เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
อ่าน: 9612 ้ขอความรู้เรื่องจีน จาก คุณ Wu Zetian และท่านอื่นๆ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 03 พ.ค. 22, 11:35

"สมัญญา" ของจักรพรรดิหย่งลี่ ข้อนี้น่าจะเป็นข้อสำคัญที่สุด

匡皇帝:是匡正的意思,匡正除恶的皇帝 = เป็นจักรพรรดิที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎร

คุณกุ๊ก (google) แปลความว่า

匡皇帝:是匡正的意思,匡正除恶的皇帝 = จักรพรรดิกวง หมายถึง การแก้ไข, จักรพรรดิผู้แก้ไขและขจัดความชั่ว

คำแปลนี้สอดคล้องกับภารกิจของจักรพรรดิหย่งลี่ในการแก้ไขการล่มสลายของราชวงศ์หมิงและขจัดอิทธิพลของราชวงศ์ชิงผู้ชั่วร้าย (ในสายตาของราชวงศ์หมิง) ถึงแม้ว่าไม่สำเร็จก็ตาม
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 03 พ.ค. 22, 12:21

อ่านคำสนทนา ระหว่างซินแสโง้วกับท่านอาจารย์เพ็ญชมพูเพลินเลยครับ...

ขออนุญาต อาจารย์เทาชมพู ย้ำความเห็นของผมก่อนหน้านี้นะครับว่า

หลังจากที่กองทัพแมนจูบุกยึดปักกิ่งสำเร็จ พวกแม่ทัพนายกองที่ไม่ยอมจำนนต่อแมนจู ยกพลถอยหนีมาทางใต้

เหล่าแม่ทัพแย่งยึดพื้นที่ และเทิดพวกเชื้อพระวงศ์หมิง ขึ้นเป็น “ ตี้ ”  หรือเจ้าปกครอง ( ท่านไม่เรียกว่าฮ่องเต้ครับ )

เวลานั้นดินแดนจีนทางใต้มีสภาพเป็นก๊ก น้อยใหญ่ เช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งกรุงศีอยุธยาแตกพ่ายแก่พม่าครับ

เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่ถูกเทิดไม่มีท่านใดเป็นพระราชบุตร ทั้งไม่ใช่พระเชษฐาหรือพระอนุชาร่วมพระชนกกับฮ่องเต้ราชวงศ์หมิง

ความที่เป็นเพียงหุ่นเชิด ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาใดๆ

ก๊กต่างๆ ที่เรียกว่าหมิงใต้รบกับทหารชิงอย่างไม่เป็นเอกภาพ จึงค่อยๆถูกปราบปรามทีละก๊กจนหมดสิ้นในช่วงระยะเวลา 18 ปี ครับ
[/size]

ความดังกล่าวปรากฏ “ ย้ำ ” ในบทความที่ท่านทั้งสองกล่าวอ้างว่า

政权谓之南明,历经四帝一王  หรืออำนาจ ปกครอง อาณาบริเวณหมิงใต้ อยู่ภายใต้นาม ตี้ (帝) 4 พระองค์ และ อ๋อง (王) 1 พระองค์

และขออนุญาตย้ำครับว่า  ในวัฒนธรรมจีน ฮ่องเต้ กับ ตี้ หาได้มีความหมายเสมอเหมือนกัน

ใครที่เรียนวัฒนธรรมจีน จักทราบว่า ตึ้ เป็นคำเรียกจักรพรรดิ ตั้งแต่ยุคชุนชิว จั่นกัว เมื่อครั้งที่ประเทศจีนอยู่กันเป็นรัฐเล็ก รัฐน้อย

วลี ฮ่องเต้ เกิดขึ้นเพื่อเทิดทูนจิ๋นซีฮ่องเต้ ซึ่งเป็นจักรพรรดิที่รวบรวมรัฐเล็กรัฐน้อยเข้าด้วยกันครับ

หวาง หรือ 皇 ท่านแปลว่า เป็นใหญ่ , ฮ่องเต้ หรือ 皇帝 จึงหมายถึง ผู้เป็นใหญ่เหนือตี้ หรือ มหาราช ที่ตรงกับ the great ในภาษาอังกฤษครับท่าน

.
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 03 พ.ค. 22, 12:33

ขณะอ่านบทสนทนาของอาจารย์ทั้งสอง ก็ให้นึกแปลกใจครับว่า

อะไรที่ทำให้เรื่องราวดำเนินไปเช่นนั้น เพราะ ชื่อบทความที่ท่านบอกเล่าอย่างสนุกนั้นคือ




實拍南明最後一位皇帝永曆帝朱由榔陵寢,
無一點帝陵跡象。

มีความหมายประมาณว่า

ภาพจริง สุสาน จู โหยวหลิง หรือ หย่งลี่ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของหนานหมิง

ไม่มีร่องรอยของความเป็นสุสานหลวงสักนิด.

ซึ่งความ ไม่มีร่องรอยของความเป็นสุสานหลวงสักนิด  ผู้เขียนบทความยังย้ำอีกครั้งที่ท้ายของบทความ......

.

บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 03 พ.ค. 22, 12:42

ในบทความที่ท่านสองสนทนากันอย่างสนุกนั้นปรากฏความว่า

吳三桂為維護雲南局勢,攻入緬甸,緬王將其獻與吳三桂,1662年6月在昆明被絞死,時年40歲

..

หรือความประมาณว่า เพื่อรักษาความมั่นคงของยูนนาน อู๋ซันกุ้ยจึงยกทัพลงมาโจมตีพม่า

ครั้งนั้นกษัตริย์พม่ายอมส่งมอบตัวจักรพรรดิหย่งลี่ให้กองทัพชิง พระองค์ถูกสำเร็จโทษด้วยการแขวนคอที่คุนหมิง เมื่อพระชนม์ 40 พรรษา ครับ
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 03 พ.ค. 22, 12:54

ขอโทษครับ ช่วยตอบข้อสงสัยหน่อยได้ไหมว่า

กษัตริย์ หรือ จักรพรรดิหย่งลี่ ถูกสำเร็จโทษโดยการแขวนพระศอ ที่คุยหมิง

แล้วใครที่ไหนจะมาเป็นผู้ถวายสมัญญานามนามครับ ?

เพราะการถวายสมัญญานามจะต้องเกิดแต่ที่ประชุมของเหล่าราชบัณฑิต ที่ต้องได้รับความดำริชอบจากผู้สืบราชวงศ์......
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 03 พ.ค. 22, 14:35

ผู้ถวายสมัญญาแด่จักรพรรดิหย่งลี่คือ เจิ้งจิง (鄭經)* บุตรของ เจิ้งเฉิงกง ขุนศึกราชวงศ์หมิง ซึ่งหนีภัยจากราชวงศ์ชิงไปตั้งอาณาจักร "ตงตู" (東都) บนเกาะไต้หวัน ซึ่งต่อมาในสมัยของเจิ้งจิงเปลี่ยนชื่อเป็น "ตงหนิง" (東寧)

* ข้อมูลจาก คุณวิกกี้ (wikipedia)


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 03 พ.ค. 22, 18:23

เจิ้งจิง กับ เจิ้งเฉิงกง ท่านใดเป็นขุนศึกราชวงศ์หมิงครับ ?

แล้วที่ว่าเป็น ท่านเป็นขุนศึกจริงๆ หรือในนิยาย หรือแต่ในนามครับอาจารย์เพ็ญชมพู....

เริ่มที่เจิ่งเฉิงกง ท่านเป็นลูกครึ่งจีน-ญี่ปุ่น ที่มารดาเป็นชาวกิวชู ท่านเติบโตภายใต้การเลี้ยงดูของมารดาที่ญี่ปุ่น

ดังนั้นท่านชอบจะบอกใครๆว่า ตัวท่านเป็น 本藩 หรือชาวญี่ปุ่นด้วยซ้ำไป

ท่านมีนามญี่ปุ่นเขียนเป็นภาษาจีนว่า 國姓成功 อันเป็นเหตุให้ชาวตะวันตกเรียกท่านว่า โคซิก่า Koxinga

พื้นเพท่านเป็นโจรสลัด เคยเข้ากับพวกฮอลันดา และอาสานำทัพฮอลันดายึดเกาะใต้หวัน

แต่ภายหลังท่านหักหลังพวกฮอลันดา ตั้งตัวปกครองเกาะไต้หวันเสียเอง......... ครับ

พวกหมิงใต้อยากได้เป็นพวกจึงพยายามตั้งท่านเป็นแม่ทัพ ที่ไม่เคยฟังบัญชาของใคร   5 5 5.....

....

เจิ้งจิง เป็นบุตรของโคซิงก่า ภายหลังได้ขึ้นปกครองไต้หวันแทนบิดา และเมื่อจักรพรรดิหย่งลี่ถูกสำเร็จโทษ

เจิ่งจิง ตั้งตนเป็นอ๋อง และ เป็นผู้สืบอำนาจหมิงใต้

การถวายสมัญญาแด่จักรพรรดิหย่งลี่ ก็เพื่ออวดแสดงสถานะว่าเป็นผู้สืบอำนาจต่อ

การดังกล่าวไม่เป็นไปตามโบราณราชประเพณี ที่นักประวัติศาสตร์จีนเค้าเรียก ติ่งประวัติศาสตร์ นอกบันทึกหลักครับ.
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 03 พ.ค. 22, 20:15

เจิ้งจิง กับ เจิ้งเฉิงกง ท่านใดเป็นขุนศึกราชวงศ์หมิงครับ ?

เจิ่งจิง ตั้งตนเป็นอ๋อง และ เป็นผู้สืบอำนาจหมิงใต้

ใครเป็นขุนศึกราชวงศ์หมิง❓

เจิ้งจิงตั้งตนเองเป็นอ๋องจริงหรือ❓

สามารถหาคำตอบได้จากประวัติเจิ้งเฉินกงข้างล่างนี้ ยิงฟันยิ้ม

เจิ้งเฉิงกง (鄭成功 ค.ศ. ๑๖๒๔ - ๑๖๖๒) ขุนพลหนุ่มลูกครึ่งจีน - ญี่ปุ่น (พ่อเป็นโจรสลัดชาวฮั่น แม่เป็นชาวญี่ปุ่น) ในยุคราชวงศ์หมิงใต้ (南明) วีรบุรุษต้านชิงกู้หมิง (反清复明) ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดผู้หนึ่งในประวัติศาสตร์จีน ชื่อเดิมคือเจิ้งเซิน (鄭森) ภายหลังจักรพรรดิหลงอู่ (隆武帝) แห่งหมิงใต้พระราชทานบรรดาศักดิ์กั๋วซิ่งเหยีย (國姓爺 ฮอลันดาและอังกฤษเรียกค็อกซิงกา Koxinga) และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า เฉิงกง (成功) ต่อมาได้ตัดสินใจตัดขาดความเป็นพ่อลูกกับบิดาคือเจิ้งจือหลง (鄭芝龍) เมื่อทราบว่าเจิ้งจือหลงไปสวามิภักดิ์ต่อจักรพรรดิซุ่นจื้อแห่งราชวงศ์ชิง และได้นำกำลังออกสู้รบกับกองทัพแมนจูหลายครั้ง

ภายหลังไม่อาจต้านทานทหารแปดกองธงซึ่งเป็นกองทัพบกอันแข็งแกร่งของแมนจูได้ จึงตัดสินใช้ความถนัดของทัพตน คือกองทัพเรือ มุ่งเข้ายึดเกาะไต้หวันและหมู่เกาะเผิงหูจากพวกฮอลันดาที่ยึดเอาไว้ ขับไล่พวกฮอลันดาออกไป แล้วสถาปนาอาณาจักรตงหนิง (東寧王國) ที่ไต้หวัน ใช้ไต้หวันเป็นฐานกำลังต่อสู้กับแมนจูต่อไป จักรพรรดิหย่งลี่ (永曆帝) แห่งหมิงใต้แต่งตั้งให้เป็นเหยียนผิงอ๋อง (延平王) ครองไต้หวัน สกุลเจิ้งของเจิ้งเฉิงกงปกครองไต้หวันนานกว่า ๒๐ ปี มีผู้สืบทอดบรรดาศักดิ์เหยียนผิงอ๋องทั้งสิ้นสามคน จนถึงรุ่นที่สามคือเจิ้งเค่อส่วง (鄭克塽) จักรพรรดิคังซี(康熙帝) แห่งราชวงศ์ชิงจึงส่งแม่ทัพซือหลาง (施琅) นำทัพเรือไปปราบอาณาจักรตงหนิงได้สำเร็จใน ค.ศ. ๑๖๘๓ สิ้นสุดการปกครองของสกุลเจิ้งแต่เพียงเท่านั้น

จาก Asian Studies เอเชียศึกษา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 04 พ.ค. 22, 11:45

วีรบุรุษเจิ้งเฉิงกง (英雄郑成功)

บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 04 พ.ค. 22, 12:07

สวัสดีครับอาจารย์เพ็ญชมพู เมื่อคืนหลับสบายดีนะครับ

ขอสารภาพว่า ตั้งแต่อ่านบทสนทนาเรื่อง ภาพถ่ายสุสานหย่งลี่ ที่คู่สนทนาทั้งสองละเว้นวรรค 無一點帝陵跡象 ที่เป็นหัวใจสำคัญแล้ว

มันให้รู้สึกระแวงกับความเห็นที่ตามมายังไงชอบกลครับ.....

เช่นกันครับ เมื่อคืนผมก็อดข้องใจไม่ได้ครับว่า

ระดับอาจารย์ที่ค้นอ่านได้หลายภาษา ทำไมถึงอ้างบทความของ Asian Studies เอเชียศึกษา


ทั้งที่ความดังกล่าวมีข้อผิดพลาดหลายๆประเด็น..... ( ? )  เช่นความว่า

จักรพรรดิหลงอู่ (隆武帝) แห่งหมิงใต้พระราชทานบรรดาศักดิ์กั๋วซิ่งเหยีย (國姓爺)

ทั้งๆที่ เอกสารจีน และข้อมูลบนเวปจีน พูดในแนวทางเดียวกันว่า

隆武帝将当朝最尊崇的朱姓赐给郑成功,并将原名森改为成功。从这时起,郑森的名字就成了朱成功。

หรือ หลงอู่ตี้ชื่นชมในอัธยาศัยของนายทหารติดตามของ เจิ้งจื่อหลง (郑芝龙 /บิดาของเจิ้งเฉิงกง) ครั้งที่เจิ้งจื่อหลงเข้าสวามิภักดิ์

จึงพระราชทาน (เพียง) แซ่จู และนาม เฉิงกง ให้ใช้แทนชื่อแซ่เดิม  หาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ใดให้เลยครับ

อาจารย์ลองสืบค้นหา ความจริง ดูสิครับ.

国姓爷 แปลประมาณว่า นายผู้ได้รับประราชทานแซ่ของแผ่นดิน 

กั๋วซิ่งเหยีย  เป็นเพียงฉายาที่ชาวบ้านชาวเมืองเรียกท่านด้วยความยกย่องครับ ไม่ใช่บรรดาศักดิ์อะไรทั้งสิ้นครับ


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 04 พ.ค. 22, 12:33

สกุลเจิ้งของเจิ้งเฉิงกงปกครองไต้หวันนานกว่า ๒๐ ปี มีผู้สืบทอดบรรดาศักดิ์เหยียนผิงอ๋องทั้งสิ้นสามคน ...

เป็นอีกเรื่องที่คนมีความรู้ไม่น่าพลาดครับ 

ซึ่งผมจะพยายามคิดว่า เป็นการหลงลืม...

เพราะในระบบการแต่งตั้งแบบจีน เมื่อผู้รับบรรดาศักดิ์ หรือได้รับการแต่งตั้ง โดยขนบทายาทหาได้มีการรับช่วงบรรดาศักดิ์กันโดยอัตโนมัติครับ

ทายาทจะต้องส่งสาส์นกราบบังคมทูลผู้แต่งตั้ง เพื่อเจ้าผู้แต่งตั้งจะพิจารณา และส่งผู้แทนมาตรวจพิสูจน์สถานะการบ้านเมือง

แล้วจึงมีพิธีส่งมอบสารตราตั้ง ให้เข้ารับบรรดาศักดิ์....

ตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นก็คือ ในบันทึกหมิงสือลู่ ที่มีความว่า

(พ.ศ. 1938) (ค.ศ. 1395) ปีที่ 28 ในรัชกาลหงหวู่

เจาลู่ฉินอิงส่งราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการและกราบทูลให้ทรงทราบว่าพระราชบิดาสวรรคต6

(จักรพรรดิ) โปรดให้ขันทีชื่อ เจ้าต๋า (เตี้ยตั๊ก) และ ซุ่ง ฝู (ซ่งฮก) นําพระบรมราชโองการแต่งตั้งองค์รัชทายาทให้ดํารงตําาแหน่งกษัตริย์ต่อไป

ปัญหามีว่า.......
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 04 พ.ค. 22, 12:45

จักรพรรดิหลงอู่ (隆武帝) แห่งหมิงใต้พระราชทานบรรดาศักดิ์กั๋วซิ่งเหยีย (國姓爺 ฮอลันดาและอังกฤษเรียกค็อกซิงกา Koxinga)

กั๋วซิ่งเหยีย  เป็นเพียงฉายาที่ชาวบ้านชาวเมืองเรียกท่านด้วยความยกย่องครับ ไม่ใช่บรรดาศักดิ์อะไรทั้งสิ้นครับ

กั๋วซิ่งเหยีย (國姓爺) คงไม่ใช่เป็นเพียงฉายาที่ชาวบ้านชาวเมืองเรียกกัน ต้องมีคนแรกตั้งชื่อ ซึ่งน่าจะเป็น จักรพรรดิหลงอู่ (隆武帝) และชื่อนี้ก็คงไม่ใช่บรรดาศักดิ์ดังที่คุณน้ำเพลิงแย้ง ถ้าเรียกให้ถูกต้องคือเป็น "ราชทินนาม" ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 04 พ.ค. 22, 13:00

(พ.ศ. 1938) (ค.ศ. 1395) ปีที่ 28 ในรัชกาลหงหวู่

รัชกาลหงอู่ (洪武)
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 04 พ.ค. 22, 13:25

ใครแต่งตั้งเจิ้งจิงขึ้นรับสืบทอดอำนาจปกครอง

ในบันทึกจีน

ช่วงเวลาที่หย่งลี่ตี้ ถูกทหารชิงควบคุมตัวเพื่อรอการพิจารณาโทษอยู่ที่คุนหมิงนั้น ทางอาณาจักรตงหนิงที่อยู่ภายใต้การนำของเจิ้งเฉิงกงก็กำลังเผชิญกับปัญหารุมเร้ารอบด้าน ทั้งการรบพุ่งกับทหารชิงที่ยกกองทัพลงมาปราบ ทั้งมีปัญหาอันเกิดจากเจิ้งจิง (บุตรจากภริยาหลวงของเจิ้งเฉิงกง)

เจิ้งจิง ลักลอบเป็นชู้กับแม่นมในวังจนมีบุตร ที่ถือเป็นเรื่องผิดขนบร้ายแรง อันเป็นเหตุให้ต้องโทษประหาร แต่เจิ้งจิงถูกคนรอบปลดปล่อยให้หนีไปได้

ความเครียดจากการต้องรบหนัก ประกอบกับปัญหาในครอบครัวทำให้ทุกข์ใจ เป็นเหตุเจิ้งเฉิงกงล้มป่วย ยิ่งภายหลังได้ข่าวการสำเร็จโทษหย่งลี่ตี้ อาการป่วยของเจิ้งเฉิงกงก็หนักขึ้นจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต....

เหล่าข้าราชบริพาร พร้อมใจกันยกอนุชาของเจิ้งเฉิงกงขึ้นปกครองอาณาจักรตงหนิง

เจิ้งจิงถือโอกาสที่บ้านเมืองอยู่ระหว่างการผลัดเปลี่ยน ยกกำลังทหารคู่ใจเข้ามาแย่งชิงอำนาจปกครองสำเร็จ ทั้งสำเร็จโทษเสด็จอาและข้าใกล้ชิดเสียสิ้น

เจิ้งจิง ขึ้นสู่อำนาจปกครองอาณาจักรตงหนิงโดยการแย่งชิง ฆ่าฟัน แล้วสถาปนาตัวเองเป็นอ๋องครับ
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 04 พ.ค. 22, 13:38

ในเมื่อคุณเพ็ญชมพู กรุณาเป็น บก. ตรวจแก้คำผิดให้ด้วยความเมตตาแล้ว

แทนที่จะใช้คำว่า ซึ่งน่าจะเป็น

การค้น และ อ้างความ  เพื่อพิสูจน์ความจริงเรื่อง

อ้างถึง
กั๋วซิ่งเหยีย (國姓爺) คงไม่ใช่เป็นเพียงฉายาที่ชาวบ้านชาวเมืองเรียกกัน ต้องมีคนแรกตั้งชื่อ ซึ่งน่าจะเป็น จักรพรรดิหลงอู่ (隆武帝) และชื่อนี้ก็คงไม่ใช่บรรดาศักดิ์ดังที่คุณน้ำเพลิงแย้ง ถ้าเรียกให้ถูกต้องคือเป็น "ราชทินนาม" ยิงฟันยิ้ม

เพื่อให้เพื่อนสมาชิกเห็นประจักษ์

คงไม่ลำบากใช่ไหมครับ ถ้านั่นไม่ใช่เป็นเพียงคำอ้างให้เรื่องพ้นตัว.

.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง