เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 4854 เพลงคริสต์มาส/เพลงปีใหม่
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 10:29

             เวอร์ชั่นแปล(ง) เป็นภาษาอ. - Silent Night Holy Night โดย Emily Elliott ปี 1858 และ John Freeman Young
ปี 1859 (บ้างว่า "Jane Campbell or John Young" in 1863)
 
ประดุจเพลงสวรรค์จากเสียงเทพประทานของ Dame Julie Andrews

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 10:31

             ปัจจุบันเพลงคริสต์มาสคลาสสิคอมตะนี้ได้รับการแปลงเป็นภาษาต่างๆ นับร้อย และได้รับการยกย่องให้เป็น
มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จาก UNESCO เมื่อปี 2011

ในบ้านเรา คือ ราตรี สงัด ราตรี สวัสดิ์

บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 11:07

             ปัจจุบันเพลงคริสต์มาสคลาสสิคอมตะนี้ได้รับการแปลงเป็นภาษาต่างๆ นับร้อย และได้รับการยกย่องให้เป็น
มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จาก UNESCO เมื่อปี 2011

ในบ้านเรา คือ ราตรี สงัด ราตรี สวัสดิ์


ฟังช่วงแรกๆฟังไม่ออกว่าเนื้อเพลงร้องว่าอะไร ฟังไม่เข้าใจจริงๆค่ะ ไม่แน่ใจว่าเป็นภาษาไทยด้วย
ต้องฟังต่ออีกสักพักถึงได้รู้ว่าเป็นภาษาไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 13:39

สมัยเรียน ต้องร้องเพลง  ต้องเข้าหอประชุมร้องเพลง  ราตรีสงัด ราตรีสวัสดิ์  เป็นประจำในช่วงใกล้ๆวันคริสต์มาส
จำได้ว่า ขึ้นต้นว่า ราตรีสงัด ราตรีสวัสดิ์ แสงดาราส่องทั่วหล้า
ในรางหญ้ามีทารกอ่อน  บริสุทธิ์สุภาพวิภา
บรรทมเป็นสุขสบาย

เพิ่งมาเห็นในกูเกิ้ลว่าเนื้อร้องมีหลากหลายแตกต่างกันหลายอย่างค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 13:41

เพลงในโบสถ์อีกเพลงที่ต้องร้องเป็นประจำคือ The First Noel

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 13:46

อีกเพลงที่ร้องกันเป็นประจำ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 13:48

ถ้าร้องแบบ "นอกโบสถ์" หน่อย ก็แบบนี้ค่ะ

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 15:17

               เพลงคริสต์มาสอิงเหตุการณ์ประสูติของพระบุตร เพลงต่อไป คือ What Child is This? (1871)

                  ประพันธ์คำร้องโดย William Chatterton Dix ในปี 1865 แต่ออกตีพิมพ์เผยแพร่ปี 1871
กล่าวถึง คำถามยามเมื่อเหล่า "เมษบาล" (shepherds หนึ่งในบุคคลหลักของเหตุการณ์บังเกิด) ได้พานพบพระบุตร
ส่วนทำนองนำมาจากเพลงพื้นบ้านของอังกฤษจากศตวรรษที่ 16 - “Greensleeves”

จากเสียงทรงพลังของ Josh Groban

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 15:20

             หนึ่งศตวรรษต่อมา มีเพลงทางโลกซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงกำเนิดกุมาร ที่ใครๆ ฟังแล้วก็อดนึกถึงแนวเพลงในโบสถ์ไม่ได้
นั่นคือ
             When A Child Is Born จากทำนองเพลง "Soleado"(ปี 1974) ของ Ciro Dammicco ที่ราว 2-3 ปีต่อมา
ได้ถูกนำมาใส่เนื้อร้องภาษาอ.โดย Fred Jay(มีผลงานเพลงฮิทคณะ Boney M อย่าง Rasputin) แล้วถ่ายทอดโดยหลากหลาย
ศิลปิน แต่ที่ฮิทจนติดอันดับหนึ่งเพลงคริสต์มาสในอังกฤษปี 1976 เป็นเวอร์ชั่นเสียงร้องของศิลปินดังในอดีต - Johnny Mathis

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 18:12

ในช่วงคริสต์มาส   ทีวีของอเมริกามักจัดรายการ  Christman Special  เป็นโปรแกรมพิเศษให้นักร้องดังๆนำเสนอเพลงเพราะๆ พร้อมแขกรับเชิญที่ร้องเพลงเพราะพอกัน
อย่างรายการข้างล่างนี้   
ขอนำเสนอในกระทู้ คั่นรายการเพลงของคุณหมอ SILA  ในตอนค่ำค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 ธ.ค. 21, 07:53

Christmas Special ของนักร้องคนโปรด  Perry Como  มีประวัติการประสูติของพระเยซูคริสต์อยู่ช่วงท้ายของคลิป
เพลงที่มีอยู่ในช่วงนั้น เคยร้องมาแล้วทุกเพลงค่ะ

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 24 ธ.ค. 21, 09:22

สมัยเด็ก ๆ วันนี้โรงเรียนจะหยุดการสอน 1 วัน  เพราะจะมีงานคริสต์มาส  




โรงเรียนผมตั้งอยู่ชานกรุงเทพฯ เป็นทุ่งกว้างไม่มีอะไรเกะกะสายตา (สมัยนั้นนะ)  เมื่อถึงหน้าหนาวจะหนาวสั่นทีเดียว  เป็นบรรยากาศที่เข้ากับวันคริสต์มาสที่สุด




ในช่วงนั้น (ยาวเป็นเดือนเลยละ) ทางโรงเรียนจะเปิดแผ่นเสียงเพลงคริสต์มาสกล่อมพวกเราในช่วงเวลาพักเป็นประจำ  เพลงจะเป็นของคณะ Ray Conniff Singers  ฟังจนซึมเข้าถึงจิตถึงใจมาจนถึงปัจจุบัน  แม้อากาศในยุคปัจจุบันจะเปลี่ยนจากหนาวมาเป็นร้อนตับแตก

ในวันงานเมื่อถึงตอนเย็นก็จะมีพิธีที่โบสถ์  โบสถ์เป็นแบบชาวบ้าน ๆ  หลังเล็ก ๆ




เราก็จะไปฟังชาวคริสต์ทำพิธี  จากนั้นก็ร่วมร้องเพลงสรรเสริญ  มีเพลงภาษาไทยอยู่ 2 เพลงที่เพราะมาก






ผมว่าผมเป็นชาวพุทธในจำนวนน้อยคนที่ร้องเพลงคริสต์มาสได้เกือบทุกเพลง  และเป็นชาวพุทธในจำนวนน้อยคนที่มีบรรยากาศในช่วงคริสต์มาสเป็นช่วงเวลาที่คิดถึงทีไรก็มีความสุข  เป็นความสุขที่หาไม่ได้อีกแล้วในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 24 ธ.ค. 21, 10:18

มาร่วมรำลึกความหลังกับคุณโหน่ง  แม้อยู่คนละโรงเรียน คนละยุค แต่ก็มีบรรยากาศบางอย่างเหมือนกัน
อย่างหนึ่งคือร้องเพลงประสานเสียงในหอประชุม   (นักเรียนที่เป็นพุทธไม่ได้เข้าโบสถ์)
ค่อยๆปัดฝุ่นความจำ  รื้อเพลงในหอประชุมออกมาทีละเพลง
หนึ่งในนั้นคือ We Three Kings of Orient Are  เป็นเพลงกล่าวถึงพระยาสามองค์ทางทิศตะวันตก  มองเห็นดาวดวงใหญ่พิเศษขึ้นสุกสว่างอยู่บนท้องฟ้า  ก็รู้ว่าพระบุตรของพระเจ้าประสูติแล้ว  จึงพากันเดินทางมาถึงเมืองเบธเลแฮม  นำของขวัญมาถวาย  ถือเป็นของขวัญครั้งแรกของวันคริสต์มาส
ของขวัญนั้นคือกำยาน ทองคำ และมดยอบ

ตอนเด็กๆท่องประวัติพระคริสต์เจ้ามาถึงตอนนี้  ก็สงสัยอยู่คนเดียวว่า มดยอบ คืออะไร  ทองคำน่ะรู้ละ  กำยานก็พอรู้จัก เป็นเครื่องหอมที่ใช้เผาให้หอมอบอวลทั่วห้อง  มักใช้ในการทำพิธีทางศาสนา  แต่มดยอบนี่สุดจะวาดภาพ   
เพื่อนๆไม่เห็นมีใครสงสัยสักคน   ก็เลยไม่กล้าถามมาแมร์  เพราะบางท่านดุมาก  ถามสุ่มสี่สุ่มห้าอาจจะถูกดุได้  เลยเก็บเอาไว้จนบัดนี้  ถ้าคุณโหน่งรู้จักช่วยบอกด้วยนะคะ   

สงสัยอีกอย่างคือเรื่องของพระยาสามองค์นี้ปรากฏครั้งเดียวในประวัติของพระเยซู  หลังจากนั้นท่านก็พากันหายไปเลย    ไม่ปรากฏว่าเป็นใครมาจากไหน และจากไปไหน 

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 24 ธ.ค. 21, 10:28

โรงเรียนเก่าของดิฉันเป็นโรงเรียนคาทอลิค    ตอนเรียนประถมก็ไม่รู้หรอกว่าคาทอลิคต่างจากโปรแตสแตนท์ยังไง ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคริสตศาสนามีหลายนิกาย   
พอขึ้นมัธยม   รู้แต่ว่าคนไทยยุคคุณทวดเรียกคาทอลิคว่า "คริสตัง"  และเรียกโปรแตสแตนท์ว่า "คริสเตียน"
จนกระทั่งเรียนจบไปหลายปีแล้ว ถึงรู้ว่าการนับถือศาสนามีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างกัน
เพลงคริสต์มาสหลายเพลง ก็นิยมร้องกันในโบสถ์ของคริสตัง

 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 24 ธ.ค. 21, 10:30

(เรียนโรงเรียนไทย ไม่มีงานเทศกาลคริสต์มาส)

                       เพลงคริสต์มาสเพลงแรกที่รู้จัก - Jingle Bells

             ผลงานของ James Lord Pierpont แต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นเพลงเทศกาลขอบคุณพระเจ้า เมื่อปี 1857
ในชื่อว่า The One Horse Open Sleigh
            ก่อนที่จะกลายมาเป็นหนึ่งในเพลงคริสต์มาสในช่วง 1860s - 1870s แล้วแพร่หลายได้รับความชื่นชอบ
ไปทั่วโลก และ นอกโลก ในปี 1965 เมื่อสองนักบินอวกาศเล่นเพลงนี้ออกอากาศจากในยาน Gemini 6

เลือกเวอร์ชั่นของ Andrea Bocelli กับมวลหมู่ The Muppets - เพื่อนเก่าเมื่อเยาว์วัย

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง