เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2700 แตกประเด็นเรื่อง การนับอายุกับการระบุปี พ.ศ. ที่เกิดในเดือน มค.-มีค. ก่อนปี 2484
นายสัก เงินหอม
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 04 ก.พ. 22, 18:41

จากกระทู้ที่แล้วที่ผมตามหาภาพช่องระบายลมใต้ถุงตึกของโรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาฯ หรือตึก1 ของโรงเรียนเตรียมฯ ในปัจจุบัน ที่เป็นเลข 2479 คือปีที่สร้างตึกเสร็จ แต่กลายเป็นถกเถียงกันเรื่องระบุปีก่อตั้งโรงเรียน ซึ่งตามบันทึกในเอกสารประวัติศาสตร์ต้นเรื่อง อย่างเช่นในบันทึกการประชุมสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงวันที่ 3 มกราคม 2480 แต่ก็มีการบอกให้ระบุเป็นปี 2481 ก็ได้ โดยให้วงเล็บว่านับแบบใหม่

เพื่อให้เรื่องนี้ไม่ไปปะปนกับหัวข้อกระทู้ตามหารภาพช่องลม 2479 ดังกล่าว ผมจึงขอแยกมาตั้งเป็นกระทู้ใหม่ต่างหาก

เรื่องนี้เป็นมายังไง ใครเป็นต้นคิดวิธีการระบุว่า "นับแบบเก่า" "นับแบบใหม่" แบบนี้ผมก็ไม่สามารถจะทราบได้ แต่อยากจากชวนมาดูอะไรบางอย่างที่เป็นข้อเท็จจริง

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรมของเครือมติชน ได้ลงบทความพาดหัวว่า "เตรียมอุดมศึกษา..ผลงานของคณะราษฎร" โดยได้อ้างอิงเอกสารเก่าชื่อ "ข่าวภาพไทย" ฉบับเดือนกรกฎาคม 2484 ที่ตีพิมพ์ว่า "โรงเรียนเตรียมฯ กำเนิดเมื่อจอมพล หลวงพิบูลย์สงคราม ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ.2481"

วันรุ่งขึ้นวิกิพีเดียแก้ไขประวัติโรงเรียนเตรียมฯ โดยเปลี่ยนฃื่อผู้ก่อตั้งจาก ม.ล.ปิ่น มาลากุล เป็น จอมพล ป.พิบูลสงคราม และปีก่อตั้งจาก 2480 เป็น 2481 (นับแบบใหม่) แล้วหลังจากนั้นก็มีการอ้างวิกิพีเดียในทางสดุดีชื่นชมจอมพล ป. นักเรียนเตรียมฯ ทั้งใหม่ทั้งเก่าก็อ้างจากอันนี้

ผมคิดว่า "วารสารข่าวภาพไทย" ฉบับดังกล่าวน่าจะเป็นเอกสารชิ้นเดียวในประวัติศาสตร์ที่ระบุว่าจอมพล ป.เป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมฯ (ทั้งที่เป็นมติของสภามหาวิทยาลัยที่จอมพล ป. เป็นกรรมการ แต่อาจจะใหญกว่านายกสภาฯ เพราะมีตำแหน่งและอำนาจทางการเมืองเหนือกว่า แต่ในฐานะอธิการบดีก็มีหน้าที่ต้องทำตามมติของสภามหาวิทยาลัย) และในข่าวก็ระบุเวลาว่าเป็นต้นปี 2484 (ซึ่งเป็นปีที่วาสสารฉบับนี้เริ่มออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 24 มิถุนายน 2484) เห็นวันเดือนปีนี้หลายท่านคงเดาอะไรได้แล้วใช่มั้ยครับ

วารสาร "ข่าวภาพไทย" เป็นของกองทัพบก ที่มีจอมพล ป. เป็น ผบ.ทบ. และ รมว.กลาโหม พูดง่าย ๆ คือเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์เอง เล่มที่ว่านี้ยังตีพิมพ์รูปภรรยาของท่านคือ ท่านผู้หญิงพิบูลสงคราม 4 สีเต็มหน้าอีกด้วย ที่สำคัญฉบับนั้นเป็นเล่มที่ 2 ออกเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2484 แต่นายพันเอกหลวงพิบูลสงครามได้รับพระราชทานยศ "จอมพล" เมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม 2484 คือลงตีพิมพ์ยศ จอมพล ก่อนได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ!

อันนี้เป็นหลักฐานที่เกี่ยวพันกับการเรียกปี นับแบบเก่านับแบบใหม่ แค่ไหน ผมก็ไม่ได้เช็คกับเหตุการณ์อื่น ๆ แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเริ่มมาจากในวิกิพีเดีย ในประวัติจุฬาฯ ก็มีวงเล็บว่า 2459 (นับแบบเก่า) แต่แปลกใจที่ไม่มี นับแบบใหม่ หรือระบุว่าจุฬาฯ ประดิษฐานเมื่อ 26 มีนาคม 2460 แบบที่ระบุในประวัติโรงเรียนเตรียมฯ ที่อ้างอิงมาจากเอกสารดังกล่าวเพียงบรรทัดเดียวว่า "ต้นปี 2481" (น่าจะเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายเปลี่ยนปี พ.ศ. ของจอมพล ป.นั่นแหละ) และในเว็บไซต์ของทั้งโรงเรียนเตรียมฯ และของจุฬาฯ ก็ระบุแต่ปี 2480 กับ 2459 อย่างเดียวเท่านั้น

การระบุปี พ.ศ. สองแบบนี้ทำให้เกิดความสับสนมาก (แม้จะอ้างว่าให้ใส่วงเล็บว่านับแบบเก่า นับแบบใหม่ ก็ไม่ได้ทำให้คนเข้าใจหรือหมดความสับสน ยิ่งเพิ่มคำถามเข้าไปอีกว่าอะไรคือนับแบบเก่านับแบบใหม่) ถ้าอยากจะระบุจริง ๆ วงเล็บว่า "ตามปีปฏิทินเดิม" ยังเข้าใจง่ายกว่า การนับแบบเก่าแบบใหม่ที่จริงเป็นเรื่องเทคนิดการนับอายุมากกว่า ไม่ควรเอามาใช้ระบุปี พ.ศ. จะเอา 1 ไปบวกปีตามปฏิทินเดิมแล้วค่อยเอามาลบจากปีปัจจุบัน หรือจะลบกันก่อนแล้วเอา 1 ไปลบออกก็ได้ทั้งนั้น แต่มันเป็นเทคนิคการคำนวณเท่านั้น ไม่ควรเอามาใช้อ้างเพื่อบันทึกปี พ.ศ. เป็นอีกปี ซึ่งทำให้สับสนวุ่นวายและเข้าผิดกันไปหมด เหมือนอย่างตราฉลอง 84 ปีของโรงเรียนเตรียมฯ ตอนนี้ ก็ไปเอาลวดลายในช่องใต้ถุนตึก2 ที่เป็นเลข 2481 มาใช้เป็นแม่แบบ โดยอ้างว่าเป็นปีกำเนิดโรงเรียนเตรียมฯ ทั้งที่มันคือปีที่สร้างตึก ซึ่งก่อนการเปลี่ยนปี พ.ศ. จากการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ถึง 2 ปีด้วยซ้ำ และลายแบบนี้โรงเรียนมัธยมหอวังก็ทำมาก่อน จึงไม่ใช่เอกลักษณ์อะไรของโรงเรียนเตรียมฯ เพี่ยงแต่ตอนนี้มันเหลืออยู่ที่ตึก2 ที่เดียวเท่านั้น นี่คือตัวอย่างความเสียหายที่คำว่า "นับแบบใหม่" ทำให้คนเข้าใจผิดและตัดสินใจผิดพลาด

หวังว่าคงเลิกใช้คำว่า นับแบบเก่า นับแบบใหม่ ในการอธิบายประวัติศาสตร์ได้แล้วนะครับ ส่วนในวิกิพีเดียคงต้องปล่อยไป เพราะเขาล็อคไม่ให้ใครไปแก้ไขได้แล้ว โรงเรียนเตรียมฯ ก็คงต้องก่อตั้งโดย จอมพล ป. เมื่อ 3 มกราคม พ.ศ.2480 (นับแบบเก่า) "และ" พ.ศ.2481 (นับแบบใหม่) ต่อไป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
nongluk
อสุรผัด
*
ตอบ: 0



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ก.พ. 22, 22:35

สวัสดีค่ะ ดิฉันค้นประวัติศาสตร์ของชุมชนอยู่เช่นกัน
พบปัญหาคล้ายๆ กัน เกี่ยวกับปีที่คลาดเคลื่อนกันอยู่ 1 ปี
เพราะบ้านเมืองเรา บางช่วง ท่านระบุปีเป็นจุลศักราช เริ่ม พ.ศ. 1181
แต่ละเมืองที่นับถือพุทธ ศักราชก็จะเคลื่อนๆ กันอยู่เล็กน้อย ทางเหนือทางใต้ของเราเองก็ไม่ตรงกันค่ะ
สมัยนั้น พระราชาจะมีพิธีลบศักราชอย่างยิ่งใหญ่
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ของเรา ให้ระบุปีเป็น รศ. รัตโนโกสินทร์ศก...ในเอกสารราชการ
...โดยปรับเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติไทยเดิมเมื่อ พ.ศ. 2431 (จุลศักราช 1240)
13 เมษา ปีใหม่ไทย สมมุติปีชวด แต่หลังๆ ใช้แบบสากล นับ 1 มกราเป็นปีใหม่

ปีของประวัติศาสตร์เลยคลาดเคลื่อนกันอยู่ประมาณนี้ค่ะ

(อาจจะอธิบายไม่เก่งนะคะ แต่ประมาณนี้)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 ก.พ. 22, 11:17

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ของเรา ให้ระบุปีเป็น รศ. รัตโนโกสินทร์ศก...ในเอกสารราชการ

จาก ราชกิจจานุเบกษา



สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้คือ ให้วัน ๒ (วันจันทร์) ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๕๐ ซึ่งเป็นวันปีใหม่เดิมตามการนับแบบจันทรคติ เป็นวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๐๘  (พุทธศักราช ๒๔๓๒) วันปีใหม่แรกตามการนับแบบสุริยคติ
บันทึกการเข้า
nongluk
อสุรผัด
*
ตอบ: 0



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ก.พ. 22, 13:23

สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้คือ ให้วัน ๒ (วันจันทร์) ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๕๐ ซึ่งเป็นวันปีใหม่เดิมตามการนับแบบจันทรคติ เป็นวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๐๘  (พุทธศักราช ๒๔๓๒) วันปีใหม่แรกตามการนับแบบสุริยคติ

ขอบคุณค่า  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 มี.ค. 22, 09:08

วิกิพีเดีย ในประวัติจุฬาฯ ก็มีวงเล็บว่า 2459 (นับแบบเก่า) แต่แปลกใจที่ไม่มี นับแบบใหม่ หรือระบุว่าจุฬาฯ ประดิษฐานเมื่อ 26 มีนาคม 2460

วิกิพีเดียหลายปีก่อนเคยเขียนระบุวันสถาปนาไว้ทั้ง ๒ แบบ โดยอธิบายว่า วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๖๐ เป็นการนับตามปฏิทินสากล


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 มี.ค. 22, 09:15

หากอ่านตามคำอธิบายของวิกิพีเดียข้างบน คงไม่สับสนว่าวันนี้ (๒๖ มีนาคม ๒๕๖๕) ทำไมจึงเป็นวันครบรอบ ๑๐๕ ปี แห่งการสถาปนาจุฬาฯ (นับตามปฏิทินสากล มิใช่ตามปฏทินแบบเก่า)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 มี.ค. 22, 11:17

คุณนภาลัย (ฤกษ์ชนะ) สุวรรณธาดา เขียนกลอน "หนึ่งร้อยปี ศรีจุฬาฯ" ในโอกาสจุฬาฯ ครบ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๐ มีบทหนึ่งระบุปีสถาปนาไว้ให้กระจ่างยิ่ง

ยี่สิบหกมีนาสองสี่ห้าเก้า
(ต่อมาเราปรับศกเป็นหกศูนย์)
สถาปนามหาวิทยาลัยอันไพบูลย์
เพื่อเทิดทูนพระบิดา "จุฬาลงกรณ์"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 มี.ค. 22, 11:48

คำอธิบายและข้อเสนอจาก หอประวัติจุฬาฯ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 มี.ค. 23, 17:35

๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ วันเกิดของ ๓ องค์กร ยิงฟันยิ้ม

ครบรอบ ๑๐๖ ปี แห่งการสถาปนา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เมื่อ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙ ตามปฎิทินแบบไทย หรือ ๒๖ มีนาคม ๒๔๖๐ ตามปฏิทินสากล)

ครบรอบ ๑๒๖ ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย (รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพ - สถานีกรุงเก่า เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๓๙ ตามปฏิทินแบบไทย หรือ ๒๖ มีนาคม ๒๔๔๐ ตามปฏิทินสากล)

ครบรอบ ๕๓ ปี สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓ (เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการครั้งแรก ๒๖ มีนาคม ๒๕๑๓)

หมายเหตุ - ใช้ปฏิทินสากลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๔)



บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง