เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 18338 ฉากประทับใจในหนังเก่า (4)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 30 มิ.ย. 22, 15:37

พี่น้องทั้งเจ็ด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 09 ก.ค. 22, 09:30

James Caan  พี่ชายของ Al Pacino ใน Godfather ภาคแรก จากไปในวัย 82 ปี
ฉากดัง คือฉากเขาถูกถล่มด้วยปืนจนตายคารถ ยังเป็นที่จดจำจนทุกวันนี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 09 ก.ค. 22, 09:32

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 15 ก.ค. 22, 17:13

หลังจากทำหน้าที่ครบถ้วนก็กลับมาเสนอหน้าอีกครั้ง  แต่เป็นการเข้ามาเสนอหน้าเพื่อจัดการความเรียบร้อย  เพราะผมได้ทำงานล่วงหน้าไว้เยอะโข  เอาลงให้หมดก่อนจะลาไปอุทิศเวลาให้กับ 'บ้านเกิดเมืองนอน’  หลังเสนองานหมดแล้วคงเข้ามาเป็นครั้งเป็นคราวครับ...


In this our life (1942) … ผมดูเพราะ Olivia de Havilland ไม่ใช่เพราะ Bette Davis  เรื่องเกี่ยวกับพี่น้อง 2 สาว  คนนึงอ่อนหวาน อีกคนสุดแสบ  กับการชิงดีชิงเด่นในทุกเรื่องไม่เว้นกระทั่งเรื่องความรัก (ใครเล่นเป็นใครคงไม่ต้องบอก)  

ครั้งดูที่ช่อง TCM เป็นหนังสี  แต่พอมาหา clip จาก youtube กลับพบแต่ clip ขาวดำ  ข้อมูลที่ได้จากกูรู Leonard Maltin บอกว่า  มี 2 ฉบับ  ฉบับสีนั้นเป็นการนำหนังต้นฉบับขาวดำมาเข้าเครื่อง ‘ผสมสี’




Hattie McDaniel ก็มาร่วมเล่น  บทของเธอไม่ต่างอะไรไปจากบท Mammy ใน Gone with the wind  หลังจากที่เธอได้ Oscar  ต้นสังกัด (studio) ของเธอกลุ้มใจมากเพราะไม่รู้จะสนับสนุนเธออย่างไรดีให้ได้บทที่สมกับความสามารถระดับรางวัล  เพราะในยุคนั้นเป็นยุคของการเหยียดสีผิวอย่างบ้าคลั่ง  เท่าที่ทำได้ก็คือการให้ studio อื่น ๆ ยืมตัวไปเล่นในบทเดิม ๆ คือ คนใช้  ในบท Mammy นั้นทุกคนประทับใจกับเธอ  แต่มาหลัง ๆ บุคลิกของเธอไม่มีอะไรแปลกใหม่เลย
 



มีคน review เรื่องนี้ให้ฟัง



ท่าเรื่องนี้คนจะไม่นิยม  หา clip ย่อยไม่ได้เลย


ODH ยังสวยสง่าเช่นเคย  ผมชอบเธอมาตั้งแต่เด็ก ๆ ครั้งเห็นเพียงแค่รูปถ่าย  รู้ด้วยว่าเธอมีน้องสาวอีกคนหนึ่งที่มาเล่นหนังเป็นนักแสดงที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน  ชื่อ Joan Fontaine  




นอกจากนี้ผมยัง (เสือก) รู้ลึกลงไปอีกด้วยว่าพี่น้องคู่นี้ไม่ถูกกัน  เหตุผลเกิดขึ้นในงาน Oscar ปี 1942 เมื่อ 2 พี่น้องนักแสดงใหญ่ได้เข้าชิง Oscar ทั้งคู่  ผลปรากฏว่า JF น้องสาวได้จับรางวัล  ซึ่งหมายความว่าน้องได้รางวัลก่อนพี่ (ซึ่งต่อมาพี่ก็ได้เช่นกันและได้ถึง 2 ตัว  2 พี่น้องนี้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับงาน Oscar โดยเป็นพี่น้องคู่เดียวที่ต่างได้รับ Oscar จากบทแสดงนำหญิง)

ตอนอ่านจาก SP เรื่องมีเพียงเท่านี้  ต่อมาประสบการณ์มากขึ้นก็หาข้อมูลได้เพิ่มเติมอีกว่า  2 พี่น้องนี้ไม่ถูกกันมาตั้งแต่เล็ก ๆ เลย  ในหนังสือประวัติ  JF เล่าว่าพี่สาวเธอเปรียบเสมือนดวงใจของครอบครัว  แล้วก็ใช้สิทธินี้มาข่มเหงเธอในรูปแบบต่าง ๆ

ตอนเธอเข้าวงการฯ  ครอบครัวเธอก็ไม่อนุญาตให้ใช้นามสกุล de Havilland  เธอจึงต้องใช้นามสกุลทางฝั่งแม่ของตัวเองคือ Fontaine

สำหรับเหตุการณ์ในงานแจกรางวัลฯ นั้น  ทั้งคู่นั่งร่วมโต๊ะกัน  ตอนลุกขึ้นไปรับรางวัล  ODH ยื่นมือออกไปแสดงความยินดี  แต่ JF กลับเดินผ่านเฉย เธอมาให้เหตุผลภายหลังว่าตื่นเต้นเลยไม่ทันสังเกต  อย่างไรก็ตามพี่สาวเสียหน้าและฉุนขาด...
 
Fontaine later wrote about the moment, "I felt Olivia would spring across the table and grab me by the hair. I felt age 4, being confronted by my older sister. Damn it, I'd incurred her wrath again!"


ODH มาแก้แค้นสำเร็จในปี 1946 เมื่อเธอได้ Oscar (ตัวแรก)  JF เดินไปแสดงความยินดี  แต่ ODH เสแสร้งด้วยการเดินไปที่อื่น

ความสัมพันธ์ฉันพี่น้องของ 2 สาวกระท่อนกระแท่นมาตลอดจนถึงปี 1975 เมื่อแม่ของทั้งสองตาย  JF รู้ข่าวแม่ของตนตายจากคนอื่นเพราะพี่สาวไม่ได้บอก

"You can divorce your sister as well as your husbands," Fontaine said to PEOPLE. "I don't see her at all and I don't intend to”

JF ตายในปี 2013 อายุ 96 เธอเคยเล่าในหนังสือ People เล่มเดียวกันว่า "Olivia has always said I was the first at everything—I got married first, got an Academy Award first, had a child first. If I die [first], she'll be furious, because again I'll have got there first!"




ODH ตายในปี 2020 อายุ 104 ปี   ย้อนไปตอนเธออายุ 101 เธอก็เกิดความฉุนเฉียวกับหนังทีวีชุดดังชื่อ Feud ที่เล่าเกี่ยวกับความไม่ลงรอยของอีก 2 ดารายักษ์ใหญ่ Bette Davis กับ Joan Crawford โดยใช้หนังเรื่องเดียวที่ทั้งคู่เล่นร่วมกันคือ Whatever happened to Baby Jane? เป็นจุดจบของเรื่อง  ในเรื่องนี้  ผู้สร้างนำ ODH มาเกี่ยวข้องด้วย (เล่นโดย Catherine Zeta Jones) แล้วก็มีบทพูด  ซึ่ง ODH เห็นว่าบทพูดส่วนใหญ่ยกขึ้นมาเองหาความจริงไม่ได้ทำให้ชื่อเสียงของเธอเสื่อมเสีย  เธอจึงจ้างทนายฟ้อง

เรื่องนี้ดังมาก  ผมตามข่าวอยู่เนือง ๆ ท่ามกลางความประหลาดใจว่า  แก่ป่านนี้ยังฉุนเฉียวได้ถึงเพียงนี้เชียว  ถ้าผมอายุ 101  ผมคงคิดแต่ว่า ‘ฉันจะตายขณะกำลังทำอะไรอยู่หนอ’

ผลที่สุดคือศาลไม่รับฟ้อง



(หมายเหตุ – ย้อนไปในในปี 1943 ODH เคยล้มยักษ์มาแล้ว  เมื่อเธอฟ้อง studio ต้นสังกัดเรื่องสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  ปรากฏว่าเธอชนะ  และสามารถไปรับงานจาก studio อื่นได้  ซึ่งไม่เคยมีนักแสดงคนไหนกล้าทำแบบนี้มาก่อน)

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 16 ก.ค. 22, 16:55

Krampus (2015) เป็นหนังสยองขวัญปนตลกเล่าเรื่องเด็กน้อยที่วันนั้นต้องสูญเสียความรู้สึกดี ๆ ต่อ Christmas spirit  ผลที่เกิดขึ้นคือ มันไปปลุก Krampus ขึ้นมา

หนังแปลกแหวกแนว  แถมดูสนุกเพราะไม่เคยรู้จัก Krampus มาก่อนก็เลยต้องตามดูว่าจะลงเอยอย่างไร




ฉากน่าติดตาม


จุดกำเนิดของ Krampus




 
สาเหตุที่ Krampus ต้องมาปรากฏตัว  และไม่ได้มาเดี่ยว ๆ






 
ตอนจบพ่อหนูตัวก่อเรื่องจะแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างไรต้องหาหนังมาดูครับ

Michael Dougherty  ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ให้นิยามของ Krampus ในหนังของเขาไว้ว่า... Krampus in this film is as Santa Claus's shadow. He's not the unstoppable monster that kicks down your door and rampages and grabs you. There's something darkly playful about him. He's having a good time doing what he does, and he enjoys the cat-and-mouse aspect of it.

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 17 ก.ค. 22, 15:25

Frequency (2000) เป็นหนังแนวโปรด 2 ชั้น  ชั้นแรกมันเป็นหนัง sci-fi  ชั้นที่สอง หนังเล่นกับเวลา  คือย้อนเวลาไปมา

หนังเล่าเรื่องตำรวจหนุ่มนักสืบที่วันหนึ่งก็ไปค้นพบวิทยุคลื่นสั้นที่พวกสมัครเล่นเค้าใช้กันกองสุมอยู่ในห้องเก็บสัมภาระใต้ดิน  ก็เอามาปัดฝุ่นแล้วลองใช้งาน  ปรากฏว่ามันยังใช้งานได้  ขณะกำลังสนทนาอยู่เธอก็พบว่ากำลังพูดคุยอยู่กับพ่อของตนในปี 1969  โดยที่ในยุคปัจจุบันพ่อของเธอซึ่งเป็นนักผจญเพลิงได้ตายไปแล้ว


วันที่ได้คุยกันเป็นวันก่อนหน้าที่พ่อของตนจะตายในกองเพลิง 1 วัน  เธอจึงถือโอกาสเตือน  ซึ่งก็สามารถทำได้สำเร็จคือพ่อไม่ตาย





แต่การไปแก้อดีตทำให้เกิดผลกระทบต่อปัจจุบันคือแม่ซึ่งในเวลาปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่  กลับกลายเป็นตายไปแล้วเพราะโดนฆาตกรรม  เรื่องก็อลเวง

นี่เป็นช่วง climax ที่เกิดขึ้นพร้อมกันใน 2 ห้วงเวลา  ดูแล้วงง ๆ เพราะมันขาดเหตุผลแต่ก็สนุกดี



เพราะเหตุการณ์จบในแบบของ clip ที่แล้วไปกระทบอนาคต  ครอบครัวพระเอกเลยกลับมาอยู่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตาในยุคปัจจุบัน

0.44 – พระเอกโกงอนาคตนิดหน่อยโดยแอบบอกเพื่อนสนิทในยุคเด็กของตัวเองให้ซื้อหุ้นของ Yahoo  เมื่อเวลานั้นมาถึง


ตัวอย่างหนัง  พร้อมเสียงเพลงที่ออกมาตอนท้ายเรื่องชื่อ When you come back to me again  ร้องโดยนักร้อง country ชื่อดังก้องโลก (แต่เลยความสนใจของผมไปแล้วเลยแค่รับรู้ความมีชื่อเสียง) Garth Brooks

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 18 ก.ค. 22, 16:55

ในปี 1977  Debby Boone ลูกสาวของ Pat Boone นำเพลง You light up my life มาออกอาละวาดตามสถานีวิทยุในเมืองไทย  เพลงนี้ดังมาก  แต่ที่บ้านเค้าดังสุดขีด  ติดอยู่ที่อันดับ 1 ของ Billboard Hot 100 นานถึง 10 อาทิตย์  หมายความว่าคนฟังเพลงนี้กันนานถึง 70 วันโดยไม่มีเบื่อ  ในปีนั้น  เพลงนี้สร้างสถิติใหม่ในอันดับเพลงมากมาย

ตอนเพลงมาเมืองไทยจึงไม่แปลกใจที่ความดังจะตามมาด้วย  ผมงี้ฟังจนเลี่ยน  เท่าที่คิดออก ณ ตอนนี้  ในช่วงเวลานั้น  มีอยู่ 3 เพลงที่สถานีวิทยุยัดเยียดให้ผมฟังจนเลี่ยนมากจนไม่คิดอยากฟังอีกเลยจนถึงบัดนี้  มีเพลงนี้  แล้วก็เพลง Feelings ของ Morris Albert  แล้วก็เพลง When I need you ของ Leo Sayer  อ้อ... Reunited ของ Peaches & Herb อีกเพลง

กลับมาที่เพลง YLUML  คนไทยน้อยคนหรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้  ที่จะรู้ว่านี่เป็นเพลงจากหนังชื่อเดียวกันที่ออกฉายในปีเดียวกัน  แต่ไม่มาฉายในเมืองไทยจนกระทั่งอีกน้านนานต่อมา

ตอนหนังเข้าฉาย  ผมไม่คิดอยากจะดูเพราะเลี่ยนเพลง  แต่ SP เอาข้อมูลมาบอกว่าในหนังที่ว่า DB ไม่ได้ร้องเพลงนี้ เธอร้องอัดเป็นแผ่นเสียงออกขายเลย  คนที่ร้องเพลงนี้ในหนังเป็นนักร้องที่ผมไม่รู้จักชื่อ Kasey Cisyk  ซึ่งเธอก็ไม่มีบทเล่นในหนังเพียงแต่ให้นักแสดงนำ (Didi Conn) ยืมเสียงไปใช้




อย่างไรก็ตาม ผมก็ร่อนออกไปซื้อตั๋วดู  อยากรู้ว่าเพลงเดียวกันนี้แต่ต่างนักร้อง จะให้บรรยากาศต่างกันอย่างไร

ปรากฏว่าไม่ต่างกันเลย  2 นักร้องเสียงคล้ายกันมาก  มากจนอดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมไม่เอานักร้องต้นฉบับ KC มาอัดแผ่นขายเสียเลย


พอ อตน. ประสูติผมก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้  อ่านต้นฉบับจาก Wikiฯ  ละกันนะ

"People magazine ran a substantial article about "The real voice behind 'You Light Up My Life" inasmuch the similarity between her and Debby Boone's voice led many to assume the latter had sung the songs in the movie. In a 2013 biographical essay about Cisyk, Cisyk's second husband, Ed Rakowicz wrote, that Joseph Brooks (ผอ. และ ผกก. หนังเรื่องนี้) "withheld payment ... tried to evade payment by false promises and by asking her to be an incidental actor in his film, implying huge rewards yet to come..." Later, (according to Rakowicz's biographical essay), Brooks made improper advances toward Cisyk, and after being rebuffed, didn't speak directly to her again, and continued to evade payments to her. Rakowicz writes, "[Kasey] retained a lawyer and sued Brooks for the fees she earned for her work on the record and the film but accepted an award of a small sum just to relieve herself of the torment of a prolonged legal battle with Brooks."


กลับมาที่หนัง  หนังเรื่องนี้ไม่ถูกใจนักวิจารณ์  ทุกคนให้ความเห็นว่าสิ่งที่ทำให้คุ้มเงินค่าตั๋วคือเข้ามาฟังดารานำ (ที่ไม่ได้) ร้องเพลงนี้ (เอง)  อย่างไรก็ตาม  ในงานประกาศผล Oscar เพลงนี้ได้รางวัล  รางวัลตกเป็นของคนผลิตเพลงนี้คือ Joseph Brooks ซึ่งเธอก็อำนวยการสร้าง+กำกับหนังเรื่องนี้ด้วยตัวเองเช่นกัน

(หมายเหตุ – ความจริงเพลงฉบับของ KC ก็เอามาอัดเป็นแผ่นขายแต่ไม่ได้ใช้ชื่อของเธอ  เพียงแต่ใช้ชื่อว่า Original cast  วงการธุรกิจนี่มีความซับซ้อนจัง)

เพลงอื่น ๆ ในหนังล้วนร้องโดย KC







มีต่อ...

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 19 ก.ค. 22, 16:42

หลังจากได้ Oscar ไปนอนกอด  Joseph Brooks ก็เกิดความฮึกเหิมผลิตหนัง+เพลงอีกเรื่องออกมาฉายในปีถัดมา  หนังเรื่องนี้ชื่อ If ever I see you again  คราวนี้เขาลงมือแสดงเองด้วย  เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักผลิตเพลงประกอบโฆษณาที่อยากมาเอาดีทางผลิตเพลงประกอบภาพยนตร์ในฮอลลีวู้ด  พอมาถึงเธอก็พบกับแฟนเก่า  ก็เลยสานความสัมพันธ์ต่อ



เพลง If ever ฯ ฉบับในหนังเป็นเสียงของนักร้องผู้ชายชื่อ Jamie Carr



ตามแผนที่จะเลียนแบบความสำเร็จครั้งก่อน  JB ให้ DB นำเพลงเด่นเพลงหนึ่งในหนังชื่อ California มาอัดแผ่นขายเป็นเพลงแรก  แต่เพลงนี้ไม่ถูกใจผู้บริโภค  เลยไปไม่รอด  DB ก็พลอยดับไปด้วย  เธอเลยได้เข้าไปอยู่ในหมวด One hit wonder artist (นักร้องที่มีเพลงดังเพียงเดียว)



พอการณ์ไม่เป็นไปตามแผน JB งัดแผนบีออกมาใช้  โดยไปตกลงกับนักร้องชั้นเซียน Roberta Flack ให้มาร้องเพลงเอก If everฯ  โดยหวังจะให้ความเป็นนักร้องชั้นนำของวงการมากู้ความล้มเหลวของเขาก่อนหน้า


พอหนังเรื่องนี้ออกฉาย  นักวิจารณ์ก็ด่าเหมือนเดิม  แต่ตอนครั้งหนัง YLUML นักวิจารณ์ยังมีเมตตาชื่นชมเพลงเอก  สำหรับหนังเรื่องนี้พวกรุมกันด่ารวบยอด  ผลก็คือหนังเจ๊งในทุกรูปแบบ  พอหนังที่ตั้งใจให้เป็นหัวหอกสู่ความสำเร็จไปไม่รอด ยอดขายเพลงนี้ก็ไปไม่รอดเช่นกัน  เพลงของ RF ไต่ขึ้นไปได้แค่อันดับที่ 24  ก็ร่วง

ในเมืองไทย  โรงหนังเอาหนังของ JB เรื่องนี้มาฉายก่อนเรื่องแรกคือ YLUML  ผมดูแล้วชอบมาก  ผมว่าเพลงในหนังเพราะพอ ๆ กับเพลงในหนัง YLUML    เสียดายที่ไม่มีใครทำ clip ย่อยมาปล่อย

(นี่เป็นฉบับที่ JB ให้ DB ร้องลงแผ่นส่วนตัวของเธอ)


บั้นปลายของ JB ตามที่ได้อ่านจาก Wikiฯ  ไม่สวยเอาเลย...

In June 2009, Brooks was arrested on charges of raping or sexually assaulting eleven women lured to his East Side apartment from 2005 to 2008.  He was indicted on June 23, 2009. He was to be tried in the state Supreme Court for Manhattan (a trial-level court) on 91 counts of rape, sexual abuse, criminal sexual act, assault, and other charges. In December 2009, prosecutors indicated that they would ask the grand jury to consider adding even more charges, in part because "additional victims" had come forward. However, Brooks committed suicide on May 22, 2011, before he could be tried.

เฮ้อ...



บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 20 ก.ค. 22, 15:47

The secret life of bees (2008) เล่าเรื่องย้อนยุคไปปี 1964  เมื่อเด็กหญิงหนีออกจากบ้านเพื่อตามหาความจริงอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นกับแม่ของเธอ  แม่หนูรอนแรมมาจนถึงเมืองเล็ก ๆ ในรัฐ South Dakota และได้พบกับครอบครัวหญิงล้วนผิวดำที่ไม่ยอมให้การดำเนินชีวิตของพวกเธอขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของการแบ่งสีผิว




เหตุการณ์ปกติในยุคของการเหยียดสีผิว






บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 21 ก.ค. 22, 16:19

ในงานแจกรางวัล Oscar ประจำปี 1970 (ให้กับหนังที่ออกฉายในปี 1969) Midnight cowboy ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 6 สาขารวมถึง สาขา ผกก.  เขียนบท  นักแสดงนำชาย (ทั้ง Jon Voight และ Dustin Hoffman... แย่งกันเอง) และประกอบหญิง ฯลฯ  และช่วงชิงมาได้ 3 รางวัล

ในครั้งหนึ่ง  หนังเรื่องนี้ได้ชื่อว่าเป็นหนังเรท X เรื่องเดียวในประวัติศาสตร์ Oscar ที่ได้รางวัลหนังยอดเยี่ยม นั่นเป็นการให้ rate ในยุคนั้น เพราะส่วนหนึ่งของเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ "homosexual frame of reference" and its "possible influence upon youngsters (คือบุคลิกของตัวละครนำทั้ง 2)" ต่อมาเมื่อนิยามของหนัง rate-R ขยายขอบเขตกว้างขึ้น  หนังเรื่องนี้ก็ถูกรวมเข้าไปอยู่ในหนัง rate-R

หนังกล่าวถึงความสัมพันธ์ของชาย 2 คนที่มีอาชีพไม่ปกติทั้งคู่  คนนึงเป็นอดีตเด็กล้างจานในร้านอาหารบ้านนอกที่ต่อมาเปลี่ยนอาชีพเป็นผู้ชายขายตัว อีกคนเป็นนักต้มตุ๋นในเมืองใหญ่

ฉากต้นเรื่องเมื่อ Joe Buck ย้ายจากบ้านนอกมาตายเอาดาบหน้าในเมืองใหญ่ New York สื่อให้คนดูเห็นว่าอาชีพใหม่ที่เธอเลือกคือ ไอ้ตัว ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรเพราะความเป็นคนคนบ้านนอกที่ใสซื่อและจิตใจดีเลยไม่ทันเขี้ยวคนเมือง  แทนที่จะได้เงิน  เขากลับเป็นคนต้องจ่ายเงินเพราะไปเสียรู้โสเภณีเจ้าถิ่น






(เสียดาย clip ลากยาวไปไม่ถึงความตลก)


การพบกันของ Ratzo กับ JB และความสัมพันธ์ของทั้ง 2 (ข่าวว่า DH ใส่ก้อนกรวดไว้ในรองเท้าทุกครั้งที่เข้าฉาก  เพื่อให้การเดินดูเหมือนคนพิการเดินแบบสมจริง)





Ratzo รับ JB เข้ามาอยู่ด้วยกัน



แล้วหา ‘งาน’ ให้ทำ





มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 22 ก.ค. 22, 16:37

-ต่อ-


ความฝันของ Ratzo คือถ้ามีเงินจะย้ายไปอยู่ Florida ที่มีอากาศสดใสกว่าที่ NY  การพบ Joe Buck ทำให้ความฝันของเขาเป็นรูปเป็นร่างขึ้น



Ratzo เป็นคนพิการสิ่งที่ตามมาคือสุขภาพไม่ดี  ในตอนท้ายเรื่องสุขภาพของเขาแย่ลงเรื่อย ๆ  เขาขอให้ JB พาไปที่ Florida  แต่ทั้ง 2 ไม่มีเงิน JB จึงต้องทำร้ายร่างกายเหยื่อเพื่อขโมยเงิน  ในที่สุดการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในเมืองใหญ่ก็ทำลายจิตใจที่บริสุทธิ์ของหนุ่มบ้านนอก





นี่คือฉากจบของเรื่อง  หลังจากตกลงกันแล้วว่าเมื่อไปถึงที่หมาย  ต่างจะออกหางานสุจริตทำเพื่อความมั่นคงในอนคต

ที่ 1.00 บทคนขับรถไม่ได้ใช้นักแสดง  แต่เป็นช่างไฟประจำกองถ่าย  เรื่องคือนักแสดงบทคนขับเกิดไม่โผล่มา  หลังจากคอยจนวินาทีสุดท้าย ก็เลยคว้าช่างไฟที่โต๋เต๋อยู่แถวนั้นมาเข้ากล้องแทน


ฉากนี้ทำให้หนังติด rate-X



ฉากโปรดของผมก็คือฉากเปิดเรื่องที่มีเพลงประกอบ Everybody’s Talkin’ ร้องโดย Harry Nilsson เพราะเกินบรรยาย  หลังจากหนังออกฉายก็ดังกระหึ่มและได้รับรางวัล (ทางวงการเพลง) มากมาย

(ผมว่าบรรยากาศของชนบทในอเมริกาในสมัยนั้นสดใสดีจัง)


แรกเริ่มเพลงนี้ไม่ได้แต่งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับหนังเรื่องนี้  มันเป็น single ของ Harry Nilsson ซึ่งออกวางตลาดก่อนหน้าหนัง  แต่ตอนนั้นผู้ผลิตหนังเรื่องนี้ยังหาเพลงลงไม่ได้  ก็เลยเอาเพลงนี้ซึ่งถูกใจขัดตาทัพไปก่อน  ระหว่างนี้ก็จ้างวานนักร้องหลายคนเช่น Bob Dylan, Joni Mitchell ฯลฯ ให้ช่วยแต่งเพลงและเสนอเข้ามา  HN ก็เป็นหนึ่งที่ได้รับการว่าจ้าง  เขาแต่งเพลง I guess the Lord must be in New York City  แล้วเสนอไปให้ผู้ผลิตหนังพิจารณา  แต่ผู้ผลิตฯ ไม่ชอบใจเลยสักเพลง  ก็เลยเอาเพลง Everybody's talkin' นี้ลงไปในหนังอย่างเป็นทางการ  ความดังของหนังส่งผลให้เพลงดังและทำให้ HN ได้รางวัล Grammy ด้วย

นี่คือเพลงที่ HN แต่งให้กับหนังเรื่องนี้โดยเฉพาะ  แต่ ผู้ผลิตฯ กลับไม่ชอบ

(เพลงโปรดของผมทั้งคู่)


นักร้องคนนี้  ถ้าให้ข้อมูลเท่านี้  นักฟังเพลงฝรั่งชาวไทยร่วมยุคทำหน้างงงวย  ต้องเปิดเพลงนี้ให้ฟัง  จะร้องอ๋อ... ทันที



ตัวอย่างหนัง



Fun fact:
In one particular scene, Ratso and Joe get into an argument over cowboys. Ratso states that "Cowboys are fags! (เกย์)" Joe's response is "John Wayne is a cowboy! Are you calling John Wayne a fag?" Coincidentally, Dustin Hoffman and Jon Voight were nominated for the Best Actor Oscar for their roles as Ratso and Joe, respectively. They lost out to John Wayne for his role in "True Grit" (1969).

(หมายเหตุ – Jon Voight คนที่เล่นเป็นชายขายตัวเป็นพ่อของ Angelina Jolie)

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 23 ก.ค. 22, 17:02

Flatliners (1990) เป็นเรื่องของนักศึกษาแพทย์กลุ่มหนึ่งเกิดความคิดพิเรนทร์  พวกเขาอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากความตายมาเยือน  จากนั้นก็ทดสอบโดยจัดฉากแกล้งตายขึ้น

แนวของหนังอิงพุทธศาสนาในด้านกฎแห่งกรรม

ทุกคนมีเรื่องราวต่าง ๆ กันไป  แต่เรื่องราวของหนุ่ม Nelson นี้น่าสนใจที่สุด












บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 24 ก.ค. 22, 15:15

Pillow talk (1959) เล่าเรื่องของ Jan สาวนักตกแต่งภายในที่อาศัยอยู่คนเดียวใน apartment กลางกรุงอันแออัดที่คู่สายทางโทรศัพท์ยังไม่สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้พอเพียง  คนแถวนั้นจึงต้องใช้บริการของโทรศัพท์แบบสายพ่วง  Jan ใช้สายพ่วงร่วมกับ Brad นักเขียนบทละครเวทีและ playboy ที่อาศัยอยู่ใน apartment ของตึกใกล้ ๆ

เรื่องเริ่มต้นเมื่อทุกครั้งที่ Jan จะใช้โทรศัพท์  สายเป็นไม่ว่าง  เพราะ Brad ครอบครองอยู่เป็นประจำ  ที่น่ารำคาญคือส่วนใหญ่ชายหนุ่มไม่ได้คุยเรื่องงานแต่เป็นการเกี้ยวสาวซึ่งแต่ละครั้งเสียงของผู้หญิงไม่เคยซ้ำกันเลย
นับวัน Jan จึงไม่ชอบขี้หน้าทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเห็นหน้าจริง ๆ ของหนุ่ม Brad คนนี้ขึ้นเรื่อย ๆ

เป็นเหตุบังเอิญ (เกิดขึ้นใน “หนัง” เท่านั้น) ที่ 2 หนุ่มสาวนี้รู้จักมักจี่กับเพื่อนคนเดียวกัน  จากต่างที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนอันเป็นบุคคลที่ 3 คนเดียวกันนี้ทำให้วันหนึ่งฝ่ายชายก็รู้จักตัวตนของฝ่ายหญิงก่อนแล้วเกิดติดใจก็เลยสวม 2 บทบาท  

ด้วยความลับไม่มีในโลก  ในเวลาต่อฝ่ายหญิงก็ได้รู้จักตัวตนของฝ่ายชายในที่สุด  เจ้าหล่อนจึงฉุนเช็ดที่โดนสวมเขา  ทำให้ฝ่ายชายต้องตามง้อ  ลงท้ายหนังก็จบลงด้วยความชื่นมื่น (ผมเรียกว่า แบบ ‘เน่า’ ๆ)
 
เรื่องราวในหนังโดยสรุปเป็นไปตาม clip นี้

ตอนหนังออกฉาย  นักวิจารณ์ชื่นชมเทคนิคของฉากที่ใช้ 3 ฉากย่อยมารวมอยู่ในฉากเดียวกันว่าแปลกใหม่

 
เมื่อ Jan รู้เรื่องว่าโดนสวมเขา  เธอก็ฉุนขาด  Brad จำต้องหาทางง้อ  โดยผ่านทาง maid ขี้เมาของสาว  maid แนะนำให้ Brad ทำไก๋จ้างนายสาวของตนมาช่วยตกแต่ง apartment ให้

Thelma Ritter เล่นบทสาว maid นี้  ผมเคยเอ่ยถึงนักแสดงคนนี้เนือง ๆ  เธอเป็นดาราประกอบระดับคุณภาพที่ตีบทแตกเสมอ  เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar ถึง 6 ครั้งในบทตัวประกอบล้วน  แต่ไม่มีโอกาสได้จับ  ชื่อเธอเข้าไปอยู่ในสถิติประเภทหนึ่งของสถาบัน Oscar ในที่สุด  

 
Brad ทำตามที่ maid ขี้เมาแนะนำ  ซึ่ง Jan ก็ถือโอกาสแก้แค้นเสียเลย  ภายหลังเรื่องโอละพ่อเพราะเธอทำเกินกว่าเหตุ  เลยต้องกลายเป็นฝ่ายง้อชายหนุ่มคืน  ผมชอบฉากนี้  สดใส  รถสวย ๆ  แถมการเดินเรื่องน่ารัก


 
ผมว่ามันเป็นหนังตลกที่คลาสสิกอีกเรื่องหนึ่ง  เหมือนเรื่อง Some like it hot  คือไม่ว่าจะดูในยุคไหนก็น่ารัก  แม้หนังทั้งเรื่องจะสร้างใน studio แต่ดูไม่อึดอัด  ถึงจะเป็นฉากจำลองแต่ผมชอบมาก  ไม่รู้มีความหลังอะไรกับยุค 50s  ดารานำ 2 คน Rock Hudson กับ Doris Day ลื่นไหลไปตลอดเรื่อง และเป็นหนังที่เพิ่มพูนชื่อเสียงให้กับทั้งสอง
 
DD ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar จากบทนี้  แต่คนที่เด่นที่สุดกลับเป็น maid ขี้เมา  ซึ่งตัวนักแสดงได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar จากบทนี้เช่นกัน

 
ฉากเปิดเรื่องก็น่ารัก  เสียงของ DD มีเอกลักษณ์  ฟังที่ไหนก็รู้ว่าเป็นเสียงของเธอ



แถมฉากตลก... ดารา 3 คนจากเรื่อง PT คือ DD, RH และ Tony Randall ได้กลับมาเล่นหนังร่วมกันอีก 3 เรื่องเนื่องจากเข้าขากันได้ดีมาก ฉากนี้มาจากหนังเรื่องที่ 3  Send me no flowers  เอามาให้ดูด้วยคาดว่าเหมาะสำหรับนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 ก.ค. 22, 17:05

ผมรู้เรื่องราวของ Lady Jane Grey ราชินี 9 วันของอังกฤษมาตั้งแต่เด็ก ๆ  ผมไม่ได้เป็นญาติอะไรกับเธอ  เพียงรู้เรื่องจากการอ่านหนังสือของแม่  ฉบับของแม่เป็นฉบับภาษาไทย  แปลโดย นิดา  เล่มหนาเตอะร่วม 2 นิ้วได้ละมัง  อ่านแล้วสนุกจนวางไม่ลง  ผมมารู้หลังจากนั้นอีกนานว่าเรื่องราวของเธอตามที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์มีความยาวแค่ไม่กี่บรรทัด  คนแต่งเรื่องนี้ต้องเก่งอย่างบอกไม่ถูกที่สามารถเอามาขยายได้เป็นหนังสือเล่มโต  อ่านสนุกเหมือนอ่านนิยาย

ในปี 1986  อังกฤษทำหนังเรื่องราวของเธอออกมาฉาย  ผมหาไม่เจอว่าหนังดัดแปลงมาจากหนังสือเล่มไหน  อย่างไรก็ตามหนังไม่มาฉายในเมืองไทยอย่างแน่นอน  ผมก็เลยไปเสาะหาวิดีโอมาดู  ซึ่งก็ฟังออกบ้างไม่ออกบ้างตามเคย  อาศัยที่รู้เรื่องราวมาก่อนหน้าจากการอ่านก็เลยตามน้ำไปได้เรื่อย ๆ



ฉากสุดท้าย (3.30) บรรยายภาพได้ตรงตามที่อ่านในหนังสือ  ดูแล้วเศร้าใจ  ประวัติศาสตร์บอกว่าเธออายุแค่ 16-17 เอง  ยังเด็กอยู่เลย



ดูหนัง/อ่านเรื่อง - ประวัติศาสตร์ทีไรนึกอยากย้อนเวลากลับไปให้เห็นด้วยตาว่าเรื่องราวจริง ๆ เป็นอย่างไร  แต่ละคนหน้าตาเป็นอย่างไร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 26 ก.ค. 22, 09:21

เคยได้ยินชื่อ Jane Grey ราชินีเก้าทิวา เป็นครั้งแรกเมื่อไปอังกฤษครั้งแรก    เห็นโฆษณาชวนให้ไปดูนิทรรศการทางประวัติศาสตร์ แสดงอยู่ข้างทางเดินรถใต้ดิน      ตอนเรียนประวัติศาสตร์ในคณะ ไม่เคยได้ยินเรื่องของเธอ   มันเป็นชิ้นส่วนเล็กๆของยุคนองเลือดก่อนควีนเอลิซาเบธที่ 1  จะขึ้นครองราชย์
แต่อังกฤษดูเหมือนจะยังจับอกจับใจกับราชินีผู้อาภัพคนนี้ไม่หาย    ในอินทรเนตรก็มีเรื่องราวของเธอให้ค้นหาอ่านกันจนเมื่อยตา
เป็นความอาภัพของเด็กสาววัย 15  ที่เกิดมาชาติตระกูลดี การศึกษาดีเยี่ยม   ไร้เดียงสาต่อการถูกจับไปเป็นหมากการเมือง โดยพ่อผัวผู้ทะเยอทะยานจะกุมอำนาจเหนือบัลลังก์อังกฤษ
ทั้งเธอและหนุ่มน้อยสามี ผู้ไม่รู้อีโหน่อีเหน่อะไรเช่นกัน  เลยถูกประหารไปอย่างน่าเศร้าทั้งๆไม่มีความผิด

มีเกร็ดเล็กๆอีกเกร็ดที่จำได้คือเมื่อไปเที่ยวหอคอยแห่งลอนดอน  เขาพาไปดูห้องที่เคยใช้เป็นที่คุมขังลอร์ดกิลฟอร์ด ดัดลีย์ สามีหนุ่มน้อยของราชินีเจน  บนกำแพงมีรอยสลักชื่อ "เจน" ที่ทางการเอากระจกปิดทับไว้    ลอร์ดกิลฟอร์ดคงเป็นคนสลักเอาไว้เอง  จะใช้เครื่องมืออะไรก็ไม่อาจทราบได้ แต่ไม่ใช่มีด เพราะทางการคงไม่ยอมให้มีอาวุธติดตัว

ภาพข้างล่างนี้คือคนรุ่นนี้พยายามใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพของเจนขึ้นมาใหม่จากภาพวาดเก่าๆ ว่าเจนตัวจริงควรมีหน้าตาอย่างไร


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 20 คำสั่ง