‘Maurice’ กันต่อ
หนังจบลงที่ Maurice เข้าใจตัวเองและเดินหน้าใช้ชีวิตด้านที่เพิ่งค้นพบใหม่นี้ต่อไปด้วยความมั่นใจ แต่ Clive ซึ่งอิจฉา Maurice อยู่ลึก ๆ ยังคงแอบอยู่ใน ‘ตู้เสื้อผ้า’ ด้วยความทุกข์ต่อไป
ฉากที่ 6.45 ผมว่าเป็นอุปมาอุปมัย เปรียบเสมือน Maurice กวักมือเรียก Clive ให้ออกมาจากตู้เสื้อผ้าได้แล้ว แต่เธอปฏิเสธ
(เริ่มต้น – 0.30)
Cl: Very well. I'm at your service. My advice, though, is to sleep here tonight and ask Anne in the morning. Where a woman is in question, it's always better to ask another woman and particularly if she has Anne's almost uncanny insight.
Mau: I'm not here to see Anne. Or you, Clive. It's miles worse for you. I'm in love with Alec Scudder.
Cl: What a grotesque announcement.
Mau: Most grotesque. But I felt I ought to tell you.
Cl: Maurice, Maurice, we did everything we could when you and I thrashed out the subject.
Mau: When you brought yourself to kiss my hand.
Cl: Don't allude to that. Come in here. I'm more sorry for you than I can possibly say. And I do, do beg you to resist the return of this obsession.
Mau: I don't need advice. I'm flesh and blood, Clive, if you'll condescend to such low things. I've shared with Alec.
CL: Shared - Shared what?
Mau: Everything. Alec slept with me in the Russet Room when you and Anne were away.
Cl: Oh, good God.
Mau: Also in town.
Cl: The sole excuse for any relationship between two men is that it remain purely platonic. Surely we agreed that.
Mau: I don't know. I've come to tell you what I did.
Cl: Well, Alec - Scudder- is in point of fact no longer in my service. In fact, he's no longer in England. He sailed for Buenos Aires this very day.
Mau: He didn't. He sacrificed his career for my sake without a guarantee. I don't know whether that's platonic of him or not but it's what he did.
Cl: Scudder missed his boat? Maurice, you're going mad. May I ask if you intend to pursue -
Mau: No. No, you may not ask. I'll tell you everything up to this minute. Not a word beyond.
เว้นช่วงที่ Maurice ออกตามหา AS
Mau: Alec? Alec…
Al: So you got the wire, then?
Mau: What wire?
Al: The wire I sent to your house telling you - Oh, sorry. I'm a bit tired what with one thing and another.
Maurice smiles…
Al: No. Telling you to come here to the boathouse at Pendersleigh without fail.
They kiss…
Al: Now we shan't never be parted. It’s finished.
ตัวอย่างหนัง
หนังเกย์ของอังกฤษระดับ 3 ดาว (จาก ปูมของนักวิจารณ์ Leonard Maltin) ที่ทำบรรยากาศได้สวยและสดชื่นมาก หนังสร้างจากนิยายของนักประพันธ์ชื่อดัง E.M. Forster ที่มีผู้นำงานของเธอมาทำเป็นหนังอยู่หลายเรื่องเช่น A passage to India (1984), A room with a view (1975), Howards end (1992)
ผู้ที่นำหนังเรื่องนี้มาเสนอผมก็คือ SP เจ้าเก่า หนังแบบนี้ไม่มาฉายในบ้านเราหรอก แต่ผมก็กระเสือกกระสนไปหาวิดีโอมาดูจนได้ มันเป็นวิดีโอผีเช่นเคย ภาพไม่ชัด ยิ่งเป็นฉากกลางคืนแล้ว ขนาดจุดเทียนส่องดูก็ยังมองไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร หนำซ้ำฟังก็ไม่รู้เรื่อง จะอาศัยอ่านริมฝีปากนักแสดงช่วยก็ไม่ได้เพราะภาพมันเบลอ
ปกติดูหนังฝรั่งในโรง ฟังไปอ่านบรรยายไทยไปยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง นี่ไม่มีบรรยายภาษาไหนทั้งสิ้น แถมเป็นสำเนียง British ไม่ใช่ American ที่คุ้นเคย เลยจบเห่ ดูได้แป๊บก็ต้องกรอม้วนกลับไปฟังใหม่ หนัง 2 ชม. กว่า กว่าจะดูจบปาเข้าไปร่วม 4 ชม. แถมจบแบบไม่เข้าใจเรื่อง ก็เลยไม่สนุก การดูเปรียบเสมือนกำลังทำรายงานส่งครู
เหตุการณ์ผ่านไป วันหนึ่งผมไปเดินเล่นที่ร้านดวงกมลในสยามสแควร์ เห็นหนังสือชื่อ Maurice เป็นของ สนพ. Penguin พลิก ๆ ดูคิดว่าซื้อกลับมาอ่านดีกว่าเผื่อจะเข้าใจหนังมากขึ้น

ตอนยืนพลิกอ่านผ่าน ๆ ไปได้หน่อยเกิดความแปลกใจ บางตอนของบทสนทนาในหนังสือช่างคล้ายกับบทพูดในหนังจัง ผมจำได้แม่นในฉากท้าย ๆ ของหนังที่ Alex Scudder นัดเจอกับ Maurice เธอบอกอะไรบางอย่างทำนองว่า ‘come to the boathouse ….. without fail’ ในหนังสือก็มีบทพูดนี้เหมือนกัน
ผมก็เกิดความคิดแว้บขึ้นมา พอกลับไปถึงบ้านก็เอาหนังออกมาดูใหม่ ดูไปสักพักก็หยุด แล้วอ่านหนังสือตามไปจนทันกันแล้วก็กลับไปดูหนังต่อ ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ หนังสือเล่มบางเพราะเป็นฉบับคัดย่อ แต่ก็ครอบคลุมเนื้อเรื่องส่วนสำคัญ ๆ โดยเฉพาะตอนท้ายเรื่องที่ผมอยากรู้มากว่าคุยอะไรกัน
ในที่สุดผมก็เข้าใจหนังได้ตลอดเรื่องแม้ไม่ทะลุปรุโปร่ง มาปรุโปร่งเอาอีกนานแสนนานเมื่อ I/UBC เอาหนังมาฉาย เนื่องจากมีบรรยายไทยอย่างเป็นการเป็นงาน เสียอารมณ์ตรงที่มีการหั่นฉากโรแมนติก แม้มีไม่กี่ฉากหากคณะกรรมการเซ็นเซอร์ท่านก็ให้เกียรติหั่นเสียเกลี้ยง เผอิญผมได้ดูต้นฉบับมาก่อนเลยจับสังเกตได้ แม้แค่ฉาก Clive หอมแก้ม Maurice ก็ตัด ความจริงหนังเรื่องนี้สร้างในยุค 1980s ฉากหวือหวาที่สุดของตัวละครเกย์ก็คือจูบกัน แล้วก็ไม่ใช่ erotically ซึ่งแค่นี้ ท่านผู้โชมมมที่นั่งดูอยู่หน้าจอ ก็อ้าปากค้างแล้ว ทีเรื่องอื่นมีฉากคู่ชายหญิงจูบกันพลางกอดก่ายพันกันอีรุงตุงนังอยู่บนเตียง แยกไม่ออกว่าไหนหัวไหนตีน โจ่งครึ่มแบบนี้ไม่ตัด หรือฉากคน ‘ซี้ด’ ผงอย่างเอร็ดอร่อยอยู่หน้าจอก็ไม่ตัด
เรื่อง Maurice ที่ว่านี้ไม่เท่าไร มาเมื่อหลายปีก่อนมานี้ได้ดูหนังทีวีชุด How to get away with murder เป็นหนังชุดที่ได้รับความนิยมมาก ผมดีใจที่ I/UBC เอามาฉาย เป็นเรื่องเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยหนึ่งจ้างนักกฎหมายมืออาชีพมาสอนนักศึกษา นัก กม. นี้ก็ใช้วิธีสอนแบบคัดเลือกเด็กมากลุ่มหนึ่งมาช่วยคลี่คลายคดีของจริงที่มีคนว่าจ้าง เด็กแต่ละคนก็จะได้คะแนนจากงานที่ทำ
หนึ่งในกลุ่มเด็กเป็นเกย์ (ตามกฎหมายของการสร้างหนังยุคใหม่ที่จะต้องมีตัวละครเป็นเกย์และผิวสี (LBGT) ร่วมในทีมนักแสดงด้วยเพื่อความเท่าเทียม) ซึ่งตามบทก็ต้องมีฉากโรแมนติกเหมือนชาวบ้าน และตามยุคสมัยก็ต้องโจ่งครึ่มมากกว่าหนังในยุคโบราณด้วยซ้ำ
เหตุเพราะไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ก่อน มาสงสัยกับตอนหนึ่งที่เรื่องราวกำลังนำคนดูไปสู่คำเฉลย แต่แล้วฉากต่อมา เรื่องราวคลี่คลายซึ่งแสดงว่าคำเฉลยผ่านไปแล้ว แต่ทำไมผมถึงไม่รู้เรื่อง ฉันก็นั่งดูตาแป๋วอยู่ มันผ่านตาไปตอนไหนวะ
ด้วยความเอะใจผมเลยลองดูดหนังตอนเดียวกันนี้ที่มีคนเอามาปล่อยทาง อตน. (website ของคนไทยทำ) มาดูเทียบถึงได้รู้ว่าฉากเฉลยความลับน่ะ มันเกิดขึ้นตอนตัวละครเกย์กำลังมีบทโรแมนติคกับหนุ่มอยู่ แต่คณะกรรมการเซ็นเซ่อร์หั่นฉากนี้ไปด้วยความ ‘เข้มงวด’ มันก็เลยเกิดช่องว่างขึ้น ผมถึงได้งง
ตั้งแต่นั้นผมก็เลิกดูหนังเรื่องนี้ทาง I/UBC แล้วไปดูดจาก อตน. มาดูแทน รู้สึกเหมือนถูกมัดมือชก (ใช้คำถูกมั้ยหว่า หรือว่า ไม่ยุติธรรม) ต่อมาเมื่อเพื่อน ตปท. ส่ง website สำหรับโหลดหนังมาให้ ผมก็เลิกดูทีวีไปเลย แล้วยกเครื่องฯ ให้ชาวบ้านไป (เป็นทีวี ‘หัวทุย’ หนักอึ้ง สมัยนั้นทีวีจอแผ่นกระดาษยังไม่เข้ามา) แล้วดูหนังทั้งหลายทางจอคอมพิวเตอร์แทน
กลับมาที่หนัง Maurice หลังจากได้ดูฉบับ ‘เป็นการเป็นงาน’ คราวนี้นอกจากจะเข้าใจแล้วยังชอบมาก ๆ ด้วย ผมชอบบทสนทนา สละสลวยมากแล้วบรรยากาศของอังกฤษสวยจริง ๆ ฉากโรงเรียนถ่ายทำที่ King's College, Cambridge
เขียนถึงตรงนี้ทำให้นึกได้ถึงไก่ที่ตัวเองเคยปล่อยออกมาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เกี่ยวกับการออกเสียงเรียกชื่อคน ตะแรกเริ่มชื่อ Hugh ผมจะอ่านออกเสียงว่า ‘ฮิ้ว + เชอะ’ ปรากฏว่าครั้งหนึ่งดันไปออกเสียงให้เจ้าของภาษาฟัง เธอเลยจับมาแก้ไขเสีย โดยบอกว่า ให้ออกเสียงว่า ‘ฮิว’ เฉย ๆ คำว่า ‘เชอะ’ ทิ้งไป คำว่า ‘ฮิ้ว + เชอะ’ ใช้อ่านคำว่า huge ที่แปลว่า ใหญ่โต
ส่วนนามสกุลของเธอ Grant จะอ่านว่า ‘กร้านท์’ หรือ ‘แกร้นท์’ ต้องไปถามเจ้าตัวดูจ้ะ