เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 7579 ถามคุณตั้งเรื่องหิน
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 21 ส.ค. 22, 19:28

Opal เป็นแร่หรือเป็นหิน  มันมีปัญหาครับ

Opal เป็นสารประกอบทางอนินทรีย์เคมีที่ไม่เป็นผลึก ไม่มีโครงสร้างของเนื้อในอยู่ในสังกัดใดๆในระบบของความเป็นแร่   อาจจะพอเปรียบเทียบได้กับขนมที่อบยังไม่สุกเต็มที่ ยังนิ่มเหลวอยู่ ถูกวางไว้จนแข็งตัว แต่ไม่เป็นทรงดังที่มันควรจะเป็น    

Opal เป็นสารประกอบ SiO2nH2O ซึ่งก็คือสารประกอบแบบแร่ Quartz ที่ยังมีโลเลกุลของน้ำติดตัวอยู่  เรียกว่า Amorphous hydrated silicon oxide  หรือ Amorphous Quartz   แต่มันเกิดโดยธรรมชาติ ก็เลยจัดให้มันเป็นพวก Mineraloid  ตัวอย่างของพวกนี้ที่เขาจัดกันก็เช่น ถ่านหิน (ก็เลยเรียกกันว่าเป็น Mineral fuel)   Tektite (ศัพท์บัญญัติเรียกว่า อุลกมณี  แต่เรียกกันทั่วไปว่า เศษอุกกาบาต ?)    Obsidian (แก้วภูเขาไฟ ?)  ....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 21 ส.ค. 22, 20:21

 ยิ้ม
โอปอล์ในธรรมชาติ  ใช่หรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 21 ส.ค. 22, 20:24

ไหนๆก็ถามถึงโอปอล์แล้ว  ขอเลยไปถึงหินอีกชนิดที่มีสีสันสวยงามคล้ายๆกัน คือโป่งข่าม  เห็นบางคนบอกว่าเป็นหินควอตซ์ หรือหินเขี้ยวหนุมาน
ใกล้เคียงกันโอปอล์มากน้อยแค่ไหนคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 21 ส.ค. 22, 20:30

ซ้ายคือโอปอล์ ขวาคือโป่งข่าม ค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 22 ส.ค. 22, 19:28

นึกออกว่าพอจะอธิบาย Opal ได้อย่างไร   มวลเนื้อของมันพอจะเปรียบเทียบได้กับถาดที่ใส่ลูกแก้วลูกเล็กๆที่แต่ละลูกมีความใสต่างกัน หรือมีมลทินไม่เท่ากัน  เมื่อเอาถาดลูกแก้วนี้ไปวางภายใต้แสงต่างๆ ก็จะเห็นสีที่สะท้อนออกมาที่ผิวหน้าไม่เป็นสีที่ออกไปทางกระดำกระด่าง

Opal อาจพบในธรรมชาติได้ใม่ยากนักในลักษณะที่จุดเล็กจุดน้อยตามร่องรอยแตกในกลุ่มหินทรายพวกหนึ่ง พบในบางจุดของไม้กลายเป็นหินก็มี   แต่ที่พบมาก เป็นชิ้นใหญ่พอที่จะตัดแต่งแยกเอามันออกมาทำเป็นเครื่องประดับได้นั้น อยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐ South Australia         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 22 ส.ค. 22, 20:02

ยิ้ม
โอปอล์ในธรรมชาติ  ใช่หรือเปล่าคะ
จากความเห็นที่ 136     

พืจารณาดูแล้ว ใช่ครับ  แต่ไม่ใช่ประเภทที่เอามาต้ดเป็นชิ้นสวยๆได้ ประเภทนี้มมักจะขายเป็นของที่ระลึกราคาถูกๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 23 ส.ค. 22, 08:52

จากหินกลายเป็นเครื่องเพชรไปแล้วค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 23 ส.ค. 22, 08:55

ชิ้นนี้ คาเทียร์เอามาทำจี้ห้อยคอ ตั้งแต่ปี 1847  กลายเป็นเครื่องเพชรล้ำค่า


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 23 ส.ค. 22, 18:42

จาก คห.ที่ 136, 141, 142     

นั่นแหละครับ ของที่ดูจะไม่มีทั้งราคาและคุณค่ามากนัก  แต่หากรู้จักตัวของมันอย่างลึกมากพอในเชิง 3D  ก็อาจจะสามารถแปลงโฉมและทำให้มันมีทั้งราคาและคุณค่าขึ้นมาอย่างมาก   

ผมเคยไปเข้าอบรมหลักสูตรหนึ่งที่ออสเตรเลีย หนึ่งในความรู้ของหลักสูตรนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องของทรัพยากรประเภทที่สามารถเอามาทำเป็นเครื่องประดับต่างๆได้ ช่วงสุดท้ายก่อนกลับก็เป็นการไปเรียนรู้เรื่อง Opal จากผู้ประกอบการโดยตรง  จึงได้รู้ถึงเรื่องของเครื่องประดับ Opal ที่ทำเแบบ Doublet และแบบ Triplet   อีกทั้งทั้งในเรื่องของสาเหตุที่ทำให้ราคา Opal มีความแตกต่างกันแบบก้าวกระโดด 

ได้เห็น Opal สวยๆ อยากจะซื้อมาฝากภรรยา ดูราคาแล้วไม่มีปัญญาจะจ่ายได้ ราคาแต่ละชิ้นอยู่ในหลักร้อยหรือหลายร้อยดอลล่าออสเตรเลีย  สำหรับพวกที่ทำแบบ Doublet หรือ Triplet ก็ดูจะไม่เหมาะ เพราะมีพลาสติก (มากกว่าเนื้อ Opal) เข้าไปช่วยปรุงแต่ง (enhance) ให้มันสวยงาม   ก็เลยเลือกที่จะชื้อแบบที่ยังเป็นไปตามธรรมชาติที่ขุดหามาได้ ดูแล้วว่าน่าจะเป็นพวก Black Opal ที่ฝรั่งเขาขอบกัน ราคาก้อนละเหรียญเดียว  บอกผู้ขายว่าจะเอาไปตัดที่เมืองไทย  เขาดูหินก้อนนั้นแล้วบอกว่าให้ช่างของเขาตัดจะดีกว่า เพราะมีความชำนาญมากว่า ราคางาน 70 เหรียญ  ผมก็ตกลงให้เขาตัดออกมาเป็น 2 ชิ้นสำหรับทำตุ้มหู  เจ็ดวันต่อมาก็ได้ชิ้นงานสุดสวย ในราคาประเมินเกือบ 200 เหรียญของร้านนั้นเอง  เอาของมาล้อมทองทำเป็นตุ้มหูที่เมืองไทย ก็ยังเป็นที่เตะตา ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 23 ส.ค. 22, 19:14

วาดภาพว่าภรรยาคุณตั้งใส่คงสวยมาก คนสวมก็สวยมากอยู่แล้ว
ไปหารูปว่า black opal เป็นแบบไหนยังไง เจอหลากหลาย  ทั้งสีดำ น้ำเงิน และเหลือบสีต่างๆ   พอดีเจอต่างหู
เลยนำมาลงให้ท่านผู้อ่านเรือนไทยดูเป็นตัวอย่างค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 23 ส.ค. 22, 20:11

ก่อนจะขยายความลงลึกไปในเรื่องใดๆจากนี้ไป ต้องขอทำความเข้าใจก่อนว่า คำอธิบายต่างๆที่ผ่านมาและที่จะต่อไปนั้น ตั้งอยู่บนหลักหรือที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานโดยทั่วๆไปที่พึงจะเป็น    ที่เป็นอยู่ในธรรมชาติจริงๆนั้น ด้วยที่มันอยู่ใน Open system ก็มีตัวแปรอย่างมากมายและหลายหลาย ทั้งจากภายในตัวมันเอง สภาพแวดล้อมในพื้นที่รอบตัวมันเอง  ทั้งในสภาพที่มันเกิด การเปลี่ยนแปลงของมันทั้งภายในและภายนอกที่เกิดขึ้นในสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ   จึงมีคำที่ใช้จำแนกต่างๆตามมา เช่น Group, Category, Type, Variety, Variation.... ชักแปลเป็นไทยที่สื่อความได้ดีๆไม่ค่อยออก ซึ่งก็ไม่แน่ใจอีกเหมือนกันว่า ศัพท์คำใดใหญ่กว่าคำใด ?    ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 24 ส.ค. 22, 19:30

เหตุผลที่ตัดสินใจให้เขาตัด Opal ให้นั้น ก็คือจะได้ของแท้ๆจากก้อนหินที่พบในธรรมชาติเลย ดีกว่าที่จะซื้อของที่ทำเป็นเครื่องประดับสำเร็จรูปแล้ว  ด้วยพอจะรู้ว่า นอกจาก Doublet และ Triplet แล้ว  ก็พอรู้ว่าเริ่มมี Opal สังเคราะห์ในตลาดบ้างแล้ว

ในปัจจุบันนี้ดูจะมี Synthetic Opal ขายอยู่มากมายตามร้านเพชรพลอยต่างๆ   ตัว Opal ที่ได้มาจากการทำขึ้นมานั้นมีเนื้อของมันเหมือนกับที่เกิดมาตามธรรมชาติ แล้วก็มีกระบวนการตัดแล้วใช้กาวประกบเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สีและการเล่นแสงตามต้องการ    ของที่เกิดตามธรรมชาติก็เลยต้องมีอีกคำหนึ่งมากำกับ คือ genuine stone 

ในความรู้ที่มีของผม ผมเห็นว่า Opal ที่เกิดตามธรรมชาติจริงๆที่มีเนื้อเป็นตัวมันทั้งก้อนหรือเกือบทั้งก้อนและมีขนาดใหญ่นั้น ค่อนข้างจะพบได้ยากมาก   Opal ที่เห็นเป็นเม็ดนูน บนเคื่องประดับต่างๆที่มีความสวยงามและเป็นของที่เกิดในธรรมชาติของจริงนั้น น่าจะพอสังเกตเห็น Irregularity และ flaw ต่างๆบ้าง   สำหรับพวกที่สวยแบบไร้ที่ติและราคาไม่สูงนัก คงจะต้องพึงระวังไว้ก่อน (น่าจะตรงกับคำว่า Artificial ??)

ไทยเราก็ดูจะมีการผลิต (และอาจจะเป็นแหล่งผลิตรายสำคัญ) Synthetic Opal อยู่เหมือนกัน ??       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 24 ส.ค. 22, 19:37

ไปเปิดกูเกิ้ลจะหารูปมาประกอบคำอธิบายของคุณตั้ง
เจอโอปอล์แท้ และโอปอล์สังเคราะห์   แต่ดูแต่รูป แยกไม่ออก  ต้องอาศัยสังเกตราคาเอาค่ะ
ีรูปซ้าย  แท้  รูปขวา สังเคราะห์


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 25 ส.ค. 22, 18:16

ไหนๆก็ถามถึงโอปอล์แล้ว  ขอเลยไปถึงหินอีกชนิดที่มีสีสันสวยงามคล้ายๆกัน คือโป่งข่าม  เห็นบางคนบอกว่าเป็นหินควอตซ์ หรือหินเขี้ยวหนุมาน
ใกล้เคียงกันโอปอล์มากน้อยแค่ไหนคะ

โป่งข่ามก็คือแร่ Quartz  แต่จะเรียกว่าเป็น หิน..เขี้ยวหนุมาน ก็ไม่ผิด (ในกรณีที่เป็นก้อนกรวดเก็บมาจากห้วยหรือในพื้นที่ๆเป็นตะพักลำน้ำ_River terrace)   

ภาพที่อาจารย์เทาชมพูนำมาแสดง ที่มีหลายก้อนวางอยู่ด้วยกันนั้น  บอกได้เลยว่าน่าจะเป็นพวกที่ได้มาจากสภาพเดิมที่เป็นก้อนกรวด เอามาขัดมันโดยวิธีการที่เรียกว่า Tumbling (นึกถึงการคั่วลูกเกาลัดในกระทะ  ได้ลูกเกาลัดที่มีผิวเรียบและมัน)  เรียกกันว่า Tumbling stone  ซึ่งนิยมนำไปใช้ในการทำเครื่องประดับ ทั้งในรูปแบบผสมผสานกันหลากหลายวัตถุดิบ เช่น ทำเป็นสร้อยลูกปัดที่มีหลากสี หลากรูปทรง...    การเอาไปใส่รวมในภาชนะ (ขัน ถาด ...) เพื่อตั้งโชว์    หรือทำเป็นชิ้นงานเดี่ยวๆ เช่น จี้ห้อยคอ เข็มกลัดเหน็บ ...

วัตถุดิบที่เอามาทำเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยวิธีการทำแบบ Tumbling นี้  มีทั้งที่เป็นก้อนหิน ก้อนแร่ และก้อนหิน+รัตนชาติ ...       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 25 ส.ค. 22, 18:59

พวกนี้ Tumbling stone ใช่ไหมคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง