เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 3146 ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
T.Klinhom
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 10 มิ.ย. 22, 22:29

จากการสืบค้นทราบแต่เพียงว่าพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน) เป็นผู้บูรณะวัดนาคปรก ภาษีเจริญ แต่ไม่มีข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับท่านเลยครับ อยากทราบว่าท่านเป็นต้นตระกูลใดและมีประวัติอย่างไรบ้าง มีท่านใดทราบบ้างไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 มิ.ย. 22, 08:31

 ตามประวัติเล่าสืบกันว่า สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๓-๔) มีพ่อค้าเรือสำเภาชาวจีนชื่อ เจ้าสัวพุก แซ่ตัน เดินทางมาประกอบการค้าขายที่พระนคร ฝั่งธนบุรี ย่านตลาดพลู   กระทั่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น"พระบริบูรณ์ธนากร" โดยได้ตั้งหลักปักฐานและแต่งงานกับหญิงไทย

 ภรรยาของเจ้าสัวพุก เป็นหญิงที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง โดยได้ชักชวนเจ้าสัวพุกทำบุญบูรณะวัดที่ถูกทิ้งร้าง เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม กิจกรรม และศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา

 ในขณะนั้นวัดนาคปรกเป็นวัดที่ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สร้างใน พ.ศ.๒๒๙๑ ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยา ๑๙ ปี) สภาพอุโบสถเหลือแต่หลังคา และผนังเท่านั้น

เมื่อบูรณะอุโบสถแล้วเสร็จ เพื่อเป็นการตอบแทนคุณชาวไทยที่ทำให้การค้าขายของตนเติบโตก้าวหน้า ท่านได้จ้างช่างวาดภาพจากเมืองจีนให้มาเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นเครื่องบูชามงคลของชาวจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ตนเอง

 นอกจากนี้แล้ว ยังสร้างวิหารลักษณะทรงไทยเป็นอนุสรณ์แก่ภรรยา เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังลายไทย เล่าเรื่องราวการเสด็จลงจากดาวดึงส์ และเรื่องราวการชนะมารของพระพุทธเจ้า

 ครั้นแล้วได้อัญเชิญพระพุทธรูปปางมารวิชัย ๒ องค์ มาจากเมืองสุโขทัย โดยองค์หนึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ ซึ่งภายหลังชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อเจ้าสัว”

https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/63230
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 มิ.ย. 22, 08:41

ดูจาก“แซ่ตัน” ของพระบริบูรณ์ธนากร  ท่านเป็นจีนฮกเกี้ยน   เพราะแซ่ตันเป็นคำภาษาฮกเกี้ยน ถ้าเป็นภาษาจีนกลางเรียกว่า “แซ่เฉิน” ส่วนภาษาแต้จิ๋วคือ “แซ่ตั้ง”
เจ้าสัวพุก แซ่ตัน  ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (พุก แซ่ตัน) ต้นสกุล "โชติกพุกกณะ" ยังมีลูกหลานใช้นามสกุลนี้สืบต่อมาจนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 มิ.ย. 22, 08:55

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๓ "เจ้าสัวพุก" พ่อค้าคหบดีเชื้อสายจีน (ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (พุก แซ่ตัน ต้นสกุล "โชติกพุกกณะ") ได้มีศรัทธาเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดปก หรือวัดนาคปรก จากการชักชวนจากพระยาโชฏึกราชเศรษฐี (จ๋อง ต้นสกุลอิงคานนท์) ซึ่งเป็นผู้บูรณะวัดนางชีโชติการาม

จาก เว็บวัดนาคปรก



ภาพจากกระทู้ สอบถามเรื่องรูปพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก โชติกะพุกกณะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 มิ.ย. 22, 09:28

ได้รับนามสกุลพระราชทาน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 มิ.ย. 22, 09:43

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเชื้อสายพระบริบูรณ์ธนาการ(พุก แซ่ตัน) หรือต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นพระยาโชฎึกราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าซ้าย

บุตรชายคนหนึ่งของท่านชื่อฮวด หรือบุ้นฮวด ได้สืบตำแหน่งพระยาโชฎึกราชเศรษฐีต่อจากบิดา   พระยาโชฎึกฯ(ฮวด) สมรสกับคุณหญิงเพิ่ม ธิดาพระยาพิศลยสมบัติบริบูรณ์(เจ้าสัวยิ้ม ต้นสกุลพิศลยบุตร)
คุณหญิงเพิ่มเป็นน้องสาวเจ้าจอมมารดาอ่วมในรัชกาลที่ ๕  ซึ่งเป็นเจ้าจอมมารดาของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ากรมพระจันทบุรีนฤนาถ  ต้นราชสกุลกิติยากร
พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ฮวด) กับคุณหญิงเพิ่ม มีบุตรธิดา ๒ ท่านคือ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ผ่อง) และคุณหญิงเผื่อน  โชติกะพุกกณะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 มิ.ย. 22, 09:48

คุณเจ้าของกระทู่หาอ่านต่อได้ที่นี่ค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7290.0
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 มิ.ย. 22, 10:04

บุตรชายคนหนึ่งของท่านชื่อฮวด หรือบุ้นฮวด ได้สืบตำแหน่งพระยาโชฎึกราชเศรษฐีต่อจากบิดา   พระยาโชฎึกฯ(ฮวด) สมรสกับคุณหญิงเพิ่ม ธิดาพระยาพิศลยสมบัติบริบูรณ์(เจ้าสัวยิ้ม ต้นสกุลพิศลยบุตร)

คุณหญิงเพิ่มเป็นน้องสาวเจ้าจอมมารดาอ่วมในรัชกาลที่ ๕  ซึ่งเป็นเจ้าจอมมารดาของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ากรมพระจันทบุรีนฤนาถ  ต้นราชสกุลกิติยากร

พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ฮวด) กับคุณหญิงเพิ่ม มีบุตรธิดา ๒ ท่านคือ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ผ่อง) และคุณหญิงเผื่อน  โชติกะพุกกณะ

จาก คำนำใน หนังสืออธิบายเครื่องบูชา


บันทึกการเข้า
T.Klinhom
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 มิ.ย. 22, 12:32

ขอบคุณมากครับ แต่ผมได้สอบทานเรื่องเเซ่ของพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน) กับ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (พุก ต้นสกุลโชติกพุกกณะ) ท่านเป็นคนแซ่ลี้ พบว่าท่านทั้งสองนั้นคนละเเซ่กัน เลยคิดว่าท่านน่าจะเป็นคนละคนกันครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 มิ.ย. 22, 16:43

งั้นประวัติวัดนาคปรก ในเว็บนี้ ผิดหรือคะ

https://www.watnakprok.com/about


บันทึกการเข้า
T.Klinhom
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 มิ.ย. 22, 17:24

คิดว่าใช่ครับ วัดน่าจะเข้าใจผิดครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 มิ.ย. 22, 18:37

อยากเห็นหลักฐานที่แสดงว่าพระยาโชฎึกฯ ท่านแซ๋ลี้ ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 มิ.ย. 22, 19:20

ยิงฟันยิ้ม

พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) ต้นสกุลโชติกพุกกณะ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๗ มีนามในภาษาจีนว่า ลี้เซ่งเต็ก มีเชื้อสายจีนแคะ บิดาเป็นบัณฑิตผู้รู้จากเมืองจีน

ข้อมูลจาก หนังสือสำเภาสยาม ตำนานเจ๊กบางกอก โดย พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร

แซ่ลี้ในสำเนียง ฮากกา หรือ จีนแคะ ออกเสียงว่า แซ่หลี่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 มิ.ย. 22, 19:35

คิดว่าใช่ครับ วัดน่าจะเข้าใจผิดครับ

วัดน่าจะเข้าใจผิดว่า แซ่ของเจ้าสัวผู้บูรณะวัดนาคปรกคือ แซ่ตัน แท้จริงคือ แซ่หลี่

จากหนังสือ กระเบื้องถ้วยกะลาแตก โดย พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ หน้า ๑๐๖


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 มิ.ย. 22, 19:43

ลี้ เป็นคำออกเสียงแบบแต้จิ๋ว

มาอ่านข้อความนี้ดูนะคะ

 กำเนิดข้าวต้มกุ๊ยที่ตลาดน้อย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีพระบรมราชโองการให้นายลี้เซ่งเต็ก  บุตรชายของ ลี้ไค่กี่ บัณฑิตจากเมืองแต้จิ๋ว บรรพบุรุษมีอาชีพเดินเรือค้าขายเครื่องลายครามและกระเบื้องจีน ภายใต้ยี่ห้อ“กิมตึ๋งฮกกี่” ซึ่งเป็นที่นิยมของเศรษฐีและราชสำนัก จึงมีฐานะร่ำรวยปลูกคฤหาสน์หลังใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านฝั่งธนบุรี ด้านใต้ติดกับคลองต้นไทร(ปัจจุบันเป็นเชิงสะพานตากสิน) เยื้องกับวัดลาว(วัดยานนาวา) มีอาณาบริเวณกว้างกว่า ๑๐๐ ไร่ บำรุงวัดอุภัยราชบำรุง(วัดญวนตลาดน้อย)
พ.ศ.๒๔๑๔ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นายลี้เซ่งเต็ก(พุก) มีโอกาสเห็นบรรดากขุนนางจีนและพวกผู้ดีที่เมืองจีนนั่งรถลากกันอย่างสง่าผ่าเผย ไม่ต้องเดินสบายดี จึงซื้อติดสำเภาเข้ามาด้วยหลายคันและได้นำขั้นทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่ ๕ สำหรับประทับให้มหาดเล็กลากประพาสเล็กในพระบรมมหาราชวัง

https://www.facebook.com/groups/ThailandTeaLover/permalink/1354565667935670/

แปลกใจวิธีเขียนชื่อแซ่ในนี้  นายลี้เซ่งเต็ก ทำไมเขียนชื่อในวงเล็บว่า "พุก"  เคยเห็นแต่ราชทินนามไทย วงเล็บชื่อตัวซึ่งอาจเป็นชื่อจีนไว้ท้ายคำ ไม่เคยเห็นคนจีนเขียนชื่อแบบนี้
ทำไมนายลี้เซ่งเต็กถึงมีชื่อจีน 2 ชื่อ   แล้วยังบอกว่าในปี พ.ศ.๒๔๒๐ จีนพุก ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาโชฎึกเศรษฐี(พุก  โชติกะพุกกณะ)

แสดงว่ามีแหล่งอ้างอิง 2 แห่งที่ระบุชื่อบุคคลไม่ตรงกัน  แล้วมีความเข้าใจว่าทั้งสองคนนั้นคือคนเดียวกันงั้นหรือคะ จึงใส่ชื่อทั้งสองชื่อรวมกันเข้าไป
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง