เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 18476 ฉากประทับใจในหนังเก่า (4)
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 19 เม.ย. 23, 13:44

แต่แล้วเมื่อมาถึงเมืองมรกตก็กลายเป็นหนังสีสวยสดใส  เป็นฉากที่ผมเห็นแล้วฝันเลยละ  อยากไปเที่ยวบ้าง  พอแก่แล้วดูอีกที  มันกลายเป็นเฉย ๆ

ประโยคที่ว่า "Toto, I have a feeling we're not in Kansas anymore." ได้รับการ vote เป็น famous line อันดับที่ 4 ของ American Film Institute ครั้งล่าสุดปี 2005



หมายเหตุ – รองเท้าคู่นี้ในหนังสือบรรยายว่าเป็นสีเงิน  แต่ทาง studio เห็นว่าเมื่อถ่ายเป็นหนังสี  ใช้สีแดงจะเด่นกว่า  มีคนให้ข้อมูลว่ารองเท้าคู่นี้มีการสั่งทำออกมา 7 คู่ 7 แบบ เพื่อพิจารณาว่าจะใช้คู่ไหน ปัจจุบันนี้ตามหาได้แค่ 5 คู่  อีก 2 หายสาบสูญไปแล้ว  คู่หนึ่งมีปลายงอนแบบรองเท้าอลาดิน (ออกแบบโดย Adrian) อยู่ในความครอบครองของ Debbie Reynolds  แต่ละคู่มีมูลค่า (ปี 1989) ประมาณ 1.5 ล้านดอลล่าร์  นับเป็นสิ่งสะสมจาก Hollywood ที่มีราคาแพงมากที่สุดในโลก


คู่ที่ใช้ในการถ่ายทำใส่ได้ไม่สบายเท้าอย่างมาก  JG ไม่สามารถใส่ได้ตลอดการถ่ายทำ  เธอจะใส่เฉพาะฉากที่เห็นรองเท้ากระจะตา  นอกนั้นเธอจะใส่ร้องเท้าธรรมดา  แต่คนตาดีแอบเห็นอย่างในฉากหลุดนี้




ในปี 1939 กรรมวิธีถ่ายทอดหนังออกมาเป็น Technicolor ยังไม่พัฒนา  ภาพที่ออกมาจะเห็น yellow brick road เป็นสีเขียวอยู่ร่ำไป  ต้องปรับอุปกรณ์กันหลายยก


มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 20 เม.ย. 23, 11:57


จากฉากนี้  ถ้ามองพุ่งไปที่ background ซึ่งเป็นป่า  จะเห็นเงาเป็นแท่งห้อยต่องแต่ง  นี่คือต้นกำเนิดเสียงลือกันว่าคือศพของนักแสดงที่เป็นคนแคระคนหนึ่งที่สวมบท munchkin เสียงลือหนาหูมานาน  ทางโรงถ่ายก็ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากออกข่าวแก้ไปว่า  ความจริงคือเงาของนกแผ่ปีกทำประหนึ่งสัตว์ประหลาดในท้องเรื่อง (ดูยังไงก็ไม่เห็นเหมือนแฮะ)

จนถึงปี 1998 เมื่อ technology พัฒนาขึ้น  ทางผู้ผลิตจึงนำต้นฉบับมาใช้ขบวนการทางคอมพิวเตอร์ลบรอยที่เปิดประเด็นแล้วใส่ภาพเงานกจริง ๆ ลงไปแทน ก่อนนำไปทำก๊อปปี้ขาย  อย่างไรก็ตามในช่วง 2000s ก็มีคนเอา footage ฉบับดั้งเดิมที่ไม่มีใครรู้ว่าหลงรอดจากการปรับมาได้อย่างไร  เอามาปล่อยใน youtube กระพือข่าวลือขึ้นมาอีก

ข่าวเล่าว่า  ช่วงการถ่ายทำ นักแสดงคนแคระเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติที่แย่มากจากทีมงานเพียงเพราะสรีระไม่ปกติเหมือนชาวบ้าน




ฉากที่หนู Dorothy ตบสิงโตขี้ขลาด (0.40) เบื้องหลังเล่าว่า Judy Garland ทำไม่ได้แนบเนียนเพราะเธออดหัวเราะคิกคักกับเหตุการณ์ในเรื่องไม่ได้  ผกก. จอมโหดชักยั้วะจึงลากเธอมานอกฉากแล้วอบรมจากนั้นแสดงให้ดูว่าต้องตบอย่างไรด้วยการตบหน้าเธอจริง ๆ  พอกลับมาเข้าฉาก  ผลออกมาว่า take เดียวเรียบร้อย
 
หลังจากการถ่ายทำผ่านไปแล้ว  ผกก. ก็รำพึงกับคนอื่น ๆ ว่ากลัวว่าตัวเองจะโหดจน JG งอน  ปรากฏว่าเปล่า JG แอบได้ยิน  เธอก็เดินมาจูบเขาที่จมูกและบอกว่าไม่ได้งอนจ้ะ  หนูแอบหลงรัก ผกก. มานานแล้ว

ในช่วงเริ่มต้นที่ (1.00) ระหว่างคำพูด ‘Of course not’ กับ ‘My Goodness…’ ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็น JG กำลังหักห้ามไม่ให้รอยยิ้มปรากฏในฉาก  เธอบอกว่าสิงโตตลกและน่ารักจนอดขำไม่ได้


มีต่อ...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 20 เม.ย. 23, 13:37

ไม่รู้ฉากแขวนคอ  อันไหนจริงอันไหนเท็จ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 21 เม.ย. 23, 12:01


ข่าวบอกว่าม้าสีลูกกวาด (เริ่มที่ 0.34) เหล่านี้  ทางโรงถ่ายใช้เยลลีสีนานาทาเคลือบซึ่งทำได้ยากมากเพราะ  ม้าหมั่นเลียเข้าท้องหมด  ต้องพยายามล่อไว้  พอทาเสร็จก็ต้องรีบถ่ายทำ



‘There is no place like home’ ได้รับการ vote เป็น famous line อันดับที่ 23 ของ American Film Institute ครั้งล่าสุดปี 2005


ครั้งแรกที่ออกฉาย หนัง WOZ ทำรายได้พอประมาณไม่ได้ดังเปรี้ยงปร้าง  เมื่อเทียบกับต้นทุนมหาศาลที่ลงไป (ในด้าน special effects เสียส่วนใหญ่) ผลก็คือ studio ผู้สร้างขาดทุนเกินล้านดอลล่าร์  นับว่าเป็นมูลค่ามหาศาลสำหรับค่าของเงินในยุคนั้น  ทำให้ผู้บริหารของ studio เวียนหัวกันถ้วนหน้า
 
Christopher Finch ผู้เขียนชีวประวัติของ Judy Garland กล่าวว่า  หนังแนว fantasy ไม่เป็นที่นิยมของคนในยุคนั้น  แล้ว special effects ยังไม่พัฒนาพอที่จะทำให้คนดูคล้อยตามได้  อีกทั้งในปีนั้นมีหนังฟอร์มยักษ์ใหญ่คือ Gone With the Wind ออกฉาย  คนเลยแห่ไปดูเรื่องนี้กันหมด  โชคดีที่ทั้ง 2 เรื่องมาจากค่ายเดียวกันคือ MGM  เรื่องก็เลยไม่หนักหนา

บนเวที Oscar หนัง WOZ ได้รับการเข้าชิงรางวัล 5 สาขา  (ไม่รวมรางวัลพิเศษในยุคนั้นคือ Academy Juvenile Award ที่มอบให้กับ JG)  สาขาที่หวังที่สุดคือ Best Effects นั้นพลาด  แต่ไปได้ 2 รางวัลในสาขาเพลงคือ เพลงร้องประกอบ (Over the rainbow) และเพลงบรรเลง  ซึ่งนักฟังเพลงในยุคนั้นพากันอ้าปากค้างเมื่อผลออกมาแบบนี้เพราะทุกคนคาดว่า เพลงบรรเลงประกอบหนังนั้น Theme from GWTH ของ Max Steiner ต้องนอนมาอย่างแน่นอน  ซึ่งก็น่าเห็นด้วยเพราะจนบัดนี้นักฟังเพลงทุกคนยังจำทำนอง Theme from GWTH ได้ดี  ในขณะที่Theme from WOZ นั้นหาคนนึกทำนองออกได้ยาก

อย่างไรก็ตามจากการนำมาออกฉายอย่างต่อเนื่องถึงในปัจจุบันก็สามารถทำให้หนังกลายเป็นหนังทำเงินและสร้างความคลาสสิกขึ้นได้ในที่สุด

หมายเหตุ - Famous line อันดับที่ 1 ของ American Film Institute คือ "Frankly, my dear, I don't give a damn." จาก Gone with the wind


ในปี 1985 Walt Disney Studio อาจหาญสร้างภาคต่อ (อย่างไม่เป็นทางการ) ของหนังโดยใช้ชื่อว่า Return to Oz หนังมีบรรยากาศน่ากลัวกว่าต้นฉบับและไม่สบอารมณ์นักวิจารณ์ 


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 21 เม.ย. 23, 12:35

เบื้องหน้าสิสดใส  เบื้องหลังไซร้ให้หดหู่ ขยิบตา

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 24 เม.ย. 23, 12:08

อีกหนึ่งสารคดีที่มีคนเอามาปล่อยให้ชม  ชมแล้วก็อยากเอามาคุย Mapplethorpe: Look at the pictures (2016)

ก่อนอื่น Mapplethorpe คือนามสกุล  ชื่อของเขาคือ Robert   RM เป็นศิลปินชาวอเมริกันสาขาการถ่ายภาพ  ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นสีขาวดำ  มีรูปแบบหลากหลาย  รูปแบบที่ส่งให้เธอมีชื่อเสียงคือภาพ portrait ของบรรดาศิลปิน  แต่ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของเขาคือภาพเกย์ชายในชุดหนังพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการร่วมประเวณีแบบวิตถาร นายแบบออกท่าออกทางอย่างถึงพริกถึงขิง

สารคดีเริ่มต้นด้วยอารัมภบทเล็กน้อยย้อนไปถึงสมัยที่ RM ยังเป็นเด็ก  พอโตขึ้นก็เหมือนวัยรุ่นชาวอเมริกันทั่วไปคือ  หาเงินใช้จ่ายเองด้วยการออกไปหางานทำ  ช่วงนี้เขามีแฟนสาวชื่อ Patti Smith  เธอเป็นศิลปินทั้งในด้านนักร้องนักแต่งเพลงรวมถึงบทประพันธ์ ฯลฯ

หมายเหตุ – ดูถึงตรงนี้ก็นึกได้ว่าเพลงของ PS เคยมากระจายเสียงทางวิทยุบ้านเราอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง (1978)  เท่าที่ผมได้ยินมีเพลงเดียว  เป็นเพลงร็อค  ตอนนั้นยังหน่อมแน้มผมว่าเพลงของเธอดุเดือดไป  แต่มาฟังตอนกร้านประสบการณ์กลับเป็นเพราะแฮะ



พอเข้าปี 1972 RM ก็ค้นพบตัวเองว่าเป็นเกย์และออกเดินทางบนเส้นทางใหม่นี้แบบโจ่งแจ้ง  อย่างไรก็ตามกับแฟนสาว PS ก็ยังคงเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันจนกระทั่งตายจากกัน  ช่วงนี้เองที่ RM ได้พบกับนักแสดงหนังโป๊ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกใต้ดินคือ Peter Berlin




RM หลงไหลในสรีระของ PB  อันเป็นจุดเริ่มต้นให้ตัวเองสามารถค้นพบทางเฉพาะของตน  นั่นคือการถ่ายภาพซึ่งเลยเถิดไปสู่แขนงของผลงานที่มีความอื้อฉาวอย่างที่เล่าไว้  แต่ในตอนเริ่มต้นนั้น  อย่างแรกเธอต้องหาช่องทางเข้าไปในวงการนี้เสียก่อน  อาศัยที่ตัวเองหน้าตาหล่อเธอจึงใช้ให้มันเป็นประโยชน์ด้วยการหาคู่ที่กระเป๋าหนัก  นับเป็นวาสนาที่ดีที่คู่ทุกคนก็ล้วนสนับสนุนอาชีพของเธอให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ จนก้าวเข้ามาสู่ความมีชื่อเสียงติดปากประชาชนทั้งในวงการและนอกวงการ




RM สั่งสมไอเดียด้วยการเข้าไปสิงสู่ในบาร์เกย์แบบ hard core  ที่นั่นสร้างแรงบันดาลใจให้อย่างมากมาย




มีต่อ...


บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 25 เม.ย. 23, 11:58

Robert Mapplethorpe แบ่งรูปแบบผลงานของเขาออกเป็น  

งาน X คือภาพถ่ายโป๊ของผู้ชายทุกรูปแบบ  ตั้งแต่แบบธรรมดา ๆ ถึงแบบเห็นแล้วอ้าปากค้าง

งาน Y คือภาพถ่ายมวลเหล่าดอกไม้ และ

งาน Z คือภาพถ่ายทั้งแบบปกติและโป๊หลายระดับของชายผิวดำ  งาน Z นี้เพิ่งมาเป็นที่นิยมของ RM ในช่วงหลัง  เมื่อจู่ ๆ เขาก็เกิดคลั่งไคล้ชายผิวดำขึ้นมา

ผลงานสาขา X นี้สร้างความขัดแย้งให้กับสาธารณะชนแผ่เป็นวงกว้าง  ก่อให้เกิดกลุ่มชน 2 กลุ่มคือกลุ่มคัดค้านพร้อมสาปแช่งกับกลุ่ม ‘ไม่เห็นเป็นไรเลย’  การต่อต้านอย่างเผ็ดร้อนเกิดขึ้นในยุคปลาย 60s ถึงต้น 70s

แต่เหตุการณ์ที่อื้อฉาวเกิดขึ้นที่ Corcoran Arts Gallery ที่ Washington D.C. ในเดือน มี.ค. 1989:

The exhibition of Mapplethorpe's work, titled Robert Mapplethorpe: The Perfect Moment, sparked a debate in the United States concerning both use of public funds for "obscene" artwork and the Constitutional limits of free speech in the United State.

The gallery was pulled into the controversy, which "intensified the debate waged both in the media and in Congress surrounding the NEA's funding of projects perceived by some individuals...to be inappropriate." (แหล่งมาจาก Wikiฯ)

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้ Art Director ถูกขู่ฆ่าในรูปแบบต่าง ๆ  เขาจึงตัดสินใจประกาศให้ห้องแสดงภาพงดการนำเสนอผลงานของ RM ก่อนวันเปิดงาน  ส่งผลให้ประชาชน ‘อีกฝั่ง’ ก่อการประท้วงเพราะอดดู

อีก 5 สัปดาห์ต่อมา  ก็มีอีกหนึ่ง Art Gallery เสี่ยงเปิดการแสดงภาพของ RM  ผลปรากฏว่าผู้คนแห่กันเข้ามาชมผลงานของเขาอย่างล้นหลามเป็นประวัติการของ AG นั้น  แต่ช่วงนั้น RM ป่วยหนักไม่สามารถมาร่วมงานได้

ต่อมาในปี 1990  หลังจากที่ RM เสียชีวิตแล้ว  มีการเปิดการแสดงภาพที่ Contemporary Arts Center ในเมือง Cincinnati (รัฐอะไรหาเอาเอง)  งานนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงกว่าคราวก่อน ๆ (ดูภาพจากตัวอย่างสารคดีตอนต้น)  นอกจาก AG ถูกบังคับให้ปิดแล้วยังมีการฟ้องร้องถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล  ตั้งแต่ Art Director มาถึงผู้เกี่ยวข้อง  แต่ผลการตัดสินออกมาว่าไม่มีความมีความผิด






(3.07 – งาน X  / 4.27 – งาน Y)



(สรุปงาน X Y และ Z ของ RM)


RM ตายด้วยโรค AIDS ในเดือน มี.ค. ปี 1989  อายุได้ 42 ปี





หมายเหตุ เรื่องในคลังพร่องลงไปเรื่อย ๆ  ผมไม่ได้เขียนเรื่องใหม่มาเกือบปีแล้ว  ทำอะไรนานเกินไปมันก็ต้องเบื่อเป็นธรรมดา  แม้จะเป็นงานที่โปรดปรานก็ตาม...

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 26 เม.ย. 23, 13:54

ครั้งยังตัวกระจิ๋วผู้ปกครองพาไปดูหนังสนุกเรื่องหนึ่ง ในความทรงจำของเด็ก  มันเป็นหนังไล่ล่าที่ตลก  ผู้ร้ายใส่หน้ากากยางสีเขียวขี้ม้า  หัวโล้น  หน้าตาน่ากลัว  จำความรู้สึกตอนนั่งดูได้ว่าตอนกลางคืนสงสัยจะนอนไม่หลับ  ส่วนผู้ล่าเป็นตำรวจแก่ ๆ ชื่อจำแม่นว่า สารวัตรจู้ฟ  จำได้อีกหน่อยคือรถซีตรองบินได้  สาเหตุที่จำได้คือ  นอกจากจะบ้ารถมาตั้งแต่ตั้งไข่แล้ว  ลุงของผมก็ขับรถซีตรองแบบในหนังด้วยเหมือนกัน  แต่ที่จำได้ไม่ลืมคือชื่อหนัง  จอมโจรแฟนโทมัส

เก็บความจำกระท่อนกระแท่นใส่กระป๋องปิดฝาไว้จนกระทั่ง อตน. ถือกำเนิด  แล้วตามด้วย youtube  จากนั้นก็มา Wikiฯ  ถึงสามารถประติดประต่อความทรงจำได้ว่า  หนังชื่อ Fantomas เป็นหนังฝรั่งเศสสร้างเลียนแบบหนัง James  Bond ที่กำลังดังอยู่ในช่วงเวลานั้น  แต่เลี่ยงไปทำบรรยากาศออกแนวตลก 

ปรากฏว่าหนังประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นโดยเฉพาะในยุโรป  แล้วยังข้ามมาโกยเงินในอเมริกาด้วย

จากความสำเร็จนี้ทำให้เกิดภาค 2 และ ภาค 3 ตามมาอีก

ผมเช็คปีที่ฉาย  ภาคแรกฉายปี 1964  ภาคสอง 1965 และภาคสุดท้ายปี 1967 

ต่อมาเช็คตัวอย่างหนัง ภาคแรกเปิดมาก็พบว่าได้ดูแน่นอนเพราะจำฉากรถซีตรองสีดำล้อแบะได้ (3.08 - ในความทรงจำเป็นแค่รถสีดำ) แล้วก็ฉากรถวิ่งแทรกกลางระหว่าง 2 รถบรรทุก (3.19 – ประโยชน์ของความบ้ารถ) แต่ไม่เห็นรถซีตรองบินได้



ฉากเปิดเรื่องภาคแรก  รถฝรั่งเศสสวย ๆ ทั้งนั้น  รถพวกนี้เคยมาวิ่งกันให้ว่อนอยู่ในกรุงเทพฯ



ปรากฏว่ารถ ฯ มันมาอยู่ในภาค 2 



ดูแบบกระจะตา



ส่วนภาค 3 จำอะไรไม่ได้เลย  ไม่รู้ว่าหนังมารึเปล่าหรือมาแล้วได้ดูแต่จำไม่ได้  หรือมาแล้วแต่ไม่มีใครพาไปดู

อย่างไรก็ตาม  แสดงว่าตอนนั่งอ้าปากบ๋อดูหนังภาคแรกอยู่ในโรงนั้น อายุผมเพิ่งพ้นเลข 5 ขวบไปนิดเดียว 

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 27 เม.ย. 23, 12:16

Mascarpone (2021) เป็นหนังเกย์จากอิตาลีเล่าเรื่องราวของหนุ่ม Antonio ซึ่งกินอยู่กับคู่ของตนมาตั้งแต่เรียนจบ  เอาเป็นว่าตลอดชีวิตน้อย ๆ เขามีแฟนเพียงคนเดียวแล้วก็กินอยู่ด้วยกันฉันผัวเมียมาโดยตลอด  ความที่แฟนแก่กว่าจึงเป็นที่พึ่งทั้งด้านจิตใจและกำลังทรัพย์  แต่แล้วโชคชะตาพลิกผันเมื่อวันหนึ่งแฟนก็เกิดเบื่อแล้วไปมีใหม่  หนุ่ม A โดนอัปเปหิออกจากบ้าน  ต้องระหกระเหินไปหาที่อยู่ใหม่ด้วยกำลังทรัพย์ของตัวเอง  

เจ้าของที่อยู่ใหม่ชื่อ Denis เป็นเกย์เช่นกัน  พอรู้เรื่องราวก็พา A ไปสมัครเป็นลูกมือเจ้าของร้านเบเกอรี่สุดหล่อนาม Luca  พอได้เงินมาก็เอาไปจ่ายเป็นค่าเล่าเรียนวิชาทำเบเกอรี่ที่ตัวเองชื่นชอบ

ในสิ่งแวดล้อมใหม่ A พบว่าทุกคนรอบตัวล้วนสำส่อนกันทั้งนั้น  เป็นประสบการณ์ที่ตัวเองไม่เคยพบมาก่อน  พอกลมกลืนเข้าไปแล้วก็ชักสนุก  ความที่ตัวเองหน้าตาหล่อ  กิจการ ‘ขึ้นเตียง’ ก็เจริญรุ่งเรือง  แต่วิชาทำเบเกอรี่กลับไปไม่ได้ไกลเพราะความสนุกสนานในชีวิตเป็นเหตุ
 
วันหนึ่ง A พบ Thomas คู่นอนคนล่าสุดที่ติดใจเขาและต้องการสานความสัมพันธ์แบบยั่งยืน  T  มีอาชีพถ่ายภาพฝีมือดีและกำลังจะย้ายฐานไป Milan  จึงชวน A ไปด้วย  แต่ A กำลังสนุกกับชีวิตใหม่จึงบ่ายเบี่ยง  ไม่นานนักชีวิตของหนุ่มน้อยก็พลิกผันอีกเมื่อ D เจ้าของที่พักเกิดตาย  เขาจึงต้องขนสมบัติออกอย่างไม่คาดคิด  

A นึกถึง T  เพื่อความมั่นคงในอนาคตเขารีบตอบตกลงเพื่อสานสัมพันธ์แบบยั่งยืน  โดยที่ตัวเองก็ยังไม่แน่ใจ

ตอนเก็บข้าวของเพื่อย้ายไปอยู่กับ T  ยังต่างเมือง  หนุ่ม A ล้างตู้เย็นแล้วพบถ้วย mascarpone ที่เขาทำแล้วลืมไว้  ก่อนเททิ้งเขาลองเปิดชิม (อยากรู้จังว่ารสชาติเป็นอย่างไร)  ปรากฏว่ารสชาติเยี่ยมยอด (ดูจากสีหน้าน่ะ)  แล้วเขาก็คิดไปถึงอนาคต  การที่จะย้ายไปอยู่กับ T  ก็จะเข้ารูปแบบเดียวกับตอนที่เขาอยู่กับแฟนคนแรก  คือต้องพึ่งพาอย่างน้อยก็ด้านกำลังทรัพย์  แล้วตอนนี้เขาได้ค้นพบสูตรทำ mascarpone อร่อยเลิศแล้ว  น่าจะนำวิชามาใช้เพื่อสร้างจุดยืนของตัวเอง

A จึงกลับไปหา T เพื่อแจ้งว่าตัวเองเปลี่ยนใจแล้ว.... โจบบบ

หนังเรื่องนี้จบแบบไม่น้ำเน่าประเภท happily ever after หรือ unhappily ever after  แต่จบแบบค้นพบตัวเอง  เป็นหนังที่ดูสนุกทีเดียว  สิ่งที่เป็นสีสันคือนักแสดงนำที่เป็นชายทั้งนั้นล้วนหน้าตาหล่อแบบ ‘ดูเพลิน’

เรื่องราวคร่าว ๆ ในช่วงแรกของหนัง

0.15 – คือ Lorenzo แฟนดั้งเดิม กำลังสารภาพว่ามีแฟนใหม่
3.15 – คือ Denis เจ้าของ apartment ที่ A ย้ายไปเช่าอยู่หลังจากโดนลอยแพ หนุ่ม A กำลังเซ็งกับชีวิตที่ไร้ประสบการณ์เพราะเข้าชีวิตคู่ตั้งแต่เรียนจบเลยทำให้เอาตัวเองไม่รอด
8.40 – คือ Thomas ที่ต้องการสานความสัมพันธ์แบบยั่งยืนกับ A
12.00 – คือฉากที่ A ได้รับข่าวการเสียชีวิตของ D คนที่เข้ามาร่วมการเสียใจคือ Luca เจ้าของร้านเบเกอรี่

D พา A ไปฝึกงานที่ร้านเบเกอรี่  เจ้าของเป็นหนุ่มหล่อคือ Luca



D และ L เป็นผู้เปิดประตูพา A ออกไปสู่ชีวิตใหม่  แม้จะสนุกแค่ไหนแต่ลึก ๆ แล้ว  A ก็อดคิดถึง Lo รักเดียวของเขาไม่ได้  และคอยอยู่เสมอที่เขาจะกลับมา



จนกระทั่งมาพบ T ผู้ต้องการสานความสัมพันธ์แบบยั่งยืนกับ A  ทำให้หนุ่มน้อยคิดหนักเพราะยังรักสนุกกับโลกใหม่อยู่


clip ย่อยมีให้เท่านี้  ไม่มีใครย่อยเหตุการณ์ในครึ่งหลังของเรื่องเลย


ตัวอย่างหนัง



พูดถึงผู้ชายหน้าตาหล่อ  จากประสบการณ์ที่ตะลอน ๆ ไปเจ็ดคาบสมุทร  มีอยู่ 3 ประเทศที่หนุ่มหล่อแบบไม่เกรงใจใครคือ  อิตาลี สเปน และตุรกี (ความจริงหนุ่ม Moroccan ก็ไม่เลวถ้าจะโกนหนวดโกนเคราเสียหน่อย)  แต่ละนายสะโอดสะอง  ไม่อ้วนพุงหลามแบบ American  ตากลมโต  ขนตายาวเฟื้อย  หล่อลากดิน  แถมไม่ต้องออกแรงค้นหาเลย  เดินกันขวักไขว่อยู่ตามถนน ไม่ก็ในห้างร้านค้านั่นแหละ   พวกนี้เวลาทำหล่อ (grooming)  คือมีรอยโกนหนวด/เคราเขียวครึ้ม (เรียกว่า 5 o’clock shadow หรือ stubble)  เห็นแล้วอ้าปากค้าง

แต่หนุ่มตุรกีสนิทด้วยยากเพราะพวกเขาเป็นอิสลาม  ระวังตัวทุกฝีก้าว  ขณะที่หนุ่มอิตาลี  ถ้าเดินผ่านแล้วสบตากันแบบ meaningfully ได้ละก็เป็นเรื่อง...

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 01 พ.ค. 23, 12:07

ตอนช่อง TCM เอาหนังเรื่อง High society มาฉายผมละคอยดูว่าฉากของเพลงดังที่ผมเคยได้ยินมาจากรายวิทยุ Golden Oldies ตั้งแต่ยังอยู่ชั้นประถมคือ True love ที่ร้องโดยดารานำคือ Bing Crosby กับ Grace Kelly จะอยู่ในช่วงไหนของเรื่อง

หนังเรื่องนี้เป็นหนังเพลงสร้างในปี 1956 เล่าเรื่องของสามีภรรยาคู่หย่าร้าง  ทั้งคู่ร่ำรวยมหาศาลคลุกคลีอยู่ในสังคมชั้นสูงสมกับชื่อเรื่องหนัง  อดีตสามีเป็นศิลปินเพลงที่เคยแต่งเพลงอุทิศให้กับอดีตภรรยาจนโด่งดัง  ส่วนอดีตภรรยาก็ไม่ต้องทำอะไรกินเพราะรวยอยู่แล้ว  ว่าง ๆ ก็คอยจับผิดอดีตสามีของตัว  จนนำไปสู่การหย่าร้าง  แม้จะหย่ากันแล้วแต่ก็ไม่ได้ห่างกันเพราะบ้าน... เอ้อ... คฤหาสน์อยู่ติดกัน

เหตุการณ์ในเรื่องเริ่มเมื่ออดีตภรรยาพบรักใหม่ซึ่งก็ร่ำรวยไม่แพ้กัน  ทั้งคู่กำลังจะแต่งงานกัน  ส่วนอดีตสามีที่ยังหลงรักอดีตภรรยาอยู่ไม่วางวายก็พยายามจะกู้ความรักคืนมา  แผนของเธอคือป่วนงานแต่งงานโดยแกล้งโหมซ้อมเพลงเพื่อจะไปออกงานมหกรรมเพลงแจ๊สที่กำลังจะเริ่มขึ้นให้มันกระหน่ำหูชาวบ้าน

หนังดูได้เพลิน ๆ ผมว่าบทสนทนาออกจะเชย  ปล่อยมัน... เราดูฉากซึ่งอลังการเว่อร์เวิ่นแทน 

นี่คือคู่หย่าร้าง Bing Crosby กับ Grace Kelly อีกคนตัวสูงคือ คู่หมั้นใหม่ของ GK เป็นนักแสดงชื่อ John Lund



สิงห์นักดูหนังฟังเพลงฝรั่งรู้จัก Bing Crosby ดี  เธอเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งมีชื่อเสียงทั้งในฐานะนักแสดง (เคยได้ Oscar) และนักร้อง  เพลงอันเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของเธอคือ White Christmas  เพลงออกขายครั้งแรกในปี 1941 ติดอันดับ 1 อยู่ 11 สัปดาห์  นับถึงวันนี้มันเป็นเพลงที่ขายได้ดีที่สุดตลอดกาล  แนวการร้องเพลงของเธอเป็นแม่แบบให้กับนักร้องดังๆ รุ่นต่อ ๆ มาเช่น Perry Como, Frank Sinatra ฯลฯ

ส่วน Grace Kelly คนนี้ไม่ต้องพูดอะไรมาก  แต่จะเสริมนิดว่าบทในเรื่องนี้เป็นบทสุดท้ายของอาชีพการแสดงของเธอก่อนจะเข้าวิวาห์และกลายเป็นเจ้าหญิง  อันเป็นเรื่องราวที่แต่ก่อนคนคิดว่ามีจริงเฉพาะในนิยาย

สำหรับคนที่ 3 คือ John Lund นั้น ผมรู้จักแต่ชื่อ กับภาพนิ่ง


นี่คือบ้านของอดีตสามี อุ๊แม่เจ้า... 



นี่คือบ้านของอดีตภรรยา  อุ๊แม่เจ้า (อีกหน)... มีกี่ห้องวะเนี่ย หนึ่ง สอง สาม...



และนี่คือห้องสมุดในบ้านของอาของอดีตภรรยา  ข้างหลังแผงหนังสือด้านหนึ่งมีบาร์เหล้าอย่างหรูซ่อนตัวอยู่ ...ต๊ายยยย... อาของเธออาสาจัด Bachelor party ให้กับหลานสาวที่บ้านนี้





เวลาผมเห็นบ้านใหญ่ ๆ (แค่ใหญ่ ไม่ต้องถึงกับมหึมาแบบนี้ก็ได้)  ผมมักอดคิดไม่ได้ว่า  ถ้าเป็นบ้านฉัน  ฉันจะเริ่มกวาดตรงไหนก่อนดี

หนังยาวเกือบ 2 ชม. แต่ฉากสนทนามีไม่มาก (ถึงบอกว่า ปล่อยมัน)  มีแต่ฉากเพลงที่มีทั้ง standard pop และ jazz big band บรรเลงโดย Louise Armstrong ซึ่งเพราะ ๆ ทั้งนั้น


มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 02 พ.ค. 23, 11:44

เปิดเรื่องมาก็มีการโหมโรงด้วยการยำเพลงบรรเลงในหนังนาน 5 นาที  เป็นการโหมโรงจริง ๆ เพราะมาก่อนไตเติ้ลหนังเสียอีก

ตอนผมทำเรื่องนี้ยังเปิดได้  ฟังเพลงเฉย ๆ แทนละกัน



ไตเติ้ลหนังมีจิ๊ดเดียว



แล้วตามด้วย Louise Armstrong พาคุณผู้โชมไปดูหนัง

LA เป็นอีกคนที่ไม่ต้องพล่ามที่มาที่ไปของเธอ  เสียงของเธอเป็นเอกลักษณ์  ฟังแหบ ๆ แบบนี้  เธอเคยส่งเพลง Hello, Dolly! ออกไปกระแทกหูคนทั่วโลกมาแล้ว  ในเรื่องเธอเล่นเป็นหัวหน้าวงแจ๊สที่จะมาซ้อมดนตรีกับ BC ที่บ้าน

เพลง High society นี้เป็นเพลงจังหวะ calypso  อ่านมาว่าช่วงต้นเป็น mono แต่หลังจากนั้นทาง studio ใช้กลยุทธพลิกแพลงให้เกิด effect กลายเป็น stereo  ถ้าฟังดี ๆ เสียงร้องภายในรถจะแยกซ้ายขวาตามตำแหน่งคนร้อง  นับเป็นหนังเพลงเรื่องแรก ๆ ที่ทำแบบนี้  ระบบอัดเสียงแบบ stereo  ยังไม่ใครค้นคิดได้สำเร็จจนกระทั่งอีก 2 ปีต่อมา



นี่คือ 2 ตัวละครในบทรอง นักแสดงหญิงคือ Celeste Holm เป็นดาราใหญ่ในต้นยุคทองของฮอลลีวู้ดคนหนึ่ง  เธอเคยสำแดงฝีมือจนได้ Oscar  ส่วนฝ่ายชายไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็น Frank Sinatra ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอีกคนหนึ่ง  เธอเคยได้ Oscar เช่นกันจากเรื่อง From here to eternity ที่ผมเคยฝอยถึงไปแล้ว  ในเรื่อง คู่นี้เป็นนักข่าวมาทำข่าวเรื่องงานแต่งงาน

 

ฉากนี้เกิดขึ้นที่บ้านอดีตภรรยา (แค่เห็นห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเรียงเป็นตับก็เวียนหัวกับความรวยแล้ว)  อดีตสามีเอาของขวัญวันแต่งงาน (ใหม่) มาให้แล้วถือโอกาสเหน็บแนม  ผมว่าแสบดี

‘…You'd be a wonderful woman if you'd just ‘let your tiara slip a little – เปรียบเทียบได้ดีจัง’. But you'll never be a wonderful woman or even a wonderful human being until you learn to have some regard for human frailty – วุ้ย... ปากจัด'


มีต่อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 04 พ.ค. 23, 11:54

แล้วก็มาถึงฉากสำคัญที่รอคอยคือฉากเพลงเอก True Love


ฉากนี้ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ของเรื่องแต่อยู่ในช่วงรำลึกย้อนหลังครั้งที่ 2 ผัวเมียยังเป็นข้าวใหม่ปลามันกันอยู่

เพลงนี้ดังในบ้านเราอย่างแน่นอนเพราะผมจำได้มาตลอด  แต่ตอนนั้นไม่รู้ว่า Grace Kelly เป็นดารา  รู้แค่เป็นนักร้องซึ่งเป็นการเข้าใจผิด  แล้วก็ไม่รู้ว่านี่คือเจ้าหญิงเกรซซึ่งเคยเป็นดารามาก่อน  ค่อยมาประติดประต่อว่าคือคน ๆ เดียวกันเมื่อโตขึ้น  เพลงนี้ดังในอันดับเพลงด้วยโดยขึ้นถึงอันดับ 3 ของ Billboard chart ในปีนั้น



นี่คือเพลงที่อดีตสามี (Bing Crosby) แต่งให้กับอดีตเมียรักจนโด่งดัง



นี่คือ master piece ของเรื่อง  jazz big band ที่อลังการไม่หยอก



ฉากดวลกันระหว่าง 2 เจ้าพ่อ (คนละยุค) standard pop เป็นครั้งแรกของวงการ





เบื้องหลังฉากนี้คือคืน bachelor party เมื่อ GK เมาหัวทิ่มแล้วแอบไประเริงกับนักข่าว (Frank Sinatra) ซึ่งแอบชอบเธออยู่ในใจ  เรื่องลุกลามเมื่อทั้งคู่ลงเล่นน้ำในสระด้วยกัน  ก่อนจบที่นักข่าวอุ้มว่าที่เจ้าสาวขึ้นห้องนอน  โดยผ่านหน้าอดีตสามีและว่าที่สามีไปอย่างหน้าตาเฉย

เหตุการณ์ของหนังยุคปี 1956  ไม่มีใครคิดแผลงไป ‘แบบนั้น’ แต่ก็อดไม่ได้  แม้แต่ว่าที่เจ้าสาวก็เมาจนจำคืนนั้นไม่ได้  มีเพียงนักข่าวที่ยังมีสติและยืนยันว่าแค่พาไปเข้าห้องของเธอเท่านั้น  แต่สาวก็รู้สึกผิดและอายเพราะชอบจับผิดชาวบ้าน  ตอนนี้ตัวเองพลาดเสียเอง


ตอนจบเป็นอย่างไรต้องดู clip นี้  ตั้งแต่  2.24  (ช่วงแรกซ้ำ)   



ตัวอย่างหนัง

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 05 พ.ค. 23, 12:16

ในยุค 2000s ผมเลิกเข้าโรงหนังแล้ว  ระยะหลังๆ ขณะนั่งดูอยู่ในโรงผมจะปวดฉี่บ่อย  ก็อากาศในโรงฯ มันเย็นยะเยือก  ยิ่งไปดูรอบเช้าซึ่งคนส่วนใหญ่ยังไม่ออกจากบ้านกัน  บรรยากาศโหรงเหรง  อากาศยิ่งหนาวเหน็บ  ขนาดเตรียมตัวด้วยการงดกินน้ำเสียตั้งแต่ตื่นโน่นแล้ว  มันก็ยังปวด
 
การปวดฉี่ขณะดูหนังอยู่ในโรงฯ นี่เป็นเรื่องน่าเซ็งอย่างมาก  จะกลั้นก็รบกวนการดูหนัง  ได้อรรถรสไม่เต็มที่  แล้วหนังก็ไม่ได้พักการฉายเพื่อให้เราลุกออกไปฉี่จนเสร็จสรรพ  จะแวบออกไปฉี่ก็จด ๆ จ้อง ๆ ไม่แน่ใจว่าฉากต่อไปจะเป็นอย่างไร  น่าเสียดายแค่ไหน  ขณะทำกิจกรรมโดยเริ่มตั้งแต่ลุกขึ้นจากเก้าอี้จนกระทั่งกลับมานั่งเก้าอี้อีกครั้งใช้เวลาไปไม่ต่ำกว่า 5 นาที  เวลาแค่ 5 นาที  เนื้อเรื่องบนจอหนังผ่านไปหลายฉาก  ดีมั้ยดีคำเฉลยหรือฉากน่าตื่นเต้น ฯลฯ ผ่านไปแล้ว  ยิ่งตอนแอ่นอยู่ได้ยินแต่เสียงอันน่าเร้าใจแต่มองไม่เห็นภาพ  มันทำอะไรกันวะ  น่าเซ็งมั้ยล่ะ

จำได้ว่าหนังโรงเรื่องสุดท้ายที่ดูคือ Pirates of the Caribbean ภาคแรก  ขณะที่ชาวบ้านหัวเราะกันเอิ๊กอ๊าก  ผมขำไม่ไหว  ปวดฉี่ชิบเป๋ง  บิดไปบิดมากว่าจะตัดสินใจลุกออกไปฉี่  เดินกลับมาแบบเบื่อโลก  หาแถวเก้าอี้ไม่เจออีก  กว่าจะได้นั่งหนังเดินเรื่องไปถึงไหนแล้วก็ไม่รู้  ความที่หนังยาวกว่าปกติ  กว่าจะจบมันก็ปวดอีก  ความสนุกไม่มีเหลือเลย  เหลือแต่เมื่อไรมันจะจบซักทีวะ  ฉันจะได้ไปฉี่เป็นรอบที่ 2

ตั้งแต่คราวนั้นผมก็เลิกออกไปดูหนัง  

ตอนนั้นผมรับ IBC แล้วจึงมี ‘option’ ให้เลือก  ถึงแม้จะชดเชยไม่ได้เพราะหนังออกจากโรงฯ ไปเกือบปีละมัง  มันถึงเข้ามาฉายใน IBC   แต่ก็มีหนังอื่นให้ดูแก้ขัด  รอไม่ไหวก็ไปซื้อแผ่นวีซีดี/ดีวีดีมาดู

ผมดูหนัง Paranormal Activity (ปีไหนก็จำไม่ได้  ข้อมูลบอกว่าหนังเริ่มออกฉายในวงแคบในปี 2007  และในวงกว้างในปี 2009) ทางดีวีดี   การนำเสนอของหนังใช้รูปแบบของ footage ประหนึ่งคัดมาจาก surveillance camera  เป็นเรื่องราวของครอบครัวหนึ่งที่โดนผีตามหลอกหลอน

ผมรู้ข่าวของหนังเรื่องนี้จาก อตน. ที่เจริญพันธุ์เต็มที่แล้ว  เป็นข่าวที่ครึกโครมมากว่าทำได้หน้ากลัวจนถึงขั้นต้องบอกต่อ… ให้ไปเป็นเหยื่อของความน่ากลัว เหมือนที่ตัวเองไปโดนมา



ฉากจบของเรื่องทำออกมาหลายแบบ  ผมก็จำไม่ได้ว่าที่ดูมันแบบไหน





ตัวอย่างหนัง





ปฏิกิริยาของคนดูหนังในโรงฯ

เพราะปฏิกิริยาออกมาเป็นแบบนี้  คนถึงแห่ไปดูอย่างล้นหลาม  ยังผลให้หนังที่มีต้นทุนเพียง $15,000  แต่โกยเงินจากทั่วโลกไปถึง $193,000,000s   หนังคลอดภาคต่อออกมาถึง 7 ตอน  รวมรายได้ทั้งหมด  $890,000,000s  เป็นตัวเลขที่เห็นแล้วเวียนหัว

ส่วนตัวผมนั่งจุ้มปุ๊กดูอยู่หน้าจอทีวี  รู้สึกงั้น ๆ  ไม่รู้ว่าไปนั่งดูอยู่ในโรงที่มีระบบเสียงกระหึ่มจะรู้สึกกลัวบ้างรึเปล่า  

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 08 พ.ค. 23, 11:57

จากประสบการณ์น้อย ๆ ของผม  หนังเกย์ดี ๆ เนื้อหาได้เรื่องได้ราวมักมาจากฝั่งยุโรป  ผมว่าเพราะเหล่าผู้สร้างไม่มีเงื่อนไขเช่นทำออกมาแล้วต้องโกยเงิน/กวาดรางวัลเหมือนหนังที่สร้างในฮอลลีวู้ด  ทำให้มีอิสระในการนำเสนอเนื้อเรื่องหรือระดมทุนสร้าง 

เนื่องจากน้อยประเทศในยุโรปที่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ  ในสมัยก่อน หนังพวกนี้จึงวนเวียนอยู่ในดินแดนของพวกเขา  จนกระทั่งถึงยุค dvd ที่สามารถสลัก ‘sub’ ลงไปได้  หนังพวกนี้จึงได้มีโอกาสออกมาเปิดเผยตัวเองในโลกกว้างได้  อย่างเช่นเรื่อง A love to  hide ที่เคยเล่าให้ฟังน้านนานมาแล้ว

ผมไม่เคยสนใจตลาดบ้านเราเลยไม่รู้ว่า  LBGT ชาวไทยสามารถหาหนังแนวนี้ที่สร้างในดินแดนฝั่งตะวันตกดูได้มากน้อยแค่ไหน

Just friends (2018) เป็นหนังเกย์อีกเรื่องจากฝั่งยุโรปคือ ฮอลแลนด์  เล่าเรื่องชีวิตของ 2 หนุ่ม  คนนึงชื่อ Joris เป็นเด็กวัยรุ่นอายุเพิ่งแตะ 21  J มีพื้นเพทางครอบครัวที่รวย  ความรวยมักเกี่ยวข้องกับการตามใจลูก เธอจึงเป็นเด็กใช้ชีวิตแบบเสรีออกจะห่าม ๆ และเจ้าอารมณ์  แต่เนื่องจากแม่ซึ่งเป็นแม่หม้ายเป็นคนออกจะหัวโบราณ  J จึงต้องเก็บความเป็นเกย์ของตนไว้ในตู้เสื้อผ้า  คนที่เข้าใจชีวิตของเธอมีเพียงคุณยายที่พักอาศัยอยู่ใน community ของคนชรา  J กับคุณยายจึงสนิทกัน

อีกหนุ่มหนึ่งชื่อ Yad อายุแก่กว่า 5 ปีมาจากครอบครัวชาวซีเรียที่อพยพมาอยู่ที่ฮอลแลนด์ ครอบครัวของ Y มีพ่อเป็นนักวิชาการ  แต่การมีพื้นเพเป็นอิสลามทำให้ครอบครัวนี้มีความเป็นหัวโบราณยิ่งกว่าครอบครัวของ J  โดยเฉพาะผู้เป็นแม่  Y กำลังเรียนหมออยู่ที่กรุง Amsterdam  แต่เธอต้องพักการเรียนชั่วคราวเพราะ “Amsterdam is too fun. My study is too boring”

Y กลับมาอยู่กับครอบครัวชั่วคราว เธอหางานพิเศษทำฆ่าเวลาด้วยการเป็นครูสอน surfing  เวลาว่างหลังจากนั้นเธอก็รับจ้างทำความสะอาดตามบ้าน  บ้านหนึ่งที่เธอไปทำความสะอาดให้คือห้องพักของคุณยายของ J 

ความสัมพันธ์ของ 2 หนุ่มก็เริ่มต้นขึ้น

หนุ่มน้อย Joris กับความเก็บกด



วันแรกที่ Joris พบกับ Yad



ต่อจากนั้นเป็นการสร้างความสัมพันธ์



(เพลงเพราะมากไม่รู้ว่าชื่ออะไร  รู้แต่ผลิตโดย Rob Peters)




อีกหนึ่งปัญหาที่ต้องแก้ไขคือความเจ้าอารมณ์/อารมณ์ร้อนของหนุ่มน้อย J  ที่ทำให้ Y ผู้ซึ่งเป็นผู้ใหญ่กว่าไม่สบอารมณ์  เธอขอบอกเลิกความสัมพันธ์ฉันแฟน  ลดระดับลงเหลือแค่ Just friends



ทั้ง 2 จะมีความสุขกับความสัมพันธ์ใหม่หรือว่าจะร่วมมือกันแก้ปัญหาเพื่อให้คงความสัมพันธ์แบบเดิม  ต้องไปหาหนังมาดู


ตัวอย่างหนัง



เป็นหนังน่ารักให้บรรยากาศเบาสบาย นอกจากดึงคะแนนจากเหล่านักวิจารณ์ได้ดีแล้วยังไปเข้าแข่งขันบนเวทีหนังเล็ก ๆ หลายเวที  ตัวเอกคือ Joris เล่นโดยนักแสดงชาว Dutch ชื่อ  Josha Stradowski  ตอนนี้กำลังดังจากหนังชุดทางทีวีเรื่อง The Wheel of Time  ทุกฉากในหนัง (Just friends) เธอมีความเท่และเป็นแมนมาก ๆ  ผมชอบดูหนังเกย์ที่มีตัวละครนำไม่หวานแหววแต๋วจ๋า  แต่เป็นชายชาตรีเหมือนทั่วไปเพียงแต่มีรสนิยมชอบเพศเดียวกัน

คุณชอบกินข้าว ผมชอบกิน steak ทั้งคุณและผมต่างก็เป็นคนเหมือนกัน  ข้าวกับ steak ก็คืออาหารเหมือนกัน ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเหมือนกัน  เอาสิทธิอะไรไปสร้างกฏเกณฑ์เพื่อแบ่งแยกว่าข้าวดีกว่า steak หรือ steak ดีกว่าข้าว

คุณยายบอกกับหลาน Joris ว่า Love cannot be controlled. It controls you

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 11 พ.ค. 23, 12:10

หนัง Always (1989) มาฉายที่โรงฮอลลีวู้ด  ก่อนหนังมา นส. Starpics ก็โหมโรงไว้ล่วงหน้าว่าเป็นหนังเรื่องล่าสุดที่ Audrey Hepburn ร่วมแสดงหลังจากพักการเล่นหนังมานาน  ข้อมูลที่รู้ในเวลานั้นมีเท่านี้  เวลาผ่านมาอีกแสนนานจนกระทั่ง อตน. ถือกำเนิดจนปีกกล้าขาแข็งผมถึงได้รู้ข้อมูลเสริมอื่น ๆ อีกเป็นต้นว่า  ที่บอกว่าพักการเล่นหนังมานานนั้นหมายถึงเล่นหนังโรง  เพราะหลังจากเรื่องนี้เธอยังเล่นหนังทีวีอีกเรื่องนึง  แต่ที่สำคัญที่ตอนนั้น (1989) ไม่มีใครในโลกนี้รู้คือ Always เป็นหนังเรื่องสุดท้ายที่เธอร่วมแสดง  เพราะอีกไม่นาน (1993) เธอก็ตาย

หนังอยู่ในแนวโรแมนติกเล่าเกี่ยวกับนักบินมืออาชีพที่เข้าทำนองสี่ตีนยังรู้พลาด ฯ  ผลคือเกิดอุบัติเหตุทำให้เธอต้องตายกลายเป็นผีที่ต้องมาจับพลัดจับผลูคอยฝึก (ในทำนองให้กำลังใจ) นักบินหนุ่มฝึกหัดให้เกิดชำนาญในขณะเดียวกันก็ต้องมาเป็นพยานรับรู้เรื่องโรแมนติกระหว่างนักบินฝึกหัดคนนี้กับแฟนสาวของตัวเอง (ฮู้ย... เจอแบบเข้านี้เซ็งตายโหง)

ฉากเปิดเรื่อง (ลืมไปแล้ว พอมาดูทาง Youtube จำความรู้สึกตอนนั่งดูอยู่ได้ว่า  ตื่นเต้นจัง)



ฉากนักบินมืออาชีพกับแฟนสาวและอุบัติเหตุ



ฉากเปิดตัว AH ในบท angel นามว่า Hap



ข้อมูลยุคใหม่เล่าว่า ตอนแรก ผกก. Spielberg ต้องการให้บท Hap เป็นผู้ชายและหมายตา Sean Connery ไว้   แต่ช่วงเวลาไม่สมพงษ์  S ก็เลยหันไปทาบทาม AH ซึ่งตอบตกลงเพราะได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถของ S มานานจนเกิดความอยากร่วมงานด้วย  AH รับค่าตัว 1 ล้านเหรียญ  เธอบริจาคเงินทั้งหมดให้กับองค์กร UNICEF
 
ในฉากเปิดตัวนี้จะเห็น AH ในชุดขาวสะอาดตาหาที่ติไม่เจอท่ามกลางความสกปรกเลอะเทอะของสถานที่  นั่นเป็นเพราะเธอมาเข้าฉากด้วยการนอนมาในเปลหามเพื่อเป็นการกันคราบสกปรกต่าง ๆ  ไม่ให้ติดเสื้อผ้า  เพราะเธอเป็น angel


มีต่อ...
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.127 วินาที กับ 19 คำสั่ง