาหารแบบพื้นๆ สดใหม่ ซื้อเขาบ้าง ทำกินเองบ้าง  ได้นอนหลับสบายกับความเงียบ หรือกับเสียงฝนฟ้า และเย็นสบายกับสภาพอากาศที่ไม่ต้องใช้แอร์   

ไปคราวนี้ก็ได้เรียนรู้วิถีชาวบ้านยุคปัจจุบันที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย ก็จะหาช่องเล่าสู่กันฟังครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 27 ก.ค. 22, 19:10

ผมเห็นว่า ความต่างๆที่ได้ขยายผ่านนมาของกระทู้นี้ นั้น  ได้ให้ข้อมูลและความรู้ที่น่าสนใจต่างๆอยู่มากพอสมควรเลยทีเดียว  ผมจะขอขยายความเพิ่มเติมอีกเพียงเล็กน้อย

จากคำถามแรกของกระทู้ ว่า "agalmatolite ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก หินฮ่วยเส่งง้ำ ไหมคะ  ในแหล่งอ้างอิงบอกว่าเป็นหินสีเขียวอมเทา มีมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น   
ลักษณะพิเศษของหินคือ เมื่อขุดขึ้นมาใหม่ๆ เนื้อยังอ่อน   สามารถแกะสลักได้ง่าย  แกะแล้วทิ้งตากแดดตากลมไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ จะแข็งตัวเป็นหินเนื้อแข็ง  ผ่านไปเป็นร้อยปีก็ยังไม่แตกพัง"

ชื่อ Agalmatolite นี้สะดุดหูผมตั้งแต่ครั้งยังอยู่ญี่ปุ่น เพราะปรากฎอยู่ในคำบรรยายสินค้าบางอย่างของเกาหลี  ก็ด้วยที่มีคำที่ลงท้ายด้วย " ite" ซึ่งมักจะหมายถึงชื่อแร่ จึงไปค้นหาความรู้เพิ่มเติม ก็เลยได้รู้ว่ามันเป็นชื่อของแร่ดิน (Clay minerals) อย่างหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติเนื่ออ่อน มีความแข็งน้อยกว่าเล็บมือ มีผิวลื่น  ซึ่งแร่หรือหินที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ พวกนักธรณีฯพวกที่ทำงานประเภทการสำรวจ  นิยมจะเรียกชื่อรวมๆแต่แรกพบว่า หินสบู่ (soap stone) ก่อนที่จะนำตัวอย่างกลับไปวิเคราะห์ว่าเป็นแร่ดินตัวใดกันแน่   
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 27 ก.ค. 22, 20:46

อุ้ย....

ขอโทษครับ.  Clay mineral หมายถึงแร่อยู่ใน สถานะของ Clay หรือ ดิน  ครับ

ดิน ที่เปียกน้ำก็จะเหนอะหนะ  แต่เวลาแห้งก็จะจับตัวเป็นก้อนที่พร้อมจะแตกร่วนครับ

ท่านนิยามดิน ไว้ว่า

Clay is a very fine-grained geologic material that develops plasticity when wet, but becomes hard, brittle and non–plastic upon drying.

Clay mineral  ไม่มีสถานะของหินครับ.

.

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 ก.ค. 22, 09:05

สวัสดีค่ะ คุณตั้ง
ขอต้อนรับกลับมาเรือนไทยอีกครั้ง  หายไปนานจนดิฉันนึกว่าไม่สบาย   พบว่าสุขสบายดี ได้ไปเที่ยวและพักผ่อนก็ดีแล้วค่ะ
คุณตั้งจะตั้งกระทู้ใหม่ คุยกันเรื่องหิน ก็ได้นะคะ
อยากรู้ว่าหินที่เขาเอามาทำสิ่งต่างๆในประเทศไทยมีอะไรบ้าง  ประเภทงานศิลปะ นอกจากตุ๊กตาหินสบู่ในวัดพระแก้ว  มีอะไรอีกไหม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 ก.ค. 22, 18:40

อยากรู้ว่าหินที่เขาเอามาทำสิ่งต่างๆในประเทศไทยมีอะไรบ้าง  ประเภทงานศิลปะ นอกจากตุ๊กตาหินสบู่ในวัดพระแก้ว  มีอะไรอีกไหม

ในส่วนของหินอ่อน หินทรายแดง หินทรายขาว หินชนวน หินอ่อน นำมาสลักเป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูปได้ และใบเสมาครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 ก.ค. 22, 19:16

สวัสดีคุณหนุ่มสยาม ค่ะ   นานๆจะมีเวลาแวะมาสักที   
ดิฉันอ่านของคุณข้างล่างนี้
ในส่วนของหินอ่อน หินทรายแดง หินทรายขาว หินชนวน หินอ่อน นำมาสลักเป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูปได้ และใบเสมาครับ
แล้วอยากจะเห็นพระพุทธรูปหินอ่อน  เลยไปค้นกูเกิ้ล เจอแต่ประกาศขายพระใหม่เต็มไปหมด
เลยอยากรู้ว่าพระพุทธรูปของเก่าที่ทำจากหินอ่อนมีไหมคะ    ไม่ต้องเก่าถึงอยุธยา  เก่าสัก 100 ปีก็พอ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 ก.ค. 22, 19:40

คำนิยามของคำว่า clay ที่กล่าวถึงนั้น เป็นการอธิบายในด้านของขนาดของวัสดุที่ประกอบกันเป็นตัวเนื้อดิน วัสดุเหล่านั้นเกือบทั้งหมดจะเป็นแร่หรือหินขนาดเล็กมากๆ ซึ่ง   หนึ่งในวัสดุที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเหล่านั้น ก็คือแร่กลุ่มหนึ่งที่ทำให้ดินแต่ละแห่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป เช่น การบวมน้ำ (เพราะมีแร่ในกลุ่ม Smectite โดยเฉพาะแร่ Montmorillonite ผสมอยู่มาก)  เนื้อแน่นเหนียวที่เรียกว่า ball clay (เพราะมีแร่ในกลุ่ม Kaolin โดยเฉพาะแร่ Kaolinite ผสมอยู่มาก) หรือมีโครงสร้างที่สามารถอุ้มธาตุที่เป็นอาหารของพืชบางอย่างได้ดี (แร่ Illite ?)     ดินในพื้นที่ต่างๆจะมี Clay minerals หลายชนิดผสมรวมกันอยู่ในสัดส่วนมากน้อยต่างกันไป    

Clay minerals เป็นชื่อเรียกอย่างหลวมๆของแร่กลุ่มหนึ่งที่มีโครงสร้างการจับตัวของอะตอมในลักษณะเป็นแผ่นเรียงทับกัน (Phyllosilicate minerals)   ที่เรียกกันเช่นนี้ก็คงจะเป็นเพราะว่า ในเนื้อดินนั้นจะมีแร่ในกลุ่มนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ในปริมาณมาก  แล้วก็อาจจะด้วยเพราะว่า ดินนั้นมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับวิถีชีวิตของมนุษย์และสัตว์โลก ก็จึงมีการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับ Clay minerals ค่อนข้างมาก ก็มากพอที่ห้องสมุดจะจัดแยกงานทางวิชาการเกี่ยวกับ Clay minerals ออกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ และจำแนกออกเป็นเรื่องๆไป เช่น เรื่องของการกำเนิดและการสะสมตัวกันเป็นแหล่งทรัพยากร  เรื่องขององค์ประกอบของธาตุในตัวเนื้อแร่ที่ส่งผลบวกหรือลบต่อการนำไปใช้งาน  เรื่องของการปรับหรือแปรดินนั้นๆให้สามารถสนองการใช้ประโยชน์ได้ ฯลฯ

ด้วยความหลากหลายของเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของดิน ก็เลยตามมาด้วยชื่อเรียกกันที่มีลักษณะเป็นสมหุหนามอย่างหลากหลาย มักจะสื่อความหมายให้แต่ละคนเข้าใจต่างกันไป
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 ก.ค. 22, 20:00

ถ้า คุณ naitang ยืนยันว่า Agalmatolite เป็นเรื่อง Clay mineral

ผมคิดว่าผมไม่มึความรู้พอ

ขอโทษครับที่ด่วนเข้ามาแสดงความเห็น ตื้นเขิน

ขอคืนกระทู้ให้คุณ naitang และ อาจารย์สนทนาเรื่องหินสบู่ หรือหินอื่นๆ กันต่อเลยครับ. ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 ก.ค. 22, 20:27

อย่าเพิ่งรีบร้อนไปเลยค่ะ คุณนามแปลง 
ดิฉันไปค้นความหมายของ  agalmatolite  มาจากพจนานุกรม หลายแห่ง

Merriam-Webster  ให้คำจำกัดความว่า   a soft compact stone of a grayish, greenish, or yellowish color, sometimes stained, carved into images or miniature pagodas by the Chinese


Collins English Dictionary   บอกว่า a soft, greenish, greyish or yellowish mineral, thought to be a variety of pinite, known particularly for its use by the Chinese for carving 
ยังบอกด้วยว่า เรียกอีกชื่อว่า pagodite 

บางแห่งระบุว่า เป็นหิน  บางแห่งก็เรียกว่า เป็นแร่   

ส่วน CLAY MINERALS แปลเป็นไทยว่า แร่ดิน 

เดี๋ยวรอคุณตั้งมาอธิบายดีกว่าค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 ก.ค. 22, 20:45

คำนิยามจาก อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา

agalmatolite (แอ๊ะเกิลแม′เทอไล้ทฺ) หินมีเนื้อค่อนข้างอ่อน คล้ายขี้ผึ้ง เช่น พีไน้ท (pinite) ไพโรฟิไล้ท (pyrophyllite) หรือ สตีไท้ท (steatite) มีเฉดสีเทา เขียว เหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งชาวจีน มักใช้ทำเป็นหยกเทียมสาหรับแกะสลักภาพขนาดเล็ก แกะสลัก เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก และรูปเหมือนอื่น ๆ คำพ้อง : pagodite (เพอโก′ได๊ท); lardite (ลารฺ′ได๊ทฺ); lard stone (หลารฺด สโตน′); pagoda stone (เพอโก′เด้อ สโตน′)

clay mineral (เคล มิ′เนอเริ่ล) แร่ที่เกิดในขนาดเท่าตะกอนเคลในชั้นดิน สารแขวนลอย หรือหิน ด้วยมีความเข้าใจว่า ขนาดเป็นตัวกำหนดลักษณะทางกายภาพ และทางเคมี เช่น มีคุณสมบัติของการเร่งปฏิกิริยาและยืดหยุ่น อย่างไรก็ตาม แร่ต่าง ๆ ที่มีลักษณะเช่นน้ี ส่วนใหญ่จะมีไฮเดริส เออะลูเมอโนสิเลอเขทส (hydrous aluminosilicates) หรือฟิโลสิเลอเขทส (phyllosilicates) ๑:๑ หรือ ๒:๑ กับส่ิงยกเว้นท่ีส้าคัญ เช่น ไฮเดรเถิด อ็อกไซดส (hydrated oxides) ของเหล็ก และเออลูเมอเนิ่ม ซีเออไล้ท และอื่น ๆ อีก ๒-๓ ประการ แร่ดินที่ส้าคัญ ได้แก่แร่ในกลุ่มคลอไร้ท (chlorite) อิไล้ท (illite) เคเออเลิ่น (kaolin) หรือ สเม็คไท้ท (smectite) หรือเป็นช้ันผสมกันของแร่ดินท่ีเกิดจาก ส่วนประกอบเหล่านี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง