เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3586 ขอเรียนถาม ชื่อภาษาอังกฤษหัวข้องานวิจัย และ เลขรหัสสาขาวิชา/อนุสาขาวิชา ครับ
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


 เมื่อ 10 ธ.ค. 21, 18:43

1. ผมได้แปลชื่อหัวข้องานวิจัยเรื่อง การศึกษาภาพยนตร์เรื่องไต่ฮงโจวชือ (หลวงปู่ไต้ฮงกง) ด้านภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรม  (语言•文学•文化: 中国电影作品研究------以《大峰祖师》为例) เป็นภาษาอังกฤษว่า Once Upon a Time in the Old Bridge (Grand Master Song Da Feng): A Literary Investigation into Language, Literature and Culture

ผมอยากทราบคำแปลภาษาอังกฤษของผม สอดคล้องกับชื่อหัวข้อวิจัยภาษาไทย ไหมครับ (ผมไม่แน่ใจว่า ไต่ฮงโจวชือ จะแปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างไรดีครับ จึงจะสอดคล้องกับการเขียนงานวิชาการของไทยครับ)

2. ผมอยากทราบว่า งานวิจัยเรื่องนี้ของผม สามารถใช้เลขรหัสสาขาวิชา 7201 วรรณคดีเปรียบเทียบ ได้ไหมครับ หรือว่าควรจะใช้เลขรหัสสาขาวิชาอื่นดีครับ (ตามระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย การกำหนดชื่อสาขาวิชาสำหรับการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการและการเทียบเคียงสาขาวิชาที่เคยกำหนดไปแล้ว พ.ศ.2562)

ขอบพระคุณครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 ธ.ค. 21, 20:24

ดิฉันไม่เคยชินกับการใช้คำว่า Investigation ในหัวข้องานวิจัยทางวรรณกรรม(หรือวรรณคดี)เลยค่ะ
 คำนี้ถ้าอธิบายความหมายตรงๆคือ "การสืบค้นหาความจริง"   ไม่ใช่ "การศึกษา" ซึ่งเป็นคำกลางๆมีความหมายครอบคลุมกว้างขวางได้หลายสาขาวิชา
ถ้าคุณตั้งใจจะทำวิจัยว่า  หลวงปู่ไต้ฮงกงมีตัวจริงหรือไม่  ตัวจริงต่างกับในตำนาน หรือบันทึกที่ตกทอดกันมายังไง   ไปสืบมามาแสดงให้เห็นจนได้     อาจใช้คำว่า investgation ได้  แต่ถ้าเป็นการศึกษาในหัวข้อที่ยกมา  ใช้คำว่า A study น่าจะถูกกว่า
แต่ study  ก็มีหลายแบบ  เช่น survey study  คือการสำรวจในเชิงกว้าง มักจะทำเมื่อต้องการรวบรวมข้อมูลให้กว้างที่สุด    analytical study คือศึกษาเชิงวิเคราะห์เจาะลึกลงไป   ไม่รู้ว่าคุณทำแบบไหน 

ตอนแรก  เอาคำว่า A study  in Language, Literature and Culture ก่อนดีกว่า   จะเป็น survey หรือ  analytical  จากนั้นค่อยดูลักษณะงานวิจัยอีกที    แต่ควรมีคำขยาย study  ไม่งั้นมันห้วนไปค่ะ
   
ส่วนคำว่า literary  ใช้อธิบายว่ามันคืองานวรรณกรรมที่แต่งขึ้นมา    ไม่ใช่งานที่เป็นข้อเท็จจริง  เป็นชีวิตหลวงปู่ที่เป็นตัวละครแต่งขึ้นมาเพื่อเป็นภาพยนตร์   ไม่เกี่ยวอะไรกับตัวจริงในประวัติศาสตร์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 ธ.ค. 21, 20:24

เป็นวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ธ.ค. 21, 22:19

ผมขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพูเป็นอย่างสูงครับ ที่ท่านได้ช่วยกรุณาให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์อย่างมากครับ ตามความเข้าใจของผมนะครับ ผนวกกับข้อเสนอแนะของท่านอาจารย์ ผมจะใช้ชื่อหัวข้อวิจัยภาษาอังกฤษว่า

An Analytical Study in Language, Literature and Culture : The Case Study of Once Upon a Time in the Old Bridge (Grand Master Song Da Feng) Movie

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ธ.ค. 21, 10:16

ขอให้งานวิจัยประสบผลสำเร็จด้วยดีค่ะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ธ.ค. 21, 12:06

ถ้าไม่แน่ใจว่า Grand master จะใช้แทน 祖师 ได้หรือไม่ ผมว่าทับศัพท์เป็น Da Feng Zu Shi เลยก็ได้นะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ธ.ค. 21, 16:23

ผมขอขอบพระคุณ ข้อเสนอแนะของท่านอาจารย์ CrazyHOrse ครับ ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของท่านอาจารย์ครับ โดยที่ผมควรจะแปลคำว่า 大峰祖师 เป็นภาษาอังกฤษว่า Dafeng Zushi ดังนี้ครับ

An Analytical Study in Language, Literature and Culture : The Case Study of Once Upon a Time in the Old Bridge (Dafeng Zushi) Movie

语言•文学•文化: 中国电影作品研究------以《大峰祖师》为例

การศึกษาภาพยนตร์เรื่องไต้ฮงโจวชือ (หลวงปู่ไต้ฮงกง) ด้านภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรม

ขอบพระคุณครับ






บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง