เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 18497 ฉากประทับใจในหนังเก่า (4)
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 06 ก.ย. 22, 12:52

ชื่อเสียงของ Jessica Lange เริ่มติดหูนักดูหนังจากเรื่อง King Kong (1976) อันเป็นฉบับสร้างใหม่  นั่นเป็นหนังเรื่องแรกของเธอ  หนังเข้ามาฉายในบ้านเรา  ผมก็เข้าโรงฯ ไปนั่งป๋อหลอดูแต่จำรายละเอียดอะไรอื่นไม่ได้นอกจากเสียงเธอกรีดร้องวี้ด ๆ



จำได้ว่า SP เล่าว่า นักวิจารณ์เมื่อได้ดูหนังเรื่องนี้ต่างบอกว่าเธอเริ่มต้นได้ไม่ดี (เพราะเป็นเจ้าสาวของ KK) อนาคตทางการแสดงคงไปได้ไม่ไกล

ชะรอยเธอคงได้ยินแล้วรีบปรับเปลี่ยนบทบาททางการแสดง  บทของเธอในหนังเรื่องต่อ ๆ มาจึงเข้มข้นขึ้นดังเช่น เรื่องต่อมาที่ผมตีตั๋วเข้าโรง (EMI) ไปดูเธอเล่นคือ The postman always rings twice (1981 - ฉบับสร้างใหม่)  บทของเธอหนักหน่วง ทั้งโดนตบทั้งโดนจูบ  โดยเฉพาะฉาก ‘ล่อกัน’ บนโต๊ะทำอาหารในครัวกับ Jack Nicholson   คนดูเพศชายนั่งจ้องฉากนี้บนจอกันเงียบกริบ (และเหงื่อแตก)  ทำไมไม่โดน 'หั่น' ก็ไม่รู้  ทีฉากเอาปืนจ่อหัว  ใช้แป้งเปียกป้ายตรงปืน  ทำมัว ๆ หลอกคนดู (เพราะคิดว่าคนดูปัญญาอ่อน)  เสียดายที่ไม่มีใครย่อย clip ฉากที่ว่ามาให้ดู  แปลกจัง



ตัวอย่างหนัง



มาปี 1982 ก็มีหนังของเธอเข้ามาฉายในบ้านเราถึง 2 เรื่อง  บทของเธอในหนังทั้ง 2 ต่างกันลิบลับ  ในเรื่อง Tootsie เธอเล่นเป็นนักแสดงสาวที่ต่อมาเป็นเพื่อนสนิทกับนักแสดงชายที่ตกงานจึงต้องปลอมตัวเป็นหญิงแล้วเริ่มต้นทางการแสดงใหม่ (เล่นโดย Dustin Hoffman) โดยที่ตัวเธอ (JL) เองไม่ได้ระแคะระคายมาก่อนจนกระทั่งมาถึงฉากนี้



เป็นหนังสนุกสนานบรรยากาศสดใส  เพลงในเรื่องคือ It might be you ร้องโดย Stephen Bishop ดังกระหึ่มในบ้านเรา

(1.30 คือ Andy Warhol ศิลปินชื่อก้องโลก)


ผมไม่รู้ว่าคำว่า ‘ตุ๊ด’ นี่มีต้นกำเนิดมาจากชื่อหนังเรื่องนี้รึเปล่า  อย่างไรก็ตาม  หนังเรื่องนี้ผ่านตาพวกเรานักชมหนังฝรั่งมากกว่าอีกเรื่องที่เข้ามาฉายในเวลาใกล้เคียงคือ Frances  เป็นหนังสร้างจากประวัตินักแสดงสาว Frances Farmer ที่อยู่ในวงการฮอลลีวู้ดยุค 30s

FF เป็นนักแสดงที่มีอนาคตไม่ไกลเนื่องจากเธอป่วยทางจิตและติดเหล้าติดยาด้วย  เอาให้วุ่น  บุคลิกของเธอจึงสร้างปัญหาให้กับการทำงาน  ในที่สุดทางครอบครัวจึงต้องส่งเธอเข้า ‘สถานบำบัด’  เธอเข้า ๆ ออก ๆ อยู่ร่วม 10 ปี  จนกระทั่งเข้าปี 1950 เธอจึงเป็นอิสระ  แต่อาชีพทางการแสดงของเธอพังพินาศ

JL สวมบท FF  บทเธอหนักหนาสาหัสโดยเฉพาะช่วงเวลาที่อยู่ใน สถานบำบัด  มีทั้งฉากการรักษาแบบโหด ๆ โดนข่มขืน ฯลฯ  บรรยากาศหนักอึ้ง



Clip ย่อยของหนังเรื่องนี้มีน้อยมาก ผมอยากเห็นฉากแม่ผู้ห่วงใยของ FF  เป็นนักแสดงชื่อ Kim Stanley อีกครั้ง  เล่นได้ดีจนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar

ส่วนฉากนี้ผมจำไม่ได้ว่าอยู่ตรงส่วนไหนของเรื่อง  แต่สังเกตจากใบหน้าฟกช้ำของเธอน่าจะเป็นช่วงหลังจากกลางเรื่องที่เธอหนีออกมาจากสถานบำบัดแห่งหนึ่ง



ฉากจบของเรื่องเกิดขึ้นในปี 1958 เมื่อเธอกลับมาเป็นผู้เป็นคนเหมือนเดิมแล้ว  ตอนท้ายของ clip บอกรายละเอียดในเวลาต่อมาของชีวิตเธอ



ตัวอย่างหนัง



มีคนทำฉากเปรียบเทียบระหว่างของจริงกับของสร้างใหม่ให้ดู ในช่วงหลังเธอมาออกรายการสัมภาษณ์ทางทีวีในปี 1958 ชื่อรายการ This is your life (จบจาก clip นี้ก็เป็นฉากจบใน clip ก่อนหน้านี้)



FF เล่นหนังไม่มาก  ส่วนใหญ่เป็นหนังเกรด B  มีเกรด A เด่น ๆ คือเรื่อง Rhythm on the range (1936) ที่เธอเล่นคู่กับ Bing Crosby





กลับมาที่ JL จาก 2 บทที่มีบุคลิกแตกต่างกันและเธอแสดงได้เด่นทั้ง 2 บท  ทำให้ปีนั้นมีชื่อเธอเข้าชิง Oscar ถึง 2 ตัว  จาก 2 บทบาทที่ว่า  และคว้าไป 1 ตัวจากหนังเรื่อง Tootsie

หลังจากนั้นชื่อ Jessica Lange ก็ติดลมบนมาจนถึงปัจจุบัน  ระหว่างทางเธอสร้างสถิติทางการแสดงไว้มากมาย  และรับรางวัลจากสถาบันต่าง ๆ ไปเป็นเข่ง
 
ในบั้นปลายเธอขยับมาสนุกสนานกับการเล่นหนังออกฉายทางทีวี  การแสดงของเธอยังคงเฉียบคมเพราะยังคงได้รับการเสนอชื่อ + รับรางวัลไม่หยุดหย่อน

แถม clip เธอเต้นรำกับเพลงในยุคต้น 60s  หนังชุดเรื่อง American horror story นี้เธอเป็นขาประจำไม่ว่าจะสร้างมากี่ฤดูกาล หรือกี่ plot เรื่อง  ผู้สร้างก็ยังคงเลือกเธอมารับบทเด่น  จนกระทั่งเธอเบื่อไปเอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 06 ก.ย. 22, 13:27

อ้างถึง
แล้ว 'จาร ต้องเคยได้ยิน Fascination (Jane Morgan) อย่างแน่นอนนะครับ

Jane Morgan  หนึ่งในนักร้องคนโปรดเลยละค่ะ

ส่วน Jessica  Lange  เคยดูเธอจาก Blue Sky  ค่ะ  แต่ก็งั้นๆไม่ได้ติดใจเท่าไหร่ กลับไปชอบ Tommy Lee Jones มากกว่า เขาเป็นดาราที่ดูไม่เป็นดารา แต่ดูเป็นผู้ชายซื่อๆ และ บื้อๆของจริง สมบทบาท
หนัง King Kong  ชอบเวอร์ชั่นที่ Naomi Watts เล่นมากที่สุด   มันเว่อร์สุดๆ   สมกับลักษณะของเรื่องที่ตัวเจ้าคิงคองก็เว่อร์เกินจริงอยู่แล้ว

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 08 ก.ย. 22, 12:38

อ้างถึง
แล้ว 'จาร ต้องเคยได้ยิน Fascination (Jane Morgan) อย่างแน่นอนนะครับ



ส่วน Jessica  Lange  เคยดูเธอจาก Blue Sky  ค่ะ  แต่ก็งั้นๆไม่ได้ติดใจเท่าไหร่ กลับไปชอบ Tommy Lee Jones มากกว่า เขาเป็นดาราที่ดูไม่เป็นดารา แต่ดูเป็นผู้ชายซื่อๆ และ บื้อๆของจริง สมบทบาท
หนัง King Kong  ชอบเวอร์ชั่นที่ Naomi Watts เล่นมากที่สุด   มันเว่อร์สุดๆ   สมกับลักษณะของเรื่องที่ตัวเจ้าคิงคองก็เว่อร์เกินจริงอยู่แล้ว



โอ้ Blue Sky อีกหนึ่งงานชิ้นโบว์แดงของ JL เลยครับ  เธอได้ Oscar เป็นตัวที่สองจากบทเมีย bipolar disorder  ดูแล้วไม่อยากเขียนถึงเพราะบรรยากาศสดใสแต่เนื้อเรื่องชวนหดหู่




(ไม่เคยเห็น TLJ หล่อเลย  แต่เรื่องนี้เธอแต่งเครื่องแบบได้เท่สุดขีด  ไก่งามเพราะขนฯ จริง)



(เห็นหน้า Tom Hanks แล้วคิดถึงโฆษณายา บวดหาย ครับ)
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 08 ก.ย. 22, 13:50

ผมจำได้แม่น (จากการอ่าน SP) ว่าการประกาศผลรางวัล Oscar ดารานำชายปี 1975 เป็นของนักแสดงสูงอายุชื่อ Art Carney (เกิด 1918)  ถ้าเทียบช่องว่างกับอายุผม  ต้องเรียกคุณตา

คุณตาเอาชนะคู่แข่งอีก 4 คนที่เป็นรุ่นลูกทั้งนั้นคือ Jack Nicholson, Al Pacino, Dustin Hoffman และคนที่ 3 เป็นรุ่นน้องคือ Albert Finney

หนังที่คุณตาเล่นมีชื่อว่า Harry and Tonto  

ผมเป็นคนชอบสถิติ  สถิติแบบนี้ก็เลยจำได้ไม่ลืม  ส่วนตัวหนังนั้น  ไม่รู้ว่ามาฉายในบ้านเรารึเปล่า  ถ้ามาผมก็คงไม่ดูเพราะไม่สนใจหนังดราม่าแบบนี้  ตอนนั้นอายุยังไม่ 20   หมกมุ่นแต่หนังรักหวานแหววแนวคิกคัก  ไม่ก็แฟนตาซีไปเลย

จนกระทั่งเมื่อวานนี้ (นับจากวันที่ลงมือฝอยเรื่องนี้) เอง  มีคนใจดีเอาหนังเรื่องนี้มาปล่อยให้ ‘โหลด’  หลังจากขอบคุณในความใจดีก็ โหลด เอามาดูซะ

หนังเล่าเรื่องการผจญภัยในแบบ road movie ของคุณตาซึ่งเป็นหม้าย  อาศัยอยู่กับแมวเพื่อนรักชื่อ Tonto ใน apartment  ใน New York  



เล่าเลยก็แล้วกัน... วันหนึ่งคุณตา (พร้อมผู้อาศัยคนอื่น ๆ) ก็โดนไล่ที่เพราะทางการจะรื้อตึกเอาไปทำที่จอดรถ

คุณตาไม่ยอมจึงเป็นคนสุดท้ายที่ย้ายออกจากตึก (โดย จนท. อุ้มลงมาทั้งเก้าอี้) ลูกชายคนโตที่อยู่ไม่ไกลรู้ข่าวก็รีบขับรถมารับไปอยู่ด้วย

บ้านของลูกชายคนโตมีขนาดเล็กและอยู่กันอย่างแออัดพร้อมเมียและลูกชายหนุ่มโข่ง 2 คน  ทุกคนต้อนรับคุณตาอย่างเต็มใจ (แสดงให้เห็นว่าคุณตาทำตัวเป็นหลักมาตลอด)  แต่คุณตาเองกลับคิดว่าไม่ควรเอาภาระไปโยนให้ แล้วที่นี่ก็ไม่เลี้ยงสัตว์  ก็เลยบอกลูกชายว่าไปจะหาลูกสาวที่ Chicago  การผจญภัยเริ่มขึ้นตรงนี้


เริ่มแรกคุณตาจะไปทางรถโดยสาร  คุณตามีบำนาญจากการสอนหนังสือ  จึงไม่รบกวนเงินใคร แต่ลูกชายบอกว่าใช้เวลานานก็เลยอาสาออกเงินค่าเครื่องบินให้

ลูกชายไปส่งพ่อที่สนามบิน  ร้องไห้ล่ำลา (เค้าบอกว่าเขียน 'ร่ำลา' ก็ได้  เพิ่งรู้) แล้วก็จากไป  คุณตาเดินเข้าไป check-in แล้วพบว่า  จนท. ต้องเอา Tonto  ใส่ไว้ใต้เครื่องซึ่งคุณตาไม่ยอมเพราะไม่เคยแยกจากกัน  จนท. ก็เลยไม่ให้คุณตาขึ้นเครื่อง  (ฉากทะเลาะกันน่ารักมาก)

คุณตาก็เลยหันไปพึ่งรถโดยสารตามเดิม  ซึ่งก็พบปัญหาอีกเพราะ Tonto ไม่มีที่ฉี่  คนขับก็ไม่สามารถจอดข้างทางได้เพราะผิดกฎ ลงท้ายคุณตาก็เลยต้องลงกลางทาง  แล้วเดินต่อไปเรื่อย ๆ ถึงอู่ขายรถมือ 2 คุณตาก็ซื้อรถเน่า ๆ 1 คัน  คราวนี้เดินทางอย่างสบายใจทั้งคนทั้งแมว

พอถึงเวลาพักนอนก็เช่า รร. แล้วโทร. แจ้งลูกชายว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง  คุยกันไปมา (จากการถ่ายทำซึ่งเห็นเฉพาะฝั่งคุณตา  อีกฝั่งที่มองไม่เห็นเป็นลูกชายซึ่งคงโวยวายเพราะเป็นห่วง  เลยโดนพ่อแว้ด)  แล้วก็พบว่าใบขับขี่ของตัวเองหมดอายุไปตั้งแต่ปี 1958

การเดินทางในวันต่อ ๆ ไปจึงเป็นแบบลับ ๆ ล่อ ๆ  จนกระทั่งครั้งหนึ่งพอเห็นสายตรวจผ่านมา  คุณตาก็รีบรับคู่หนุ่มสาวโบกรถแล้วให้พ่อหนุ่มขับแทน  แต่ไปได้ไม่ตลอดทางพ่อหนุ่มก็ขอแยกทาง  ตอนแรกคุณตานึกว่าแม่หนูจะตามพ่อหนุ่มไปด้วยเพราะดูเป็นแฟนกัน  ปรากฏว่าทั้งคู่ไม่รู้จักกัน  คุณตาก็เลยหิ้วแม่หนูเดินทางต่อ

ระหว่างทางคุยกันไปมาพบว่าแม่หนูหนีออกจากบ้าน  มีจุดมุ่งหมายที่ชุมชนหนึ่งในรัฐ Colorado  



คืนนั้นทั้งคู่เช่าห้องใน รร. นอน  คุยเรื่อยเปื่อยแล้วก็โดนแม่หนูยุให้ออกนอกเส้นทางไปตามหาอดีตแฟนของคุณตา

คุณตาบ้ายุก็เลยทำตาม  แล้วก็พบว่าตอนนี้แฟนเก่าเป็นโรคสมองเสื่อมไปแล้ว

ในที่สุดคุณตาก็มาถึง Chicago  ก็ไปหาลูกสาวแล้วรื้อฟื้นความจำได้ว่า  ลูกสาวคือจอมบงการ  แล้วในอดีตก็ไม่ค่อยจะลงรอยกันเท่าไร

คุณตาก็ออกเดินทางต่อ  คราวนี้จุดหมายอยู่ที่เมือง Los Angeles ในรัฐ California  เธอจะไปหาลูกชายคนเล็ก  พอพบแล้วก็พบความจริงว่าตอนนี้ลูกชายคนเล็กกำลังถังแตก  เธอดีใจมากที่พ่อมาหาเพราะอยากให้มาอยู่ด้วยจะได้ช่วยกันออกค่าเช่าบ้าน  ซึ่งไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ของคุณตา  เธอก็เลยให้เงินลูกชาย (วัยเริ่มแก่แล้ว) ไว้เป็นทุนฉุกเฉินแล้วออกเดินทางต่ออีก

สรุปแล้วคุณตาเดินทางข้ามทวีป  จาก New York มา California  แต่คุณตาชอบบรรยากาศของที่นี่ที่มีแสงแดดและอากาศโปร่งสบาย  ก็เลยป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้น

แล้วก็มาถึงตอนจบเมื่อ Tonto แมวเพื่อนยากของคุณตา  หลังจากสะบักสะบอมกับการเดินทางข้ามทวีปในวัยชรา (อายุ 11 ขวบ)  ก็หมดแรงและตัดสินใจหยุดหายใจอย่างสงบ คุณตาร่ำลาเพื่อนรัก (ฉากนี้เล่นเอาจิตที่สดใสมาตลอดเรื่อง  ตกไปเหมือนกัน) แล้วก็สรุปว่าในที่สุดเราก็ต้องอยู่ตัวคนเดียว

ก่อนถึงฉากนี้ผมก็คิดอยู่ว่าเรื่องจะจบอย่างไร  จากประสบการณ์คิดว่าจะเป็นคุณตาที่เดินทางมานานเกินแรงแล้วก็ตาย กลับกลายเป็นแมว


หนังออกฉายในปี 1974  ทำให้เห็นทิวทัศน์ของอเมริกาในช่วงนั้น  มันเป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับที่ผมเขียนจดหมายไปหา Helen Reddy (ที่ New York) กับ Carly Simon (ที่ Los Angeles) ซึ่งถ้าผมเดินทางเอาจดหมายไปให้กับมือ  ก็คงเห็นอเมริกาในบรรยากาศแบบนี้

หนังมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่น่ารักขำ ๆ ประปรายเป็นต้นว่า  ตอนคุณตาไปหา Jesse Stone แฟนเก่าที่ไม่ได้เจอกันมากว่า 50 ปี  พอไปถึงหน้าบ้านก็กดกิ๊งก่องพบคนมาเปิดประตูเป็นชายวัยกลางคนผิวดำ  คุณตาชักลังเลจึงถามก็ได้ความว่าชายคนนี้เป็นผัวของ JS
 
คุณตาทำหน้างง ๆ  สักพักสาว JS ก็เดินมา  เธอเป็นนิโกร  ผัวของเธอก็ล้อว่า  เพิ่งรู้ว่าแฟนเก่าของเธอเป็นชายผิวขาววัยแก่คราวพ่อ  ความก็เผยออกมาว่าที่ย่านนี้มีคนชื่อ Jesse Stone 2 คน


อีกฉากหนึ่งเป็นตอนที่คุณตาดั้นด้นมาจนถึงบ้านลูกสาวที่ Chicago  ซึ่งเธอทำอาชีพเปิดร้านขายหนังสือ  พอเปิดประตูเข้าไปก็พบหน้าหลานชายลูกของลูกชายคนโตที่ New York  ที่ตัวเองจากมา  คุณตาก็ งง แล้วถามว่ามาทำอะไรที่นี่  หลานชายก็บอกว่าพ่อให้มารับกลับบ้าน

ส่วนลูกสาว  พอเห็นว่าพ่อตัวเองเดินทางมากับเด็กสาวแปลกหน้าอายุคราวหลานสองต่อสอง  ก็มองหน้าพ่อแบบว่า อ้าว... เป็นเฒ่าหัวงูไปแล้วพ่อฉัน

พอเห็นว่าอยู่กับลูกสาวไม่ไหว  ก็ออกเดินทางต่อ  คราวนี้มีหลานชายเพิ่มมาอีกรวมกับแม่หนูเป็น 3 ชีวิต  มาถึงทางแยกที่จะแยกไป Colorado  หลานชายเกิดเห็นดีเห็นงามกับสาวน้อยเรื่องไปตายเอาดาบหน้าที่นั่น  ก็เลยไม่ร่วมเดินทางไปกับคุณตา  แต่ตั้งใจไปกับแม่หนูเพื่อนใหม่แทน  คุณตาเป็นห่วงก็เลยมอบรถเน่าให้ขับไปด้วยกัน  ส่วนตัวเองโบกรถต่อ


ช่วงสุดท้ายของการเดินทางคุณตาโบกได้รถขับโดยสาวสวยซึ่งปรากฏว่าเธอเป็นโสเภณีชั้นสูงที่ตอนนั้นกำลังเหงาจัด  คุณตาก็เลยได้ ‘ขึ้นสวรรค์’ โดยไม่ต้องเสียตังค์



ที่เล่ามายืดยาวแบบไม่ต้องดูหนังก็ได้  จะบรรยายว่าบุคลิกของคุณตาเป็นคนน่ารักที่สุด  เธอเป็นคนตรงไปตรงมา  ไม่ชอบเป็นภาระให้ใคร  อีกทั้งมีวิสัยทัศน์  และมีเหตุผล  เป็นที่พักพิง (ทั้งทางใจและทางทรัพย์แม้ตัวเองจะเกษียณมานานแล้วก็ตาม) ให้ลูก ๆ แม้พวกมันจะโตเป็นควายแก่ ๆ กันหมดแล้ว  สรุปแล้วเป็นบุคลิกของคุณตาที่ทุกคนอยากมี

Art Carney รับบทนี้ได้อย่างเยี่ยมยอด  หนังเรื่องนี้ได้เข้าชิงอีก 1 สาขาคือ บทภาพยนต์ยอดเยี่ยม  ซึ่งหลังจากดูจบแล้วก็ไม่แปลกใจ

อีกรางวัลหนึ่งแต่ไม่ใช่ Oscar ที่หนังได้รับเป็นของ Tonto (จริง ๆ ก็ชื่อนี้)  รางวัลชื่อ Best Animal Performer in a Motion Picture

ตัวอย่างหนัง

(ฉากในตัวอย่างไม่ได้ดำเนินเรียงไปตามลำดับเหตุการณ์)


เพลงเริ่มต้นหนังเพราะมากฝีมือ Bill Conti



หมายเหตุ – รถเน่าราคาแค่ 250 ดอลล่าร์  

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 08 ก.ย. 22, 15:08

Art Carney  เป็นนักแสดงเก๋ากึ๊กที่รับบทตัวรองได้เฉียบขาดกว่าตัวเอกมาตั้งแต่หนังทีวียังขาวดำ ค่ะ  จำเขาได้จากบทเพื่อนบ้านของแจ๊คกี้ กลีสันในซิทคอม The Honeymooners
เป็นหนังทีวีดังในยุคก่อนคุณโหน่งเกิด
คุณทวดอาร์ตได้รับเสนอชื่อชิงรางวัลเอมมี่ 7 ครั้ง คว้ารางวัลไป 6 ครั้ง 

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 09 ก.ย. 22, 12:14

Art Carney  เป็นนักแสดงเก๋ากึ๊กที่รับบทตัวรองได้เฉียบขาดกว่าตัวเอกมาตั้งแต่หนังทีวียังขาวดำ ค่ะ  จำเขาได้จากบทเพื่อนบ้านของแจ๊คกี้ กลีสันในซิทคอม The Honeymooners
เป็นหนังทีวีดังในยุคก่อนคุณโหน่งเกิด
คุณทวดอาร์ตได้รับเสนอชื่อชิงรางวัลเอมมี่ 7 ครั้ง คว้ารางวัลไป 6 ครั้ง 



Sit-com เรื่องนี้มาฉายบ้านเราด้วยเหรอครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 09 ก.ย. 22, 12:25

ในเรื่อง Harry and Tonto นี้มีนักแสดงตัวประกอบที่ต่อมาเป็นนักแสดงระดับคุณภาพ Oscar เล่นด้วยคือ Ellen Burstyn  บทเธอมีนิดเดียวคือเป็นลูกสาวที่ไม่ค่อยจะลงรอยของคุณตา  

ก่อนหน้านี้ EB ดังติดหูผมจากบทแม่ของหนู Regan ใน The Exorcist (1973)  มัวแต่ตื่นเต้นกับผีอ้วกออกมาเป็นถั่วเขียวต้มกะทิดูแล้วน่ากิน  เลยลืมสังเกตเธอ  แต่คณะกรรมการพิจารณาฯ  ไม่ลืม  เธอเลยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar เป็นครั้งแรกในฐานะนำหญิง (แต่เป็นการเข้าชิงครั้งที่ 2 ... จากทั้งหมด 6 ครั้ง)

ปีนั้น (1974) นักแสดงนำหญิงที่ได้คือ Glenda Jackson นักแสดงจากอังกฤษ  ได้จากเรื่อง A touch of class  ผมจำได้แม่นว่าหนังมาฉายที่โรงในเครือสยาม  แต่ผมไม่ได้ดู

และจำได้อีก (จาก SP เจ้าเดิม) ว่า  ชาวอเมริกันเค้าจับ GJ ไปเทียบกับ EB  แต่จำไม่ได้แม่นเพราะสาเหตุอะไร  รู้สึกจะหน้าตาคล้ายกัน




อีกเรื่องที่คราวนี้จำได้แม่นเกี่ยวงานแจก Oscar ปีนั้นคือการปรากฏตัวของ ‘The streak’ บนเวที  เรื่องนี้ดังมาก  มาเป็นข่าวออกทางข่าวต่างประเทศที่บ้านเราด้วย  ผมรออยู่นานจนกระทั่ง youtube เจริญพันธุ์แล้วถึงมีโอกาสได้ดูซ้ำ  คราวนี้เป็นหนังสีด้วย



EB มาได้ Oscar ในปีถัดมา  ไม่ใช่บทจาก Harry and Tonto แต่จากบทแม่หม้ายลูกติดที่ท่องเที่ยวไปทั่วอเมริกาเพื่อตามหาอนาคตที่ดีให้กับเธอและลูก  หนังมีชื่อว่า Alice doesn’t live here anymore  หนังมาฉายบ้านเรารึเปล่าก็จำไม่ได้  และผมก็ยังไม่ได้ดู  แต่จำได้แม่น (อีกครั้ง) คือ  ข่าวที่ตามมาหลังจากผลประกาศออกมาแล้ว  ชาวอเมริกันล้วนยินดีที่ EB ได้ Oscar  จำได้คร่าว ๆว่า  ‘...อเมริกาไม่น้อยหน้าอังกฤษแล้ว...’

(หมายเหตุ – ผมว่าถ้าเอาละเอียด ๆ อเมริกาก็ยังน้อยหน้าอยู่คือ GJ ได้ Oscar 2 ตัวในขณะที่ EB ได้ 1 ตัว)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 09 ก.ย. 22, 13:04


Sit-com เรื่องนี้มาฉายบ้านเราด้วยเหรอครับ

ฉายซีคะ  ไม่งั้นดิฉันจะรู้จักได้ยังไง
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 12 ก.ย. 22, 13:34


Sit-com เรื่องนี้มาฉายบ้านเราด้วยเหรอครับ

ฉายซีคะ  ไม่งั้นดิฉันจะรู้จักได้ยังไง

อ้อ...
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 12 ก.ย. 22, 13:50

ยังหลงอยู่ในกลุ่มควันของหนัง Harry and Tonto


นักแสดงอีกคนที่เล่นใน Harry and Tonto โดยเล่นเป็นหลานหนุ่มคนโตของคุณตา (คนละคนกับหลานที่ร่วมเล่นในเรื่อง  นั่นคนเล็ก) มีชื่อว่า Cliff De Young 

ปีก่อนหน้าหนัง H&T  เธอเคยเล่นหนังชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา ทำนองเดียวกับหนัง Love story   เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงของหญิงสาววัย 20 ที่เป็นทั้งเมียและแม่ของลูกเล็ก  ในวัย 20 ที่ว่าเป็นวัยที่เธอเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง  ก่อนหน้านี้เธอได้ทำการบ้านโดยทำบันทึกในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตของเธอ  ความเป็นเมียและแม่ในวัยเยาว์  และการเผชิญหน้ากับความตาย  เพื่อเก็บไว้ในลูกอ่านหลังจากที่เธอจากไปแล้ว  วันหนึ่งเครื่องบันทึกเสียงที่ใช้เป็นประจำโดนขโมย  จาก 1 เป็น 2... ในที่สุดเรื่องราวของเธอออกสู่สาธารณชน  เธอโด่งดังโดยไม่รู้ตัว  หลังจากนั้นเธอก็ได้รับเครื่องบันทึกเสียงตัวใหม่และทำงานต่อไปจนกระทั่งถึงวันสุดท้ายของชีวิต

หนังออกฉายในปี 1973 ใช้ชื่อว่า Sunshine  และใช้เพลง Sunshine on my shoulder ของ John Denver เป็นเพลงหลักของเรื่อง แต่ให้ชื่อเพลงแค่ Sunshine และร้องโดย CY  แต่เพลงที่เด่นคือ My sweet lady ที่แต่งโดย JD เช่นกัน  ในหนังร้องโดย CY  เสียงเธอเพราะมาก



หนังมาฉายที่โรงฮอลลีวู้ด  ท่ามกลางเสียงเพลง SOMS ของ JD ที่กำลังดังกระหึ่มทั่วกรุงเทพฯ 

ตัวอย่างหนัง

(หมายเหตุ – จนกระทั่ง อตน. ถือกำเนิดผมถึงหาข้อมูลอ่านได้ว่า  หนังเรื่องนี้ความจริงแล้วสร้างสำหรับฉายทางทีวี  ซึ่งเรียก rating ได้สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ณ เวลานั้น  แต่ทำไมกลายเป็นหนังมาเข้าในโรงบ้านเราได้ก็ไม่รู้)


ควันหลงสำหรับเรื่องนี้...

ในปี 1973 ผมยังเรียนหนังสืออยู่  วันรุ่งขึ้นเป็นวันเรียน  ผมก็ไปเรียนตามปกติ  เช้านั้นเจอ ขาโหด ของผม (เคยนินทาไว้ในตอนหนังของ Agnes Chan)  เธอตรงเข้ามาซักว่า เมื่อวานมึงไปทำอะไรที่โรงหนังฮอลลีวู้ดฮึ  ผมกวนตีนในใจว่า ก็ไปดูหนังซีวะ  จะให้ไปไถนาเหรอ  แต่ที่พูดออกมาคือ ไปดูหนังอ้ะ

ขาโหด ถามว่า แล้วเป็นไงวะ  ผมนึกภาพตัวเองร้องไห้โฮ ๆ อยู่ในโรงตอนท้ายเรื่องแล้วยิ้มแหย ๆ พลางบอกว่า  ก็งั้น ๆ แหละ  แต่เพลงเพราะ

ขาโหด มองหน้าผมแล้วพูดเรียบ ๆ ว่า ‘เป็นเอามากนะมึง’

ตอนเธอเดินจากไป ผมคิดในใจว่าเดี๋ยวก็คงไปปูดให้ลูกสมุนฟังว่า  เห็นผมไปดูหนังรักรันทด  แล้ววันนี้คงตกเป็นขี้ปากให้ไอ้ก๊กนี้ไปทั้งวันแน่

แต่ปรากฏว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น  วันนั้นผมก็ยังเจอก๊กนี้อยู่  แล้ว ขาโหด ก็ยังหาเรื่องแขวะผมเหมือนเดิม  แต่เป็นเรื่องอื่น  ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์ไปดูหนังเมื่อวาน

ต่อมาอีกนานเมื่อผมโตพอที่จะมีความถนัดในเรื่องความเข้าใจในการใช้ภาษาไทย  เมื่อใดที่ผมเจอคำว่า นักเลง กับ อันธพาล  ผมเป็นอดนึกถึง ขาโหด ในวันนั้นไม่ได้ 

ผมว่า ขาโหด ของผมคือ ตัวอย่างของ นักเลง  ไม่ใช่ อันธพาล

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 13 ก.ย. 22, 13:21

SP เล่าว่าหนังเคาบอย (Western movies) เรื่องแรกที่ได้รางวัล Oscar หนังยอดเยี่ยมคือเรื่อง Cimarron (1931) 




หนังเคาบอยมีสร้างออกมาเรื่อย ๆ  แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดอยู่ในช่วงปลาย 50s ถึง ต้น 60s  ช่วงนั้นมีหนังเคาบอยดี ๆ ออกมาให้คน (ยกเว้นผม) ได้ดู  หนังพวกนี้มีงานสร้างโดดเด่น  และที่โดดเด่นในอีกสาขาหนึ่งคือเพลงประกอบ  เพลงประกอบของหนังเคาบอยบางเรื่องเป็นอมตะหูนักฟังเพลงมาจนถึงปัจจุบันเช่น

The Big Country (1958) - Jerome Moross



The Magnificent Seven (1960) - Elmer Bernstein (หนังดัดแปลงมาจากหนังญี่ปุ่นชื่อ Seven Samurai ของ Akira Kurosawa  ผมจำชื่อไทยได้ด้วยแต่ไม่แม่น  ต้นฉบับชื่อ เจ็ดเซียนซามูไร  หนังเคาบอยชื่อ เจ็ดสิงห์แดนเสือ .... ใช่ปะ)



รั้งท้ายด้วย The Good, the Bad and the Ugly (1966) หนังเคาบอยในแบบฉบับของ Spaghetti Western ที่กำลังเป็นที่นิยมในช่วงนั้น - Ennio Morricone



เพลงประกอบหนังอีกเรื่องหนึ่งที่ความดังเข้าขั้นอมตะไม่แพ้หนังใหญ่มาจากหนังทีวีชุด Bonanza ที่ออกฉายตั้งแต่ปี 1959 ถึง 1973 - Ray Evans & Jay Livingston

หนังชุดเรื่องนี้ผมมีโอกาสได้ดู  แต่ไม่บ่อย  คนที่ดูประจำคือบรรดาผู้ปกครอง  ที่ผมจำได้แม่นคือบ้าน log home ของครอบครัว Cartwright  โดยเฉพาะห้องนั่งเล่นที่สวยมาก  ไม่เห็นมีใครเอารูปมาลงให้ดูเลย


ส่วนหนังใหญ่ที่กล่าวมาผมไม่เคยได้ดูสักเรื่อง  โดยส่วนตัวไม่ชอบหนังเคาบอย  ไม่ชอบคนยิงกัน  อย่างไรก็ตาม  ในปี 1985  ผมก็กลืนน้ำลายตัวเองแล้วเข้าโรงไปดูหนัง Silverado  หนังเคาบอยแท้ ๆ ที่ขณะดูอยู่ก็บอกกับตัวเองว่า  ฮู้ย... สนุกจริง ๆ หนังมีครบทุกรส  เนื้อเรื่องก็จำเจเกี่ยวกับการล้างแค้นเทือกนี้  แต่งานสร้างและมุขต่าง ๆ ที่ทำให้ผมติดใจ

บทบาทที่เด่นที่สุดในสายตาผมเป็นของ Kevin Costner เธอรับบทเคาบอยหนุ่มเลือดร้อน  เป็นบทที่มีสีสัน  KC ตอนนั้นหล่อสุดขีด





ฉากดวลกันตามฉบับหนังเคาบอยแท้ ๆ



มีคนนับด้วยว่าเคาบอยแต่ละคนทำ 'score' ได้เท่าไรกันบ้าง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 13 ก.ย. 22, 13:34

คุณโหน่งเกิดไม่ทันหนังคาวบอยคลาสสิค High Noon (1952)   นอกจากแกรี่ คูเปอร์ได้ตุ๊กตาทองไปครองในฐานะดารานำชายแล้ว  เพลง High Noon ในเรื่องก็กลายเป็นเพลงคลาสสิคไปด้วย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 13 ก.ย. 22, 13:34

ฉากสุดระทึกใจของเรื่อง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 13 ก.ย. 22, 13:37

คุณโหน่งอ่านได้ที่นี่ค่ะ

https://en.wikipedia.org/wiki/High_Noon
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 15 ก.ย. 22, 12:02

คุณโหน่งอ่านได้ที่นี่ค่ะ

https://en.wikipedia.org/wiki/High_Noon

ขอบคุณครับ ได้ยินเรื่องนี้มาตั้งแต่อ้อนแต่ออก  ไม่เคยลงลึกเลยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.118 วินาที กับ 19 คำสั่ง