เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 4628 การทำงานในระบบ UN
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 21 เม.ย. 22, 18:41

ก็มีข้อมูลที่พึงทราบ  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างการสมัครเข้าทำงาน โอกาสที่จะได้รับการเข้าไปทำงาน และความก้าวหน้าในที่การงาน 

ที่ได้เปรยมาว่า '..บุคลกรของ UN มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะมีความต่างออกไปก็ตรงที่ดูจะเป็นการไหลหมุนเวียนของบุคลกรภายในองค์กรนั้นๆหรือระหว่างองค์กรต่างๆของ UN มากกว่าที่จะเห็นบุคลากรหน้าใหม่ๆ..'  ผนวกกับระบบการจ้างงานที่เป็นลักษณะ Fixed-term employment     ก็พอจะบ่งชี้ได้ว่า องค์กร(HR)จะต้องมีข้อมูลอย่างพร้อมมูลตลอดเวลา เพื่อให้สามารถบริหารจัดการให้มีบุคลากรอยู่ครบในทุกตำแหน่งงานในทุกขณะเวลา  หมายถึงว่าจะต้องมีประกาศเกี่ยวกับความต้องการต่างๆตลอดเวลา   ก็ไปอยู่ที่ว่า กว่าที่บุคคลภายนอกทั่วไปจะได้เห็นประกาศรับสมัครงานนั้นๆ มันก็เป็นระยะเวลาที่สั้นและกระชั้นชิดเกินไปสำหรับการเตรียมตัวและการเตรียมความพร้อมต่างๆ ต่างกับคนที่ทำงานอยู่ภายใน ที่พอจะทราบอะไรๆล่วงหน้า (ระหว่าง 3 ถึง 6 เดือน) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 21 เม.ย. 22, 19:47

ในเรื่องของความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน     ในลักษณะของการไต่เต้าขึ้นไปตามงานที่ทำภายในองค์กรนั้นๆ ผมไม่มีความรู้ว่าจะมีหรือไม่ หากจะมีก็น่าจะมีแต่เพียงในงานกลุ่ม G      เท่าที่พอจะมีความรู้อยู่นั้น ความก้าวหน้าใดๆจะเกิดจากการเปลี่ยนงานเมื่อหมดสัญญา Fixed-term หนึ่งใดแล้ว ก็คือการสมัครเข้าทำงานในอีกงานใหม่ หรือที่มี Job description ใหม่ หรืออื่นใดที่มีการประกาศรับสมัคร

ก็คงพอจะเห็นความต่างระหว่างคนที่ทำงานอยู่แล้วภายในองค์กรกับคนภายนอกที่มีการเข้าถึงข้อมูลและรายละเอียดต่างกัน ในเชิงของช่วงระยะเวลา Timing ลักษณะงาน ค่าตอบแทน สถานที่ปฏิบัติงาน...   

ขออภัยที่การเล่าความอาจจะช้าอืดอาด  หากเป็นการบอกเล่าด้วยปากเปล่าก็คงจะไปเร็วกว่านี้มากๆ  เพระสามารถจะกระโดดไป-กระโดดมาในประเด็นที่เกี่ยวพันกันได้ง่ายกว่ามากๆ    ก็เกรงว่าจะสื่อความได้ไม่ตรงกับเรื่องราวที่รู้มา   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 22 เม.ย. 22, 18:48

ด้วยภาพและลักษณะบางอย่างที่เล่ามา ก็คงพอจะทำให้เห็นภาพในเรื่องของความมั่นคงทางอาชีพการงานว่าเป็นเช่นใด     ระบบ Fixed-term contract นั้น ทำให้บุคลากรทุกคนต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน เพื่อจะได้ใบผ่านงานที่ดีๆ   มีความกระตือรือร้นในการติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยเฉพาะในเรื่องของตำแหน่งงานที่จะหมดสัญญาจ้าง/ที่จะเปิดรับสมัคร สถานที่ปฏิบัติงาน ค่าจ้าง/ค่าตอบแทน ช่วงเวลาที่สัมพันธ์กันกับความต้องการ และในเรื่องอื่นๆ

ก็มีคนไทยอยู่เป็นจำนวนหนึ่งที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับการทำงานในระบบ UN  มีทั้งคนที่ทำงานอยู่ในกลุ่ม G และ P    ที่ผมรู้จักนั้นก็มีทั้งผู้ที่เกษียณแล้วและที่ยังไม่เกษียณ  อีกทั้งผู้ที่เกษียณแล้วแต่ยังสมัครงานและได้รับการว่าจ้างทำงานในระบบ UN  (ในลักษณะงานเฉพาะ)  บางคนก็ทำงานอยู่ในองค์กรเดิมๆนานนับสิบๆปี บางคนก็เปลี่ยนงานไปอยู่ในองค์กรอื่นๆ ที่ย้ายไปเป็นมือทำงานให้กับ DG ของอีกองค์กรหนึ่งก็มี   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 23 เม.ย. 22, 08:50

ตอนเด็กๆ รู้สึกว่าการได้ทำงานในองค์การระหว่างประเทศเป็นเรื่องโก้มาก   ส่วนหนึ่งของความโก้คือแสดงว่าเก่งภาษาต่างประเทศ
อีกส่วนหนึ่งเพราะเชื่อว่าได้เงินเดือนสูงกว่าทำงานในราชการหรือเอกชนของไทย
แต่ไม่เคยไปถามใครสักทีค่ะ
ถามคุณตั้งเสียเลย ทราบไหมว่าเงินเดือนจ่ายเป็นเงินตราอะไร เดาว่าดอลล่าร์   และเขาคิดตามอัตราค่าจ้างของอเมริกาใช่หรือไม่คะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 23 เม.ย. 22, 19:11

เรื่องของความโก้นั้น ยังคงเป็นเรื่องที่รู้สึกพอจะสัมผัสได้ในบุคลากรทุกระดับและจากทุกชนชาติครับ โดยเฉพาะในด้าน life style     สำหรับในเรื่องของภาษานั้น ดูเหมือนทุกคนจะบอกว่าภาษาอังกฤษของตนนั้นป่วยมากขึ้น แล้วค่อยขยายความครับ

ในเรื่องสกุลเงินตราที่ใช้ในการจ่ายเงินเดือนนั้น เท่าที่รู้ จะจ่ายในสกุลเงินดอลลาร์ แต่ไม่แน่ใจสำหรับพวกที่ได้รับการว่าจ้างบนฐานของบุคลากรท้องถิ่นนั้น จะได้รับเป็นสกุลเงินท้องถิ่นหรือเช่นใด     

ในเรื่องของอัตราเงินเดือนนั้น ที่พอทราบ นอกจากจะต่างกันบนฐานของระดับงานแล้ว ก็ยังต่างกันบนฐานของสถานะของตำแหน่ง ว่าเป็นตำแหน่งที่ผูกพันและอยู่ในระบบการจัดสรรผู้ดำรงตำแหน่งระหว่างชาติต่างๆหรือไม่ ...ฯลฯ   ก็คือมีหลากหลาย scale เอามากๆ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 23 เม.ย. 22, 19:56

เท่าที่ได้เคยพูดคุยและรับรู้ข้อมูลจากการประชุมหารือต่างๆ พอจะทราบว่าค่าจ้างของบุคลกรในระดับต่างๆจะอยู่ระหว่าง
$50,000+/- ถึงประมาณ $150,000+/- ต่อปี ไม่รวม Fringe benefits ต่างๆ   ซึ่งสำหรับบุคลากรในกลุ่ม P นั้น ดูจะเริ่มแถวๆ $70,000 +/- ต่อปี     

ที่กล่าวถึงเหล่านี้จะถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ไม่ทราบนะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 24 เม.ย. 22, 18:09

รายได้ต่อปีที่กล่าวถึงนั้นดูจะไม่สูงมากนัก แต่ก็เห็นคนที่ทำงานเขามีความสุขกันดี  เรื่องรายได้เป็นเรื่องที่เขาไม่เอามาสนทนากัน ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะ งานประเภทเดียวกันอาจจะมีความต่างกันในเรื่องของคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของบุคคลที่สามารถจะเข้ามาดำรงตำแหน่งนั้นๆ อาทิ เรื่องเกี่ยวกับความเป็นนานาชาติ เรื่องเกี่ยวกับลักษณะของงาน (เฉพาะกิจ ปฏิบัติภารกิจในภาคสนาม ความรู้/เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ...) เรื่องเกี่ยวกับภาษี    และในเรื่องของเงินเพิ่มที่ปรับให้สอดคล้องกับดัชนีค่าครองชีพสำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานที่ตั้งอยู่ในประเทศที่ต่างกัน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 24 เม.ย. 22, 19:38

ที่ว่า 'ก็เห็นคนที่ทำงานเขามีความสุขกันดี' นั้น นอกจากรายได้ที่ค่อนข้างจะดีกว่าปกติชนโดยทั่วๆไปแล้ว ก็มีเรื่องของสิทธิพิเศษในบางเรื่อง (Privilage) โดยเฉพาะในเรื่องของภาษี   

Commissary อาจจะเป็นคำที่ไม่คุ้นเคยกันนัก คนรุ่นเก่าจะคุ้นกับคำว่า PX     โดยพื้นฐานแล้ว ทั้งสองคำนี้ความหมายต่างกัน    Commissary มีความหมายออกไปทางสถานที่เก็บของ     PX เป็นคำเรียกสั้นๆจากคำว่า Post Exchange หรือสถานที่รับ-ส่งพัสดุของของหน่วยทหาร     แต่ทั้งสองคำนี้เป็นคำที่บุคลากรขององค์นานาชาติและของทางทหารหมายถึงสถานที่จำหน่ายเครื่องบริโภคและอุปโภคบางอย่างเล็กๆน้อยๆที่ปราศจากภาษี    แต่จะยกเว้นด้วยภาษีอะไรบ้างนั้น ผมไม่มีความรู้จริงๆ 

เท่าที่เห็นจากราคาของสินค้าแล้วเดาเอานั้น บางสินค้าก็ดูจะยกเว้นแต่เรื่องภาษีนำเข้า บ้างก็ทั้งภาษีนำเข้าและส่งออก บ้างก็ภาษีสรรพสามิต บ้างก็ Taiff  บ้างก็ Levied tax  ฯลฯ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 25 เม.ย. 22, 17:56

ขอขยายความอีกนิดเพื่อความกระจ่าง
   
ที่ว่าเรื่องภาษีนั้น ที่พอจะมีความรู้ ก็จะมีภาษีรายได้บุคคลและภาษี VAT  ซึ่งแต่ละบุคคลก็จะอยู่ภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดและข้อยกเว้นต่างๆที่ปฏิบัติแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานะของตำแหน่งที่ครอง ลักษณะงาน และสัญชาติที่ถือ... ฯลฯ

สำหรับของกินของใช้ไปลดภาษีที่มีจำหน่ายใน Commissary

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 25 เม.ย. 22, 18:41

สำหรับของกินของใช้ปลอดภาษีที่มีจำหน่ายใน Commissary นั้น  โดยหลักแล้วก็จะเป็นพวกที่มีลักษณะจำเพาะที่มีการใช้ในวิถีชีวิตประจำวันของคนชาติต่างๆ  สิ่งของหลายๆอย่าง ในมุมมองของแต่ละบุคคล แต่ละสถานะ แต่ละสัญชาติ ก็จะมีความเห็นที่ต่างกัน บ้างก็ในเรื่องของคุณภาพ(ต่ำ/สูง) บ้างก็ในเรื่องของระดับ(ปกติ/ไฮโซ) บ้างก็ในเรื่องของหายาก ฯลฯ  สุดแท้แต่จะเล่าขานวิจารณ์กันไป 

ของที่วางขายใน Commissary ของแต่ละองค์กรจะมีความแตกต่างกันไป มากบ้าง-น้อยบ้าง  ถึงจะมีของชนิดเดียวกันก็อาจจะเป็นของผู้ผลิตหรือแบรนด์เนมต่างกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 25 เม.ย. 22, 19:17

พื้นที่ของ Commissary นั้นมีเนื้อที่ใหญ่กว่าขนาดของห้องแถว 2 ห้อง(ของบ้านเรา)เล็กน้อย   ก็คงพอจะนึกออกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่ผู้ผลิตและแบรนด์ต่างกันจากทั่วโลกที่จะนำมาวางจำหน่ายนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้   การเลือกสินค้ามาวางขายจึงต้องมีวิธีการ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 25 เม.ย. 22, 20:18

ก่อนจะไปต่อ  

ที่ผ่านมาผมใช้คำว่า สินค้าบ้าง ผลิตภัณฑ์บ้าง แล้วก็ใช้คำว่าวางจำหน่ายหรือจำหน่าย  ซึ่งเป็นศัพท์ที่ให้ความหมายไม่ค่อยจะตรงกับความหมายที่แท้จริงของเรื่องราว  คำที่ได้กล่าวถึงมานี้ดูจะให้ความหมายที่ผูกพันธ์ไปในเรื่องของการค้าขายสินค้าบนฐานของต้นทุน-กำไร        ที่ต้องการจะสื่อจริงๆก็คือ หมายถึงสิ่งของบางอย่างเพื่อเติมเต็มความสุนทรีในชีวิตประจำวัน    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 26 เม.ย. 22, 18:43

ขอต่อเรื่องของภาพภายในระบบขององค์ต่อไปอีกเล็กน้อย ก่อนที่จะเข้าไปดูในเรื่องที่เกี่ยวกับวาระงานและกระบวนวิธีปฏิบัติที่ดำเนินการกัน

ิวิธีการอย่างหนึ่งในการเลือกสิ่งของที่จะเอามาวางจำหน่ายใน Commissary นั้น คือการใช้แบบสอบถามกับคนที่มีสิทธิในการเข้าถึงและใช้ facility นี้      สิ่งของต่างๆ คุณภาพ และแบรนด์ที่จัดวางจำหน่ายอยู่ก็จึงพอจะบอกอะไรต่อมิอะไรในองค์รวมของบุคากรในสังกัดได้พอสมควรทีเดียว ทั้งในด้านของกลุ่มเชื้อชาติ สังคม วัฒนธรรม ความเป็นนานาชาติขององค์กร ระดับของความเป็นอยู่ของคนทำงาน ฯลฯ    คนที่เข้าไปซื้อของเขาก็สังเกตการจับจ่ายและมองกันว่าใครคนใหนเป็นอย่างไร
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 26 เม.ย. 22, 19:25

เอาเป็นว่าในสังคมนี้ดูจะมีเรื่องของ prejudicial mindset อยู่ในหัวของผู้คนอยู่ไม่น้อย 

ก็มีอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นข้อจับสังเกตกัน ก็คือเรื่องของ etiquette  โดยเฉพาะในเรื่องของการกินทั้งในร้านอาหารและในงานรับรอง   บอกเล่ามาก็เพียงให้เป็นเรื่องน่ารู้บางอย่างในเรื่องของ mindset ของคนที่ทำงานอยู่ในวงงานที่มีลักษณะเป็นนานาชาติ เพราะการปฏิบัติที่ตามมาภายหลังกับตัวบุคคลนั้นๆ อาจจะมีความไม่เหมือนกันไปกับบุคคลอื่นๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 26 เม.ย. 22, 19:40

ก็จะขอเน้นว่า ภาษาและสำเนียง(ภาษาอังกฤษ)มิใช่เรื่องที่เป็นสาระสำคัญที่เขาเอามาดูแคลนกัน จะมีก็เพียงแต่คำว่าฟังยาก และอย่างมากก็เพียงจำแนกว่าเป็นแบบอเมริกัน อังกฤษ หรืออื่นใด  พูดออกไปให้สื่อสารกันได้รู้เรื่องและได้เนื้อความถูกต้องก็เพียงพอแล้ว  ทุกคนก็ดูต่างที่ก็จะต้องเรียนรู้เหมือนๆกันในการใช้ภาษา(อังกฤษ)สื่อสารฉบับ UN   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง