เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 3225 ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 13 มิ.ย. 22, 10:48

ในความสับสนทั้งหมดข้างบนนี้   ดิฉันวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อๆ ให้คุณเพ็ญชมพู และคุณ T.Klinhom ช่วยพืจารณา

1  พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ท่านมีชื่อเดิมว่า "พุก" แน่นอน   ยืนยันได้โดยหลักฐานชั้นปฐมภูมิจากการขอนามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ 6  ซึ่งผู้ทำเรื่องกราบบังคมทูลฯ จะต้องระบุชื่อบรรพบุรุษของตนไปด้วย    มีบันทึกว่านามสกุลพระราชทาน   หมายเลข  ๐๓๔๙  คือ โชติกพุกกณะ  สะกดเป็นอักษรโรมัน ว่า  Jotikabukkana
 ผู้ขอคือ พระตำรวจตรี พระยากำแหงรณฤทธิ์ (ฉาย) สมุหบาญชีใหญ่ กรมพระตำรวจ กับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฮวด) กรมท่าซ้าย กระทรวงนครบาล บุตรพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก)   
  https://sites.google.com/site/thailandsurname/home/-ch-1
  ในเมื่อบรรพบุรุษชื่อ "พุก" นามสกุลนี้จึงพระราชทานว่า โชติกพุกกณะ   ส่วนพระยาโชฎึกราชเศรษฐีอีกท่านที่มีชื่อเดิมว่า เล่าเถียน   พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6  พระราชทานนามสกุลว่า โชติกเสถียร   ด้วยนัยเดียวกัน คือมีชื่อบรรพบุรุษอยู่ในนามสกุล
  นอกจากนี้ยังมีหลักฐานในหนังสือเกี่ยวกับประวัติของสกุลโชติกพุกกณะ ที่คุณเพ็ญชมพูแสดงไว้ในคห. 7  ว่า ท่านชื่อเดิมวา "พุก"
2  ถ้าหากว่าพระยาโชฎึก(พุก) มีแซ่ว่า แซ่ตัน   การออกเสียงแซ่ทำให้สันนิษฐานว่าท่านเป็นจีนฮกเกี้ยน   ไม่ใช่แต้จิ๋ว หรือแคะ หรือจีนกลาง 
    แต่ถ้าท่านแซ่อื่น ข้อนี้ก็ตกไป
3  คำว่า "พุก" เป็นได้ทั้งภาษาจีนและไทย   ถ้าเป็นจีนก็เป็นได้ทั้งฮกเกี้ยน แคะ และแต้จิ๋ว
4  บุตรของพระยาโชฎึกฯ ที่ชื่อพระยาโชฎึกราชเศรษฐีเช่นกัน    มีนามเดิมว่า ฮวด หรือบุ้นฮวด  คำนี้เป็นการออกเสียงแบบแต้จิ๋ว
   ทำให้คิดว่า "พุก" น่าจะเป็นสำเนียงแต้จิ๋วด้วย    เพราะไม่น่าเป็นไปได้ที่พ่อเป็นฮกเกี้ยน แล้วจะตั้งชื่อลูกเป็นแต้จิ๋ว
ุุ5 ชื่อนายลี้เซ่งเต็ก   ปรากฏในหนังสือของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร และในกูเกิ้ล   แต่ไม่ทราบที่มาว่าได้มาจากหลักฐานใด   ในเมื่อหลักฐานในสมัยก่อนหน้าที่เกี่ยวกับตระกูลโชติกพุกกณะ ล้วนระบุว่าท่านชื่อ "พุก"
6  ถ้าหากว่านายลี้เซ็งเต็กเป็นคนเดียวกับเจ้าสัวพุก  ก็ควรมีคำอธิบายว่าทำไมนายลี้เซ็งเต็ก ถึงมีอีกชื่อว่า นายพุก แซ่ตัน หรือนายตันพุก    ทำไมคนคนเดียวถึงเรียก 2 ชื่อและแซ่ ไม่เหมือนกัน
7  ถ้านายพุก แซ่ตันเป็นคนละคนกับพระยาโชฎุึกราชเศรษฐี (พุก)   ข้อ 1-6  ก็จบกันไป

กลับมาถามคุณ T.Klinhom ว่าคุณมีหลักฐานอะไรนอกเหนือจากหนังสือของคุณพิมพ์ประไพบ้างที่ทำให้เชื่อว่าพระบริบูรณ์ธนากร มีชื่อว่าพุก แซ่ตัน และเป็นคนละคนกับพระยาโชฎึกฯ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 13 มิ.ย. 22, 19:05

ในความสับสนทั้งหมดข้างบนนี้   ดิฉันวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อๆ ให้คุณเพ็ญชมพู และคุณ T.Klinhom ช่วยพืจารณา

1  พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ท่านมีชื่อเดิมว่า "พุก" แน่นอน   ยืนยันได้โดยหลักฐานชั้นปฐมภูมิจากการขอนามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ 6  ซึ่งผู้ทำเรื่องกราบบังคมทูลฯ จะต้องระบุชื่อบรรพบุรุษของตนไปด้วย    มีบันทึกว่านามสกุลพระราชทาน   หมายเลข  ๐๓๔๙  คือ โชติกพุกกณะ  สะกดเป็นอักษรโรมัน ว่า  Jotikabukkana
 ผู้ขอคือ พระตำรวจตรี พระยากำแหงรณฤทธิ์ (ฉาย) สมุหบาญชีใหญ่ กรมพระตำรวจ กับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฮวด) กรมท่าซ้าย กระทรวงนครบาล บุตรพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก)   
  https://sites.google.com/site/thailandsurname/home/-ch-1
  ในเมื่อบรรพบุรุษชื่อ "พุก" นามสกุลนี้จึงพระราชทานว่า โชติกพุกกณะ   ส่วนพระยาโชฎึกราชเศรษฐีอีกท่านที่มีชื่อเดิมว่า เล่าเถียน   พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6  พระราชทานนามสกุลว่า โชติกเสถียร   ด้วยนัยเดียวกัน คือมีชื่อบรรพบุรุษอยู่ในนามสกุล
  นอกจากนี้ยังมีหลักฐานในหนังสือเกี่ยวกับประวัติของสกุลโชติกพุกกณะ ที่คุณเพ็ญชมพูแสดงไว้ในคห. 7  ว่า ท่านชื่อเดิมวา "พุก"
2  ถ้าหากว่าพระยาโชฎึก(พุก) มีแซ่ว่า แซ่ตัน   การออกเสียงแซ่ทำให้สันนิษฐานว่าท่านเป็นจีนฮกเกี้ยน   ไม่ใช่แต้จิ๋ว หรือแคะ หรือจีนกลาง 
    แต่ถ้าท่านแซ่อื่น ข้อนี้ก็ตกไป
3  คำว่า "พุก" เป็นได้ทั้งภาษาจีนและไทย   ถ้าเป็นจีนก็เป็นได้ทั้งฮกเกี้ยน แคะ และแต้จิ๋ว
4  บุตรของพระยาโชฎึกฯ ที่ชื่อพระยาโชฎึกราชเศรษฐีเช่นกัน    มีนามเดิมว่า ฮวด หรือบุ้นฮวด  คำนี้เป็นการออกเสียงแบบแต้จิ๋ว
   ทำให้คิดว่า "พุก" น่าจะเป็นสำเนียงแต้จิ๋วด้วย    เพราะไม่น่าเป็นไปได้ที่พ่อเป็นฮกเกี้ยน แล้วจะตั้งชื่อลูกเป็นแต้จิ๋ว
ุุ5 ชื่อนายลี้เซ่งเต็ก   ปรากฏในหนังสือของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร และในกูเกิ้ล   แต่ไม่ทราบที่มาว่าได้มาจากหลักฐานใด   ในเมื่อหลักฐานในสมัยก่อนหน้าที่เกี่ยวกับตระกูลโชติกพุกกณะ ล้วนระบุว่าท่านชื่อ "พุก"
6  ถ้าหากว่านายลี้เซ็งเต็กเป็นคนเดียวกับเจ้าสัวพุก  ก็ควรมีคำอธิบายว่าทำไมนายลี้เซ็งเต็ก ถึงมีอีกชื่อว่า นายพุก แซ่ตัน หรือนายตันพุก    ทำไมคนคนเดียวถึงเรียก 2 ชื่อและแซ่ ไม่เหมือนกัน
7  ถ้านายพุก แซ่ตันเป็นคนละคนกับพระยาโชฎุึกราชเศรษฐี (พุก)   ข้อ 1-6  ก็จบกันไป

กลับมาถามคุณ T.Klinhom ว่าคุณมีหลักฐานอะไรนอกเหนือจากหนังสือของคุณพิมพ์ประไพบ้างที่ทำให้เชื่อว่าพระบริบูรณ์ธนากร มีชื่อว่าพุก แซ่ตัน และเป็นคนละคนกับพระยาโชฎึกฯ


อาจารย์ครับ ข้อ ๔  บุ้นฮวด  เป็นฮกเกี้ยนก็ได้ครับ
文發 ฮกเกี้ยนจะอ่าน บุ๋นฮวด แต้จิ๋วอ่าน บุ้นหวด มันคล้ายกันมากครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 มิ.ย. 22, 08:40

ขอบคุณค่ะ อาจารย์หมอ CVT กำลังอยากหาคนช่วยวิเคราะห์ภาษาจีนอยู่พอดีค่ะ

ใจดิฉันนั้นเอียงไปทางว่า พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ต้นสกุลโชติกะพุกกณะ เป็นคนละคนกับนายลี้เซ็งเต็ก   ชื่อเดิมท่านคือพุก แซ่ตัน   
ปกติทางวัดมักจะเก็บหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับวัดเอาไว้อย่างดี เช่นรายชื่อเจ้าอาวาส  ผู้สร้างหรือผู้อุปถัมภ์สำคัญ    เพราะวัดเป็นแหล่งรวมของมหาเปรียญทั้งหลายที่รู้หนังสือ  ตำราโบราณต่างๆก็เก็บไว้ที่วัด

แต่ก็ยังตะหงิดๆว่าทำไมลูกพระยาโชฎึก (พุก) ถึงมีชื่อเป็นแต้จิ๋ว ถ้าพ่อเป็นฮกเกี้ยน 
แต่พอคุณหมอบอกว่า บุ้นฮวด เป็นฮกเกี้ยนได้ ก็เท่ากับคลี่คลายไปได้อีก 1 เปลาะ

ใจยังเอียงไปข้างที่ว่า พระบริบูรณ์ธนากรกับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี(พุก) เป็นคนเดียวกัน    เพราะขุนนางไทยเลื่อนจากบรรดาศักดิ์น้อยขึ้นไปหามาก  เช่นจากขุน เป็นหลวง เป็นพระ เป็นพระยา เป็นเจ้าพระยา
ถ้าพระยาโชฎึกฯ จะได้ตำแหน่งเจ้ากรมท่าซ้าย ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ๆก้าวพรวดเดียวจากนายตันพุกขึ้นเป็นพระยา ต้องมีบรรดาศักดิ์อื่นที่ต่ำกว่ามาก่อน 
ถ้าท่านเคยเป็นพระบริบูรณ์ธนากรมาก่อนเป็นพระยาโชฎึกฯ ก็ดูเข้าเค้า    เพราะบริบูรณ์ธนากรแสดงว่าขุนนางคนนี้รวยมาก  เป็นขุนนางค้าๆขายๆ เช่นพวกเจ้าภาษี  ไม่ใช่ขุนนางรบทัพจับศึก 
คนที่ทำการค้าจนสามารถทำบุญบูรณะวัดเก่าแก่รกร้างจนกลายเป็นวัดสวยงามได้  (เรียกว่าเท่ากับสร้างใหม่น่ะแหละ )
ต้องเป็นคนมีเงินทองบริบูรณ์
ส่วนพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ราชทินนามก็บ่งอยู่แล้วว่าคนรับตำแหน่งนี้ได้ ต้องห่างไกลจากฐานะยากจนหรือแม้แต่ปานกลางแน่นอน   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 มิ.ย. 22, 10:35

(๑)ใจดิฉันนั้นเอียงไปทางว่า พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ต้นสกุลโชติกะพุกกณะ เป็นคนละคนกับนายลี้เซ็งเต็ก   ชื่อเดิมท่านคือพุก แซ่ตัน  

(๒)ใจยังเอียงไปข้างที่ว่า พระบริบูรณ์ธนากรกับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี(พุก) เป็นคนเดียวกัน    เพราะขุนนางไทยเลื่อนจากบรรดาศักดิ์น้อยขึ้นไปหามาก  เช่นจากขุน เป็นหลวง เป็นพระ เป็นพระยา เป็นเจ้าพระยา

(๑) หลักฐานว่า พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) มีแซ่ ลี้ หรือ หลี่ (李) คือ ชื่อจีนของ พระยาโชฎึกราชเศรษฐีผู้ลูกและหลาน

ชื่อจีนของ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฮวด) คือ Li Guat Chew และของ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ผ่อง) คือ Li Thye Phong

(๒) บรรดาศักดิ์ก่อนเป็น พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฮวด) คือ พระบริบูรณ์โกษากร  และบรรดาศักดิ์ก่อนเป็น พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ผ่อง) คือ หลวงไมตรีวาณิช

จากหนังสือ Twentieth Century Impressions of Siam หน้า ๑๕๖


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 มิ.ย. 22, 18:39

ติดต่อไปยังอาจารย์ถาวร สิกขโกศล  ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาและวัฒนธรรมจีน    ท่านกรุณาไปค้นคว้าสอบถามมาให้
ได้คำตอบมาดังนี้ค่ะ

คุณเศรษฐพงษ์ จงสงวนไปอ่านป้ายสถิตวิญญาณที่บ้านสกุลโชติกพุกณะ  ขณะนั้นท่านปั้น บุตรพระยาโชฎึกผ่องยังมีชีวิตอยู่ อายุ90 เศษเป็นคนพาเข้าไปอ่าน
พระยาโชฎึกพุก มีชื่อที่ป้ายสถิตวิญญาณว่าลี้เซ่งเต๊ก เป็นคนบ้านหงั่วซัว อำเภอเท่งไฮ้ เมืองแต้จิ๋ว  ชื่อเซ่งเต๊กเป็นชื่อทางการ เหมือนชื่อเหี้ยนเต๊กของเล่าปี่(แต่ฉ.ไทยแปลคลาดเคลื่อนไปว่า เมื่อน้อยชื่อเหี้ยนเต๊ก ควาจริงเป็นชื่อเมื่อโต) พุกอาจเป็นอีกชื่อหนึ่งของท่าน 
ท่านใช้ชื่อยี่ห้อการค้าว่า กิมตึ๋งฮกกี่  ฮก แปลว่าบุญวาสนา อาจกลายเสียงเป็น พก พุก ได้  ส่วนลูกชายท่านชื่อบุ้นฮวด แปลว่าอารยวัฒน์ ฮวดแปลว่าเจริญ รุ่งเรือง วัฒนา เสียงจีนแคะว่า ฝัด
ฉะนั้นตระกูลนี้เป็นจีนแต้จิ๋วแน่นอน
เจ้าสัวบุ้นฮวดใช้ยี่ห้อการค้าว่า กิมตึ๋งฮวดกี่  กิมตึ๋งแปลว่า ห้องโถงลายคำหรือห้องโถงอันสวยงามดุจแพร ที่มีดอกดวง ฮวด แปลว่าเจริญรุ่งเรือง กี่ แปลว่าเครื่องหมายการค้าครับ คนทั่วไปคงจะเรียกเจ้าสัวเซ่งเต๊กตามยี่ห้อการค้าว่าเจ้าสัวฮก แล้วกลายเสียงเป็นพุก ก็ได้ครับ

ส่วนพระบริบูรณ์ธนากร พุก นั้นอาจจะเป็นคนละคนกับ พุก โชฎึก หรือไม่ก็เข้าใจผิดว่าท่านแซ่ตัน

อ. Li Guat Cheu นั้น น่าจะมาจากเสียงจีนแต้จิ๋วว่า ลี้ฮวด...  พยางค์สามผมโยงหาคำจีนไม่ถูก แต่ Li Thye Phong น่าจะเป็นลี้ไท่พ้ง ไท่ แปลว่ ใหญ่ มหา พ้งคือนกในตำนานจีน เทียบได้กับครุฑของไทย แต่รูปวาดคล้ายนกวายุภักษ์ครับ สรุปว่า เจ้าสัวผ่องก็น่าจะมีชื่อจีน เสียงแต้จิ๋วว่าพ้ง  จีนกลางว่าเผิง


ขอขอบพระคุณอาจารย์ถาวรเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 14 มิ.ย. 22, 19:35

ยังมีอีกชื่อหนึ่งซึ่งเป็นกิจการของตระกูลลี้ คือ โรงสีข้าว Li Tit Guan

จาก The Directory & Chronicle for China, Japan, Corea, Indo-China, Straits Settlements, Malay States, Siam, Netherlands India, Borneo, the Philippines, &c 1908 หน้า ๑๑๗๕


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 14 มิ.ย. 22, 21:35

Li Thye Phong น่าจะเป็นลี้ไท่พ้ง ไท่ แปลว่ ใหญ่ มหา พ้งคือนกในตำนานจีน เทียบได้กับครุฑของไทย แต่รูปวาดคล้ายนกวายุภักษ์ครับ สรุปว่า เจ้าสัวผ่องก็น่าจะมีชื่อจีน เสียงแต้จิ๋วว่าพ้ง  จีนกลางว่าเผิง

อีกทางหนึ่ง Phong อาจมา "ผ่อง" ในภาษาไทย ซึ่งเป็นชื่อที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ตั้งให้

จาก หนังสือจดหมายเหตุเรื่องพระราชไมตรีในระวางกรุงสยามกับกรุงจีน พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพมหาอำมาตย์ตรี พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ผ่อง โชติกะพุกกณะ) ปีระกา ๒๔๗๖


บันทึกการเข้า
T.Klinhom
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 มิ.ย. 22, 11:12

ขอเพิ่มเติมข้อมูลครับ หลักฐานจากทางวัดที่ระบุว่าเป็นพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน) เป็นผู้บูรณะวัด เพราะที่วัดเคยมีหลักฐานเป็นจารึกแผ่นหินอยู่ที่ซุ้มประตูกำแพงแก้วครับ เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันได้หายไปแล้ว แต่ยังปรากฏในหนังสืองานศพของอดีตเจ้าอาวาสที่ได้อ้างถึงแผ่นจารึกนี้ไว้ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 มิ.ย. 22, 10:35

ปรากฏในหนังสืองานศพของอดีตเจ้าอาวาสที่ได้อ้างถึงแผ่นจารึกนี้ไว้ครับ

อดีตเจ้าอาวาสท่านไหนหนอ ? อยากเห็นข้อความที่กล่าวถึงแผ่นจารึกในหนังสืองานศพของท่าน ยิงฟันยิ้ม

"วัดนาคปรก มีเจ้าอาวาสครองวัดมาแล้วหลายรูป แต่ไม่มีการจดบันทึกไว้ เริ่มมาบันทึกเป็นทางการถึงปัจจุบัน รวม ๕ รูป คือ


๑. พระอธิการ คงชูนาม พ.ศ. ๒๔๕๔-๒๔๗๗

๒. พระอธิการเลี่ยม นนฺทิโย พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๐๕

๓. พระอาจารย์อำนาจ นราสโภ พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๑๒

๔. พระครูศรีพัฒนคุณ (พิศิษฐ สิมมามี) พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๔๒

๕. พระครูวรกิตติโสภณ (เศรษฐกิจ สมาหิโต) พ.ศ. ๒๕๔๓-ปัจจุบัน"

https://monkhistory.kachon.com/353480
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 มิ.ย. 22, 15:03

หนังสืองานศพอดีตเจ้าอาวาสน่าจะเล่มนี้ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 มิ.ย. 22, 15:04

เนื้อหาที่อ้างถึงจารึกที่ซุ้มประตู


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 มิ.ย. 22, 11:35

ถ้าจารึกที่ซุ้มประตูกำแพงแก้ว ระบุว่าเป็น "ผู้สร้างวัด" แทนที่จะเป็น "ผู้บูรณะวัด" ข้อมูลเรื่อง  "แซ่ตัน " ของเจ้าสัวพุกดูจะด้อยความน่าเชื่อถือลง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 21 มิ.ย. 22, 09:18

สงสัยว่าคงจะตอบได้แค่นี้ คือพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน) เป็นคนละคนกับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี(พุก)   ดูจากนามสกุลแล้วท่านน่าจะเป็นจีนฮกเกี้ยน 
แต่ไม่รู้ว่าท่านมีลูกหลานสืบสกุลต่อมาหรือเปล่า  และใช้นามสกุลว่าอะไร ก็ยังไม่ทราบเหมือนกันค่ะ

เปิดกระทู้ไว้แค่นี้ เผื่อมีผู้รู้เข้ามาตอบในอนาคต
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 21 มิ.ย. 22, 10:35

ณ เวลานี้ผมกำลังเขียนเรื่อง (บท). เรื่องสยามประเทศ เป็นเรื่องของสมัย รศ. ๑๑๒ หรือจะเป็นเรื่องการเสียดินแดนก็คงจะได้. แต่เรื่องของผมเริ่มเรื่อง สมัย รศ.๑๐๔ เมื่อพระนายไวยฯ ได้เดินทางไปรบฮ่อที่แคว้นหัวพันห้าทั้งหก

ตัวละคอนในเรื่องจะเป็นบุคลในจินตนาการล้วน ๆ ไม่มีตัวตน (หวังว่าเช่นนั้น) พระเอกของเรื่องเป็นหม่อมราชวงค์ คือ ร้อยโท มรว.เต็ม อัษฎาภักดี นางเอกจะเป็นไฮโซในยุคนั้นคือ คุณนงเยาว์ รัษฎากร บุตรสาวของพระยารัษฎามหาสมบัติ (พุก แซ่ตัน) ไม่ต้องไปเปิดทำเนียบดูหรอกครับเพราะเป็นพระยาในจินตนาการล้วน ๆ

ตามบทภาพยนตร์ของท่าน Cinephile ในจินตนาการของท่าน ลูกหลานของท่านพุก แซ่ตันใช้นามสกุลว่า "รัษฎากร"

ที่น่าสนใจคือ ท่านเอาชื่อ พุก แซ่ตัน มาจากไหนหนอ ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 21 มิ.ย. 22, 14:34

ต้องรอท่าน Cinephile แวะมาเฉลย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง