เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 4631 การทำงานในระบบ UN
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 04 พ.ค. 22, 19:24

เมื่อมีการประชุม ก็ย่อมต้องมีผลของการประชุม  ก็คงจะเคยเห็นคำศัพท์ที่ใช้กับผลของการประชุมต่างๆ ที่ค่อนข้างจะคุ้นเคยกันก็เช่น Declaration, Resolution, Decision  คำเหล่านี้ใช้กับผลการประชุมใหญ่ที่มีผลกระทบ (+ / -) ในวงกว้าง   (คำอื่นๆที่ไม่ค่อยจะได้ยินกันก็เช่น Recognized, Adopt, Take Note) 

เรื่องราวและสาระสำคัญของการประชุมต่างๆส่วนมากจะปรากฏอยู่ในเวลาช่วงเช้าของการประชุมในวันแรก ก็มีบ้างที่ไปปรากฏอยู่ในช่วงเวลาบ่ายของวันแรก   ในระหว่างที่ผู้แทนต่างๆที่นั่งกันอยู่เต็มห้องประชุม Plenary นั้น ความวุ่นวายหลังฉากก็ได้เริ่มปรากฏขึ้นพร้อมกันไปด้วย  คือจะมีการดำเนินการนำร่างผลของการประชุมในเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญๆไปหาผู้สนับสนุน เพื่อร่วมกันเป็นผู้เสนอผลสรุปของที่ประชุมตามที่เห็นพ้องกันในด้านสาระสำคัญ แล้วนำเสนอร่างนั้นๆในการประชุม Committee  เพื่อถกกัน ปรับแก้.... ฯลฯ บนฐานของความอะลุ่มอล่วย แม้ว่าในการถกกันนั้นจะเป็นการถกเถียงกันที่ดูจะดุเดือดก็ตาม   

ตามปกติ ร่างผลการประชุมนี้จะมีการนำเสนอทั้งจากฝ่ายผู้ให้และจากฝ่ายผู้รับ ซึ่งผลสุดท้ายที่เห็นพ้องกันก็อาจแปรไปมาระหว่างคำศัพท์ที่ได้กล่าวถึงแต่แรก   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 05 พ.ค. 22, 18:23

เอกสารสรุปผลการประชุมของแต่ละวาระที่มีการตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อไปเช่นใด จะมีอยู่สองส่วน คือส่วนที่เป็นเหตุผลโดยสรุป เรียกว่า Preambulatory Clause   กับส่วนที่เป็นการตัดสินใจ/ข้อสรุปว่าจะดำเนินต่อไปเช่นใด เรียกว่า Operative Clause  ซึ่งจะรวมอยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกัน ก็อาจมีเกินเป็นกระดาษแผ่นที่สองเล็กน้อย  แต่ส่วนมากจะมีข้อความไม่เต็มหน้ากระดาษแผ่นเดียวนั้น 

ในห้องประชุม Committee   คำว่า Preambulatory Clause จะถูกเรียกกันสั้นๆว่า Preambula หรือ Preamp  ส่วน Operative Clause จะเรียกกันสั้นๆว่า Operative

ข้อความในส่วนที่เป็นเหตุ จะเป็นจะเป็นข้อความสั้นๆที่ส่วนมากจะไม่เกิน 2-3 บรรทัด  ด้วยที่จะมีหลายข้อสรุปของเหตุ จึงมีการแยกออกเป็นแต่ละเรื่อง/ประเด็น แยกออกเป็นแต่ละย่อหน้าสำหรับแต่ละเรื่อง/ประเด็น  ซึ่งแต่ละเรื่อง/ประเด็นก็มักจะบรรยายเป็นข้อความอยู่ในอยู่ใน 2-3 บรรทัดนั้น

สำหรับข้อความในส่วนที่เป็นด้านของการดำเนินการนั้น จะมีข้อความที่ยาวกว่าไม่มากนัก แต่ก็มีการแยกเรื่อง/ประเด็นออกเป็นแต่ละย่อหน้าเช่นกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 05 พ.ค. 22, 19:05

ด้วยที่เรื่องของผลลัพท์จากการประชุมสามารถจะนำไปสู่การปฏิบัติได้เป็นเรื่องสำคัญ     เพื่อเป็นประโยชน์ ผมก็เลยไปค้นหาศัพท์ต่างๆที่ใช้ในด้านของเหตุ (Preambulatoty) และในด้านของผล (Operative)  ซึ่งความหมายของคำศัพท์เหล่านี้อาจจะพอทำให้เรานึกได้ถึงเรื่องราวหรือเนื้อความที่พึงสรุปสำหรับการตัดสินใจต่างๆที่จะส่งให้เกิดผลสำเร็จต่างๆได้   

https://www.wisemee.com/preambulatory-and-operative-clauses/
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 05 พ.ค. 22, 20:09

ภาพที่ได้เล่ามาก็เป็นภาพรวมๆในมิติหนึ่ง 

ในภาพใหญ่ตามปกติ   ในเช้าวันเปิดประชุม จะมีผู้แทนของประเทศต่างๆนั่งประจำที่ๆมีป้ายชื่อประเทศกำกับอยู่  บนเวทีก็จะมีประธาน มี Rapporteur และเจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กรนั่งกันอยู่บนเวที  หลังที่นั่งของผู้แทนประเทศก็จะมีเก้าอี้อีก 2-4 ตัวสำหรับเจ้าหน้าที่/ผู้ติดตาม ที่เกินไปกว่านั้นก็อาจจะต้องเสียมารยาทไปเบียนนั่งเก้าอี้ของประเทศอื่น หรือยืนอยู่หลังห้อง หรืออยู่นอกห้อง   หลังจากฟังประเทศผู้ให้การสนับสนุนที่สำคัญแล้ว ก็จะเริ่มมีการทะยอยเดินออกไปเพื่อปฏิบีติภารกิจอื่น เช่นการพบปะการหรือทวิภาคี ฯลฯ   

ฝ่ายเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวของของประเทศสมาชิก จะเริ่มงานด้วยการนำพาคณะเจ้าหน้าที่ของประเทศตนและรายงานในเรื่องต่างๆ  เมื่อเมื่อถึงเวลาจะเริ่มประชุม ก็จะไปจัดการเรื่อง Credential และลงทะเบียนการกล่าวถ้อยแถลงตามเวลาที่คณะฯต้องการ จากนั้นก็ไปติดตามเรื่องที่จะเข้าสู่การประชุม Committee รวมทั้งท่าทีต่างๆของสมาชิก

ช่วงบ่ายของการประชุม ห้อง Plenary จะค่อนข้างโหลงเหลง  คณะผู้แทนที่เดินทางมาประชุมต่างก็จะมีธุระอื่นๆ จะคงเหลือแต่คณะผู้แทนที่นั่งรอเวลาที่จะพูด   ในขณะที่ในห้องประชุม Committee จะมีความคึกคัก แน่นไปด้วยเจ้าหน้าที่ของประเทศต่างๆ เพราะมีเรื่องได้เสียอยู่ไม่น้อยในเรื่องของประโยชน์อันพึงมี 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 05 พ.ค. 22, 21:47

หลังที่นั่งของผู้แทนประเทศก็จะมีเก้าอี้อีก 2-4 ตัวสำหรับเจ้าหน้าที่/ผู้ติดตาม ที่เกินไปกว่านั้นก็อาจจะต้องเสียมารยาทไปเบียนนั่งเก้าอี้ของประเทศอื่น หรือยืนอยู่หลังห้อง หรืออยู่นอกห้อง   
ผู้ติดตามที่มีจำนวนมากๆ เขามาทำหน้าที่อะไรกันบ้างคะ  เช่นมี 4 คนหรือมากกว่านั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 06 พ.ค. 22, 18:48

การที่มีผู้แทนเดินทางมาจากประเทศของตนเพื่อเข้าร่วมประชุม  เป็นข้อบ่งชี้ว่าจะต้องเป็นผู้บริหารระดับสูงของหน่วยราชการ หรือของรัฐบาล  ที่สังเกตเห็นมา ในระดับหน่วยราชการก็มักจะมีเพียง 2-3 คน   แต่หากเป็นระดับรัฐมนตรีก็จะมีหลายคน ซึ่งเท่าที่เห็นส่วนมากก็จะอยู่ระหว่าง 5-10 คน   ผู้ที่จำเป็นต้องนั่งอยู่ในที่ประชุมในช่วงเช้าวันแรกของการประชุม ก็มีเพียงตัว รมต.ในฐานะผู้แทนที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการประชุมครั้งนั้นๆเท่านั้น ที่เหลือก็สุดแท้แต่ รมต.ประสงค์จะเลือกผู้ใดให้นั่งช่วย back up อยู่ข้างหลังใกล้ๆตัว นอกเหนือไปจากนั้นก็ต้องดูแลตัวเอง จะยกเว้นก็คงจะเป็นเพียงท่านทูต

ภาพที่เห็นอยู่เป็นประจำตามปกติ ก็คือในวันที่ต้องกล่าวถ้อยแถลง ซึ่งเป็นวันที่ห้องประชุมค่อนข้างจะโหลงเหลงนั้น จะมีคณะผู้แทนเข้ามานั่งอยู่เต็มเก้าอี้หลังป้ายชื่อประเทศ แล้วก็มีการถ่ายรูปกัน ภาพส่วนหนึ่งก็คงใช้เป็นหลักฐานการเดินทางมาเข้าร่วมประชุม ส่วนหนึ่งก็เพื่อการประชาสัมพันธ์  และอีกส่วนหนึ่งก็น่าจะเพื่อเพิ่ม CV (Curriculum Vitae) ของแต่ละคน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 06 พ.ค. 22, 19:27

ก็มีข้อสังเกตอยู่ในกรณีที่บางประเทศมีความพยายามจะลงทะเบียนเพื่อกล่าวถ้อยแถลงในช่วงบ่ายของวันแรกของการประชุม ต่อจากช่วงเช้าที่มีลักษณะเป็นการแสดงแนวโน้มของแนวคิดต่างๆของฝ่ายผู้ให้  กรณีเช่นนี้จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับฝ่ายเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิก ว่าจะมีข้อเสนอที่อาจจะมีพลังที่จะเบี่ยงเบนผลลัพท์ของบางวาระในการประชุมนั้นๆ   ในกรณีเช่นนี้ก็มักจะเห็นคณะผู้แทนของประเทศนั้นๆประกอบไปด้วยผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับวาระงานขององค์กรอยู่หลายคน  ซึ่งข้อเสนอเหล่านั้นมักจะไปโผล่อยู่ในแนวทางของกลุ่มประเทศทางภูมิภาคที่นำไปถกกันใน Committee
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 07 พ.ค. 22, 18:43

คณะผู้แทนจากประเทศใดๆที่เดินทางมาเข้าร่วมประชุมนั้น มักจะมีวาระอื่นใดแอบแฝงอยู่ด้วย  เรื่องหนึ่งก็คือ เสมือนเป็นการแสดงการให้ความสำคัญกับองค์กรและการเป็นสมาชิกที่ active  แต่ในเนื้อแท้ มักจะมีเป้าหมายไปที่เรื่องของสถานะความพร้อมของประเทศตนในเรื่องของ action ในบางเรื่อง เช่น เพื่อแสดงว่าพร้อมจะทำงานอย่างเต็มที่หากได้รับการเลือกให้เป็นผู้นำกลุ่ม (....) หรือพร้อมจะเป็นประเทศที่ตั้งของโครงการนำร่องเพื่อการพัฒนาเรื่องหนึ่งใด เหล่านี้เป็นต้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 07 พ.ค. 22, 19:05

ย้อนกลับไปนิดนึงครับ ในเรื่องของศัพท์ที่ใช้ใน Preambulatory clause ที่ได้แนะนำให้ดูในเว็บนั้น คำเหล่านั้นล้วนใช้เป็นคำขึ้นต้นประโยคของแต่ละย่อหน้าสั้นๆในผลสรุปและการตัดสินใจต่างๆของการประชุม  ก็จะมีหลายย่อหน้าไล่เลียงกันมาอย่างเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ซึ่งแต่ละย่อหน้าที่ไล่เลียงกันมานั้น(ตามปกติจะมีสี่ห้าย่อหน้า) จะขึ้นต้นด้วยศัพท์ที่ไม่ซ้ำกัน เช่นเดียวกันกับในส่วนที่เป็น Operative clause

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 07 พ.ค. 22, 20:04

การประชุม Committee เป็นการประชุมที่มีความน่าสนใจมากๆ เป็นเหมือนห้องเรียนรู้สำหรับทุกคนที่เข้าประชุม เป็นเหมือนห้องที่มีแต่เรื่องของ facts and figures   เป็นเหมือนห้องถกกันแบบการทำ group dissertation   เป็นเหมือนห้องที่แสดงความหลากหลายในความเข้าใจที่ต่างกันอย่างลึกๆของคำศัพท์ที่ใช้ในประจำวัน  เป็นห้องที่ทุกคนเป็นทั้งอาจารย์และเป็นลูกศิษย์ในเวลาเดียวกัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 09 พ.ค. 22, 18:36

ภาพโดยสรุปอีกครั้งหนึ่ง   

สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องประชุมนี้ โดยเนื้อแล้วก็เสมือนการพิจารณาเรื่องงานต่างๆที่เป็นเนื้อเป็นหนังจริงๆขององค์กร  ส่วนสำหรับหัวหน้าคณะผู้แทนที่อยู่ในห้อง Plenary นั้น จะว่าไปแล้วอาจจะเกือบจะไม่รู้เรื่องใดๆในการประชุมครั้งนั้นๆเลย หน้าที่สำคัญที่จำเป็นจะต้องปรากฏตัวในห้องประชุมก็คือ ในวันเปิดประชุม วันกล่าวถ้อยแถลง และวันให้ความเห็นชอบ(adopt)ผลการประชุม(วันปิดประชุม)

อาจจะงงๆ  ฮืม  อ้าว !  แล้วคณะผู้แทนไม่ไปต้องนั่งถก ไม่ต้องไปนั่งพิจารณาเรื่องอะไรๆเลยหรือ   ครับ..ก็เป็นเช่นนั้น  แต่หากมีความรับผิดชอบและใส่ใจในการทำงานจริง ก็มีเนื้องานที่ทำได้มากมาย   เท่าที่มีประสบการณ์และที่รับรู้โดยทั่วไป ก็จะมีการนัดพบหารือกับผู้อำนวยการใหญ่ขององค์กรเพื่อการขยายความร่วมมือต่างให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น  หรือการพยายามหาช่องเวลาเพื่อพบพูดคุยกับผู้แทนของประเทศอื่นใดในเรื่องของความร่วมมือด้านทวิภาคี (ฺBilateral Coopoation)  ฯลฯ    ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในพื้นที่หน้าประชุม หรือในห้องที่จัด/จองไว้  เรื่องการพบปะแบบทวิภาคีนี้มีการดำเนินการทั้งฝ่ายเราและฝ่ายเขา    เรื่องเหล่านี้ เกิดขึ้นได้ทั้งจากฝ่ายคณะผู้แทนที่เดินทางมาและจากฝ่ายผู้รับผิดชอบดูแล/ปฏิบัติงานความร่วมมือกับองค์กรนั้นๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 09 พ.ค. 22, 19:14

คงจะพอเริ่มเห็นภาพการทำงานของผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของรัฐในฐานะประเทศสมาชิกในการประสานงานและร่วมขับเคลื่อนองค์กร   การทำงานของบุคคลเหล่านี้โดยทั่วไปจะมีวาระ 4 ปี ทั้งหมดจะมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูตของแต่ละประเทศสมาชิก  บุคคลเหล่านี้คือผู้ที่ร่วมกันปฏิบัติภารกิจในเชิงของการบริหารด้านเนื้องานให้เป็นไปตามพันธกิจขององค์กร  เรื่องที่นำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่เพื่อการตัดสินใจต่างๆเกือบทั้งหมดก็มาจากการทำงานของคณะบุคคลเหล่านี้ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 10 พ.ค. 22, 18:30

ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์จะกล่าวสรุปเรื่องราวและประเด็นสำคัญต่างๆขององค์กรในปีที่ผ่านมาอย่างสั้นๆ  ส่วนรายละเอียดนั้นจะอยู่เอกสารประกอบการประชุมที่จัดให้แก่ประเทศสมาชิกก่อนหน้าหลายสัปดาห์มาแล้ว ซึ่งก็จะมีเรื่องของงาน เงิน คน ตามปกติทั่วไป  เอกสารประกอบการประชุมจะจัดใส่ไว้ในตู้รับเอกสาร (pigeonhole) ของแต่ะประเทศที่ทยอยใส่มาเป็นเรื่องๆหรือเป็นชุด ก็จะต้องขยันไปเก็บเอาออกมารวบรวม ซึ่งเมื่อเอาวางตั้งรวมกันแล้วก็จะหนาประมาณหนึ่งคืบ+  ก็ต้องอ่านทั้งหมดให้รู้และเข้าใจอย่างชัดแจ้งเพื่อเตรียมการเข้าร่วมประชุม (รวบรวมจัดทำเป็นท่าที ความเห็น และถ้อยแถลง หรือ... ฯลฯ)

ก็ดูเป็นเรื่องที่ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่มันก็มี   ที่ได้เห็น ได้รับรู้ และเห็นผลที่ทำให้ประเทศนั้นๆได้หรือไม่ได้รับประโยชน์ในด้านรูปธรรมและนามธรรมตามสมควร ทั้งในเชิงของปริมาณและคุณภาพ  ซึ่งดูล้วนจะมีสาเหตุมาจากเรื่องของความพร้อมในด้านบุคลากรและการทำงานของเขาเหล่านั้น(ที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กร)  ซึ่งผมเห็นว่ามีอยู่สองสามประเด็นที่สำคัญ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 10 พ.ค. 22, 20:02

ในด้านบุคลากร    ประเทศในกลุ่ม G77 ส่วนมากจะไม่สามารถจัดให้มีบุคลากรไปประจำทำภารกิจเป็นการเฉพาะกับองค์กร ก็จึงใช้วิธีการมอบให้เป็นภาระของสถานทูต ซึ่งโดยส่วนมาก สถานทูตเองก็มีข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากร ซึ่งเขาเห่ลานั้นก็มีความรู้และความชำนาญเฉพาะเรื่องทางการทูต มิใช่ในเรื่องอื่นที่มีความลึกซึ้งเฉพาะทางของมัน  การไปเข้าร่วมประชุมต่างๆที่มีอยู่ในงานตามปกติขององค์กรก็จึงมักจะเป็นไปในลักษณะของการทำหน้าที่ตามภาระของสมาชิกประเทศ แต่ก็ยังสามารถให้ความเห็นได้ในบางเรื่องหรือหลายๆเรื่อง  การไปร่วมประชุมโดยส่วนมากก็จึงเป็นลักษณะของการเข้าไปนั่งฟังและเก็บรวบรวมเอกสารต่างๆ แล้วส่งไปให้ Capital เพื่อพิจารณา(รับทราบ ดำเนินการ สั่งการ)  ซึ่งที่รู้จากการพูดคุยกันก็จะมีทั้งแบบได้มาแล้วส่งไปเลย หรือได้มาแล้วเก็บรวมใว้ก่อนส่ง หรือรอส่งในวันที่มีการส่งถุงเมล์ของสถานทูต   

Capital เป็นคำพูดที่ใช้กันที่หมายถึง หน่วยงานของรัฐในประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตน  มีลักษณะเป็นองค์รวมที่หมายถึงการดำเนินการตามระบบราชการ (รัฐบาล กระทรวงที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ฯลฯ)

ที่จริงแล้วสภาพที่กล่าวมาเช่นนี้ก็เกิดในหมู่ประเทศฝ่ายผู้ให้เช่นกัน ต่างกันก็แต่เพียงเรื่องของการพิจารณาและการตัดสินที่จะเร็วกว่ามาก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 11 พ.ค. 22, 18:39

กรณีการทำหน้าที่เพียงการทำหน้าที่เข้าไปนั่งในห้องประชุมในฐานะผู้แทนประเทศ และเพียงเพื่อการเก็บรวบรวมเอกสารแล้วส่งกลับประเทศของตน เหล่านี้เป็นรู้กันและเรียกภาระกิจนี้กันว่า ทำงานเป็นนายไปรษณีย์  ซึ่งที่เห็นก็มีทั้งนายไปรษณีย์ระดับเล็กและระดับใหญ่     ก็น่าสนใจอยู่เหมือนกันที่หลายประเทศที่พอจะมีกำลังทางเศรษฐกิจก็ดูจะมีการฝึกเพื่อลดปริมาณนายไปรษณีย์ คือจะจัดให้มีบุคลากรทางการทูตรุ่นเยาว์ไปประจำการอยู่หลายคน แล้วให้กำหนดให้บางคนเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นปกติ เช่น การประชุมกลุ่มภูมิภาค การร่วมหารือในกลุ่มย่อย การสังสรรค์...     สภาพดังกล่าวนี้ ผมได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจที่ยังให้เกิดเป็นผลดีกับประเทศไทยหลายๆเรื่อง  ท่านผู้อ่านแต่ะท่านคงจะเห็นช่องทางที่ควรจะดำเนินการแล้ว

ก็สัมผัสได้ว่า งานไปรษณีย์นี้ดูจะเป็นที่นิยมของผู้ที่ประจำการอยู่นอกประเทศของตนอยู่ไม่น้อย  ยิ่งนายใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องของ ธุระไม่ใช่  ก็ยังให้เกิดแต่ผลในด้านการเสียผลประโยชน์อันพึงมีของเรื่องอื่นใดที่นอกนอกเหนือไปจากภารกิจตามหน้าที่หลักของตน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง