เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 4739 ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 03 มิ.ย. 22, 08:50

องค์การอนามัยโลกเตือน 'ฝีดาษลิง'จะระบาดมากขึ้น ยอดพุ่งกว่า 550 คน

3 มิ.ย.65 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอนามัยโลกประจำยุโรป เปิดเผยข้อมูลว่า จำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ไม่ใช่ประเทศที่ฝีดาษลิงเป็นโรคประจำถิ่นขณะนี้เพิ่มเป็นกว่า 550 คนแล้ว ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 321 คน พบอยู่ใน 12 ประเทศ นอกจากนี้ยังพบการระบาดในอังกฤษ สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศ

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า โรคฝีดาษลิงน่าจะเริ่มระบาดในยุโรปมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายน โดยโรคนี้สามารถติดต่อกันได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยจากการเข้าร่วมกิจกรรมขนาดใหญ่หรือในงานเลี้ยง ดังนั้นจึงต้องเร่งหามาตรการควบคุมโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง โดยขอให้รัฐบาลและหน่วยงานด้านการแพทย์ของประเทศต่างๆ เร่งดำเนินการแยกตัวผู้ป่วยและสืบหาผู้สัมผัสใกล้ชิด รวมทั้งเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขให้เร็วที่สุด เพราะในช่วงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะมีงานเทศกาลและกิจกรรมขนาดใหญ่หลายงานในยุโรปซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้น พร้อมกันนี้ก็ขอให้ผู้จัดงานแจ้งเตือนให้ผู้มาร่วมงานระมัดระวังความเสี่ยงจากการติดเชื้อด้วย

https://www.naewna.com/inter/657886


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 มิ.ย. 22, 16:37

จาก FB  ของคุณหมอ Yong Poovorawan

ฝีดาษวานร จำนวนผู้ป่วยทั่วโลกยังเพิ่มมากขึ้น
ยง ภู่วรวรรณ   6 มิถุนายน 2565

ผู้ป่วยฝีดาษวานร ยังมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น ขณะนี้มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 920 คน  ในร่วม 30 ประเทศ โดยพบมากในประเทศอังกฤษ สเปน โปรตุเกส ในยุโรปและอเมริกา และยังมีผู้ต้องสงสัยอีกหลายร้อยรายที่รอการยืนยัน
ประเทศไทยมีผู้ต้องสงสัย แต่เมื่อตรวจแล้วพบว่าไม่ใช่เป็นฝีดาษวานร
เมื่อวิเคราะห์ดูจำนวนผู้ป่วย ในรายงานที่ออกมา จะบอกเพศสภาพ 290 คน ส่วนใหญ่ไม่ได้บอกเพศสภาพ
ที่รายงานเพศสภาพ ก็ยังเป็นเพศชายเกือบทั้งหมด 287 คน เพศหญิง 3 คน (www.global.health)
ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต โรคหายได้เอง การควบคุมการระบาดในครั้งนี้ คงทำได้ยากกว่าทุกครั้ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 มิ.ย. 22, 11:10

คำเตือนจากหมอแล็บแพนด้า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 10 มิ.ย. 22, 18:25

สถานการณ์การระบาดของโรคฝีดาษลิงทั่วโลก ณ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๕ ยังไม่พบผู้เสียชีวิต และยังไม่พบผู้ป่วยในไทย



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 มิ.ย. 22, 12:35

คำเตือนจากหมอแล็บแพนด้า



ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention - CDC) ของสหรัฐได้ตัดสินใจถอดคำแนะนำเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยออกจากหนังสือเตือนเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงระหว่างการเดินทาง (Monkeypox Travel Health Notice) เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงซึ่งได้รับการวินิจฉัยในเบื้องต้นว่า สามารถแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสโดยตรง

"CDC ได้ตัดสินใจถอดคำแนะนำเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยออกจากหนังสือ Monkeypox Travel Health Notice แล้ว เพราะอาจจะสร้างความสับสน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ CDC แนะนำนักเดินทางว่า การสวมหน้ากากอนามัยสามารถป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งรวมถึงโรคฝีดาษลิง" CDC ระบุ

เว็บไซต์ของ CDC ระบุว่า โรคฝีดาษลิงนั้นนอกจากจะแพร่ระบาดผ่านการสัมผัสโดยตรงกับแผลติดเชื้อ สะเก็ดแผล หรือของเหลวจากร่างกายแล้ว โรคนี้ยังสามารถแพร่ระบาดผ่านสารคัดหลั่งทางเดินหายใจในระหว่างที่มีการสัมผัสกันเป็นเวลานาน

https://www.reuters.com/world/us/us-cdc-removes-mask-recommendation-monkeypox-travel-notice-avoid-confusion-2022-06-07/


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 ก.ค. 22, 08:35

และแล้วฝีดาษลิงก็มาถึงเมืองไทย ‼️

เมื่อวานนี้ (๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕) กรมควบคุมโรคเผยว่า ได้รับรายงานว่า พบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อโรคฝีดาษลิงรายแรกในประเทศไทย ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ก่อนจะลงพื้นที่ตรวจสอบและพบว่าติดเชื้อจริง

ผู้ป่วยรายดังกล่าว เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ ๒๗ ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย โดยเริ่มมีอาการเมื่อประมาณ ๑ สัปดาห์ก่อน นั่นคือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน

ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค จึงเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค ซึ่งผลการตรวจพบเชื้อ Monkeypox virus จึงได้ผลสรุปว่า นี่เป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษลิงที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก

ขณะเดียวกัน สถานการณ์โรคฝีดาษลิงทั่วโลก (ข้อมูลวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕) จำนวนผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก ๑๒,๖๐๘ ราย พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น ๖๖ ประเทศ ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง ๕ ลำดับแรก ได้แก่ สเปน ๒,๘๓๕ ราย เยอรมัน ๑,๘๕๙ ราย สหรัฐอเมริกา ๑,๘๑๓ ราย อังกฤษ ๑,๗๗๘ ราย และฝรั่งเศส ๙๐๘ ราย

จาก The MATTER

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 ก.ค. 22, 16:35

แล้วก็หลบหนีไป ทิ้งไว้แต่ความกังวลให้ผู้คน ‼️

จาก WorkpointTODAY



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 23 ก.ค. 22, 09:25

สงสัยว่า นายคนนี้เข้ามาอยู่ในไทยตั้งแต่ปลายปี 64  เรื่อยมาจนปัจจุบัน จนขาดวีซ่า   แล้วไปติดฝีดาษลิงตอนไหน 
อาการแสดงว่าเขาเพิ่งติดมาพักหนึ่งแล้ว    ติดจากใคร แสดงว่าต้นตอต้องมีอยู่ในไทย
คนที่เขาแพร่เชื้อให้   ป่านนี้ไปแพร่เชื้อให้คนในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมห้อง กี่คนแล้ว
ล้วนแต่คำถามชวนให้กังวลหนักขึ้นไปอีกค่ะ

 


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 24 ก.ค. 22, 08:35

องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรคฝีดาษลิง เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขแล้ว❗️

ดร.เท็ดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการฉุกเฉินภายใต้การจัดการด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง (monkeypox) ในการประเมินว่าการระบาดครั้งนี้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศหรือไม่

แม้ทางคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญไม่ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ โดยผู้ที่เห็นชอบให้ประกาศมีเพียง ๖ เสียง ซึ่งเป็นเสียงส่วนน้อย ขณะที่ผู้คัดค้านมี ๙ เสียง แต่สุดท้ายแล้วทาง WHO ตัดสินใจประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นคำเตือนระดับสูงสุด

ปกติแล้ว ทางผู้อำนวยการ WHO มักจะอิงการตัดสินใจตามเสียงของคณะกรรมการเป็นหลัก แต่ครั้งนี้ทางแหล่งข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์สอ้างว่าเขาตัดสินใจประกาศภาวะฉุกเฉินระดับสูงสุด เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น และยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาเพียงพอ จึงทำให้ทาง WHO ตัดสินใจประกาศสวนทางกับมติส่วนใหญ่

ที่ผ่านมา โรคที่เคยจัดว่าเข้าข่ายภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศได้แก่ โรคไข้หวัดหมู โรคโปลิโอ โรคอีโบลา โรคไข้ซิกา และโรคโควิด-๑๙

โดยโรคที่กล่าวมาข้างต้นนี้จัดว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อประเทศอื่น ๆ จากการแพร่ระบาดระหว่างประเทศและต้องอาศัยความร่วมมือจากนานาประเทศในการรับมือกับเหตุการณ์นั้น

ปัจจุบันมีการพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั่วโลกกว่า ๑๖,๐๐๐ ราย และเสียชีวิต ๕ รายใน ๗๕ ประเทศ

จาก WorkpointTODAY

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 ก.ค. 22, 08:44

ผู้ป่วยฝีดาษลิง  ออกนอกประเทศไทยไปแล้ว

เปิดเส้นทางหลบหนี ผู้ป่วยฝีดาษลิง ชาวไนจีเรีย ออกจากไทยแล้ว ผ่านทางอรัญประเทศ

จากกรณีพบผู้ติดไวรัสฝีดาษลิงรายแรกที่ จ.ภูเก็ต เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี เดินทางเข้ามาทาง ตม.ทอ.สุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 64 โดยแจ้งว่าจะเดินทางไปมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่เดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต เข้าพบเเพทย์ที่ รพ.กรุงเทพภูเก็ต เพราะอาการมีตุ่มหนองขึ้นตามผิวหนังเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 65 เเละได้กลับไปยังที่พัก พื้นที่ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

ต่อมา​ รพ. ได้ส่งตัวอย่างเชื้อไปตรวจยืนยันผลถึงสองครั้งใน​ รพ.จุฬา และ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ฯ ก่อนประสานจะเข้ามารับการรักษาที่​ รพ. แต่ไม่ยอมมาตามนัด และติดต่อไม่ได้ตามที่เสนอข่าวไปนั้น

เจ้าหน้าที่ได้แกะรอยวงจรปิดโดยรอบ และสอบปากคำพยานแวดล้อม รวบรวมพยานหลักฐานจนเชื่อได้ว่า ชายคนดังกล่าวได้หลบหนีออกนอกประเทศไทยผ่านช่องทางธรรมชาติ ไปยังประเทศเพื่อนบ้านทางแถบภาคตะวันออกแล้ว

ช่นเดียวกันกับคำยืนยันจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่แจ้งเมื่อช่วงค่ำวานนี้ ( 22 ก.ค.) ว่า ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง ได้เดินทางออกจากภูเก็ตไปแล้ว จากการตรวจสอบสัญญาณโทรศัพท์ พบพิกัดสุดท้ายอยู่ที่จังหวัดสระแก้ว คาดว่า ผู้ป่วยหลบออกทางชายแดนแล้ว โดยจะมีการประสานประเทศเพื่อนบ้านให้ได้ทราบต่อไป

ต่อมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สระแก้ว นำภาพพิกัดการเดินทางของผู้ป่วยชาวไนจีเรียคนดังกล่าว ซึ่งมาโผล่ที่บ้านคลองลึก จ.สระแก้ว และมีรายงานจากตำรวจว่า พบความเคลื่อนไหวอยู่แถวพื้นที่คลองลึก อ.อรัญประเทศ เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศผ่านช่องทางธรรมชาติ

โดยพบว่า มีการใช้เส้นทางถนนสายใหม่ มุ่งหน้าสะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชา หรือ สะพานหนองเอี่ยน-สตรึงบท ซึ่งยังไม่มีการเปิดใช้สะพานอย่างเป็นทางการ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนทางหลวงหมายเลข 3511 เดินเข้าช่องทางธรรมชาติบริเวณใต้สะพานและว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งประเทศกัมพูชา ช่วงเวลาประมาณ 19.00-20.00 น. ของเมื่อวันที่ 21 ก.ค. ก่อนจะมีคนรับตัวเดินทางต่อไปมุ่งหน้าไปยังเมืองสีหนุวิวล์ ประเทศกัมพูชา


https://www.sanook.com/news/8596530/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 ก.ค. 22, 08:47

ตำรวจกัมพูชา รวบตัวชาวไนจีเรียป่วย 'ฝีดาษลิง' หลบหนีการรักษา

23 ก.ค.2565 - เพจเฟซบุ๊ก ที่นี่ภูเก็ต โพสต์ภาพและข้อความว่า ตำรวจกัมพูชา รวบตัวชายไนจีเรีย ผู้ป่วย ‘ฝีดาษลิง’ รายแรกของไทย หลบหนีการรักษา พบหนีไปอยู่อพาทเม้นต์ในกรุงพนมเปญ

กรณี ชายชาวไนจีเรียที่ติดเชื้อฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานร อยู่จังหวัดภูเก็ต จากนั้นเมื่อยืนผลพบเชื้อ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ก่อนพบว่าหลบหนีการรักษาไปประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 22 กค 65 นั้น

ช่วงเย็นวันนี้(23 กค 65) ผู้ตำรวจกัมพูชา รวบตัว Mr.OSMOND CHIHAZIRIM NZEREM ชาวไนจีเรีย โดย นาย Keut Chhe ผู้ว่าฯ กรุงพนมเปญ ยืนยันจับได้บริเวณตลาด “Doeum Thkov” ในกรุงพนมเปญ เมื่อช่วงย็นที่ผ่านมา

พล.ต.ต อาชยน ไกรทอง รองผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมืองระบุว่า ขั้นตอนขณะนี้ อยู่ในส่วนของทางการกัมพูชา หลังจากจับกุมได้ ก็นำตัวชายชาวไนจีเรียเข้าสู่ระบบการคัดกรองและรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงพนมเปญ

ส่วนขั้นตอนประสานส่งกลับไทยหรือไม่นั้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล


https://www.thaipost.net/district-news/186517/
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 24 ก.ค. 22, 08:50

ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 ก.ค. 22, 08:35

สรุปอาการของฝีดาษลิงจาก ๑๖ ประเทศทั่วโลก

Thornhill JP และคณะได้เผยแพร่ ผลการศึกษาอาการฝีดาษลิง ในผู้ป่วย ๕๒๘ คนจาก ๑๖ ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่เมษายนถึงมิถุนายน ๒๐๒๒ ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ระดับโลก New England Journal of Medicine เมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๐๒๒ ที่ผ่านมา

สาระสำคัญคือ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกย์ และไบเซ็กชวล (มีเพศสัมพันธ์กับทั้งเพศชายและเพศหญิง) อายุเฉลี่ย (ค่ามัธยฐาน) ๓๘ ปี (วัยทำงาน)

๔๑% ที่ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ด้วย
๙๕% มีประวัติที่คาดว่าติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
๙๕% จะเกิดผื่นตามผิวหนังหลังจากติดเชื้อฝีดาษลิง โดยผื่นจะพบบริเวณทวารหนักหรืออวัยวะเพศราวสามในสี่ (๗๓%)
อาการผิดปกติอื่น ๆ ที่พบบ่อยก่อนเกิดผื่นคือ ไข้ (๖๒%) ต่อมน้ำเหลืองโต (๕๖%) อ่อนเพลีย (๔๑%) ปวดกล้ามเนื้อ (๓๑%) และปวดหัว (๒๗%)
ระยะเวลาฟักตัว (ตั้งแต่เริ่มติดเชื้อจนถึงเริ่มเกิดอาการป่วย) เฉลี่ย ๗ วัน โดยเป็นได้ตั้งแต่ ๓-๒๐ วัน

มีราวหนึ่งในสาม (๒๙%) ที่พบว่าติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วย เช่น หนองใน ซิฟิลิส เริม ที่สำคัญคือ จากการตรวจน้ำอสุจิ ๓๒ คน สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสฝีดาษลิงได้ถึง ๒๙ คน สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสในลำคอ และจมูก ได้ถึงหนึ่งในสี่ (๒๖%) และยังตรวจพบในเลือดและปัสสาวะได้ในบางคน

ฝีดาษลิงได้รับการประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยองค์การอนามัยโลก ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ติดตามสถานการณ์ เพื่อให้รู้เท่าทัน และป้องกันตัวให้ห่างไกลจากฝีดาษลิง ระมัดระวังการสัมผัสคลุกคลีใกล้ชิดกับคนแปลกหน้า หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานด้านบริการ ดูแลรักษา  รวมถึงแหล่งบันเทิงท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมทางเพศ

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเดินทางระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยวเสรี โอกาสมีการติดเชื้อแฝงในชุมชน และแพร่ระบาดย่อมมีสูง

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 25 ก.ค. 22, 08:39

จาก  FB  อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

(รายงานข่าว) อ.เจษฎ์ตอบชัด 'ฝีดาษลิง' ติดเชื้อง่ายๆ เพียงแค่ปัสสาวะกระเด็น จริงหรือไม่?

จากกรณี นายโอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยไทยพบผู้ติดไวรัสฝีดาษลิง (Monkeypox) หรือฝีดาษวานร รายแรกที่ จ.ภูเก็ต เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี โดยผลตรวจยืนยันตั้งแต่วันอังคาร (19 ก.ค.) ทำให้ประชาชนเกิดความกังวลมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องการแพร่กระจายเชื้อ
เหตุ โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) หรือฝีดาษวานร เป็นโรคติดต่อจากไวรัส โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก และการสัมผัสผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่ง จากน้ำมูกน้ำลาย เลือด ผิวหนังที่เป็นตุ่มหนอง อุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ หรือทางปัสสาวะในห้องน้ำ อาจมีความเสี่ยง จนเกิดข้อถกเถียงมากมายว่า เพียงแค่ปัสสาวะของผู้ติดเชื้อกระเด็นใส่สามารถติดเชื้อฝีดาษลิงจริง ๆ หรือไม่
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ระบุชัดเจนตอบกระแสความกังวลว่า “ฝีดาษลิง ไม่ได้ติดกันง่ายๆ เพียงแค่โดนฉี่กระเด็นใส่ นะครับ”
“ตอนนี้กระแสความกังวลเรื่อง “ฝีดาษลิง” เหมือนจะไปกันใหญ่แล้วนะครับ แน่นอนว่ามันเป็นโรคที่ถ้าเป็นขึ้นมา แล้วจะดูไม่ดีเอาเสียเลยกับการมีฝีตุ่มขึ้นเต็มตัว (เหมือนสมัยที่โรคอีสุกอีใส ยังเคยระบาดในไทย) แต่มันก็ไม่ได้จะอันตรายร้ายแรงมากนัก”
“โอกาสติดโรคก็ไม่ได้จะสูงมากมายอย่างโควิดนะครับ หลักๆ จะเป็นการใกล้ชิด พูดคุย คลุกคลี ใช้สิ่งของร่วมกัน สัมผัสโดนน้ำคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อแล้วมาเข้าสู่บาดแผลบนตัวเรา หรือเข้าไปทางปาก จมูก ตา ให้จำนวนไวรัสเข้าไปเยอะมากเพียงพอที่จะเป็นโรค ไม่ใช่ว่าโดนผิวปุ๊บ แล้วติดโรคปั๊บ”
“ล่าสุดนี่ เห็นคนแชร์คลิปติ๊กต็อกเตือนเข้าห้องน้ำ แล้วจะติดโรคฝีดาษลิงได้ (ซึ่งจริงๆ ก็ยังไม่มีรายงานการระบาดในไทยนะ) อันเนื่องจากไปสัมผัสโดนฉี่ที่เปื้อนอยู่ตามฝารองนั่งชักโครก !? ทำเอาตกอกตกใจกันใหญ่ จะไม่กล้าเข้าห้องน้ำสาธารณะกัน กลัวติดฝีดาษลิง (ซึ่งจริงๆ ก็ควรทำความสะอาดอยู่แล้วนะ เวลาจะใช้เนี่ย)”
“ต้องขอยกนพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ที่ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้เอาไว้นะครับ ว่า “ความกังวลใจของคนในการเข้าห้องน้ำสาธารณะ เกรงว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง อยากให้เข้าใจว่าการปัสสาวะไม่ได้ฟุ้งกระจายมาก จนแพร่เชื้อหรือรับเชื้อได้ แต่อยู่ที่ตุ่มบริเวณอวัยวะเพศ หากแตกออกมาก็สามารถแพร่เชื้อได้จากการสัมผัสโดยตรง ไม่ใช่จากการปัสสาวะ จากความกลัวของหลายๆ คน”
พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน หรืออาจนานถึง 21 วัน แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ ทำให้ประชากรในไทยที่เคยฉีดวัคซีนหรือปลูกฝี
ช่วงก่อนปี 2523 มีความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มที่เกิดหลังปี 2523 ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อน นั่นหมายความว่า ผู้ที่เคยปลูกฝี หรืออายุประมาณ 42 ปีขึ้นไป แม้จะติดเชื้อฝีดาษลิง แต่ตุ่มที่เกิดขึ้นจะน้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เคยปลูกฝีมาก่อน

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7175653


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 25 ก.ค. 22, 08:43

จาก  FB  อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
(อีกครั้ง)

"คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญฯ มีมติ 9 ต่อ 6 ไม่ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉิน .. แต่ ผอ. WHO โอเวอร์รูล มติครับ"
คงเห็นข่าวเมื่อวานกันแล้ว ว่า องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศจัดให้การระบาดของโรค "ฝีดาษลิง monkeypox" ระลอกปัจจุบัน เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณะสุขระหว่างประเทศ หรือ PHEIC (อ่านว่า เฟค) แล้ว หลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาก
ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเรื่องดี ที่องค์การอนามัยโลกได้ออกมาจริงจังกับโรคฝีดาษลิง แต่ก็เป็นที่งุนงงของวงการสาธารณสุขทั่วโลก อยู่เหมือนกัน ว่าทำไมโรคที่มีอัตราการแพร่ระบาดไม่ค่อยสูงนัก และไม่ค่อยมีความรุนแรงต่อผู้ป่วย ถึงต้องมีประกาศในระดับเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนั้น
จริงๆ แล้ว ผลการประชุมของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก มีมติ 9 ต่อ 6 ที่คัดค้านการประกาศดังกล่าว แต่ผู้อำนวยการ WHO คือ Tedros Adhanom Ghebreyesus ได้ตัดสินใจเป็นการส่วนตัวในการออกคำสั่งประกาศ นับเป็นครั้งแรกที่มีการ over rule เช่นนี้เกิดขึ้น คาดกันว่าเป็นผลจากการที่เขาเคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กับการรับมือโรคโควิด-19 ล่าช้าเกินไป
จริงๆ แล้ว โรคฝีดาษลิงนี้ ก็ระบาดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา มาหลายปีแล้ว แต่พึ่งได้รับความสนใจเมื่อมันแพร่ระบาดออกไปในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
องค์การอนามัยโลกประเมินความเสี่ยงในการแพร่ระบาด ของโรคนี้ เอาไว้ที่ "ปานกลาง " สำหรับทั้งโลก แต่ประเมินไว้ระดับ "สูง" สำหรับยุโรป
โรคฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มที่ใกล้เคียงกับโรคฝีดาษในคนและโรคอีสุกอีใส ทำให้เกิดอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ตามด้วยการมีแผลผื่นตุ่มขึ้น ที่มักจะเริ่มจากใบหน้าและลามลงไปถึงลำตัว มีอาการป่วยนานตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึงเป็นเดือน จึงจะหาย และมีบางคนที่เสียชีวิต (มักเป็นเด็กเล็ก)
รายงานการระบาดล่าสุด มีผู้ป่วยจำนวนประมาณ 16,000 รายใน 75 ประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นเคสในยุโรป มักเป็นชาย อายุประมาณ 31-40 ปี และจำนวนมากเป็นกลุ่มชายรักชาย ที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน) และมีผู้เสียชีวิตเพียง 5 ราย (พบในแอฟริกา)
ข้อมูลจาก https://www.bloomberg.com/.../who-declares-monkeypox...
-------
(รายงานข่าว) สำนักข่าว แชนเนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า ดร.เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศในวันเสาร์ที่ 23 ก.ค. 2565 ว่า เขาจัดให้การระบาดของไวรัส ฝีดาษลิง ที่กำลังเกิดขึ้นหลายพื้นทั่วโลกตอนนี้ เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) ซึ่งเป็นการเตือนภัยขั้นสูงสุดที่ WHO จะทำได้
ดร.อัดฮานอม เกเบรเนซุส กล่าวว่า ในตอนที่เขาจัดการประชุมฉุกเฉินของ WHO เมื่อเดือนก่อน เพื่อประเมินว่าการระบาดของฝีดาษลิงรอบนี้เป็นภาวะฉุกเฉินระหว่างประเทศหรือไม่นั้น ยังมีผู้ติดเชื้อราว 3,040 รายใน 47 ประเทศเท่านั้น แต่ตอนนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นเป็นมากกว่า 16,000 ราย ใน 75 ประเทศและดินแดน ขณะที่มีผู้เสียชีวิต 5 ศพ
“เรามีการระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ผ่านการติดต่อรูปแบบใหม่ ที่เรามีความเข้าใจน้อยเกินไป ซึ่งเข้าเกณฑ์การจัดให้เป็นภาวะฉุกเฉินตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulation)” ดร.อัดฮานอม เกเบรเนซุส กล่าว
ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกเสริมด้วยว่า ตอนนี้มีความเสี่ยงชัดเจนที่จะมีการะแพร่กระจายระหว่างประเทศมากขึ้น แต่ย้ำว่า ความเสี่ยงส่งผลกระทบต่อการเดินทางระหว่างประเทศยังคงต่ำ
WHO ยังประเมินด้วยว่า ความเสี่ยงจากไวรัสฝีดาษลิงอยู่ในระดับปานกลางในทุกภูมิภาค ยกเว้นที่ยุโรป ซึ่งพวกเขาจัดให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับสู
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง