เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 4459 Downton Abbey ศักดินาชนชั้นของอังกฤษ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 16 ก.พ. 22, 08:55

Downton Abbey  เป็นหนังซีรี่ส์เรื่องยาวของอังกฤษ  ผลิตออกฉายทางโทรทัศน์ตั้งแต่ปี 2010 จนจบในปี 2015  รวม 6 ซีซั่น  เป็นหนังทีวียอดนิยมของสองฟากฝั่งแอตแลนติค  คืออเมริกาและแคนาดาก็ได้ดูกับเขาด้วย
เรื่องนี้ได้ทั้งเงินได้ทั้งกล่อง  รับรางวัลลูกโลกทองไปถึง 3  ครั้ง

เมื่อผู้สร้างจบเรื่องในปี 2015  เสียงเรียกร้องของคนดูก็ทำให้ปลุกฟื้นหนังเรื่องนี้ขึ้นมาอีกในปี 2019  เป็นหนังสั้นหนึ่งชม.กว่าๆ ฉายทาง Netflix   เปล่า..ยังไม่จบ  ปี 2022  จะออกมาอีกตอนหนึ่งแล้วค่ะ เตรียมรอดูได้เลย  ชื่อ Downton Abbey  the New Era

ตามดูเรื่องนี้มาทั้งๆบอกตัวเองว่ามันก็ soap opera เรื่องหนึ่งนั่นละ  เต็มไปด้วยดราม่า  ตัวละครโผล่เข้ามาแล้วผลุบหายออกไปก็บ่อย   ชีวิตพระเอกนางเอกก็ล้วนสีสันจัดจ้านไม่น่าเชื่อ   แต่เรื่องนี้ก็มีอะไรหลายอย่างที่น่าตื่นตาตื่นใจ ไม่งั้นคงไม่ประสบผลสำเร็จขนาดนี้

ที่ตั้งกระทู้ขึ้น ก็เพื่อจะเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของสังคมอังกฤษที่เป็นภูมิหลังของเรื่องมาเล่าสู่กันฟังเป็นความรู้ค่ะ  อาจจะออกนอกทางแยกซอยไปบ้างตามความเคยชิน



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 09:46

        ไม่ได้ติดตามดูซีรีส์ต่างๆ ของตะวันตกเลย เพราะ มีหลายฤดู,หลายปี,นานเกิน โดยเฉพาะหากซีรีส์นั้น
เป็นที่นิยมมากหลังจากส่งมาทดสอบกระแสในปีแรกแล้ว ผู้สร้างก็จะสมคบกับคนเขียนบทแต่งเติมเสริมบท,
ตัวละคร จนบานปลาย,ลากยาวไปหลายๆ ฤดู จนนักแสดงบางคนทนไม่ไหวขอบาย คนเขียนบทก็จะจัดให้
ล้มหายหรือตายไปจากเรื่องราว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 10:18

ถ้าคุณหมอมีเวลา ดูรวดเดียวได้ใน Netflix ค่ะ   เหมือนดูหนังจีนกำลังภายในของฮ่องกงสมัย 1980-90s  คือมันจะยาวจนกระทั่งดูเทปคาสเซ็ตต์ตอนที่ 3  จบ หยิบผิดเอาตอนที่ 8  มาดูต่อ ก็ยังรู้เรื่อง
กระทู้นี้ไม่ได้เล่าเรื่องราวใน DA  แต่จะเล่าถึงศักดินาของอังกฤษ ที่เป็นพื้นหลังของเรื่องค่ะ

Downton Abbey  เป็นชื่อของคฤหาสน์ซึ่งดูสถานที่ถ่ายทำน่าจะเป็นปราสาทมากกว่าคฤหาสน์ ของตระกูลขุนนาง ชื่อ "ครอว์ลีย์"   ประมุขของตระกูลชื่อโรเบิร์ต ครอว์ลีย์  มีบรรดาศักดิ์เป็นเอิร์ลแห้งกรานธัม (Earl of Grantham)

ขออธิบายเรื่องบรรดาศักดิ์ของอังกฤษค่ะ
ลำดับชั้นขุนนางของอังกฤษ( peerage) ที่ถือกันว่าระดับสูง  เป็นชั้นที่สืบตระกูลได้มี 5  ชั้น นับจากสูงลงไปหาต่ำ คือ
Duke        ออกเสียงแบบอังกฤษว่า ดยุค เสียง ย ออกน้อยมาก
Marquess  ออกเสียงว่า มาควิส  ไม่ใช่ มาเควส
Earl          ออกเสียงว่า  เอิล
Viscount   ออกเสียงว่า ไวเคานท  ไม่ใช่วิสเคานท  คำนี้ s  ไม่ออกเสียง
Baron       ออกเสียงว่า บาเริน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 11:02

DA  เปิดฉากขึ้นมาตอนแรก เล่าถึงท่านเอิร์ลเจ้าของคฤหาสน์ ซึ่งเรียกกันสั้นๆว่า Lord Grantham  มีภรรยาเป็นบรรดาศักดิ์เป็น Countess หรือเรียกแบบย่อว่า Lady  ชื่อ Cara เป็นลูกสาวเศรษฐีอเมริกัน ผู้นำทรัพย์สินส่วนตัวมาเพิ่มความมั่งคั่งแก่ตระกูลสามี   ตัวเองก็ได้เป็นสตรีบรรดาศักดิ์เป็นของตอบแทน
เรื่องนี้เป็นความนิยมที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยก่อนหน้านั้น  คือสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7   สาวอเมริกันมาเป็นท่านผู้หญิงคุณหญิงของอังกฤษกันมากมาย

ย้อนกลับมาถึงพ่อแม่คู่นี้   ทั้งสองไม่มีลูกชาย มีแต่ลูกสาว 3 คน ซึ่งมีคำว่า Lady นำหน้าเพราะเป็นลูกสาวขุนนาง  ชื่อ Mary, Edith และ  Sybil
สามสาวไม่มีสิทธิ์สืบตระกูลและมรดกจากบิดา   ตามกฎหมาย Primogeniture ของอังกฤษ  คฤหาสน์และทรัพย์สินที่ดินของขุนนางจะตกแก่ลูกชายคนโต  หรือทายาทชายผู้มีสายเลือดใกล้ที่สุดเท่าที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น

เรื่องนี้เปิดฉากในคศ. 1912   ในช่วงเวลาหลังเรือเดินสมุทรไททานิคจมไม่กี่วัน    ข่าวถูกส่งไปยังเจ้าของคฤหาสน์ว่าญาติชายลูกพี่ลูกน้องของท่านเอิร์ล ซึ่งอยู่ในตำแหน่งทายาทคนต่อไป  และบุตรชายของเขาซึ่งเป็นคู่หมั้นของแมรี่ มีรายชื่ออยู่ในผู้สูญหายจากเรือไททานิค   
ความอลหม่านก็เกิดขึ้นในคฤหาสน์  เพราะต้องเปลี่ยนตัวทายาทกะทันหัน    ส้มหล่นที่แม็ทธิว  ญาติห่างๆอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นหนุ่มชนชั้นกลางธรรมดาๆ  กำพร้าพ่อมีแต่แม่ซึ่งไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 11:10

มาอธิบายถึง Primogeniture กันก่อนว่ามันคืออะไร
มันคือกฎหมายของอังกฤษ ที่ยกเลิกไปในปี 1925  ให้สิทธิ์การสืบมรดกแก่บุตรชายคนโตของพ่อแม่เพียงผู้เดียว  คือพ่อแม่จะมีลูกกี่คนก็ตาม แต่ลูกชายคนแรกที่คลอดออกมา (อาจมีพี่สาวนำหน้ามาก่อนก็ได้) จะได้เป็นทายาท รับบ้านช่องที่ดินอันเป็นทรัพย์สินหลักของพ่อแม่ไปครอบครอง   ส่วนลูกชายคนรองๆถ้ามีอีกจะกี่คนก็ตาม ไม่ได้สิทธิ์อันนี้

กฎหมายนี้เอื้อให้ทรัพย์สินของตระกูลตกทอดกันเป็นปึกแผ่น  ไม่กระจัดกระจายเป็นเบี้ยหัวแตกหัวแหลก  เนื่องจากต้องแบ่งกันในหมู่ลูกๆ   ที่ดินจำนวนมากของตระกูลจึงยืนยงคงกระพันเพราะกฎหมายนี้ ทำความมั่งคั่งให้หัวหน้าตระกูลสืบทอดต่อกันมาได้หลายชั่วคน
เรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็นกับสังคมเกษตรกรรมแต่โบราณ   เพราะรายได้หลักก็ได้มาจากที่ดิน   อีกอย่างเจ้าของที่ดินในยุคโบราณไม่ต้องเสียภาษี   ขุนนางจึงมีสิทธิ์รวยกันได้มากๆ  ค่าแรงก็ต่ำมาก   แต่ละคฤหาสน์จึงจ้างแรงงานในแบบของคนรับใช้ได้มากๆ เรียกว่าเป็นกองทัพอยู่ในบ้านเลยทีเดียว

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 11:32

  ถ้ามีคำถามว่า  primogeniture  ให้อะไรกับลูกคนรองๆ บ้าง คำตอบคือแย่หน่อยค่ะ  ไม่ได้

  ดังนั้นคุณชายที่เกิดมาเป็นลูกคนรองและลูกคนเล็ก  ถึงแม้ว่าอยู่อย่างโอ่อ่าตอนเล็กๆ แต่อนาคตก็ค่อนข้างมืดมน   มีอาชีพที่ทำได้ 2  อย่างคือหนึ่งไปเป็นทหาร   เพราะยังพอจะได้เงินเดือน ได้เลื่อนยศสูงๆ พอสร้างฐานะได้   แต่ถ้าไม่อยากรบทัพจับศึก ก็ไปเป็นนักเทศน์   อาชีพนี้ได้รับการยอมรับนับถือจากชาวบ้าน แต่ว่ายากจน

   ส่วนลูกสาวขุนนาง  มีทางออกทางเดียวคือเธอต้องแต่งงาน  จะว่าไปมันก็เหมือนอาชีพมากกว่าจะเป็นเรื่องโรแมนติคของหนุ่มสาว 
   พออายุ 18  เธอก็ต้องแต่งกายงดงามไปเข้าวังในฐานะ debutante ( อ่านว่าเดบูตอง) ไปถวายคำนับอย่างสวยที่สุด (ต้องหัดกันเป็นเดือนๆ) ต่อหน้าพระพักตร์พระราชาและราชินีแห่งอังกฤษ  จากนั้นพ่อก็จะจัดงานเต้นรำเปิดตัวลูกสาว เพื่อให้เลือกคู่   
   ส่วนใหญ่ฝายหญิงจะดูฐานะและยศศักดิ์ของฝ่ายชาย   ฝ่ายชายก็ดูรูปโฉมและตระกูลฝ่ายหญิง  พอความต้องการมาบรรจบกันได้  ก็จะหมั้นและแต่งงานกัน  เพื่อเธอจะได้ไปทำหน้าที่นายหญิงในคฤหาสน์ของฝ่ายชาย   มีลูกชายให้เขาสืบสกุลต่อไป
   เลดี้แมรี่นางเอกในเรื่อง DA  ถูกจับหมั้นกับทายาทของตระกูลที่จมหายไปพร้อมเรือไททานิค  เพื่อเธอจะได้เป็นเจ้าของคฤหาสน์และทรัพย์สินต่อไปในฐานะภรรยาของท่านเอิร์ลคนใหม่เมื่อพ่อเธอตายไปแล้ว
  เมื่อคู่หมั้นเกิดตายกะทันหัน   ก็เป็นที่คาดหมายว่าเธอจะถูกจับคู่กับทายาทคนต่อไป คือพระเอกของเรื่อง
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 11:39

นี่คือทัศนะของเลดี้แมรี่   ที่ว่า "ฉันไม่อยากให้ใครดูว่าหัวสูงหรอกนะ  แต่ขอบอกฉันจะไม่แต่งงานกับคนที่ต่ำกว่าเป็นอันขาด"
แม้ยุงจะบินว่อนอยู่รอบคำพูดนี้   แต่ก็เป็นจริงในยุคนั้น   เป็นเสน่ห์ข้อหนึ่งของหนังชุดเรื่องนี้ที่ชาวบ้านชาวช่องติดตามดูว่ามันจะจริงไหม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 12:15

             "Lord Grantham บรรดาศักดิ์คือ Viscount เพราะภริยาเป็น Countess หรือเรียกแบบย่อว่า Lady"

ย่นย่อจากวิกกี้ -

      ลอร์ด (Lord) ไม่ใช่บรรดาศักดิ์ เป็นคำลำลองใช้เรียกขุนนางทั้ง 5 ชั้น ตั้งแต่ดยุกลงไปจนถึงบาเริน(บารอน)
โดยขุนนางตำแหน่งบารอน เป็นผู้ใช้คำนี้แทนบรรดาศักดิ์ของตนเองมากที่สุด อาทิ ในการประชุมสภาขุนนาง แทนที่
ขุนนางยศบารอนจะพูดว่า ข้าพเจ้า บารอน...แห่ง... นั้น มักไม่เป็นที่ปรากฏบ่อย แต่มักพูดว่า ข้าพเจ้า ลอร์ด... แทน
      นอกจากนี้ ไวเคานต์ เคานต์ และเอิร์ล ก็มักจะแทนตนเองว่าลอร์ดด้วยเช่นกัน ในขณะที่ดยุกมักจะแทนตนเองว่า ดยุก...
      ภริยาของขุนนางเหล่านี้จะแทนตนเองว่า เลดี้ (Lady) ยกเว้นภริยาของดยุกที่ไม่นิยมแทนตนเองเช่นนั้น,มักแทนตนว่า ดัชเชส

หมายเหตุ แต่ก็คุ้นเคยได้ยิน บารอนเนส มานานนับครั้งแรก จากหนังเรื่อง มนต์รักเพลงสวรรค์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 12:44

ตัวพ่อใน DA  เป็น Earl ค่ะ ไม่ใช่ Viscount   การที่ภรรยาเป็น Countess ก็แสดงอยู่แล้วว่าสามีเป็น Earl
ถ้าเป็นภรรยาของ Viscount  เธอจะมีตำแหน่งเป็น Viscountess ค่ะ
ส่วนคำว่า Lady นั้นมีการเรียกหลายอย่าง น่าเวียนหัวพอใช้สำหรับคนไม่คุ้นเคย  เตือ
1  Lady เป็นคำเรียกขานในภาษาพูด ของภรรยาขุนนางก็ได้ 
2  เป็นคำเรียกทางการของลูกสาวขุนนางก็ได้ 
3  เป็นคำเรียกทางการของภรรยาของขุนนางชั้น Baronet ( คนละอย่างกับ Baron) ก็ได้ 

ส่วน Baronness ใน The Sound of Music  น่าจะเป็นภรรยาม่ายของท่าน Baron สักคน ก่อนจะมาเป็นคู่หมั้นหมายของกัปตันฟอนแทร็ปป์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 12:49

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 13:11

เห็นจะต้องแยกซอยไปเล่าถึงบรรดาศักดิ์ขุนนาง

เห็นแวบๆในเว็บไหนสักเว็บว่า ท่านเอิร์ลแห่งกรานธัม (ออกเสียงแบบอังกฤษ  ถ้าอเมริกันจะออกเสียงว่า แกรนแธม)มียศศักดิ์เป็นอะไรอีกสักอย่าง จะไวเคานต์หรือบารอนหาไม่เจอแล้วค่ะ   
การมีหลายบรรดาศักดิ์ในตัวคนคนเดียวไม่ใช่เรื่องแปลก  เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ก็มีบรรดาศักดิ์เป็นดยุตแห่่งคอร์นวอลล์ และอะไรต่อมิอะไรอีกหลายแคว้น   ด้วยเหตุนี้เมื่อสมรสกับคามิลล่า เธอไม่สามารถเป็น Princess of Wales ได้ในฐานะพระชายาของสามีซึ่งเป็น Price of Wales   เธอก็เลยได้บรรดาศักดิ์รองลงมาเป็น Duchess of Cornwall  ตามบรรดาศักดิ์รองของสามี

ส่วนที่คุณหมอ SILA ยกมาจากวิกิ  เข้าใจว่าจะเป็นคำเรียกขานในสภาขุนนาง ค่ะ  คำว่า "ลอร์ด" ใช้เรียกขุนนางแบบย่นย่อ รวบรัด แทนที่จะเรียก Earl of Grantham  ก็เรียก Lord Grantham  ใช้ในภาษาพูดเป็นส่วนใหญ่ 
แม้แต่ Duke ซึ่งเป็นขุนนางชั้นสูงสุด  เรียกแบบไม่เป็นทางการว่า Lord  ก็ได้ เช่น Duke of Wellington ผู้รบชนะนโปเลียน  ก็เรียกกันว่า Lord Wellington

คำเรียกขาน ใน DA  มีหลายแบบ   สะท้อนถึงชนชั้นที่แตกต่างกันของผู้พูดและผู้ฟัง
อย่างท่าน duke  นั้น ถ้าคุยกันในระหว่างชนชั้นเดียวกัน   ผู้พูดก็เรียกว่า Duke  เฉยๆได้  แต่ถ้าเป็นคนระดับต่ำกว่าในสังคม เช่นคนรับใช้ จะต้องเรียกท่านดยุคว่า Your Grace   หรือถ้าเอ่ยถึงในฐานะบุคคลที่สาม ก็เป็น His Grace
ส่วนภรรยาของท่าน Duke คือ Duchess  เป็น Your Grace สำหรับคนที่ต่ำกว่า  เช่นกัน   ถ้าถูกเอ่ยถึงก็เป็น Her Grace
ขุนนางบรรดาศักดิ์อื่นๆ เช่นท่าน Earl ในเรื่อง คนใช้เรียกว่า My Lord เป็นสรรพนามบุรุษที่สอง เวลาพูดจากัน   ถ้าเอ่ยถึงในฐานะบุคคลที่สาม ไม่ยักใช่ His Lord  แต่เป็น His Lordship
ภรรยาของท่านก็เป็น My Lady  และ Her Ladyship  ในทำนองเดียวกัน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 13:24

            "Lord Grantham บรรดาศักดิ์คือ Viscount เพราะภริยาเป็น Countess หรือเรียกแบบย่อว่า Lady"

   เจอแล้วค่ะ
   Earl of Grantham  ในเรื่อง เคยเป็น Viscount Downton มาก่อนสมัยพ่อเขายังมีชีวิตอยู่  เป็นบรรดาศักดิ์ที่เขาได้รับในฐานะทายาทของพ่อ     เมื่อพ่อตาย เขาก็ได้รับบรรดาศักดิ์ของพ่อ คือ Earl of Grantham คนที่ 7 แทน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 13:49

             เคยอ่าน "ฝรั่งศักดินา" ของคุณชาย คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อนานมากแล้วจนลืมเลือน
เวลาดูหนังตัวละครมี"ยศศักดินานา" แบบนี้ มักจะจดจำหน้าตา,แคแรคเตอร์ตัวละครได้ มากกว่า
จะจำชื่อยศถาบรรดาศักดิ์(ได้)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 14:30

    ค่ะ มันมีอะไรให้จำเยอะ  แต่ก็สนุกดีนะคะ   เอามาเปรียบเทียบกับศักดินาไทยแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าบางอย่างก็เหมือนโดยบังเอิญ  แต่บางอย่างก็รับของเขามาเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 14:43

ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง