เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 4841 ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 23 พ.ค. 22, 10:23

เพิ่งมีกำลังใจว่าโควิดกำลังลดลงเรื่อยๆ   ก็มาใจฝ่อกับไวรัสตัวใหม่ ฝีดาษลิง

ชวนรู้จัก! โรคฝีดาษลิง ติดจากสัตว์สู่คน หลังอังกฤษผวาหนัก เจอผู้ติดเชื้อ 7 ราย
https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_7056644

คุณเพ็ญชมพูจะมีคำแนะนำอะไรไหมคะ ในของฝากจากน้องจ๋อคราวนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 พ.ค. 22, 10:53

คุณเพ็ญชมพูจะมีคำแนะนำอะไรไหมคะ ในของฝากจากน้องจ๋อคราวนี้

พึงตระหนัก แต่อย่าตระหนก ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 พ.ค. 22, 08:35

ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 พ.ค. 22, 08:35

ขออนุญาตเสนอแนะ

หากแยกกระทู้ตั้งแต่ความคิดเห็นที่ ๒๖๒ เป็นกระทู้ใหม่ในชื่อ "ฝีดาษลิง : พึงตระหนักแต่อย่าตระหนก" หรือชื่ออื่นที่เหมาะสม น่าจะเป็นประโยชน์ ทำให้มีคนเห็นและให้ข้อมูลได้มากขึ้น

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 พ.ค. 22, 10:07

บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 พ.ค. 22, 15:20

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 พ.ค. 22, 15:58

ช่วยคุณหมอ CVT จัดการกับขนาดของแถลงการณ์ เรื่องโรคฝีดาษวานร*จาก ๕ องค์กรวิชาชีพ

* เป็นชื่อที่ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ตั้งเพื่อใช้เรียกชื่อโรคนี้

จาก เว็บไซต์สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย




ลดขนาดแถลงการณ์ลง น่าจะอ่านได้สะดวกขึ้น ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 พ.ค. 22, 08:04

กรมควบคุมโรค เตือน อย่าแชร์ข้อมูลเท็จ พบฝีดาษลิงที่เกาะช้าง ตรวจสอบแล้ว เป็นโรคมาลาเรีย ด้าน "อนุทิน" หารือ ผอ.ใหญ่ WHO ขอสนับสนุนวัคซีนฝีดาษคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานข่าว จากที่มีการแชร์ "พบฝีดาษลิงที่เกาะช้าง" ตรวจสอบแล้ว พบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ ความจริงคือ ข่าวการพบโรคมาลาเรีย ที่เกาะช้าง ซึ่งโรคดังกล่าว มีส่วนที่ลิงกับยุงเป็นพาหะ ไม่ใช่โรคฝีดาษลิงแต่อย่างใด

ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งล่าสุดได้มีการหารือกับผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ขอสนับสนุนวัคซีนฝีดาษคน เพื่อเตรียมการรองรับกรณีมีการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานร เนื่องจากประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากขึ้น เผย ไทยเป็นแกนหลักของ WHO Biohub และได้ลงนามร่วมองค์การอนามัยโลก เพื่อแบ่งปันเชื้อโควิด - 19

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการวิชาการภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติให้โรคฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังแล้ว ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีผู้ป่วยหรือผู้ป่วยต้องสงสัยเดินทางเข้ามา แต่เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงมีการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังคัดกรองโรคในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด โดยในการเข้าพบนายเท็ดรอส ได้มีการหารือเพื่อขอรับการสนับสนุนเรื่องวัคซีนฝีดาษคน (Smallpox)จากในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) สมัยที่ 75 ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายอนุทินและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าพบเพื่อแสดงความยินดีกับนายเท็ดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก(Director-General) อีกหนึ่งวาระ และชื่นชมผลงานของนายเท็ดรอส รวมถึงทีมงานจากองค์การอนามัยโลกที่เดินทางมาประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน 2565 เพื่อทำการประเมินความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Preparedness Review) ทำให้ประเทศไทยได้ถอดบทเรียนและแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินงานแก่ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกในการประชุมครั้งนี้

https://www.thansettakij.com/general-news/526440
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 27 พ.ค. 22, 09:04

สถานการณ์การระบาดของโรคฝีดาษลิงทั่วโลก ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 พ.ค. 22, 10:35

กลัวฝีดาษลิง แต่อย่ากลัวลิงจนเกินเหตุ❗️

ฝีดาษลิงที่ติดในมนุษย์ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดไม่ได้ติดจากลิง ลิงอาจเป็นเพียงสัตว์ป่วยจากการถูกสัตว์ฟันแทะมากัด แต่ขณะนี้ได้เกิดความเข้าใจผิด ๆ ส่งผลต่อการอยู่อาศัยของลิงในประเทศไทย เพราะถูกคนบางส่วนรังเกียจ

สัตวแพทย์หญิงจุฑามาศ สุพะนาม หรือ หมอเตย ผู้อุทิศตนคอยช่วยเหลือดูแลลิง ศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี มานานกว่า ๒๐ ปี ได้เล่าว่า จากข่าวการระบาดของฝีดาษลิง ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่รู้สึกหวั่นไหว มีการไล่ต้อนลิงที่มาเกาะหน้าต่างตามที่อยู่อาศัย ได้ส่งผลกระทบค่อนข้างมากต่อลิงที่อยู่คู่กับลพบุรีมานาน

"อยากบอกว่าลิงไม่ใช่สัตว์ที่เป็นสาเหตุของเชื้อโรคกลุ่มนี้ อย่าโทษลิง และการพบเชื้อไวรัสนี้ครั้งแรกในลิง อาจถูกหนูกัด หรือกระต่ายที่ปนเปื้อนเชื้อนี้กัด เลยสรุปกันไปก่อนและตั้งชื่อฝีดาษลิง อย่าให้ความผิดตรงนี้ไปอยู่ที่ลิงเลย เพราะแทบทุกวันนี้ลิงก็ใช้ชีวิตลำบาก ต้องไปอาศัยตามตึกเพื่อหลบแดด และขณะนี้หลายตึกทยอยขึงลวด ไม่ให้ลิงเข้าไปทำลายทรัพย์สิน แต่พอเกิดฝีดาษลิง จนลิงเดือดร้อนหนัก กลายเป็นจำเลยไปทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะไทย ทำให้ลิงไม่มีที่นอนที่กิน และภาครัฐของไทย ไม่เคยสร้างที่อยู่พาลิงเข้าไปอยู่ในที่ปลอดภัย มีอาหารและน้ำให้ ปล่อยให้ทุกวันนี้เป็นลิงเร่ร่อน บางตัวโชคร้ายถูกรถชนอัดกำแพง อยากให้มองลิงเป็นสัตว์น่ารัก ได้รับความเมตตา ไม่อยากให้ลิงถูกมองเป็นผู้ร้าย"

จาก ไทยรัฐ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 27 พ.ค. 22, 13:29

ฝีดาษวานรกำลังโจมตีกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

การระบาดของฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิงกำลังถูกจับตามากขึ้น   ไม่ใช่แค่ในฐานะของภัยคุกคามด้านสาธารณสุขครั้งใหญ่เท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะการที่มันเป็นโรคที่เสี่ยงติดเชื้อได้ในกลุ่มความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะเกย์และไบเซ็กชวล

นั่นก็เพราะการระบาดครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการพบการแพร่ระบาดในชุมชนนอกแอฟริกา และพบผู้ป่วยรายแรกในและการแพร่กระจายระหว่างชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) และเคสส่วนใหญ่อยู่ในชายหนุ่มที่ระบุตัวเองว่าเป็นชายรักชาย โดยเป็นการแพร่เชื้อระหว่างคู่นอน อันเนื่องมาจากการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างมีเพศสัมพันธ์และเกิดรอยแผบที่ผิวหนังจนติดเชื้อโรค น่าจะเป็นรูปแบบการแพร่เชื้อในกลุ่มชายรักชาย

อ่านต่อได้ที่นี่ค่ะ.

https://www.hfocus.org/content/2022/05/25175
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 พ.ค. 22, 10:16

กลัวฝีดาษลิง แต่อย่ากลัวลิงจนเกินเหตุ❗️

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 พ.ค. 22, 10:35

สัตว์ที่ควรระวังในกรณีมีการระบาดของโรคฝีดาษลิงคือ สัตว์พวกพวกฟันแทะที่เป็นสัตว์เลี้ยงเช่นหนูตะเภาและแฮมสเตอร์ รวมทั้งที่ไม่ได้เลี้ยงเช่นหนูที่อยู่ตามท่อระบายน้ำทั้งหลาย ‼️

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป (European Centre for Disease Prevention and Control - ECDC) ได้ออกมาเตือนให้ผู้ป่วยฝีดาษลิงต้องแยกห่างจากสัตว์เลี้ยงประเภทสัตว์ฟันแทะ ของตัวเอง หรือ ในกรณีที่แย่ที่สุดต้องทำลายสัตว์เลี้ยงนั้น

สัตว์เลี้ยงประเภทสัตว์ฟันแทะของผู้ป่วยควรต้องถูกกักตัวในห้องทดลองของรัฐ แต่ถ้าการเฝ้าระวังและกักตัวไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้องพิจารณาการทำลายสัตว์เลี้ยงนั้น ๆ เนื่องจากสัตว์ฟันแทะสามารถติดโรคฝีดาษลิงได้ จึงต้องป้องกันไม่ให้กลายเป็นพาหะแพร่เชื้อไปทั่วยุโรป

สัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมวมีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่าสัตว์ฟันแทะ สามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้แต่ต้องเว้นระยะห่างและเลี่ยงการสัมผัสให้มากที่สุด

ภาพจาก The Telegraph


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 29 พ.ค. 22, 15:35

‘หมอยง’เผย‘ฝีดาษวานร’ ป้องกันได้ด้วย‘วัคซีน’ ไม่เริ่มต้นจากศูนย์
วันอาทิตย์ ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 10.31 น.

‘หมอยง’เผย‘ฝีดาษวานร’ ป้องกันได้ด้วย‘วัคซีน’ ไม่เริ่มต้นจากศูนย์

29 พฤษภาคม 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan หัวข้อ “ฝีดาษวานร ป้องกันได้ด้วยวัคซีน” มีเนื้อหาดังนี้

ยง ภู่วรวรรณ 29 พฤษภาคม 2565

ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ รวมทั้งฝีดาษวานร สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ไวรัสในกลุ่มฝีดาษ ไข้ทรพิษ และ ฝีดาษวานร มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ในกลุ่มฝีดาษ ระบบภูมิคุ้มกันข้ามมาป้องกัน ซึ่งกันและกัน
สมัยเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ที่ใช้ฝีดาษวัว (Vaccinia) มาปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว และประสบผลสำเร็จ จนในที่สุด โรคไข้ทรพิษ ได้หายไปจนหมดสิ้น องค์การอนามัยโลกยกเลิกการปลูกฝีอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2523 หลายประเทศยกเลิกก่อนหน้านั้น

ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนให้ดีขึ้น (ใช้ Vaccinia Ankara strain) แทนการปลูกฝี เป็นไวรัสเชื้อเป็นที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์และไม่แบ่งตัว มาใช้วิธีการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยไม่เกิดอาการตุ่มหนองฝี มีอาการแทรกซ้อนน้อยกว่าวิธีการปลูกฝี

ปัจจุบันวัคซีนได้อนุมัติใช้ทางประเทศตะวันตก ยุโรปและอเมริกา

โรคฝีดาษวานร วัคซีนที่ใช้ในการป้องกันก็ไม่ได้เริ่มต้นมาจากศูนย์ แบบการพัฒนาวัคซีนป้องกัน covid 19”


https://www.naewna.com/local/656732


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 พ.ค. 22, 16:16

ติดตาม 12 รายสัมผัสผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" ต่อเครื่องไปออสเตรเลีย ไม่มีอาการ ส่วนสอบสวน 5 รายสงสัย ยันชัดเป็นเริม

สธ.เผยผลสอบสวนโรค 3 พี่น้องชาวไอร์แลนด์ ผู้ป่วยสงสัย "ฝีดาษลิง" มีผื่นตุ่มขึ้น หลังคลุกคลีในยิมมวยที่ภูเก็ต ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน สอบสวนโรคเจอต่างชาติอีก 2 รายมีอาการด้วย ผลตรวจแล็บเป็นเชื้อเริมทั้งหมด   ส่วนผู้ป่วยฝีดาษลิงมาทรานซิสที่ไทยก่อนไปออสเตรเลีย มีผู้สัมผัสใกล้ชิด 12 ราย แต่ไม่ใช่ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ติดตามอาการ 7 วัน ยังไม่มีอาการ ไปทำงานได้ตามปกติ ติดตามต่อเนื่องจนครบ 21 วัน
อ่านต่อได้ที่

https://mgronline.com/qol/detail/9650000051290
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง