คุยเรื่อง FM กันต่อ...
สถานีนี้ดำเนินงานในรูปแบบของศิลปะ กล่าวคือ ดีเจแต่ละคนจะนำปัญหาส่วนตัวมาออกอากาศ ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ (คือพล่าม เป็นต้นว่า ดีเจ อกหักก็จะคร่ำครวญออกอากาศอยู่นั่นแล้ว... เสียดาย ไม่มี clip) ผู้ฟังก็สนุกและเข้ามามีส่วนร่วม นี่เป็นต้นเหตุให้สถานีนี้มี rating สูงที่สุด
Background คือเพลง Do it again ของ Steely Dan และ Your smiling face ของ James Taylor
เนื้อหาของหนังไม่มีอะไรซุกซ่อนอยู่ในก่อไผ่ ดูไปชั่วอึดใจก็รู้ว่าตอนจบเป็นอย่างไร
เมื่อพยายามในหลายวิธีการก็ไม่ประสบผล เหล่าดีเจทั้งคณะจึงก่อการประท้วงโดยยึดสถานีออกอากาศเป็นฐาน งานนี้พวกเขาไม่ได้ตัวคนเดียวแต่มีบรรดาแฟนคลับต่างเข้ามาร่วมให้กำลังใจ หนังใช้เพลงดังเพลงหนึ่งของ Queen คือ We will rock you เป็น background
อย่างไรก็ตามน้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ แต่ก่อนจะถึงจุดวิกฤติพวกเขาก็ได้ตัวช่วยมีความแรงประดุจน้ำป่าคือ ตัวเจ้าของสถานี ซึ่งแอบดูอยู่และชื่นชมในความเด็ดเดี่ยวของเหล่าดีเจที่จะยึดมั่นในอุดมการณ์ไม่แสวงหาผลกำไรอย่างไม่ท้อถอย หนังจึงจบด้วยความสวัสดีมีชัย (เหมือนหนังของ Walt Disney เลย)

หนังเรื่องนี้มีฉากการแสดงสดของศิลปิน 2 คน
Jimmy Buffett เป็นนักร้องนักดนตรีที่มีความดังปานกลาง (ที่บ้านเขา) และไม่ดังเลยในบ้านเรา ในยุคนั้นผมเคยได้ยินเพลงของเธอเพลงเดียว เป็นเพลงที่เพราะติดหูมาถึงปัจจุบัน
Wikiฯ บอกว่าเธอเป็นนักธุรกิจตัวยง บัดนี้จัดเป็นศิลปินที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่ง
ส่วนอีกหนึ่งการแสดงสดอันเป็น highlight ของหนัง คือการแสดงสดของ Linda Ronstadt ซึ่งจัดให้กับหนังโดยเฉพาะ ไม่ใช่ทางทีมงานเอาการแสดงสดของเธอจากแหล่งอื่นมาตัดต่อ เธอร้อง 3 เพลง แต่ใน soundtrack บรรจุไว้แค่ 2 เพลงแรก
ย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่หนังออกฉาย ผมไม่รู้หรอกว่าบทบาทของ LR ในหนังคืออะไร SP ไม่ได้บอกรายละเอียดไว้ ขณะดูไปก็อดคิดไม่ได้ว่าในปี 1978 การเห็น LR in action นี่ไม่เคยมีอยู่ในความคิด เหมือนนึกไม่ออกว่าภายในเครื่องบินมีอะไรบ้าง แค่ได้เห็นภาพนิ่งของเธอตามสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ก็นับว่าโชคดีที่สุดแล้ว
เมื่อ Youtube ถือกำเนิด ครั้งแรกในชีวิตที่ได้เห็นเธอรวมถึงนักร้องคนโปรดอื่น ๆ in action ที่แม้จะเป็นของเก่า แต่มันตื่นเต้นจนบอกไม่ถูก นั่งจ้องตาไม่กระพริบ ความรู้สึกของคน 2 ยุคแบบผมนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นกับคนที่โตขึ้นมาในยุคสมัย อตน.
0.51 – keyboard คือ Don Grolnick, guitar ใส่แว่นคือ Waddy Wachtel ใส่เสื้อขาวคือ Kenny Edwards ที่เหลือคือ Dan Dugmore ส่วน กลอง คือ Rick Morotta
เพลงที่เธอร้องในหนังนี้ (ทั้ง 3 เพลง) ล้วนบรรจุอยู่ในแผ่นเสียงส่วนตัวของเธอ นักดนตรีในวงของเธอที่เห็นอยู่นี่ผมรู้จัก (ชื่อ + หน้าตา) ทุกคน เพราะตอนฟังเพลงผมก็เอาแผ่นฯ ของเธอมานั่งดูรูปไปอ่านรายละเอียดไป ทำอย่างนี้มาร่วม 100 ครั้ง ภาพก็ซึมเข้าไปในหัวเอง

แผ่น Simple Dreams (1977 ตอนออกวางขายก็ขึ้นอันดับ 1 ของ billboard ทันทีและค้างอยู่นาน 5 สัปดาห์ มันเป็นแผ่น ฯ ที่ขายดีที่สุด) ภาพที่เห็นคือหลังจากกางปกหน้า-หลังแผ่ออก รูปข้างล่างเป็นอีกด้านหนึ่ง เหล่านักดนตรีในภาพก็คือคนที่เล่นใน concert ของเธอในหนัง มาได้เห็นพวกเขา in action นี่ ตื่นเต้นจริง ๆ
Package ใส่แผ่นเสียงที่เปิดกางได้แบบนี้เรียกว่า ‘gatefold’ โดยส่วนตัว ถ้านักร้องคนโปรดออกแผ่นฯ ใส่ในซองแบบนี้ คือกำไรเลยละ
Package มีขนาดใหญ่กว่า 12” x 12” (คือขนาดของแผ่นฯ) เล็กน้อย เมื่อกางออกจะเห็นภาพเก๋ ๆ ขนาดใหญ่กว่า 12” x 24” เล็กน้อย ลองคิดดูว่าน่าสะใจแค่ไหน (ถ้ามีโอกาส ‘หยอด’ จะเอาของคนอื่น ๆ ที่ยังเก็บไว้ ไม่ได้ขายไป ออกมาโชว์)
2 เพลงแรกในหนังคือ Tumbling Dice กับ Poor poor pitiful me บรรจุอยู่ในแผ่นนี้ (หมายเหตุ – Package ชุดนี้ได้รางวัล Grammy ด้านการออกแบบ)

แผ่น Living in the USA (1978) บรรจุเพลงที่ 3 คือ Love me tender ซึ่งไม่ได้เอามาบรรจุไว้ใน soundtrack ทำไมก็ไม่รู้

ซองในสำหรับใส่แผ่นฯ ของทั้ง 2 album (เรียกว่า inner sleeve) อีกด้านของแต่ละซองเป็นเนื้อเพลง
มีต่อ...