เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
จาก FB ของ Arnond Sakworawich 14 กรกฎาคม เวลา 08:25 น. ·
การค้นพบตุ๊กตาหินโบราณร่วม 100 ตัวที่ใต้ถนนข้างกำแพงแก้ววัดพระแก้ว สำนักพระราชวังซ่อมถนนบริเวณกำแพงแก้ววัดพระศรีรัตนศาสดารามฝั่งศาลหลักเมืองและกระทรวงกลาโหม เมื่อทำท่อระบายน้ำและขุดถนนพบตุ๊กตาหินโบราณที่ชำรุดนิดหน่อยนับร้อยตัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ขุดค้นและให้กรมศิลปากรบูรณะให้สภาพดีเยี่ยมดังเดิม ตุ๊กตาหินเหล่านี้น่าจะมาจากเมืองจีนเป็นหินอับเฉาถ่วงท้องเรือใบสำเภาที่เราใช้ค้าขายกับจีน ขาไปบรรทุกหนัก ขากลับมีแต่ของเบาเช่นแพรไหม ใบชา เลยต้องซื้อตุ๊กตาหินถ่วงท้องเรือกลับมากันเรือโคลงเคลง
ผมไปวัดพระแก้วมา เห็นตุ๊กตาหินใหม่เอี่ยมอ่องมาตั้งเพิ่มเต็มไปหมดรอบวัดพระแก้วราวหนึ่งร้อยตัวเลยถามเจ้าหน้าที่ ได้ความว่าทรงพระกรุณาให้กรมศิลปากรขุดค้นข้างกำแพงแก้ว แต่ยังอยู่ในรั้วพระบรมมหาราชวัง แล้วนำมาบูรณะและจัดแสดงในวัดพระแก้ว อย่าได้นึกว่าเป็นของใหม่หรือทำเลียนแบบของโบราณ แต่เนื่องจากฝังดินมาเป็นร้อยปี การสึกกร่อนจะน้อยกว่าตุ๊กตาหินที่ตากแดดตากลมมาเป็นร้อยปีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 16 ก.ค. 22, 10:43
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 16 ก.ค. 22, 11:12
|
|
ตุ๊กตาหินในวัด ไม่ใช่ของแปลกสำหรับคนไทย เป็นที่คุ้นตากันมายาวนานเกือบเท่าอายุของกรุงเทพก็ว่าได้ บางตัวก็เล็กๆไม่กี่ฟุต บางตัวก็มหึมา ไม่ควรเรียกว่าตุ๊กตา แต่ควรเรียกว่ารูปสลักหิน คำบอกเล่าต่อๆกันมาคือ รูปหินเหล่านี้นำมาจากเมืองจีน เรียกกันว่าเป็น "อับเฉาเรือ" คำนี้ไม่ใช่ภาษาไทย เป็นภาษาจีนออกเสียงแบบไทยๆ มาจากคำว่า 壓艙石 (จีนกลางออกเสียงว่า หย่าชัง/สือ) แปลว่า "หินถ่วงท้องเรือ"
คำบอกเล่าต่อๆกันมาคือ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 สยามค้าขายสินค้ากับประเทศจีน ทางเรือสำเภา เวลาเดืนทางไปจีน บรรทุกสินค้าไปเต็มเรือ ขายหมดแล้ว พอขากลับ สินค้าที่ขนกลับมาจากจีนเป็นสินค้าน้ำหนักเบา เช่นพวกผ้าแพรผ้าไหม เรือสำเภาต่อด้วยไม้ น้ำหนักเบา เมื่อเจอคลื่นลมแรงจะโคลงจนล่มได้ สำเภาไทยจึงหาหินมาถ่วงน้ำหนักไว้ใต้ท้องเรือเพื่อปรับสมดุล หินพวกนี้คือที่มาของรูปสลักจีนเหล่านี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 16 ก.ค. 22, 11:31
|
|
หินที่ใช้แกะสลัก เป็นหินประเภท agalmatolite ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก หินฮ่วยเส่งง้ำ ภาษาไทยว่าอะไรไม่รู้ค่ะ (เดี๋ยวคุณเพฺ็ญชมพูหรือท่านอื่นๆที่รู้คงเข้ามาบอกเอง) เป็นหินสีเขียวอมเทา มีมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น ลักษณะพิเศษของหินคือ เมื่อขุดขึ้นมาใหม่ๆ เนื้อยังอ่อน สามารถแกะสลักได้ง่าย แกะแล้วทิ้งตากแดดตากลมไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ จะแข็งตัวเป็นหินเนื้อแข็ง ผ่านไปเป็นร้อยปีก็ยังไม่แตกพัง ข้อนี้ตอบโจทย์ของสิงโตหินคาบแก้วได้หายข้องใจ ว่าทำไมแก้วที่ใหญ่กว่าปากสิงโตถึงเข้าไปอยู่ในปากได้ ก็เพราะตอนทำ ดินยังนุ่มอยู่นั่นเอง ส่วนคำถามว่า หินเหล่านี้แกะเรียบร้อยมาจากเมืองจีน ใส่สำเภาเอามาขายไทย เพราะได้ราคาดีกว่าขนเอาหินแท่งๆใส่เรือมาอย่างเดียว หรือว่าขนหินแท่งใส่เรือมาแล้วค่อยมาสลักในไทย เดาว่าน่าจะทำได้ทั้ง ๒ แบบ แต่อย่างแรกน่าจะเยอะกว่า เพราะถ้าขนหินแท่งมาสลักในไทยหลังจากข้ามน้ำข้ามทะเลมาหลายเดือน หินน่าจะแข็งหมดแล้ว สลักตัวใหญ่ๆยาก ถ้าทำได้ก็คือตุ๊กตาจีนตัวเล็กๆ สลักโดยช่างเชื้อสายจีนในไทย อาจจะทำกันเป็นหมู่บ้าน ดังที่มีชื่อตรอกสลักหินเป็นหลักฐานอยู่
ในรัชกาลที่ ๒ และต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การค้าสำเภาเฟื่องฟูรุ่งเรืองมาก เพราะทรงค้าสำเภาเองตั้งแต่ยังทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงมีพระราชนิยมในศิลปกรรมจีน จะเห็นได้จากตุ๊กตาหินจีนและรูปจำหลักหินแบบต่างๆ ตามวัดที่ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ นอกจากนี้ก็ได้จากพ่อค้าชาวจีนนำมาถวายเป็นเครื่องบรรณาการ เรียกว่าพระเจ้าแผ่นดินก็โปรดปราน และพ่อค้าจีนก็ได้ทั้งหน้าตา และโปรโมทสินค้าได้ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 16 ก.ค. 22, 11:40
|
|
ปัจจุบัน ในประเทศจีนก็ยังมีสินค้าแกะสลักด้วยหิน agalmatolite กันอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 17 ก.ค. 22, 10:41
|
|
ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2565 สำนักพระราชวัง เผยแพร่ข้อมูล ในหมวดข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม เรื่อง “ขุดพบประติมากรรมหินสลัก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง" ความว่า
เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ในการปรับปรุงเส้นทางเข้าชมภายในพระบรมมหาราชวัง บริเวณประตู มณีนพรัตน์ไปยังประตูสวัสดิโสภา ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างได้ขุดพบประติมากรรมหินสลักจำนวนมาก จึงได้ทำการเปิดการขุดค้นทางโบราณคดี จากหลักฐานพบว่าเป็นประติมากรรมรูปบุคคลหลากหลายเชื้อชาติ และสัตว์ในเทพนิยาย ซึ่งจารึกที่พบบนประติมากรรมหินสลักบางตัว ระบุเป็นภาษาจีน ว่าทำที่มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางโจว จากการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในเบื้องต้นพบว่า ประติมากรรมหินหลักเหล่านี้ปรากฏในภาพถ่ายเก่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดับตกแต่งอยู่โดยรอบพระอารามและมีการโยกย้ายในรัชสมัยต่อๆกันมา ซึ่งมีหลักฐานจากภาพที่ตีพิมพ์ในหนังสือทั้งในประเทศและต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการอนุรักษ์ซ่อมแซมประติมากรรมหินสลัก และนำมาประดับในวัดพระศรีรัตนศาสดารามบริเวณตำแหน่งเดิมหรือใกล้เคียงตามหลักฐานที่ปรากฏ
ภาพข้างล่าง คือภาพถ่ายเก่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 17 ก.ค. 22, 10:49
|
|
ตุ๊กตาหินโบราณเหล่านี้กลายเป็นเรื่องฮือฮา ก่อให้เกิดคำถามตามมาหลายคำถาม ถึงที่มา จุดประสงค์ของการนำมาวาง ตลอดจนการนำไปฝังดิน ขอรวบรวมความเห็นและคำตอบมาให้อ่านกันค่ะ
จาก FB สยามพหุรงค์ โดย หนุ่มรัตนะ
ตุ๊กตาหินอ่อนประดับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม . ข่าวการค้นพบตุ๊กตาหินอ่อนจำนวนมากที่ถูกฝังดินอยู่บริเวณนอกพระระเบียงคดในสนามหญ้าระหว่างรั้วกำแพงพระบรมมหาราชวังในปีพุทธศักราช 2564 และได้นำขึ้นมาบูรณะและถูกนำมาตั้งไว้ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับในยุคสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว . ตุ๊กตาหินอ่อนนี้มีประวัติเริ่มต้นในระหว่างที่กรุงเทพมหานครครบรอบ 100 ปี ตรงกับปีพุทธศักราช 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บรรดาเจ้านายต่างๆ ร่วมฉลองเสด็จพระราชกุศลจัดการซ่อมแซมบูรณะวัดทั้งหมด หนึ่งในการนี้โปรดเกล้าฯ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากมลาศเลอสรร (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแก่เจ้าจอมมารดาเที่ยง) รวมทั้งมิสเตอร์อาบาศเตอร์ร่วมจัดหาตุ๊กตาจากต่างประเทศ รวมทั้งเจ้าฟ้ามหามาลาไปตัดหินที่สระบุรีให้ทำการซ่อมแปลงเครื่องประดับศิลาและกระถางต้นไม้ต่างๆ รวมทั้งหุ้มทองแดง ลงรักปิดทองรูปมารแบกสุวรรณเจดีย์ทั้งสอง และสั่งศิลาเครื่องตั้งประดับพระอารามใหม่เป็นอันมาก ซึ่งปรากฏอยู่ในภาพถ่ายเก่าถึงการมีอยู่ของตุ๊กตาหินอ่อนเหล่านี้ซึ่งถูกตั้งประดับเรียงรายในบริเวณวัด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 17 ก.ค. 22, 10:51
|
|
จนเมื่อถูกขุดค้นพบใหม่ในปี 2565 จึงมีหลายคนสงสัยว่าตุ๊กตาเหล่านั้นสูญหายไปและถูกฝังได้อย่างไร ซึ่งจากการดูภาพเก่าในช่วงระยะเวลาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ภาพที่ทำการลงสีนี้) พบเริ่มมีการประดับตุ๊กตาจำนวนน้อยลง จนกระทั่งสูญหายหมดในช่วงระยะเวลาที่กรุงเทพมหานครครบรอบ 150 ปี ตรงกับปีพุทธศักราช 2475 ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีบัญชีรับ-จ่ายเกี่ยวข้องกับการรื้อย้ายตุ๊กตาและงานประดับกระถางต้นไม้อยู่ในรายการบูรณะ . ในภาพเป็นตุ๊กตาหินอ่อนประดับอยู่หน้ากรอบประตูหินหน้าหอพระคันธารราษฎร์ในสมัยรรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ดูจากลักษณะกระเบื้องหลังคามีการทาสีขาวใหม่เป็นการบูรณะวัด น่าจะเป็นในช่วงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชสมโภช ครั้งที่ 2 ในปีพุทธศักราช 2454 .
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 17 ก.ค. 22, 10:54
|
|
'ไกรฤกษ์ นานา' เปิดหลักฐานเก่าสุด ไขปริศนาต้นตอ 'ตุ๊กตาหินวัดพระแก้ว' ถาม : อาจารย์คะ รูปแกะสลักหินอ่อนที่ลานวัดพระแก้ว มีที่มาที่ไปอย่างไร ตามหลักฐานเก่าสุด ที่เคยถูกค้นพบค่ะ ? ตอบ : มีคำยืนยัน ทั้งข้อมูลและรูปภาพครับ พบต้นตอ มีอยู่ในเอกสารเก่าสุดจากต่างประเทศ สมัยรัชกาลที่ 5 ตามที่ได้มีการค้นพบ รูปแกะสลักหินอ่อนจำนวนมาก ฝังอยู่ใต้ดินภายในวัดพระแก้ว เมื่อเร็วๆนี้ ตรวจสอบแล้วมีบันทึกอยู่ในเอกสารต่างประเทศ ที่เชื่อถือได้ จากสมัยรัชกาลที่ 5 ดังต่อไปนี้ :- ( 1 ) หนังสือชื่อ Turrets, Towers & Temples เขียนโดย Esther Singleton ตีพิมพ์ที่อังกฤษเมื่อปีค.ศ. 1898 เขียนว่า” วัดที่ศักดิ์สิทธิ์และงดงามที่สุดในสยามเห็นจะเป็นวัดพระแก้ว ภายในตกแต่งด้วยรูปปั้นสลักศิลา โดยรอบพระอุโบสถ เป็นศิลปกรรมที่สั่งเข้ามาจากเมืองจีน ในรัชกาลก่อน แต่ยังมีรูปปั้นหินอ่อน เป็นรูปผู้มีชื่อเสียงจากยุโรปหลายตัว ถูกสั่งทำเป็นพิเศษ สำหรับปี ค.ศ. 1882 เพื่อประดับตบแต่งคราวบูรณะวัดพระแก้ว ครั้งใหญ่เนื่องในงานฉลองสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี โดยพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดิน “https://www.thaipost.net/x-cite-news/182106/
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 17 ก.ค. 22, 11:17
|
|
จาก FB JUDIA Gallery ยูเดียเเกลเลอรี่
#ตุ๊กตาหินโบราณวัดพระแก้ว หนังสือพิมพ์ L’Illustration ฉบับวันที่ 31 ตุลาคม ปี 1891 (พ.ศ. 2434) ลงภาพข่าวงานพระราชพิธีทรงผนวชเป็นสามเณรของสมเด็จเจ้าฟ้า #มหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2434 ความน่าสนใจอยู่ที่มุมขวาของภาพปรากฎภาพลายเส้นของ #ปราสาทพระเทพบิดร ใน #วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งถูกประดับประดาด้วยด้วย #ตุ๊กตาหินแกะสลัก ในอิริยาบทต่างๆเป็นจำนวนมาก ตุ๊กตาหินเหล่านี้ตรงกับรูปลักษณ์ของตุ๊กตาที่พึ่งค้นพบจากริมกำแพงพระบรมมหาราชวังเมื่อไม่นานมานี้ และหากนับจากปีที่ฉลองพระนครครบ 100 ปี ( พ.ศ. 2425) แสดงว่าตุ๊กตาหินเหล่านี้ถูกวางประดับไว้เป็นเวลาเกือบสิบปีแล้ว ณ วันที่หนังสือถูกตีพิมพ์ออกไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 17 ก.ค. 22, 11:32
|
|
จากพระราชหัตถเลขาข้างบนนี้ ทำให้ได้คำตอบว่าตุ๊กตาหินเหล่านี้ทำในประเทศไทยนี้เอง ไม่ได้ส่งมาจากจีน และไม่ได้เป็นอับเฉาเรือ สร้างขึ้นเฉพาะกิจ คือเพื่อประดับตบแต่งคราวบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่ เนื่องในงานฉลองสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี พ.ศ. 2425 หินที่ใช้สลักคือหินจากเขาชะโงก จังหวัดนครนายก อาจจะมีหินจากที่อื่นด้วย เพราะดูจากรูปถ่ายข้างล่างคห.นี้ ตุ๊กตาหินน่าจะแกะสลักจากหินมากกว่า 1 ชนิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 17 ก.ค. 22, 12:18
|
|
ตุ๊กตาหินเหล่านี้ตั้งประดับวัดพระแก้วอยู่จนถึงรัชกาลที่ 7 จึงถูกย้ายออกจากวัด หลักฐานได้จากราชกิจจานุเบกษาปี 2473 สรุปค่าใช้จ่ายในการบูรณะค่ารื้อย้ายตุ๊กตา กระถางต้นไม้ จำนวนเงิน 431 บาท
หลักฐานจากFB คุณ "หนุ่มรัตนะพันทิป ณล"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 17 ก.ค. 22, 12:21
|
|
ทำไมถึงต้องเอาไปฝังดิน ม.ร.ว. ชัยนิมิตร นวรัตน เฉลยคำตอบว่า
ทำไมต้องฝังดิน ? สมัยที่ยังไม่มีเครื่องทุ่นแรง ง่ายที่สุดคือขุดแล้วฝัง เรื่องนี้ไม่แปลก สมัยรัชกาลที่ ๕ ก็มีการเอาปืนใหญ่วังหน้าที่ไม่ใช้แล้วฝังภายในกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคลนั่นแหละครับ สมัยนี้มาขุดพบเข้าบอกว่าอยู่กลางสนามหลวง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Neo
อสุรผัด

ตอบ: 4
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 18 ก.ค. 22, 01:02
|
|
อาจารย์ครับ แล้วทำไมสภาพ ตุ๊กตาพวกนี้มันเหมือนใหม่มากๆ ทุกตัวเลยหล่ะครับ มันอยู่ใต้ดินเป็นร้อยๆปีเลยใช่มะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|