เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 4532 การทำงานในระบบ UN
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 25 พ.ค. 22, 19:25

ต้องขออภัยอีกรอบนะครับ  ที่การเขียนเล่าความต่างๆดูจะเดินไปอย่างเชื่องช้าเป็นอย่างมาก  ผมต้องระวังการเดินเรื่องและการใช้ข้อความในการเขียนเล่าเรื่อง เพื่อมิให้สื่อไปในลักษณะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกไปในทางลบในเรื่องใดๆที่ได้กล่าวถึง รวมทั้งที่สื่อไปในเรื่องทางการเมือง และก็ต้องไม่สื่อไปในทางยกยอ  อีกทั้งต้องระวังในด้านความเป็นสาธารณะของเรือนไทยอีกด้วย

ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาบนพื้นฐานของความคิดว่า เป็นเรื่องของความรู้ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกและผู้ที่เข้ามาอ่านทุกท่าน ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ตรง     เขียนเรื่องราวในลักษณะการพิจารณ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้นี้ยากมากกว่าการเล่าด้วยปากเปล่าจริงๆครับ มันทำให้คิดได้ไกล้เคียงกับกับคำว่า 'วิจารณ์' ที่อาจส่งผลในทางลบได้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 26 พ.ค. 22, 18:42

พอสรุปเรื่องสิ่งแวดล้อมต่างๆของงานในหน้าที่ๆความรับผิดชอบได้ว่า  ทำงานในสภาพที่เกือบจะเดี่ยวอยู่บนเวทีของงานที่มีพลวัตตลอดเวลา (คล้ายสภาพหนังหน้าไฟ)  อยู่ในเวทีของงานที่สมาชิกประเทศมีส่วนได้-เสียต่างก็ช่วงชิงผลประโยชน์ให้เกิดกับตนให้ได้มากที่สุด  ผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบต่างก็เป็นเพื่อนใหม่ของกันและกัน (หมุนกันมารับผิดชอบ 3 ปีบ้าง 4 ปีบ้าง) โดยที่ต่างก็ไม่รู้ความตื้นลึกหนาบางของกันและกัน แต่ต่างก็ต้องการมีเพื่อนและกลุ่มเพื่อนร่วมแนวคิดเพื่อให้มีพลังช่วยกันผลักดันในเรื่องต่างๆที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน  ต้องมีกึ๋นและไหวพริบ เพราะมีเรื่องที่ต้องพิจาณาให้ความเห็นและตัดสินใจในที่ประชุมตลอดเวลา    และที่สำคัญคือการรักษาสถานะและศักดิ์ศรีของประเทศชาติของตน ...... 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 26 พ.ค. 22, 20:00

เมื่อเริ่มแสดงตนเป็นผู้รับผิดชอบงาน ก็เป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการต้อนรับแนะนำตัวกันเป็นธรรมดา รู้สึกได้ในทันใดว่า ดูจะมีการสังเกตกันในเรื่องของ ettiquette  ตั้งแต่เรื่องของเครื่องแต่งตัวและการแต่งกายไปจนถึงมารยาทต่างๆ ทั้งจากผู้แทนของประเทศต่างๆและเจ้าหน้าที่ขององค์กร     การชวนไปกินข้าวมื้อกลางวันซึ่งเป็นวิธีการปกติที่จะเสริมสร้างไมตรีและการเรียนรู้ซึ่งกันและกันให้มากขึ้น ในเรื่องนี้ก็มีเรื่องของการสังเกตต่างๆอีกหลายๆอย่างแฝงอยู่ จะเรียกว่ารับน้องใหม่ก็พอได้    ก็เป็นธรรมดาที่จะทำให้รู้ถึง Personality และภาพที่ปรากฏออกมา (Charisma) ของผู้นั้นว่ามาจากเนื้อในหรือปรุงแต่ง รวมทั้งความหลากหลายในประสบการณ์และชีวิตความเป็นอยู่ทางสังคม ฯลฯ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 27 พ.ค. 22, 19:16

วันแรกที่เริ่มงานก็ต้องควานหาเอาเองในเรื่องต่างๆตั้งแต่เรื่องการจอดรถ หาห้องประชุม วิธีการและประเพณีปฏิบัติต่างๆ เมื่อเข้าห้องประชุมก็ต้องนั่งเดี่ยวอยู่หลังป้ายชื่อประเทศ เว้นระยะกับที่นั่งของประเทศอื่นทั้งด้านซ้ายและขวา ไม่มีเอกสารใดวางอยู่บนโต๊ะหรือแจกเพิ่มเติม เพราะเอกสารทั้งหมดได้แจกจ่ายล่วงหน้าไปให้ทุกคนแล้วในกล่อง Pigeonhole ของแต่ละประเทศ  ภาษาที่ใช้ในการจะเป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีล่ามแปลภาษา หูฟังที่เปิดเสียงไว้นั้นก็เพียงเพื่อให้สามารถได้ยินการพูดแบบชัดๆ    การประชุมต่างๆในระดับการหารือจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางทั้งการพูดและเอกสาร  (การใช้ภาษาอื่นๆของ UN จะใช้กันเฉพาะในการประชุมประจำปี)  ภาษาอังกฤษที่ว่าของตัวเราพอได้นั้น ไปเจอกับสำเนียงที่หลากหลายของสมาชิกประเทศของภูมิภาค แถมมีวลีนิยมของที่ใช้กันในระบบของ UN ผนวกเข้าไปด้วย ก็เล่นเอามึนได้อยู่เหมือนกัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 28 พ.ค. 22, 20:20

มีข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษอยู่หลายเรื่อง  จากที่ได้สัมผัสมาทั้งในและนอกการประชุม ก็พอจะประมวลเป็นตัวอย่างได้ว่า  สำเนียงและรูปแบบของการใช้ภาษาจะออกไปทางแบบอเมริกัน แต่การออกเสียงส่วนมากจะออกไปทางอังกฤษ (เช่น อักษร i ในคำศัพท์จะออกเสียง อิ ไม่ออกเสียง ไอ)     การเน้นเสียงสำหรับคำศัพท์ที่มากกว่าสองพยางค์ (accent) จะไม่ต่างกันนัก ทำให้ฟังออกและนึกถึงคำที่ใช้ได้ไม่ยาก      การออกเสียงตัว r, ตัว l, และพวกตัว s, ch มีความชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้นึกถึงคำที่ใช้ได้ไม่ยากเช่นกัน     และ มีการใช้คำศัพท์จากภาษาละตินแทรกอยู่ทั้งในการพูดและการเขียน (เช่น status quo, inter alia, quasi, ad hoc, de facto ) ภาษาฝร้่งเศสก็มีใช้อยู่เช่นกัน (เช่น coup d'état)

                 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 29 พ.ค. 22, 18:23

ในการประชุมครั้งแรกๆก็จะมีเรื่องที่งงๆและตามไม่ทันอยู่หลายเรื่อง เพราะไม่รู้ที่มาที่ไป ไม่รู้ความตื้นลึกหนาบางของเรื่องต่างๆที่เขายกมาถก ยกมาขอความเห็นของสมาชิกประเทศ  ประกอบกับที่การย้ายของไทยเราไปผูกพันอยู่กับปีงบประมาณ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเตรียมการสำหรับประชุมใหญ่ประจำปีขององค์กร ซึ่งมีเรื่องที่กลุ่มจะตัดสินใจและมีความเห็นในหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องด้านการบริหารจัดการองค์กรที่ผ่านมาและที่พึงจะทำต่อไป(งาน เงิน ทรัพยากรบุคคล) ด้านแผนงานโครงการต่างๆ ฯลฯ   การประชุมหารือจึงมีบ่อยครั้งมากทั้งในระดับกลุ่มภูมิภาคและกลุ่ม G77+China  การตัดสินใจและความเห็นความเห็นทั้งหลายจะส่งไปให้ประธานกลุ่มซึ่งอยู่ที่ UN ใหญ่ เพื่อนำไปจัดทำเป็นถ้อยแถลงในองค์รวมในนามของกลุ่ม G77+China 

เป็นเรื่องปกติที่ก่อนจะมีการพิจารณาให้ความเห็นในเรื่องใดๆก็จะต้องมีข้อมูลที่มากพอ ก็จึงมีเรื่องที่ต้องอ่านและทำความเข้าใจเป็นอันมาก อยู่ในกระดาษที่พิมพ์หน้า-หลัง วางทับกันได้หนาเกือบศอกหนึ่งทีเดียว  ก็อ่านออกทั้งหมดแต่ไม่มีความเข้าใจที่ถ่องแท้หรือไม่เข้าใจเลยอยู่มากพอควร  เป็นมือใหม่เอี่ยมจริงๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 29 พ.ค. 22, 19:22

ด้วยที่เป็นการประชุมเตรียมการ และมีเรื่องที่ไทยเราถูกกำหนดให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานภาคสนาม  ก็เลยมีเรื่องที่ต้องประสานกันหลายๆเรื่อง  การกระชับความความสัมพันธ์ ทำความรู้จักกันด้วยมื้ออาหารแบบ business lunch ระหว่างผู้รับผิดชอบขององค์กรกับตัวเราที่เป็นผู้แทนของเรื่องก็จึงมีเป็นธรรมดา ซึ่งมิใช่เป็นแบบพิเศษหรูหราอะไร ก็กินกันภายใน Cafeteria ซึ่งมีพื้นที่ส่วนหนึ่งจัดแบ่งไว้สำหรับการนั่งคุยกันและสั่งอาหารแบบ ala carte   ก็รู้เลยว่าถูกสังเกตในเรื่องของ etiquette   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 30 พ.ค. 22, 18:50

ด้วยที่ทุกคนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวโยงกับองค์กรต่างก็มุ่งผลสำเร็จในภารกิจของตน จึงทำให้ทุกกิจกรรมที่ทำกระทำกันล้วนจะมีการแสวงประโยชน์แฝงอยู่เสมอ  การกินข้าวด้วยกันก็เช่นกัน       ก่อนที่จะขยายความต่อไป ก็ต้องขอในนึกถึงปรัชญาของการหาข่าวและวิธีการเข้าถึงความถูกต้องแม่นยำและชั้นข้อมูลลึกๆของเรื่องต่างๆ  วิธีการหนึ่งที่ทำกันเป็นปกติในทุกวงการก็คือการสร้างความเป็นมิตรและเพื่อนที่ดี การมีความจริงใจต่อกันกับบุคคลที่ทำงานหรืออยู่ใกล้กับผู้มีอำนาจในการพิจารณาตัดสินใจ    มื้ออาหารก็เป็นเวทีหนึ่งที่ใช้กัน ซึ่งอย่างน้อยก็ได้เรียนรู้ถึงความเป็นตัวตนของบุคคลที่มาร่วม  และก็ยังสามารถจัดหรือดำเนินให้มีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการหาข้อมูลต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมการล่วงหน้าหรือในระหว่างการกินก็ตาม 

มื้ออาหารตามประพณีของผู้คนในซีกตะวันออกของโลก จะจัดในลักษณะมีจานกับข้าวหลายอย่าง วางรวมกันอยู่ตรงกลางโต๊ะ กินร่วมกัน (Smorgasboard)  ต่างกับในซีกโลกตะวันตกที่จะกินในลักษณะอาหารของใครของมัน จานใครจานมัน (Plate meal) หากจะกินอาหารหลายอย่างก็จะจัดการเสิร์ฟแบบเรียงลำดับมา (Course meal)    การสร้างมิตรแบบตะวันออกดูจะเน้นไปบนพื้นฐานของความเฮฮา และด้วยเหล้า  ต่างจากแบบตะวันตกที่เน้นไปบนพื้นฐานของความสวยงาม มีระเบียบ และด้วยเครื่องดื่มที่ต้นทางทำมาจากองุ่น (Wine, Schnapps, Brandy หรือ Cognac...)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 30 พ.ค. 22, 20:01

เป็นที่ทราบกับอยู่แล้วว่า การคุยกันให้ได้เนื้อได้หนังในแต่ละครั้งหรือในแต่ละเรื่องนั้นจะต้องใช้เวลา ดังนั้น หากมีเรื่องที่ยังคงหาความเห็นพ้องร่วมกันไม่ได้ วิธีการทำให้เกิดมีเวลาที่นิยมกันก็ดูจะใช้เรื่องของการกินที่นิยมกัน ทั้งการสร้างมิตร หาข้อมูล การลอบบี้ และเพื่อการอื่นๆพร้อมๆกันไป 

ในสังคม Multilateral นั้น  มันมีเรื่องของการแย่งชิงผลประโยชน์ที่ตั้งอยู่บนฐานของความคิดว่า Nothing is for Grant ซึ่งดูจะเน้นไปในทางที่เป็นรูปธรรมอีกด้วย  ก็จึงไม่แปลกนักที่จะเห็นบุคคลในระดับเอกอัครราชทูต(และหลังบ้าน)ของบางประเทศลงมาคลุกคลีด้วยตนเอง การจัดงานของสถานทูตที่มีการเชิญเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของสมาชิกประเทศจึงเป็นเรื่องปกติ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 18:30

ที่สำนักงาน UN กรุงเวียนนา มีเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ค่อนข้างมากในการทำงานของประเทศสมาชิก  เป็นการรวมกลุ่มของฝ่ายหลังบ้าน มีชื่อว่า The United Nation Women's Guild (UNWG) เท่าที่รู้ ดูจะมีอยู่แห่งเดียวที่มีการรวมกลุ่มและจัดตั้งเป็นนิติบุคคลอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ก็มีลักษณะคล้ายกับสมาคมแม่บ้านของหน่วยงานต่างๆ  สมาชิกประกอบไปด้วยฝ่ายหลังบ้านของเจ้าหน้าที่ขององค์กรต่างๆที่มีที่ตั้งสำนักงานอยู่ในตึก UN นั้น และฝ่ายหลังบ้านของเจ้าหน้าที่ทางการทูต เป็นสมาคมที่ทำงานสาธารณะกุศล ไม่มีค่าตอบแทนสำหรับทุกคนที่เข้ามาร่วมกิจกรรม ช่วยกันทำงานเพื่อสะสมเงินเอาไปทำสาธารณะประโชน์กับผู้คนหรือชุมชนที่โชคร้าย หรือด้อยโอกาสในสมาชิกประเทศต่างๆ  ที่เขาทำกันในสมัยที่ผมอยู่มีอยู่ 3 เรื่องคือ กิจกรรมประชาสัมพันธ์และขายของที่ระลึก กิจกรรมขายหนังสือเก่า และกิจกรรมจัดงาน International BAZAAR   ภรรยาของผมไปช่วยทำในเรื่องการขายหนังสือเก่าที่ได้รับบริจาคมา และได้พัฒนาการจัดการจากการมีรายได้เล็กน้อยจนในที่สุดก็กลายเป็นกิจกรรมหลักที่มีรายได้สูงของสมาคม 

อาคาร(ศาลา)หลังหนึ่งที่บ้านบางพัฒน์ ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา ก็สร้างขึ้นมาจากเงินของ UNWG ที่กลุ่มเพื่อนหลังบ้านของภรรยาผมได้ช่วยกันสนับสนุนโครงการ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 19:22

กิจกรรมทางสังคมของหลังบ้านนั้น ทำให้เราได้ประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจค่อนข้างจะมาก เพราะในกิจกรรมร่วมกันมีทั้งสังคมรอสามีเลิกงาน การเล่นกีฬา การแลกเหย้าแลกเยือน นัดกินอาหารอร่อยที่ร้านใหม่ๆ..ฯลฯ   ในวงสนทนาเหล่านั้นก็ย่อมมีเรื่องบ่น เรื่องเล่า...ฯลฯ   อีกทั้งยังทำให้ฝ่ายหน้าบ้านก็ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันโดยตรงตัวต่อตัวโดยไม่มีระดับชั้นวรรณะ ซึ่งก็มีทั้งตัวทูต เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถานทูตหรือขององค์กรในบางสายงาน ฯลฯ  คงไม่ต้องขยายความต่อนะครับ   

ก็น่าเสียดายสำหรับตัวผู้แทนของหลายๆประเทศสมาชิกที่ไม่ลงมาคลุกด้วย เท่าที่รู้เหตุผลก็จะมีเช่น เป็นเรื่องของเจ้ายศเจ้าอย่าง เรื่องของความเป็นโสด เรื่องของการเข้าสังคม เรื่องของความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ เรื่องของความขี้เหนียว ....     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 20:06

ในเรื่องของการแสวงประโยชน์ หรือทำให้เกิดประโยชน์พอกพูนมากขึ้น หรือการสร้างโอกาสนั้น  ความสามารถในการเข้าถึงถือเป็นวาระแรกๆที่สำคัญ โดยเฉพาะสำหรับกิจกรรมประเภทมือใครดีสาวได้สาวเอา 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 01 มิ.ย. 22, 19:17

โชคดีหน่อยที่ผมพอมีพื้นฐานในการทำงานทางด้านแผน มีโอกาสทำงานที่มีเรื่องเกี่ยวพันทั้งด้านทวิภาคีและพหุภาคื เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆทั้งด้านตัวองค์กร งาน เงิน คน และการทำความตกลงสำคัญๆบางเรื่อง  ได้สัมผัส ได้เรียนรู้ยุทธศาสตร์และกุศโลบายที่น่าสนใจต่างๆที่สามารถเก็บไปใช้ประโยชน์ได้   ก็ใช้ความรู้และประสบการณ์เหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ในการทำงานกับระบบงานขององค์กรที่ไปนั่งเป็นผู้แทนผู้มีส่วนใด้ส่วนเสีย   หลักที่ใช้ทำงานแรกเริ่มก็จึงเป็นเรื่องของ รู้เข้า-รู้เรา ให้มากที่สุด และในเรื่องของการสร้างสภาพให้สามารถเข้าถึงงาน เงิน คน และบุคลากรขององค์กร (accessibility)

ในเรื่องของ รู้เขา-รู้เรา นั้น ก็เช่น ได้พบข้อมูลเกี่ยวกับประเทศเขาเราที่เขาเห็น ที่ได้เผยแพร่ในสื่ออิเล็กทรอนิคส์ที่มีการจำกัดเขตอาณา   สำหรับในเรื่องการสร้างสภาพให้สามารถเข้าถึงนั้น  จะได้จากการกระทำของเราบนพื้นฐานของความเข้าใจทางด้านสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ รวมทั้งกฏ กติกา มารยาท ของผู้ที่เกี่ยวข้องที่เขายึดถือ (etiquette) และที่ยอมรับปฏิบัติกันในสังคมทั่วไป (social norm)               
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 02 มิ.ย. 22, 18:45

ผู้แทนที่เกาะกันเป็นกลุ่มก้อนมากที่สุด คือกลุ่ม GRULAC (The Group of Latin America and Caribbean Countries) เป็นกลุ่มที่มีพลังในการต่อรองเรื่องใดๆค่อนข้างสูง สาเหตุหนึ่งก็น่าจะมาจากการเป็นกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาสเปน (ยกเว้น Brazil ที่ใช้ภาษาโปรตุเกส) ซึ่งก็เป็นหนึ่งในภาษาราชการของ UN อีกด้วย เขาสามารถพูดคุยหรือถกเรื่องราวต่างๆระหว่างกันได้อย่างมีความเข้าใจที่ลึกซึ้ง สามารถพูดในที่ประชุมสำคัญๆได้ด้วยภาษาแม่ของตนเอง กระทั่งการยกร่างผลของการประชุมที่เป็นภาษาสเปน (ความเห็น การตัดสินใจ...)   กลุ่มประเทศยุโรปทางตะวันออก ซึ่งใช้หรือเข้าใจภาษารัสเซียดีก็เช่นกัน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างด้วยที่ working language ในระบบ UN ใช้ภาษาอังกฤษกับภาษาฝรั่งเศส     ต่างกับกลุ่มประเทศอื่นๆที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร พูดคุยและถกความเห็นกัน   อีกทั้งภาษาอังกฤษที่ใช้กันทั่วโลกก็มีความต่างกันในเชิงของวิธีการใช้ในการสื่อความหมาย สำนวนและคำศัพท์  เรื่องของการถามความหมายที่ชัดเจนหรือการขอคำอธิบายในระหว่างประชุมกลุ่มจึงเป็นเรื่องที้เกิดขึ้นเป็นปกติ  ก็เป็นจุดด้อยของกลุ่มประเทศอื่นๆกันพอควร     

ก็เป็นประสบการณ์ที่ดี ทำให้รู้และตัดกังวลไปเลยว่าภาษาอังกฤษของเรายังไม่ดีพอ  ที่สัมผัสมา เจ้าหน้าที่ๆทำงานในองค์กร รวมทั้งเพื่อนร่วมงานต่างก็ให้ความเห็นพ้องกันว่า ภาษาอังกฤษของตนที่ว่าดี มีมาตรฐานพอได้นั้น เละเทะไปหมดแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 02 มิ.ย. 22, 19:23

ในการประชุม Committe of the Whole ครั้งหนึ่ง  ได้นั่งฟังการถกเถียงกันเกี่ยวกับการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษคำหนึ่งที่ใช้อยู่ในข้อสรุปของที่ประชุม ระหว่างผู้แทนจีนผู้หนึ่งกับฝ่ายฝรั่ง จำไม่ได้ว่าเป็นร่างแถลงการณ์หรือร่างผลการตัดสินใจ   เป็นกรณีของการใช้คำศัพท์ที่ฝ่ายจีนเห็นว่าสื่อความหมายไม่ตรงกับที่มีความเห็นพ้องกันในที่ประชุม แย้งกันอยู่ในลักษณะรุมอยู่นานเป็นชั่วโมง  อธิบายกันลึกลงไปถึงรากศัพท์เลยทีเดียว ในที่สุดฝ่ายฝรั่งก็ยอมรับและมีการเปลี่ยนใช้คำใหม่

ที่ได้สัมผัสมากับตัวโดยตรง ประเทศจีนมีระบบการคัดและส่งเสริมช้างเผือก ให้การศึกษาอย่างดี มีการฝึกสะสมทางด้านประสบการณ์ ฯลฯ ก็เป็นอะไรๆที่น่าทึ่งมากๆ การต่างประเทศของจีนจึงไม่เบาเลยทีเดียว   บางประเทศใกล้บ้านเราและของเราเองก็มีเช่นกัน แต่มีวิธีการต่างกัน   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง