เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26
  พิมพ์  
อ่าน: 18092 ฉากประทับใจในหนังเก่า (4)
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 345  เมื่อ 30 พ.ค. 23, 12:12

หนังสือ The movie stars story ออกจำหน่ายในปี 1984  ในปี 1986 ผมเห็นมันวางขายอยู่ในแผงหนังสือในห้าง Central สาขาสีลม  ห้างโปรดที่ผมไปเดินแทบจะทุกอาทิตย์  ผมจำราคาไม่ได้รู้แต่ว่ามันแพงเพราะมันเป็นหนังสือนำเข้า  แล้วยังเล่มใหญ่หนาหนักเพราะเป็นปกแข็งข้างในเป็นกระดาษมันอย่างดี  แต่ผมก็ควักเงิน (ดังหนับ) ซื้อมันมาอย่างไม่ต้องคิด




พอกลับมาถึงบ้านผมก็รีบเปิดออกสำรวจ  หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องดาราดังโดยแบ่งออกเป็นยุค ๆ  ยุคแรกเริ่มคือ 1920s  ขณะเริ่มพลิกดูพลางคิดว่า ‘จะมีปัญญาอ่านหมดมั้ยหว่า’ พอมาถึงหน้าหนึ่งของดาราในยุค 20s ผมก็หยุดตะลึงกับรูปของดาราหญิงคนหนึ่ง  นอกจากจะสวยแล้วรูปเธอใส่หมวก beret (ใช่ป่าว) ทำให้แลดูเก๋เหมือนผู้หญิงในยุคใหม่  แล้วผมก็ตั้งหน้าตั้งตาแกะเรื่องราวของเธอเป็นคนแรก




ประวัติคร่าว ๆ คือ Louise Brooks เกิดในปี 1906 เธอเป็นนักแสดงในยุค 20s  ผลงานของเธอไม่เด่นดัง  แต่สิ่งที่ทำให้เธอเด่นดังคือ style การแต่งตัวของเธอ  เธอช่วยผลักดันการแต่งกายในแบบที่เรียกว่า flapper คือ นุ่งกระโปรงสั้น  ไว้ผมบ๊อบ ใส่หมวก  และฟัง/เต้นกับเพลงแจ๊ส ให้แพร่หลายต่อสาธารณะชนอเมริกันผ่านทางสื่อ






เมื่อเซ็งกับงานที่ฮอลลีวู้ดที่ไม่ก่อให้เกิดความก้าวหน้า  เมื่อจบสัญญา LB ก็ข้ามไปเล่นหนังที่ยุโรปแทนในปี 1929   หนังที่เธอเล่นในยุโรปดังกว่าอเมริกา  แต่ปลายปีนั้นเธอก็กลับมาของานทำที่ฮอลลีวู้ด  แต่นิสัยไม่ยอมใครทำให้เธอไปงัดข้อกับ Harry Cohn ซึ่งเป็นประธานของ Columbia Studio  ผลก็คืออาชีพเธอดับวูบ

ในปี 1932 LB กลายเป็นคนล้มละลายและหายไปจากวงการบันเทิง  มีข่าวลือว่าช่วงนั้นเธอหาเงินจากอาชีพ ‘paid escort’

ใน 1955 LB กลับมาดังอีกครั้ง...




การค้นพบกากฟิล์มของ LB นำมาซึ่งเทศกาลหนังของ Louise Brooks (1957) ส่งให้เธอกลับขึ้นมาดังในแวดวงบันเทิงของอเมริกาอีกครั้ง  แม้จะไม่เกี่ยวกับการแสดง  ความโล่งอกที่อนาคตกลับมามั่นคงอีกครั้งทำให้เธอผ่อนคลายความกังวลแล้วลงมือเขียนบทความและหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับชีวิตและอาชีพของตัวเอง

A collection of her writings, titled Lulu in Hollywood, published in 1982 and still in print, was heralded by film critic Roger Ebert as "one of the few film books that can be called indispensable."

LB ตายในปี 1985 ด้วยโรคหัวใจ เพียง 1 ปีหลังจากหนังสือประวัติดาราฮอลลีวู้ดที่ผมซื้อมาตีพิมพ์  ในส่วนประวัติของเธอจึงยังไม่ได้ลงวันตายของเธอ

หนัง Beggars of life (1928) ได้ชื่อว่าเป็นหนังดังที่สุดในอาชีพของเธอ  นี่คือเรื่องย่อ: After killing her treacherous step-father, a girl tries to escape the country with a young vagabond. She dresses as a boy, they hop freight trains, quarrel with a group of hobos, and steal a car in their attempt to escape the police, and reach Canada.

(ผมว่าหน้าตาเธอเหมือนคนยุคใหม่นะ)


หนัง Pandora’s Box (1929) ถ่ายทำในเยอรมัน (เพลงประกอบเป็นของทำขึ้นมาใหม่)



หนัง Diary of a lost girl (1929)



หนังเสียง God’s gift to women (1931)



อีกเรื่องหนึ่งที่โหมกระพือความดังให้กับ LB ในช่วงรุ่งโรจน์ของเธอคือ  รสนิยมทางเพศของเธอ  ข่าวหนาหูบอกว่าเธอได้ชื่อว่าเป็น lesbian คนแรกของฮอลลีวู้ด ซึ่งเจ้าตัวไม่ยอมรับหรือปฏิเสธ
 
According to biographer Barry Paris, Brooks had a "clear preference for men", but she did not discourage the rumors that she was a lesbian, both because she relished their shock value, which enhanced her aura, and because she personally valued feminine beauty. Paris claims that Brooks "loved women as a homosexual man, rather than as a lesbian, would love them. ... The operative rule with Louise was neither heterosexuality, homosexuality, or bisexuality. It was just sexuality ..."




ดีใจจังที่มีที่ให้ระบายเรื่องนี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 346  เมื่อ 30 พ.ค. 23, 12:30

   Louise Brooks  หน้าตาทันสมัยมากค่ะ  อยู่ในปี 2023 ได้สบาย

  การเป็นบุคคลสาธารณะ เป็นความเคราะห์ร้ายอย่างหนึ่ง   คือไม่ว่าคุณจะมีความสามารถทางอาชีพการงานมากขนาดไหน ก็ตาม   แต่ถ้าคุณมีเรื่องส่วนตัวที่สื่อจะนำไปฉีกเป็นชิ้นๆได้   มันก็จะกลายเป็นตราบาปติดตัวทั้งตอนที่ยังมีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว
  สงสารดาราหลายคนอย่าง Rock Hudson  Jim Nabors  และอีกหลายๆคนที่พอเอ่ยถึงชื่อเขาขึ้นมาทีไร  เดี๋ยวก็จะมีคำวิจารณ์ห้อยท้ายไม่ให้ลืมว่า (รู้ไหมว่า) เขาเป็นเกย์นะ    ฝีมือของเขาเลยถูกบดบังแสงลงไปเพราะเรื่องส่วนตัวนี่เอง
  ดิฉันก็เคยสงสัยว่า พฤติกรรมส่วนตัวของเขาพวกนี้ มีใครวิเคราะห์ออกมาได้ไหมว่ามันมีผลดีผลเสียอย่างไรกับฝีมือการทำงาน    อย่างสาวสวย Louise Brooks คนนี้ถ้าเธอเป็นหญิงแท้ มีสามีมีลูกเต้าไปตามปกติ   เธอจะแสดงดีขึ้น(หรือแย่ลง) หรืออย่างไรกันแน่  บรรดานักเขียนประวัติถึงต้องเสียเวลาไปค้นคว้ามาใส่เอาไว้เสียมากมาย
  แต่ถ้าเป็นนักเขียนละก็   พฤติกรรมส่วนตัวมีผลต่องานของพวกเขาแน่นอน    เวอร์จิเนีย วูลฟ์ป่วยเป็นโรคจิต  แต่เธอสามารถรำลึกถึงอารมณ์ความรู้สึกขณะป่วย และถ่ายทอดลงมาในผลงานได้   กลายเป็นงานสร้างสรรค์ไม่ซ้ำแบบใคร  ถ้าหากว่าเธอไม่ป่วย เธอก็เขียนแบบนี้ไม่ได้     นักเขียนชีวประวัติจึงมองข้ามพฤติกรรมส่วนตัวที่เป็นแรงบันดาลใจของนักเขียนไม่ได้
  ส่วนดารา ดิฉันยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่ดีละค่ะ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 347  เมื่อ 01 มิ.ย. 23, 12:00

   Louise Brooks  หน้าตาทันสมัยมากค่ะ  อยู่ในปี 2023 ได้สบาย

  การเป็นบุคคลสาธารณะ เป็นความเคราะห์ร้ายอย่างหนึ่ง   คือไม่ว่าคุณจะมีความสามารถทางอาชีพการงานมากขนาดไหน ก็ตาม   แต่ถ้าคุณมีเรื่องส่วนตัวที่สื่อจะนำไปฉีกเป็นชิ้นๆได้   มันก็จะกลายเป็นตราบาปติดตัวทั้งตอนที่ยังมีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว
  สงสารดาราหลายคนอย่าง Rock Hudson  Jim Nabors  และอีกหลายๆคนที่พอเอ่ยถึงชื่อเขาขึ้นมาทีไร  เดี๋ยวก็จะมีคำวิจารณ์ห้อยท้ายไม่ให้ลืมว่า (รู้ไหมว่า) เขาเป็นเกย์นะ    ฝีมือของเขาเลยถูกบดบังแสงลงไปเพราะเรื่องส่วนตัวนี่เอง
  ดิฉันก็เคยสงสัยว่า พฤติกรรมส่วนตัวของเขาพวกนี้ มีใครวิเคราะห์ออกมาได้ไหมว่ามันมีผลดีผลเสียอย่างไรกับฝีมือการทำงาน    อย่างสาวสวย Louise Brooks คนนี้ถ้าเธอเป็นหญิงแท้ มีสามีมีลูกเต้าไปตามปกติ   เธอจะแสดงดีขึ้น(หรือแย่ลง) หรืออย่างไรกันแน่  บรรดานักเขียนประวัติถึงต้องเสียเวลาไปค้นคว้ามาใส่เอาไว้เสียมากมาย
  แต่ถ้าเป็นนักเขียนละก็   พฤติกรรมส่วนตัวมีผลต่องานของพวกเขาแน่นอน    เวอร์จิเนีย วูลฟ์ป่วยเป็นโรคจิต  แต่เธอสามารถรำลึกถึงอารมณ์ความรู้สึกขณะป่วย และถ่ายทอดลงมาในผลงานได้   กลายเป็นงานสร้างสรรค์ไม่ซ้ำแบบใคร  ถ้าหากว่าเธอไม่ป่วย เธอก็เขียนแบบนี้ไม่ได้     นักเขียนชีวประวัติจึงมองข้ามพฤติกรรมส่วนตัวที่เป็นแรงบันดาลใจของนักเขียนไม่ได้
  ส่วนดารา ดิฉันยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่ดีละค่ะ


'จารเคยดูหนัง Who's afraid of Virginia Woolf? มั้ยครับ  พาดพิงถึงนักเขียนคนนี้รึเปล่าครับ  โหน่งดูไม่จบ  เหมือนดูหนังโรคจิต  เกิดความเครียดมากกว่าความบันเทิง


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 348  เมื่อ 01 มิ.ย. 23, 12:05

Mrs. Harris goes to Paris ออกฉายในปี 2022  บรรยากาศของหนังเกิดขึ้นที่อังกฤษในยุคปลาย 1950s   Ada Harris เป็นหญิงวัยกลางคนมีอาชีพรับจ้างทำความสะอาดตามบ้าน  สมาชิกประจำก็เช่นนักแสดงสาวกิ๊กก๊อกที่พยายามไขว่คว้าหาโอกาส  สตรีสูงศักดิ์ที่มีแต่ศักดิ์ศรีแต่ไม่มีเงิน ฯลฯ

ยามผ่อนคลาย AH จะออกไปเต้นรำในคลับของชนชั้นกรรมาชีพ  ชีวิตของเธอเรียบง่าย  มีความสุขตามอัตภาพ

วันหนึ่งขณะทำงานใน apartment (ที่อังกฤษเรียก flat) ของเลดี้ขี้ตืดที่ติดเงินค่าจ้างเธอเป็นประจำ  AH ก็พบชุดสวยทำจากห้องเสื้อ Dior เป็นชุดที่เรียกว่า haute couture  หลังจากชื่นชมอย่างดูดดื่ม AH ก็ตั้งปณิธานไว้ว่าจะต้องเก็บเงินแล้วไปซื้อชุดแบบนี้มาบ้าง

การออมเงินของเธอมีอุปสรรคแต่โชคช่วยเมื่อผัวเธอที่ตายในสงครามทำให้เธอได้รับ war-widow pension  ทำให้เธอสามารถออกเดินทางไปปารีสเพื่อตามความฝัน

ชีวิตของ AH ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลง



วันที่ AH ไปถึงปารีสทางห้องเสื้อ Dior กำลังจัดงานใหญ่  AH ได้บังเอิญหลุดเข้าไปงานด้วยการจับผลัดจับผลู  จากนั้นการผจญภัยก็เริ่ม
 
การที่แม่บ้านต๊อกต๋อยหลุดเข้าไปในห้องเสื้อหรูระดับโลกสร้างความโกลาหลขึ้น  ในงานแสดงฯ ที่ห้องเสื้อฯ ในวันนั้น AH ได้พบเพื่อนใหม่คือหนุ่มการเงิน สาวดาวเด่นของ Dior และ Marquise หม้าย  รวมถึงผู้บริหารสาวใหญ่หัวโบราณที่ยังเคร่งขรัดกับประเพณีเก่า ๆ

(เรื่องราวมีแค่ 1 นาทีแรก  หลังจากนั้นเป็นตัวอย่างหนัง)


เผอิญตอนนั้นสถานภาพทางการเงินของห้องเสื้อกำลังบรรลัยเพราะคนสั่งทำชุดแม้จะเป็นผู้ดีตีนแดงแต่ฐานะการเงินง่อนแง่นกันทั้งนั้น  ล้วนเบี้ยวเงินบ้าง ขี้ตืดจ่ายไม่ครบบ้าง ฯลฯ  การที่ AH ควักเงินสดมาซื้อชุดทำให้เจ้าหน้าที่กระอักกระอ่วนเพราะมันเป็นเงินจำนวนมากซึ่งทางห้องเสื้อกำลังต้องการ แต่คนจ่ายเป็นชนชั้นกรรมาชีพ  แม้จะซื้อเงินสดแต่การดูถูกดูแคลนก็ยังมีเป็นปกติ



แม้จะได้รับการดูถูกจากผู้บริหารของห้องเสื้อ  แต่ AH ได้รับการเอ็นดูจากพนักงานเพราะอยู่ในระดับเดียวกัน  เลยมีการพาทัวร์ห้องเสื้อ

(0.51 ชุดสีแดงที่ AH หมายมั่นที่จะซื้อแต่โดนสตรีสูงศักดิ์นางหนึ่งใช้เส้นซื้อตัดหน้าไปทั้ง ๆ ที่ AH พร้อมที่จะจ่ายเงินสด  เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเที่ยวเธอเลยซื้อชุดที่ชอบรองลงมา (สีเขียว))


หนังในช่วงหลัง ๆ ไม่ค่อยมี clip ย่อยมาประกอบการเล่าเท่าไร  ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับลิขสิทธ์ที่รัดกุมขึ้นเรื่อย ๆ รึเปล่า  คงต้องขวนขวายไปหาหนังมาดูเอง


เรื่องย่อ ๆ ของหนังเรื่องนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 349  เมื่อ 01 มิ.ย. 23, 13:03

รู้จักแต่

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 350  เมื่อ 02 มิ.ย. 23, 12:09

รู้จักแต่



ตอนเป็นคุณหนูเคยอ่านหนังสือแปล  ใครแปลจำไม่ได้แล้ว  สนุกดีครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 351  เมื่อ 02 มิ.ย. 23, 12:13

เมื่อคืน (ไม่ใช่เมื่อคืนนี้  ก็เกือบปีมาแล้วละ) ได้ดูหนังคลาสสิกแปลกแหวกแนวชื่่อ Private Party on Catalina Isle (1935) ที่ว่าแหวกแนวนั้นนอกจากมันจะเป็นแค่หนังสั้นยาวเพียง 19 นาทีแล้ว  ยังมีสีสันสดใสในขณะที่ตอนนั้นหนังที่ทำออกมาเป็นขาวดำเสียเกือบ 100%

สำหรับเนื้อหาของหนังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน  เปรียบกับในยุคปัจจุบันมันก็แค่ variety show ที่ไปถ่ายทำกันที่เกาะ Catalina  หนังเรื่องนี้ลงทุนโดย Studio อันดับหนึ่งของโลกคือ MGM  แสดงว่าต้องมีฉากสวย ๆ ให้ยล

ในเรื่องมีดารารับเชิญดัง ๆ มาร่วม (แค่) โผล่หน้า  ที่พวกเรานักดูหนังฝรั่งพอจำได้ก็เช่น คู่ตุนาหงัน Cary Grant กับ Randolph Scott แล้วมี Marion Davies คนนี้อาจเป็นผมคนเดียวที่รู้จัก  เธอดังขึ้นมาจากการเป็นเมียน้อยของมหาเศรษฐีนักธุรกิจสิ่งพิมพ์ชื่อดัง William Randolph Hearst ซึ่งกลายมาเป็นพ่อดันให้เธอได้ขึ้นไปผงาดบนแผ่นฟิล์ม

แล้วยังมีพ่อหนู (ในตอนนั้น) Mickey Rooney แล้วก็ Errol Flynn มากับเมียนักแสดงซึ่งผมไม่รู้จัก  มีหมายเหตุนิดว่า เพิ่งเคยเห็น EF ไม่มีหนวด 'in action'  เคยเห็นแต่ในภาพนิ่งซึ่งผมว่าหล่อน้อยกว่ามีหนวด  ในหนังสั้นนี้เธอไม่ไว้หนวด แต่กลับหล่อสุดยอด  แสดงว่าภาพนิ่งนี่ไว้ใจไม่ได้

หนังดูเพลิน ๆ แป๊บเดียวก็จบ  ไม่มีอะไรให้เก็บไปฝันถึงนอกจากความหล่อแบบไร้หนวดของ EF 

แล้วผมก็นึกได้ว่าหนังสั้นแบบนี้น่าจะมีคนเอามาปล่อยใน youtube  มีจริง ๆ ด้วย  มาดูความหล่อของ EF กัน (4.29)


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 352  เมื่อ 05 มิ.ย. 23, 12:01

Operation Hyacinth เป็นหนังจาก Poland สร้างในปี 2021  เป็นชื่อการปฏิบัติการลับที่ดำเนินการในช่วงปี 1985-87 โดย Polish communist police จุดประสงค์เพื่อจะดำเนินการขึ้นทะเบียนชายรักร่วมเพศและผู้ที่ให้ความสนิทสนมกับชนพวกนี้

ชื่อเรื่องเป็นคำแปลจากภาษาโปแลนด์ว่า "Hiacynt”  ซึ่งเป็นคำเหยียดหยามใช้เรียกผู้ชายรักร่วมเพศ  ถ้าให้เปรียบเป็นภาษาอังกฤษก็คือคำว่า pansy

เหตุผลของทางการคือเพื่อควบคุมโรคเอดส์ เพื่อควบคุมแก๊งค์อาชญากรรมที่มีต่อชนรักร่วมเพศ และเพื่อควบคุมการค้าประเวณีของชนรักร่วมเพศ  ผลจากการปฏิบัติการณ์นี้สามารถขึ้นทะเบียนชาวรักร่วมเพศ (โดยไม่เต็มใจ) ได้ประมาณ 11,000 คน  ผลร้ายต่อคนพวกนี้เกิดขึ้นเพราะการขึ้นทะเบียนไม่ได้เป็นความลับแบบที่ทางการประกาศไว้  เป็นต้นว่ามีการพิมพ์ลายนิ้วมือ  มีการลงลายเซ็นยินยอม ฯลฯ  ผลกระทบที่ตามมาคือการสร้างอุปสรรคในการหางานทำ  การเข้าสังคม การโดน blackmail รวมถึงการกดขี่ข่มเหงในรูปแบบต่าง ๆ

เนื้อเรื่องของหนังเล่าถึงตำรวจหนุ่มที่ออกปฎิบัติหน้าที่ดังกล่าว  เพื่อความสะดวกเขาจึงต้องหาสายสืบซึ่งก็คือหนุ่มน้อยชาวเกย์คนหนึ่ง  แต่อารมณ์พึงพอใจไม่เข้าใครออกใคร  เพราะมาถึงจุดหนึ่งเขาก็ตกหลุมรักหนุ่มเกย์คนนี้ เรื่องมันยุ่งยากตรงที่ตำรวจหนุ่มคนนี้มีคู่หมั้นสาวเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว  อีกหนึ่งเรื่องยุ่งยากที่ตามมาคือความลัพธ์แตก  ระหว่างนั้นก็เกิดการฆาตกรรมต่อเนื่อง  เหยื่อคือชายรักร่วมเพศอันเป็นผลมาจากการขึ้นทะเบียนที่ไม่เป็นความลัพธ์  climax มาถึงจุดเมื่อหนุ่มน้อยของเขาคือเป้าหมายคนต่อไป

เป็นหนังดราม่าหนัก ๆ ที่ดูสนุกมากเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศจากแนว coming of age หรือ road trip ที่ทำออกมาอยู่นั่นแล้ว  แม้จะฟังภาษาพูดไม่รู้เรื่องแต่ผู้สร้างคงหวังผลในโลกกว้างจึงมีการทำ “ซับ”  ภาษาอังกฤษอันเป็นภาษาสากลสอดมาให้ ‘อ่านไป ดูไป’  อย่างใจจดใจจ่อ

ถึงตรงนี้นึกขอบคุณตัวเองที่ชอบภาษาอังกฤษแม้จะไม่ได้มาจากสายศิลป์  ทำให้สามารถพาตัวเองออกไปสู่โลกกว้าง เปิดโลกทัศน์ให้ได้มีโอกาสรับรู้สิ่งแปลก ๆ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกสากลได้มากมาย

เป็นหนังในวงแคบจึงไม่มีใครทำ clip ย่อยเด่น ๆ ออกมาเลย  ที่มีก็สอดแทรกเพลงบ้า ๆ บอ ๆ ที่คิดว่าเก๋เข้าไปอันทำให้ไปบั่นทอนบรรยากาศของหนัง

Clip นี้ผมว่าเข้าท่ากว่าชาวบ้าน  แม้เพลงจะน่ารำคาญ  แต่มีฉากตอนท้ายของเรื่องให้เห็น  clip อื่น ๆ ส่วนใหญ่เน้นแต่ฉากโรแมนติก



ตัวอย่างหนัง



หมายเหตุ – ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงหนังเรื่อง Cruising ที่เข้ามาฉายในบ้านเราในปี 1980 ที่โรงเครือสยาม  Al Pacino เล่นเป็นตำรวจที่ New York ที่ถูกส่งไปสืบสวนคดีฆาตกรรมต่อเนื่องซึ่งเหยื่อล้วนเป็นชาวรักร่วมเพศ (ไม่ได้ค้นว่าในยุคนั้นมีศัพท์บัญญัติว่า เกย์ แล้วยัง) เพื่อความกลมกลืนเขาจึงต้องปลอมตัวเข้าไปคลุกคลีในแวดวงชาวรักร่วมเพศเพื่อหาความจริง  ในที่สุดก็สามารถตามหาผู้ร้ายได้  ตอนจบของหนังเป็นฉากที่แฟนของ AP มาหาที่ apartment  ระหว่างคอย AP ที่อยู่ในห้องน้ำเธอก็ค้นพบชุดหนังที่ AP เคยใช้ปลอมแปลงเข้าไปคลุกคลีอยู่ในหมู่ชาวรักร่วมเพศ  ซึ่งความจริงเมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว (คดีจบไปได้ชั่วเวลาหนึ่งแล้ว) จับตัวคนร้ายได้แล้ว  ชุดหนังนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ใช้อีกต่อไป  แต่ปรากฏว่า AP ไม่ได้ทำเช่นนั้น


(AP หล่อสุดขีด)


ตัวอย่างหนัง



คำว่า Cruising นี้มี 2 ความหมาย  จะหมายความถึง ตำรวจออกลาดตระเวณก็ได้  หรือจะหมายความถึง ชาวรักร่วมเพศออกตระเวณหาเหยื่อมาร่วมเพศก็ได้

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 353  เมื่อ 07 มิ.ย. 23, 12:01

Mini series...

โรงหนังอินทราเปิดให้บริการเมื่อไหร่ผมขี้เกียจค้น  แต่จำได้แม่นว่ามันเป็นโรงหนังที่มีจอกว้างใหญ่กว่าโรงอื่น ๆ  แรก ๆ จะมีคณะนาฏศิลป์ชื่ออะไรหนอ อินทรดารา รึเปล่า  ออกมาโชว์ในรอบพิเศษอยู่ชั่วขณะ  ส่วนหนังที่เข้ามาฉายแรก ๆ จะเป็นหนังจอกว้างเสียส่วนใหญ่ เช่น มนตร์รักเพลงสวรรค์, ขุมทองแมคเคนนา (ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อโรงหนังใหม่ที่คอสะพานหัวช้าง) ฯลฯ  จำได้ว่าถ้าเป็นหนังจอกว้าง ก่อนหนังฉายจะมีเสียงมอเตอร์ทำงานขณะลากจอให้ถ่างออกไปทางซ้ายและขวา  เสียงมอเตอร์นี่ติดหูมาจนเดี๋ยวนี้

หนังที่ไปดู (ผู้ปกครองพาไปน่ะ) นอกจาก 2 เรื่องนั้นแล้ว  ยังมีหนังลิเกฝรั่งชื่อ The great waltz (1972)  เรื่องนี้จำชื่อไทยไม่ได้แต่จำชื่อต้นฉบับได้แม่นเพราะมันทำให้ผมหลับสนิทในห้องแอร์แสนจะเย็นสบาย



อีกเรื่องหนึ่งที่ได้เข้าไปดูคือ That’s entertainment (1974) เรื่องนี้ไม่ใช่หนังแต่เป็นประมาณสารคดี  เรื่องเล่าความเป็นมาของสิ่งบันเทิงที่เรียกว่าหนังโดยเน้นประเภทหนังเพลงที่มีฉากและการแสดงตระการตา  ยุคนั้นเป็นยุค studio system  ส่วน studio มีหลากหลายเช่น Columbia, Universal, Paramount, RKO, United Artists ฯลฯ และที่ดังที่สุดคือ MGM  หนังเรื่องนี้เจาะจงนำเสนอหนังที่สร้างจาก MGM (เพราะผู้สร้างก็คือ MGM นั่นเอง)

ผมชอบหนังเรื่องนี้มากเพราะผู้สร้างตัดตอนเอาเฉพาะฉาก ‘โอ้โฮ ๆ’ ของหนังดังในอดีตเรื่องต่าง ๆ มาให้เราชม  ถ้าเป็นเรื่องราวเดี่ยว ๆ ของแต่ละเรื่อง  ผมเป็นหลับกลิ้งอยู่บนพื้น  แต่นี่เป็นสิ่งละอันพันละน้อย  ดูอย่างเพลิดเพลินจนกระทั่งจบเรื่อง

ที่มาฝอยในวันนี้ (ไม่ใช่วันนี้ของจริง) เพราะ website ของผมเอาหนังเรื่องนี้มาปล่อย  ทำให้นึกขึ้นได้แล้วก็โหลดมาดูเพื่อรื้อฟื้นความหลัง

ตอนนี้ youtube เจริญพันธุ์เต็มที่  ผมถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะนำเสนอ clip ตัวอย่างหนังคลาสสิคที่ได้รับการรับรองจากเจ้าของบ้านว่าสุดยอด เลือกที่คิดว่าน่าสนใจมาให้ชม  รายละเอียดด้านต่าง ๆ ของหนังอยู่ใน clip  มีบอกไว้  ถ้าไม่มีผมจะแทรกไว้ให้นะ








(Dennis Morgan ใน The Great Ziegfield)



(Broadway melody – 1940, Fred Astaire กับ Eleanor Powell






(P Lawford คือ Peter Lawford ประวัติของเขาดังกว่าหนังที่เล่น)





มีต่อ...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 354  เมื่อ 07 มิ.ย. 23, 17:20

อ้างถึง
โรงหนังอินทราเปิดให้บริการเมื่อไหร่ผมขี้เกียจค้น  แต่จำได้แม่นว่ามันเป็นโรงหนังที่มีจอกว้างใหญ่กว่าโรงอื่น ๆ  แรก ๆ จะมีคณะนาฏศิลป์ชื่ออะไรหนอ อินทรดารา รึเปล่า  ออกมาโชว์ในรอบพิเศษอยู่ชั่วขณะ
ชื่อ นาฏศิลป์อินทรา ค่ะ   เจ้าของคือคุณพิสิฐ ตันสัจจาได้แบบอย่างมาจากระบำของบรอดเวย์   แต่พอคุณพิสิฐถึงแก่กรรม  นาฏศิลป์ชุดนี้ก็หมดอายุไปด้วย
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 355  เมื่อ 08 มิ.ย. 23, 12:00

อ้างถึง
โรงหนังอินทราเปิดให้บริการเมื่อไหร่ผมขี้เกียจค้น  แต่จำได้แม่นว่ามันเป็นโรงหนังที่มีจอกว้างใหญ่กว่าโรงอื่น ๆ  แรก ๆ จะมีคณะนาฏศิลป์ชื่ออะไรหนอ อินทรดารา รึเปล่า  ออกมาโชว์ในรอบพิเศษอยู่ชั่วขณะ
ชื่อ นาฏศิลป์อินทรา ค่ะ   เจ้าของคือคุณพิสิฐ ตันสัจจาได้แบบอย่างมาจากระบำของบรอดเวย์   แต่พอคุณพิสิฐถึงแก่กรรม  นาฏศิลป์ชุดนี้ก็หมดอายุไปด้วย

ความรู้อันมีค่าครับ

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 356  เมื่อ 08 มิ.ย. 23, 12:10

ต่อหนังเรื่อง That’s entertainment (1974) – โรงอินทรา

แล้วก็มาถึงตอนที่อีกหนึ่งนักแสดงที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล James Stewart ให้เกียรติเป็นพิธีกรออกมาเล่าเรื่อง เขาเล่าว่ายุคต้น 30s  หนังเสียงเข้ามามีบทบาทและถีบหนังเงียบให้ตกจอ  หนังประเภทที่โชว์เสียงให้คนดูฮือฮาได้สะใจมีอยู่เพียงแขนงเดียวคือหนังเพลง  ช่วงนั้น studio ต่าง ๆ ทำหนังเพลงออกมาเยอะมากกว่าหนังประเภทอื่น  เหล่านักแสดงหนังเงียบล้วนใจตุ๋ม ๆ ต่อม ๆ กับการที่ต้องโชว์เสียงของตัวเอง  เพราะไม่ได้มีน้ำเสียงและสำเนียงจังหวะจะโคนเพราะพริ้งกันทุกคน  เพราะหนังเงียบไม่ต้องอาศัยเสียง  ออกแต่เพียงท่าทางให้คล้อยตามอารมณ์ในเนื้อเรื่องก็พอแล้ว  แล้วก็ไม่ใช่ทุกคนที่ร้องเพลงได้  ไอ้เต้นน่ะพอไหว
 
JS เล่าติดตลกว่า  ขณะที่เหล่านักแสดงล้วนเหงื่อแตกกับการที่ต้องเปล่งเสียงของตนลงฟิล์มออกโชว์ชาวบ้าน ยังมีนักแสดงอีกรายที่ไม่เดือดร้อนเลยแม้แต่น้อยนิดคือ Rin Tin Tin
 
การที่ studio ต่างระดมกันเน้นการสร้างหนังเพลงที่เป็นที่ต้องการของตลาด  ทำให้นักแสดงบทดราม่าต่างต้องฝืนใจอย่างมากกับความสามารถใหม่คือทั้งร้องและเต้น  แต่ต้องทำเพราะไม่งั้นจะไม่มีงานทำ ในเรื่องนี้นักแสดงที่กำลังฝืนใจร้องเพลงพร้อมออกท่าทางที่ดูประดักประเดิดเนื่องจากไม่ใช่แนวถนัดแม้น้ำเสียงจะพอไปไหวคือ Robert Montgomery ในหนัง free and easy



ขณะที่หนังเสียงฆ่านักแสดงหนังเงียบที่ไม่สามารถปรับตัวได้ไปเรื่อย ๆ  ยังมีนักแสดงหนังเงียบอีกกลุ่มที่เคยเป็นตัวทำเงินให้กับ studio นักแสดงพวกนี้ studio ไม่สามารถทิ้งขว้างได้  ในช่วงหนังเพลงกำลังกระหน่ำ  studio จึงต้องหาคนมาให้ยืมเสียงร้องแทน อย่างในกรณีของ Jean Harlow



ในขณะที่นักแสดงประกบ Cary Grant (หล่อเฟี้ยว) เอาตัวรอดไปได้



และขณะที่หนังเพลงกำลังครองตลาด นักแสดงหน้าใหม่ที่เข้ามาในวงการในช่วงเปลี่ยนแปลงนี้ต้องมีความสามารถเพิ่มขึ้นจากที่เคยคือความสามารถทั้งในการร้องและเต้น  และนอกจากจะเต้นคล่องแล้วน้ำเสียงต้อง 'โชว์' ได้ด้วย



มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 357  เมื่อ 12 มิ.ย. 23, 11:59

ต่อหนังเรื่อง That’s entertainment (1974) – โรงอินทรา

นักแสดงนำชายคือใครไม่ต้องบอก  นักแสดงนำหญิงคือ Norman Shearer  เป็นเจ้าแม่คนหนึ่งของวงการฯ  เจ้าของ 1 Oscar



Judy garland กับ Mickey Rooney 2 ดาราคู่ขวัญในช่วงแรกของ Hollywood ยุคทอง



(การเลียนแบบชนชาวนิโกร ถ้าอยู่ในยุคนี้  เป็นเรื่องเลยละ)


Fred Astaire, the greatest dancer in film history



(2 ฉากนี้ดังมาก  เห็นอยู่เนือง ๆ)


FA กับคู่เต้นหลากหลาย นอกจาก 2 คนนี้  ยังมีอีกเช่น Frank Sinatra, Joan Crawford  ที่เพิ่งผ่านตาไปคือ Eleanor Powell  และคู่ขาที่เข้าขากันได้ดีเยี่ยม  ถึงขนาดมีหนังให้เล่นร่วมกันหลายเรื่องคือ Ginger Rogers  แต่ไม่ใครกินเขาลง





มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 358  เมื่อ 15 มิ.ย. 23, 12:12

ต่อหนังเรื่อง That’s entertainment (1974) – โรงอินทรา

ต่อมาเป็นเรื่องราวของ Esther Williams นักว่ายน้ำมืออาชีพที่หมดโอกาสเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกเนื่องจากเกิดสงครามโลกพอดี  ก็เลยจับผลัดจับผลูเข้าสู่วงการแสดงในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอเจาะกับความสามารถที่โดดเด่นหาใครเทียบได้ยาก



พิธีกรคือ Donald O’Conner  เป็นนักแสดงที่ถนัดบทเบา ๆ แต่ความสามารถในด้านเต้นและร้องไม่เป็นรองใคร  นี่คือหนึ่งในผลงานอมตะของเขาที่หนัง TE นี้คัดมาให้ชม  มาจากหนังเรื่อง Singin' in the rain (1952)



กลับมาช่วงที่หนัง TE เอ่ยถึงเป็น clip ประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนต์ Hollywood งานเลี้ยงฉลองครบ 25 ปีของ MGM Studio ในปี 1949  รวมดาราดัง ๆ ของยุค   Studio เปรียบเอาไว้ว่าดาราในสังกัดของตนมีมากกว่าดาวบนท้องฟ้าเสียอีก  ดูไปเรื่อย ๆ ต้องมีรู้จักหรือคุ้นหน้าบ้างละ  อย่างน้อย ๆ ก็ Rin Tin Tin



ต่อมาเป็นหนัง Show Boat (1951)  Clip ฉากเปิดเรื่องที่สั้นไปหน่อย  มีอีก clip ที่ยาวกว่านี้แต่มันมัว 



ฉากตอนจบ

หนังทั้งเรื่องถ่ายทำใน Studio  จินตนาการไปไม่ถึงว่าอาณาเขตของ MGM Studio นั้นเคยกว้างใหญ่ขนาดไหน

หนังเรื่องนี้เคยมาฉายใน I/UBC  ผมดูแบบผ่าน ๆ เพราะมันล้าสมัยไปแล้ว  มีอีกเรื่องที่ I/UBC เอามาฉายเหมือนกันคือ The Harvey Girls (1946 – Judy Garland)  บรรยากาศคล้ายกันเลย  เปลี่ยนจากเรือกลไฟเป็นรถไฟ



มีต่อ...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 359  เมื่อ 15 มิ.ย. 23, 13:32

ชอบฉากว่ายใต้น้ำของเอสเธอร์ฉากนี้ที่สุด   เธอเหมือนล่องลอยอยู่ในอากาศ  คู่กับโฮเวิร์ด คีล พระเอกเสียงทองแห่งยุค 1950s
ตอนเล็กๆ ดูแล้วเข้าใจว่าเธอหายใจในน้ำได้ เพราะยิ้มได้  แสดงลีลาได้หลายแบบ ต่อเนื่องกันนานๆใต้น้ำ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.314 วินาที กับ 20 คำสั่ง