เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 26
  พิมพ์  
อ่าน: 18093 ฉากประทับใจในหนังเก่า (4)
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 12 พ.ค. 23, 12:16

ต่อ...

ความจริงเรื่องฮือฮา (ในตอนนั้น) ของหนังเรื่อง Always นี้ไม่ได้อยู่ที่การปรากฏตัวของ Audrey Hepburn  แต่อยู่ที่นักแสดงหน้าใหม่ที่เพิ่งเล่นหนังโรงเป็นเรื่องแรกในบทนักบินฝึกหัด  เธอชื่อ Brad Johnson  น่าเสียดายว่าไม่มี clip ย่อยของเธอโดยเฉพาะเลย  เธอสูงสง่าและเป็นแมนอย่างไม่เกรงใจใคร  BJ เพิ่งตายไปเมื่อเดือน กพ. ที่ผ่านมา (...นับถึงวันนี้ก็ปีที่แล้ว) จากการติดเชื้อ COVIDฯ




เธอเคยเป็น Marlboro man อยู่ชั่วขณะหนึ่ง

ผมเห็นรูปนี้บ่อยมาก  อยู่ด้านหลังนิตยสาร Time กับ Newsweek  ที่ทำงานผมเป็นสมาชิกอยู่


ท้ายเรื่อง  เน่าเชียว...  ครั้งเมื่อตอนนั่งดูอยู่ในโรงก็อิ่มเอิบใจดี



หนังยังให้กำเนิดความดังอีกเรื่องก็คือเพลงประกอบ Smoke gets in your eyes เป็นฉบับนำมาร้องใหม่โดยนักร้องนักดนตรีระดับมืออาชีพ JD Souther

วิทยุที่บ้านเราร่วมใจกันเปิดอยู่หนึ่งเพลา  ผมชอบที่เธอเลี่ยงการใช้เสียงให้ต่างไปจากต้นฉบับในตอนต้นของเพลง  ซึ่งทำได้เยี่ยมมาก


10 ปีก่อนหน้า  นักร้องคนนี้มีเพลงดังมากในบ้านเรา (บ้านเขาด้วย) คือ



ตัวอย่างหนัง


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 15 พ.ค. 23, 12:15

วันนี้ (ณ เวลาที่เขียน) ได้ดูหนังอีกเรื่องที่ติดอยู่ในใจมานาน  มันชื่อ Mrs. Brown, you've got a lovely daughter (1968)  เป็นหนังตลก  ชื่อของหนังมาจากเพลงดังสุดกู่ของคณะ Herman's hermit  เพลงนี้ดังในเมืองไทยด้วย  เป็นเพลงหนึ่งที่ได้ยินมาตั้งแต่จำความได้  ทำนองน่าร้ากน่ารัก
 
Peter Noone หัวหน้าวงเป็นหนึ่งใน 'teenage idol' ของสาว ๆ บ้านผมเลย  ทุกหนังสือเพลงฝรั่ง (i.s. song hits และ ฯลฯ) กับ หนังสือ SP ลงภาพของเขาเป็นประจำ (ผมจำไม่ได้ว่าในปีนั้นหนังสือ SP ถือกำเนิดแล้วยัง แต่ตั้งแต่รู้ความก็เห็นหน้าของเธอในหนังสือที่ว่ามาแทบทุกฉบับ)



ความดังของเพลงรวมถึงรูปลักษณ์ของนักร้องนำ (ที่บ้านเกิดคือ อังกฤษ) ทำให้มีการทำหนังออกมาฉาย  ที่จริงช่วงนั้นศิลปินวัยรุ่นคนไหนดังก็จะมีการสร้างหนังให้พวกเขาเล่นออกมาฉายล่อเงินเป็นประจำ  ที่มาบ้านเราแน่ ๆ ก็หนังของ The Beatles, Cliff Richard, Elvis Presley แล้วก็เรื่องนี้ (เป็น 1 ใน 2 เรื่อง) ของคณะ HH  อย่างไรก็ตามผมไม่เคยดูเรื่องไหนซักเรื่อง  พวกพี่ ๆ เคยดูบ้าง  เคยถามก็ไม่เห็นเล่าอะไรนอกจากว่า  รอบปฐมทัศน์  จะมีคณะนักร้องของไทยมาแสดงดนตรีบนเวทีหน้าจอ  ทุกโรงหนังสมัยก่อนจะมีเวทีกว้างหน้าจอเพื่อการณ์นี้โดยเฉพาะ  รอบปฐมทัศน์จะเป็นรอบเช้าของวันเสาร์  เพื่อให้กิจดำเนินจนจบสิ้นก่อนรอบปกติคือ 10 โมงเช้า

สำหรับหนังเรื่องนี้ผมจำได้จากการดูตัวอย่างทางทีวี

เนื้อเรื่องก็บางเบาแบบหนังวัยรุ่นร้องเพลงทั่วไปที่เน้นความหล่อของศิลปินมากกว่า  PN เล่นเป็นหนุ่มชาว Manchester ชื่อ Herman ที่ได้รับมรดกเป็นหมาแข่งพันธุ์ greyhound ชื่อ Mrs. Brown  เขากับพรรคพวก (สมาชิกวง) ก็เอามาลองแข่ง  แต่ก่อนจะเข้าแข่งได้ก็ต้องจ่ายเงินค่าสมัครซึ่งหนุ่มพวกนี้ไม่มี  ก็เลยต้องตั้งวงเล่นดนตรีเพื่อหาเงิน (แน่นอน)  พอได้เข้าแข่งก็ปรากฏว่าชนะได้ถ้วย  แล้วก็น่าจะได้เงินด้วยแต่คิดว่าคงเล็กน้อย

หลังงานก็มีแมวมองมาทาบทามให้นำหมาไปเข้าแข่งในรายการใหญ่กว่านี้ที่ London  หนุ่มทั้งคณะก็ทำตาม  แต่ความที่ยังถังแตกก็เลยไปพักที่บ้านแมวมองระหว่างนั้นก็ทำงานหาเงินไปด้วย  แมวมองชื่อ Mr. Brown กับเมีย Mrs. Brown มีลูกสาวสวยเป็นนางแบบ  สองหนุ่มสาวก็ปิ๊งกัน  แต่ได้ไม่นานเพราะสาวต้องไปทำงานที่ Italy  ระหว่างส่งสาวออกเดินทาง  H เฟอะฟะทำ Mrs. Brown (หมายถึงหมา ไม่ใช่แม่แฟน) หาย

ก็มีการตามหาแต่ไม่เจอ  ก็เลยอดเข้าแข่ง  หนุ่ม ๆ คอตกกอดคอกันกลับบ้าน  แต่ไม่นานก็ได้หมาคืน (เพราะอะไรขี้เกียจ 'จิ้ม' อธิบาย)  ปรากฏว่า Mrs. Brown ทำงามหน้าไปท้องกลับมา  แล้วก็ออกลูกมา 1 ตัว (น่าร้ากกกก) 

หนังจบที่ H ต้องฟื้นฟู Mrs. Brown ให้กลับมาแข่งแรงอีกเพื่อจะได้เอาเข้าแข่ง  ส่วนแฟนสาวก็ไป ๆ มา ๆ



ทิวทัศน์เมือง Manchester ในปลาย 60s  ผมหลงไหลประเทศอังกฤษมาตั้งแต่เด็ก ๆ  ก็จากหนังทีวีที่เคยดูอย่าง ขวัญใจสายลับ, พยัคฆ์ร้าย 707, สิงห์สำอาง, The Champions (จำชื่อไทยไม่ได้) ฯลฯ  แม้ทีวีที่ดูจะเป็นขาวดำแต่ก็ยังให้บรรยากาศสดชื่นน่าไปเที่ยว  ตอนนั้นยังเด็ก  ความคิดความอ่านมีกระจิ๋วหลิว  คิดออกมาได้เท่านี้  ความจริงทุกที่ในสากลโลกก็เหมือนกันหมดคือมีทั้งที่สวยและไม่สวย  เมือง M ในภาพนี่เห็นแล้วหดหู่จัง  มีแต่ตึกเน่า ๆ  ท่าจะเป็นย่านสังคมของชนชั้นแรงงาน



เอามาให้ชมลังน้ำอัดลมทำด้วยไม้  เห็นแล้วโหยหาจัง



สาวในย่าน (ชั้นแรงงาน) ที่แอบหลงรักพระเอก  เห็นภาพแบบนี้ทีไรอดคิดไม่ได้ว่า ส้วมจะเป็นอย่างไรหนอ



นี่คือ Mainframe Computer ในปี 1968



สาวที่พระเอกปิ๊ง  เป็นลูกสาวของ Mr. & Mrs. Brown



การถ่ายหนังที่อังกฤษก็มีคนมุงเหมือนกัน



พระเอกกับ Mrs. Brown และลูกน้อยหอยสังข์


หนังยาวเกือบ 2 ชม.  แต่ผมใช้เวลาดูประมาณครึ่ง ชม. เศษ ๆ   ปกติ ณ ปัจจุบัน  หนังแนวนี้ผมไม่รบกวนกล้ามเนื้อนิ้วเพื่อ 'คลิก' แล้ว 'โหลด' มันมานั่งถ่างตาดูหรอก  แต่มันเป็น nostalgia ก็เลยดูเพื่อตอบสนองความโหยหา  ดูแล้วก็อดรำพึงในใจไม่ได้ว่า PN ไม่เห็นหล่อสมกับได้ชื่อว่าเป็นขวัญใจสาว ๆ ทั่วโลกเลย  หน้าตาจืด ๆ แถมหุ่นก็ไม่ดี  ปู่ CR ร่วมยุคดูดีกว่ามาก

หนังมีเพลงน่ารัก ๆ สอดแทรกอยู่ประปราย  นอกจากเพลงที่ใช้เป็นชื่อหนังแล้วยังมีเพลงดังอีกเพลงที่คุ้นหูพวกเรานักฟังเพลงฝรั่งมากกว่าคือ A Kind of Hush (2.55)  ส่วนเพลงเอกอยู่ที่ 9.16 

ฉากที่ออกเพลงนี้เป็น plot ที่ผมชอบมาก  คือให้ตัวละครมีชื่อ Mrs. Brown สองรายคือหมากับคน  แต่นึกไม่ถึงว่าเพลง Mrs. Brown ... นี้จะเกี่ยวกับหมา  เพราะลูกสาว Mrs. Brown ก็สวยน่ารัก  นึกว่าจะเกี่ยวกับฝั่งนี้  หลอกไปได้จนเกือบจบเรื่อง



ตัวอย่างหนัง  เพลงนำเรื่องเพลงนี้ก็เพราะ



มาพาดพิงถึงวงดนตรีคณะนี้ในบ้านเรา ความดังของพวกเขาไม่แพ้ที่อเมริกาหรืออังกฤษ  ขนาดในยุคนั้นเทคโนโลยีทางการสื่อสารยังหลับสนิทอยู่  แต่นักฟังเพลงฝรั่งบ้านเรารู้จักเพลงของพวกเขามากมาย  อย่างไรก็ตาม ผมไม่แน่ใจว่าเพลง Mrs. Brown ฯ นี้แม้จะดังที่สุดในอันดับเพลง BB  จะดังติดหูนักฟังเพลงฝรั่งชาวไทยรึเปล่า  แต่ A kind of hush นี่ดังแน่และดังอยู่นานกว่าที่ควรเพราะคณะ The Carpenters เอามาปลุกชีพให้ดังต่อไปอีกในเวลาต่อมา


ส่วนเพลงที่ฮิตสุดกู่มากกว่าเพลงอื่น ๆ แม้มันจะไม่ดังในอันดับเพลง BB เลยคือ



กับเพลงนี้  ที่มาดังเมื่อคณะ Wynners เอามาปลุกชีพ



หมายเหตุ - ถ้า PN ม่องเท่ง  ผมคงมีโอกาสเขียนถึงเพลงของวงนี้อีก... มากมาย

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 16 พ.ค. 23, 12:07

หนังชื่อ Supernova มี 2 เรื่องเรื่องแรกสร้างในปี 2000 เป็นหนัง sci-fi สั่นประสาทเกิดขึ้นในยานอวกาศ ก็สนุกดี

แต่ที่อยากพูดถึงเป็นหนังสร้างในปี 2020  เนื้อเรื่องต่างกันลิบลับ  เรื่องเล่าเกี่ยวกับคู่เกย์วัยสูงอายุ Sam กับ Tusker
 
S เป็นนักเปียโนที่มีชื่อเสียง ส่วน T เป็นนักเขียน

T กำลังป่วยด้วยโรคภาวะสมองเสื่อม (dementia … ถามอากู๋เอา  ถ้าผิดพลาดกรุณาไปด่าอากู๋)  ทั้งคู่ตัดสินใจเดินทางข้ามประเทศ (ท้องเรื่องเกิดขึ้นที่อังกฤษ) ไปยัง Lake District เพื่อไปฟื้นความหลังอันแสนโรแมนติกสมัยวัยหนุ่ม  แล้วก็ไปพบปะเพื่อนฝูงในละแวกด้วย  เป็นความตั้งใจอยากพักผ่อนก่อนที่ S จะกลับมาเปิด concert ที่ตั้งใจไว้ว่าจะเป็นงานครั้งสุดท้าย  หลังจากนั้นจะได้มีเวลาดูแลคู่ได้อย่างเต็มที่

ระหว่างเดินทาง T มีสมุดบันทึกที่ตั้งใจจะเอาไว้ร่างนิยายก่อนจะเอาลงพิมพ์เป็นเล่มในภายหน้า

ขณะอยู่บ้านเพื่อน  หลังจากกินอาหารเสร็จเพื่อน ๆ ก็ให้ทั้งคู่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ  มาถึงคิวของ T อาการผิดปกติก็เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  จู่ ๆ เขาก็มีปัญหาในการอ่าน  แม้จะเป็นโน้ตสั้น ๆ ที่ตัวเองร่างไว้

S เอะใจจึงแอบกลับไปที่รถแล้วค้นสมุดโน้ตของ T ที่อ้างว่าเอาไว้ร่างนิยาย  พอเปิดดูก็พบว่า  สิ่งที่ T เขียนนั้นมองไม่เป็นตัวหนังสือเลย  นอกจากนี้ S ยังค้นพบยาพิษที่ T แอบซ่อนไว้  จากสิ่งที่พบที่เห็น S ก็เดาความตั้งใจของ T ได้อย่างคร่าว ๆ  2 คู่รักเลยมีปากเสียงกันในคืนนั้น  ความก็เฉลยออกมาว่า T ตั้งใจจะฆ่าตัวตายถ้าอาการของตนกำเริบไปถึงจุดวิกฤติ  ซึ่งก็คือในวันสองวันนี้เพราะอาการวิกฤติมาถึงแล้ว
 
ตอนท้ายของเรื่องเป็นดราม่าที่ทั้ง 2 พยายามชักจูงให้อีกฝ่ายพยายามเข้าใจตน  การแสดงของนักแสดงระดับ Oscar (ได้และได้ชิง) ทั้ง 2 ปะทะบทบาทกันอย่างถึงพริกถึงขิง  แต่จะลงเอยตามความต้องการของฝ่ายไหนต้องหาหนังมาดูเอาเองนะ

Clip ย่อยมีน้อยอย่างไม่น่าแปลกใจ

คู่สูงอายุไม่ว่าจะคู่ปกติหรือคู่เพศเดียวกันมักจะขบกัดกันเป็นเรื่องปกติ





ฉากเบา ๆ



ทั้ง 2 มาถึง Lake District สถานที่แห่งความทรงจำ



ไม่มีใครย่อย clip ครึ่งหลังของหนังเลย


ตัวอย่างหนัง


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 18 พ.ค. 23, 12:22

ในสมัยเด็ก ๆ จำได้ว่าหนังสือ SP ลงบทความเกี่ยวกับหนังยุโรปเรื่องหนึ่ง  อ้อ... ก่อนจะพล่ามต่อ  ขอชื่นชม (มิรู้วาย) กอง บก. ของหนังสือฯ ว่าช่างสรรหาข่าวบันเทิงแปลก ๆ มาแปลให้อ่าน เป็นข่าวที่ไม่สามารถหาอ่านจากหนังสือบันเทิงชื่ออื่นได้  เป็นต้นว่าข่าวคราวของหนังจากฝั่งยุโรป หนังยุโรปส่วนใหญ่จะมีการนำเสนอต่างจากหนังฮอลลีวู้ด เนื่องจากทุนสู้ไม่ได้จึงต้องเน้นที่การนำเสนอทางด้านอื่น
 
ผมรู้จักคำว่าหนังอาร์ตก็จาก SP นี้  ถ้าเป็นหนังอาร์ตก็ต้องมาจากฝั่งยุโรป  คนแปลเรื่องต้องมีความสนใจในหนังจากฝั่งยุโรปมาก  เขาจะแปลบทความมาให้ ‘ผม’ อ่านเนือง ๆ  ในยุคนั้นความรู้เรื่องหนัง (และเพลง) ของผมขยายกว้างกว่าชาวบ้านก็จากนักแปลท่าน (หรือ กลุ่ม) นี้  ไม่รู้ว่าชื่ออะไรกันบ้าง  แม้แต่นามปากกาก็ไม่มีลงไว้  รู้ว่าเป็นคุณกิตติศักดิ์ ฯ หรือ ทิวลิบ คนหนึ่งละ

ชื่อเหล่านี้ผ่านตาผมมาตั้งแต่เด็ก ๆ โน่น Dominique Sandra, Pia Degermark, Liv Ullman, Francois Truffaut, Ingmar Bergman, Federico Fellini ฯลฯ  อ่านเรื่องเหล่านี้แล้วเมื่อไม่สามารถต่อยอดได้  มันก็เข้าไปอยู่ในความทรงจำ  ลึกบ้างตื้นบ้าง  ต่อมาเมื่อ Wikiฯ เจริญพันธุ์ผมก็ดึงมันออกมาจากหีบความทรงจำ  เอาไปค้นหาเรื่องราวต่อยอดได้อย่างสนุกสนาน

กลับมาที่หนังเรื่องที่ว่า  ความที่อ่านมานานร่วม 50 ปี  จึงมีความทรงจำเหลืออยู่น้อยมาก  และหนังก็ไม่มาฉายที่บ้านเรา  หรือถ้าจะฉายก็คงที่สมาคม AUA  ฉะนั้นจึงไม่มีอะไรมาเหนี่ยวรั้งให้ความทรงจำนี้กระเถิบหายกลายเป็นความลืม  ผมจำได้แต่ว่าชื่อเรื่องเกี่ยวกับเมือง Venice  และส่วนที่ไม่เคยลืมคือข่าวฮือฮาเกี่ยวกับเด็กผู้ชายในเรื่องที่ได้รับการยอมรับในขณะนั้นว่ามีใบหน้าที่สวยมาก ๆ  ตอนนี้อย่าว่าแต่สวยอย่างไรเลย  แค่หน้าตายังไงก็นึกไม่ออก

อีกหลาย 10 ปีต่อมา  ถึงตอนที่ผมรับทีวี I/UBC แล้ว  วันหนึ่งขณะนั่งขีดชื่อหนังที่อยากดูในคู่มือประจำเดือน  ตาก็กวาดมาเห็นชื่อ Death in Venice  ความทรงจำที่ไม่ค่อยจะมีเกี่ยวกับหนังเรื่องที่เอ่ยถึงก็ผุดขึ้นมาพลอมแพลม  ตอนนั้นผมมีปูมเกี่ยวกับหนังของ Leonard Maltin แล้ว  ก็เอามาปรึกษาแต่ก็ไม่ได้ข้อมูลอะไรมากมายเพียงแต่รู้เรื่องย่อสั้น ๆ กับการให้ดาวถึง 3 ดาวครึ่งจาก 4 ดาว ด้วยความอยากรู้อยากเห็นอันเป็นกมลสันดานเดิม  ผมก็ขีดเอาไว้กันลืม

ครั้นเมื่อได้ดูแล้วก็ปรากฏว่าเป็นหนังเรื่องนี้นี่เอง  แต่ตอนนั้น อตน. ยังไม่ปีกหล้าขาแข็ง  Wikiฯ คลอดแล้วยังก็จำไม่ได้  แต่ผมก็ได้ความรู้ขึ้นมาอีกหน่อยคือชื่อหนัง  และชื่อนักแสดงเด็กชายหน้าสวยคือ Bjorn Andresen
  
หนังที่ว่าเล่าถึงชีวิตในบั้นปลายของนักประพันธ์เพลงนาม Gustav von Aschenbach ที่กำลังป่วยหนักด้วยโรคหัวใจ  เขาเดินทางมา Venice เพื่อพักผ่อนแต่แล้วกลับไปพบเด็กผู้ชายคนหนึ่งชื่อ Tadzio  ความสวยของเด็กคนนี้ทำให้นักประพันธ์สูงวัยถึงกับตะลึงและลุ่มหลง

หนังเดินเรื่องอืดอาดแต่นักแสดง BA เป็นเด็กชายที่หน้าสวยจริง ๆ  สวยแบบผู้หญิงต้องชิดซ้าย



ฉากสุดท้ายของเรื่อง



นี่คือตัวอย่างหนัง



มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 19 พ.ค. 23, 12:20

ต่อ...

ดูหนังจบแบบง่วง ๆ  เป็นการบอกความนัยว่า  ดูหนังอาร์ตไม่เป็น  แต่ก็ได้เห็นเด็กผู้ชายที่ครั้งหนึ่งเคยโด่งดังไปครึ่งค่อนโลกว่าหน้าสวยที่สุดในโลก  แล้วก็อยากอ่านประวัติของเด็กคนนี้ว่าตอนนี้เป็นอย่างไรแต่ก็หาไม่ได้เพราะเหตุดังกล่าวข้างต้น สรุปแล้วในที่สุดผมก็ลืม

เวลาผ่านไปอีกหลาย 10 ปีจนเมื่อวานนี้ (นับจากวันที่เขียน) ขณะนั่งไล่หนังที่คนใจดีเอามาลงให้ดูดไปดู  ผมก็เจอหนังสารคดีชื่อ ‘The most beautiful boy in the world’ (2021)  ได้เห็นใบปิดโฆษณาและได้อ่านโปรยเรื่องย่อของสารคดีว่า...
 
In 1971, due to the world premiere of Death in Venice, Italian director Luchino Visconti proclaimed his Tadzio as the world's most beautiful boy. 50 years later, that shadow still weighs upon Björn Andresen's life.


อ่านเพียงแค่นี้ก็เดาได้ไม่ยากว่าอนาคตของเด็กคนนี้เป็นอย่างไร  อย่างไรก็ตามผมก็ดูดขึ้นมาดูโดยไม่รอช้า

สารคดีเรื่องนี้ออกฉายครั้งแรกในงานเทศกาลหนัง Sundance ประจำปีและได้รับการสรรเสริญโดยถ้วนทั่ว  ส่วนสมญานาม "The most beautiful boy in the world" นั้นได้มาจากงานเทศกาลหนังเมือง Cannes  จากสื่อทุกชนิดที่พร้อมใจกันตั้งขึ้นให้กับเขา
 
จากการดูผสมกับอ่านข้อมูลจาก Wikiฯ เป็นการเสริมความรู้พบว่า  ทุกคนที่ได้ดู BA จากบทในหนังเรื่องนี้ต่างมั่นใจว่า เขาต้องเป็นเกย์เพราะมีหลาย ๆ ฉากสื่อไปทางนั้น  ซึ่งเรื่องนี้ BA ออกข่าวปฏิเสธเป็นพัลวันว่าเขาเป็นชายแท้  และหลีกเลี่ยงบทหนุ่มเกย์ที่มีผู้สร้างหนังนำเสนอให้พิจารณาในเวลาต่อมามากมาย

ส่วนบทความนี้น่าสนใจ  อ่านต้นฉบับจาก Wikiฯ นะ  ขี้เกียจแปล  ไม่มีสมาธิมากพอ...

After the release of Death in Venice, Andrésen spent an extended period of time in Japan and appeared in a number of television commercials and also recorded several pop songs. It is said that his appearance as Tadzio in the film influenced many Japanese anime artists (known for their depictions of young, beautiful men known as "Bishōnen"), especially Keiko Takemiya. Andrésen has had a strong liking for Japan since then and has visited the country again over the years. Björn Andrésen's arrival in Tokyo has been described as being similar to the Beatles landing in the U.S. The young actor was met with mass hysteria and received an enormous amount of female attention.


Clip นี้เผยเบื้องหลังการเสาะหาหนุ่มน้อยหน้าสวย



Clip เสริม





[ข้อมูลบอกว่า BA ปล่อยตัวโทรมเนื่องจากหมดอาลัยตายอยากหลังจากลูกชายเสียชีวิตหลังจากเกิดได้ 9 เดือน (ไม่ได้บอกว่าเด็กเกิดเมื่อไร)  ปัจจุบันเขามีหลานแล้ว 2 คน]


ตัวอย่างสารคดี



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 19 พ.ค. 23, 13:18

ดูเท่าไรก็ไม่เห็นเค้าเด็กชายที่สวยที่สุดในโลก ในตัวคุณปู่หนวดยาวผมยาว หน้าตาทรุดโทรมคนนั้น

ได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วค่ะ  จะเป็นการตีความของผู้กำกับ  หรือเอามาจากนิยายก็ไม่ทราบ   แต่ดูแล้วขนลุก   
มันเหมือนพวก pedophile  กำลังเล็งตาเป็นมันไปที่เด็กชายคนนี้
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 22 พ.ค. 23, 11:53

ดูเท่าไรก็ไม่เห็นเค้าเด็กชายที่สวยที่สุดในโลก ในตัวคุณปู่หนวดยาวผมยาว หน้าตาทรุดโทรมคนนั้น



บ้านเราก็มีครับ นึกถึงสมัยรุ่น ๆ มีโฆษณาธนาคารยี่ห้อหนึ่งใช้เด็กน้อยเป็นตัวนำเรื่อง  slogan ว่า 'คุณคือลูกค้ารายใหญ่'  พ่อหนูหน้าตาหล่อมาก  จำได้ว่าเป็นที่ฮือฮา
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 22 พ.ค. 23, 12:36

Written in the wind (1956) เป็นหนังดราม่าน้ำเน่าที่เหล่านักวิจารณ์เทคะแนนให้คนละ 3-4 ดาว 




ตัวเอกของเรื่องมี 2 คนเป็นพี่น้องทายาทมหาเศรษฐีอุตสาหกรรมน้ำมัน 

คนพี่เป็น playboy ขี้เหล้าหยำเป (เล่นโดย Robert Stack) พาผู้หญิงที่ถูกใจขึ้นเตียงเป็นว่าเล่น  จนกระทั่งมาถึงช่วงเวลาในหนังเมื่อเธอพบเลขาฯ (เล่นโดย Lauren Bacall) ที่ทำงานใน บ. พ่อของตัวเอง  โดยการแนะนำของเพื่อนสนิท (เล่นโดย Rock Hudson)   เหตุการณ์ดำเนินไปตามรูปรอยเดิม  แต่สาวคนนี้ไม่ตกหลุม  ทำให้ชนะใจหนุ่ม playboy ในที่สุดก็ย้อนกลับมาเอาชนะใจสาวได้มาเป็นเมีย

ย้ายไปที่คนน้องเป็นสาวสวยรวยเสน่ห์ (เล่นโดย Dorothy Malone) ที่แอบหลงรักเพื่อนสนิทของพี่ชายคนนี้ แต่หนุ่มไม่เล่นด้วยเพราะเป็นเกย์  เอ้ย... ไม่ใช่  เพราะบุคลิกเด่นโดดหล่อนคือสาวร่านพล่านสวาท  ใครเอาไปก็บ้าแล้ว  สาวเจ้าน้อยใจก็เลย ‘สลีพอะราวด์’ คาวไม่เลือกแก้เซ็ง  จิ๊กโกโล่  เด็กปั๊ม  ผัวชาวบ้าน ฯลฯ กรุณาหยิบบัตรคิวเพื่อความเป็นระเบียบ




เมื่อพี่ชายพาเมียเข้าบ้าน  น้องสาวสุดแสบก็เข้ามาป่วนด้วยความอิจฉา  พี่ชายอยากมีลูกแต่หมอบอกว่าเชื้ออ่อน  เธอไม่กล้าบอกใครเพราะเสียเชิงชายเลยหันไปเมาแก้กลุ้ม  ปล่อยให้เมียงุนงงอสงไขย ‘แม่งเป็น ‘ไร ของมันวะ  ป้อจนกูตกหลุมแล้วเสือกไม่ขี่กู  แถมยังทำหน้าเป็นส้นตีนทั้งวัน’ 

เมียเอะใจวิ่งไปถามหมอ  ก็ได้คำตอบเฉลยปัญหา  แต่หมอแถมด้วยโบนัสว่า  อนึ่งไซร้ ถ้าจะเป็น ‘false alarm’ เพราะตรวจได้ว่าเมีย (เสือก) ตั้งท้อง

เมียโกยสี่ตีนหน้าบานเหมือนจานใส่หอยทอดกลับมาบอกข่าวดีกับผัวแก้วว่า  ชัดช้า... ผัวขา  น้องท้องแล้ว  ผัวเป็นอึ้ง  มันเป็นไปได้อย่างไร  เอ็งท้องกะใคร  นังน้องสาวสุดแสบได้โอกาสจีบปากแหลมแล่บเข้าไปในรูหูพี่ชายสุดที่รักว่า  ‘ก็ท้องกับเพื่อนรักของคุณพี่ไงคะ  เวลาส่องกระจกคุณพี่ไม่เห็น ‘เขาโง้ง’ บนหัวกระโหลกหนา ๆ ของคุณพี่บ้างหรือไรคะ’ 

พี่ชายฉุนขาด  เมียข้าคือนางกากีแห่งยูไนเต็ด สเตท ออฟ อเมริกา  สรุปได้ดังนั้นจึงบรรจงตบไปซะ 2 ฉาด  เมียรักสลักจิตล้มกลิ้งแท้งลูกเป็นการประชด




ฝ่ายเพื่อนรักเผอิญไปปั้นจิ้มปั้นเจ๋ออยู่ในคฤหาสน์ได้ยินเสียงเอะอะก็รีบเข้ามาห้ามทัพพร้อมกับกล่าวขู่ฟอด ๆ  ตบท้ายด้วยการประกาศกร้าวว่า คนอย่างข้า  ไม่เคยทำเมียใครท้อง  เพราะข้าเป็นเกย์  เอ้ย ... เอาอีกละ… เพราะข้าเป็นสุภาพบุรุษ

พี่ชาย playboy ไม่ฟังเสียง  พุ่งหลาวลงสู่ชั้นล่างไปคว้าเอาปืนมายิง  นังน้องสาวสุดร่านเห็นท่าไม่ดี  กลัวชายในดวงใจตาย  เลยกระโดดเข้ายื้อแย่งปืน  ปืนลั่นเปรี้ยง  พี่ชาย playboy ทำหน้าเหมือนควายโดนตบด้วยเขียง  ก่อนล้มหงายท้องชักกระแด็ก ๆ

เพราะความเป็นคนดังในสังคม  งานนี้ถึงขั้นขึ้นศาลว่าทายาทมหาเศรษฐีตายเพราะใคร  เนื่องจากคนที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์แต่ไม่เห็นเหตุการณ์กับตาต่างก็บอกเหมือนกันว่า  ได้ยินเพื่อนพี่ชาย playboy กล่าวขู่อาฆาตชีวิตเสียงดังลั่นอาณาจักร  นังน้องสาวพราวเล่ห์เหลี่ยมเห็นเป็นโอกาสดี  opportunity knocks ก๊อก ๆ ที่จะรวบหัวรวบหางเอาทำผัวให้มันรู้แล้วรู้แรด  ก็เลยไป blackmail ชายหนุ่มว่า  ถ้าเอ็งไม่ขึ้นเตียงมาขี่กับข้า  ข้าจะฟ้องศาลว่าเอ็งเป็นคนยิง ฮ่า ๆ

แต่แล้วธรรมะย่อมชนะอธรรม  พันธุกรรมฟากความดียังมีหลงเหลืออยู่บ้าง  เจ้าหล่อนก็ทำไม่ลง  และสารภาพไปว่าปืนลั่น  คดีก็จบ  เหยื่อที่อุตส่าห์ตามไล่ล่อมาตั้งแต่เด็กหลุดลอยไปเข้าสู่อ้อมแขนเมียหม้ายผัวหน้าโง่  สาวสวยรวยคาวเลยหน้าจืดต้องยึด ‘เสาแท่นเจาะน้ำมัน’ ปลายแหลมไว้เป็นสรณะไม่ยอมปล่อย




โจบ

มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 24 พ.ค. 23, 13:10

ดูหนังจบแล้วนึกถึงหนังทีวีชุด Dallas หรือ Dynasty  ที่ท่าจะเอาไอเดียมาจากหนังเรื่องนี้

รังสำหรับไว้เผด็จศึกสาวของพี่ชาย playboy

(... นึกแล้วเชียว...)


น้องสาวเข้ามาป่วนพี่สะใภ้แต่โดนตีแสกหน้ากลับไป (เหตุการณ์ก่อนหน้า clip นี้  น้องสาวเข้ามากวนตีนว่า ที่พี่ชายแต่งงานกับหล่อนเนี่ย  ได้รับความยินยอมจากชั้นแล้วนะยะ)



ยั่วยวนสุดใจขาดดิ้น  เสียดายไม่มีใครย่อย clip ช่วงนางเต้นรำยั่ว



ถ้าผมมีน้องสาวแบบนี้  ต้องตบซัก 30 ฉาดตามด้วยถีบอีก 1 ที

(1.30 – ‘Cause I’ve never had him. Your wife has him … ฉาดดดด)


หลังจากปั่นหัวผู้ชมจนหนำใจแล้ว  เหล่านักแสดงนำออกมาเริงร่า เอิ๊ก ๆ  (Robert Stack ในบท playboy โดนยิงตายไปแล้ว  ออกมาเริงร่าไม่ได้)



ผมไปหาหนังฟรีมาให้ชม DM เต้นรำ  (ไม่รู้เปิดได้ป่าว  ตอนผมลองมันทำงานได้  web ฯ แบบนี้เอาแน่นอนไม่ได้)
https://m4uhd.tv/watch-movie-written-on-the-wind-1956-244918.html
44.40 – จังหวะ mambo  ยั่วยวนใจ


1.00.25 – จังหวะอะไรไม่รู้  ดูเหมือน ‘ดิ้น’ เลย



มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 25 พ.ค. 23, 12:07

เหตุผลที่ผมดูหนังเรื่องนี้คือ Dorothy Malone  ผมเคยเห็นเธอครั้งแรกจากบท คุณนายแม็คเคนซี แม่ผู้แสนดีของ Allison M. (เล่นโดย Mia Farrow) ในหนังทีวีชุด Peyton Place (1964-69)  ผมไม่เคยดูเธอเล่นเต็ม ๆ ฉากสักครั้งเพราะหนังมาฉายในยามดึก  รู้สึกจะ 3 ทุ่มทางช่อง 4  ส่วนใหญ่จะเห็นแค่หน้าเธอในช่วง opening credit  หรือตอนเธอปรากฏตัวในช่วงต้นเรื่อง  ใครจะไปสนุกกับหนังได้ในเมื่อมีแม่หรือคุณยายถือไม้เรียวไล่ให้เข้านอนอยู่ข้าง ๆ




อย่างไรก็ตามแค่เห็นหน้าเพียงแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ  ผมว่าเธอสวยเตะตา  แต่พอมาเห็นเธอในหนังเรื่องนี้  ในบทสุดแสบแทบกระโดดพุ่งทะลุจอเข้าไปตบไม่เลี้ยงแล้วเกิดความรู้สึกรับไม่ค่อยได้  และผมว่าตอนแก่เธอสวยกว่าตอนสาว ๆ




อีกคนก็ Rock Hudson  ผมเคยดูหนังที่เธอเล่นมา 3-4 เรื่อง  Giant, A farewell to arms กับอะไรอีกหว่า อ้อ... Pillow Talk

ทุกเรื่องที่ดูอยู่ช่วงเวลาที่เธอกำลังรุ่งโรจน์  ซึ่งก็คือยังไม่มีใครเปิด ‘ประตูตู้เสื้อผ้า’ ของเธอออกให้คนชม  มาดูเรื่องนี้ด้วยความรู้ใหม่ว่าเธอเป็นเกย์  ดูไปก็พิจารณาไป  ผมว่าบุคลิกของเธอโคตรแมนเลย  ไม่มีใคร ‘แอค’ ได้แมนกว่านี้อีกแล้วในโลกหล้า  แมนเกินกว่าจะยอมรับได้ว่าเธอชอบผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  ผมว่าเหมือนกับบอกว่า Paul Newman หรือ Warren Beatty เป็นเกย์อ้ะ  ใครฟังแล้วจะยอมรับทันทีว่า ‘เหรอ’  มีแต่ ‘เฮ้ย... เป็นไปม่ายด้ายยย’

ส่วน Lauren Bacall เป็นดารา/นักแสดงที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในยุคทองของฮอลลีวู้ด  เธอมีอายุยืนยาวมาจนถึง 2014  (เกิด 1924) นับเป็นดาราดังในยุคทองคนท้าย ๆ ที่มาตายเอาในยุคปัจจุบัน  ในยุครุ่งเรืองเครื่องหมายการค้าของเธอคือเสียงต่ำ ๆ ที่สุดจะเซ็กซี่ (เริ่มต้นด้วยการฝึกฝนจนกลายเป็นธรรมชาติไปเลย)



เธอเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar 1 ครั้งในปี 1997  แต่พลาด  แล้วมาได้ Oscar เกียรติยศในปี 2009-10



คู่ชีวิตของเธอเป็นอีกหนึ่งดารายักษ์ชื่อ Humphrey Bogart  ทั้ง 2 เจอกันในหนังเมื่อ HB อายุ 42 ส่วน LB อายุ 19  และแต่งงานอยู่กินกันจนฝ่ายชายตายจากไปเมื่อปี 1957



ส่วน Robert Stack ในบท playboy ไม่มีเกร็ดอะไรจะคุยเพราะไม่รู้จักมักจี่  เคยได้ยินแต่ชื่อเห็นแค่หน้าในรูป

ในหนังตัวแสดงหลักคือสองพี่น้องแสบสันต์  แต่ใน credit เปิดเรื่อง  ชื่อของทั้ง 2 มารองจาก RH และ LB  ในการเข้าชิง Oscar ทั้ง 2 ก็เข้าชิงในบทประกอบ  แต่ DM ได้คนเดียว

ตัวอย่างหนัง



มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 26 พ.ค. 23, 12:31

ควันหลงนิดหน่อยเพราะเรื่องนี้คงไม่มีหัวข้อของตัวเอง...

Humphrey Bogart เล่นหนังดังเป็นอมตะเรื่องหนึ่งคือ Casablanca (1942)  นอกจากหนังดังแล้วบทที่เธอเล่นก็ดังด้วย  จากประโยคที่ว่า “Here’s looking at you kid…” – (1.50)

(“Here's looking at you, kid", was voted as the #5 movie quote by the American Film Institute, and as #1 of "The 100 Greatest Movie Lines" by Premiere in 2007)


รวมถึงประโยคนี้ “Play it again, Sam” อันนำมาซึ่งเพลงดัง “As time goes by”

(Ingrid Bergman สวยบาดใจ)

เบื้องหลังของคำพูดนี้... What Bergman actually said was 'Play it once, Sam. For old times' sake', though, when Sam pretended not to know what she was talking about, Miss Ilsa did go on to say: 'Play it, Sam! Play "As Time Goes By".


มันเป็นหนังในดวงใจของคนอเมริกัน  ในปี 1982 มีนักร้องระดับเล็ก ๆ แต่งและร้องเพลง Casablanca  เพลงนี้ไม่ใช่ single  คนอเมริกันในตอนนั้นที่ไม่ได้ซื้อแผ่นเสียงของเขาจึงไม่รู้จักแต่วิทยุบ้านเราเปิดกันกระหึ่ม (โดยมีน้อยคนที่จะรู้ที่มาที่ไปของชื่อเพลง)



ผมไม่เคยดูหนังเรื่องนี้  แล้วก็คงไม่ดู  เพราะแก่แล้ว  จะไปยี่หระอะไรกับหนังโรแมนติก  ด้วยอายุปูนนี้ชอบดูว่าโลงแบบไหนที่ตัวเองอยากลงไปนอนมากกว่า  

จำได้ว่าตอนรู้จัก ซี้คลาสสิค  เธอถามถึงหนังเรื่องนี้  พอรู้ว่าผมไม่เคยดู  เธอทำหน้าตกใจแบบที่เห็นฝรั่งทำหน้าตกใจในหนัง... ตาถลน อ้าปากบ๋อ  ผมต้องเตือนสติเธอว่า ฉันมาจากฝั่งตะวันออกนะแก ฉันดูแผลเก่า

อีกเรื่องที่จัดเข้าเป็นวัฒนธรรมของคนอเมริกันคือ It’s wonderful life (1946)  เรื่องเกี่ยวกับเทศกาล Christmas  เรื่องนี้ผมก็ไม่เคยดู  ความจริงดูแต่หลับไปตั้งแต่ต้น ๆ เรื่อง  

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 27 พ.ค. 23, 10:11

มาคั่นโปรแกรมด้วยฉากเบาๆจากหนังเพลงในอดีตของฮอลลีวู้ดค่ะ
ดาราบางคนก็อำลาเวทีไปก่อนสมาชิกเรือนไทยเกิด   เป็นโอกาสดีที่จะได้เห็นเมื่อยูทูปรวบรวมลีลาการเต้นของเขาและเธอมาให้ดูกัน
ทำให้นึกถึงวันก่อนของวันวาน ที่ดาราจะต้องสวย หล่อ ร้องเล่นเต้นรำได้ครบเครื่องราวกับมนุษย์มหัศจรรย์  ถึงจะฉายแสงบนเวทีฮอลลีวู้ดได้สำเร็จ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 27 พ.ค. 23, 10:12

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 29 พ.ค. 23, 12:22

มาคั่นโปรแกรมด้วยฉากเบาๆจากหนังเพลงในอดีตของฮอลลีวู้ดค่ะ
ดาราบางคนก็อำลาเวทีไปก่อนสมาชิกเรือนไทยเกิด   เป็นโอกาสดีที่จะได้เห็นเมื่อยูทูปรวบรวมลีลาการเต้นของเขาและเธอมาให้ดูกัน
ทำให้นึกถึงวันก่อนของวันวาน ที่ดาราจะต้องสวย หล่อ ร้องเล่นเต้นรำได้ครบเครื่องราวกับมนุษย์มหัศจรรย์  ถึงจะฉายแสงบนเวทีฮอลลีวู้ดได้สำเร็จ


นึกถึงศิลปินช่อง 4 ครับ  เป็นได้หมดตั้งแต่พิธีกร  เสนอโฆษณาสินค้า  ร้องรำทำเพลง  แสดงโน่นนี่
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 29 พ.ค. 23, 12:37

ในปี 2017 ขณะที่สาวกหนังฝรั่งชาวเกย์ต่างตื่นเต้นและรอคอยการมาฉายของหนังดังสุดขีดประจำปีที่ชื่อ Call me by your name  ในปีนั้นยังมีหนังเกย์ชั้นดีอีกเรื่องเข้าฉายแต่โดนความดังของหนัง CMBYN กลบเสียมิด  

มันเป็นหนังจากเกาะอังกฤษชื่อ God’s own country  หนังเล่าเรื่องเด็กหนุ่มชาวเกย์เก็บกดอาศัยอยู่ในถิ่น ตจว. ย่าน Yorkshire  ครอบครัวของเธอมีฟาร์มแกะ  ความที่ถิ่นนี้ห่างไกลความศิวิไลซ์เลยทำให้พ่อหนุ่มกลายเป็นคนดิบ ๆ ห่าม ๆ ที่ไม่มีความรับผิดชอบสักเท่าไร วัน ๆ ก็ช่วยพ่อเลี้ยงแกะแบบขอไปที  พอ ‘หงี่’ ๆ ก็เข้าเมืองไปหาเหยื่อมาช่วยปลดปล่อยในห้องน้ำตามบาร์

เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์แกะ  ครอบครัวนี้ต้องหาคนมาช่วย  ปีนั้นคนที่หาได้เป็นเด็กหนุ่มลี้ภัยมาจาก Romania  เด็กหนุ่มคนนี้เรียบร้อยและมีอารมณ์สุนทรีย์  เมื่อ 2 หนุ่มบุคลิกต่างกันโดยสิ้นเชิงมาเจอกันย่อมเกิดผลตามมา

หนังเรื่องนี้อัตคัด clip ย่อยที่ให้เสียงตามธรรมชาติ  ส่วนใหญ่จะสอดแทรกเพลงที่คิดว่าเป็นการเสริมบรรยากาศ

คน 2 คนไม่รู้จักกันมาก่อนก็ต้องมีการสงวนท่าที  



การใกล้ชิดกันท่ามกลางความเหงา  คนหนึ่งห่ามอีกคนหนึ่งนุ่มนวล  จะเกิดอะไรขึ้น (ภาษาใน clip ไม่ใช่ภาษาต้นฉบับ)



ในที่สุด  เสือย่อมไม่ทิ้งลาย  หนุ่มห่ามที่อุดมไปด้วยทิฐิมานะไม่สามารถละทิ้งสันดานดิบของตัวเองได้  หนุ่มนุ่มนวลจึงหนีจาก  เมื่อวันนั้นมาถึงหนุ่มห่ามถึงได้รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองต้องการคืออะไร  และมันต้องแลกด้วยการปรับตัว (อย่างถาวร)  เป็นการเสียสละเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่มีค่า

(3.40 ประโยค ‘You’re a freak’ ‘So are you’ ‘Faggot’ ‘Fuck off’ เป็นคำพูดที่ทั้ง 2 เคยปะทะกันในตอนแรก ๆ อันนำไปสู่ความใกล้ชิด  การที่ประโยคที่เคยใช้ปะทะกันตอนแรกเริ่มเกิดขึ้นอีกในฉากนี้อันเป็นฉากช่วงท้ายเรื่อง แสดงว่า  บรรยากาศคลายความตึงเครียดแล้ว)

clip ย่อยช่วงนี้มีคนเอามาลงมากมาย  ทั้งแนบเพลงบ้าบอทั้งปล่อยตามธรรมชาติ (clip นี้  เจ้าของทำเพลง background ใหม่  แต่ลากยาวอย่างเต็มอิ่ม  ยังพอถูไถ) แสดงว่าทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่ามันเป็น highlight ของหนัง   ภาษาที่พูดแม้จะเป็นภาษาอังกฤษแต่แม่เจ้า  ฟังยากชะมัด   เกาะอังกฤษมีอาณาเขตไม่ใหญ่แต่ภาษาพูดมีสำเนียงหลากหลาย  ผมเคยถามเจ้าถิ่นทาง Scotland  เธอบอกว่าบางครั้งก็ฟังภาษาทาง Liverpool แทบไม่ออก  

มีคนทำ clip เล่าเรื่องย่อของหนัง (ผู้หญิงสูงอายุคือ ยาย/ย่า  ซึ่งเข้าใจอารมณ์ของหลานชายเป็นอย่างดี  ผู้ชายสูงอายุคือพ่อที่เป็นผู้ชายหัวโบราณ  ตอนหลังป่วยไม่สามารถทำงานได้)



ตัวอย่างหนัง



มีคนใจดีนำหนังฉบับเต็มมาให้ดู


หมายเหตุ – วลี God’s own country มีความหมายตรงตัว  ใช้เจาะจงได้หลายสถานที่ในโลก  แต่ที่อังกฤษซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องนี้  GOC หมายถึง มณฑล Yorkshire  

มีอยู่คำหนึ่งที่ได้ยินบ่อยมากในหนังคือ summat  แน่นอนไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร  พอถามอากู๋ก็ได้คำตอบว่าเป็นคำท้องถิ่นหมายถึง something ใช้เป็นคำสร้อย  ถ้าเป็นคำไทยก็น่าจะใกล้เคียงกับ ชั้นถูบ้านแล้วก็ ‘โน่นนี่นั่น’

ผมดูหนังเรื่องนี้ในปีนั้น (แต่เพิ่งมานึกได้ภายหลัง)  หนังทั้งสองเรื่องสนุกไม่แพ้กัน  ผมว่าเรื่องนี้เป็นหนังดราม่าที่หนักและเข้มข้นกว่า

ขณะที่บรรยากาศตามท้องเรื่องของหนัง CMBYN ดูสว่างสดใสโปร่งตา  แต่หนังเรื่องนี้ดูเย็นยะเยือก  ถ้าให้ไปอยู่ขอสั่นหัว  มันต้องหนาวจับจิต  ตอนยังไม่เปิดกว้าง  ผมชอบบ่นว่าบ้านเราร้อนสุดโคตร  อยากย้ายไปอยู่เมืองหนาวท่าจะสบาย  มาวันหนึ่งผมได้ไปที่ Boston อเมริกา  ตอนนั้นคือ เดือน พ.ค.  ถ้าเป็นบ้านเราก็กำลังร้อนแทบคลั่ง

แต่ที่ B กลับหนาวมาก  บนท้องฟ้าไม่มีเมฆแม้แต่ก้อนเดียว  เป็นฟ้าสีเข้มที่สวย  มีพระอาทิตย์ดวงโตแผดแสงกล้าเป็นใหญ่อยู่แต่ผู้เดียว  ซึ่งตามทฤษฎีแล้วมันควรจะร้อนหรืออย่างน้อยก็อบอุ่น  แต่เปล่าเลย  อากาศหนาวจนผมต้องกระโดดโหยง ๆ  เพื่อนถามว่าแกโดนผีเข้าเหรอ  นี่ขนาดอยู่กลางแจ้งท่ามกลางแสงแดดแผดเผาและตอนนั้นยังไม่มีลม  ยังไม่สามารถไล่ความหนาวได้  แล้วจะให้ไปอยู่ที่ไหน
  
เมื่อกลับเข้าบ้าน  เพื่อนรีบเปิด  heater ในบ้าน  พออบอุ่นไปได้แป๊บ  ก็เริ่มร้อน  มันจะร้อนที่ส่วนปลายของร่างกาย  พวกหู ปลายจมูก ตามนิ้ว  มันร้อนแบบอึดอัด  หายใจก็ไม่สะดวกเหมือนอากาศมันบางเบา  เพื่อนต้องปิดบ้างเปิดบ้างสลับกัน  

เวลาล้างจาน  ล้างด้วยน้ำปกติไม่ได้เพราะน้ำเย็นยะเยือกจนมือชาแล้วก็แตกเลือดซิบ  ต้องสวมถุงมือ  ถ้าเปิดก๊อกน้ำร้อนช่วยก็ต้องต้องสวมถุงมืออยู่ดี  ไม่งั้นผิวทนน้ำร้อนบ้างเย็นบ้างไม่ได้  ล้างตีนก็ไม่ได้  ตีนแตกอีก  เมื่อถึงเวลาอาบน้ำ  ต้องเปิดน้ำร้อนและน้ำเย็นผสมกัน  กว่าจะปรับได้ที่ผิวแสบร้อนไปหมด  ออกจากห้องน้ำตัวแดงแจ๋  วิ่งไปเอาครีมประคบ ๆ  นี่เป็นแค่ตัวอย่าง ยังไม่นับหน้าแตก  ปากแตก หนังหัวลอกหลังสระผม  และอื่น ๆ อีกมากมาย

ผมนึกถึงที่บ้านเรา  เดิน ๆ อยู่ถ้าร้อนก็หลบเข้าที่ร่มก็จบเรื่อง  ถ้ายังร้อนอยู่ก็อาบน้ำก็จบเรื่อง  และถ้ายังร้อนอยู่ก็เอาพัดโบกเข้าไป  หรือเปิดแอร์ก็จบเรื่อง  จะเปิดแอร์นานเท่าไรก็ไม่เกิดผลผิดปกติต่อร่างกาย  ถ้าอากาศเย็นเวลาอาบน้ำแค่เครื่องทำน้ำอุ่น (ไม่ใช่น้ำร้อน) ก็สดชื่นสบาย
 
แล้วผมก็สรุปได้ว่า  อยู่เมืองร้อนดีกว่าอยู่เมืองหนาว  หยุดเห่าไปเลย  เวลาได้ยินคนบ่นในทำนองนี้ผมจะยกตัวอย่างนี้ให้ฟังและย้ำว่า  สภาพอากาศบ้านเราเป็นแบบนี้ดีที่สุดจ้า

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.113 วินาที กับ 19 คำสั่ง