เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2217 อาลัย "ส.พลายน้อย" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



 เมื่อ 06 ก.ค. 22, 18:35

วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ส.พลายน้อย หรือ สมบัติ พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ปี ๒๕๕๓ เสียชีวิตลงอย่างสงบในช่วงเช้าวันนี้จากการติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ หลังเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลราว ๓ วัน สิริอายุได้ ๙๓ ปี


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 ก.ค. 22, 18:35

กราบลาครู สมบัติ พลายน้อย (ส.พลายน้อย)
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๓

เป็นคลังแห่งความรู้ประตูศาสตร์
เป็นนักปราชญ์เป็นนักสู้ผู้ผ่านหล้า
เป็นนักเขียนเพียรผสานกาลเวลา
เป็นผู้กล้าเผชิญงานผ่านชีวี

เป็นผู้น้อมค้อมใจให้ทุกผู้
เป็นผู้อยู่ผู้เป็นดินทุกถิ่นที่
เป็นผู้รักทอดใจให้ปฐพี
เป็นผู้สรรค์สารคดีศรีประพันธ์
 
วางชีวิตสมถะสละแล้ว
วางกายแวววับดับไม่กลับผัน
วางมือจากทุกสิ่งนิ่งลงพลัน
วางใจอันเย็นสงบสู่ภพธรรม

กราบลาครูด้วยน้ำตาว่าลาก่อน
กราบอักษรทุกรอยเขียนที่เพียรพร่ำ
กราบความเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ให้จดจำ
กราบทุกคำที่เคยยินประทิ่นใจ

ครูงดงามทุกก้าวดังดาวส่อง
ครูคือทองคือมรดกแห่งยุคสมัย
ครูคืออัญมณีสารคดีไทย
ขอครูสู่สวรรคาลัยนิรันดร

ชมัยภร บางคมบาง
๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 ก.ค. 22, 18:52

 ร้องไห้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 ก.ค. 22, 08:35

ส.พลายน้อย หรือ สมบัติ พลายน้อย เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดประดู่ทรงธรรม ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย และได้รับประกาศนียบัตรวิชาครูพิเศษประถม (พ.ป.) ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางจงกล พลายน้อย มีบุตรชาย ๑ คน

ด้านการทำงาน รับราชการครั้งแรกเป็นเสมียนสรรพากรและเปลี่ยนอาชีพไปรับราชการครูเป็นเวลา ๕ ปี สนใจเขียนหนังสือมาตั้งแต่ครั้งเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยสมัครเรียนวิชาการประพันธ์และการหนังสือพิมพ์ทางไปรษณีย์ของ เปลื้อง ณ นคร ระหว่างที่รับราชการครูอยู่นั้น อาจารย์เปลื้องเชิญให้ ส.พลายน้อย มาทำงานด้านวารสารของกระทรวงศึกษาธิการหลายฉบับ มีผลงานเขียน ประเภทบทความ บทละคร สารคดี และเรื่องสั้นพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก รวมถึงจัดรายการวิทยุศึกษาไปพร้อมกันด้วย

ต่อมา ในพ.ศ. ๒๕๒๒ ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์และเอกสารสิ่งพิมพ์ กองส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และเป็นบรรณาธิการวารสารวัฒนธรรมไทย กระทั่งพ.ศ. ๒๕๒๘ ก่อนเกษียณอายุราชการ ๒ ปี ได้ลาออกจากราชการ เพื่อเขียนหนังสืออย่างเดียว โดยตลอดชีวิต มีผลงานเป็นจำนวนมาก

ส.พลายน้อย เคยให้สัมภาษณ์กับมติชนรายวัน* ในเรื่องของการอ่านหนังสือไว้ว่า แม้เป็น ‘ผู้รู้’ ตัวจริงที่คนรุ่นใหม่ ๆ ยังต้องพึ่งพิงข้อมูลความรู้อยู่เสมอ แต่ทุกวันนี้ ส.พลายน้อย ยังคงอ่าน 'หนังสือ' ใหม่ ๆ อยู่ตลอด ไม่เคยทิ้ง

"ทุกวันนี้ยังอ่านหนังสืออยู่ อย่างวรรณคดีเก่า ๆ หรือคนเขาพิมพ์อะไรใหม่ ๆ มาให้ก็อ่าน พวกสารคดีต่าง ๆ"

"หนังสือบางครั้งไม่ได้อ่าน เพียงแต่มอง เพียงแต่ได้เห็น ได้หยิบ ก็มีความสุขแล้ว เพราะเราอยู่กับหนังสือมาตั้งแต่เด็กและได้ดีเพราะหนังสือ"

แน่นอนว่า คนหนึ่งคน กว่าจะเขียนหนังสือมากมายจนเป็นที่ยอมรับ ย่อมถูกหล่อหลอมจากบางสิ่ง ไม่ว่าประสบการณ์ชีวิต ความทรงจำ รวมถึงสิ่งที่ได้ "อ่าน" สะสมความรู้และทักษะเชิงวรรณศิลป์

"สมัยเด็ก ๆ มีนิสัยอยากรู้ว่าอะไรเป็นอะไร เคยอ่านหนังสือที่คนอื่นเขา ไม่อ่าน สมัยสงคราม ชีวประวัติผู้นำประเทศต่าง ๆ ผมชอบอ่าน หนังสือที่ชอบ ที่อ่าน อย่างหนึ่งคือ เกิดจากครูแนะนำให้อ่านว่ามีประโยชน์อย่างไร อย่างสามก๊ก ไม่มีใครอ่านมาก แต่ผมอ่าน ๓ จบ จนครูบอก ไม่มีคนคบ (หัวเราะ) เพราะเขาบอกว่า อ่านสามก๊กหลายเที่ยว คบไม่ได้ ผมอ่านหมดแหละ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สามก๊กของยาขอบ รวมถึงของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ (สามก๊กฉบับนายทุน) ใครเขียนเรื่องเกี่ยวกับสามก๊ก ผมอ่านหมด"

วันนี้ หนังสือของ ส.พลายน้อย อาจเป็น "เล่มโปรด" ของใครหลายคนที่มีความสุขกับการอ่านซ้ำอย่างไม่รู้เบื่อ ส่วนนักปราชญ์ท่านนี้ก็มีเล่มโปรดเช่นกัน

"นอกจากสามก๊กแล้ว ที่อ่านหลาย ๆ เที่ยว คือ นิทานเวตาล ของ นมส. เพราะอยากรู้สำนวน การใช้ภาษา และอ่านเพื่อหาความรู้" ชีวิตประจำวันของ ส.พลายน้อย อยู่กับการอ่านหนังสือและการเขียนหนังสือราวกับเป็นส่วนหนึ่งของลมหายใจ จึงกล่าวได้ว่า ส.พลายน้อย ได้อุทิศตนเป็นผู้อนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม และเผยแพร่ ภูมิปัญญาไทยด้วยผลงานสารคดีที่มีวรรณศิลป์อันมีคุณูปการยิ่งต่อสังคมไทย

ส.พลายน้อย ได้นับถือบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในชีวิต ส.พลายน้อย นั่นคือ อาจารย์เปลื้อง ณ นคร หรือ นายตำรา ณ เมืองใต้ นักปราชญ์ด้านภาษาและวรรณคดีไทยที่เด็กชายสมบัติ พลายน้อย เคยสมัครเรียนวิชาการประพันธ์และการหนังสือพิมพ์ทางไปรษณีย์กับท่านตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมที่อยุธยาวิทยาลัย กระทั่งต่อมายังเป็นผู้ชักชวนให้ทำงานด้านวารสารของกระทรวงศึกษาธิการหลายฉบับ

"เหมือนท่านเป็นพ่ออีกคน ให้คำสั่งสอน ช่วยเหลือเกื้อกูล เสียดาย ไม่มีใครนึกถึง ไม่ได้ยกย่องท่านเป็นศิลปินแห่งชาติ ถามดู เดี๋ยวนี้ไม่มีคนรู้จัก เป็นรุ่นเก๋า ผมถึงบอกไง ที่บอก นักเขียนไม่มีวันตายน่ะ เดี๋ยวก็ตาย (หัวเราะ)"

พูดถึงภาษาและวรรณคดี ส.พลายน้อย นึกถึงเหตุการณ์ครั้งหนึ่งเคยไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผู้ฟังเป็นนักศึกษาเอกภาษาไทย "ผมถามว่าเคยอ่านพระอภัยมณีไหม เขาบอก ไม่เคย อ้าวแล้วกัน! ทำไมเอกภาษาไทยไม่อ่านวรรณคดีไทย มันก็หมด จะเป็นเอกไปได้อย่างไร"

ส.พลายน้อย มีผลงานเขียนส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม นิทานปกิณกะ รวมกว่า ๑๐๐ เล่ม เช่น สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย, เล่าเรื่องบางกอก, เล่าเรื่องพม่ารามัญ, สารคดีน่ารู้สารพัดนึก, คนดังในอดีต, เกิดในเรือ, พระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนูปถัมภกผู้ยิ่งใหญ่, เกร็ดภาษาหนังสือไทย (ฉบับปรับปรุง), เกิดครั้งพุทธกาล, ครัวไทย, พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีผู้ซื่อสัตย์, กระยานิยาย : เรื่องน่ารู้สารพัดรสจากรอบ ๆ สำรับ ฯลฯ
 
รวมทั้งยังมีผลงานเขียนในวารสารหลายฉบับ เช่น ศิลปวัฒนธรรม, สารคดี, เมืองโบราณ, วัฒนธรรมไทย, ต่วย’ตูน, ความรู้คือประทีป

นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ 'สำนักพจนานุกรม ฉบับมติชน' ในโครงการจัดทำพจนานุกรมฉบับมติชน อีกด้วย

* บทสัมภาษณ์ที่นำมาลงนี้ ตัดและเรียบเรียงมาจากบทความเรื่อง เปิดตู้หนังสือ 'ส.พลายน้อย' ๙๑ ปี ของชีวิต 'ผมยังอยากเขียนอะไรอีกเยอะ' ของคอลัมน์หน้าประชาชื่น มติชนรายวัน เผยแพร่วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๗๓
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 ก.ค. 22, 08:35

The People : ๙๐ ปี ในความทรงจำของนักเขียนรุ่นใหญ่ - ส.พลายน้อย

https://www.thepeople.co/read/interview/17728

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 ก.ค. 22, 09:23

ตัวอย่างผลงาน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 ก.ค. 22, 10:16

อื่น ๆ อีกมากมาย ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 ก.ค. 22, 10:35

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 08 ก.ค. 22, 15:35

ส.พลายน้อย นักเขียนผู้มีกระจกมองหลัง

อรุณ วัชระสวัสดิ์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 ก.ค. 22, 08:35

วาระสุดท้ายของ ส.พลายน้อย ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 ก.ค. 22, 10:35

ชวนอ่านบทความของ ส.พลายน้อย ซึ่งเคยตีพิมพ์ลงใน ๑๐ ปี (๒๔ พฤษภาคม ๒๔๗๒-๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕) แรกวารสารเมืองโบราณ เพื่อแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปของท่าน

ปีใหม่สมัยเก่า
วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ (มกราคม - มีนาคม  ๒๕๑๙)

สงกรานต์
วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๓ (เมษายน - มิถุนายน ๒๕๑๙)

คนจีนครั้งสร้างกรุง
วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๖ (สิงหาคม - กันยายน ๒๕๒๒)

พระราชวังบางปะอิน
วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๓ (สิงหาคม - พฤศจิกายน ๒๕๒๓)

เหตุการณ์เมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ (ธันวาคม ๒๕๒๔ - มกราคม ๒๕๒๕)

ภาพจิตรกรรมในอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม
วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ (ธันวาคม ๒๕๒๕ - มีนาคม ๒๕๒๖)

ความเป็นมาของพระพุทธรูป
วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๓ (เมษายน – กรกฎาคม ๒๕๒๖)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง