เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 7344 ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 18 ก.ค. 22, 20:19

สืบเนื่องจากกระทู้ ตุ๊กตาหินโบราณ
คุณตั้งรู้จักหิน  agalmatolite ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก หินฮ่วยเส่งง้ำ ไหมคะ  ในแหล่งอ้างอิงบอกว่าเป็นหินสีเขียวอมเทา มีมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น   
ลักษณะพิเศษของหินคือ เมื่อขุดขึ้นมาใหม่ๆ เนื้อยังอ่อน   สามารถแกะสลักได้ง่าย  แกะแล้วทิ้งตากแดดตากลมไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ จะแข็งตัวเป็นหินเนื้อแข็ง  ผ่านไปเป็นร้อยปีก็ยังไม่แตกพัง

อยากทราบเรื่องหินชนิดนี้ค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ก.ค. 22, 20:20

พวงลิ้นจี่ข้างบนนี้ แกะสลักจากหิน agalmatolite ค่ะ  ไม่เห็นเป็นสีเขียวอมเทาเลยนี่คะ
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 ก.ค. 22, 16:19

Agalmatolite เป็นแร่คนละชนิดกับ ฮวยเส่งง้ำ ครับ

.....


อะแกลมาโตไลต์ (Agalmatolite) คือแร่อะลูมิเนียมซิลิเกต ที่แปรมาจากแร่ Talc
ปฏิกิริยาทางธรณีวิทยาเปลี่ยนสภาพทำให้ธาตุอลูมิเนียมเข้าไปแทนที่ธาตุแมกนีเซี่ยมของทอล์ก

ธาตุอลูมิเนียมทำให้หินที่เคยอ่อนแตกง่ายแกร่งขึ้น มีสีสันสวยงามหลากหลาย ทั้งขาว ชมพู แดง เขียว... และมันก็โปร่งแสง .
ชื่อสามัญของ อะแกลมาโตไลต์  คือหินสบู่ จีนเรียก 冻石 ( หินเยือกเย็น )

อะแกลมาโตไลต์ ที่ขุดจากฮกเกี้ยนมักจะมีสีสวยงาม คนจีนชอบนำมาแกะทำเครื่องประดับ เครื่องตั้งหรือใช้แกะเป็นด้ามดวงดราประทับ มีชื่อเรียกในวงการว่า หยกฮกเกี้ยน หรือ  寿山石 ( หินอายุวัฒนะ )

...


ฮวยเส่งง้ำ มาจากชื่อจีนว่า 火成岩 แปลว่า หินอัคคนี ครับ


คนจีนนิยมใช้แกรนิตที่มีสีออกเขียวเหลื่อบๆ ในการแกะสลักสิงโต หรือ เครื่องประดับเรือน ไปกระทั่ง วัด และ วัง

หินฮวยเส่งง้ำ จึงมีชื่อในวงการแกะสลักหินว่า 青石 ( หินเขียว ) ครับ

.
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ก.ค. 22, 16:26

Agalmatolite มีค่าความแข็ง ประมาณ 2 ใบมีดเหล็กกล้า แกะได้ครับ

ค่าความแข็งเป็นคุณสมบัติเฉพาะ มันไม่ได้แปรเปลี่ยนไปกับเวลาครับ

ส่วนหินแกรนิตความแข็งประมาณ 6 หรือกว่านั้น ต้องใช้สิ่ว ใช้ค้อนเคาะ แกะสลักครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ก.ค. 22, 18:35

คำนิยาม

จาก Dictionary of Gems and Gemology

agalmatolite  a soft, waxy, silica-rich and compact mineral or stone such as painite, pyrophyllite, and steatite of a greenish, grayish, yellowish, and brownish colors. RI: 1.552–1.600. SG: 2.80–2.90. H: 1–1½. Consequently, it has a greasy touch. Used by Chinese for carving small images, miniature pagodas, and other objects. Some agalmatolites are steatite (or talc) Mg3Si4O10(OH)2 or pyrophyllite Al2Si4O10(OH)2. Synonym: figure stone, pagodite, lardite, pagoda stone, lard stone, figured stone. Sometimes loosely called soapstone or soap rock.

จาก อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา

agalmatolite  (แอ๊ะเกิลแม′เทอไล้ทฺ) หินมีเนื้อค่อนข้างอ่อน คล้ายขี้ผึ้ง เช่น พีไน้ท (pinite) ไพโรฟิไล้ท (pyrophyllite) หรือ สตีไท้ท (steatite) มีเฉดสีเทา เขียว เหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งชาวจีน มักใช้ทำเป็นหยกเทียมสาหรับแกะสลักภาพขนาดเล็ก แกะสลัก เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก และรูปเหมือนอื่น ๆ คำพ้อง : pagodite (เพอโก′ได๊ท); lardite (ลารฺ′ได๊ทฺ); lard stone (หลารฺด สโตน′); pagoda stone (เพอโก′เด้อ สโตน′)

หินสบู่ (steatite) จึงเป็นเพียงหนึ่งในหิน agalmatolite
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 ก.ค. 22, 18:35

ว่าด้วยเรื่องหินสบู่

สตีไทต์ (steatite) หรือ หินสบู่ (soapstone) เป็นหินแปร ที่มีองค์ประกอบของแร่ทัลก์เป็นหลัก โดยอาจมี แร่คลอไรต์ ไพรอกซีน ไมกา แอมฟิโบล แร่คาร์บอเนต และแร่ชนิดอื่น ๆ เพราะมันประกอบไปด้วยแร่ทัลก์เป็นหลักจึงมักจะนุ่มมาก หินสบู่มักจะมีสีเทา สีน้ำเงิน สีเขียว สีชมพู รวมถึงสีน้ำตาลซึ่งมักจะแตกต่างกันไป หลายครั้งเมื่อสัมผัสจะรู้สึกว่ามันเนียนนุ่ม จึงมักเรียกมันว่า "หินสบู่" และมักถูกใช้ในงานแกะสลักส่วนใหญ่ โดยประติมากรรมที่เป็นที่รู้จักที่แกะสลักจากหินสบู่ เช่น รูปปั้นกริชตูเรเดงโตร์ หรือ พระคริสต์ผู้ไถ่บาป (Christ the Redeemer) ที่ตั้งอยู่บนยอดเขากอร์โกวาดู  เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล

เมื่อดูสัดส่วนโดยมวลแล้ว แร่สตีไทต์ที่ "บริสุทธิ์" นั้นมีซิลิกา ๖๓.๓๗%, แมกนีเซีย ๓๑.๘๘% และน้ำ ๔.๗๔% มันมักจะมีปริมาณออกไซด์ของแร่ชนิดอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น แคลเซียมอ๊อกไซด์ (CaO) หรือ อลูมินา (Al₂O₃)

หินสบู่จะค่อนข้างนิ่มเนื่องจาก มันมีปริมาณของทัลก์ (talc) สูง และเนื่องจากทัลก์มีค่าความแข็งเท่ากับ ๑ ในระดับความแข็งของโมส (Mohs hardness scale) โดยปริมาณของทัลก์ที่อยู่ในหินสบู่ไม่คงที่ ความแข็งของหินสบู่แต่ละแหล่งจึงไม่เท่ากัน และยิ่งมีปริมาณทัลก์เยอะจะทำให้สัมผัสรู้สึกนุ่มกว่าคล้ายกับสบู่ ปริมาณของทัลก์ในแต่ละแหล่งมีค่าแตกต่างกันอย่างมากจากตั้งแต่ ๓๐% จะถูกใช้เป็นเกรดสำหรับงานสถาปัตยกรรม เช่น ใช้แกะสลักเป็นเคาน์เตอร์ จนถึงมีมากถึง ๘๐% จะถูกใช้ในงานแกะสลักรูปปั้นต่าง ๆ
 
หินสบู่นั้นง่ายต่อการแกะสลักและยังมีความทนทานต่อความร้อนและค่อนข้างเป็นฉนวน ดังนั้นจึงถูกนำมาใช้แกะสลักเป็นเครื่องครัวหรืออุปกรณ์สำหรับการปรุงอาหาร และฉนวนในอุปกรณ์ทำความร้อนมานับเป็นพัน ๆ ปี

หินสบู่สามารถเปลี่ยนรูปเมื่อถูกความร้อนถึงอุณหภูมิ ๑,๐๐๐–๑,๒๐๐ องศาเซลเซียส องค์ประกอบทางเคมีจะทำให้เเร่เปลี่ยนร่างเป็นแร่เอนสเตไทต์ (Enstatite) และ แร่คริสโตแบไลต์ (Cristobalite) โดยสามารถสังเกตได้จากค่าความแข็งในระดับโมร์ที่เพิ่มขึ้นเป็น ๕.๕-๖.๕

จาก pwsalestone.com
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 ก.ค. 22, 10:35

ว่าด้วยเรื่อง หินฮ่วยเส่งง้ำ

火成岩 หั่ว เฉิง เหยียน เป็นภาษาจีนกลาง ส่วนภาษาแต้จิ๋ว อ่านออกเสียง ฮ่วย เส่ง ง้ำ (หรือ 其他名称:岩浆岩;岩浆岩(magrnatic rock)) สรุปถามเพื่อนชาวจีนแล้ว คือหินอัคนี ซึ่งตรงกับสิ่งที่ผมกล่าวไว้แล้วว่าเป็นตระกูลหินอัคนี คือ กลุ่มหินแกรนิต หินไนซ์ ซึ่งมีหลายสี หลายแบบ เหมาะแก่การแกะสลักครับ

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 ก.ค. 22, 15:02

หินฮ่วยเส่งง้ำ ในเมืองสยามที่มีคุณภาพดีก็คงไม่พ้นครกหินอ่างศิลาครับ มีทั้งสีดำ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักคือ หินแกรนิต (ประเภทหินอัคนี) และหินไนส์ (หินแปรจากอัตนี) เนื้อจะมีความละเอียดออกสีเขียวเทา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 ก.ค. 22, 15:03

หินฮ่วยเส่งง้ำ ที่ผลิตขายกันในเมืองจีนในช่วงรัชกาลที่ 1-3 ทางการสยามซื้อหากันที่เมืองหนิงโป ใต้เมืองเซี่ยงไฮ้ครับ
บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 ก.ค. 22, 20:30

สวัสดีครับ ขอบคุณที่มีทั้งคำภาษาอังกฤษและคำศัพท์ภาษาจีนเขียนด้วยภาษาไทยกำกับ ได้ความรู้มากครับ
เห็นรูปครกหินอ่างศิลา ในฐานะคนเมืองชลบุรีโดยกำเนิดอดภูมิใจไม่ได้  ยิงฟันยิ้ม
พูดถึงหินสบู่ (Soapstone) แล้วก็นึกถึงหินแกะสลักรูปยอดปรางค์กับเจดีย์บนกำแพงแก้วล้อมพระมณฑป ที่วัดพระพุทธบาทฯ จ.สระบุรี ไปกราบสักการะมาเมื่อ 2 เดือนก่อน ขอนำรูปมาฝากครับ  อายจัง



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ก.ค. 22, 11:35

งามแท้หนอ  ยิงฟันยิ้ม

หินสบู่แกะสลักอันงามรอบกำแพงแก้วพระมณฑปพระพระพุทธบาทสระบุรีนี้  เชื่อกันว่าเดิมคงประดับเป็นหัวเสากำแพงแก้วรอบพระปรางค์วัดไชยวัฒนารามมาแต่ครั้งกรุงเก่า ซึ่งสง่างามถึงขีดสุด

เมื่อกรุงแตกก็ถูกทิ้งร้างไป ต่อมาจึงขนย้ายมาถวายวัดพระพุทธบาทสระบุรีอันได้บูรณะใหม่ ฝีมือแกะสลักหินสบู่ของช่างหลวงกรุงเก่าสมัยอยุธยาตอนปลายยังคงเรืองโรจน์โดดเด่นอยู่ที่นี่

จาก เฟซบุ๊กของคุณวัชระ ตันติดลธเนศ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ก.ค. 22, 12:31

       ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ หินสบู่ จาก การแกะแม่พิมพ์หินสบู่ - กรมศิลปากร
ที่     https://www.finearts.go.th/storage/contents/2021/07/detail_file/JNH8xu8bxfKg0QtWLg7p9NMepQX94ZFgKpkdsYA1.pdf
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 ก.ค. 22, 09:26

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาตอบค่ะ
ที่หายหน้าไป2-3 วันเพราะป่วย   (แต่ไม่ใช่โควิด)  ต้องค่อยๆไล่อ่านทำความเข้าใจไปก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 ก.ค. 22, 10:19

ก่อนอื่นขอทักทายคุณนามแปลง  Namplaeng และคุณหนุ่มสยาม Siamese ที่แวะเข้ามาให้ความรู้เรื่องหินค่ะ  นานๆเข้ามาที แต่ก็ให้ความรู้เต็มเพียบ  จนดิฉันไม่มีคำถามอีกแล้ว
ไปหาอาจารย์กู๊ก ขอดู   冻石 ( หินเยือกเย็น ) ของคุณนามแปลง  เจอรูปเยอะมากจนไม่รู้อะไรเป็นอะไร
เลยเซฟเอามารูปหนึ่ง น่าจะใช่นะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 ก.ค. 22, 10:31

(ต่อ)
ส่วน หยกฮกเกี้ยน หรือ  寿山石 ที่คุณนามแปลง บอก    ดิฉันก็ไปหารูปมาดูเหมือนกัน 
พบว่าเกือบทั้งหมดเป็นหยกขาวกับแดง   ไม่เห็นมีหยกเขียวอย่างที่เราคุ้นเคยกันว่าหยกจะเป็นสีเขียว
ตอนไปจีนเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว   ซื้อตัวเผยเย้า( ไกด์จีนออกเสียงแบบนี้ ไม่รู้สะกดยังไง) มาคู่หนึ่ง  สีขาว  ในร้านมีเผยเย้าสีขาวและแดงปนกันในตัวเดียว    แต่ไม่ชอบสองสีค่ะ   น่าจะเป็นหินแบบนี้มั้งคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง