เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 18345 ฉากประทับใจในหนังเก่า (4)
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 06 ก.พ. 23, 21:03

Attraction สนุกมากเพราะเป็นหนังรัสเซียไม่ค่อยมีฉายในบ้านเรา นางเอกน่ารัก หมานางเอกน่ารักกว่า แฟนเก่านางเอกไม่น่ากลายเป็นแบบนั้นไปได้ แต่บทเพื่อนแฟนเก่านางเอกหน้าตี๋ขโมยซีนพอสมควร พระเอกกับพ่อนางเอกผมเฉยๆ เพิ่งรู้ว่ามีภาค 2 แต่ที่เพิ่งรู้ยิ่งกว่าคือ Attraction เป็นหนังเก่าแล้วหรือครับเนี่ย  ตกใจ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 07 ก.พ. 23, 14:23

Attraction สนุกมากเพราะเป็นหนังรัสเซียไม่ค่อยมีฉายในบ้านเรา นางเอกน่ารัก หมานางเอกน่ารักกว่า แฟนเก่านางเอกไม่น่ากลายเป็นแบบนั้นไปได้ แต่บทเพื่อนแฟนเก่านางเอกหน้าตี๋ขโมยซีนพอสมควร พระเอกกับพ่อนางเอกผมเฉยๆ เพิ่งรู้ว่ามีภาค 2 แต่ที่เพิ่งรู้ยิ่งกว่าคือ Attraction เป็นหนังเก่าแล้วหรือครับเนี่ย  ตกใจ

ตื่นเต้นและขอบคุณสำหรับการสนทนาครับ

ผมเขียนเรื่องนี้มาเกือบปีแล้ว  ขณะที่เขียนก็หลังจากดูหนังมาแล้วอีกเกือบปี  ดูไล่กับเรื่อง VIY  หลังจากเขียนไม่นานก็ได้ดูภาค 2  ความรู้สึกส่วนตัวไม่สนุกเท่าภาคแรก  ฉากตื่นตาตื่นใจก็น้อย  ขาดแรงบันดาลใจที่จะเอ่ยถึง
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 07 ก.พ. 23, 14:31

ผมรู้จักหนัง From here to eternity (1953) มาตั้งแต่อ้อนแต่ออก  สิ่งที่แนะนำให้ผมรู้จักหนังเรื่องนี้ก็คือภาพนี้




บ้านเค้านิยามว่าภาพ erotic  ภาษาไทยแปลว่าอย่างไรผมไม่รู้  ตอนนั้นผมยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่านักแสดงมีใครบ้าง  แต่เห็นแล้วมันเซ็กซี่ดีจัง  แล้วก็ตั้งใจไว้ว่าถ้าโอกาสมาจะไม่พลาด  อยากรู้ว่าฉากนี้อยู่ในช่วงไหนของเรื่อง

TCM สปอนเซ่อร์เจ้าเก่าเป็นผู้นำเสนอ  หนังขาวดำ (ถ้าเป็นสีคงจะน่าดูกว่านี้) เล่าเรื่องนายทหารหนุ่ม 3 นาย (Burt Lancaster, Montgomery Clift และ Frank Sinatra) ประจำอยู่ฐานทัพในฮาวายในช่วงเวลาที่ Pearl Harbor ถูกถล่ม  มีนักแสดงหญิงชั้นเลิศร่วมเล่นด้วย 2 คนคือ Deborah Kerr กับ Donna Reed

ช่วงที่หนังมาฉาย  ผมชำนาญหนังฝรั่งเต็มตัวแล้ว  และรู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้ดูดาราระดับมหากาฬมารวมกันอยู่ในจอเดียว  โดยเฉพาะ DK กับ MC



ฉากอันเป็นที่มาของภาพอมตะ



สมกับที่เค้าบัญญัติคำว่า ‘stars’ ให้กับนักแสดงในยุคทองของฮอลลีวู้ด



ทหารเรือมาแล้ว Ernest Borgnine ก็เล่นด้วยนะ  เป็นนักเลงไม่ใช่ ‘แม็คเฮลลลลล’



Monty ขโมย scene


หมายเหตุ – นักแสดงทั้ง 5 ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar ทั้งหมด  รวมสาขาอื่น ๆ เป็น 13 รางวัลที่เข้าชิง


ตัวอย่างหนัง
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 09 ก.พ. 23, 11:53

Montgomery Clift เป็นนักแสดงในจำนวนน้อยคนที่ใช้หลัก method มาใช้ในการแสดงของตน  อีกคนก็ Marlon Brando  แล้วก็ James Dean ที่ศึกษาหลักการแสดงของ MC เป็นครู




MC เป็นทั้งดาราและนักแสดงคุณภาพ  เคยได้เข้าชิง Oscar ถึง 4 ครั้ง  แต่ชีวิตส่วนตัวของเธอไม่เป็นสุขนัก  นั่นคือเธอเป็นเกย์

ในยุคทองของฮอลลีวู้ดมีนักแสดงชาย (และหญิง) ชั้นนำที่เป็นเกย์ไม่น้อย  แต่ละคนก็เรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับมันในแบบต่าง ๆ กันไป  บางคนก็อยู่กับมันอย่างเป็นสุข เช่นคู่ของ Cary Grant กับ Randolph Scott  คู่นี้อยู่ด้วยกันอย่างเปิดเผยโดยยกให้ PR ของ studio ทำหน้าที่กลบเกลื่อนข่าวไป (ด้วย  slogan ว่า The Merry Bachelors  ความจริงทั้งคู่ ‘แต่งงาน’ กันเรียบร้อย)  ส่วนตัวเองก็ชดเชยด้วยการทำตัวดี ๆ ไม่ดื้อ  ทำงานหาเงินป้อนให้ studio  ประเภทน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า




บางคนก็หลบ ๆ ซ่อน ๆ ทำนองมี 2 บุคลิกเช่น Farley Granger หรือ Rock Hudson หรือ Anthony Perkins หรือ Tab Hunter

แต่บางคนคือ MC ไม่ยอมรับมือกับมันเพราะเธอเกลียดความเป็นเกย์ทั้งๆ ที่ตัวเองก็เป็นเกย์  สิ่งเดียวที่ช่วยทำให้เธอลืม ๆ มันได้ก็คือเหล้า (ในยุคนั้นบรรดายาเสพย์ติดยังไม่เข้ามา)

ผมเคยดูหนังที่เธอแสดงมา 3-4 เรื่อง  อย่าง From here to eternity แล้วก็ A place in the sun (1951) อันเป็นช่วง heyday ของเธอซึ่งหล่อสุดขีด



ในปี 1957 เธอเล่นเรื่อง Raintree County หนังย้อนยุคไปสมัยเดียวกับ Gone with the wind มี MC เป็นดารานำร่วมกับ Elizabeth Taylor ในบทผัวเมียที่เมียมีอารมณ์ปรวนแปรจนนำไปสู่ความร้าวฉาน



ช่วงกำลังถ่ายทำ  ET จัดงานปาร์ตี้ที่บ้านมีคนไปร่วมงานเยอะรวมทั้งเหล่านักแสดงจากหนังเรื่องนี้  หนึ่งในนั้นคือ MC

เมื่อถึงเวลาอันสมควร MC ก็ขอตัวกลับบ้าน  ระหว่างขับรถกลับบนทางเปลี่ยวเธอเกิดหลับใน  ส่งผลให้รถประสบอุบัติเหตุ  รถพังไม่เท่าไรแต่ MC บาดเจ็บสาหัส  รวมถึงใบหน้าอันหล่อเหลาของเธอ ยับไปครึ่งหน้า




เธอหยุดงานนานกว่า 2 เดือนเพื่อรักษาแผลบนในหน้าที่ต้องทำศัลยกรรมพลาสติก  ก่อนที่งานถ่ายทำดำเนินต่อไปท่ามกลางความวิตกของ studio ว่าหนังเรื่องนี้ท่าจะเจ๊ง  แต่ MC คิดต่าง  เธอบอกว่าน่าจะตรงกันข้ามเพราะคนอยากมาดูว่า MC เสียโฉมตรงไหนบ้าง

ซึ่งก็จริงแม้ฉากตอนที่หน้า MC เสียโฉมแล้วจะโดนมุมกล้องและเทคนิคต่าง ๆ กลบเกลื่อนแต่เทคโนโลยีสมัยนั้นยังไม่ก้าวหน้าพอ  จึงพอสังเกตได้ว่าในหนังครึ่งเรื่องหลังใบหน้าด้านซ้ายของ MC แทบจะไม่หันเข้าหากล้อง ถ้าเห็นก็พบว่าใบหน้าซีกนั้นผิดปกติคือ แทบไม่เคลื่อนไหว

หนังเรื่องนี้ผมได้ดูทางวิดีโอ  (อ้อ... นึกออกแล้ว ชื่อ บ. ทำวิดีโอคุณภาพที่ดูประจำ คือ บ. CVD International  อัดเสียงพากย์เสียงได้ดีมาก  แถมตอนจบจะต้องบอกว่า ‘ขอได้รับความขอบคุณจาก CVD International’)  หนังสนุกเชียวแหละ และผมก็ไม่ลืมที่จะสังเกตใบหน้าด้านซ้ายของ MC  แต่ก็ไม่เท่าไรนะผมว่า

ในช่วงการถ่ายทำหนัง MC ต้องใช้ยาระงับความปวดบ่อยมากเลยกลายเป็นคนติดยาเพิ่มขึ้นไปจากติดเหล้า  สองอย่างนี้ทำให้สุขภาพรวมถึงหน้าตาเธอโทรมเร็วกว่าอายุ  เห็นได้ชัดในฉากเรื่อง Judgement in Nuremberg เธอเพิ่งอายุ 41  แต่ดูแก่และหาเค้าคนเคยหล่อไม่เจอเลย

(ฉากนี้ซีกหน้าที่เป็นอัมพาตเห็นได้ชัด  Stanley Kramer ผกก. เล่าไว้ในบันทึกว่า  MC เข้าฉากนี้เพียงฉากเดียวแต่แทบจะจำบทพูดไม่ได้เลย  เขาต้องบอกให้เธอลืมเตรียมเรื่องบทพูดไปเสียแล้วคิดว่าตัวเองกำลังขึ้นศาล  พอทนายซักก็ค่อยคิดถึงบทบาทบุคลิกของตัวเองแล้วก็พูดไป  ปรากฏว่า MC ทำได้ดีและดีขนาดได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar ด้วย)

MC มีเพื่อนดาราที่สนิทมากอยู่คนเดียวคือ ET  ทั้งคู่จัดเป็นคู่ตุนาหงันบนจอหนังเพราะเล่นหนังคู่กันถึง 3 เรื่องและดังสุดกู่ทั้ง 3 เรื่อง  ส่วนเรื่องที่ 4 ลงมือไม่ทันเพราะเธอเสียชีวิตเสียก่อนในปี 1966 ด้วยอายุเพียง 45 ปี




MC ได้ชื่อว่าเป็นนักแสดงเกย์ที่มีชีวิตที่เศร้าที่สุดของฮอลลีวู้ด  สิ่งนี้ทำให้เธอเป็น icon ของชาวเกย์

ในหนังสือ Montgomery Clift: A Biography ออกขายในปี 1978  เธอบอกว่า ‘I love men in bed but I really love women’

แถมฉากในหนังเคาบอยอันเป็นเรื่องแรกของ MC ชื่อ Red river (1948) มีบทพูด 2 แง่ 2 มุมที่ว่า ‘good looking gun… can I see it? และ Maybe you’d like to see mine?’ 

(อันนี้ซี้คลาสสิกแนะให้ดู ผมไม่เคยดูหนังเรื่องนี้)

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 13 ก.พ. 23, 12:26

A Touch of Pink (2004) เป็นหนังร่วมทุนสร้างระหว่างอังกฤษกับคานาดา  หนังเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นที่คานาดา  หนุ่มเกย์มุสลิมรู้สึกเบื่อกับความเคร่งศาสนาของครอบครัวของตนจึงย้ายถิ่นมาหางานทำที่อังกฤษ  และสามารถใช้ชีวิตเกย์ ๆ ของตนได้อย่างสบายใจ  ไม่ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ เหมือนตอนอยู่บ้าน

ชีวิตของเขาเฮฮาไร้กังวลมาจนกระทั่งวันหนึ่งมารดาจอมเฮี้ยบที่มักจะติดต่อกันทางโทรศัพท์ตัดสินใจมาเยี่ยมเขา




เป็นหนังน่ารักบรรยากาศบางเบา  ความจริง plot เรื่องถ้าเทียบกับยุคปัจจุบันแล้วแสนจะพื้นฐาน  แต่เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน  ก็น่าติดตามอยู่  ผมดูทาง DVD ในปีที่ออกฉายโดยสั่งซื้อทาง Amazon  ยุคนั้น DVD หนังของนอกที่พูดภาษาอังกฤษที่มีบรรยายเสริมมาให้ประกอบการดูนั้นหายากมาก  ตอนนั้นสิทธิความเท่าเทียมกันยังไม่เข้มข้นเหมือนเดี๋ยวนี้  อย่างไรก็ตาม เสียงฟังไม่ยาก  สำเนียงมีทั้งอังกฤษแท้และอังกฤษสำเนียงแขก ซึ่ง แปลกดี ฟังง่ายกว่า

ใน clip  จะเห็นนักแสดง Kyle MacLachlan รับบท Cary Grant  เป็นจินตนาการที่หนุ่ม Alim คนนี้สร้างขึ้น  CG ของหนุ่ม A ชอบให้คำแนะนำบางครั้งก็ช่วยแก้ปัญหาแต่ผลลัพธ์ออกมาเป็นความวุ่นวายเสมอ

ไม่มีใครย่อย clip มาปล่อยเลย  ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติสำหรับหนังเล็ก ๆ  จะแนวเกย์หรือไม่ก็ตาม  น่าเสียดาย

แต่มีอยู่ clip หนึ่ง  คาดว่าผู้ปล่อยตั้งใจจะนำเสนอเพลงในหนัง  ความจริงในหนังมีเพลงสอดแทรกเข้ามาประปรายและเพราะ ๆ ทั้งนั้น  เพลงที่เอามาปล่อยชื่อว่า "Sailing on the Real True Love" ร้องโดยนักน้องชาวคานาดา  Emilie-Claire Barlow

เหตุการณ์ใน clip เป็นตอนที่แม่ของหนุ่ม A มาพักแล้วขัดคอกัน  คู่รักของหนุ่ม A เห็นเธอเซ็งก็เลยอาสาเป็นไกด์พา ‘ว่าที่แม่ยาย’ ออกเที่ยว London  ในเหตุการณ์นี้ทั้ง 2 หนุ่มยังปกปิดความสัมพันธ์อยู่  แม่หนุ่ม A เข้าใจว่าเป็นเพื่อนร่วมบ้าน

ใน clip จะเห็น London Eye   เป็น OTOP ของนคร London   ผมขี้เกียจค้นว่ามันเริ่มเปิดบริการเมื่อไร แต่ปีที่ผมไปเยี่ยมมัน (ครั้งแรก) คือ 2003  ตอนนั้น อตน. ยังไม่เจริญพันธุ์  แหล่งให้ค้นข้อมูลมีน้อยและหายาก  สรุปว่าก่อนออกเดินทางจากประเทศไทยผมไม่รู้ว่ามันตั้งอยู่ตรงส่วนไหนบนตลิ่งแม่น้ำ Thames  ต้องไปถึง L นั่นแหละถึงจะสามารถหาข้อมูลรายละเอียดได้  จากการถามชาวบ้านเอา
 
ตามประสานักท่องเที่ยวมืออาชีพ (ขอยกหางหน่อย) เวลาจะไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่ไหนที่ใกล้ตัว (ประมาณว่า ‘within reach’)  ผมจะปลีกเวลาไปสำรวจเส้นทางก่อน  โดยเฉพาะ LE ที่เพิ่งเปิดบริการ  คนย่อมแห่แหนไปร่วมประสบการณ์อย่างแน่นอน  ซึ่งต้องมีทั้งเจ้าบ้านและแขกต่างบ้าน

แล้วก็จริงอย่างที่คาด  ผมไปถึงประมาณหลังเที่ยง  โอ้โฮ... คนมืดฟ้ามัวดิน  มดไม่กล้าแตกรังแถวนี้เพราะออกมาจากรังไม่ได้  มันแน่นไปหมด  พอเห็นสภาพของจริงแล้วผมก็วางแผนทันที  แผนของผมคือต้องไปวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดและต้องไปให้ทันรอบแรก  เพราะจากประสบการณ์พวกฝรั่งมันจะนอนกันก้นโด่งในวันหยุด

แล้วก็จริงตามแผน  วันอาทิตย์ที่ผมไป ไม่มีคนเลย ช่างตรงกันข้ามกับวันก่อนที่มาสำรวจ  แบบหน้ามือเป็นหลังตีนชาวบ้าน  LE ตั้งตระหง่านอย่างเหงาหงอยท่ามกลางอากาศยามเช้าเงียบสงบเหมือนอยู่อีกมิติหนึ่ง

บริเวณนั้นร้างผู้คนถึงขนาดว่าพนักงานเดินออกมาชวนเชิญผมให้ใช้บริการ   ‘มาแต่เช้าเชียว  มาซื้อตั๋วเลยเร้ว...'  ทำนองนี้

สรุปแล้วผมเป็นคนแรกของวันนั้น   แล้วก็ไม่ใช่เช้าตรู่แบบตี 5 อะไรเลย  เวลา 9.30 น. นี่นับว่าสายจัดแล้ว  ไม่รู้ผู้คนหายหัวไปไหนกันหมด 

ผมซื้อตั๋วราคา 11 ปอนด์ (ไม่รู้เดี๋ยวนี้เท่าไร)  แล้วเดินไปที่ชานชาลา  ตัว LE ไม่ได้หยุดนิ่งแต่จะหมุนเอื่อย ๆ  ช้ากว่าบันไดเลื่อน ดังนั้นเราต้องหาจังหวะก้าวเข้าไปในแคปซูลเอาเอง ไม่น่ากลัวหรอกครับ ถ้าก้าวขึ้นลงบันไดเลื่อนตามห้างแล้วไม่มีปัญหา  ที่นี่สะดวกกว่าอีก

ตัวแคปซูลมีขนาดกว้างใหญ่ จุได้ 25 คน  เช้าวันนั้น พอก้าวเข้าไปแล้วเพิ่งนึกได้ว่า เอ... อยู่คนเดียวแบบนี้แล้วใครจะถ่ายรูปให้ข้าละหว่า (อย่าลืมตอนนั้นยังไม่มีมือถืออัฉริยะ)  แต่โชคช่วย  อีก 2-3 วินาทีต่อมา  แคปซูลยังเคลื่อนไปไม่พ้นชานชาลาก็มีฝรั่งหนึ่งคู่ก้าวเข้ามาร่วมกับผม  รวมเป็น 3 คนในแคปซูลกว้าง  หลังจากทักทายกันพอหอมปากหอมคอ  รวมถึงต่างไหว้วานให้ช่วยถ่ายรูปให้กันและกัน  เราก็สามารถเดินดูวิวได้รอบทิศสบายเหมือนอยู่ในบ้านของเราเองเลย การหมุนนั้นขึ้นไปสูงมากก็จริงแต่ไม่หวาดเสียวแม้แต่น้อยเพราะมันไต่ระดับช้ามาก

ผมจำไม่ได้ว่าใช้เวลานานเท่าไร  แต่ตอนครบรอบกลับมาที่ชานชาลา  คนกลับมามืดฟ้ามัวดินเหมือนเก่า


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 14 ก.พ. 23, 15:09

Nightmare before Christmas ออกฉายในปี 1993 เป็นหนังที่เรียกว่า Stop motion animated แนวแฟนตาซี  เล่าเรื่อง Jack Skellington ผู้มีตำแหน่งเป็น King of ‘Halloween Town’ 

เปิดเรื่องให้เห็นความเป็นไปใน Halloween Town 

ลืมบอกไปว่าเป็นหนังเพลง


พลเมืองของเมืองนี้ยกย่อง JS ให้เป็นผู้นำโดยตั้งชื่อว่า Pumpkin King  หน้าที่ของ JS คือจัดงาน Halloween ให้มัน ๆ  แต่ในปีนี้เขาเกิดความเบื่อหน่ายและคิดไม่ออกว่าจะจัดงานในรูปแบบไหนดีถึงจะ ‘มัน’  เขาก็ออกไปเดินเล่นแก้เบื่อ  แล้วก็หลงเข้าไปใน Christmas Town  ประเพณีแปลกตาน่าหลงใหลทำให้เขาคิดอยากครอบครองเมืองนี้





เขานำไอเดียมาเสนอชาวเมือง Halloween  และต่อมาลักพา Santa Claus เพื่อเอามาศึกษา





ความที่ไม่เข้าใจ concept  ของ Christmas Town ทำให้ JS ดำเนินงานไปตามประสบการณ์ความรู้ที่ตัวเองมีอยู่



เมื่อสามารถปรับเปลี่ยนบุคลิกให้เข้ากับบุคลิกของตนได้แล้วก็ออกป่วนใน Christmas Town



การป่วนด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ JS ทำให้ทางการของ Christmas Town ต้องหาทางกำจัด JS



JS ไม่ใช่ผู้ร้าย  ที่เขาทำไปก็เพราะความต่างในวัฒธรรมกัน  เมื่อรู้ตัวว่าไปทำบ้านเมืองเค้าป่วนก็หาทางแก้ไข  ฝ่าย Santa Clause ก็เข้าใจในความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  และเพื่อแสดงความไม่ถือโทษโกรธเคือง SC ก็โปรยหิมะลง Holloween Town  ทำให้พลเมืองตื่นเต้นกันใหญ่



เสริมว่า Sally คือแฟนของ JS



ตัวอย่างหนัง



หนังเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีของ ผกก. Tim Burton เอง  ดังนั้นมันจึงเป็น project ส่วนตัวเขาที่ได้รับทั้งเงินและคำชมอย่างท่วมท้น

ผมดูหนังเรื่องนี้ในโรงฯ  จำความรู้สึกได้ว่าง่วงนอนจัง  เพราะผมไม่ ‘อิน’ กับแนวเพลง  แถมเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องบรรยายเหตุการณ์ของหนังไปด้วย  แนวการใช้เนื้อเพลงนำเสนอเรื่องราวแบบนี้ในหนัง Little shop of horror  ยังสนุกกว่าเพราะเพลงเป็นจังหวะ doo-wop น่าฟังกว่า

นี่ถ้าไม่ใช่หนังเพลงผมจะสนุกกว่านี้มาก  ที่ชอบที่สุดคือเหล่าตัวละครต่าง ๆ ในหนัง  ล้วนน่ารักอยากได้เก็บไว้ทุกตัวเลย

ควันหลงจากความสำเร็จของหนังเรื่องนี้คือ merchandise หลายรูปแบบ  มีทั้งตุ๊กตา เกมส์ หนังสือการ์ตูนและการ์ตูนนานา ข้าวของเครื่องใช้ทุกชนิดเท่าที่สมองคิดไปถึง ฯลฯ ซึ่งยังคงมีขายถึงปัจจุบันนี้



บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 15 ก.พ. 23, 12:56

เขียนเรื่องนี้ไว้เมื่อเกือบปีแล้ว  ตอนนั้นยังไม่มี idea หาความสุขจากกระทู้ 'นักร้องเก่าฯ' ของ 'จาร  คิดจะลบทิ้งก็เสียดายการค้นคว้าที่ลงทุนไป

Hitsville, the making of Motown (2019) เป็นสารคดีเล่าเรื่องราวการถือกำเนิดของบริษัทผลิตแผ่นเสียงชื่อดังของอเมริกา Motown  ที่ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่ผลิตนักร้องผิวดำออกมาสู่ตลาดผู้บริโภคดนตรีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของโลก  นักร้องในสังกัดที่แผ่ความดังมาถึงหูนักฟังเพลงบ้านเราก็เช่น Diana Ross (หรือ The Supremes ในยุคดั้งเดิม), Marvin Gaye, Stevie Wonder, The Jackson 5 และอื่น ๆ อีกมากมาย


(บริษัท Motown Rec. ในยุคแรกเริ่มเป็นบ้านเล็ก ๆ 2 ชั้น Barry Gordy ผู้ก่อตั้งยืนเล่นกีตาร์  นั่งริมซ้ายคือ Smokey Robinson อดีตนักร้องนำคณะ The Miracles ต่อมาแยกตัวเป็นศิลปินเดี่ยว  SR มีฐานะประมาณเจ้าพ่อในวงการเพลง (ทั้ง pop และ soul) มีความสามารถทั้งแต่งและร้อง  นักฟังเพลงฝรั่งชาวไทยรู้จักเพลงของเธอมาตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น Shop Around, Tracks of My Tears ฯลฯ  ผู้หญิง 3 สาวคือวงอมตะ The Supremes มี Diana Ross นั่งติดกับ SR ผู้ชายอีก 2 คนที่เหลือคือนักแต่งเพลงมือฉมังของ บ.)

ผมชอบดูสารคดีแบบนี้เป็นที่สุด  เล่าเรื่องราวในอดีตของวงการเพลงในแง่มุมต่าง ๆ หรือเล่าเรื่องราวในอดีตของวงการหนังในแง่มุมต่าง ๆ  ได้ความรู้และได้รับรู้เรื่องราวแปลก ๆ มากมาย (จนอดนำมาเล่าไม่ได้)

นักฟังเพลงฝรั่งยุคเก่าชาวไทยรุ่นเซียนคงเคยได้ยินเพลง Dancing in the street (1965)  แต่ต้องเซียนของแท้ถึงจะรู้ว่าเพลงนี้ร้องโดยคณะนักร้องหญิงชื่อ Martha & the Vandellas  ผมเพิ่งมารู้จากสารคดีนี้ว่า นักร้องนำ Martha Reeves ต่อสู้หนักกว่าจะได้ขึ้นมาผงาดในวงการเพลง  สารคดีที่ดำเนินเรื่องโดย Barry Gordy ซึ่งเป็นประธานผู้ก่อตั้งเล่าว่า MR เข้ามาทดสอบเสียงร้องอยู่หลายหนแต่ไม่ประสบผล  จากคติว่า ตื้อเท่านั้นถึงจะครองโลก  ในที่สุดเธอก็ได้มีโอกาสเข้ามาเหยียบในบริษัทฯ  หากไม่ใช่ในฐานะนักร้องแต่เป็นหน้าที่เลขาฯ 

ในตอนนั้น บ. Motown กำลังไต่เต้า  ทุกอย่างพร้อมมูลขาดแต่นักร้องที่ยังมีไม่มาก บริษัทฯ ก็ฆ่าเวลาระหว่างตามหานักร้องมาเข้าสังกัดด้วยการอัดแต่เสียงดนตรีไว้ก่อน ซึ่งผิดกฎของ ‘สหภาพ’ ที่กำหนดไว้ว่าเมื่อไรที่อัดเพลงจะต้องมีเสียงนักร้องด้วย (นอกจากตั้งใจทำเพลงบรรเลงออกขายจริง ๆ)

วันหนึ่ง จนท.ของ สหภาพ ฯ ก็เข้ามาตรวจโดยไม่บอกกล่าวในขณะที่ บ. กำลังอัดเพลงต้นแบบโดยปราศจากนักร้อง  ทุกคนตระหนกกลัวโดนปรับ  BG จึงตะโกนว่าหาใครซักคนมาถือไมค์โดยด่วน  แล้วก็มีหญิงสาวพุ่งเข้ามาทำหน้าที่ทันที  วินาทีนั้นเปลี่ยนอาชีพของ MR ไปอย่างสิ้นเชิง


 
หรือนักร้องที่นักฟังเพลงฝรั่งบ้านเรารู้จักดีเหมือนเพื่อนสนิท Stevie Wonder ผู้มีความสามารถรอบตัว  สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลากหลายตั้งแต่กลองแบบต่าง ๆ หรือหีบเพลงเป่า เปียโน ออร์แกน ฯลฯ  เธอนำเพลงขึ้นถึงอันดับ 1 (Fingertips Part 2 - 1963) ขณะที่มีอายุเพลง 12 ขวบ  เลยได้สมญานามว่า Little Stevie Wonder  คำว่า Wonder เข้ามาแทนนามสกุลจริงคือ Morris  ความดังของพ่อหนูอยู่ยงคงกระพันถึงบัดนี้ซึ่งต่อมาเมื่อโตขึ้นก็ตัดคำว่า Little ออก


 
เพลง Mickey’s Monkey ของนักร้อง Smokey Robinson ศิลปินคู่บุญของ BG  เพลงนี้ได้ยินครั้งแรกจากซี้คลาสสิคของผม  ตอนนั้นฟังแล้วเฉย ๆ จนกระทั่งได้มารู้เบื้องหลังของเพลงจากสารคดีนี้ว่า ฉบับอัดลงแผ่นเสียงใช้ backup  จากการระดมศิลปินชั้นนำของ บ. เช่น The Miracles (… The Tracks of my tears), Martha & Vandellas, The Temptations (… My Girl), The Marvelletes (… Please, Mr. Postman), Mary Wilson (1 ในสมาชิกของวง The Supremes)  รู้แล้วต้องไปหาฉบับเต็ม ๆ มาฟังอีกที  คราวนี้เพราะชะมัด  แล้วก็สงสัยว่าทำไมตอนนั้นถึงรู้สึกเฉย ๆ หว่า


 
นี่คือ คณะ Jackson 5 และหนูน้อย Michael Jackson มาทดสอบเสียงในปี 1968  ตอน BG เห็นครั้งแรกเขาอุทานว่า ‘What is that?’


 
หนึ่งในเพลงชุดแรก ๆ หลังจากได้รับการเซ็นสัญญาเป็นศิลปินแล้ว



มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 16 ก.พ. 23, 05:12

คั่นรายการ...



เคยดูหนังที่เธอเล่นอยู่ 2-3 เรื่อง  แต่ที่ชอบมากคือหนังชุด The Musketeers มี 2 ตอน The Three และ The Four เข้าฉายที่โรง President






เธอสวมบท Constance de Bonacieux (who is a dressmaker to the Queen, Anne of Austria) เป็นบทตลก ๆ เปิ่น ๆ ตัวโขมย scene เลยละ  แต่ถึงคราวที่ต้องตายก็ตะลึงไปเหมือนกัน  มีอยู่ฉากหนึ่งที่เธอเดินอยู่กับกลุ่มแล้วผ่านเครื่องหมุนซึ่งความเปิ่นก็โดนเครื่องหมุนกระทุ้งท้องเอา  ฉากนี้ตลกมาก  เคยหาเจอใน youtube  ตอนนี้หาไม่เจอแล้ว (นี่แหละถึงเบื่อเขียนเรื่องหนังแล้ว  ขนาด copy ที่อยู่ไว้  ถึงเวลาเอาลง  โดนถอดไปแล้ว)

Richard Chamberlain หล่อสุดขีด



CB โดนฆ่า



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 16 ก.พ. 23, 08:18

คุณย่า Raquel Welch  เป็นนักแสดงไม่ใช่นักร้อง  แต่เธอก็เคยไปโชว์เสียงในรายการของ Cher มาเหมือนกัน

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 16 ก.พ. 23, 08:21

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 16 ก.พ. 23, 09:35

ราเควล เวลช์ (Raquel Welch) เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายโบลิเวียน ชื่อจริงคือ โจ ราเควล เตฮาด้า (Jo Raquel Tejada) หากใช้นามจริงในวงการมายาคงไม่หนุนให้เธอฉายแสงได้เต็มที่ ดังนั้นชื่อในวงการของเธอจึงใช้ว่า ราเควล เวลช์ โดยใช้ชื่อสกุลของสามีคนแรก เจมส์ เวลช์ (James Welch) คุณย่าเปิดตัวในฐานะดาราสาวดาวเซ็กซี่แห่งยุค ด้วยภาพยนตร์เรื่อง โลกล้านปี (One Million Years B.C.) ปี ๑๙๖๖

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 16 ก.พ. 23, 11:39

Hitsville ต่อครับ

อีก 1 ตอนที่สนุกคือ เมื่อ มี.ค. 1964  SR แต่งเพลง My Guy ให้ Mary Wells ร้องและสามารถขึ้นถึงอันดับ 1 ใน billboard chart ได้



พอเพลงนี้ขึ้นถึงอันดับ 1  SR ก็เกิดความคิดว่าถ้าทำเพลง My Guy ขึ้นถึงอันดับ 1 ได้  เขาจะทำเพลง My Girl ให้ขึ้นถึงอันดับ 1 ได้ด้วยเช่นกัน  และเขาก็สามารถทำได้สำเร็จ

(เพลงโปรดตลอดกาลของผม  ช่วง intro ถือเป็น ‘one of the most guitar riffs ever’  ข้อมูลจากปากของ BG ทางสารคดี  นักร้องนำคือ David Ruffin  อยู่กับวงในช่วง 1964-1968  เป็นช่วงเวลาที่วงดังถึงจุดสูงสุด  เธอได้ชื่อว่า ‘was ranked as one of the 100 Greatest Singers of All Time by Rolling Stone magazine in 2008’  ผมว่าเธอเป็นคนผิวดำที่หน้าตาหล่อไม่เบา  เสียดายที่มีบุคลิคเป็น bad boy  เอาทุกอย่างตั้งแต่ยาเสพย์ติด ทำร้ายร่างกาย  ฯลฯ  ตายด้วยการเสพย์ยาเกินขนาดเมื่อปี 1991 รวมอายุ 50 ปี  )


คติในการทำเพลงให้ฮิตของ BG คือ ต้องทำดนตรี (ช่วง intro) ให้ติดหูคนฟังภายใน 10 วินาทีแรก





เพลงนี้ดังขนาด ‘The song was transmitted to astronauts orbiting earth in August 1965 during the Gemini 5 mission’

 
แต่ส่วนที่น่าอดสูใจเกิดขึ้นหลังจาก บ. ประสบความสำเร็จในอันดับเพลงแล้วก็ถึงเวลาออกทัวร์  ทัวร์แรกใช้เวลา 3 เดือน  ศิลปินทุกคนที่มาร่วมในสารคดีชุดนี้พูดเหมือนกันว่าเป็นฝันร้าย  เพราะ การแบ่งแยกสีผิว แพร่กระจายไปทุกตารางนิ้ว  ถึงแม้จะเป็นศิลปินดังแต่พวกเขาไม่สามารถเข้าห้องน้ำสาธารณะได้ถ้าไม่มีป้ายติดไว้ว่า  ‘สำหรับคน ผิวสี’  แม้แต่โรงแรมก็ต้องหาเฉพาะโรงแรมที่ต้อนรับคนผิวสี ฯลฯ  ทั้ง ๆ ที่ศิลปินเหล่านี้ตระหง่านในคลื่นวิทยุ/ห้างแผ่นเสียง  มีเงิน  แต่เมื่อออกมาสู่ที่สาธารณะพวกเขากลับกลายเป็นคนน่ารังเกียจ  ในโรงมหรสพก็มีเชือกกั้นแบ่งแดนสีผิว




อย่างไรก็ตาม Motown Rec. ก็ฟันฝ่าอุปสรรคได้ด้วยวิธีการอันชาญฉลาด อาวุธที่ใช้ทำลายกำแพงฯ เป็นต้นว่า  จังหวะเพลงที่ทุกสีผิวเมื่อได้ฟังแล้วอดขยับแข้งขาไม่ได้



แฟชั่น จัดโดยคณะ The Supremes หัวหอกของ Motown Rec.  นี่เป็นจุดกำเนิดของ Motown fashion





เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Motown ที่สุดคือ



ส่วนนักร้องที่สร้างชื่อเสียงที่สุดคือ

สังเกตการณ์วางนิ้วลงบนแท่น  ผมละทึ่งในความแม่นยำจริง ๆ .... Stevie Wonder  แต่จำไม่ได้แล้ว ว่า clip ไหน 


นี่คือผลงานสร้างสรรค์ของ BG งานที่ไม่มีใครกล้าทำแข่งกับนักร้องขวัญใจวัยรุ่นผิวขาวที่ครองตลาดมาก่อน

(1971-1973)



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 16 ก.พ. 23, 11:46

คุณโหน่งโพสผิดกระทู้หรือเปล่าคะ   กระทู้นี้กระทู้หนังนะคะ

ขอนำฉากอมตะ ว่าด้วยอาบน้ำกลางแจ้งของคุณย่ามาให้ดูกันอีกครั้ง

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 16 ก.พ. 23, 11:55

คุณโหน่งโพสผิดกระทู้หรือเปล่าคะ   กระทู้นี้กระทู้หนังนะคะ



เป็น 'หนังสารคดี' ครับ 'จาร


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 17 ก.พ. 23, 12:14

พูดถึงคู่ตุนาหงันบนจอหนังในยุคทองของฮอลลีวู้ด ผมว่า (แบบไม่ได้ค้นคว้าโดยละเอียด) ไม่มีใครเล่นคู่กันในหนังมากเรื่องเท่าคู่ของ Errol Flynn กับ Olivia de Havilland คือ 8 เรื่อง

ในจำนวนนี้ผมได้ดู 2 เรื่องคือ The adventures of Robin Hood (1938) ดูแล้วไม่ประทับใจ  อย่างแรกคือ ฉบับที่ TCM เอามาฉายภาพไม่คม ทำไมไม่รู้  ดูมันนวล ๆ  ต่อมาคือ EF ตัวหนุ่มล่ำแต่ไว้ผมบ๊อบดัดลอน (โดยประมาณ) รับมิได้   แล้วต่อมา OH ไม่สวยเท่ายุคหลัง ๆ  ในสายตาของผม

สรุปแล้วไม่หนุก

ทั้งคู่มาแก้ตัวกับผมในเรื่อง The private life of Elizabeth and Essex (1939) ในเรื่องนี้ EF หล่อเต็มประตู  ส่วน OH ก็สวยหยาดเยิ้ม  ที่ TMC เอามาให้ดูเป็นฉบับทำสี  เพิ่งเห็นใน youtube ว่ามีฉบับขาวดำด้วย



Bette Davis ในบท Queen Elizabeth (ดูหลอนในสายตาของผม)

(Vincent Price ที่ต่อมาติดอยู่กับบทผี ๆ  ตอนหนุ่ม ๆ เธอหล่อไม่เบา)


อีกเรื่องที่ส่งประกายความหล่อของ EF คือ  The adventures of Don Juan (1948)





เพิ่งนึกได้ว่า ผมไม่เคยดู EF ในหนังที่มีเนื้อเรื่องอยู่ในยุคสมัยปัจจุบันเลยแฮะ  เรื่องนี้ Leonard Maltin บอกว่า EF เล่นบทตลกได้ลื่นไหลมาก  อยากดูจัง



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 20 คำสั่ง