เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 4605 การทำงานในระบบ UN
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 15 เม.ย. 22, 18:32

เห็นว่า เรื่อง Institutional aspects ที่ได้เล่าความมา น่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานพอเพียงที่จะไปกล่าวถึงในเรื่องอื่นๆ

เรื่องแรกน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคลที่ไปเข้าร่วมประชุม ที่ไปนั่งอยู่บนเก้าอี้เดี่ยวๆหลังป้ายประเทศบนโต๊ะในห้องประชุม    ผู้ที่จะเข้าไปนั่งตรงนี้ได้จะต้องมี Credential (หนังสือรับรองสถานะของบุคคลที่เข้าไปร่วมประชุม) หรือจะต้องเป็นผู้ที่มี Accredit (ได้รับการรับรองหรืออนุมัติให้สามารถเข้าไปร่วมประชุมนั้นๆได้) 

ตามปกติแล้ว เอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆจะเป็นผู้แทนถาวร (Permanent Representative) ประจำองค์กรของ UN ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตอาณาของสถานทูตนั้นๆ แต่ด้วยที่ทูตเองก็มีภารกิจอื่นๆมากมาย ดังนั้นจึงมีการตั้งผู้แทนสำรอง (Alternate Representative) ซึ่งอาจจะมีหลายคนก็ได้ ให้เป็นผู้ปฏิบัติภารกิจแทนในการงานที่ดำเนินการตามปกติขององค์กร    แต่..ก็มีบางประเทศ ตั้งผู้แทนในระดับทูตเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อรับผิดชอบดูแลและสั่งการภารกิจต่างๆของประเทศของตนที่ผูกพันอยู่กับองค์กรต่างๆที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในสำนักงานสาขาของระบบ UN ใหญ่

ก็เลยมีทูตอยู่สองระบบที่ใช้คำนำหน้าว่า Ambassador  ทูตคนหนึ่งเป็นผู้แทนรัฐที่มีอำนาจเต็ม (Ambassador of Plenipotentiary)  และอีกทูตคนหนึ่งคือผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรประจำ...  ซึ่งบ้างก็นิยมเรียกว่า Ambassador และบ้างก็เรียกว่า Permanent Representative
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 15 เม.ย. 22, 19:23

ในการประชุมที่สำคัญหรือที่มีสาระน่าสนใจ ก็อาจจะมีองค์กรหนึ่งสนใจจะเข้าไปนั่งฟังเรื่องที่เกี่ยวพันกับองค์กรของตนด้วย หากที่ประชุมนั้นๆเห็นชอบร่วมกัน องค์กรนั้นๆหรือหน่วยงานนั้นๆก็จะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมประชุมในฐานะ Observer ซึ่งจะไม่มีสิทธิในการถกแถลง ให้ความเห็น และออกเสียงโหวด    จะว่าเป็นสายสืบก็ได้ หรือจะว่าเพื่อนำข้อมูลไปเพื่อปรับภารกิจขององค์กรของตนให้เหมาะสมสอดคล้องกันก็ได้     จะเป็นเช่นใดก็ตาม โดยจิตใจของผู้ที่ปฎิบัติงานในระบบ UN แล้ว ทุกคนทำงานไปในทางร่วมด้วยช่วยกัน (Constructive Engagement)  แต่ก็ดูจะมีข้อยกเว้นที่ใช้ไม่ได้เสมอไป  รูดซิบปาก ยิงฟันยิ้ม   (ปรัชญา Nothing is for grant ดูจะยังคงใช้ได้อยู่เสมอ  ยิงฟันยิ้ม)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 เม.ย. 22, 19:40

การประชุมเป็นกิจกรรมที่มีอยู่ตลอดทั้งปีของผู้แทนของประเทศต่างๆ  มีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่ในลักษณะคุยกันเป็นกลุ่มเล็กๆระหว่างผู้แทนของประเทศที่มีความตกลงกัน เป็นสมาชิกร่วมกัน หรือมีความสัมพันธ์กันในเรื่องต่างๆทั้งในด้านการเมือง ด้าน เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน หรือในด้านอื่นๆ     ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งก็จะเป็นระหว่างประเทศในกลุ่มภูมิภาค  ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งก็จะเป็นในระหว่างกลุ่มภูมิภาคต่างๆ    ต่อไปเป็นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (G77+China)   ไปสู่การประชุมระหว่างประเทสฝ่ายผู้ให้กับประเทศฝ่ายผู้รับ(ระดับเอกอัครราชทูต)    และสุดท้ายก็จะเป็นระหว่างรัฐสมาชิก(ระดับรัฐมนตรี)

ก็คงน่าจะคาดได้แล้วว่า สารัตถะในแต่ละการประชุมหรือในการหาแสวงหาความเห็นร่วมต่างๆนั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องของการพยายามที่จะไม่สร้างสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นการฟังความเห็นและการแสวงหาจุดที่จะทำให้เกิดความพอใจของผู้ที่มีส่วนได้/ส่วนเสียของทุกฝ่าย 

ก็คงจะทำให้นึกถึงคำว่า Lobby  ซึ่งหากจะมองในอีกมุมหนึ่ง ผู้แทนทั้งหลายก็ล้วนทำหน้าที่เสมือนเป็น Lobbyist  และก็คงจะไม่แปลกที่จะเห็นแต่ภาษาดอกไม้เบ่งบานอยู่ในเรื่องของการระหว่างประเทศ  การปฏิเสธที่ใช้คำแบบแรงๆก็จะไม่ค่อยได้เห็นกัน จะมีก็แต่เพียงวลีที่เป็นภาคเสธ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 17 เม.ย. 22, 18:58

การประชุมทุกระดับจะมีป้ายชื่อประเทศตั้งอยู่บนโต๊ะหน้าที่นั่งของผู้ทึ่เข้าประชุม ซึ่งหากเป็นการประชุมในเรื่องที่เป็นวาระงานตามปกติ (routine agenda) มีการแสดงความเห็น มีการถกกันในเรื่องงาน  การประชุมนั้นๆก็จะเป็นไปอย่างค่อนข้างจะเรียบง่ายและไม่เป็นพิธีรีตรองมากนัก เช่น ในกรณีประสงค์จะแสดงความเห็น หรือในกรณีการออกเสียงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็มักจะใช้วิธีการยกเอาป้ายประเทศซึ่งจะวางในแนวนอน ยกขึ้นมาตั้งใว้ในแนวตั้ง เป็นต้น  ก็คือไม่มีการยกมือ/ยกแขนหรือตะโกนบอกประธาน อาจจะมีก็เพียงส่งสัญญานทางเล็กๆทางมือบ้าง

การประชุมเกือบทั้งหมดที่ไม่เป็นทางการมากนัก จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐาน แต่หากเป็นการประชุมที่เรื่องราวในถ้อยแถลงอาจจะอยู่ในข่ายเป็นข้อผูกมัด หรือที่จะมีผลเป็นข้อผูกพันในทางกฏหมาย (legal binding) ก็จะมีการใช้ภาษากลางของระบบ UN ในการกล่าว(เป็นช่วงๆ) ซึ่งการประชุมในลักษณะนี้จะเป็นการประชุมในระดับนโยบาย โดยเฉพาะในเรื่องของ Commitment ของรัฐต่างๆ  ก็จะมีล่ามในระหว่างการประชุม  ก็มีที่ผู้แทนของบางประเทศที่ประเทศของตนไม่ได้ใช้ภาษากลางของ UN  ได้กล่าวถ้อยแถลงในภาษากลางของ UN   (ที่เคยประสบมาก็ดูจะมีแต่การกล่าวแต่เพียงในภาษาฝรั่งเศส)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 17 เม.ย. 22, 19:37

จะไม่มีการเลือกประธานในที่ประชุม ประธานของการประชุมต่างๆก็คือผู้แทนของประเทศที่สลับสับเปลี่ยนกันไปตามวาระที่เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติตามที่มีกรอบความตกลงกันไว้อย่างหลวมๆเพื่อความเสมอภาคกัน   ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงก็โยงใยย้อนไปถึงปรัชญาในการจัดสรรปันส่วนความเสมอภาคของประเทศต่างๆในโลกของ UN
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 18 เม.ย. 22, 19:19

การประชุมต่างๆในระดับที่มีป้ายชื่อของประเทศวางอยู่ข้างหน้าผู้เข้าร่วมประชุม จะต้องมี Rapporteur ของที่ประชุมนั้นๆอยู่เสมอ เราจึงมักจะเห็นว่ามีบุคคลอยู่ 3 คน นั่งร่วมกันอยู่ในโต๊ะประธานของที่ประชุม นอกจากประธานและ Rapporteur แล้วก็มีบุคคลอีกผู้หนึ่งซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในเรื่องงานที่เป็นวาระหลัก (Agenda) ของการประชุมนั้นๆ     

คำว่า Rapporteur นี้ ผมไม่ทราบว่าควรจะใช้คำภาษาไทยเช่นใดจึงจะตรงความหมายที่หมายถึงจริงๆ  ในภาษาไทยคงจะใช้คำว่า 'ผู้บันทึกการประชุม'    หน้าที่ของ Rapporteur จริงๆจะออกไปทางเป็นผู้รู้พัฒนาการของเรื่องราวต่างๆ ตามประเด็นที่ได้มีการพูดกันในการประชุมนั้นๆ รวมทั้งความเห็นร่วมและข้อตกลงต่างๆที่เกิดขึ้นในการประชุมนั้นๆ   มีบ่อยครั้งมากที่ในระหว่างการประชุมจะมีคำถามไปถึง Rapporteur ให้ช่วยขยายความกับสาระหรือเรื่องราวเกิดขึ้นจริงๆในระหว่างการประชุมนั้นๆ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 18 เม.ย. 22, 19:23

ลม ฝน แล้วก็ไฟดับบ้าง  วันนี้ก็เลยต้องขอจบแบบห้วนๆเพียงนี้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 19 เม.ย. 22, 07:36

เมื่อคืนพายุแรงมาก  ดีที่ไฟไม่ดับค่ะ
เท่าที่เล่ามา น่าจะเป็นคนทำงานระดับบริหาร   แล้วบรรดาพนักงานตัวเล็กตัวน้อยที่นี่ล่ะคะ  ทำงานอะไร
ไม่มีโอกาสจะเลื่อนขึ้นไปอย่างที่บรรยายมาใช่ไหม  เพราะอยู่คนละส่วนเหมือนเจ้าหน้าที่รัฐสภา อยู่คนละส่วนกับบรรดารัฐมนตรี วุฒิสมาชิก และสส.
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 19 เม.ย. 22, 18:11

ถูกต้องครับ เป็นรูปแบบตามที่อาจารย์ยกตัวอย่างขึ้นมาเปรียบเทียบ    ผู้แทนของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์กรก็เป็นเสมือนคณะกรรมการ  บุคลากรต่างๆขององค์กรก็คือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานขององค์กร

ขออนุญาตย้อนกลับลงลึกลงไปในเรื่องของงานที่ได้เล่ามา ซึ่งก็จะต้องขอออกตัวไว้อีกครั้งว่า ที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นข้อมูลและความรู้เท่าที่พอจะทราบจากสาระใน agenda ของการประชุม ผสมผสมผสานกับข้อมูลที่ได้รับรู้จากเจ้าหน้าที่คนไทยที่ทำงานอยู่ในองค์กรของ UN ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ร่วมอาคารกันที่กรุงเวียนนา   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 19 เม.ย. 22, 19:19

ขออนุญาตใช้ภาษาอังกฤษปะปนมากหน่อยนะครับ

สายงานในระบบ UN ที่สำคัญที่ยังพอจำได้ก็จะมี งานด้านบริหารและจัดการองค์กร  งานทางด้านกฎหมาย  งานทางด้านการเมืองและความมั่นคง  งานทางด้านเศรษฐกิจและสังคม  และงานทางด้านนิเทศ    ก็เป็น career path ที่สามารถเลือกจะสมัครเข้าทำงานได้

ตำแหน่งงานต่างๆในระบบจะจำแนกออกเป็นกลุ่มและระดับ ก็จะมีกลุ่ม G (General service) ซึ่งจะแยกย่อยลงไปอีกตามลักษณะงานที่เป็นอาชีพ เช่น กลุ่ม technician, กลุ่ม security (ยาม..) ฯลฯ  ซึ่งในกลุ่มนี้ก็จะมีแยกออกไปเป็นงานที่เปิดสำหรับบุคคลทั่วไปและงานสำหรับคนในพื้นที่ (Local     

กลุ่มระดับ D (Director) เป็นตำแหน่งที่จะต้องมีรัฐหนุนหลัง   

มีระดับ P (Professional) เป็นตำแหน่งของผู้ชำนาญการหรือนักวิชาการเฉพาะทาง มีตั้งแต่ระดับ P2 ขึ้นไปถึง P7    ซึ่งสำหรับระดับ P6 และ P7 นี้ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มระดับ D   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 19 เม.ย. 22, 19:39

ตำแหน่งในระดับกลุ่ม D นี้ แบ่งย่อยออกเป็น 2 ระดับ คือ D1 และ D2   

สำหรับระดับ D1 นั้น ก็คือระดับผู้อำนวยการใหญ่ขององค์กร (Directr General)  เป็นการหมุนเวียนกันทำหน้าที่ในระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันไปทั้งระบบ UN คือ พยายามจะไม่ซ้ำประเทศกันในการดำรงตำแหน่งขององค์ต่างๆ 

ในระดับ D2 ก็คือ ระดับผู้อำนวยการ เช่น เรื่องทางด้านการบริหาร (องค์กร)  เรื่องทางด้านการเงิน (ติดตาม ตรวจสอบ)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 19 เม.ย. 22, 20:02

โดยสรุปในเบื้องแรก ก็คือความก้าวหน้าในหน้าที่การงานนั้น จะเลือกบนเส้นทางใดระหว่างกลุ่ม P หรือ กลุ่ม G
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 20 เม.ย. 22, 17:47

ระบบการทำงานของ UN นั้น มีทั้งที่เป็นลักษณะของ Task orient และ People orient  แต่เกือบทั้งหมดจะเป็นในลักษณะของ Task orient   อีกทั้งเกือบจะไม่มีการบรรจุบุคลากรเป็น Permanent staff  จะมีก็น่าจะเป็นในลักษณะกึ่งประจำในรูปแบบที่ที่ได้กล่าวถึงมาแต่ต้นกระทู้    ลักษณะทั้งมวลนี้ก็เลยทำให้ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานออกไปในทางที่ค่อนข้างจะจำกัด  อย่างไรก็ตาม ก็มีระบบที่ตัวบุคลากรเองสามารถจะดำเนินการให้ตนเองสามารถมีความก้าวหน้าได้   
เช่นใด ?   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 20 เม.ย. 22, 18:14

บุคลกรของ UN มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะมีความต่างออกไปก็ตรงที่ดูจะเป็นการไหลหมุนเวียนของบุคลกรภายในองค์กรนั้นๆหรือระหว่างองค์กรต่างๆของ UN มากกว่าที่จะเห็นบุคลากรหน้าใหม่ๆ    ที่ว่าไม่ค่อยจะเห็นบุคลากรหน้าใหม่ๆนั้น ....(ต้องไปเล่าความในอีกเรื่องหนึ่ง)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 20 เม.ย. 22, 19:11

ในระบบ UN มีระบบ Internship   ก็คือระบบการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาฝึกงาน(โดยไม่ได้รับเงินเดือน แต่อาจจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางอย่าง) ระยะเวลาก็ดูจะอยู่ที่ 3 หรือ 6 เดือน  วุฒิการศึกษาจะอยู่ในระดับ ป.ตรี หรือ ป.โท  ระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าก็มีเช่นกัน   ผมไม่มีความรู้เรื่องของระบบการการรับเข้ามาฝึกงาน ว่าผู้สนใจจะรู้ได้อย่างไรว่า หน่วยใหน ที่ใด เมื่อใด คุณสมบัติ...ฯลฯ   แต่ได้เห็นบรรดาผู้ที่ทำงานอยู่ในองค์กรนั้นๆ สามารถนำบุตรหลานเข้าไปฝึกงานได้  ซึ่งผู้ที่เข้าไปฝึกงานนี้ ในภายหลังก็ดูจะได้รับการคัดเลือกเข้าไปทำงานเป็น staff ขององค์กร โดยเฉพาะในกลุ่ม G    สำหรับในกลุ่ม P นั้น ก็คิดว่ามี แต่คงจะมีน้อยมาก เพราะเป็นระดับของผู้ชำนาญการหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง   

ช่องทาง Internship นี้ เป็นช่องทางที่นิยมใช้กัน  อย่างไรก็ตาม ความรู้และความสันทัดทางด้านภาษากลางของ UN (ภาษาหนึ่งภาษาใด) ผนวกกับระดับของการศึกษาก็ยังเป็นเรื่องทางคุณสมบัติที่สำคัญ 

ในบ้านเรามี ESCAP ที่เป็นสำนักงานสาขาของ UN ใหญ่ ซึ่งแม้จะทำงานหลักๆในด้านทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ก็มีส่วนเป็น Hup ของงานการปฏิบัติการต่างๆอยู่ของหลายองค์กร (?)   น่าจะลองไปเปิดเว็บไซต์ของเขาดูประกาศต่างๆก็น่าจะดี
อาจจะมีงาน Internship หรืองานอื่นๆที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะงานในกลุ่ม P   ก็เหยียบบันใดขั้นแรกให้ได้แล้วค่อยขยับขึ้นบันใดขั้นต่อไป ครับ   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง