เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 4608 การทำงานในระบบ UN
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 11 พ.ค. 22, 20:08

ด้วยที่ผมมีความเชื่อว่า การทำงานเพื่อมุ่งหวังให้เกิดผลสัมฤทธิ์(Result)ในเวทีที่มีความหลากหลายในเชิงของปรัชญา ความเชื่อ และโคตรเง่า(Roots) นั้น จำเป็นที่เราจะต้องรู้และเข้าใจให้มากที่สุดในเชิงของการ 'รู้เขา รู้เรา'

ในช่วงเวลาแรกๆของการปฏิบัติภารกิจ ก็เกิดแว็บขึ้นมาว่า ทำไมเจ้าหน้าที่ของหลายๆประเทศดูจะมี attitude ในด้านต่างๆแปลกๆ อ่านไม่ออกและไม่เข้าใจ  ซึ่งเดาว่าน่าจะหาสาเหตุได้จากข้อมูลในทางประวัติศาสตร์ ดังเช่นกรณีความรู้สึกลึกๆต่อกันระหว่าง attude ของคนเชื้อสายต่างๆรอบบ้านเรา (พม่า กะเหรี่ยง ลาว เขมร เวียดนาม ฯลฯ)  เลยค้นคว้า ซึ่งได้พบว่าข้อมูลที่ให้ภาพต่างๆได้ดีมากก็คือเรื่องราวในกลุ่มเรื่องที่เรียกว่า The Congress of Vienna  ก็ลองหาอ่านดูนะครับ ได้ความรู้มากมาย

ผมขอหายไปจากกระทู้ประมาณสัปดาห์ครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 16 พ.ค. 22, 17:54

ย้อนกลับไปอ่านแล้วก็พบว่าสะกดผิดหลายคำเลยทีเดียว ต้องขอโทษและขออภัยด้วยครับ เร่งรีบไปหน่อยครับ   

ที่เป็นภาษาอังกฤษก็คือคำว่า attitude (ไม่ใช่ attude)    ที่เป็นภาษาไทยก็จะมีตัว 'ล' ที่มักจะหายไป ซึ่งเกิดมาจากแป้นพิมพ์ตัว ล ที่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย    และที่เป็นเรื่องของความกระโดกกระเดกในเรื่องราวและภาษานั้น มาจากเรื่องของ สส (สมองเสื่อม) และ สว (สูงวัย)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 16 พ.ค. 22, 19:26

หนังสือที่ให้ความรู้และความเข้าใจในอีกมุมหนึ่งที่อ่านแล้วเป็นประโยชน์ ก็จะเป็นกลุ่มเรื่องราวที่เรียกว่า Cultural shock และกลุ่มเรื่องราวที่เรียกว่า Phobia

ในภาพรวมๆแล้ว ความรู้ที่ได้จากสามกลุ่มข้อมูลนี้ ก็คือ ความเป็นไปต่างๆในประวัติศาสตร์ของยุโรป  ความต่างในทางประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์  และความรู้สึกในทางลบต่างๆในมุมมองของคนนอกกลุ่ม

ก็อาจจะเห็นว่าแปลกที่ต้องไปรู้เรื่องราวของุโรป  เรื่องก็ไม่มีอะไรมากกว่าไปเหตุผลว่า   โครงการและการดำเนินการต่างๆภายใต้ UN  และรวมทั้งความช่วยเหลือต่างๆที่อยู่ในด้านทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นใด ที่ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะ Bilateral, Plurilateral, หรือ Multilaterl ทั้งหลายเหล่านั้น น่าจะเกือบทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายประเทศผู้ให้ที่อยู่ในโรป ทั้งในด้านการเงิน ด้านผู้เชี่ยวชาญ และภาคการปฏิบัติในสนาม ซึ่งโครงการและความช่วยเหลือเหล่านั้นล้วนดูจะมีเป้าประสงค์ในลักษณะที่เป็นการให้บนพื้นฐานของ sustainable development คือให้ความช่วยเหลือเพื่อให้สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง  ไม่เด่นชัดในลักษณะของการให้แบบ give & take หรือบนฐานของ nothing is for granted เพื่อการเบ่งกล้ามหรือเอาไว้ทวงบุญคุณแบบที่พอจะเห็นๆกัน   

ก็คงจะนึกเลยไปถึงคำว่า colonial กับ imperial   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 17 พ.ค. 22, 18:17

เข้ามาถึงเรื่องของเงิน  ซึ่งผมไม่สามรถเล่าเรื่องของเงินได้มากนัก เพราะว่าไม่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง มีแต่เรื่องในทางรับทราบเป็นหลักใหญ่

เรื่องราวแบบคร่าวๆตั้งแต่ต้นทางมามีลักษณะเป็นดังนี้   เงินเพื่อการทำงานของระบบ UN ได้มาจาก 2 ทางคือ จากการลงขันของประเทศสมาชิก (Assessed contribution) และจากการบริจาคสมทบ (Voluntary Contribution)  มีคณะกรรมการที่เรียกว่า Fifth Committee (Administrative and Budgetary Committee) เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ 

เงินจากการลงขันนี้ก็มีวิธีคิดว่าแต่ละประเทศสมาชิกจะต้องจ่ายในปริมาณมากน้อยเพียงใดตามแผนงานต่างๆในแต่ละปีที่ UN จะดำเนินการ  โดยประเมินจากตัวบ่งชี้ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่างๆของแต่ละประเทศสมาชิก  เรียกเงินส่วนที่ต้องจ่ายกันนี้ว่า Appropriation  ซึ่งก็จะจัดแยกเป็นจำนวนเงินสำหรับแต่ละประเทศที่ต้องชำระให้กับแต่ละองค์กรที่เป็นสมาชิกอยู่       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 17 พ.ค. 22, 19:16

สำหรับเงินบริจาคสมทบนั้น คงจะเข้าใจกันได้ดีอยู่แล้วว่ามันต้องมีวาระเฉพาะจึงมีการให้ (ดังที่ได้เล่ามาแล้ว)  เงินส่วนนี้ทำให้มีการจำแนกออกเป็นกลุ่มประเทศผู้ให้ (Donor countries) กับกลุ่มประเทศผู้รับ (Recipien countries)   ในช่วงที่ทำงานอยู่ก็ได้เห็นบางประเทศประสงค์จะก้าวข้ามไปอยู่ในกลุ่มประเทศผู้ให้ ซึ่งดูจะไม่ค่อยเป็นเรื่องที่ยินดีกันทั้งสองฝ่าย เลยทำให้เกิดสภาพขาดเพื่อนของประเทศนั้นๆอยู่พอสมควร

ก็คงจะนึกเลยไปถึงคำว่า prejudice และ discrimination       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 18 พ.ค. 22, 19:22

ในปัจจุบันนี้องค์กร UNIDO ที่ผมเคยเป็นหนึ่งในผู้แทนไทยประจำองค์กร ได้เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก สมาชิกหลายประเทศได้ถอนตัวออกไป (สหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม ปอร์ตุเกต กรีซ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก)  ก็เป็นข้อชวนให้สังเกตว่า ดูล้วนจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมและอยู่ในกลุ่มประเทศ G7  ซึ่งโดยการปฏิบัติก็คือเสมือนไม่ประสงค์ที่จะสนับสนุนการพัฒนา SME (รวมทั้งผู้ประกอบการรายย่อย_Micro SME)  และการเกิดใหม่ของผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ซึ่งเป็นแนวทางที่สมาชิกประเทศขององค์กรเกือบทั้งหมดประสงค์จะได้เห็นการร่วมมือกันทำงานเพื่อช่วยพัฒนาให้เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เพื่อการสร้างห่วงโซ่ทางเศรษฐกิจที่มั่นคงยั่งยืน

ก็น่าสนใจต่อไปอีกว่า ในขณะที่ประเทศสมาชิกซึ่งส่วนมากจะเป็นประเทศในกลุ่ม G77+China ล้วนแต่ต้องช่วยกันลงขันเพื่อให้องค์กรได้ทำงานที่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้นตามฐานานุรูปของประเทศสมาชิก แต่บรรดาผู้ปฎิบัติงานในส่วนที่เรียกว่าฝ่าย seretariat และผู้เชี่ยวชาญ นั้น ดูล้วนจะเป็นบุคลากรที่มีสัญชาติที่สรุปเรียกอย่างง่ายๆว่า ฝรั่ง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 18 พ.ค. 22, 20:12

เรื่องสัพเพเหระทั้งหลายที่เล่ามาตั้งแต่ต้นเหล่านั้นก็คือสภาพหรือสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ล้วนเป็นประเด็นที่พึงต้องนึกถึงเพื่อความเข้าใจในบางเรื่อง จะมีมากบ้างน้อยบ้าง อาจจะมีหรือไม่มีสาระที่เกี่ยวข้องใดๆเลยก็ได้   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 21 พ.ค. 22, 17:43

เงินเป็นเรื่องที่ทุกๆคนน่าจะคิดเหมือนๆกันว่า จ่ายไปแล้วได้อะไรกลับมา จะหามาเอามาใช้ได้อย่างไร  หรือจะให้เงินมันทำหน้าที่ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองหรือต่อส่วนรวมได้อย่างไร  ด้วยความคิดพื้นฐานเช่นนี้ ประเทศสมาชิกซึ่งต้องช่วยกันทำให้องค์กรทำงานที่เกิดประโยชน์ได้ ด้วยการจ่ายเงินให้องค์กรในระบบ UN ทั้งในรูปของ Assessed contribution และ Voluntary contribution ต่างก็คงจะคิดไม่ต่างกันไปจากความคิดพื้นฐานนั้นนัก  จ่ายเงินเป็นจำนวนมากก็ย่อมต้องติดตามดูว่าเงินนั้นได้นำไปใช้อย่างไร อย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่  องค์กรเหล่านั้นจึงมีหน่วยงานสำคัญเพื่อกำกับดูแลที่สำคัญอยู่สองหน่วย ก็คือ หน่วยด้านแผนงานและการปฏิบัติการ กับหน่วยงานด้านการเงินและการตรวจสอบ/ตรวจทาน (comptroller)

สำหรับหน่วยงานด้านแผน  ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยดูจะไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นของฝ่ายผู้ให้หรือของฝ่ายผู้รับ  แต่สำหรับหน่วยงานด้านการเงินและการตรวจสอบ/ตรวจทานนั้น ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยจะถูกขีดวงไว้สำหรับสมาชิกประเทศที่จ่ายเงินในระดับสูงต้นๆ         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 21 พ.ค. 22, 19:06

เมื่อองค์กรมีงานที่ต้องปฏิบัติตามวาระงาน (Agenda) ตามแผนงาน (Programme) และตามโครงการ (Project) เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (achievement) ก็จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบของงานต่างๆทั้งใหญ่และเล็ก  ซึ่งงานต่างๆเหล่านี้ก็คืองานที่ออกแบบให้มีรูปเฉพาะสำหรับกลุ่มประเทศ มีทั้งที่เป็นในรูประดับภูมิภาคหรือระดับย่อยอื่นใด  งานในลักษณะเฉพาะที่เป็นงานแบบ Tailor made เหล่านี้ คืองานที่ผู้เชี่ยวชาญขององค์กรและประเทศสมาชิกมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างมาก  ก็เป็นส่วนหนึ่งของงานแสวงประโยชน์หลักที่สำคัญของผู้แทนต่างๆที่ไปประจำอยู่/ประสานงานกับองค์กร
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 22 พ.ค. 22, 19:10

งานสนับสนุน/ช่วยเหลือในลักษณะจำเพาะนี้ เกิดขึ้นได้จากสามเส้นทาง คือ จากฝ่ายผู้ให้ จากฝ่ายผู้เชี่ยวชาญประจำองค์กร และจากฝ่ายผู้รับ (กลุ่ม G77+China)   

สำหรับฝ่ายผู้ให้นั้น เขาก็มีการประชุมหารือกันเพื่อหาความเห็นร่วมกันว่าจะเน้นการสนับสนุนในเรื่องใดในองค์รวม ซึ่งเท่าที่ได้สัมผัสมาก็ดูจะมีกรณีผู้ให้ใดสนใจจะสนับสนุนในเรื่องใดให้กับกลุ่มผู้รับใด   ซึ่งเนื้องานที่ให้การสนับสนุนก็พอจะจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ กลุ่มเนื้องานประเภทการสร้างเสริมโครงสร้าง (Institutional building) และประเภทเสริมสร้างความสามารถ (Capacity building) 

ขอต่อพรุ่งนี้ ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 23 พ.ค. 22, 18:25

ก็คงจะเห็นภาพแล้วว่า เมื่อเข้าสู่ภาคปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลประสงค์ของเนื้องานของทั้งสองรูปแบบนี้ ซึ่งอยู่ในรูปนามธรรม  ก็จะต้องมีเรื่องในรายละเอียดที่ต้องดำเนินการอยู่มากมายหลายประเด็น (ทั้งด้านประเทศผู้ได้รับโครงการและด้านองค์กร) ก่อนที่จะทำให้เกิดเป็นภาคปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมได้ ก็จะมีเช่นในเรื่องของเงื่อนไข ซึ่งจะมีรายละเอียดลึกลงไปถึงระดับฝ่ายใดจะให้อะไร ฝ่ายใดจะสนับสนุนในเรื่องใด ฯลฯ  ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็จะไปเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการให้ความเห็นชอบในระดับกระทรวงหรือในระดับรัฐบาล เพราะอาจจะเกี่ยวกับเรื่องของงบประมาณ/ค่าใช่จ่ายต่างๆ รวมทั้งด้านของบุคลากรและหน่วยงานรับผิดชอบเฉพาะกิจหรือโดยตรง....

เพื่อให้เกิดภาคปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมจริงๆ ก็ต้องมีการนำเสนอโครงการดำเนินการที่มีลักษณะจำเพาะ ซึ่งเกิดได้โดยการนำเสนอจากแต่ละประเทศ กลุ่มประเทศ กลุ่มภูมิภาค กลุ่ม G77+China และจากตัวผู้เชี่ยวชาญขององค์กร หรือกระทั่งจากประเทศผู้สนับสนุนโครงการหนึ่งใด     ทั้งนี้ โครงการที่นำเสนอเหล่านี้จะอยู่ในระดับองค์กรกับประเทศสมาชิก  ก็อาจจะมีที่องค์กรเองนำเสนอแทนฝ่ายประเทศสมาชิก หรือนำเสนอประเทศผู้ให้บางประเทศเป็นการเฉพาะในบางโครงการ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 23 พ.ค. 22, 19:06

ที่เล่ามา ก็คงพอจะทำให้เห็นภาพว่า งานของผู้แทนที่ประจำองค์กรระหว่างประเทศของแต่ละประเทศดูจะจัดอยู่ในกลุ่มงานประเภท Lobby ที่ทำทั้งแบบทำกับเขาและแบบเขาทำกับเรา  งานการช่วงชิงผลประโยชน์อันพึงมี/พึงได้รับ  งานการประสานงานต่างๆระหว่างรัฐของตนกับองค์กรและระหว่างหมู่ประเทศที่มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน ฯลฯ

ก็คงพอจะเห็นได้ว่า งานในลักษณะนี้ ผู้ปฏิบัติจำเป็นจะต้องมีภูมิความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับตัวตนของประเทศของตนในทุกเรื่อง  รู้มากน้อยต่างกันก็ดูจะทำให้ได้ประโยชน์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่ต่างกัน     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 24 พ.ค. 22, 17:33

คงจะเห็นในอีกภาพหนึ่งว่า งานต่างๆขององค์กรนานาชาติที่เราเห็นเป็นรูปธรรมนั้น เกิดมาจากการทำงานในกรอบหรือในลักษณะที่เป็น Plurilateral   แรกเกิดของเรื่องอาจจะมาจากความคิดเห็นหนึ่งใด แล้วค่อยๆก่อตัวเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ขึ้น บางเรื่องก็ไปจบอยู่ในระดับอนุภูมิภาค บางเรื่องก็จบในระดับภูมิภาค บางเรื่องในสุดท้ายก็อาจจะมีผลกลายเป็น Agenda ขององค์กร หรือที่สุดๆก็จะเป็น Global Agenda ที่แถลงออกมาในชื่อ Declaration
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 24 พ.ค. 22, 19:21

ที่ได้กล่าวมาว่า มีหลายช่องทางในการนำเสนอเนื้องานหรือโครงการที่องค์กรพึงจะดำเนินการในแต่ละช่วงเวลาหนึ่งนั้น  ถ้าจะว่าไปจริงๆแล้ว ส่วนมากจะมาจากทางด้านผู้เชี่ยวชาญขององค์กรและจากทางด้านประเทศผู้ให้  ซึ่งเท่าที่ได้สัมผัสมาก็จะมีการพิจารณาจำกัดการพึงได้รับประโยชน์ของบางประเทศฝ่ายผู้รับด้วย (ด้วยเหตุผลต่างๆ)  ไทยเราก็เป็นประเทศหนึ่งในนั้น ด้วยเหตุผลว่า เราเป็นประเทศ Advanced developing country  เด่นออกมาจากกลุ่มมิตรประเทศ ASEAN (คิดว่ามาเลเซียก็ด้วย)   

ก็จะเห็นว่าการปฏิบัติภารกิจในฐานะประเทศสมาชิกที่ถูกจัดว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความก้าวหน้านั้น ก็ย่อมจะต้องมีวิถีที่ไม่เหมือนกับเพื่อนๆประเทศในกลุ่มภูมิภาคหรือในอนุภูมิภาค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เรามีประเทศที่เขาจัดกันให้เป็นประเทศ LDCs (Least Developed Countries) อยู่รอบหรือใกล้ตัวเรา       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 25 พ.ค. 22, 18:28

ก็น่าคิดว่า เมื่อเราถูกจัดอยู่ในประเทศที่มีข้อจำกัดที่จะได้รับความช่วยเหลือแล้ว จะมีประโชน์หรือจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างที่คุ้มค่ากับการเป็นสมาชิกและการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายรายปีขององค์กร อีกทั้งก็มีประเทศผู้ให้หลายประเทศได้ถอนตัวออกไปจากองค์กรแล้ว   ก็คิดกันได้หลายอย่างบนเหตุผลที่ต่างกัน       สำหรับตัวผมยังมีความเห็นว่า การเป็นสมาชิกองค์กรยังมีประโยชน์กับเรา เพียงแต่ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องทั้งในระดับกระทรวง หน่วยราชการ ผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ และผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของรัฐจะต้องมีตรรกะ มีความสนใจในการอ่านและแสวงหาข้อมูล และมีระบบความคิดที่เปิดกว้าง (Open System Thinking)   เห็นภาพในเรื่องทาง Geopolitics ต่างๆ   และอื่นๆ อาทิ ทิศทางแนวโน้มทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม แนวนโยบายแห่งรัฐ ...ฯลฯ     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง