เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 7346 ถามคุณตั้งเรื่องหิน
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 29 ก.ค. 22, 10:28

สวัสดีคุณหนุ่มสยาม ค่ะ   นานๆจะมีเวลาแวะมาสักที    
ดิฉันอ่านของคุณข้างล่างนี้
ในส่วนของหินอ่อน หินทรายแดง หินทรายขาว หินชนวน หินอ่อน นำมาสลักเป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูปได้ และใบเสมาครับ
แล้วอยากจะเห็นพระพุทธรูปหินอ่อน  เลยไปค้นกูเกิ้ล เจอแต่ประกาศขายพระใหม่เต็มไปหมด
เลยอยากรู้ว่าพระพุทธรูปของเก่าที่ทำจากหินอ่อนมีไหมคะ    ไม่ต้องเก่าถึงอยุธยา  เก่าสัก 100 ปีก็พอ

พระหินอ่อนพบหลายองค์ที่รัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากกรุงศรีอยุธยาประดิษฐาน ณ ​พระเศวตกุฎาคารวิหารยอด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และยังมีพระพุทธเทววิลาส วัดเทพธิดาราม ที่รัชกาลที่ 3 อัญเชิญจากพระบรมมหาราชวังมาประดิษฐานที่วัดครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 29 ก.ค. 22, 11:04

ไปหารูปมาดูเลยค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 29 ก.ค. 22, 19:12


......บางแห่งระบุว่า เป็นหิน  บางแห่งก็เรียกว่า เป็นแร่   
 

จะเรียกว่าอะไรก็ถูกทั้งหมดครับ  ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุตัวนี้  หากมองในเชิงของวัสดุที่สามารถเอาออกมาได้เป็นก้อนและใช้ประโยชน์จากมันได้เลย ก็คงหนีไม่พ้นจากการเรียกมันว่า เป็นหิน แต่หากต้องเอามันมาทุบแต่งแยกเอาส่วนที่ไม่ใช่ตัวมันออกไป หรือต้องเอามาแปรสภาพรูปร่างของมันก่อนที่จะสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้ ก็คงจะต้องเรียกมันว่า แร่

ในมุมทางวิชาการ  บนข้อเท็จจริงว่า เนื้อของหินต่างๆจะประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ  ซึ่งแร่ธาตุเหล่านั้นต่างก็จะแปรเปลี่ยนไปทั้งในด้านองค์ประกอบทางเคมี โครงสร้างภายใน รูปทรง และคุณสมบัติต่างๆ กลายไปเป็นแร่ชนิดอื่น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ  เป็นการแปรไปตามสภาพของสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะจากผลของ temperature, pressure, pH, Eh, น้ำแร่ร้อน (hydrothermal)    ซึ่งทำให้แร่หลายตัวในเนื้อหินได้ถูกแปรไปเป็นแร่ชนิดอื่นๆที่ต่างไปจากเดิม บ้างก็เกิดเป็นพื้นที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งหากรวมกันใหญ่มากพอจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ก็จะกลายเป็นแหล่งแร่ในมุมมองของความเป็นทรัพยากร   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 30 ก.ค. 22, 19:23

dickite เป็นแร่ดินชนิดหนึ่งในกลุ่มแร่ดิน Kaolinite  พบและมีการทำเหมืองในพื้นที่รอยต่อ อ.บ้านนา จ.นครนายก กับ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี  มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าและอีกด้านหนึ่งในทางศิลปกรรมการแกะสลักหิน

ประเด็นน่าสนใจก็คือ บรรดาหินแกะสลักที่วัดพระพุธบาท อ.พระพุธบาท จ.สระบุรี นั้น มาจากแหล่งใด   อ่านพบอยู่ว่ามีการย้ายมาจากอยุธยาในสมัย ร.7  และว่าเป็นของทำขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เคยตั้งอยู่ที่วัดไชยวัฒนาราม ต.บ้านป้อม ในเขตเมือง จ.อยุธยา

เลยลองโยงไปถึงแหล่งแร่ Talc ที่เรียกว่า หินสบู่ อยู่ที่ บ.คุ้งตะเภา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์  ซึ่งก็เป็นสถานที่ๆมีวัดเก่าแก่ชื่อวัดคุ้งตะเภา นัยว่าสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา และมีการสถาปนาโดยพระเจ้าตากสิน

ก็ยังอ่านไปพบว่า บางพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง ก็พบงานแกะสลักที่ใช้หินประเภทนี้ประกอบอยู่ด้วย

ก็เลยทำให้เกิดปุจฉาอยู่หลายๆเรื่องในประเด็นต่างๆ เช่น ในเรื่องของสินค้าระหว่างไทย-จีน  เรื่องของหินอับเฉาเรือ  เรื่องของการพบและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติของเราในอดีต ....ฯลฯ


   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 31 ก.ค. 22, 18:24

การจะติดตามว่าหินที่เป็นพวกแร่ดินที่เอามาแกะสลักเหล่านั้นว่าควรจะมาจากแหล่งใด เป็นงานที่ไม่ยากและก็ไม่ง่ายจนเกินไป เพราะว่าแหล่งที่มีในปริมาณที่ค่อนข้างมากพอที่จะไปขุดเอามาทำประโยชน์ได้นั้น ค่อนข้างจะมีเงื่อนไขทางธรณีฯที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้สามารถใช้เทคนิควิธีการ เช่น การเทียบเคียงอายุของตัวแร่หินนั้น องค์ประกอบทางเคมีหลักและ Trace elements ต่างๆ  คุณสมบัติทางฟิสิกส์  รวมทั้งตัวบ่งชี้อื่นๆ  เหล่านี้ เมื่อเอาผลมาเทียบเคียงกับแหล่งที่มีการดำเนินการในอดีตกาลหรือที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน ก็พอจะบอกอะไรๆได้   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 31 ก.ค. 22, 18:48

ในเว็บของ mindat.org ได้ให้ข้อมูล (ที่ไม่ยืนยันในความถูกต้อง) ว่า พบแหล่งแร่/หิน Agalmatolite ในกัมพูชา ในพื้นที่จังหวัด Kampong Chanag และที่ตำบล Trasey ในจังหวัด Pursat

ก็น่าทราบไว้เป็นข้อมูลดิบ เผื่อจะมีประโยชน์ หรือมีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในภายหน้า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 31 ก.ค. 22, 20:03

ขอตอบ อ.เทาชมพู ก่อนที่จะลืมไป    หินที่เอามาแกะสลักในไทยนั้น อีกอย่างหนึ่งที่ใช้กัน ก็คือ หินสี หรือแร่ Fluorite  แหล่งสำคัญอยู่ในพื้นที่ อ.ลี้ จ.ลำพูน  จึงทำให้พบเห็นพระพุทธรูปแกะจากแร่นี้ค่อนข้างมากในพื้นที่  ที่รู้แน่ๆก็คือดูจะเป็นของรุ่นใหม่เกือบทั้งนั้น  แต่ก็เชื่อว่าน่าจะมีที่เป็นของโบราณจริงๆอยู่เช่นกัน  หินสีหรือแร่ฟลูออไรต์นี้มีความแข็งประมาณ 4 น้อยกว่าเหล็กที่มีความแข็งประมาณ 5 ของมาตรา Moh 

เคยแต่เห็นพระองค์เล็กขนาดประมาณนิ้วมือ ที่เขาว่าเป็นของเก่าแก่แต่โบราณ  พบในกรุสมัยเชียงแสนก็มี ในสมัยลำพูนก็มี    ก็ได้เคยสัมผัสและพิจารณาตามความรู้เท่าที่มี(หน้างาน) คิดว่าน่าจะแกะมาจากแร่ Quartz  ที่เรียกว่า 'โป่งข่าม' ซึ่งเป็นของที่ดูจะพบมากในย่านนั้น (อ.เถิน จ.ลำปาง)   

หากเป็นของเก่า และใช้แร่ Quartz แกะสลักจริงๆ  ก็น่าสนใจต่อไปอีกถึงเครื่องมือและวิธีการทำ   แร่หรือหิน Quartz นี้มีความแข็งประมาณ 7 มากกว่าเหล็ก การจะทำเป็นรูปทรงใดๆน่าจะหนีไม่พ้นการใช้ทรายละเอียด (ขนาด Silt sized) ในการขัดแต่ง

หินอีกอย่างหนึ่งที่นำมาใช้กันก็คือ Tufa (Calcium carbonate ที่ตกตะกอนใหม่)   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 31 ก.ค. 22, 20:35

มาตรา Moh

ว่าด้วยเรื่อง มาตราวัดความแข็งของโมส (Mohs hardness scale)

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 01 ส.ค. 22, 18:23

นานๆเชียนเลยกลายเป็น Moh ไม่มี s  ขออภัยครับ   

Mohs scale of hardness นี้เป็นเรื่องแรกๆที่ต้องจำในการเรียนวิชาแร่ (Mineralogy)   หลักการก็คือ ของที่มีความแข็งกว่าจะสามารถขีดข่วนให้เกิดร่องรอยบนของที่มีความแข็งน้อยกว่า โดยที่มาตรนี้ใช้ความแข็งของผลึกแร่ที่เกิดตามธรรมชาติเป็นมาตรฐานอ้างอิง       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 01 ส.ค. 22, 19:20

กระโดดมาเรื่องปฏิมากรรมที่ใช้หินแกรนิต 

ต้องบอกล่าวแต่แรกว่า  โดยส่วนตัวแล้วได้เห็น/สัมผัสน้อยมากกับหินที่เป็นปฏิมากรรมรวมทั้งหินที่ใช้ปูพื้นสถานที่  เกือบจะไม่เคยให้ความสนใจลึกลงไปในเชิงของวิชาการทางหิน (Petrography) ที่เรียกว่าหินแกรนิตเหล่านั้น    สาเหตุส่วนหนึ่งก็เพราะทำไม่ได้ หากจะทำก็คงจะต้องถูกห้าม หรือไม่ก็ถูกมองว่าการกระทำนั้นๆเป็นไปในทางที่ไม่ดี  เพียงลูบๆคลำๆและใช้กล้องส่องพระ (hand lens) แนบส่องเนื้อแร่ประกอบหิน ก็คงเห็นเป็นผู้มีสติเฟื่องไปแล้ว   แต่ก็เชื่อว่าในทางราชการ  ในทางประวัติศาสตร์/โบราณคดี  น่าจะได้เคยมีการแสวงหาข้อมูลลึกลงไปมากกว่าการใช้แต่เพียงคำว่า หินแกรนิต    ปฏิมากรรมต่างๆดูจะมีทั้งหินที่เรียกว่า Granite,  Andesite และ Diorite  และก็อาจจะมีหินอื่น ? อีกด้วย   

ประเด็นน่าสนใจสำหรับผมก็คือ ลักษณะของเนื้อหิน แร่ประกอบหิน ....ฯลฯ ของหินประเภทนี้ น่าจะพอบอกได้ถึงแหล่งหิน แหล่งผลิต ....ฯลฯ   

ยังนึกไปถึงปฏิมากรรมรูปยักษ์ด้วยว่า จีนก็มีวรรณกรรมเรื่องเกี่ยวกับยักษ์มากพอที่จะแกะสลักรูปทรงตัวแทนยักษ์ ? 

ขออภัย หากจะสติเฟื่องมากเกินไป ครับ  ยิงฟันยิ้ม 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 02 ส.ค. 22, 09:17

ค้นหาประติมากรรมแกะสลักจากหินแกรนิต  ไปเจอหน้าประธานาธิบดี 4 คนของอเมริกาที่เขา Rushmore รัฐ South Dakota ค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 ส.ค. 22, 18:54

หินแกรนิต เป็นหินอัคนีที่เกิดมาจากการเย็นตัวของหินหลอมละลายส่วนบนใต้ผิวโลก  เนื้อหินประกอบไปด้วยเม็ดแร่ Quartz (แร่เขี่ยวหนุมาณ สีขาวใส) และแร่ Feldspar (หินฟันม้า สีขาวขุ่นหรือสีชมพู) เป็นหลัก  มีแร่อื่นปนอยู่ด้วยในปริมาณต่างๆกัน เช่น แร่ Mica (Muscovite สีขาว ฺBiotite สีดำ), แร่ Hornblende (สี Greenish brown เข้ม) และอาจมีแร่อื่นๆปะปนอยู่ประปราย เช่น แร่ Garnet (โกเมน)  แร่ Apatite  แร่ Zircon (เพทาย)

หินแกรนิตตามธรรมชาติมีได้หลายสี ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของแร่ที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อหิน เช่น ออกเป็นโทนสีขาว เพราะแร่ Feldspar เป็นชนิด Plagioclase    ออกเป็นสีชมพูหรือแดง เพราะแร่ Feldspar เป็นชนิด Orthoclase   หรือออกเป็นสีเขียว เพราะปริมาณแร่ Hornblende ....

ตัวอย่างของความยุ่งยากในการเรียกชื่อ ก็เช่น หากในเนื้อหินมีสัดส่วนของ Plagioclase feldspar มากกว่า Orthoclase feldspar ก็จะเรียกชื่อหินนั้นว่า Granodiorite   ฮืม  เศร้า

แถมหินที่มีองค์ประกอบของแร่เหมือนๆกัน หากมีกระบวนการกำเนิดต่างกัน (เกิดเหนือผิวโลก หรือเกิดใต้ผิวโลก) ก็มีชื่อเรียกต่างกันไปอีก ดังภาพ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 ส.ค. 22, 19:03

ภาพไม่ไปครับ ลองอีกครั้ง

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 02 ส.ค. 22, 19:34

ไม่เป็นไรครับ  เพียงเพื่อจะใช้ประกอบการให้ความเห็นว่า  ชื่อที่เราใช้เรียกอะไรต่างๆนั้น มักจะมีลักษณะในเชิงของ collective noun ร่วมอยู่ด้วยเสมอ  ดังนั้น หากเราได้ทำความรู้จักลึกลงไปในรายละเอียดแล้ว เราก็น่าจะพอรู้ได้ถึงตัวตนที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆ และแหล่งที่มาของมัน   ในกรณีของวัตถุตามธรรมชาติ เราก็มีโอกาสและความสามารถที่จะตามไปถึงต้นตอที่อยู่ของมันได้   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 02 ส.ค. 22, 19:35

หินแกรนิต เป็นหินอัคนีที่เกิดมาจากการเย็นตัวของหินหลอมละลายส่วนบนใต้ผิวโลก  เนื้อหินประกอบไปด้วยเม็ดแร่ Quartz (แร่เขี้ยวหนุมาณ สีขาวใส) และแร่ Feldspar (หินฟันม้า สีขาวขุ่นหรือสีชมพู) เป็นหลัก  มีแร่อื่นปนอยู่ด้วยในปริมาณต่างๆกัน เช่น แร่ Mica (Muscovite สีขาว Biotite สีดำ), แร่ Hornblende (สี Greenish brown เข้ม) และอาจมีแร่อื่นๆปะปนอยู่ประปราย เช่น แร่ Garnet (โกเมน)  แร่ Apatite  แร่ Zircon (เพทาย)

ภาพจาก geologyin.con


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง