เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 18072 ฉากประทับใจในหนังเก่า (4)
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 17 ต.ค. 22, 11:40

Joan Crawford เป็นดาวค้างฟ้าที่ดังสุด ๆ คนหนึ่งในยุคทองของฮอลลีวู้ด  ฝีมือการแสดงของเธอไม่เป็นรองใคร  เธอเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar 3 ครั้ง  และได้หยิบมากอด 1 ครั้งจากเรื่องที่ผมตั้งตาคอยอยู่นานทีเดียวว่าเมื่อไรจะได้ดูสักที

Mildred Pierce (1945) เป็นชื่อผู้หญิงที่สู้ไม่ถอยในวงการธุรกิจ  หลังจากหย่ากับผัวเธอก็มุ่งมั่นสร้างตัวจนกระทั่งได้เป็นเจ้าของธุรกิจร้านอาหาร  เธอทำงานหาเงินตัวเป็นเกลียว  ส่วนหนึ่งเพื่อให้ลูกสาวตัวแสบสุดที่รักได้มีหน้ามีตาในวงสังคม  เรื่องมาแตกหักเมื่อวันหนึ่งนังลูกสาวอกตัญญูก็กินบนเรือน ขี้บนหลังคา เมื่อมุ่งมั่นจะแย่งแฟนแม่ตัวเอง  ตอนท้ายเรื่องหนังเปลี่ยนแนวจากดราม่าเป็นฆาตกรรม



ลูกสาวตัวแสบ



มีความอกตัญญูเป็นที่ตั้ง

ฉากตบนี้  ลงมือจริง ๆ (อ่านจากควันหลงน่ะ  ไม่ได้แอบดูตอนเค้าเล่นหรอก)





Butterfly McQueen (Prissy ใน Gone with the wind) ก็มาร่วมเล่นด้วย



หนังสร้างในปี 1945 เป็นช่วงเวลาที่อเมริกากำลังทำสงครามโลกครั้งที่ 2  รถสวย ๆ ในเรื่องจึงได้เห็นแค่ในหนัง  เพราะในช่วงเวลานั้นอเมริกาเลิกสร้างรถยนต์แล้วหันมาร่วมมือกันสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์


มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 18 ต.ค. 22, 12:21

ฝอยต่อ...

มีนักแสดงแจ้งเกิดกับหนัง Mildred Pierce อยู่ 1 คนคือ Ann Blyth นักแสดงโนเนมในวัยเพียง 16  เธอเล่นเป็นนังลูกสาวสุดแสบ  คนดูต่างยกนิ้วให้กับการแสดงที่วอนถูกถีบในทุกฉาก  ความหมั่นไส้รวมไปถึงคณะกรรมการฯ  ที่คัดเลือกเธอเข้าไปชิง Oscar  นับเป็นการเข้าชิงรางวัลอันมีเกียรตินี้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของเธอ

บทนังลูกสาวตัวอกตัญญูนี้แต่แรกเริ่มผู้สร้างเก็บไว้ให้ Shirley Temple  แต่กลัวคนดูยอมรับไม่ได้  สำหรับ AB เธออยู่คนละสังกัด (Universal)  ทาง Warner Bros. ไม่อยากเสี่ยงลงทุน (ตามธรรมเนียมต้องมีการเจรจาต่อรองค่าตัวรวมถึงการเสนอนักแสดงในสังกัดให้เป็นการแลกเปลี่ยน)  แต่ Joan Crawford  (ก่อนหน้านี้เธออยู่ในสังกัดของ MGM) ออกแรงกำลังภายในจน AB ได้บทในที่สุด

ส่วน JC เมื่อได้ยินข่าวการสร้างหนังเรื่องนี้  เธอออกอาการอยากได้บทคุณแม่ที่เสียสละจนตัวสั่น เพราะมั่นใจว่ามันจะทำให้คนดูยอมรับความสามารถในการแสดงของเธอ  ไม่ใช่แค่ดาราดังเฉย ๆ    JC ถึงขนาดยอม ‘ลดตัว’ ไปเข้าคิวเพื่อให้ ผกก. คัดเลือกตัวเหมือนนักแสดงคนอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ความเป็นดาราดังของเธอ  แค่กระดิกนิ้วบทก็มากองบนตักแล้ว  สถานภาพนี้เกิดขึ้นกับ Bette Davis เธอได้รับการเสนอบทนี้มาก่อนหน้าแต่ปฏิเสธ

ส่วน ผกก. Michael Curtiz ก็หวั่น ๆ ในกิตติศัพท์ความเป็นดาราใหญ่ว่าจะออกอาการฟาดงวงฟาดงารึเปล่า  แต่ปรากฏว่า JC เรียบร้อยนุ่มนวล  เธอได้บทนี้จากการเอาชนะด้วยฝีมือจริง ๆ

JC ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar จากเรื่องนี้เป็นครั้งแรกเช่นเดียวกับ AB   เธอตื่นเต้นมากเพราะถึงแม้จะเล่นหนังมานาน  แต่ก็ไม่เคยได้มีโอกาสมาเยี่ยมกรายแถว ๆ เวทีนี้เลย  แถมตอนหลัง ๆ นักข่าวยังให้นิยามเธอว่า  เป็นฝันร้ายสำหรับผู้ต้องการสร้างหนังทำเงิน (MGM ตัดเชือกเธอเพราะเหตุนี้)  แต่ก็ยังมีคนยอมเสี่ยงกับเธอ

ในคืนวันแจกรางวัล   JC ไม่ได้ไปร่วมงานโดยอ้างว่าป่วยเป็นหวัด  ซึ่งเธอมาสารภาพในภายหลังอีกนานในหนังสือประวัติตัวเองว่า  ความจริงแล้วปอดกลัวหน้าแหก  เพราะโผออกมาว่าเธอไม่ได้เป็นตัวเต็งเพียงคนเดียว  แต่ยังมีอีกคนที่ตีคู่กันมาคือ Ingrid Bergman  เธอบอกว่าถ้าแพ้  เธอคงไม่สามารถฉีกยิ้มอยู่ได้ตลอดงาน  ฉะนั้นเบี้ยวเสียเลยดีกว่า

เธอเล่าว่าอย่างไรก็ตามเมื่อเปิดม่านในบ้านดูก็พบนักข่าว 2-3 คนมาป้วนเปี้ยนเผื่อฟลุค  

คืนนั้นเธอก็เลยนอนพังพาบฟังการถ่ายทอดทางวิทยุอยู่บนเตียง  เธอเล่าว่าช่วงเวลาที่ผู้ประกาศรางวัลฉีกซองที่บรรจุชื่อนักแสดงนำหญิงที่ได้รางวัลนั้น  ช่างนานแสนนาน

เมื่อผลประกาศออกมาว่าเธอได้รางวัล  เธอก็กระโดดผลุงออกจากเตียงแล้วโกยสี่ตีนไปแต่งหน้าแต่งตาและเซ็ทผม  พร้อมเลือกชุดสุดสวยไว้รอรับบรรดานักข่าวและคณะกรรมการฯ ที่จะนำรางวัลมามอบให้ถึงบนเตียง  ภาพและเรื่องราวนี้เป็น Talk of the town ฉบับคลาสสิกมาจนถึงปัจจุบัน (ผมเห็นมาตั้งแต่เด็ก ๆ จาก SP เจ้าเก่า)  





อีกเรื่องราวหนึ่งของ JC ที่เป็น Talk of the town เช่นกันแต่ดังกว่าคือความไม่กินเส้นกันกับดาราระดับเบิ้มอีกคนคือ Bette Davis  เท่าที่เคยอ่าน ๆ มาล้วนสนับสนุนเรื่องราวนี้แต่ก็มีบางฉบับที่ให้แง่คิดว่าเป็นแผนการสร้างความดัง  หรือไม่ก็ใส่ผงชูรสกันเข้าไปข่าวของตัวเองจะได้ขายดี  เพิ่มคะแนนความเป็น 'ดารา'

อย่างไรก็ตามผมได้ดูหนังชุดทางทีวีเรื่อง Feud (2017)  เล่าเรื่องราวของทั้งคู่ออกมาอย่างสนุกสนาน  โดยเฉพาะเบื้องหลังการสร้างหนังสั่นประสาท Whatever happened to Baby Jane (1962)   ที่ทั้ง 2 ได้นำแสดงร่วมกันเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว  ฉากต่าง ๆ อันเป็นเบื้องหลังการถ่ายทำเรื่องนี้ที่หนังทีวีทำออกมาให้เห็นน่าจะบ่งบอกว่าความเป็นไม้เบื่อไม่เมาคงจะเป็นความจริง



ฉากนี้เป็นฉากดังเพราะมีเบื้องหลัง... During a scene in What Ever Happened to Baby Jane?, Bette Davis kicked Joan Crawford so hard that she needed stitches. Crawford retaliated by putting "weights in her pockets so that when Davis had to drag Crawford's near lifeless body she strained her back." (ข้อมูลจาก Wikiฯ)

(หมายเหตุ – แค่เห็นเพียงภาพนิ่งของหนัง Whatever ฯ ก็รู้สึกอึดอัดและไม่นึกอยากดู  แต่ก็ต้องดู (ดูจบแล้วรีบลืม)  เหมือนเราเลือกเมเจอร์แล้ว  แต่ไม่อยากลงเรียนวิชาบังคับของเมเจอร์  แล้วอย่างนี้จะจบได้อย่างไร)


Clip ที่ผมเอามาลงให้ดูมาจากหนังทีวี Feud  เป็นการเลียนแบบของจริงที่อ้างไว้ข้างต้น  มันต้องมีมูลความจริง  ผู้สร้างถึงกล้าเอามาเสนอให้คนดูทั่วโลกดู  ไม่งั้นเป็นโดนฟ้องตูดบานไปนานแล้ว

(ในหนังทีวี Jessica Lange เล่นเป็น Joan Crawford  ส่วน Susan Sarandon เล่นเป็น Bette davis)





ท้ายนี้  แนบ clip ของ JC จากหนังเรื่อง It's a great feeling (1949) อันเป็นหนังตลกเบาสมองเกี่ยวกับการล้อเลียนการสร้างหนังในฮอลลีวู้ด  ในหนังมีดารารับเชิญมาเล่นเป็นตัวเองมากมายเช่น  Gary Cooper, Errol Flynn, Ronald Reagan และ Joan Crawford
 
ฉากการปรากฏตัวของเธอเกิดขึ้นในห้องลองเสื้อเมื่อ JC ได้ยิน Jack Carson กับ Dennis Morgan วิจารณ์ Doris Day อย่างเมามัน  เธอสรุปว่าชาย 2 คนนี้กำลังหมิ่นศักดิ์ศรีสุภาพสตรี  เธอก็เลยยื่นหน้าเข้ามาตำหนิติเตียนด้วยคำพูดเชย ๆ เลียนแบบบทการแสดงในหนังที่ตัวเองเคยเล่นมา จากนั้นก็ตามด้วยการตบหน้า 2 หนุ่มคนละฉาด  ฉากต่อจากนั้น  ดูเอาเอง

ฉากนี้ถูกใจนักวิจารณ์กันพร้อมหน้า  โดยสรุปว่าเป็นส่วนที่ดีที่สุดในหนัง


ส่วนนี่เป็น clip การปรากฏตัวของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา Ronald Reagan


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 19 ต.ค. 22, 11:52

ถ้าหนังที่อยากเล่ามีคนไทยทำ รีวิว ไว้ใน youtube ละก็  ดีใจสุดแสน  ไม่ต้องจิ้ม...

Viy (2014) เป็นหนังร่วมทุนสร้างระหว่าง Russian and Ukraine Film Group and Marins Group Entertainment  หนังเริ่มลงมือถ่ายทำเมื่อปี 2005 แต่มาเสร็จสิ้นในปี 2012 เนื่องจากขาดแคลนทุนและมีปัญหาภายใน  เมื่อหนังออกฉายมันกลายเป็นหนังทำเงินสูงสุดประจำปีในรัสเซีย

เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ระหว่างการถ่ายทำ  กว่าหนังจะเสร็จสมบูรณ์พร้อมออกฉายตามโรงนานาชาติ  เวลาก็เนิ่นนานออกไปจนกระทั่งสัญญาการจัดจำหน่ายที่ทำไว้เป็นโมฆะ  หนังจึงสามารถลงโรงฉายในนานาชาติได้เพียงบางประเทศ  ประเทศหลัก ๆ ที่หวังโกยเงินเช่น อเมริกา อังกฤษ  หนังต้องออกฉายในรูปแบบของ ดีวีดี ในชื่อภาษาอังกฤษของมันคือ Forbidden Empire
 
ดีใจมากที่มีคนไทยนำเสนอข้อมูลคร่าว ๆ ให้ (จะได้ไม่ต้องเสียเวลาจิ้ม)

(ขอบคุณ คุณ PattyBlythe)


Clip ย่อย ๆ มีน้อยมาก  เลยหาหนังฉบับเต็มมาให้ดู  ฉากใน clip คร่าว ๆ ข้างบนที่ 13.30  เป็นฉากเด็ดที่สามารถดูฉบับเต็มได้ที่ 59.00 ของ clip ข้างล่าง  เทคนิคพิเศษน่าตื่นตาตื่นใจ



ตัวอย่างหนัง


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 20 ต.ค. 22, 12:20

Cloverfield (2008) เป็นหนังเล็ก ๆ ที่สนุกเกินคาด  หนังสร้างเลียนแบบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในความเป็นจริงเมื่อมีคนค้นพบ ‘home recorder’   หลังจากเปิดดูก็พบกับเรื่องราวระทึกขวัญที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเพื่อน 6 คน (คนหนึ่งเป็นเจ้าของ hr นี้)  เหตุเกิดในละแวกที่แต่ก่อนมีชื่อว่า Central Park ที่เมือง New York ในคืนเลี้ยงอำลาอะไรซักอย่าง งานกำลังสนุกสนานก็ถูกขัดจังหวะด้วยการรุกรานของสัตว์ประหลาด  มีทั้งตัวเล็กตัวยักษ์   จากนั้นเรื่องราวก็เข้มข้นตื่นเต้นไปจนจบเรื่อง

(ขอบคุณ คุณ CHAMP Studio)


ฉากมัน ๆ และทำได้เนียนมาก















(ดูเพลินไปเลย)


ตัวอย่างหนัง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 20 ต.ค. 22, 18:41

@ คุณโหน่ง
ขอย้อนกลับไปถึง Mildred Pierce   อีกครั้งค่ะ   ไม่เคยดูหนังเรื่องนี้แม้ว่าเคยฉายทาง TCM แต่ไม่ชอบหนังขาวดำ และไม่ชอบหน้าตาดุดันของโจน ครอฟอร์ดก็เลยไม่ดู   แต่จำได้จากที่ได้ดู The Carol Burnett Show 
แครอล ดาราตลกหญิงระดับดาวฤกษ์ของฮอลลีวู้ด   เอาหนังเรื่องนี้มาล้อในรายการของเธอ ในชื่อ  Mildred Fierce
เลยเอามาให่ดูกันด้วย

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 24 ต.ค. 22, 12:33

@ คุณโหน่ง
ขอย้อนกลับไปถึง Mildred Pierce   อีกครั้งค่ะ   ไม่เคยดูหนังเรื่องนี้แม้ว่าเคยฉายทาง TCM แต่ไม่ชอบหนังขาวดำ และไม่ชอบหน้าตาดุดันของโจน ครอฟอร์ดก็เลยไม่ดู   แต่จำได้จากที่ได้ดู The Carol Burnett Show 
แครอล ดาราตลกหญิงระดับดาวฤกษ์ของฮอลลีวู้ด   เอาหนังเรื่องนี้มาล้อในรายการของเธอ ในชื่อ  Mildred Fierce
เลยเอามาให่ดูกันด้วย



ดูจาก youtube รายการนี้มีแต่ของดี ๆ แบบว่ามารู้ว่าดีเอาตอนแก่  เป็นนั้นคงเด็กเกินกว่าจะรู้เรื่อง  เคยมาฉายในเมืองไทยบ้างมั้ยครับ โหน่งจำไม่ได้  จำได้แต่รายการของ Lucy Ball  ซึ่งก็เอา JC มาล้อเหมือนกัน  ดูเธอจริงใจดีนะครับ  ตอนหลังที่ถังแตกแต่ก็ไม่ได้ปิดบังสถานภาพของตัวเอง




บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 24 ต.ค. 22, 12:47

ในปี 1973 มีเพลงดังมากเพลงหนึ่ง  เพลงเริ่มดังจากบ้านเกิดของมันคือ เกาะอังกฤษ  พอดังได้ที่ก็ข้ามน้ำข้ามทะเลมาดังที่อเมริกา  ซึ่งดังกว่าที่บ้านเกิดของมัน  เพราะอเมริกาใหญ่กว่าอังกฤษ  เพลงขึ้นไปแตะ top 5 ของ Billboard และคว้าแผ่นเสียงทองคำมาได้

เพลงนี้ข้ามมาออกอากาศที่เมืองไทยด้วย  แต่เพียงแผ่ว ๆ  แต่ที่ดังกว่าเพลงคือรูปลักษณ์ของนักร้อง  ทั้งหนังสือดารา/นักร้อง Starpics และ บรรดาหนังสือเพลง I.S. Song Hits, Current Song Hits และ Savvy Song Hits ต่างแย่งกันลงภาพหล่อ ๆ ของเธอนานเป็นหลายเล่มเลย




เพลงที่ว่านี้ชื่อ Rock On ส่วนนักร้องชื่อ David Essex  พอคุ้นมั้ยหนอ



ปีนั้นเป็นปีทองของ DE เพราะเธอได้แสดงทั้งหนังทั้งละครเวทีหลายรูปแบบมากมาย 

นี่คือข้อมูลที่ผมรู้มาจากการอ่านสิ่งพิมพ์ทั้งหลายในช่วงเวลานั้น

คนสมัยนี้โชคดีที่พอได้หัวข้อปั๊บก็สามารถหาข้อมูลต่อยอดได้จนจบหรือจนพอใจ  แต่ว่าในขณะเดียวกัน  มันก็ทำให้ไม่มีอะไรเหลือ ‘ในกอไผ่’  ที่จะนำลงไปสู่ความทรงจำ  ซึ่งผมว่านี่ถือเป็นการขาดเสน่ห์  ขาดความรู้สึกที่ฝรั่งเรียกว่า ‘nostalgia’  ผมไม่รู้ว่ามีศัพท์ไทยเรียกคำนี้รึเปล่า  มันคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อนึกไปถึงช่วงเวลาในอดีตที่มีความสุข เป็นความรู้สึกเศร้า ๆ  เศร้าเพราะไม่สามารถกลับไปดื่มด่ำหรือกลับไปแบบที่ว่า ‘รู้งี้ตอนนั้นจะจดจำหรือจดบันทึกช่วงเหตุการณ์นั้นๆ  ทุกวินาทีเลย’ กับมันได้อีก  ผมว่าคนสมัยนี้ไม่มี nostalgia  ผมเรียกของผมเองว่า 'คนแล้ง'

ในสมัยก่อนนู้น  พอได้หัวข้อที่สนใจปั๊บก็ต้องคอยค้อยคอยว่าเมื่อไหร่ข้อมูลใหม่จะมาให้รู้เพิ่มเติม  อย่างเรื่อง DE  ผมรู้เรื่องครั้งแรกจาก SP  อ่านบทความสั้น ๆ ประกอบรูปขาวดำซึ่งไม่คมชัดเพราะก็อปปี้มาจากต้นฉบับอีกที  จากนั้นค่อยมาเห็นรูปสี (ซึ่งก็ก็อปปี้มาอีกเช่นกัน) จากหนังสือเพลงชื่อต่าง ๆ ข้างต้น  เห็นเนื้อเพลงที่เธอร้อง  แต่ยังไม่เคยได้ยินเพลง  ต้องพยายามหมุนหาคลื่นวิทยุอยู่เป็นเวลาหนึ่งเพลินกว่าจะได้ฟัง  แล้วก็ไม่ใช่ว่าจะได้ฟังครบทั้งเพลง  เพราะบางครั้งกว่าจะหมุนมาเจอ ดีเจ ก็เริ่มเล่นเพลงไปแล้ว  หรือเพิ่งจบไป  ก็ต้องหาโอกาสต่อไป  ไม่ก็โทรศัพท์เข้าไปที่สถานีฯ เพื่อขอฟังไปเลย

ความยากลำบากแบบนี้แหละที่ผมว่าทำให้เกิดความทรงจำ  เพราะมันลำบากลำบนแบบนี้กว่าจะได้มาซึ่งสิ่งที่เรารอคอย  ผมถึงจำอะไร ๆ ได้เยอะ  แม้จะไม่ละเอียดยิบเพราะข้อมูลดิบมีให้เท่านั้น  แต่มันจำฝังแน่น  ก็เราลงทุนลงแรงไปกับมัน  พอ อตน. ถือกำเนิดผมก็สามารถหาข้อมูลปลีกย่อยมาเติมเต็มได้อีก  บวกกับความทรงจำเดิมที่ฝังแน่น  ผมถึงสามารถเล่าเรื่องได้มากมายและละเอียดลออ  บ่อย ๆ ที่กำลังเขียนอยู่ก็อดคิดระแวงไม่ได้ว่า  ต้องมีใครสงสัยแน่ ๆ ว่า ทำไมมันถึงรู้เรื่องได้เยอะแยะ  แม่งรู้มาจริง/ดูมาจริงรึป่าววะ... ทำนองนี้ 

รู้มาจริง/ดูมาจริงครับ





มีต่อ...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 24 ต.ค. 22, 12:54

อ้างถึง
ดูจาก youtube รายการนี้มีแต่ของดี ๆ แบบว่ามารู้ว่าดีเอาตอนแก่  เป็นนั้นคงเด็กเกินกว่าจะรู้เรื่อง  เคยมาฉายในเมืองไทยบ้างมั้ยครับ โหน่งจำไม่ได้  จำได้แต่รายการของ Lucy Ball  ซึ่งก็เอา JC มาล้อเหมือนกัน  ดูเธอจริงใจดีนะครับ  ตอนหลังที่ถังแตกแต่ก็ไม่ได้ปิดบังสถานภาพของตัวเอง

คุณโหน่งหมายถึง Carol Burnett Show หรือคะ ไม่ได้ฉายในไทยค่ะ   เป็นรายการฮิทถึง 11 ซีซั่นของอเมริกา  ดิฉันได้ดูที่นั่น   จนรายการจบไปนานหลายปีแล้วถึงมาเจออีกใน Youtube
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 25 ต.ค. 22, 12:20

อ้างถึง
ดูจาก youtube รายการนี้มีแต่ของดี ๆ แบบว่ามารู้ว่าดีเอาตอนแก่  เป็นนั้นคงเด็กเกินกว่าจะรู้เรื่อง  เคยมาฉายในเมืองไทยบ้างมั้ยครับ โหน่งจำไม่ได้  จำได้แต่รายการของ Lucy Ball  ซึ่งก็เอา JC มาล้อเหมือนกัน  ดูเธอจริงใจดีนะครับ  ตอนหลังที่ถังแตกแต่ก็ไม่ได้ปิดบังสถานภาพของตัวเอง

คุณโหน่งหมายถึง Carol Burnett Show หรือคะ ไม่ได้ฉายในไทยค่ะ   เป็นรายการฮิทถึง 11 ซีซั่นของอเมริกา  ดิฉันได้ดูที่นั่น   จนรายการจบไปนานหลายปีแล้วถึงมาเจออีกใน Youtube

อิจฉาครับ...  'จาร ไปอยู่ในช่วงเวลาที่ดีจังเลย  แถมยังใกล้ชิดกับ Helen Reddy, Carly Simon, Linda Ronstadt, Bread ฯลฯ ด้วย
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 25 ต.ค. 22, 12:33

กลับมาที่ DE  ปีนั้นเป็นปีทองของเธอ  เธอดังทั้งที่อังกฤษและอเมริกา  wikiฯ บอกว่าที่อังกฤษบ้านเกิด  ความเป็น teenage idol ของเธอลากยาวไปร่วม 10 ปีโน่น  ส่วนที่อเมริกาเธอก็ได้รับเชิญไปร่วมออกรายการดัง ๆ มากมาย

ในปี 1973 ที่เธอดังสุดขีด  มีหนังที่เธอเล่นอยู่เรื่องหนึ่งเป็นหนังสะท้อนเหตุการณ์ของชีวิตของหนุ่มวัยรุ่นชื่อ Jim MacLaine ที่หลงทางชีวิตอันทำให้ไปทำร้ายผู้คนรอบข้าง
  
หนังชื่อ That’ll be the day ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าไม่ได้มาฉายในโรงเมืองไทย  ผมลืมหนังเรื่องนี้ไปแล้วจนกระทั่งเมื่อวาน (นับจากวันที่พล่ามอยู่นี้)  มีคนเอามาปล่อยใน ‘web โหลดหนัง’  ก็เลยดูดมาดูซะ  เนื้อเรื่องของหนังอยู่ในช่วงปลาย 50s  และมีเพลงประกอบเป็นตัน  ไม่รู้แทรกเข้าไปได้อย่างไรในหนังความยาวแค่ชั่วโมงครึ่ง

นอกจาก DE ซึ่งเป็นตัวละครนำเรื่องแล้ว  หนังยังมีนักแสดงที่เป็นนักร้องนักดนตรีดังที่พวกเรารู้จักดีคือ Ringo Starr

นักวิจารณ์ Leonard Maltin ให้ตั้ง 3 ดาว  

Jim MacLaine เป็นเด็กกำพร้าพ่อ  พ่อเป็นทหารผ่านศึกที่ไม่ได้ตาย  แต่ไม่พอใจกับชีวิตครอบครัวเลยหนีออกจากบ้านไป  จากเด็กเรียนดี จู่ ๆ เธอก็มีความคิดวิตถาร  แทนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยไปกับเพื่อน ๆ  เธอดันเลิกเรียนเสียอย่างนั้น



แล้วเธอก็ออกจากบ้านท่ามกลางเสียงคัดค้านของแม่และตา  ไปหางานกระจอก ๆ ทำพอให้มีกินไปวัน ๆ

(DE โคตรหล่อเลย)


แม่ออกตามหาด้วยความห่วงใย



JM ‘jump jobs’ ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาพบ Ringo Starr ซึ่งชวนให้มาทำงานด้วยกันที่ ‘fun fair (ไม่รู้แปลเป็นไทยว่าอย่างไร... สวนสนุก ปะ?)’


(เขียนมานานจนไม่แน่ใจว่าเป็น clip นี้รึเปล่า)


ที่นี่เธอได้เรียนรู้วิธีฉ้อโกงในรูปแบบต่าง ๆ  และตรงตามที่พระพุทธเจ้าบอกไว้ว่า จิตของคนเราเหมือนน้ำ  คือชอบไหลลงสู่ที่ต่ำ  พอได้มีโอกาสทำชั่วและประสบความสำเร็จ  ก็เริ่มสนุก  เธอยังใช้ความหล่อของตัวเองหาเศษหาเลยล่อผู้หญิงมาขี่ไปวัน ๆ  บางครั้งก็ถึงกับข่มขืน  บางครั้งก็คิดค่าจ้าง (ขี่)  จนวันหนึ่งเพื่อนนักเรียนที่เคยสนิทกันตามหาจนเจอแล้วชวนเธอไปเที่ยวงานรื่นเริงของมหาวิทยาลัย

ที่นี่ที่ JM พบว่าเสน่ห์ของตนใช้ไม่ได้ผลเพราะมันเป็นถิ่นของคนมีการศึกษา มีรสนิยม  

เธอเริ่มเข้าใจในความจริงของชีวิตและตัดสินใจกลับบ้านหลังจากหนีมา 2 ปี  กลับมาเป็นเด็กดีช่วยแม่ค้าขาย  และในที่สุดก็แต่งงานกับน้องสาวเพื่อนสนิท  ท่ามกลางความคัดค้านของพี่ชายและพ่อแม่เพราะทุกคนรู้ประวัติอันเหลวแหลกของ JM ดี
 
นี่เป็นช่วงท้ายเรื่อง  ซึ่งบ่งบอกว่าโอกาสสำหรับแก้ตัวเกิดขึ้นได้เสมอ  แต่จะฉวยโอกาสที่ว่าหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  เพราะก่อนวันแต่งงาน  อารมณ์โมโหผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงที่ไม่ยอมให้ตัวเองแก้ตัว เธอเลยลวงแฟนเพื่อนสนิทไปขี่หน้าตาเฉย  

พอตัวเองได้เป็นพ่อคน  เธอก็เริ่มเบื่อหน่ายชีวิตจำเจ  เธอหลบหนีจากการเรียนภาคค่ำไปมั่วสุมอยู่กับเสียงเพลงและพบว่านี่เป็นสิ่งที่ตัวเองชอบ  ในที่สุดเธอหนีออกจากบ้าน  มีแม่ยืนมองแบบปลง ๆ เพราะมันเป็นเหตุการณ์ที่เคยประสบมาแล้วครั้งที่ผัวทหารผ่านศึกหนีเธอและลูก (ซึ่งก็คือ JM) ไปในตอนต้นเรื่อง

หนังจบที่ JM ไปที่ร้านขายเครื่องดนตรีมือสองแล้วจ่ายเงินซื้อกีต้าร์มา 1 ตัว  เป็นการบ่งบอกกลาย ๆ ว่า  เธอพุ่งเป้าอนาคตไปที่ใด



กลับมาที่ DE  ในปีเดียวกันนั้น เธอมาเป็นแขกรับเชิญให้กับ John Denver (รายการนี้เคยมาฉายที่เมืองไทยด้วย  ผมได้ดูทางทีวี  แต่เป็นขาวดำ) ทั้ง 2 ร้อง medley เพลงของ Buddy Holly โดยประเดิมด้วย That’ll be the day





มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 26 ต.ค. 22, 11:45

ความดังของหนังเรื่อง That’ll be the day ทำให้เกิดภาค 2 โดยใช้ชื่อว่า Stardust (1974) หนังเดินเรื่องต่อจากภาคแรก  โดยให้ JM เดินทางมาอเมริกาแล้วก้าวเข้าสู่วงการเพลงที่ตัวเองใฝ่ฝันไว้  และฝันก็เป็นจริงเมื่อปรากฏว่าเธอมาถูกทาง  อาชีพของเธอรุ่งโรจน์มาก  ได้ทั้งเงินและชื่อเสียง  รวมถึงสิ่งที่ตามมาโดยอัตโนมัติคือยาเสพย์ติดที่ในที่สุดมันก็ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างรวมถึงชีวิตของเธอ







ภาค 2 นี้ดังกว่าภาคแรกเสียอีก  LM ให้ตั้ง 3 ดาวครึ่ง (จาก 4)  ทั้ง 2 ภาคมีบรรยากาศต่างกันลิบลับ  ผมชอบภาคแรกมากกว่า  แลธรรมชาติและสดใส

ภาค 2 ออกฉายในปี 1974  ความดังของมันทำให้สถานภาพของตำแหน่ง teenage idol ของเธอมั่นคงต่อไปอีก

ในปีนั้นเธอก็ออกเพลงดังมาอีก (และยังตามมาอีกในอนาคต)  ผมได้ยินวิทยุในเมืองไทยเปิดเพลง Hold me close นี้มากกว่า Rock on  มันเป็นเพลงที่ดังกว่าในอังกฤษ  แต่ไม่เข้าอันดับ BB ของอเมริกา



ควันหลง... ตอนอารัมภบท ผมพูดถึงศัพท์  Nostalgia แล้วนึกถึงเพลง Yesterday once more ของคณะ Carpenters  คณะฯ ออกเพลงนี้ในปี 1973  ตอนนั้นผมยังเด็กยังไม่มีความรู้สึกร่วมกับเนื้อร้อง  มาตอนนี้ผมแก่แล้ว  ทุกครั้งที่ได้ยินเพลงนี้  ผมมีอารมณ์ร่วมเต็มพิกัด  เข้าใจเลยว่าตอน Richard Carpenter  แต่งเนื้อเพลงเธอรู้สึกอย่างไร

‘When I was young I'd listen to the radio waitin' for my favorite songs
When they played I'd sing along. It made me smile.
Those were such happy times and not so long ago. How I wondered where they'd gone…’

ช่างตรงกับชีวิตของผมในวัยเด็กเสียจริง

ในแผ่นเสียง (ชื่อ Now & Then)  เพลงนี้อยู่หน้า 2 และเป็นเพลงหัวเรือ  พอจบแล้วจะตามด้วยเพลงโปรดของ 2 พี่น้องในวัยเด็กเป็นพรวน (ส่วนใหญ่ร้องโดย Karen Carpenter ซึ่งมี The End of the World ที่วิทยุเอาฉบับที่เธอร้องมาเปิดให้พวกเราฟังบ่อย ๆ เป็นหนึ่งในนั้น)




ถ้าผมได้ทำแผ่นฯ ชุดนี้ผมจะตามด้วย You’ll always be on my mind (Springfield Revival), Blue balloon (Robbie Benson), Carry on till tomorrow (Badfinger), Toast and marmalade for tea (Tin Tin), Which way you goin’ Billy? (Poppy family), Reflections of my life (Marmalade), He ain’t heavy, he’s my brother (The Hollies) ฯลฯ

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 28 ต.ค. 22, 12:08

Batteries not included (1987) เป็นหนัง sci-fi ที่น่ารักและน่าประทับใจ (มากๆ) หนังเล่าเรื่อง เครื่องจักรที่มีชีวิตจิตใจจากต่างดาว ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ 2 ผัวเมียชราเจ้าของอพาร์ตเม้นท์และร้านอาหารเล็ก ๆ จากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จอมละโมบที่พยายามทุกวิถีทางที่จะรื้อสถานที่นั้น

ฉากน่ารัก ๆ

(1.59 ‘Look. It's plugged itself in. Is that why you're here?’)


มาอาศัยสถานที่ออกลูก  ทำได้น่ารักมาก



(0.21 ‘Tonight’s the night’… ‘Already?’… ‘A-ha’)


ฉากท้ายเรื่องเมื่อเจ้าหนูพาพรรคพวกมาตอบแทนบุญคุณ



ตัวอย่างหนัง



เป็นหนังที่อบอุ่นมาก  ดูจบแล้วมีความสุข  นักแสดงนำสูงอายุ 2 คน  คือ Jessica Tandy (1909-1994) ผมเคยเล่าถึงเธอไปบ้างในเรื่อง A streetcar named desire  อีก 2 ปีต่อมาเธอก็ได้ Oscar จากเรื่อง Driving Miss Daisy  ส่วนคุณตา Hume Cronyn (1911-2003) ก็เคยผ่านการเข้าชิง Oscar มาแล้วในปี 1945  ทั้ง 2 แต่งงานกันมาตั้งแต่ปี 1942 และอยู่ด้วยกันจนกระทั่งตายจากกัน

2 ผัวเมียเล่นด้วยกันหลายเรื่อง  เรื่องที่พวกเราคุ้นเคยอีกเรื่องคือ Cocoon




บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 31 ต.ค. 22, 11:46

ผมดูหนังผี The Grudge (2004) ทางแผ่นดีวีดี เป็นหนังที่ดังมากในวงกว้าง  ไม่จำเป็นต้องเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน  เพียงจะเอ่ยว่า  เป็น 1 ในหนังผียุคใหม่ที่น่ากลัวมากสำหรับผม


(ขอบคุณ คุณ KWN CHANEL)


ประเดิมความสยองด้วยฉากนี้



ที่มาของผี



มีผู้ใจดีรวบรวมฉากหลอน ๆ มาให้ดู



ตัวอย่างหนัง


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 01 พ.ย. 22, 12:09

ที่จริงก่อนหน้านี้คือปี 2002 ก็มีหนังผีที่น่ากลัวมากนำร่องมาก่อนแล้วคือ The Ring  


ขอบคุณ คุณ ‘Spoil นะจ้ะ’


ฉากในวิดีโอที่เอ่ยถึงในหนังมีหน้าตาอย่างนี้



กำเนิดของผี



ฉากนี้อยู่ท้าย ๆ เรื่องซึ่ง  บรื๋อออออ.... น่ากลัวเป็นอย่างมาก



ตัวอย่างหนัง



ความดังของหนังทำให้ผู้สร้างหนังตลกไม่รอช้าที่จะเอาบางฉากในฉบับจริงที่น่ากลัวมากมายำซะป่นปี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 03 พ.ย. 22, 08:37

ขอคั่นด้วยข่าวเศร้าในวงการภาพยนตร์
ปิยะตระกูลราษฎร์   เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคมะเร็ง สิริอายุ 68 ปี

นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญอีกครั้งของวงการบันเทิงและวงการเพลง รวมถึงวงการมวย กับการจากไปของ ปิยะ ตระกูลราษฏร์ เจ้าของรางวัลตุ๊กตาทองดารานำชายจากภาพยนตร์เรื่อง #เทพเจ้าบ้านบางปูน  ซึ่งมีผลงานฝากไว้ในการมากมายทั้งบทเพลงที่กลั่นน้ำตามาเป็นเพลงดัง ๆ ให้สายัณห์ สัญญา ขับร้อง เช่นเพลง #ไก่จ๋า #หนึ่งปีที่ทรมาน หรือเพลง #ศึกอัศวินดำ ที่โด่งดังทั่วประเทศ
เสียชีวิตอย่างสงบหลังป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และเข้ารับการรักษาตัวมาสองปีเศษ 
ได้เสียชีวิตอย่างสงบในวัย 68 ปี ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเมื่อช่วงบ่าย เวลา 13.50 น ของวันที่2 พฤศจิกายน 2565

 ปิยะ ตระกูลราษฎร์ (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2497) เป็นทั้งนักแสดง นักแต่งเพลง และนักพากย์มวย มีชื่อเสียงจากบทบาทครูในภาพยนตร์เรื่อง ครูบ้านนอก (2521) และงานแต่งเพลงลูกทุ่ง โดยเฉพาะเพลง "ไก่จ๋า"ปิยะ เกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เรียนจบชั้น ม.ศ. 5 แล้วก็เข้ากรุงเทพฯ มาเป็นเด็กวัดพระพิเรนทร์ เคยเป็นช่างตัดผม รับจ้างแบกของในตลาดสด ขับรถสามล้อถีบ ปี 2516 เริ่มเข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการแสดงเป็นตัวประกอบหางแถวประเภทโป้งเดียวจอด รอคอยงานอยู่แถวหลังเฉลิมกรุง เช่นเรื่อง นี่หรือชีวิต (สมบัติ)
แต่ที่แสดงแล้วมีชื่อเป็นที่รู้จักก็คือ มนต์รักแม่น้ำมูล (2520 สมบัติ-นัยนา-เนาวรัตน์) สร้างโดย ดวงกมลมหรสพ ของ กมล กุลตังวัฒนา โดยในเรื่องปิยะได้บทเป็นพระรอง มนต์รักแม่น้ำมูล ประสบความสำเร็จเกินคาด ทำให้กมลตัดสินใจที่จะสร้างภาพยนตร์แนวสะท้อนปัญหาสังคมไทยในเรื่อง ครูบ้านนอก บทประพันธ์ของ คำหมาน คนไค โดยผลักดันให้ สุรสีห์ ผาธรรม ผู้ช่วยผู้กำกับเรื่อง มนต์รักแม่น้ำมูล ขึ้นมาเป็นผู้กำกับการแสดง แต่พระเอกของเรื่องนั้น กมลเลือกปิยะขึ้นมาเป็นพระเอกท่ามกลางเสียงคัดค้าน แถมนางเอกก็ยังหน้าใหม่อีก หลายคนในทีมงานเริ่มไม่แน่ใจในอนาคตของครูบ้านนอกเพราะหน้าหนังขายไม่ได้ มีแต่เพียงกมลเท่านั้นที่เชื่อว่า ต้องขายได้

ปิยะ ตระกูลราษฎร์ เกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่บ้านมีฐานะยากจน จึงจบการศึกษาชั้น ม.ศ.5 แล้วมาทำงานอยู่ในกรุงเทพ เคยเป็นลูกศิษย์วัด เป็นช่างตัดผม รับจ้างแบกของในตลาด ขับรถสามล้อถีบ เริ่มเข้าสู่วงการจากการเป็นตัวประกอบภาพยนตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ได้แสดงในฐานะตัวประกอบคือเรื่อง นี่หรือชีวิต ภาพยนตร์ขนาด 70 มม. เรื่องแรกของเมืองไทยจากการกำกับของ ชุติมา สุวรรณรัต ซึ่งนำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี และ ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา โดยปิยะรับบท บุรุษพยาบาลเข็นศพ

ปิยะ รับบทนำครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 จากภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมเรื่อง ครูบ้านนอก กำกับโดยสุรสีห์ ผาธรรม จากบทประพันธ์ของ คำหมาน คนไค แสดงคู่กับ วาสนา สิทธิเวช ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างมาก จนได้แสดงภาพยนตร์ในแนวนี้อีกหลายเรื่อง

ปิยะ ตระกูลราษฎร์ เป็นเพื่อนสนิทสนมกับ สายัณห์ สัญญา เคยแต่งเพลงให้สายัณห์ร้องหลายเพลง ที่มีชื่อเสียงคือเพลง "ไก่จ๋า" ซึ่งพรรณนาถึงความรักที่มีต่อนักแสดงสาว ปริศนา วงศ์ศิริ เป็นที่เลื่องลือในขณะนั้น ปิยะมีผลงานแต่งเพลงประมาณ 500 เพลง ให้กับนักร้อง เช่น วันชนะ เกิดดี เอกชัย ศรีวิชัย ช่วงหลังผันตัวมาเป็นนักพากย์มวยรายการศึกอัศวินดำ (อัศวินดำก่อเกียรติ)

ผลงานภาพยนตร์
* นี่หรือชีวิต (2516)
* ครูบ้านนอก (2521)
* มนต์รักแม่น้ำมูล (2521)
* 7 สิงห์ตะวันเพลิง (2522)
* มนุษย์ 100 คุก (2522)
* ลูกทาส (2522)
* ทุ่งรวงทอง (2522)
* ส.ต.ท.บุญถึง (2522)
* หนุ่มบ้านนา สาวนาเกลือ (2523)
* ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ (2523)
* สู้ยิบตา (2523)
* ลูกแม่มูล (2523)
* เสี่ยวอีสาน (2523)
* นักเลงบั๊กซิเด๋อ (2523)
* ครูวิบาก (2524)
* สาวน้อย (2524)
* สันกำแพง (2524)
* สวรรค์เบี่ยง (2524)
* ทุ่งกุลาร้องไห้ (2524)
* คุณรักผมไหม (2525)
* มนต์รักลำน้ำพอง (2525)
* เทพเจ้าบ้านบางปูน (2525)
* ครูดอย (2525)
* นักเลงข้าวนึ่ง (2526)
* เพื่อนแพง (2526)
* สวรรค์บ้านนา (2526)
* นางสิงห์แก้มแดง (2526)
* ไม้เรียวหัก (2527)
* ครูปิยะ (2527)
* 10 คงกระพัน (2527)
* ครูชายแดน (2527)
* ยอดนักเลง (2527)
* หมอบ้านนอก (2528)
* ด่วนยะลา (2530)
* ฟลุ๊กแบบไม่ต้องโหด (2533)
* ชู้ (2547)
* อีนางเอ๊ย เขยฝรั่ง (2554)
* i love you ผู้ใหญ่บ้าน (2559)
* นาคี ๒ (2561)
#ผลงานละครโทรทัศน์
* พ.ศ. 2536 อยู่กับก๋ง
* พ.ศ. 2538 เมื่อหมอกสลาย
* พ.ศ. 2538 พรหมลิขิตจากนิ้วป้อมๆ
* พ.ศ. 2539 ดอกแก้ว
* พ.ศ. 2539 นายขนมต้ม
* พ.ศ. 2540 ตะวันทอแสง
* พ.ศ. 2541 โรงแรมผี
* พ.ศ. 2542 แม่นาคพระโขนง
* พ.ศ. 2542 ขุนเดช
* พ.ศ. 2542 ลูกหว้า
* พ.ศ. 2542 แก้วกินรี
* พ.ศ. 2543 ดั่งสายน้ำไหล
* พ.ศ. 2544 เขี้ยวเสือไฟ
* พ.ศ. 2544 นายฮ้อยทมิฬ
* พ.ศ. 2545 สุสานคนเป็น
* พ.ศ. 2546 พุทธานุภาพ
* พ.ศ. 2546 กษัตริยา
* พ.ศ. 2547 ฟ้าใหม่
* พ.ศ. 2547 มหาราชกู้แผ่นดิน
* พ.ศ. 2548 บันทึกจาก(ลูก)ผู้ชาย
* พ.ศ. 2548 เชลยบาป
* พ.ศ. 2548 มนต์รักลูกทุ่ง
* พ.ศ. 2550 ปู่โสมเฝ้าทรัพย์
* พ.ศ. 2553 สามหัวใจ
* พ.ศ. 2553 คู่เดือด
* พ.ศ. 2554 มนต์รักแม่น้ำมูล
* พ.ศ. 2555 หมูแดง
* พ.ศ. 2556 สายใย
* พ.ศ. 2557 หมอรัก...หมอเพลง
* พ.ศ. 2557 รถไฟ เรือเมล์ ลิเก กองถ่าย
* พ.ศ. 2558 เพื่อนแพง
* พ.ศ. 2558 สองมือพ่อ
* พ.ศ. 2558 สาบควายลายคน
* พ.ศ. 2558 คาดเชือก
* พ.ศ. 2559 สารวัตรเถื่อน
* พ.ศ. 2559 ฉันทนาสามช่า
* พ.ศ. 2559 บ่วงรักสลักแค้น
* พ.ศ. 2559 แม่นาก
* พ.ศ. 2560 เขี้ยวราชสีห์
* พ.ศ. 2560 หมอเทวดา
* พ.ศ. 2560 ละอองดาว
* พ.ศ. 2560 บ่วงบรรจถรณ์
* พ.ศ. 2561 นายร้อยสอยดาว
* พ.ศ. 2561 สายโลหิต
* พ.ศ. 2561 สุภาพบุรุษมงกุฎเพชร
* พ.ศ. 2561 ฝันให้สุด Dream Teen
* พ.ศ. 2562 ชุมแพ รับเชิญ
* พ.ศ. 2562 ขุนปราบดาบข้ามภพ
* พ.ศ. 2562 บุษบาเปื้อนฝุ่น
* พ.ศ. 2562 ดอกคูนเสียงแคน
* พ.ศ. 2563 ฟ้ามีตา ตอน มิตร....ฉาชีพ, หวัง...ของจ่าหวัง
* พ.ศ. 2564 กำนันหญิง
* พ.ศ. 2564 นางฟ้าอสูร

จากเพจ ดาราภาพยนตร์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง