เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 165 เมื่อ 29 ส.ค. 22, 19:14
|
|
หมายความว่าเทพธิดาควอตซ์ อาจถูกย้อมสีชมพูหรือคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 166 เมื่อ 29 ส.ค. 22, 19:21
|
|
ผมใช้คำว่าการทำสีก็เพราะว่า การเปลี่ยนสีของพวกก้อนหินหรือแร่ที่เอามาทำเป็นเครื่องประดับนั้น กระทำได้ 2 วิธี ด้วยวิธีการย้อมสี (Dyed treatment) ด้วยวิธีการใช้ความร้อน (Heat treatment)
กำลังเข้าไปในเรื่องของศาสตร์ทางอัญมณีวิยา ? (Gemology) ซึ่งผมไม่มีความรู้มากพอที่จะขยายและขมวดความอย่างง่ายๆให้ดีพอ รู้เพียงว่าการย้อมสีนั้นทำได้แม้กระทั่งใช้สีย้อมผ้าและทำได้ด้วยตัวเอง หลักการหนึ่งที่ใช้กันก็คือ ใช้วิธีการทำให้มันเกิดรอยร้าว (cracks หรือ shattered ??) ด้วยกระบวนการทำให้มันร้อนแล้วเย็นตัวเร็ว (Quenching) เหมือนกับที่เราทำแก้วร้าวด้วยการใส่น้ำร้อน เทออก แล้วใส่น้ำเย็นลงไปในทันที แช่น้ำสี เมื่อแห้งแล้วก็ขัดผิวให้สะอาด ใช้น้ำมันที่มีดรรชนีการหักเหของแสง (Refractive index) ที่เหมาะสม เคลือบผิว มันก็จะไปกลบเกลื่อนร่องรอยแตกทั้งหมด (ทำให้ไม่เห็น)
สำหรับวิธีการใช้ความร้อนนั้น เรียกกันว่า การเผาพลอย เป็นการเผาเพื่อให้ได้สีของพลอยตามต้องการ ความหมายของคำว่าพลอยนี้ มืได้เจะจงลงไปว่าจะต้องเป็นพลอยในตระกูล Corundum (เพื่อให้ได้ไพลินสีเข้มสวย _Blue Sapphire หรือให้ได้สีแดง _Ruby จัด) แร่ Quartz ก็มีการเอามาเผาเช่นกัน เช่น การเอา Quartz สีม่วง (Amethyst) มาเผาเพื่อให้เป็น Citrine สีเหลืองคล้ายบุษราคำ (Topaz) หรือคล้ายพลอยน้ำบุษ (Yellow sapphire) ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 167 เมื่อ 29 ส.ค. 22, 19:54
|
|
หมายความว่าเทพธิดาควอตซ์ อาจถูกย้อมสีชมพูหรือคะ
ไม่หรอกครับ คงผ่านการตรวจสอบโดยละเอียดมาหลายรอบแล้ว Quartz สีชมพูที่เป็นผลึกแฝดที่สมบูรณ์จัดอยู่ในเกณฑ์ที่พบได้ยาก ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 168 เมื่อ 30 ส.ค. 22, 09:16
|
|
เอาเครื่องประดับควอตช์สีชมพูมาให้ดูอีกค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 169 เมื่อ 30 ส.ค. 22, 09:44
|
|
จำได้ว่าคุณตั้งพูดถึงอุลก(ะ)มณี tektite อยากฟังค่ะว่าเป็นหินหรือแร่ชนิดไหน ที่ว่าเป็นอุกกาบาต จริงหรือไม่คะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 170 เมื่อ 30 ส.ค. 22, 17:58
|
|
เอาเครื่องประดับควอตช์สีชมพูมาให้ดูอีกค่ะ
ทั้งสองชิ้นนี้เป็นของจริงที่สวยงามมาก รู้ได้เลยว่าเป็นของจากธรรมชาติแท้ๆ โดยดูจากความขุ่นของเนื้อของมัน ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 171 เมื่อ 30 ส.ค. 22, 18:36
|
|
จำได้ว่าคุณตั้งพูดถึงอุลก(ะ)มณี tektite อยากฟังค่ะว่าเป็นหินหรือแร่ชนิดไหน ที่ว่าเป็นอุกกาบาต จริงหรือไม่คะ
Tektite จัดเป็นหิน ครับ เป็นวัตถุที่เกิดจากการที่มีวัตถุแปลกปลอมจากอวกาศตกกระทบผิวโลกดวยความแรงมากๆ มากจนทำให้เกิดการหลอมละลายของหินบนผิวโลก ณ จุดที่มันตก ของเหลวร้อนที่เกิดจากหินหลอมละลายเหล่านั้นได้กระเด็นลอยขึ้นไปในอากาศ เป็นก้อนๆ คล้ายกับการเอาก้อนหินปาลงไปในน้ำหรือในดินโคลน ทำให้น้ำหรือดินกระเด็นลอยขึ้นมาแล้วตกเป็นวงรอบจุดที่หินกระทบโคลน ของเหลวที่เกิดมาจากการหลอมละลายของหินดินทรายนั้นเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็วในอากาศ ก็ตกกลับลงมาสู่พื้นโลกในลักษณะเดียวกัน เนื้อของ Tektite ก็จึงมีลักษณะเป็นแก้วเพราะเกิดมาจากกระบวนการ Quenching (เสมือนการเอาทรายไปหลอมจนละลายเหลวแล้วทำให้มันเย็นตัวโดยเร็วเพื่อทำให้เป็นแก้วหรือกระจก)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 172 เมื่อ 30 ส.ค. 22, 19:27
|
|
Tektite เป็นหิน แต่เมื่อเอามาตัด เอามาขัด เอามาเจียรนัย ทำเป็นเครื่องประดับ Tektite ส่วนมากจะมีเนื้อเป็นสีดำ แต่ที่มีสีออกไปทางสีเขียวขี้ม้าก็มี ก็เลยมีชื่อเรียกว่า อุลกมณี แต่ก็มีการเรียกในชื่ออื่นๆ เช่น สะเก็ดดาว และอื่นๆ
ในไทยเรา หิน Tektite ส่วนมากจะพบในพื้นที่อิสานใต้ย่าน จ.อุบลฯ บุรีรัมย์ สุรินทร์ Tektite ในไทยเป็นของที่เกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 7-8 แสนปีที่แล้ว
ผมมีความเห็นในมุมหนึ่งว่า Tektite นี้ อาจจะเป็นของที่น่าจะเป็นประเภทของสะสมได้ในมุมของๆหายาก โดยสะสมในด้านของรูปทรงต่างๆที่มันเกิดมาตามธรรมชาติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 173 เมื่อ 31 ส.ค. 22, 08:56
|
|
แหวนอุลกมณีแบบไม่ได้เจียระไน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 174 เมื่อ 31 ส.ค. 22, 18:29
|
|
ย้อนกลับไปที่ คห.155
จะเห็นชื่อแร่ในตระกูลแร่ควอทซ์ชนิดต่างๆ บ้างก็เรียกชื่อตามสีที่ปรากฏ บ้างก็มีชื่อเป็นการเฉพาะตัว ทั้งหมดล้วนเป็นสารประกอบ Silicon dioxide เหมือนๆกัน ต่างกันไปที่มีธาตุอื่นใดอยู่ในเนื้อบ้าง (impurities) วิธีการเกิดบ้าง (ในโพรง ในรอยแตก...) ระบบของผลึกบ้าง การเกิดผสมระหว่างระบบของผลึกบ้าง หรือขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมจำเพาะทางธรณีวิทยา
ตามภาพนั้น มีชื่อรัตนชาติที่มีชื่อไม่ค่อยจะคุ้นหูนัก คือ Prasiolite (green quartz), Mtorolite (green chalcedony), และ Aventurine (สีเขียวจากแร่ไมก้า) ก็เชื่อว่าในอนาคตจะยังมีชื่อแร่และอัญมณีชื่อแปลกๆปรากฏขึ้นมาอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 175 เมื่อ 31 ส.ค. 22, 19:23
|
|
เกิดความสงสัยในการใช้ภาษาขึ้นมาจากกรณีข้อขยายความเมื่อวานนี้ที่ว่า อุกกาบาตตกมากระทบผิวโลกด้วยความเร็วและแรงจนเกิดหินหลอมละลายกระเด็นขึ้นไปในอากาศก่อนจะตกลงมายังผิวโลก ควรจะใช้คำใดดีระหว่างคำว่า ตกลงมากระทบ กระแทก หรือชน
อีกเรื่องหนึ่ง สภาพที่หินหลอมละลายลอยขึ้นไปในอากาศ ควรจะใช้คำลักษณะนามเช่นใดจึงจะเหมาะสม กระเด็น กระเซ็น หรือกระจาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 176 เมื่อ 31 ส.ค. 22, 20:01
|
|
ดิฉันไปหารูปหินแร่ที่คุณตั้งเอ่ยถึงมาให้ดูกัน เพื่อจะได้เห็นภาพชัดๆ ถ้าผิดพลาด ขอให้คุณคั้งช้วยแก้ไขให้ด้วยนะคะ อย่างแรกคือ green chalcedony ภาษาไทยเรียกว่าอะไรไม่ทราบ บางเว็บก็ทับศัพท์ไปเลย
รูปนี้คือหินธรรมชาติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 177 เมื่อ 31 ส.ค. 22, 20:01
|
|
รูปนี้ เมื่อหินถูกนำมาขัดแต่งแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 178 เมื่อ 31 ส.ค. 22, 20:02
|
|
รูปนี้คือเจียระไนแล้วค่ะ ดูในรูป สีสันและผิวเหมือนหยกเลยนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 179 เมื่อ 01 ก.ย. 22, 08:26
|
|
Aventurine
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|