เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ใกล้วันคริสต์มาสแล้ว หลังจากนั้นอีก ๖ วันก็จะถึงปีใหม่ ปีนี้ เทศกาลคริสต์มาสของยุโรปคงจะกร่อยเหมือนปีก่อน เพราะไวรัสโอมิครอนอาละวาดหนัก ส่วนปีใหม่ทางไทยก็คงฉลองกันไม่ได้เต็มที่อย่างที่คิด แต่อย่างน้อย ก็ยังมีเพลงให้เปิดฟังบ้างก็ยังอุ่นใจ ยามฉลองอยู่กับบ้านนะคะ
ประเดิมด้วยเพลงคริสต์มาสเก่าแก่ที่สุด เท่าที่บันทึกกันเอาไว้ ชื่อ Jesus Refulsit Omnium เป็นเพลงสวด (Christian hymn) บทเพลงแต่งเป็นภาษาลาติน โดยนักบุญ St. Hilary of Poitiers ในคริสตศตวรรษที่ 4 .
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 21 ธ.ค. 21, 07:56
|
|
ตามสถิติของกินเนสบุ๊ค เพลงคริสต์มาสยอดนิยมตลอดกาลคือ "White Christmas" ขับร้องโดย Bing Crosby มีจำนวนจำหน่ายเกิน 50 ล้านแผ่นทั่วโลก
จากภาพยนตร์เรื่อง White Christmas ปี 1954
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 21 ธ.ค. 21, 08:00
|
|
ก่อนหน้า บิงเคยร้องเพลงนี้ในหนัง ชื่อ Holiday Inn ในปี 1942
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 21 ธ.ค. 21, 09:11
|
|
เทคโนโลยีการตัดต่อทำให้บิงฟื้นคืนชีพมาร้องเพลงคู่กับไมเคิล บลูเบ ได้ทั้งๆห่างกันหลายสิบปี บิงถึงแก่กรรมปี 1977 ส่วนไมเคิลเกิดปี 1975 อายุ 2 ขวบเท่านั้น ตอนบิงอำลาโลกไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 22 ธ.ค. 21, 07:54
|
|
เพลงนี้แต่งขึ้นในปี 1943 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย Kim Gannon และ Walter Kent ร้องโดย Bing Crosby พาเพลงนี้พุ่งขึ้นติดอันดับท็อปเท็น เพลงนี้แต่งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารฝ่ายพันธมิตร ที่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไปสู่สนามรบในยุโรป พวกนี้อยากกลับบ้านมาฉลองเทศกาลกับลูกเมียแต่ไม่มีโอกาส จากนั้นเพลงนี้ก็เป็นมาตรฐานถึงทุกคนที่อยู่ไกลบ้านช่วงคริสต์มาส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 22 ธ.ค. 21, 07:55
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 22 ธ.ค. 21, 14:40
|
|
บทเพลงคริสต์มาส ที่คุ้นหูกันมายาวนาน อาจแบ่งได้เป็นสองแบบ แบบแรกเป็น บทเพลง "ทางโลก"(secular, popular) ที่แต่งขึ้นภายหลังแบบที่สอง เล่นร้องฟังกันในบ้าน,คลับ, เวที มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องราวอารมณ์ความรู้สึกในยามเทศกาลนี้ ที่มีทั้งสุข สนุกสนาน และบ้างก็เหงาเศร้า ศิลปินรุ่นหลังๆ มักนำมาร้องกันใหม่ในอัลบั้มรวมเพลงคริสต์มาสของตนโดยอาจจะปนกับเพลงคริสต์มาสที่แต่งขึ้นใหม่ ส่วนแบบที่สองเป็น บทเพลง "ในโบสถ์" ที่มีมาเนิ่นนานก่อนแบบแรก ร้องกันในโบสถ์วิหาร(โรงมหรสพ) เรียกว่า Christmas carol เนื้อหาส่วนใหญ่ อิงเรื่องราวของคืนวันคริสต์มาสเมื่อ พระบุตรมาบังเกิด (Nativity)
O Holy Night เพลงจากปี 1847 กำเนิดในโบสถ์และได้รับความนิยมทั่วไปในฝรั่งเศส ก่อนที่จะถูกโบสถ์แบนเมื่อผู้ประพันธ์เนื้อร้อง Placide Cappeau ได้ก้าวออกจากโบสถ์เพื่อไปร่วมขบวนสังคมนิยม บทเพลงแสนไพเราะนี้กลับคืนสู่สังคม และได้รับความนิยมอีกครั้ง เมื่อได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วนำเข้าอเมริกาโดย John Sullivan Dwight John Barry ศิลปินเพลงคันทรี ถ่ายทอดได้ไพเราะจับใจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 22 ธ.ค. 21, 20:13
|
|
หนึ่งในเพลง "ในโบสถ์" ที่รู้จักกันแพร่หลายในบรรดาคริสตศาสนิกชน ชื่อ O Come, All Ye Faithful หรือภาษาลาตินชื่อ Adeste Fideles แปลความหมายอย่างเดียวกับภาษาอังกฤษ อ่านออกเสียงว่า อาเดสเต ฟิเดเลส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 22 ธ.ค. 21, 20:18
|
|
เพลงทางโลก Silver Bells ที่ยกมาให้ดูคือเวอร์ชั่นดั้งเดิมค่ะ ประกอบในหนังเรื่อง The Lemon Drop Kid" เมื่อ 70 ปีมาแล้ว คือปี 1951 นำแสดงโดย Bob Hope และ Marilyn Maxwell หนังเรื่องนี้ไม่มีใครจำได้ แต่เพลงยังคงร้องกันทุกเทศกาลคริสต์มาสมาจนปัจจุบันนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 22 ธ.ค. 21, 21:04
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 22 ธ.ค. 21, 21:06
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 08:00
|
|
หนึ่งในเพลงคริสต์มาสยอดนิยมสำหรับเด็ก เห็นจะไม่มีเพลงไหนเกิน Rudolph the Red-Nosed Reindeer เรื่องของเจ้ากวางน้อยจมูกแดง หนึ่งในกวางพาหนะของซานตาคลอส เจ้ากวางน้อยเกิดมาจมูกแดงสว่างโร่ เป็นตัวตลกถูกเยาะเย้ยถากถางของหมู่กวางเรนเดียร์ด้วยกัน ถูกกีดกันออกนอกกลุ่ม ไม่มีใครเล่นด้วย จนกระทั่งคริสต์มาสปีหนึ่ง หมอกลงจัด จมูกแดงของรูดอล์ฟจึงกลายเป็นประโยชน์ ส่องแสงสว่างโร่นำทางให้เลื่อนของซานตาเหาะไปได้ไม่หลงทาง รูดอล์ฟก็เลยกลายเป็นวีรบุรุษของกวางทั้งหมดไป
Rudolph the Red-Nosed Reindeer ถือกำเนิดเป็นบทกลอนเล็กๆ เมื่อปี 1939 แต่งโดย Robert L. May ซึ่งทำงานอยู่กับห้างสรรพสินค้า Montgomery Ward ที่ชิคาโก ตามคำสั่งของผู้จัดการที่ต้องการผลิตหนังสือสำหรับเด็กขึ้นมาขายเอง เมย์ก็เลยสร้างเรื่องนี้ขึ้นมา ปรากฏว่าขายดิบขายดี กลายเป็นเรื่องราวแพร่หลายไปทั่วอเมริกา และต่อมาก็นำไปเป็นบทเพลงอย่างที่รู้จักกัน ร้องกันมาจนบัดนี้ เป็นเพลงยอดนิยมอันดับ 2 เป็นรองแต่ White Christmas เท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 08:05
|
|
หลังจากเมย์ได้รับลิขสิทธิ์กลอนบทนี้จากบริษัทแล้ว เขาก็นำไปพิมพ์ขายเอง ต่อมาก็ทำเป็นเพลงคริสต์มาส แต่ไม่มีนักร้องดังคนไหนยอมร้องเพลงนี้ เห็นว่าเป็นเพลงเด็กๆเกินไป คนแรกที่ตกลงร้องเพลงนี้คือยีน ออทรี นักร้องลูกทุ่ง ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จล้นหลาม จนในที่สุดนักร้องที่เคยปฏิเสธอย่างบิง ครอสบี ก็เปลี่ยนใจกลับมาร้องเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 08:05
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 10:26
|
|
จาก ราตรี (ศักดิ์สิทธ์ ราตรี) สวัสดิ์ แล้วตามด้วย ราตรี สงัด ราตรี สวัสดิ์ Stille Nacht, Heilige Nacht(1818)
แรกร้องเมื่อปี 1818 ที่ Oberndorf, Austria จากคำร้องโดยผู้ช่วยบาทหลวง Joseph Mohr ทำนองโดยนักออร์แกน ในโบสถ์ Franz Xaver Gruber แล้วต่อมาก็ได้กลายเป็นเพลงคริสต์มาสยอดนิยมของนักร้องที่ได้ฟังแล้วได้นำไปเผยแพร่ต่อๆ กัน ไปในโลกกว้าง Vienna Boys Choir - Stille Nacht, Heilige Nacht
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|