เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 4740 ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 26 ก.ค. 22, 10:46

สธ.ไม่ยกระดับสถานะฝีดาษลิง ยังเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

คกก.ด้านวิชาการ ตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีมติให้ฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามเดิม พร้อมจัดการเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่

วันที่ 25 กรกฎาคม​ 2565 ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์สมหวัง ด่านชัยวิจิตร ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ ตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กล่าวว่า ภายหลังจากที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

สำหรับประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคฝีดาษลิง มานานกว่า 2 เดือน และรายงานผู้ป่วยยืนยันรายแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565

ที่ประชุมพิจารณายังคงให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากอาการของโรคฝีดาษวานรไม่รุนแรง รวมถึง การแพร่เชื้อต้องมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย

ทั้งนี้ให้ยกระดับการเฝ้าระวัง เพิ่มการเฝ้าระวังแบบ sentinel (หรือเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่) ในกลุ่มเสี่ยง เช่น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กลุ่มหลากหลายทางเพศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน

หากพบผู้ป่วยเข้าข่ายให้สอบสวนโรคและดำเนินการเก็บตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัย หากติดเชื้อให้แยกกัก 21 วัน

สำหรับสถานการณ์โรคฝีดาษวานรในประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี

ซึ่งผลตรวจพบว่าเป็นสายพันธุ์ West Africa (A.2) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรง พบการแพร่ระบาดน้อย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต

สำหรับความคืบหน้าผลการตรวจ PCR ในผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรชาวไนจีเรีย ทั้ง 19 รายนั้น ผลตรวจเป็นลบทั้งหมด

อ่านรายละเอียดที่
https://www.prachachat.net/marketing/news-990554

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 27 ก.ค. 22, 14:28

นครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิง หรือ monkeypox เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างตราบาป ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอายจนปฏิเสธการรักษา

https://mgronline.com/around/detail/9650000071521


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 28 ก.ค. 22, 18:13

ในที่สุด ฝีดาษลิงก็มาถึงกรุงเทพ ตกใจ ตกใจ

วันนี้ (28 กรกฎาคม 2565) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 65 ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เขตดุสิต กรุงเทพฯ พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษวานร จึงมอบหมายให้สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค ลงพื้นที่สอบสวนโรคทันที จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ผู้ป่วยเป็นชายไทย อายุ 47 ปี ประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชายต่างชาติ ไม่ทราบสัญชาติ และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามตัวเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน และมีตุ่มหนองที่อวัยวะเพศ ได้แยกตัวจากคนในบ้านซึ่งมีผู้สัมผัสร่วม 10 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจหาเชื้อ และให้สังเกตอาการ 21 วัน 

ต่อมาผู้ป่วยไปซื้อยามาทา ทำให้ตุ่มหนองแห้ง แต่เริ่มขึ้นใหม่บริเวณแขน ขา ใบหน้า ศีรษะ และได้เข้ามารักษาที่โรงพยาบาลด้วยอาการผื่นและอวัยวะเพศบวม เจ็บ แสบ ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ หาเชื้อก่อโรค โดยห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลการตรวจ PCR ทั้งสองที่ตรงกัน พบเชื้อ Monkeypox virus ขณะนี้ให้ผู้ป่วยรักษาในห้องแยกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นชายไทยรายแรกของประเทศ และเป็นรายที่ 2 ที่ตรวจพบการติดเชื้อฝีดาษวานรในประเทศไทย (รายแรกเป็นชายชาวไนจีเรีย)

สถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.ค. 65) ผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 20,849 ราย พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น 74 ประเทศ โดยพื้นที่การแพร่ระบาดส่วนใหญ่พบอยู่ในแถบทวีปยุโรป ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 4,639 ราย สเปน 4,001 ราย เยอรมัน 2,459 ราย สหราชอาณาจักร 2,367 ราย และฝรั่งเศส 978 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชายเกือบทั้งหมด

นายแพทย์โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ได้ส่งทีมไปสอบสวนโรคเพิ่มในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และเร่งติดตามตัวชายชาวต่างชาติแล้ว และเน้นย้ำว่า โรคฝีดาษวานรไม่ได้ติดต่อกันได้ง่ายๆ ซึ่งจะติดต่อได้จากการสัมผัสใกล้ชิดมากๆ จึงขอให้กลุ่มเสี่ยงเพิ่มความระมัดระวัง และลดการสัมผัสใกล้ชิดกับคนแปลกหน้า เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อฝีดาษวานรและลดการ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นอีกด้วย ทั้งนี้ หากประชาชนมีอาการสงสัยว่าตนเองมีอาการป่วยเข้าได้กับโรคฝีดาษลิง สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 05 ส.ค. 22, 12:45

สาวไทยรายแรกติด "ฝีดาษลิง" นับเป็นคนที่ 4 พบใกล้ชิดหนุ่มต่างชาติที่ผับ

กรมควบคุมโรค เผยพบผู้ป่วยฝืดาษลิงรายที่ 4 เป็นผู้หญิงคนแรกของไทย มีประวัติใกล้ชิดชายต่างชาติที่สถานบันเทิงใน กทม. มีอาการตั้งแต่ 29 ก.ค. เร่งติดตามเพื่อนร่วมห้อง 2 ราย ค้นหาสัมผัสใกล้ชิดรายอื่น และหนุ่มต่างชาติ

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้รับรายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานร รายที่ 4 ของประเทศไทย เป็นหญิงไทยอายุ 22 ปี มีประวัติเสี่ยงไปเที่ยวสถานบันเทิง ในพื้นที่ กทม. ย่านที่ชาวต่างชาตินิยมมาเที่ยวเป็นประจำประมาณสัปดาห์ละครั้ง และมีการสัมผัสใกล้ชิดกับชายชาวต่างชาติ โดยผู้ป่วยเริ่มมีไข้ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค. 2565 แต่ยังไปเที่ยวสถานบันเทิงพร้อมเพื่อนชาวไทย และชาวต่างชาติ วันที่ 30 ก.ค. 2565 เริ่มมีตุ่มขึ้นที่แขนขา แล้วลามไปทั่วร่างกาย รวมถึงอวัยะเพศ

วันที่ 3 ส.ค. 2565 จึงเดินทางเข้ารับการรักษาที่ รพ.แห่งหนึ่งใน จ.สมุทรปราการ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันพบเชื้อฝืดาษวานร (Monkeypox virus) วันที่ 4 ส.ค. 2565 ก่อนส่งตัวผู้ป่วยมารับการดูแลรักษาต่อที่สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค นับเป็นผู้ติดเชื้อโรคฝืดาษวานรรายที่ 4 และเป็นเพศหญิงรายแรกในประเทศ โดยผู้ติดเชื้อรายแรกเป็นชายชาวไนจีเรียที่ภูเก็ต รายที่ 2 ชายชาวไทย ใน กทม. และรายที่ 3 ชายชาวเยอรมันที่ภูเก็ต

นพ.โอภาส กล่าวว่า ขณะนี้ได้กำชับให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จ ชลบุรี ประสานสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) และสำนักอนามัย กทม. เร่งติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่เป็นเพื่อนร่วมห้องของผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ผู้สัมผัสคนอื่นๆ และเร่งติดตามตัวชายชาวต่างชาติแล้ว เน้นย้ำว่า โรคผีดาษวานรไม่ได้ติดต่อกันได้ง่ายๆ ซึ่งจะติดต่อได้จากการสัมผัสใกล้ชิดมากๆ จึงขอให้กลุ่มเสี่ยงเพิ่มความระมัดระวังและงดการสัมผัสใกล้ชิดกับคนแปลกหน้าเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อฝืดาษวานร

"ขอแนะนำประชาชน ให้ปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคฝืดาษวานร หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับคนแปลกหน้า หรือเพิ่งรู้จักกัน งดการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก เพราะมีความเสี่ยงที่ไม่รู้ประวัติพฤดิกรรมและการปวยของคนนั้น ย้ำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ยังสามารถป้องกันฝึดาษวานได้ โดยการล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น กินอาหารร้อนปรุงสุก หลีกเลียงสัมผัสใกล้ชิดผู้ที่มีอาการเข้าข่ายของโรคฝืดาษวานร โดยเฉพาะผู้ที่มีผื่น ตุ่ม หนอง ตามผิวหนัง และพยายามไม่จับบริเวณหน้า ตา จมูก ปาก หากมีอาการสงสัยเข้าได้กับโรคฝืดาษวานร สามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อตรวจหาเชื้อได้ทันที" นพ.โอภาสกล่าว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 15 ส.ค. 22, 14:19

รายที่ 5  มาแล้ว

ไทยพบผู้ป่วยฝีดาษลิงคนที่ 5 เป็นหญิงไทยวัย 25 พบเดินทางกลับจากดูไบ

วันที่ 15 สิงหาคม 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษวานรรายที่ 5 เป็นหญิงไทยอายุ 25 ปี มีประวัติเดินทางมาจากนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้าไทยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีการคัดกรองเฝ้าระวังที่ด่านควบคุมโรคที่สนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบกับมีอาการป่วยตั้งแต่ก่อนเดินทาง จึงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และเจ้าหน้าที่สังเกตพบตุ่มขึ้นที่ร่างกาย ผลการตรวจติดเชื้อฝีดาษวานร นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว และจากการสอบสวนโรคไม่พบมีผู้สัมผัสใกล้ชิด เนื่องจากเป็นการติดเชื้อจากต่างประเทศ จึงทำให้มีผู้สัมผัสใกล้ชิดเพียงคนที่นั่งใกล้ขณะโดยสารเครื่องบินแค่ 2 คน เป็นชาวต่างประเทศ จึงดำเนินการให้ติดตามและเฝ้าระวังต่อไป

นพ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับการติดเชื้อฝีดาษวานรนั้นยืนยันไม่ได้ติดเชื้อง่ายแบบโควิด-19 ผ่านระบบทางเดินหายใจ หรือรับประทานอาหารร่วมกัน แต่เป็นการติดเชื้อแบบสัมผัสใกล้ชิดจริงๆ และไม่ใช่ว่าโรคนี้ติดจากเพศสัมพันธ์ เพียงแต่กิจกรรมที่พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการสัมผัสแบบใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 30,000 คน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 6 คนเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 18 ส.ค. 22, 15:43

 พบ ‘สุนัข’ ติด ‘ฝีดาษลิง’ จากมนุษย์เคสแรกในโลก WHO เตือนความเสี่ยง ‘เชื้อกลายพันธุ์’

องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาแถลงเตือนในวันพุธ (17 ส.ค.) ให้ผู้ป่วยฝีดาษลิงหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง หลังพบ “สุนัข” ติดเชื้อฝีดาษลิงจากมนุษย์เป็นเคสแรกของโลก

สัปดาห์ที่แล้ว วารสารการแพทย์ The Lancet ได้เผยแพร่รายงานการติดเชื้อฝีดาษลิงของสุนัขสายพันธุ์อิตาเลียนเกรฮาวนด์ ซึ่งอาศัยอยู่กับเจ้าของที่เป็นชาย 2 คนในกรุงปารีส
“มันคือการแพร่เชื้อจากมนุษย์ไปสู่สัตว์เคสแรกที่เคยพบมา และเราเชื่อว่ามันอาจจะเป็นสุนัขตัวแรกที่ติดเชื้อฝีดาษลิงด้วย” โรซามุนด์ ลิวอิส หัวหน้าฝ่ายเทคนิคโรคฝีดาษลิงของ WHO ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน พร้อมระบุว่าผู้เชี่ยวชาญตระหนักอยู่แล้วถึงความเสี่ยงในทางทฤษฎีที่อาจจะเกิดการแพร่เชื้อข้ามสายพันธุ์ในลักษณะนี้ได้ และหน่วยงานสาธารณสุขก็มีการแจ้งเตือนไปยังผู้ป่วยแล้วให้ “แยกตัว” ออกจากสัตว์เลี้ยงของพวกเขา

ลิวอิส ย้ำว่า “การจัดการสิ่งปฏิกูลก็เป็นสิ่งสำคัญมาก” เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่เชื้ออาจแพร่ไปสู่สัตว์จำพวกหนู และสัตว์ที่อยู่นอกบ้าน

ทั้งนี้ เมื่อไวรัสแพร่กระจายข้ามไปยังสัตว์ต่างสายพันธุ์ ก็อาจจะทำให้เกิดการ “กลายพันธุ์” ที่อันตรายขึ้นได้

ไมเคิล ไรอัน ผู้อำนวยการฝ่ายสถานการณ์ฉุกเฉินของ WHO ระบุว่า สิ่งที่น่ากังวลก็คือเชื้อไวรัสอาจแพร่ไปสู่สัตว์นอกครัวเรือน และหากสัตว์ตัวหนึ่งติดเชื้อ และแพร่เชื้อไปสู่สัตว์ตัวอื่นๆ ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ “สิ่งที่คุณจะเห็นต่อไปก็คือ ไวรัสจะมีการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว”

อย่างไรก็ดี ไรอัน ย้ำว่าสัตว์เลี้ยงภายในบ้านไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวล

^

“ผมไม่คิดว่าไวรัสจะพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็วผ่านสุนัขตัวเดียวมากกว่ามนุษย์ 1 คน... แต่เราจำเป็นต้องเฝ้าระวังกันต่อไป” เขากล่าว

ไวรัสฝีดาษลิงถูกพบเป็นครั้งแรกในลิงที่ใช้สำหรับการวิจัยที่เดนมาร์กเมื่อปี 1958 ทว่าไวรัสชนิดนี้จะมีอยู่ในสัตว์ฟันแทะ (rodents) เสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการติดเชื้อในคนพบครั้งแรกเมื่อปี 1970 ก่อนที่ฝีดาษลิงจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่แพร่กระจายอยู่ในกลุ่มประเทศแถบแอฟริกากลางและตะวันตก

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้เริ่มปรากฏว่ามีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงนอกทวีปแอฟริกาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ค. โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชายที่มีเพศสัมพันธ์กัน และจนถึงตอนนี้มียอดผู้ป่วยฝีดาษลิงสะสมทั่วโลกมากกว่า 35,000 คนใน 92 ประเทศ และมีผู้เสียชีวิตในการระบาดครั้งนี้แล้วอย่างน้อย 12 คน

ที่มา: เอเอฟพี

https://mgronline.com/around/detail/9650000079148
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 26 ส.ค. 22, 18:56

พบผู้ป่วยฝีดาษลิง รายที่ 6 เป็นเพศหญิง อาชีพนวดแผนไทย เดินทางมาจากกาตาร์

26 ส.ค. 2565- นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 65 ได้รับรายงานจากโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ว่าพบผู้ติดเชื้อยืนยันโรคฝีดาษวานร เป็นเพศหญิง อายุ 21 ปี สัญชาติไทย ไปประกอบอาชีพพนักงานนวดแผนไทยที่ประเทศกาตาร์ และในวันที่ 10 ส.ค. 65 เริ่มมีตุ่มขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ 
วันที่ 21 ส.ค. 65 เดินทางกลับมาประเทศไทย และเดินทางกลับบ้านที่ จ.มหาสารคาม  วันที่ 22 ส.ค. 65 เข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย พบว่ามีตุ่มน้ำใส และอาการป่วยเข้าได้กับนิยามผู้ป่วยสงสัยฝีดาษวานร จึงได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ วันที่ 24 ส.ค. 65 ผลตรวจยืนยันพบเชื้อโรคฝีดาษวานร โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และจากการค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิด พบผู้สัมผัสจำนวน 28 คน แบ่งเป็นเสี่ยงสูง 4 คน และเสี่ยงต่ำ 24 คน และให้ผู้สัมผัสทุกคนสังเกตอาการตนเอง

“สรุปได้ว่าผู้ป่วยรายดังกล่าว มีอาการตั้งแต่อยู่ที่ต่างประเทศ ขณะเดินทางผู้ป่วยแสดงอาการผื่น เพียงเล็กน้อย และอยู่ในร่มผ้า อย่างไรก็ตาม ระหว่างเดินทางผู้ป่วยมีการป้องกันตนเอง โดยการสวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างจากผู้โดยสารคนอื่นๆ ผู้ป่วยรายนี้นับเป็นผู้ป่วยรายที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นเพศหญิง     รายที่ 3” นายแพทย์โอภาส กล่าว

สถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ส.ค. 65) พบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษวานรยืนยัน จำนวน 46,047 ราย เสียชีวิต 15 ราย ประเทศที่มีผู้ป่วยสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 16,603 ราย สเปน 6,318 ราย  บราซิล 4,144 ราย  เยอรมนี 3,350 ราย  และสหราชอาณาจักร 3,207 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังอยู่ในแถบทวีปยุโรป  ส่วนสถานการณ์ฝีดาษวานรในประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 6 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศที่มีประวัติสัมผัสกับชาวต่างชาติ 3 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 3 ราย ขณะนี้รักษาหายแล้ว 4 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 2 ราย จากการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของผู้ป่วยยืนยันรายที่ 1-5 จนครบกำหนด 21 วันแล้ว รวมจำนวน 44 คน ไม่มีอาการป่วย และไม่เป็นผู้ติดเชื้อฝีดาษวานรด้วย       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 29 ส.ค. 22, 08:40

"ฝีดาษลิง" รายที่ 7 เป็นหญิงไทย อายุ 37 ปี อยู่ในกทม.ใกล้ชิดชายต่างชาติผิวสี

กรมควบคุมโรค แถลงผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่ 7 เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุ 37 ปี พบประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชายต่างชาติผิวสีก่อนมีอาการป่วย มีผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง 3 ราย

วันนี้ (28 ส.ค.65) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับรายงานจากสถาบันบำราศนราดูร ว่าพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานรรายที่ 7 เป็นเพศหญิง อาศัยอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จึงมอบหมายให้ทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค กองระบาดวิทยา ลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา สถาบันบำราศนราดูร ดำเนินการสอบสวนโรค


ทั้งนี้ จากการสอบถามประวัติของผู้ป่วย เป็นเพศหญิง สัญชาติไทย อายุ 37 ปี มีโรคประจำตัว อาศัยอยู่บ้านคนเดียวที่กรุงเทพฯ ไม่มีประวัติสัมผัสสัตว์ฟันแทะ และไม่ได้ไปประเทศที่มีการระบาด และพบประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชายต่างชาติผิวสีก่อนมีอาการป่วย

จากการสอบสวนโรคและเวชระเบียนของสถาบันบำราศนราดูรพบว่า ในระยะ 3 สัปดาห์ก่อนป่วย ไปเที่ยวย่านบันเทิงที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติวันที่ 20 ส.ค. 65 ผู้ป่วยเริ่มมีไข้ต่ำๆ วันที่ 21 ส.ค. 65 เริ่มมีตุ่มเหมือนหนองขนาดเล็กบริเวณทวารหนัก

หลังจากนั้นในวันที่ 22 ส.ค. 65 เริ่มมีตุ่มหนองลักษณะเดียวกันผุดมากขึ้นเริ่มจากนิ้วมือ แขน หลัง และลามไปที่ใบหน้ารวมถึงอวัยวะเพศ อาการเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยจึงเข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูร

ต่อมาวันที่ 26 ส.ค. 65 แพทย์ทำการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการจากเลือด ตุ่มหนอง และลำคอ ด้วยวิธีการ Real-time polymerase chain reaction (Real-time PCR) ส่งตรวจไปยังกลุ่มงานเอชไอวีขั้นสูงและเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันบำราศนราดูร และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลพบสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสฝีดาษวานรในทุกสิ่งส่งตรวจ

นอกจากนี้ ผู้ป่วยรายดังกล่าวมีประวัติไปเยี่ยมญาติสูงอายุ ทำให้มีผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง 3 ราย จึงกำชับให้หน่วยงาน ในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ติดตามเฝ้าระวังอาการผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงทั้ง 3 รายอย่างใกล้ชิด ซึ่งวันที่สัมผัสผู้ป่วยวันสุดท้ายคือวันที่ 21 ส.ค. 65 และจะครบกำหนดระยะเฝ้าระวังในวันที่ 11 ก.ย. 65

สำหรับสถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ส.ค. 65) ผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 48,331 ราย พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น 83 ประเทศ โดยประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 17,432 ราย สเปน 6,458 ราย บราซิล 4,472 ราย ฝรั่งเศส 3,421 ราย เยอรมนี 3,405 ราย และมีผู้เสียชีวิต 15 ราย

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า โรคฝีดาษวานรไม่ได้ติดต่อง่ายหรือมีความรุนแรง ขอแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ที่มีไข้ ผื่น มีตุ่มน้ำ ตุ่มหนองบริเวณร่างกาย และสวมหน้ากากอนามัยขณะอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก

หากผู้ที่มีอาการสงสัย เช่น มีผื่นตามลำตัว เป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง ตุ่มตกสะเก็ด หลังจากมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น สามารถเข้ารับการตรวจเชื้อได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านท่าน ได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422.

https://www.tnnthailand.com/news/social/123442/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 16 ก.ย. 22, 14:31

สธ.เผยพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษลิง รายที่ 8 ชาวไทย เดินทางกลับมาจากกาตาร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับรายงานจากสถาบันบำราศนราดูร ตรวจพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร เป็นคนไทย อายุ 23 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไปประกอบอาชีพให้บริการที่ประเทศกาตาร์ จากการสอบสวนโรคเบื้องต้นพบว่า มีประวัติ มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีตุ่มบริเวณหลังลักษณะคล้ายสิว และเริ่มมีอาการป่วย เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2565 มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง เบื่ออาหารและมีผื่นบริเวณฝ่ามือข้างขวา นิ้วกลางข้างซ้าย ใต้รักแร้ซ้าย แขนซ้าย หลัง ก้นและทวาร ตามลำดับ โดยรวมตุ่มแผลประมาณ 15 ตุ่ม ผู้ป่วยเดินทางกลับจากประเทศกาตาร์ถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2565 หลังจากเดินทางเข้าประเทศไทยมีประวัติสัมผัสเพื่อนชาวไทย 2 คน คนแรก ผู้ป่วยไปเก็บของที่ห้องของเพื่อน รับประทานอาหารร่วมกัน และเข้าใช้ห้องน้ำที่ห้องเพื่อน และคนที่สอง ผู้ป่วยนำกระเป๋าไปฝากเพื่อนโดยไม่ได้เข้าไปในห้องเพื่อน ซึ่งเพื่อนทั้งสองคนไม่ได้สัมผัสผิวหนังหรือบริเวณที่มีตุ่มแผล และวันที่ 14 ก.ย. 2565 จึงเข้าไปตรวจ ที่สถาบันบำราศนราดูร และแพทย์เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของสถาบันบำราศนราดูร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลพบเชื้อฝีดาษวานร

“สรุปได้ว่าผู้ป่วยรายดังกล่าว มีอาการตั้งแต่อยู่ที่ต่างประเทศและในขณะเดินทางผู้ป่วยแสดงอาการป่วยแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไม่มีประวัติการเดินทางไปที่ชุมชน/เข้าร่วมกิจกรรมที่มีคนพลุกพล่าน หลังพบอาการต้องสงสัยจึงเข้าพบแพทย์ในทันที” นพ.โอภาส กล่าว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 29 พ.ย. 22, 13:35

นครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิง หรือ monkeypox เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างตราบาป ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอายจนปฏิเสธการรักษา

WHO ประกาศเปลี่ยนชื่อ Monkeypox (ฝีดาษลิง) เป็น Mpox (เอ็มพ็อกซ์) แล้ว

องค์การอนามัยโลกได้มีข้อสรุปและประกาศเมื่อวานนี้ (๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เปลี่ยนชื่อ Monkeypox (ฝีดาษลิง) เป็น Mpox (เอ็มพ็อกซ์) โดยทั้ง ๒ ชื่อจะใช้ควบคู่กันเป็นระยะเวลา ๑ ปีในการเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้เวลาแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล รวมถึงผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ ด้วย และลดความสับสนที่อาจจะเกิดขึ้น

https://www.who.int/news/item/28-11-2022-who-recommends-new-name-for-monkeypox-disease


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 12 พ.ค. 23, 18:35

เมื่อวานนี้ (๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖) องค์การอนามัยโลก (WHO)ได้ประกาศให้โรคฝีดาษลิงไม่เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกต่อไป โดยประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่การระบาดของโรคฝีดาษลิงแพร่กระจายไปทั่วโลกเกือบ ๑ ปีที่ผ่านมา

ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Dr.Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO กล่าวในการแถลงข่าวทางออนไลน์ว่า เขายอมรับคำแนะนำของคณะกรรมการฉุกเฉินของ WHO เรื่องฝีดาษลิง เพื่อยกเลิกการเตือนภัยขั้นสูงสุด

ขณะที่ประกาศดังกล่าวมีขึ้นเพียง ๑ สัปดาห์หลังจากที่ WHO ประกาศให้โควิดไม่ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกต่อไป

"ในขณะที่ภาวะฉุกเฉินของฝีดาษลิงและโควิดสิ้นสุดแล้ว ภัยคุกคามของระลอกการระบาดของทั้ง ๒ โรคยังคงอยู่ เชื้อไวรัสทั้ง ๒ ชนิดยังคงแพร่กระจายและยังคงคร่าชีวิตผู้คนต่อไป" เขากล่าว พร้อมเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ยังคงเฝ้าระวัง โดยชี้ว่า "ฝีดาษลิงยังคงเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งต้องการการรับมือที่เข้มข้น เป็นไปในเชิงรุก และมีความยั่งยืน"



ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ WHO ระบุว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสฝีดาษลิง และเป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ซึ่งหมายความว่าสามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่คนได้ และแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ด้วย

อาการของฝีดาษลิงที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง และต่อมน้ำเหลืองโต ในภายหลังอาจมีอาการอื่นๆ ตามมา เช่น มีตุ่มขึ้น ซึ่งจะอยู่ประมาณ ๒-๓ สัปดาห์ โดยตุ่มนูนจะเกิดขึ้นได้ตามใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตา จมูก คอ ขาหนีบ อวัยวะเพศ และรอบๆ ทวารหนัก

ขณะที่ WHO ประกาศให้ฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว หลังพบการแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้นในยุโรป อเมริกาเหนือ และประเทศอื่น ๆ รวมถึงในไทย โดยส่วนใหญ่พบในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อที่พบมีมากกว่า ๘๖,๐๐๐ ราย และเสียชีวิต ๑๔๐ ราย ใน ๑๑๑ ประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงนั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง ๓ เดือนที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อน้อยลงเกือบ ๙๐% เมื่อเทียบกับช่วง ๓ เดือนก่อนหน้า

ข่าวจาก เดอะสแตนดาร์ด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 12 พ.ค. 23, 18:53

ถือเป็นข่าวดีค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 มิ.ย. 23, 11:35

อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักว่า ฝีดาษลิง ยังคงมีการระบาดอยู่ ตกใจ

วันนี้ (๒ มิถุนายน ๒๕๖๖) นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ของประเทศไทย พบผู้ป่วยรายแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ ปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยรวม ๔๓ ราย (เฉพาะเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖ มีผู้ป่วย ๒๑ ราย) เและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โรคนี้ป้องกันได้โดยการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ประชาชนสามารถตรวจสอบอาการเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หากมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้สงสัยฝีดาษลิง หรือผู้ป่วยฝีดาษลิง หรือมีผื่น/ตุ่มสงสัย ดังนี้

๑. มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยฝีดาษลิง ทางช่องทางดังต่อไปนี้ อวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือปาก

๒. ทำความสะอาดห้อง หรือใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยฝีดาษลิงขณะผู้ป่วยมีอาการ

๓. เคยดูแลผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยฝีดาษลิงขณะป่วย ให้สังเกตภายหลังสัมผัสผู้ป่วยภายใน ๒๑ วัน หากมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต เช่น บริเวณหลังหู คอ ขาหนีบ เจ็บคอ คัดจมูก หรือไอ มีผื่น มีตุ่มน้ำ ตุ่มหนองขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ หรือทวารหนัก หรือบริเวณรอบๆ ตามมือ เท้า หน้าอก ใบหน้า หรือบริเวณปาก หากมีอาการให้รีบเข้ารับการตรวจที่สถานบริการสุขภาพ หรือโรงพยาบาล โดยแจ้งอาการและประวัติเสี่ยงทันที

ทั้งนี้ มีวิธีป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษลิง เช่น หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จัก หลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ที่มีผื่น ตุ่ม หรือหนอง หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด รวมทั้งแนะนำให้ล้างมือบ่อย ๆ  และไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น

ข่าวจาก TNN


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 02 ก.ค. 23, 09:35

ฝีดาษลิงยังระบาดเพิ่มขึ้น ตกใจ

กรมควบคุมโรค เผยไทยพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ จำนวน ๔๘ คน สูงกว่าเดือนพฤษภาคมที่มีรายงานผู้ป่วย ๒๑ คน เพิ่มขึ้นเป็น ๒.๓ เท่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย พร้อมเน้นย้ำ โรคฝีดาษลิงป้องกันได้โดยงดการสัมผัสแนบชิดกับผิวหนังผู้ป่วย

ข่าวจาก ไทยพีบีเอส
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 15 ส.ค. 23, 09:35

พบผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทย เสียชีวิตรายแรก ตกใจ

กรมควบคุมโรคได้รายงานพบ ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศไทยเสียชีวิตเป็นรายแรก เป็นชาย อายุ ๓๔ ปี เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดชลบุรี  เมื่อ ๑๑ กรกฎาคม ซึ่งมีอาการเข้ากันได้กับโรคฝีดาษลิง จึงได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจเพิ่มเติม ยืนยันพบเชื้อฝีดาษลิง และพบการติดเชื้อเอชไอวีและเชื้อซิฟิลิสด้วย

ภายหลังจากเข้ารับการรักษาเป็นเวลา ๔ สัปดาห์ แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ต่อมามีอาการอ่อนเพลีย หายใจลำบาก พบว่า เชื้อฝีดาษาลิงได้กระจายไปทั่วตัว มีอการตายของเนื้อเยื่อ มีการติดเชื้อแทรกซ้อน ผลตรวจเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 เท่ากับ ๑๖ เซลล์ต่อมิลลิลิตร แสดงถึงภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการทรุดลง และเสียชีวิตในคืนวันที่ ๑๑ สิงหาคม ที่ผ่านมา

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แจ้งสถานการณ์ล่าสุด ข้อมูล ณ วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ มีรายงานผู้ป่วยรวม ๑๘๙ รายในไทย เป็นสัญชาติไทย ๑๖๑ ราย ชาวต่างชาติ ๒๘ ราย มีแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้น ซึ่งระยะแรกพบผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ก่อนแพร่ไปจังหวัดอื่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และมีติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยจำนวน ๘๒ ราย (ร้อยละ ๔๓)

ข่าวจาก ไทยรัฐ

หมายเหตุ WHO ประกาศเปลี่ยนชื่อ ฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็น เอ็มพ็อกซ์ (Mpox) ตั้งแต่พฤศจิกายนปีที่แล้ว กรมควบคุมโรคควรพิจารณาเลิกใช้ชื่อ ฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิงได้แล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง