เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 18351 ฉากประทับใจในหนังเก่า (4)
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 27 ก.พ. 23, 12:19

หนังเรื่องอื่นของ Deborah Kerr ที่ช่อง TCM เอามาฉายให้ดูอีก คือ Heaven knows, Mr. Allison (1957) เรื่องย้อนไปยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เล่าเกี่ยวกับคน 2 คนติดอยู่บนเกาะที่ถูกครอบครองโดยทหารญี่ปุ่น  คนหนึ่งเป็นทหาร U.S. Marine Corporal Allison (เล่นโดย Robert Mitchum) ที่ถูกสถานการณ์คับขันจำต้องถูกทิ้งอยู่บนเกาะ  อีกคนคือแม่ชีที่ยังไม่ได้ปวารณาตัวชื่อ Angela (DK) เธอมาที่เกาะนี้พร้อมกับพระระดับผู้ใหญ่เพื่อมารับพระอีกรูปที่เกาะนี้กลับ  แต่เมื่อมาถึงก็พบว่าทหารญี่ปุ่นเข้ามายึดครองเรียบร้อยแล้ว  คนที่นำ 2 นักบวชมาก็เปิดหนีด้วยความกลัว  แล้วอีกไม่นานพระผู้ใหญ่ก็ตาย  สรุปแล้วแม่ชี Angela ถูกทิ้งอยู่โดดเดี่ยวบนเกาะเช่นกัน




ผมนั่งดูหนังเรื่องนี้ด้วยความเครียด  หนังอะไรไม่รู้มีบรรยากาศน่าหดหู่ที่สุด  ไม่มีอะไรน่าเบิกบานสายตาเลย  แล้วก็เล่นกันอยู่ 2 คน  แถม DK เล่นเป็นแม่ชี


(DK ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar และพลาดเป็นครั้งที่4)


หมายเหตุ – เพิ่งคิดได้ว่า หนังในยุคคลาสสิกนี่  ฟังดูคลาสสิกมาตั้งแต่ชื่อเรื่องแล้ว  อย่างเรื่องนี้ Heaven knows, Mr. Allison หรือ Tea and Sympathy หรือ Gone with the wind, A streetcar named desire, For whom the bell tolls, None but a lonely heart, This property is condemned, Bang the drum slowly, Written on the wind และอื่น ๆ อีกมากมาย  พิถีพิถันมาตั้งแต่ชื่อเรื่องเลยทีเดียว

มีต่อ...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 27 ก.พ. 23, 16:46

น่าจะเรียกว่า version เครียดของ  Six Days Seven Nights  หนังรุ่นลูก
 
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 28 ก.พ. 23, 12:08

น่าจะเรียกว่า version เครียดของ  Six Days Seven Nights  หนังรุ่นลูก
 


ออกเดินทางไปแล้ว 1 ครับ

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 28 ก.พ. 23, 12:26

แล้วก็มาเรื่อง Separate Tables (1958) เป็นหนังขาวดำแถมสร้างจากบทละครซึ่งแปลว่ามีแต่พูด ๆ ๆ  ซึ่งปกติผมจะเมินโดยไม่เหลียวแล  แต่ที่ดูเพราะกูรู Leonard Maltin บอกว่า ห้ามพลาด  เอาวะ  อย่างน้อย Deborah Kerr ก็ไม่ได้แต่งเป็นแม่ชี  เอาเข้าจริงในหนังเธอดูเฉิ้มเฉิ่ม

เพราะเป็นบทละครเนื้อเรื่องของหนังจึงกินเวลาแค่ 1 คืน  ประมาณว่า เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ในชั่วคืน

เรื่องเกิดทางตอนใต้ของอังกฤษที่โรงแรมประเภทที่จะมาพักชั่วครู่ชั่วยามหรืออยู่ไปเป็นเดือน ๆ ก็ได้ (ไม่รู้เมืองไทยมีแบบนี้รึเปล่า) ชื่อ Beauregard  ที่ตั้งอยู่ริมทะเล (แต่ไม่เห็นทะเล  ฉากของทั้งเรื่องถ่ายในโรงแรมที่ว่าซึ่งสร้างขึ้นในโรงถ่าย)

ตัวละครทั้งหมดในหนังเป็นผู้มาพักในประเภทหลัง  ยกเว้น 1 คน...  คนที่สำคัญของเรื่องคือ นายพันตรีปลดประจำการที่ดูภูมิฐาน  แต่เย็นนั้นเขาแสดงท่าลุกลี้ลุกลนผิดปกติทำให้เป็นที่ต้องสงสัยของคุณนายแม่หม้าย  คุณนายแม่หม้ายมีลูกเป็นสาวทึนทึกที่เป็นโรคประหม่าเพราะโดนแม่ครอบไว้มาตลอด  ลูกสาวทึนทึกนี่ชอบพูดคุยกับนายพันตรี  เธอพบว่าอยู่ใกล้เขาแล้วมีความสุข  แต่คุณนายแม่หม้ายที่เข้มงวดกลับไม่พอใจ

นอกจากนี้ยังมีหนุ่มใหญ่ขี้เมาที่มาตกหลุมรักสาวผู้ดูแลโรงแรม  ถึงกับลั่นปากว่าจะต้องแต่งงานกัน

ในเย็นวันนั้นมีแขกหน้าใหม่เป็นสาวหรูหรามาเข้าพักแต่ยังไม่บอกจำนวนวัน

พอหัวค่ำ นสพ. ฉบับเย็นก็มาส่ง  นายพันเอกพุ่งเข้ามาที่กอง นสพ. ยี่ห้อต่าง ๆ และทำท่าพิรุธจนคุณนายแม่หม้ายรู้สึกหงุดหงิดเลยไล่ไปแล้วคว้า นสพ. ฉบับที่อยู่ในมือนายพันตรีมาเปิดอ่าน ก็พบข่าวเกี่ยวกับนายพันตรีนี้  มันเป็นข่าวที่ไม่ดี  คือ เขาติดคดีลวนลามสาว  ข่าวบอกว่าเจ้าตัวสารภาพว่าไม่ใช่เหตุผลในทางชู้สาวอย่างที่คนเข้าใจไป  อีกทั้งการให้ปากคำของเหยื่อก็คลุมเครือ  จึงไม่มีการดำเนินคดี  มีแต่ลงข่าว

นี่คือเหตุผลที่นายพันตรีลุกลี้ลุกลนคอยหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว  เพื่อที่จะดักเอาไปโยนทิ้ง  แต่ดันผิดแผน  แถมเรื่องดันไปตกอยู่มือของคุณนายแม่หม้ายที่ไม่ชอบขี้หน้าเขา 

คุณนายแม่หม้ายเห็นโอกาสแจ่มแจ้งจึงไม่รีรอที่จะเรียกประชุมในคืนนั้นเพื่อแฉเรื่องฉาวของนายพันตรีและเสนอให้ขับเขาออกไปจากโรงแรม

การประชุมลับจะเกิดขึ้นหลังอาหารค่ำ  ซึ่งคืนนั้นโต๊ะในห้องอาหารมีแขกพิเศษคือสาวหรูหรา  เธอนั่งคนเดียวเงียบ ๆ  จนกระทั้งหนุ่มใหญ่ขี้เมากลับเข้ามาหลังจากออกไปเมาแล้วมาหาอาหารกิน  ทั้ง 2 ได้พบกัน  และความลับก็เปิดเผยว่า 2 คนนี้คืออดีตผัวเมีย  แต่เลิกกันไปแล้ว  ผัวก็หนีมาอยู่ที่โรงแรมนี้และเกิดปิ๊งปั๊งกับสาวผู้แลฯ  ส่วนเมียหรูหรา (แสดงว่า 2 คน 2 ฐานันดร) ทำใจไม่ได้จึงออกตามหาเพื่อขอคืนดี

เนื้อเรื่องของหนังมี 2 plots นี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และจบลงในชั่วคืน

Plot แรก  ที่ประชุมโดยการมัดมือชกของคุณนายแม่หม้ายสรุปว่าต้องอัปเปหินายพันตรีไปจากโรงแรมในตอนเช้า  ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครเห็นด้วยเพราะพบเห็นกันมาหลายเดือน นายพันตรีมีแต่ความสุภาพและเป็นมิตร  และคดีก็ไม่มีใครสานต่อ

Plot หลัง ผัวไม่ยอมคืนดีกับเมียเพราะความน้อยเนื้อต่ำใจ  และไล่ให้อดีตเมียเดินทางกลับไปในตอนเช้า  แต่ตกดึกเขาก็ได้พบกับสาวผู้ดูแลฯ ซึ่งเผยว่า ตอนเธอเข้าไปใจจัดห้องให้สาวหรูหราได้เห็นยานอนหลับอยู่หนึ่งขวด  เธอสรุปว่าอดีตเมียมีสถานภาพทางจิตใจแย่มาก
 
เมื่อตอนเช้ามาถึง  ทุกคนมารวมตัวในห้องอาหารเพื่อกินอาหาร  ไม่ได้นั่งด้วยกัน  แต่ต่างนั่งคนละโต๊ะเพราะความเป็นส่วนตัว  ยกเว้นคู่คุณนายแม่หม้ายกับลูกสาวทึกทึก

นายพันตรีเข้ามานั่งกินเป็นมื้อสุดท้ายท่ามกลางความไม่พอใจอย่างออกหน้าออกตาของคุณนายแม่หม้าย



ทุกนั่งกินอย่างเงียบ ๆ  แต่แล้วหนุ่มใหญ่ขี้เมาเป็นคนแรกที่เอ่ยทักนายพันตรีอย่างมีไมตรี  จากนั้นคนอื่น ๆ รวมถึงสาวทึนทึกต่างก็ทักทายเขาเหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น 



เป็นภาพที่ทำให้คุณนายแม่หม้ายฉุนจัดที่โดนหักหลัง  เธอเลิกกินอาหารเช้ากลางคัน  และผลุนผลันลุกขึ้นเดินออกจากห้องโดยเรียกลูกสาวทึนทึกให้ตามไป  แต่คราวนี้ลูกสาวปลดแอก  เธอปฏิเสธด้วยเหตุผลว่ายังกินอาหารอยู่ 


พอแม่จอมจุ้นจ้านฮึดฮัดออกไปจากห้องอาหารแล้วเธอก็จ๋อย ๆ กับนายพันตรีต่ออย่างสนิทสนม


กลับมาที่อดีตผัวเมียต่างฐานันดร  เหตุการณ์ทะเลาะกันทำให้ต่างได้คิด 



ผัวถามว่าจะทำอย่างไรต่อ  สาวหรูหราอดีตเมียบอกว่าก็คงต้องกลับ New York

‘It's hard to believe but you can be more alone in New York than this hotel. Even with their separate tables, they can talk back and forth. Being alone in a crowd is worse. It's more painful, more frightening.’ และนี่คือ ที่มาของชื่อหนัง

หนุ่มใหญ่ขี้เมาอดีตผัวถามอดีตเมียตัวเองว่า ‘You know, don't you, Ann, that we don't have very much hope together’ อดีตเมียผู้หรูหราก็ตอบว่า ‘Have we all that much apart?’

บทของทั้งคู่จบลงแค่นี้  ปล่อยให้ท่านผู้โชมคิดเรื่องราวต่อไปเอาเอง


มาถึงตอนจบของหนังเมื่อ สาวผู้ดูแลโรงแรมเข้ามาแจ้งนายพันตรีว่า รถแท็กซี่มารอแล้ว  นายพันตรีทำท่าลังเล (บรรยายอย่างรวบรัด) สาวผู้ดูแลโรงแรมเลยต่อด้วยประโยคว่า ‘Very well, lunch will be at the usual time’



มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 02 มี.ค. 23, 14:31

ชม clip ของหนัง Separate Tables  มีคนเอามาปล่อยที่นอกจากมีน้อยแล้วก็ไม่ประติดประต่อเท่าไร

ฉากต้นเรื่อง David Niven เล่นเป็นนายพันตรี ที่จริงเธอยังโกหกต่ออีกหน่อยเพราะยศที่แท้จริงแค่ Lieutenant  อีกคนคือสาวทึนทึก Deborah Kerr  ทั้ง 2 เจอะกันที่หน้าโรงแรม นายพันตรีมีท่าทางหนักอกเพราะเรื่องอื้อฉาวดังที่เล่าไว้กล่าว

(1.08) คือคุณนายแม่หม้ายแม่ของสาว DK
(1.13) คือตัวประกอบชายที่ไม่ค่อยมีบทเท่าไหร่ แต่นักแสดงที่สวมบทนี้ไม่ขี้ไก่เลย  เธอคือ Rod Taylor  ดาราทำเงินคนหนึ่งของฮอลลีวู้ดยุคทอง  บทที่โด่งดังที่สุดคือบทนำในหนัง The Birds (1963) ของ Alfred Hitchcock



นี่คือเรื่องของอดีตผัวเมียต่างฐานันดร  สาวใหญ่หรูหรา เล่นโดย Rita Hayworth  ในหนังเรื่องนี้เธอเริ่มแก่ (จาก Strawberry Blonde ที่เคยเล่า) แล้ว  และอดีตผัวขี้เมา Burt Lancaster  นักแสดงระดับหัวแถวของฮอลลีวู้ดยุคทอง  เพิ่งเล่าฉากสุด ‘hot’ ของเธอกับ DK ใน From here to eternity ไป



ฉากการประชันกันระหว่างนายพันตรี (กำมะลอ) กับ สาวผู้ดูแลโรงแรม เล่นโดย Wendy Hiller  ฉากเกิดขึ้นในตอนเช้าเมื่อนายพันตรีเข้ามาแจ้งให้สาวผู้ดูแลฯ สรุปค่าใช่จ่ายสำหรับการพักที่โรงแรมนี้  เธอพยายามโน้มน้าวนายพันตรีให้เปลี่ยนใจ  แต่ไม่เป็นผล  นักแสดงทั้ง 2 ได้รับ Oscar จากบทในเรื่องนี้  ดารานำกับประกอบหญิง


ตัวอย่างหนัง



เพลงประกอบเรื่องเพราะมากร้องโดย Vic Damone



นี่คือ clips ทั้งหมดใน youtube ที่หาได้  ผมไม่ได้หาหนังฉบับเต็มมาให้เพราะแน่ใจว่าไม่มีใครดู

หนังได้เข้าชิง Oscar ทั้งหมด 7 สาขารวมทั้งหนังยอดเยี่ยมและนักแสดงนำหญิง DK ซึ่งพลาดเป็นครั้งที่ 5 จากทั้งหมด 6 ครั้ง  ผมดูหนังจบแล้วแปลกใจนิด ๆ ว่า  ทั้ง DN กับ DK ไม่ได้มีบทมากมายเกินจากคนอื่นเลย  แต่ได้รับการเสนอชื่อในฐานะนักแสดงนำ  น่าจะเป็นเพราะเครดิตต้นเรื่อง

ตอนเริ่มดูหนังก็ร่ำ ๆ จะเลิกกลางคันอยู่หลายหน  อย่างที่เคยบอกว่า  ไม่ชอบหนังขาวดำ  แต่ด้วยนิสัย ‘มีความเพียร’   ก็ทู่ซี้ดูไปเรื่อย ๆ  พอหนังผ่านไปได้ครึ่งเรื่องก็เริ่มติดใจแล้วก็ดูจนจบด้วยความสนุกสนาน  โดยเฉพาะฉากสุดท้ายที่เกิดขึ้นในห้องอาหารเช้า  ผมดูย้อนกลับไปกลับมาอยู่ 2-3 หน  เป็นฉากที่สนุกที่สุดของเรื่อง

สรุปจากการดูหนังของ DK มาจำนวนหนึ่ง  แม้จะเป็นหนังคุณภาพของเธอคือได้เข้าชิง Oscar  แต่ก็นับว่าน้อยนิดในสายตาของนักดูหนังเจ้าบ้าน  แต่มากไม่น้อยในสายตาของนักดูหนังฝรั่งชาวไทย ผมจับได้ว่าชอบที่บุคลิกของเธอ  เธอดูสง่างาม  แม้แต่ในคราบแม่ชีหรือสาวทึนทึกหรือสาวผิดศีลธรรม (From here to eternity) ฯลฯ  ก็ยังเห็นความสง่างามแอบแฝงอยู่  โดยส่วนตัวผมว่าเธอดูสง่ากว่า Grace Kelly เสียอีก  แถมไม่เคยมีข่าวฉาวโฉ่โผล่ออกมาตามสื่อให้เสื่อมเสียราศี (อืมมม... สะกดผิดเป่าหว่า)

สมัยหนึ่งผมชื่นชม Olivia de Havilland  แต่หลังจากเห็นเธอปรี๊ดแตกในวัยเหยียบร้อย  จำต้องถอนชื่อออก

DK ปรากฏโฉมในงานสาธารณะในช่วงท้าย ๆ ของชีวิตคืองานรับ Oscar เกียรติยศปี 1994  ความสง่างามแบบนี้หาได้ยากขึ้นทุกที

เนื่องจากไม่เคยสัมผัสเธอคงคาดไม่ถึงว่ารูปปั้นจะหนักกว่าที่คิด





บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 07 มี.ค. 23, 12:40

ไป ‘โหลด’ หนังสารคดีมาดู  เรื่องเกี่ยว Discotheque ระดับตำนานที่มีชื่อเสียงดังไปครึ่งค่อนโลกคือ Studio 54

ผมรู้จักชื่อนี้มาตั้งแต่เริ่มต้น (แต่ไม่เคยไปเยี่ยม) สงสัยมานานแล้วว่าไอ้ตัวเลข 54 มันมีที่มามาจากไหน  ตอนที่สงสัยมากนั้น อตน. ยังไม่เกิด  พอ อตน. เกิด  ความสงสัยหายไปแล้ว ไปสงสัยเรื่องอื่นๆ (ที่ไม่เกี่ยวกับวิชาเรียน) แทน   ตอนนั่งดูสารคดีถึงรู้ว่าสถานที่นี้ตั้งอยู่บนถนนสาย 54 ใจกลางเมือง Manhattan รัฐ New York

เริ่มแรกในยุค 20s มันเป็น Opera House  สถานที่เปลี่ยนเจ้าของไปเรื่อย ๆ กาลเวลาเปลี่ยนทำเลที่เคยหรูหรามาเป็นย่านอันตรายจากสิ่งเลวร้ายทุกรูปแบบในยุค 70s  จนกระทั่งในปี 1977  สองเพื่อนคู่หู Steve Rubell และ Ian Schrager  ตัดสินใจเสี่ยงกับย่านที่ไม่มีใครคิดจะลงทุนมาเปิดสถานที่เต้นรำหรือที่เรียกว่า Discotheque  




IS เล่าต้นเหตุของความคิดว่า  เกย์คลับเป็นคลับประเภทแรกที่เล่นเพลง disco ซึ่งผลิตโดยคนผิวดำ  ซึ่งมาจากคลับของคนผิวดำ  จังหวะของเพลงติดหูคนทั่วไปรวมถึงเหล่านางแบบชั้นนำ  ต่างก็มาที่เกย์คลับตามคำชักชวนของเหล่านักออกแบบเสื้อผ้า ช่างทำผม ช่างแต่งหน้าที่ล้วนเป็นเกย์  พอได้ข่าวว่าคนสวย ๆ ไปรวมตัวกันอยู่ที่นั่น  เหล่าชายแท้ที่อยากสัมผัสคนสวยก็เลยไปออกันที่เกย์คลับ  หลังจากนั้นทุกคนทุกเชื้อชาติทุกอาชีพทุกสีผิวจึงไปรวมกันอยู่ที่นั่น  นั่นเป็นสถานที่ที่ 'ทุกคน' ต่างรู้สึกถึงความเท่าเทียมกัน  ไม่มีการดูถูกเหยียดหยาม  ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน  Studio 54 นำแนวคิดนี้มาต่อยอดโดยเพิ่มความอลังการและแผ่ชื่อเสียงให้ขจรไกล

ตอนแรก ๆ ด้วยเหตุที่ต้อง ‘ตีเหล็กต้องตีตอนร้อน’ ทำให้ S54 จำต้องแอบขายเหล้าล่วงหน้าโดยยังไม่ได้รับใบอนุญาต  ผลก็คือโดนปรับและ S54 ต้องขายแต่น้ำผลไม้แทนไปนาน 6 เดือน  ใบอนุญาตถึงออก

พอเข้าเดือน ธ.ค. 1978 SR ก็ออกข่าวว่าภายในปีแรก S54 สามารถทำเงินได้ราว 7 ล้านดอลล่าร์ ‘มีแต่แก๊งค์ Mafia เท่านั้นที่สามารถทำเงินได้มากกว่านี้ในช่วงเวลาเท่า ๆ กัน’

สิ่งที่เขาโวดันไปจี้จุดสงสัยให้กับกรมสรรพากร  ในไม่ช้าก็งานเข้า  สองคู่หูโดนปรับ 2 หมื่นดอลล่าร์แล้วเดินหน้าเจี๋ยมเจี้ยมเข้าไปนอนในซังเตตามคำสั่งศาลที่บอกไว้ว่า 3 ปีครึ่ง  แต่ทั้งคู่ประพฤติตัวดีศาลก็เลยลดหย่อน

ถึงแม้จะอยู่ในคุกไม่นาน  แต่เวลาและสายน้ำไม่เคยคอยใคร  ตอนที่ออกจากคุกนั้น แม้จะเป็นเวลาที่ไม่นานแต่วงการบันเทิงก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  สองคู่หูจึงตัดสินใจปิดฉาก S54 ด้วยการจัด final party ขึ้นในคืนวันที่ 2-3 ก.พ. 1980  เป็นงานที่ยิ่งใหญ่พอ ๆ กับตอนเปิดคลับ  ในช่วงเวลาเพียง 3 ปี  S54 สร้างความเป็นอมตะมาจนถึงปัจจุบัน

สารคดีมาจบที่การตายของหนึ่งในคู่หูคือ SR เนื่องจากโรคเอดส์

ต่อไปนี้เป็น clip ของบุคคลเด่น ๆ (คัดมาจาก youtube) ที่แต้มสีสันให้ S54

Rollerena, the fairy godmother (1948-2009), a Wall Street banker & Vietnam vet who became a celebrated figure in NYC's Pride marches, protests, & discos.

(ใน clip บอกว่าเป็น stockbroker)


ต่อมาคือ Disco Sally (1900-1982) เธอมีอดีตเป็นนักกฎหมาย  อายุ 77 ในตอนนั้น





แล้วก็ Potassa de la Fayette, a star in the early days of New York’s Studio 54, 1977-8, where she was noted when on the dance floor, and liked to pick up straight Wall-Street type guys and take them to a balcony for oral sex.



Clip ต่าง ๆ ที่หามาสนับสนุนสารคดีเรื่องนี้


(ในสารคดี มีคนบอกว่าคนที่มาเป็นกลุ่ม  มีน้อยครั้งมากที่สามารถเข้าได้ทั้งกลุ่ม  ส่วนใหญ่เข้าได้เป็นบางคน  กลุ่มที่ดังมากคือคณะ Rolling Stones ที่สามารถเข้าคลับได้เพียง 2 คนคือ Mick Jagger กับ Keith Richards)








นี่คือสารคดีที่เอ่ยถึง  ขอบคุณผู้ที่นำมาปล่อย  

20.00-27.00 – วิธีการคัดเลือกแขกเข้าคลับ
33.00-43.00  - Highlight (รวมถึง Rollerena, Disco Sally และ Potassa)
1.10.00 - Farewell party
1.25.00 - Steve Rubell หนึ่งในคู่หูผู้ก่อตั้งตายด้วย HIV ในปี 1989 อายุ 45




บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 09 มี.ค. 23, 12:04

ผมเคยพร่ำเพ้อเรื่องความหล่อของ Mickey Rourke ให้ฟังมาแล้ว  ผมว่าความหล่อของเธอมาถึงระดับสุดขีดในหนัง 9 ½ weeks (1986)  อีกไม่นานก็มีหนังที่เธอเล่นเข้ามาฉายอีก  ผมก็ถลาแล่นเข้าโรง ฯ ไปชมความหล่อของเธอประดุจแมลงเม่าบิน (แบบตั้งใจ) เข้ากองไฟ   ผมนึกไม่ออกว่าหนังชื่ออะไร  พอนึกชื่อไม่ออกก็จำเนื้อเรื่องไม่ได้  พอมาถึงจุดที่ว่าความลืมก็เข้าครอบงำเป็นของธรรมดา

เมื่อไม่กี่วันมานี้ Website สำหรับ ‘โหลด’ หนังเอาหนังชื่อ Angel Heart (1987) มาปล่อย  พออ่านชื่อก็คุ้นหูมาก  รู้สึกว่าข้าเคยดูหนังเรื่องนี้นี่หว่า  พอไปปุจฉากับ Wikiฯ ก็ได้รายละเอียดมาว่าเป็นหนังที่ MR เล่นที่เข้ามาฉายในบ้านเราต่อจาก 9 ½ weeks นั่นเอง

มาถึงจุดนี้ความทรงจำเก่า ๆ ก็ค่อย ๆ ซึมเข้ามาว่า  เป็นหนังที่ดูแล้วไม่ชอบ  มิน่า  ก็ไม่ชอบแล้วจะไปจำมันทำไม  ว่าแต่ว่าไม่ชอบเพราะอะไร  ว่าแล้วก็ ‘โหลด’ หนังมาดูใหม่อีกรอบ

AH เป็นหนังสืบสวนมีกลิ่นอายของแฟนตาซีโดยใช้บรรยากาศขมุกขมัวที่เรียกว่า ฟิล์ม Noir

MR สวมบทนักสืบอิสระชื่อ Harry Angel  ที่วันหนึ่งก็ได้รับการว่าจ้างจากชายบุคลิกแปลก ๆ ชื่อ Louis Cyphre  ให้ตามหา Johnny Favorite ชายที่หายตัวไปอย่างลึกลับ

ขณะที่การสืบสวนดำเนินไปเรื่องร้าย ๆ ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นติดตามเขาไปเหมือนเงา  ในที่สุดเขาก็สังเกตได้ว่าทุกคนที่เขาตามหาข้อมูลนั้นลงเอยด้วยความตายอย่างน่าสยดสยองทุกราย


(... an attorney is like a lawyer but bills are bigger ความแตกต่างแบบนี้จำแม่นดี)


ฉากพบกับนายจ้าง Louis Cyphre  ผมว่าคนที่ ‘ดูหนัง’ เมื่อมาถึงฉากนี้จะเห็นความผิดปกติของ LC อย่างเด่นชัด  ปล. MR ยังหล่อเหมือนเดิมแต่เริ่มอ้วนนะ



การพบกันครั้งที่สอง  สิ่งผิดปกติของ LC ที่เห็นจากการพบกันในครั้งแรก  กลายเป็นเรื่องธรรมชาติของเขา



เรื่องของหนังโดยสรุปพร้อมกับฉากการพบกันของ HA กับ LC ครั้งสุดท้ายที่เฉลยตัวตนที่แท้จริงของ LC ว่าคือใคร (9.03)



เฉลยของเรื่องนี้  Harry Angel กับ Johnny Favorite คือคน ๆ เดียวกัน  JF เป็นคนที่ลุ่มหลงในไสยศาสตร์  เขาเคยทำสัญญากับ Lucifer ด้วยการแลกวิญญาณกับความสำเร็จทางด้านอาชีพการงาน  เมื่อได้สมตามความปรารถนาเขาเกิดขี้โกงไม่ยอมทำตามสัญญา  จากความรู้ที่เคยศึกษามาเขาพบว่าวิธีตบตา L ได้คือก็เปลี่ยนตัวตน  วิธีการก็คือฆ่าคนแล้วกินหัวใจขณะที่ยังเต้นอยู่  การเปลี่ยนวิญญาณก็เกิดขึ้น Johnny Favorite ก็กลายเป็น Harry Angel  นายทหารหนุ่ม  HA ไปออกรบแล้วได้รับบาดเจ็บทางสมองที่ทำให้เขาลืมว่าตัวตนที่แท้จริงคือใคร

พอ HA ความจำเสื่อมไม่รู้ว่าตัวเองคือใคร L ทวงวิญญาณไม่ได้  นี่คือสาเหตุที่ทำให้เกิดหนังเรื่องนี้  คือต้องทำให้ HA/JF จำตัวตนที่แท้จริงให้ได้

มาดูหนังอีกครั้งในวัยแก่ก็ทำให้เข้าใจเรื่องราวขึ้น  ผมคิดว่าสมัยดูครั้งแรกแล้วไม่ชอบน่าจะเป็นเพราะบรรยากาศของเรื่องที่หม่นหมอง  ไม่เหมาะกับวัยสดใสหวานแหววในขณะนั้นของผม

ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากหนังเรื่องนี้ในยุค อตน. คือมันเป็นหนังติดเรท X แต่มีการปรับปรุงเพื่อให้ได้เรท R แก่ ๆ  เนื่องจากมีฉากโหดเลือดสาดมาตลอดทาง  แถมด้วยฉากเซ็กส์แบบโจ่งครึ่ม  ฉากเหล่านี้ โดยเฉพาะฉาก ‘ตอกเสาเข็ม’ ท่ามกลางห่าฝนที่ตกลงมาเป็นกระแสเลือด  ไม่มีทางเล็ดรอดเข้ามาในโรงหนังอย่างแน่นอน

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 10 มี.ค. 23, 12:35

The greatest show on earth (1952) ได้รับรางวัล Oscar หนังยอดเยี่ยมประจำปี  แม้หนังจะยาวมากแต่สีสันสดใสและดูเพลิน



ไม่รู้คนที่ได้ดูจะช่างสังเกตแบบผมรึเปล่า  ฉากหลังจากเหตุการณ์รถไฟตกรางและคณะละครสัตว์ต่างช่วยกันให้ความช่วยเหลือ  แล้วก็มาถึงฉากที่ตัวละครฝ่ายหนึ่งกำลังอุ้มลูกเสือตัวใหญ่  อีกฝ่ายกำลังลากเสือตัวเล็ก  เสือ 2 ตัวเป็นคนละพันธุ์  ผมไม่ชำนาญเรื่องเสือเลยไม่แน่ใจว่าพันธุ์อะไรบ้าง  ตัวใหญ่น่าจะเป็น puma  ตัวเล็กไม่รู้พันธุ์อะไร  เสือ cheetah  ป่าว

ขณะที่ 2 ฝ่ายเดินสวนกัน เสือตัวเล็กซึ่งโคตรดุก็อาละวาดระรานไปเรื่อย  ส่วนเจ้าตัวใหญ่ก็ปัดป้องอุ้งเล็บเจ้าตัวเล็ก  เห็นแล้วขำดี
 
ผมทำ clip นี้เก็บไว้ดู  แต่หาจาก youtube มันไปไม่ถึงฉากที่ว่า



ตัวอย่างฉากอลังการตามประสาหนังทุ่มเงินสร้างในยุคทองของฮอลลีวู้ด

นักร้องคือศิลปิน (มีความสามารถทั้งร้องและแสดง) ระดับยักษ์คนหนึ่ง Dorothy Lamour


ส่วนฉากตื่นเต้นนี้เป็น climax ของเรื่อง



ใน credit ตอนต้นเรื่องบอกชื่อนักแสดง  ผมเห็นชื่อ James Stewart ด้วย  แต่ตอนดูหาเท่าไรก็ไม่เจอ  จนกระทั่ง อตน. เจริญพันธุ์แล้วถึงรู้ว่าเธอเล่นเป็นตัวตลกที่ไม่เคยถอดหน้ากากเพราะมีเบื้องหลังอันดำมืดซึ่งสมาชิกน้อยคน (ยกเว้นคนดู) ที่จะรู้ความลับนั้น






ตอนจบ ‘The show must go on’



สมัยอยู่ชั้น ม.ปลาย เคยมีคณะละครสัตว์จากต่างประเทศแบบนี้มาเปิดการแสดงที่ สนามกีฬาหัวหมาก  ผมจำที่มาที่ไปไม่ได้  ความจำลาง ๆ บอกว่าเป็นของ บ. Disneyฯ  เพราะผมนึกภาพ snow white ได้  ผู้ปกครองพาไปดู  ทุกอย่างที่อยู่ในความทรงจำมีหน้าตาแบบที่เห็นในหนังเรื่องนี้เปี๊ยบ  รวมถึง ‘เต็นท์ใหญ่ที่จัดกิจกรรม’ ที่เจ้าบ้านเรียกว่า ‘the big top’ ที่ตั้งครอบพวกเราเหล่าคนชมอยู่ภายในสนามกีฬา

จากประสบการณ์ที่ได้รับ  ผมไม่ชอบดูเลย  ช่วงแรก ๆ ก็สนุกดี  เห็นตัวละครมากมายออกมาร้องเพลงเต้นรำ  มีตัวตลก  แต่พอตอนช้างออกมาแสดง  ผมกลัวมันจะเหยียบคน  ตอนสิงโตออก  ผมก็กลั้นใจกลัวมันจะกินคน  ยิ่งตอนนักกายกรรมขึ้นไปแกว่งชิงช้าตัวจิ๋ว ๆ อยู่กลางอากาศ  แล้วผลัดกันรับไปมา  มันทำให้ผมนึกถึงเพลงหนึ่งของ Helen Reddy ทันที  แล้วก็จะหลับตาปี๋  กลัวจนขี้ขึ้นสมอง  กลัวพวกเขาจะพลาดตกลงมากระแทกพื้นไส้แตกแหลกกระจาย เหมือนเนื้อเพลงนั้น อุบัติเหตุแบบนี้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาใคร ๆ ก็รู้  ยิ่งผมเป็นคนชอบสร้างจินตนาการอยู่ด้วย

พอการแสดงจบ  ผมถอนหายใจเฮือกใหญ่  ตอนเดินออกมาผู้ปกครองบ่นเป็นหมีกินผึ้งว่า  เสียดายเงินชะมัด  ตั้งใจให้มาเห็นอะไร ๆ ที่สนุกสนาน  แต่หันมาดูทีไรเห็นผมหลับตาปี๋ทุกครั้ง
 
‘โตแล้ว ไม่ใช่เด็กซะหน่อย  ปอดแหกอะไรไม่เข้าเรื่อง’ โดนดุด้วย
 
ไม่ได้รบเร้าให้พาไปดูเล้ย


ควันหลง... เห็นคณะละครสัตว์แบบนี้แล้วนึกถึงเพลงนี้ของ Helen Reddy ทุกครั้ง  ผมหาเนื้อเพลงมาให้ด้วย



I was what they called a circus child
The big top was my home each year for a while
Mama was an actress then, but in the summer, she fell in
With a truth they called the West Wind

I recall the smell of sawdust after the rain
The summer you signed on when everything changed
You stole my mother's heart away, and it was hard for her, they say
'Cause you risked your life every day

And Mama'd always cry and close her eyes until your act was through
And me, I seemed fine, and all the time you never knew
I loved you, too

No one told the story, and you never knew
Just why it was we were so afraid for you
That prophecy the Gypsies made we called a superstitious game
Still, we half-believed it just the same

And Mama'd always cry and close her eyes, and say a prayer for you
And me, I seemed fine, and all the time you never knew
I was praying, too

I can still see your figure crushed on the ground
And now, when the circus comes to town
I let my children have their day
But me? I tend to stay away
You see, my father died that same way

And Mama'd always cry and close her eyes until your act was through
And me, I seemed fine, and all the time, you never knew
I loved you, too

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 13 มี.ค. 23, 12:26

หนัง My beautiful launderette ออกฉายในปี 1985  ในยุค 80s ผมมีทางเลือกในการดูหนังโรงอีก 1 ทางนอกเหนือจากถ่อสังขารไปที่โรงหนังคือดูทางม้วนวิดีโอ  เครื่องเล่นคู่ใจยี่ห้อ Sony สีเงินรุ่นยัดตลับเข้าไปทางด้านบนของเครื่อง  แล้วก็กดฝามันลงไปในเครื่อง  เป็นรุ่นที่ทนทายาดมาก  ถ้ามันกินเส้นเทปก็ล้วงควักได้ง่ายกว่ารุ่นที่ยัดตลับเข้าทางช่องด้านหน้า  ผมลองหารูป  ปรากฏว่ามีหลากหลายจนไม่แน่ใจว่าที่เคยครอบครองมันหน้าตาอย่างไรกันแน่

พอมีทางเลือกมากขึ้นผมก็สามารถดูหนังได้หลากหลายขึ้น  หนังตลาด ๆ ก็ไปดูที่โรงฯ  หนังนอกกระแสเช่นเรื่องนี้ก็ไปหาวิดีโอมาดู อย่างไรก็ตามดูหนังทางม้วนวิดีโอมีข้อเสียคือ  มักเป็นวิดีโอผี  ภาพ/เสียงไม่ได้มาตรฐาน  ที่สำคัญถ้าเป็นม้วนผีก๊อปปี้จากเมืองนอกมาจะไม่มีพากษ์  ก็ต้องเขม้นทั้งตาและหูกันเป็นสามารถ  หนังเรื่องนี้อยู่ในข่ายที่ว่า

หนังเรื่องนี้มาจากฝั่งอังกฤษ เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในกรุงลอนดอนในย่านชุมชนระดับล่างถึงกลางที่ประกอบด้วยชาวอังกฤษและชาวเอเซีย (ในที่นี้คือ ชาวปากีสถาน) อาศัยอยู่ร่วมกัน  

เนื่องจาก clip ย่อยมีน้อยเพราะไม่ใช่หนังแนวตลาด  ก็จะเล่าข้าม ๆ ไปยัง clip ที่พอหามาเสริมได้

หนังเปิดฉากให้เห็นพื้นเพชีวิตของหนุ่ม Omar ที่อาศัยอยู่ใน apartment ซ่อมซ่อกับพ่อที่เคยทำอาชีพผู้สื่อข่าวสมัยอยู่ที่ Pakistan  เมื่อต้องย้ายมาอยู่ที่อังกฤษ  เขาก็ไม่ชอบใจระบบสังคมการเมืองของประเทศนี้  แล้วก็ลงท้ายด้วยการติดเหล้าทำให้ป่วยออด ๆ แอด ๆ  

ผู้ชายอีกคนคือ Salim เป็นตัวแสบของเรื่อง  เขามีอาชีพค้ายาเสพย์ติด  และชักชวน O มาหาลำไพ่พิเศษด้วยการขับรถไปส่งส่วยยาฯ



วันหนึ่ง 3 คนที่ว่าไปเจอกุ๊ยข้างถนนที่เป็นพวกเหยียดผิว  ขณะเข้าได้เข้าเข็มกำลังจะเลือดตกยางออก  หัวหน้าแก๊งค์เป็น punk ชื่อ Johnny ก็จำ O ได้ว่าเป็นเพื่อนนักเรียน

หนุ่ม O มีลุงที่รวย เป็นเจ้าของกิจการมากมายรวมถึงร้านให้บริการซักผ้าแบบหยอดเหรียญ  ลุงชอบหลานเพราะขยันขันแข็งและมีแววส่ออนาคตที่ดี  เนื่องจากตัวเองไม่มีลูกชายจึงคิดจะยกกิจการนี้ให้กับเขาดำเนินการต่อ
  
O เป็นเด็กเรียนเรียบร้อยรักสงบ  เขารู้ว่าถ้าดำเนินกิจการในย่านแบบนี้ตามลำพังท่าจะน่าลำบากใจ  O เกิดไอเดียจึงติดต่อและชวนหนุ่ม punk มาช่วยกันดูแลธุรกิจโดยมอบหน้าที่พิเศษให้คือ ทำหน้าที่ ‘ดูแลความสงบเรียบร้อย’

Clip นี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง O กับ J  ดูแล้วทั้ง 2 มีอะไรมากกว่าแค่ความเป็นเพื่อนนักเรียน



เพื่อนกลุ่มกุ๊ยมาเตือนสติ J ว่าที่อังกฤษบ้านเกิดสถานภาพของเขาคืออะไร



ลุงมีลูกสาวซึ่งหลงรัก O  แต่ O ไม่กล้าเพราะกลัวลุงด่า  พอเธอได้เห็น J ก็เปลี่ยนช่องมาที่ J  แต่แล้วเมื่อเห็นความสัมพันธ์ของทั้ง O และ J  เธอก็ต้องถอนหายใจแล้วก็ ‘ไปดีก่า’



พ่อของ O เข้ามาพูดเป็นนัย ๆ ให้ J ตระหนักถึงความสำคัญของสถานภาพตัวเองต่อลูกชายของเขา



ตัวอย่างหนัง



ผมได้มาดูหนังเรื่องนี้อีกครั้งสมัย I/UBC  มีการตัดฉาก love scene ของ 2 หนุ่มออกโดยบัญชาของคณะกรรมการเซ็นเซ่อร์  ถึงกระนั้นก็ยังดูด้วยความสนุกสนาน  ด้วยเป็นหนังที่มีรสชาติกลมกล่อมมาก


มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 14 มี.ค. 23, 12:02

ในหนัง My beautiful laundrette  นักดูหนังฝรั่งรุ่นใหม่ที่ได้เห็นหน้าหนุ่ม punk นาม Johnny คงอดกังขาไม่ได้ว่าทำไมคุ้นหน้าจัง  นั่นคือ Daniel Day-Lewis  ที่บัดนี้คือนักแสดง (เกษียณตัวเอง) ฝีมือระดับพระกาฬอันดับหนึ่งของโลกผู้กำสถิติด้านการแสดงไว้คือ เป็นนักแสดงชายคนเดียวในประวัติศาสตร์ Oscar ที่ได้จับรางวัล 3 ตัวในบทแสดงนำล้วน  เป็นสถิติที่ยังไม่มีใครทำได้เหมือน 

สถิติสาขานี้ทำให้อเมริกาอับอายมากเพราะเป็นผู้สร้างสถาบัน Oscar ขึ้นมาแต่ผู้ที่ครองสถิติกลับเป็นนักแสดงจากฝั่งอังกฤษ  Jack Nicholson (ที่เพิ่งรู้ว่าตอนหนุ่ม ๆ โคตรหล่อ) ก็ได้ 3 ตัวแต่เป็นสาขาแสดงนำเสีย 2
 
ผมเพิ่งมาได้อ่านประวัติโดยละเอียดของนักแสดงคนนี้ขณะเขียนเรื่องนี้ เธอเล่นหนังครั้งแรกในปี 1971 รับบทเด็กที่ไม่มีชื่อในเรื่อง 

(คงพอดูเค้าออกนะ นึกไม่ถึงว่าโตขึ้นจะหล่อแฮะ)


อีก 11 ปีต่อมาคือ 1982  เธอถึงได้รับบทที่เป็นเรื่องเป็นราว  หนัง MBL เป็นหนังเรื่องที่ 4 ของเธอ  น่าประหลาดใจที่ตลอดอาชีพการแสดงที่ยาวนานเกือบ 50 ปี  เธอเล่นหนังน้อยมากคือ 21 เรื่องเอง  แต่สามารถเข้าชิง Oscar ถึง 6 ครั้ง  ความสามารถทางการแสดงช่างเป็นเลิศ

เรื่องที่น่าสนใจคือ ในปี 1997 เธอประกาศพักการแสดงชั่วคราวเพื่อไปฝึกอาชีพช่างทำรองเท้าที่ตัวเองเคยไฝ่ฝันอยากทำเป็นมานานที่เมือง Florence ประเทศ Italy  พักงานไป 3 ปีพอกลับมาเริ่มต้นงานใหม่  ผลงานจากการแสดงเรื่องแรกก็ทำให้เธอได้เข้าชิง Oscar ในทันที  ไม่รู้มีใครเก็บ DNA ไว้แล้วยัง

ถัดจากหนัง MBL ที่ผมได้รู้จักเธอเป็นครั้งแรก  หนังเรื่องต่อมาที่ผมได้ดูก็คือเรื่องถัดไปที่เธอแสดงซึ่งออกฉายในปีเดียวกัน  เป็นหนังย้อนยุคไปในช่วงต้น 1900s  ชื่อ A room with a view  หนังสร้างโดยทีมคู่หูนักสร้างหนังย้อนยุคชาวอังกฤษที่สร้างผลงานเป็นที่โด่งดังในช่วง 80s หลายเรื่องคือ Merchant-Ivory  ทั้ง 2 เลือกงานส่วนใหญ่จากนักเขียน E.M. Foster มาสร้าง  เป็นต้นว่าเรื่องนี้ และ Maurice ที่เคยชื่นชมให้ฟังไปนานแล้ว

บทของเธอในเรื่องนี้คือหนุ่มสำรวย  เป็นบทประกอบในเรื่อง



ตัวอย่างหนัง



ตอนหนังออกฉายซึ่งไม่มาเมืองไทย  SP เล่าว่าหนังดังมาก  นี่เป็นสาเหตุที่ผมไปขวนขวายหาม้วนวิดีโอมาดู  แล้วก็พบความผิดหวังเป็นหนึ่งในครั้งที่นับไม่ถ้วนเนื่องจากมันเป็นวิดีโอผี  ผมมาได้ดูหนังเรื่องนี้อีกครั้งทาง I/UBC  วิวในหนังสวยมาก
 
SP เล่าว่าบรรดานักวิจารณ์ที่บ้านเขาต่างสรรเสริญบทของ DDL ว่าเด่นมากจนใคร ๆ ในวงการคาดว่าเธอต้องได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar ของปีนั้น แต่พอโผออกมากลับไม่มีชื่อเธอรวมอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม อีกเพียง 4 ปีต่อมาเธอก็ประกาศศักดาคว้า Oscar ตัวแรกจากบทนำในเรื่อง My left foot สร้างจากประวัติของศิลปินที่เกิดมาพร้อมกับโรค ‘cerebral palsy’



ผมจำไม่ได้ว่าหนังมาฉายในบ้านเรารึเปล่า  แต่ผมไม่ได้ดู  บรรยากาศหดหู่เกินไป


มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 15 มี.ค. 23, 13:26

Daniel Day-Lewis เล่นหนังต่ออีกไม่มาก  ไปเรื่อย ๆ เอื่อย ๆ จนถึงปี 2012  เธอรับบทนำในหนัง Lincoln การสวมบทนี้ของเธอเป็นตำนานย่อย ๆ หน้าหนึ่งของวงการฮอลลีวู้ด… (คัดมาจาก wikiฯ)...

Day-Lewis portrayed Abraham Lincoln in Steven Spielberg's biopic Lincoln (2012). Based on the book Team of Rivals: The Political Genius of Abraham Lincoln, the film began shooting in Richmond, Virginia, in October 2011. Day-Lewis spent a year in preparation for the role, a time he had requested from Spielberg. He read over 100 books on Lincoln, and long worked with the make-up artist to achieve a physical likeness to Lincoln. Speaking in Lincoln's voice throughout the entire shoot, Day-Lewis asked the British crew members who shared his native accent not to chat with him. Spielberg said of Day-Lewis's portrayal, "I never once looked the gift horse in the mouth (เป็นสำนวนแปลว่า to find fault with something that has been received as a gift or favor). I never asked Daniel about his process. I didn't want to know." Lincoln received critical acclaim, especially for Day-Lewis's performance.


เทคนิคการแสดงของ DDL เรียกว่า method acting คือ …when he was working on a film, he lives his life as that character on and off camera...

และเป็นไปตามคาด  เธอคว้า Oscar เป็นตัวที่ 3 แบบนอนไสยาสน์มาบนเสลี่ยง



หลังจากเรื่องนี้ DDL ประกาศพักการแสดงอีกครั้งนาน 5 ปีเพื่อกลับไปใช้ชีวิตสงบแบบปกติที่บ้านใน Ireland (เธอเกิดในอังกฤษ) เธอกลับมาในปี 2017  เพื่อเล่นหนังอีก 1 เรื่องก่อนประกาศเกษียณจากการแสดงหนังเป็นการถาวร

บทของเธอในหนังเรื่องสุดท้ายที่ชื่อ Phantom Thread เล่าเรื่องช่างตัดเสื้อแนว haute couture กับสาวเสิร์ฟ  ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar เป็นครั้งที่ 6  เป็นการปิดฉากอาชีพการแสดงอย่างน่าทึ่งจนพูดไม่ออก



On 14 November 2014, DDL was knighted by Prince William, Duke of Cambridge, in an investiture ceremony at Buckingham Palace




หน้าตาเปลี่ยนไปตามกาลเวลา  สิ่งเดียวที่เปลี่ยนน้อยที่สุดคือรอยยิ้ม
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 16 มี.ค. 23, 11:54

Fright night (1985) เป็นหนังดังประจำปี  แล้วก็มาดังที่เมืองไทยด้วย


(ขอบคุณ คุณเอ็ม มุกฟาย)


ฉากจบ  อ้าปากค้างเลยละ ตื่นเต้นนั่งเกร็งอยู่บนเก้าอี้



ส่วนฉากที่ 1.15 (เสียดายที่ clip ไม่ได้พูดภาษาต้นฉบับ) นี่ถูกใจผมจริง ๆ ในปี 1985  อตน. ยังไม่เกิด  ภาพ Amy ปากฉีกถึงใบหูนี่ประทับใจไม่รู้ลืม  ผมลงทุนตีตั๋วรอบที่ 2 เพื่อจะดูฉากนี้อีกครั้งโดยเฉพาะ  สมัยยังห่ามๆ  นี่ทำอะไรได้สุดกู่ดีจัง  พอ youtube ถือกำเนิด  ผมรีบกระโจนลงไปคุ้ยหาฉากนี้เพื่อเอามาก๊อปปี้เก็บไว้



หนังเรื่องนี้เป็นหนังม้ามืดเพราะไม่มีใครคิดว่าจะดัง  พอดังขึ้นมาก็เลยมีภาค 2  ออกมาในปี 1988  หนังใช้นักแสดงชุดเดิม  คราวนี้ vampire เป็นผู้หญิง  แต่หนังเจ๊ง  ส่วนผมก็ไปดูตามปกติแล้วก็ไม่รู้ว่ามันเจ๊งจนกระทั่ง อตน. ถือกำเนิด



มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 17 มี.ค. 23, 11:51

ความดังของหนัง Fright Night ฉบับดั้งเดิมยังคงตามหลอกหลอนวงการบันเทิง (บ้านเค้า) อยู่เรื่อยมา  ในปี 2011  จึงมีคนลองของปลุกชีพหนังเรื่องนี้ขึ้นมาใหม่  ปรากฏว่าทำได้ดีเกินคาด  นักวิจารณ์ต่างสรรเสริญ

(ขอบคุณ คุณ Madman คนบ้าหนัง)


ฉบับนี้ Peter Vincent เซ็กซี่สุดขีด  รับบทโดยนักแสดงจากอังกฤษชื่อ David Tennant  

เธอดังมากในอังกฤษจากบท Doctor Who  หนังทีวีของอังกฤษที่เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 1963  เคยมาฉายบ้านเราในสมัยผมยังเล็ก  ผมจำได้แม่น Police box (ตอนที่นั่งอ้าปากบ๋อดูอยู่หน้าจอทีวี ผมนึกว่ามันเป็นตู้โทรศัพท์) ที่พอเข้าไปข้างในแล้วที่แท้มันเป็น Time machine เดินทางข้ามมิติ  ทึ่งจนอึ้ง


ฉากจบ  เทคนิคก้าวหน้าขึ้น ของต้องออกมาดีกว่าอยู่แล้ว

(หายไปแล้ว  หาใหม่ก็ไม่ได้)


ส่วนฉาก Amy ของฉบับนี้ยังแหกปากได้สะใจเช่นเดิม



พระเอกของฉบับนี้เป็นนักแสดงชาวอเมริกันแต่เกิดในรัสเซียชื่อ Anton Yelchin  เธอเสียชีวิตในปี 2019  เป็นข่าวดังประมาณหนึ่งสาเหตุเพราะ

‘After Yelchin failed to arrive at a rehearsal, he was found by friends after midnight on June 19, 2016, pinned between his Jeep Grand Cherokee and a brick pillar gate post outside his house in Studio City, Los Angeles, the victim of what was described as a "freak accident". As Yelchin got out of his car and went to check his locked gate and mail, the vehicle apparently rolled back down his driveway, which was on a steep incline, and trapped him against the pillar and a security fence. Yelchin was pronounced dead at the scene at the age of 27; the Los Angeles County Coroner's office identified the cause of death as "blunt traumatic asphyxia" and stated that there were "no obvious suspicious circumstances involved’.


สุดท้ายและท้ายสุดของหนังคือความประหลาดใจที่ถ้าเป็นนักดูหนังฝรั่งปกติเป็นต้องพลาดอย่างแน่นอน  แต่ผมเป็นนักดูหนังมืออาชีพ (ขอยกหางตัวเองหน่อย)  ไม่เคยพลาดตั้งแต่วินาทีแรกที่หนังเริ่มต้นจนถึงวินาทีสุดท้ายของม้วนหนัง

เป็นประเพณีของหนังทุกเรื่องที่เมื่อจบเรื่องแล้วจะตามด้วยรายชื่อคณะทำงานทุกสาขาที่ทำให้หนังเรื่องนี้เกิดขึ้นมา  ที่เค้าเรียกว่า end credits หรือ closing credits  ระหว่างร่ายยาวรายชื่อเหล่านี้ทางคณะทำงานก็จะสอดเพลงเข้าไปให้ฟัง  เป็นส่วนหนึ่งของ soundtrack ของหนัง  ส่วนใหญ่เพลงแรกเป็นเพลงร้อง  ถ้าดูโหงวเฮ้งแล้วท่าจะฮิตก็จะอัดเป็นแผ่นเสียงแผ่นเล็กออกแจกจ่าย (บางครั้งก็พร้อมเงิน) บรรดาดีเจวิทยุ  ให้เอาไปเปิดล่อนักฟังเพลง นักฟังเพลงฟังแล้วชอบก็แต่งตัวออกจากบ้านไปหาซื้อแผ่น (ที่เค้าเรียกว่า single) ต่อยอดไปเรื่อย ๆ แบบเงียะ

กลับมาที่เรื่องนี้พอหนังจบแต่ผมไม่จบก็นั่งดูต่อ  เพลงแรกระหว่างฉาย end credits เป็นเพลงมีจังหวะฟังแล้วถูกหู  พอถูกหูแล้วก็อยากรู้ว่ามันชื่ออะไร  ก็นั่งถ่างตาดูไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงหมวดดนตรีแล้วก็มาถึงรายชื่อบรรดาเพลง  เพลงที่ผมชอบชื่อว่า 99 Problems ร้องโดยนักร้องชื่อ Hugo

รู้แค่นี้ก็อยากรู้ต่อว่าไอ้หมอนี่มันเป็นใคร  ก็ไปถาม youtube  คำตอบที่ได้ประหลาดใจแบบนึกไม่ถึง


(หมายเหตุ – 99 Problems ต้นฉบับเป็นเพลง rap)


ตัวอย่างหนัง


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 20 มี.ค. 23, 12:24

Idle hands (1999) เป็นหนังสยองขวัญในบรรยากาศของตลกร้าย  เป็นเรื่องของหนุ่มโหลยโท่ยที่วัน ๆ ไม่ทำอะไรนอกจากบิดขี้เกียจกับพี้ยา  วันหนึ่งเธอก็ถูกผีสิงกลายเป็นฆาตกรต่อเนื่อง  จุดที่แปลกของเรื่องนี้คือผีไม่สิงทั้งตัวแต่สิงเฉพาะที่มือ
 
เหยื่อชุดแรกคือพ่อแม่ของหนุ่มเอง  



ชีวิตของหนุ่มไร้สาระของ Anton ที่ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่  แล้วก็ไม่รู้ว่าพ่อแม่ที่อยู่ด้วยกันหายไปจนกระทั่งเวลาผ่านไปแล้ว 1 อาทิตย์

(บ้านน่ารักจัง)


มือผีสิงยังฆ่าไปเรื่อย ๆ กับพ่อแม่ของหนุ่มยังไม่เว้นแล้วเพื่อนสนิทจะรอดเรอะ



(วิธีที่จะทำให้มือผีสิงวุ่นวายจนไม่มีเวลาไปฆ่าคนคือจับมันถัก knitting คิก ๆ น่ารัก  ส่วนเพื่อน 2 คนที่โดนมือผีสิงฆ่ากลายเป็นผีดิบ)


พอรู้ต้นสายปลายเหตุหนุ่ม A ก็พยายามทุกวิภีทางที่จะกำจัดมือผีสิง  เธอทำทุกอย่างแม้จะต้องตัดมือตัวเองก็ตาม



ลงเอยแบบนี้ (ตอนท้าย หลังจากโดนตัด มือผีสิงเข้าไปสิงใน hand-puppet)



ฉากที่ผมว่าน่ารักที่สุดคือฉากที่มีหมาร่วมด้วย  ตรง 4.53 – 5.06 น่ารักที่สุด  ส่งหมาออกไปตายก่อน



ตัวอย่างหนัง



นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ไม่ชอบแต่ผมว่าตลกดี  

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 21 มี.ค. 23, 12:08

หลวงพ่อ Greg โดนส่งตัวมาที่วัดแห่งหนึ่งใน Liverpool  อยู่ได้ไม่นานก็พบว่าหลวงพ่อ Matthew เจ้าถิ่นที่เป็นที่เคารพของชาวบ้านมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับแม่บ้านของวัด  ที่สำคัญคือ เจ้าตัวยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบาน  หลวงพ่อ G จึงเกิดความกังวลและกังขาต่อสถาบันคริสตจักรแห่งนี้  แต่ในขณะเดียวกันตัวหลวงพ่อเองก็กำลังกุมความลับของตัวเองไว้อย่างเหนียวแน่น  สรุปแล้วใครเลวกว่ากัน

หลังจากจับได้ว่า ลพ. M กำลังคั่วผู้หญิง  1.31 – คือคำแก้ตัวของ ลพ. M



งานใหญ่เข้าในขณะดำเนินการสารภาพ เมื่อมีเด็กหญิงมาสารภาพว่าโดนพ่อข่มขืน



เรื่องรู้ไปถึงหูพ่อชาติชั่ว  เขาจึงมาเตือน  ลพ.G เกิดสถานการณ์น้ำท่วมปากเพราะ ‘If I intervene, I could stop someone’s suffering but that means breaking the seal of confession’ พูดง่าย ๆ คือ ผิดกฎของการสารภาพบาป   เขาจึงทำได้แค่ ‘drop a hint’ แต่แม่ของเด็กซึ่งเป็นคนมองโลกสวยก็ไม่เข้าใจเสียที 



จนกระทั่ง...

จาก กฎของการสารภาพบาป ทำให้ ลพ. G โดนคุณแม่โลกสวยด่า
‘You knew. You knew. What kinda man are ya ?. I hope you burn in hell’


ส่วนความลับของ ลพ. G คือเป็นเกย์



เมื่อความลับไม่มีในโลก



ลพ.G อับอายและสับสน เขาย้ายไปประจำอยู่ที่วัดอีกแห่งห่างไกลจากความเจริญ  แต่เขาไม่ลาออกจากเพศนักบวชเพราะ  ‘God wants me to be a priest’  เขาอยู่ด้วยความสับสนและทรมาน  จนกระทั่งวันหนึ่ง ลพ.M  ที่เขาเคยรังเกียจมาตามหา  ทั้งสองเถียงกันด้วยเรื่องแก่นของศาสนา...

ลพ.M ใช้หลักความต้องการของธรรมชาติมาถกเถียงกับหลักที่ ลพ. G อ้างว่าพระเยซูบัญญัติไว้

ลพ M - To call another human being Satan, I mean what kind of religion is that ? What kind of sick, twisted brainwash have you been through? His sole purpose in life is to tempt you into sin, is that what you're sayin'? Do you love that man (เด็กหนุ่มของ ลพ.G)?
ลพ. G - I think I love him. Yes.
ลพ. M - Do you want him ?
ลพ. G - Yes.
ลพ. M - All the time?
ลพ. G - A lot of the time.
ลพ. M - And is that sinful?
ลพ. G - Sick.
ลพ. M – So, to itch for a man is sick; to want to scratch that itch, to want to make love to another man, that's sinful?
ลพ. G - Yes.
ลพ. M - And to want to go on scratching, to live with another man. Well, that's permanent sin. That's evil. Is there any sense, any intellect, any common humanity in that kind of bullshit?

ในที่สุด ลพ. G  ก็สามารถตีความในคำสอนของพระเยซูแตก  เขากลับไปหา ลพ. M ที่วัดเดิมและเผชิญหน้าชาวบ้านโดยอาศัยหลักคำสอนที่เขาตีความได้...

“Compassion, ladies and gentlemen. You sin, you go to a priest. You expect compassion. If you expect it from him, shouldn't he expect it from you? Compassion, forgiveness, understanding”





ตัวอย่างหนัง


 
หนังจากอังกฤษเรื่อง Priest นี้ออกฉายในปี 1994  ในยุคที่รักร่วมเพศยังหลบอยู่ในตู้เสื้อผ้า  การทำหนังเนื้อหาล่อแหลมต่อศีลธรรม (ในยุคนั้น) ออกฉายในวงกว้างย่อมต้องเจอตออย่างแน่นอน

‘The film received very vocal condemnation from the Church, with the Catholic Church in Ireland in particular calling for a ban on theatrical distribution. This marked the first major disagreement between the Church and the Irish Film Censor Board, which decided to release it anyway. It went into general release in the UK on 17 March 1995 and into limited release on 8 screens in the US the following week. Catholic organizations in the United States, including the Catholic League and the American Life League, were in an uproar over its planned nationwide release by Miramax during Easter weekend, calling the film "smut," "blasphemous" and "sacrilegious"; staged a national boycott over Miramax parent, Walt Disney Studios; demanded that the film be withdrawn and called for Disney president Michael Eisner to be fired. Exhibitors in New Jersey received threats, including bomb threats, warning against screening the film.” ข้อมูลจาก Wikiฯ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 20 คำสั่ง