เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
อ่าน: 4617 การทำงานในระบบ UN
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 03 มิ.ย. 22, 18:33

ท่านที่เคยเดินทางไปเข้าร่วมประชุมในเวทีระหว่างประเทศ จะคุ้นเคยกับกำหนดการประชุม ในลักษณะครึ่งเช้าของวันแรกจะเป็นพิธีเปิด มีการปาฐกาพิเศษ ..... ช่วงบ่ายวันสุดท้ายจะว่าง ปล่อยให้ฝ่ายเลขาทำรายงานการประชุม กลับเข้ามาประชุมในตอนบ่ายแก่ๆ ทำการรับรองผล/รายงานการประชุม ทำพิธีปิด แล้วก็เลี้ยงอำลา   ช่วงเวลาบ่ายของวันสุดท้ายนี้ จัดเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของการประชุม โดยเฉพาะการประชุมในลักษณะที่เป็นการต่อรองผลประโยชน์ หรือที่จะยังผลให้เกิดขึ้นกับฝ่ายใด   

สภาพที่เป็นจริงก็คือ ตลอดการประชุมนั้น Rapporteur เกือบจะไม่ได้ทำอะไร ผู้ที่จดและทำบันทึกการประชุมจริงๆก็คือฝ่ายเลขาของการประชุม ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ของประเทศที่เป็นเจ้าภาพของการประชุมนั้นๆ   ข้อความที่บรรยายในรายงานและผลของการประชุมที่จะนำเข้าสู่การรับรองก็จัดทำโดยฝ่ายเลขาฯ   Rapporteur ทำหน้าที่เพียงยืนยันว่าเรื่องราวในบันทึกนั้นๆถูกต้องหรือไม่ตามที่ได้เกิดมาในระหว่างการประชุม  เมื่อเข้าสู่วาระการรับรองรายงานการประชุม ประธานก็มักจะเสนอวิธีการอยู่ 2 รูปแบบ คือ ให้เวลาสั้นๆเพื่อพลิกอ่านรายงานแล้วก็ถามแต่แรกเลยว่ามีผู้ใดคัดค้านหรือมีอะไรจะแก้ไขหรือไม่  หรืออีกรูปแบบหนึ่ง ใช้วิธีให้พลิกอ่านแบบรวดเร็วเป็นแต่ละหน้ากระดาษไป ถามไปแต่ละหน้าว่าเห็นด้วย คัดค้าน หรือจะแก้ไขหรือไม่

ก็ดูเป็นเรื่องปกติ ตรงไปตรงมา แต่เมื่อนำไปสู่ภาคการปฏิบัติก็อาจมีปัญหาเกิดความขัดแย้งขึ้นได้   พูดกันอย่างหนึ่ง เข้าใจกันอย่างหนึ่ง บันทึกที่ทำให้ตีความได้อีกอย่างหนึ่ง   ทั้งหมดก็มาจากโครงสร้างวิธีการเขียน การใช้ประโยค และการเลือกใช้คำศัพท์ที่ปรากฎอยู่ในรายงานการประชุมนั้นๆเอง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 03 มิ.ย. 22, 19:18

การใช้ภาษาที่เรียบง่าย สั้น และสื่อความหมายตรงไปตรงมาอย่างที่ใช้เขียน Thesis หรือ Dssertarion นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะใช้ภาษาแบบสำนวนหรือโวหารในการบันทึกการประชุม

ผมได้ใช้คำว่า โครงสร้างวิธีการเขียน  ก็ต้องขออภัยหากจะเป็นการใช้วลีที่อธิบายความไม่ถูกต้อง ที่หมายถึงนั้น ตัวอย่างก็เช่นความต่างของการใช้ภาษาอังกฤษที่ใช้ใน Text Book หรือ Journal เช่นที่เขียนโดยคนอเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา... ซึ่งบางครั้งต้องอ่านหลายตลบจึงจะเข้าถึงได้
 
ยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดก็เพราะเคยประสบมา ต้องแก้เพื่อให้มีความชัดเจน  ก็เคยเจอแบบถูกเบี่ยงเบนไปจนทำให้ไทยเสียประโยขน์ ต้องแก้กันในระหว่างการรับรองรายงานการประชุม

ที่เล่ามาก็คงพอจะทำให้นึกถึงกลยุทธ์ในการจัดการประชุมต่างๆได้ะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 04 มิ.ย. 22, 19:32

ตัวอย่างข้อความที่อาจสื่อความหมายที่สับสนก็เช่น ระหว่างวลี 'ค่าเช่า include tax' กับ 'ค่าเช่า plus tax' เป็นต้น

การแก้ปัญหาในกรณีไม่มีเวลาในการอ่านหรือเสนอข้อแก้ไขรายงานการประชุมในระหว่างการประชุมเพื่อรับรองรายงานนั้น  อาจทำได้ด้วยการเสนอตัวเข้าไปช่วย Rapporteur ตรวจทานรายงานก่อนที่จะพิมพ์แจก (ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ไม่พึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง)   ในความเป็นจริงแล้ว หากเราได้สร้างสภาพการเข้าถึงฝ่ายเลขาของการประชุมได้ เราก็สามารถเข้าไปในถึงระดับรากของงานต่างๆได้ เช่น ช่วยปรับแต่งรายงานในกรณีที่ฝ่ายเลขาเป็นผู้ยกร่าง หรือได้อ่านรายงานก่อนที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุม ก็จะทำให้รู้ก่อนว่ารายงานนั้นจะต้องแก้หรือว่า OK 

ก็เป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการทำงาน  จะทำได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความ nice และ charisma ของแต่ละบุคคล       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 05 มิ.ย. 22, 18:02

ในการประชุมใหญ่ครั้งหนึ่งใน Plenary Session  ผู้ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมเป็นทูตของประเทศหนึ่งในกลุ่ม GRULAC  ก็มีเรื่องที่มีความเห็นไม่ตรงกันแยกออกเป็นสองกลุ่ม  หมายถึงว่าจะต้องมีการโหวต ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็รู้กันว่ามันเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมนัก ต่างก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  อีกทั้งยังเป็นการแสดงความไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประเทศสมาชิก ต่างไปจากที่เคยเป็นมาหลายสิบปี   มีการถกเถียงกันในบรรยากาศที่เป็นมิตร ยิ้มแย้มและหัวเราะกัน  ว่ากันอยู่นานก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ 

แล้วท่านทูตคนนี้ก็งัดกลยุทธเด็ดออกมาเพื่อให้มีข้อยุติ   ด้วยบรรยากาศในห้องประชุมไม่อยู่ในสภาพที่มีความเครียดและมีสภาพความเป็นมิตรกันสูง ท่านทูตก็เลยใช้ลูกเล่นด้วยการลองหยั่งเสียงอย่างไม่เป็นทางการดูก่อนว่า จำนวนผู้สนับสนุนความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายจะมีมาก-น้อยไปทางใดด้วยการยกมือ  เมื่อลอง ทุกคนในห้องประุมต่างก็เห็นเลาๆว่าจำนวนผู้สนับสนุนของฝ่ายใดมีมาก-น้อยเช่นใด    ท่านทูตก็เลยขอสรุปเอาว่า หากจะต้องมีการโหวต ก็จะต้องมีการบันทึก ซึ่งก็จะกลายเป็นจุดด่างในประวัติของความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถือว่าทุกคนเห็นแล้วว่าฝ่ายใดจะชนะในการโหวต ดังนั้น แทนที่จะต้องโหวตและมีการบันทึก  ก็ถือเอาว่าเป็นความเห็นร่วมกัน/หนึ่งเดียวกันกับความเห็นที่มีผู้สนับสนุนมากกว่าก็แล้วกัน  ก็เล่นเอาฮากันไปทั้งห้องประชุม   ไม้เด็ดจริงๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 05 มิ.ย. 22, 18:55

ประสบการณ์เรื่องหนึ่งที่อาจจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดห้องประชุมและที่นั่งของผู้เข้าประชุม ซึ่งในหลายๆกรณีเป็นการจัดโต๊ะและที่นั่งอย่างมีแผน

รูปแบบการจัดประชุมนั้น ก็เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า มีทั้งแบบนั่งรอบโต๊ะกลม นั่งรอบโต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้า จัดโต๊ะแยกออกเป็นสองฝั่ง มีโต๊ะประธานอยู่กลางที่ปลายด้านใดด้านหนึ่ง หรือเป็นรูปตัว V  หรืออื่นใด    แล้วก็ทราบอยู่เช่นกันว่าในการประชุมจะมีการจัดที่นั่งและมีป้ายชื่อวางไว้ข้างหน้า

เอาทั้งสองภาพนี้ประสมกัน ก็จะเห็นว่าเมื่อใช้วิธีการเรียงลำดับด้ายการเอาอักษรตัวแรกของชื่อ เอาตำแหน่ง เอาระดับตำแหน่ง หรือเอาระดับความอาวุโส   ก็เกือบจะสามารถเลือกจัดให้ประเทศใด/ผู้ใด ไปนั่งอยู่ใกล้-ไกลกับใคร หรือกับประธาน ก็ได้   อาจจะเห็นว่ามิใช่เป็นเรื่องที่สำคัญอะไร แต่หากต้องไปเป็นผู้ที่นั่งอยู่ในโต๊ะประชุมนั้น ก็อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดได้  เจ้าภาพหรือประธานที่ประชุมดูล้วนจะใช้ประโยชน์จากวิธีการจัดที่นั่งในลักษณะต่างๆเหล่านี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 06 มิ.ย. 22, 17:47

การจัดประชุมให้มีความราบรื่น มีความเป็นฉันมิตร หรือแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันนั้น  มีอยู่วิธีการหนึ่งที่นิยมทำกัน คือ การเลี้ยงรับรองหรือเลี้ยงอาหารเย็นต้อนรับอย่างเป็นกันเองในระดับหัวหน้าคณะผู้แทนที่มาประชุม  ในงานนี้นอกจากจะทำให้ได้รู้จักกัน เห็นหน้าตากันและได้เรียนรู้ตัวตนของแต่ละคนกันแล้ว  ก็อาจมีเรื่องในวาระประชุมนำมาคุยกัน ถามความเห็นกัน ฯลฯ  ในขณะเดียวกันฝ่ายเลขาก็สามารถเอาประเด็นที่เป็นสาระสำคัญมาบอกกล่าวเพื่อให้ผู้แทนได้รู้และมีเวลาในการเตรียมตัวสำหรับการเสนอความเห็นหรือการให้คำตอบใดๆ  จะเป็นงานที่จัดขึ้นในช่วงเย็นของวันก่อนการประชุมวันแรก     ส่วนงานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดนั้น ก็อาจจะเป็นในเย็นวันแรกของการประชุม หรือในวันอื่นๆ หรือในวันปิดการประชุม 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 07 มิ.ย. 22, 17:32

อีกวิธีหนึ่งที่ทำกัน กระทำกันในระดับฝ่ายเลขาของผู้จัดการประชุมกับฝ่ายเลขาของคณะผู้แทน  ลักษณะนี้ เกิดจากความต้องการของทั้งสองฝ่ายในการหาขัอมูล เริ่มต้นด้วยความอยากรู้ของทั้งสองฝ่ายในบริบทเรื่องการอำนวยความสดวก แต่แฝงไปด้วยเรื่องการประเมินท่าทีของแต่ละฝ่ายในการประชุม หรือเพื่อหาข้อมูลเชิงวิชาการบางจุดที่เป็นกุญแจไขไปสู่ความเข้าใจหรือการประเมินศักยภาพในบางเรื่อง    ที่ทำกันก็คือแว๊บออกไปหลังสิ้นภารกิจของการประชุมของวันใดวันหนึ่ง ไปนั่งสังสรรค์กันแบบมีเมรัย  ก็ดูจะเป็นวิธีการที่ทำกันเฉพาะในแถบเอเซีย  ยังไม่เคยสัมผัสด้วยตนเองในยุโรป    ความสำเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ หลายๆเรื่องได้เริ่มต้นจากการรู้เขา-รู้เราและรู้ลึกด้วยการกระทำดังที่กล่าวมา     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 07 มิ.ย. 22, 18:49

กลับไปเรื่องหนึ่งที่ค้างไว้ว่า ไทยเราได้ถูกจัดให้เป็นประเทศ Advanced developed country  เป็นสมาชิกองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมของ UN ต้องเสียเงินสนับสนุน/บำรุงรายปี แต่มีข้อจำกัดในการได้รับความช่วยเหลือ  ดูคล้ายกับว่าไม่มีประโยชน์อันใดที่จะคงความเป็นสมาชิก   ในเรื่องนี้ คงจะคิดในรูปแบบเมื่อจ่ายเงินไปแล้วก็พึงได้ของมาไม่ได้  ของที่จะได้มาก็มีทั้งในลักษณะที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  อีกทั้งก็ไม่สามารถที่จะจำกัดให้เป็นผลเฉพาะแต่ตนเพียงคนเดียว

การสร้างให้การอุตสาหกรรมให้มีความเข้มแข็งนั้น มีหลักการหรือแนวคิดอยู่ค่อนข้างจะหลากหลายมาก ส่วนมากก็จะกล่าวแบบกว้างๆว่าต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ซึ่งมักจะหมายถึงเรื่องในทางกฏหมายที่เกี่วข้องต่างๆ    บ้างก็เน้นไปในเรื่องของ SME   บ้างก็เน้นไปในเรื่องของระบบการขนส่ง   บ้างก็เน้นไปในเรื่องของความสามรถในการเข้าถึงแหล่งทุน   บ้างก็เน้นไปในเรื่องของทักษะฝีมือแรงงาน    บ้างก็เน้นไปในเรื่องของสายพานการผลิต เช่น ของ UNIDO ก็มี Programme เรื่อง Subcontracting and Partnership Exchange       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 08 มิ.ย. 22, 20:00

ที่ได้เล่ามาดูจะเป็นแต่เรื่องของการ 'รู้เขา'  ก็ลองมาดูในด้านของการ 'รู้เรา' บ้าง    ที่เขามีความเห็นว่าเราอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาที่มีความก้าวหน้ามากแล้วนั้น  หากมองในอีกมุมมองหนึ่งก็คือ เขาเห็นว่าระดับหรือสภาพ/สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมในองค์รวมของไทยเรามีความพร้อมมากพอในการที่เขาจะยกระดับการเข้ามาลงทุนหรือร่วมลงทุนในภาคอุตสากรรม (ที่เรียกกันว่า Foreign Direct Investment _FDI)  การให้ความช่วยเหลือต่างๆก็จึงอาจเป็นเพียงเฉพาะในบางเรื่องและอย่างเล็กๆน้อยๆ    อีกประการหนึ่งก็คือ การให้ความช่วยเหลือขององค์กรจะไม่นิยมเจาะจงลงไปเป็นรายประเทศ จะมีก็แต่เพียงเน้นเป็นบางเรื่องในประเทศ   ในองค์รวมจะเป็นการเน้นในลักษณะเป็นกลุ่มประเทศหรือภูมิภาคย่อย แล้วสภาพและสถานะของประเทศกลุ่มประเทศเหล่านั้นในองค์รวม   

แล้วไทยเราเป็นเช่นใดในกลุ่มประเทศที่เขาเรียกกันว่า Indochina   คงไม่ต้องขยายความกันนะครับ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 08 มิ.ย. 22, 20:12

แน่นอนว่า ในแนวคิดหนึ่งเขาก็ต้องคิดกันว่า ไทยน่าจะต้องเริ่มเป็นฝ่ายผู้ให้ เป็นผู้ที่ควรจะต้องเป็นหลักในการช่วยยกระดับเพื่อนบ้านทั้งหลาย 

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 09 มิ.ย. 22, 17:50

การให้ตามปกติของฝ่ายผู้ให้ก็จะมีใน 2 รูปแบบ คือ in cash (เงิน) หรือ in kind (สิ่งของ หรือการกระทำ หรืออื่นใดในรูปที่ไม่ใช่เงินเป็นก้อน)   และก็อาจจะเป็นการให้ในลักษณะของการร่วมสมทบ (contribution) หรือให้ในลักษณะที่ฝ่ายผู้รับต้องการ (donation)

ทราบกันอยู่แล้วว่า การให้ในลักษณะเป็นเงินนั้น ไทยเรามีข้อจำกัดแน่ๆ คงมิใช่ทำได้ง่ายๆเพียงของบประมาณ เพราะเป็นเรื่องในระดับนโยบายของรัฐ (รัฐบาล)   แต่การให้ในรูปแบบ in kind นั้น มีความเป็นไปได้มากกว่า ก็จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่จะใช้ในการแสวงประโยชน์     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 09 มิ.ย. 22, 18:43

ความพร้อมของเรามีอื่นใดอีกบ้าง ก็จะมี เช่น เป็นที่ตั้งของสำนักงานหรือที่ทำการตัวแทนในระดับภูมิภาคในสังกัดของ UN หลายอค์กรเลยทีเดียว ที่เราคุ้นหูกันก็จะมีเช่น  ESCAP, FAO, UNESCO, UNDP, UNICEF  ที่ไม่ค่อยจะคุ้นหูก็มีเช่น UNEP, UN WOMEN และ UNIDO   ที่ตั้งของสำนักงานหรือที่ทำการเหล่านี้ บ้างก็อยู่ในตึก UN ที่ถนนราชดำเนิน บ้างก็มีสำนักงานแยกเป็นอิสระ บ้างก็อยู่ตามกระทรวงต่างๆ

เมื่อพิจารณาดู ก็คงพอจะบ่งชี้ถึงความพร้อมของไทยในด้านต่างๆ ทั้งด้านสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านวิชาการ/วิทยาการ และอื่นๆ     

ที่สำคัญก็คือ เสียงจากตัวบุคลากรที่ชื่นชอบกับการใช้ชีวิตในประเทศไทย อยู่ในสภาพที่มีความคล่องตัวและอย่างมีความสุขสบายด้วยรายได้ประจำเดือนที่ได้รับ           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 09 มิ.ย. 22, 19:14

เมื่อเอามาผนวกกับข้อมูลและข้อน่าคิดอื่นๆด้าน Geopolitics ก็อาจจะเห็นในอีกภาพหนึ่งในเรื่องของการ outreach    เอาเป็นว่า จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เขาทั้งหลาย (องค์กร / บุคลากร) ก็ต่างก็เห็นว่าไทยเป็นจุดเหมาะสมที่จะเป็นฐานสำหรับการปฏิบัติงานในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 10 มิ.ย. 22, 18:45

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ตัวเรามีสถานะเป็นนักการทูต จึงได้รับ Privilege และ Immunity จากประเทศที่เราไปประจำการ  จึงทำให้เราได้รับการปฎิบัตืที่ต่างไปจากคนธรรมดาทั่วไป  เราได้ในเรื่องของการเข้าถึง(access) เรื่องของ respect  เรื่องของการตอบสนอง(respond) และอื่นๆ   

ด้วยสภาพของสิ่งแวดล้อมและข้อมูลที่ได้กล่าวถึงทั้งหมดตั้งแต่ต้นเหล่านี้ หากพิเคราะห์แล้ว ก็เชื่อว่าท่านทั้งหลายคงพอจะเห็นช่องทางในการดำเนินการเรื่องหนึ่งใดให้เกิดประโยชน์กับประเทศได้เราเช่นใด ซึ่งก็คงจะมีอยู่หลากหลายแนวทาง  แต่..ทั้งนี้ ก็จะต้องตั้งอยู่บนฐานของความเข้าใจด้วยว่า จะทำให้ได้ประโยชน์ในลักษณะของการกินรวบนั้น เป็นไปไม่ได้     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 10 มิ.ย. 22, 20:20

ลืมอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ผนวกเข้า่ไป คือเรื่องของความอาวุโส ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัย การศึกษา ประสบการณ์และความรู้ที่หลากหลาย ก็สังเกตเห็นว่าคนที่เข้าประชุมหรือติดตามเรื่องของการประชุมในระดับการประชุมกลุ่มประเทศนั้น ดูจะเป็นเจ้าหน้าที่ๆมีระดับอาวุโสน้อยทางการทูต เสมือนกับการส่งมาเรียนรู้การทำงานเพื่อสั่งสมประสพการณ์ทำงานในระบบที่เป็นนานาชาติ   โดยสภาพก็เลยดูคล้อยไปทางบุรุษไปรษณีย์

แล้วก็ คิดว่าหลายท่านคงอาจจะเคยสังเกตว่า ในการสนทนาระหว่างผู้คนต่างถิ่น ต่างอาชีพ ฯลฯ มักจะมีเรื่องนำไปสู่ความอยากรู้เกี่ยวกับการศึกษาของแต่ละคน จะเพื่อโดยนัยเช่นใดก็ไม่ทราบ   แต่สื่งหนึ่งในมุมมองของตัวเองที่ประสบมา ก็คือมันบ่งถึงตรรกะในความคิดส่วนลึกของบุคคลที่สนทนาด้วย ซึ่งก็แปลก เพราะดูจะถูกฝังมาจากสถาบันให้เป็นพื้นฐานของแนวความคิดต่อไปทั้งหลาย ไม่ว่าจะจบการศึกษาจากภายในประเทศหรือต่างประเทศ  ที่จบจากต่างประเทศก็ยังมีภาพให้เห็นระหว่างพวกที่จบจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ

ผมประมวลข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้เพื่อนำพาในการทำงานให้เกิดผล
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง